In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 
International Organization

ในการศึกษาด้าน IPE มี concept สำคัญที่ใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์ที่เรียกว่า Relational Power และ Structural Power โดย Relational Power นั้นหมายถึง อำนาจในการที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบังคับให้อีกผู้เล่นอีกฝ่ายทำหรือไม่ทำตามที่ตัวเองหวังเอาไว้ เป็นการบังคับทางตรง ในขณะที่ Structural Power นั้นหมายถึง อำนาจในการกำหนด โครงสร้าง ทางเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศให้ผู้เล่นคนอื่นๆเดินตาม หรือ ความสามารถในการกำหนด “Rule of Game” นั่นเอง

และในความเป็นจริงในบริบทระหว่างประเทศ การที่มหาอำนาจหนึ่งจะสร้างความได้เปรียบในการครอบงำชาติที่ด้อยกว่า เพื่อการแสวงหา และกอบโกยความมั่งคั่งสูงสุดจากชาตินั้นๆ คนเหล่านี้จะต้องแน่ใจว่า จะสามารถกุมความได้เปรียบในเกมทางเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศได้ และกลไกสำคัญที่มหาอำนาจใช้เป็นเครื่องมือในการสร้าง Structural Power ให้ตัวเองคือ การใช้กลไกของ องค์กรระหว่างประเทศ ต่างๆนั่นเอง ดังนั้นการที่เราจะทำความเข้าใจธรรมชาติของ Structural Power ได้ ก็จะต้องทำความเข้าใจบทบาท ที่มา และวิธีการใช้ประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ของมหาอำนาจผ่านองค์กรเหล่านี้


IMF, World Bank

IMF และ World Bank นั้นเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ภายใต้ข้อตกลง Bretton Woods ทั้งนี้จุดประสงค์ของการตั้ง IMF หรือกองทุนการเงินการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) ก็เพื่อก่อให้เกิดเสถียรภาพของระบบการเงินโลก ภายใต้การดูแลเสถียรภาพของดุลการชำระเงินและอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า และการค้าระหว่างประเทศที่ขายาตัวมากขึ้น โดยหากประเทศใดที่มีปัญหาการขาดดุลการชำระเงินจนส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของค่าเงิน IMF ก็จะให้เงินกู้เข้าช่วยเหลือประทศนั้น เมื่อมีการร้องขอ โดยเงินทุนที่ IMF นำมาปล่อยกู้นั้นได้มาจากการลงขันของสมาชิก โดยกำหนดตามสัดส่วนของขนาดเศรษฐกิจ

ขณะที่หน้าที่ของ World Bank หรือธนาคารโลกในขณะนั้นก็คือ การให้สินเชื่อเพื่อฟื้นฟูประเทศยุโรปทั้งหลายที่เสียหายอย่างหนักในการทำสงครามโลกครั้งที่ 2 กับฝ่ายของนาซีเยอรมัน ช่วงนั้นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รวมทั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชนในยุโรปอยู่ในสภาพที่เสียหายอย่างยับเยิน อีกทั้งรัฐบาลในยุโรปก็ไม่มีเงินทุนมากพอในการบูรณะซ่อแซม World Bank จึงถูกตั้งเพื่อเข้ามามีบทบาทตรงนี้ นอกจากนี้ในภายหลัง งานหลักของ World Bank จึงถูกขยายขอบเขตไปสู่การให้สินเชื่อเพื่อการพัฒนาแก่ประเทศโลกที่ 3 ทั้งหลาย ทั้งนี้เป้าหมายก็เพื่อขจัดความยากจนในประเทศเหล่านั้น

แต่ทั้งหมดที่กล่าวถึงใน 2 ย่อหน้าแรกเป็นเพียงแค่การสร้างภาพของมหาอำนาจที่กุมบังเหียนควบคุม 2 องค์กรนี้ไว้ซึ่งก็คือ สหรัฐอเมริกา โดยแท้ที่จริงแล้วนั้นหากมีการวิเคราะห์ในเชิง IPE พร้อมข้อมูลเชิงลึก จะพบว่าในช่วงสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง ยุโรปเสียหายอย่างหนัก ในขณะที่สหรัฐฯกลับมั่งคั่งจากสงครามเนื่องจากเป็น supplier ที่ขายทั้งอาวุธสงคราม และยุทธปัจจัยที่สำคัญให้กับยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษ ทำให้ทองคำไหลเข้าสู่สหรัฐฯเป็นจำนวนมาก ในทางกลับกันก็กลับทำให้ทองคำในยุโรปร่อยหรอลง บวกกับเศรษฐกิจที่เสียหายจากสงคราม ทำให้ค่าเงินสกุลหลักในยุโรปและของโลกในขณะนั้นอย่างปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษ และเงินฟรังก์ฝรั่งเศสอ่อนค่าอย่างรุนแรง ในจุดนี้สหรัฐฯซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบ เนื่องจากหากแปลงหนี้สินที่อยู่ในรูปของสกุลเงินยุโรปกลับมาเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ บรรษัทสหรัฐฯย่อมเสียหายจากการขุดทุนอัตราแลกเปลี่ยน

