โลกคือเวทีละคร ไม่ว่าใครก็ต่างก็ต้องแสดงในบทบาทของตนที่นั่น
Group Blog
 
All Blogs
 

"ตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่น่าสนใจ"

"ตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่น่าสนใจ"
By chodechai

หาก ท่านผู้อ่านสงสัยว่าเศรษฐกิจไทยดีขึ้นหรือยัง ผมขอยืนยันโดยเอาตัวเลขและดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจบางตัวที่พึ่งมีการประกาศ ออกมาว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้หดตัวร้อยละ 4.9 แต่ได้มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้ ที่เศรษฐกิจไทยหดตัวร้อยละ 7.1 โดยเป็นผลมาจากการใช้จ่ายของรัฐบาลที่ขยายตัวในอัตราสูง รวมทั้งการใช้จ่ายของครัวเรือนและการลงทุนในประเทศที่ดีขึ้นกว่าไตรมาสแรก ของปี เป็นผลให้อัตราการเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี เศรษฐกิจไทยจึงขยายตัวร้อยละ 2.3 จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ยังมีดัชนีชี้วัดอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่เราคุ้นเคยกันมาเล่าสู่กันฟัง



ผมได้อ่านบทความ 2 เรื่องที่น่าสนใจ บทความเรื่องแรกพูดถึงวิธีแปลกๆ ในการประเมินสภาพเศรษฐกิจของประเทศ โดยปกติแล้วเรามีวิธีการวัดว่าตอนนี้สภาพเศรษฐกิจอยู่ในช่วงวัฏจักรอย่างไร โดยใช้ตัวชี้วัดที่สะท้อนสภาพเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การบริโภคและการลงทุน ยอดขายปลีก ตัวเลขการว่างงาน และการสร้างบ้านที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งได้พูดถึงดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจทางเลือกอีกตัว หนึ่ง คือ Hot Waitresses Index



ดัชนีชี้วัดตัวนี้ สะท้อนถึงภาวะทางเศรษฐกิจโดยหากยามใดที่พนักงานเสิร์ฟหน้าตาดีแสดงว่า เศรษฐกิจกำลังอ่อนแอ สาเหตุก็เพราะเมื่อเศรษฐกิจไม่ดีโอกาสในการหางานน้อยลง แม้กระทั่งคนหน้าตาดีก็หางานทำลำบากจึงต้องมาเป็นพนักงานเสิร์ฟ ซึ่งอาจเป็นงานชั่วคราวในยามที่เศรษฐกิจหดตัว



เมื่อเศรษฐกิจเริ่มแย่ลง ร้านอาหารและสถานบันเทิงจะเริ่มลดพนักงานลงโดยจะเริ่มจากผู้ชายก่อน ตามมาด้วยพนักงานหญิงที่มีหน้าตาด้อยกว่า และเมื่อเศรษฐกิจแย่มากเราจะเห็นพนักงานเสิร์ฟที่หน้าตาดีเหลืออยู่ภายใน ร้าน เพราะคนหน้าตาดีจะเป็นคนสุดท้ายที่ถูกเลิกจ้างและบางส่วนเป็นการจ้างใหม่



บทความนี้ ยังให้เหตุผลสนับสนุนทฤษฎีดังกล่าวเพิ่มเติมว่า โดยทั่วไปแล้วคนหน้าดีมีโอกาสหางานที่ดีกว่า ได้ง่ายกว่าคนที่หน้าตาด้อย ดังนั้น เมื่อเราเห็นพนักงานเสิร์ฟหน้าตาดีเป็นจำนวนมากออกจากงานในร้านอาหาร เราควรที่จะยินดีไม่ใช่เสียใจเพราะปรากฏการณ์ดังกล่าว แสดงว่า เศรษฐกิจกำลังดีขึ้น



นอกจากนั้น ยังมีดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น Overeducated Cabbie Index กล่าวคือ ถ้าเราเห็นคนขับรถแท็กซี่มีความรู้สูงๆ แสดงว่า เศรษฐกิจกำลังไม่ดี และยังมีดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่ง คือ Contractors Return Calls Index กล่าวคือ ถ้าเราโทรศัพท์ไปหาผู้รับเหมาก่อสร้างแล้วเขาเหล่านั้นสามารถโทรกลับภายใน 24 ชั่วโมง แสดงว่าเศรษฐกิจไม่ดี เนื่องจากผู้รับเหมาว่างไม่มีงานทำ



สำหรับในเมืองไทยแล้ว ผมคิดถึงดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจไทยในทำนองเดียวกับที่กล่าวข้างต้น เช่น หากเศรษฐกิจไม่ดีเราจะเห็นมีคนไปประกอบอาชีพขายแซนด์วิช ไก่ย่าง ส้มตำ ไข่เจียว หรือรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากขึ้น ซึ่งเราจะเห็นตัวอย่างดังกล่าวได้จากช่วงภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจคราวที่แล้ว



สำหรับบทความที่สองพูดถึงการศึกษา เรื่อง Household Division of Labor and Cross Country Differences in Household Formation Rates โดยจะตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Population Economics ซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการแบ่งการทำงานในบ้านของหญิงชาย และอัตราการมีครอบครัว โดยพบว่า ประเทศที่ผู้ชายยอมรับเรื่องการทัดเทียมในการแบ่งการทำงานในบ้าน จะมีอัตราการแต่งงานของผู้หญิงสูงกว่าประเทศที่ผู้ชายไม่ยอมรับเรื่องดัง กล่าว



การศึกษาดังกล่าว ใช้ดัชนีชี้วัด Egalitarian Index เพื่อหาความสัมพันธ์ดังกล่าวและพบว่า ผู้ชายจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ จะเป็นผู้ชายที่น่าสนใจที่ผู้หญิงจะเลือกเป็นคู่ครองด้วย เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะช่วยทำงานบ้านอย่างเท่าเทียมกัน ตามมาด้วย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ และนิวซีแลนด์ ประเทศที่อยู่ท้ายสุด ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี ออสเตรีย และ ออสเตรเลีย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ชายชอบกีฬา และเหล้า เบียร์ เป็นชีวิตจิตใจ



แล้วท่านผู้อ่านคิดว่า ประเทศไทยอยู่อันดับที่เท่าไร?

Credit : //newsroom.bangkokbiznews.com/comment.php?id=7349&user=chodechai




 

Create Date : 05 กันยายน 2552    
Last Update : 5 กันยายน 2552 15:51:21 น.
Counter : 562 Pageviews.  


Mr_high
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Mr_high's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.