ดังนั้นรัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การชักใยของ CFR (Council on Foreign Relations) ซึ่งมีกลุ่มทุนผูกขาด นักวิชาการ ข้าราชการระดับสูง (โดยเฉพาะจากกระทรวงการต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่) หน่วยงานความมั่นคง และนักการเมืองของทั้ง 2 พรรคอยู่เบื้องหลังอีกที จึงคิดตั้งองค์กร Bretton Woods ทั้ง 2 ขึ้นมา เพื่อเป็นหลักประกันที่มั่นคงของกลุ่มทุนผูกขาดในสหรัฐฯ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนภายใต้ระบบมาตรฐานปริวรรตทองคำ (Gold Exchange Standard) เพื่อความสะดวกในการกำหนดมูลค่าเงินลงขันที่แต่ละชาติต้องส่งให้ IMF ซึ่งคิดมูลค่าเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ทุกชาติทั่วโลกต้องยอมรับเงินดอลลาร์สหรัฐฯในการเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นเงินสกุลหลักของโลกที่ใช้ในการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ทั้งนี้ก็เพราะให้ถือเสมือนหนึ่งว่าดอลลาร์เหมือนกับทองคำ การเทียบค่าเงินของตัวเองเข้าหาดอลลาร์ ก็ไม่ต่างกับการเทียบค่ากับทองคำ เพราะสหรัฐฯมีทองคำสำรองสูงที่สุดในโลก และกำหนดค่าของเงินตัวเองเทียบกับทองคำไว้ที่ 35.00 ดอลลาร์ต่อ 1 ออนซ์ และนอกจากนี้การที่มีการกำหนดเสียงการลงมติตามจำนวนเงินลงขัน นั่นย่อมทำให้สหรัฐฯในฐานะผู้ลงขันมากสุด หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ของทั้ง IMF และ World Bank มีอำนาจเหนือชาติต่างๆนับ 10 นับ 100 ประเทศไปโดยปริยาย

เมื่อสหรัฐฯอาศัยความได้ปเรียบในฐานะมหาอำนาจที่ชนะสงครามที่มีกำลังทหารที่เข้มแข็ง มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็ได้บังคับให้ทุกชาติรวมทั้งยุโรปกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเทียบกับดอลลาร์ ผลที่ได้ก็คือ กลุ่มทุนผูกขาดใสหรัฐฯไม่เสียหายจากการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ยังทำให้สหรัฐฯมีอำนาจเหนืออธิปไตยชาติต่างๆได้ จากการที่ชาติเหล่านั้นต้องใช้เงินดอลลาร์ที่พิมพ์ภายใต้เขตอำนาจอธิปไตยของประเทศสหรัฐฯ เป็นเงินสกุลหลักของโลก จุดนี้ทำให้กลุ่มทุนสหรัฐฯสามารถใช้ทุนที่สะสมในรูปของดอลลาร์เข้ายึดครองตลาด และกอบโกยเอาความมั่งคั่งผ่านกลไก World Bank ที่ให้สินเชื่อเพื่อการพัฒนาซึ่งก็พ่วงเอาเงื่อนไขที่ต้องให้สิทธิประโยชน์สารพัดแก่กลุ่มทุนอเมริกันทั้งสิ้น

แต่เนื่องจากการต่อสู้ทางอำนาจนั้นหากอีกฝ่ายรู้เท่าทันอีกฝ่าย ก็จะสร้างกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการต่อรองเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการได้ โดยในช่วงหลังสงครามโลกสหรัฐฯเป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันที่สูงที่สุดในโลก และได้อาศัยโครงการของ World Bank และ การให้ความช่วยเหลือตามแผนการมาร์แชล (Marshall Plan) ในการครอบงำตลาดยุโรป แต่เมื่อยุโรปเริ่มฟื้นตัวได้บ้าง และเริ่มรู้ทันสหรัฐฯ จึงมีการรวมตัวกันของชาติยุโรปเพื่อต่อรองกับสหรัฐฯ ซึ่งผลสุดท้ายที่ตามมาก็คือ สหรัฐฯยอมผ่อนปรนเงื่อนไขการให้เงินกู้ลงครึ่งหนึ่ง พร้อมด้วยการกำหนดให้เก้าอี้ผู้อำนวยการ IMF ต้องมาจากยุโรป ในขณะที่สหรัฐฯได้สงวนสิทธิ์ของเก้อี้ประธาน World Bank


WTO

องค์การการค้าโลก หรือ WTO (World Trade Organization) ก็เหมือนกับ IMF และ World Bank เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นจากข้อตกลง Bretton Woods ตั้งขึ้นมาเพื่อให้สหรัฐฯควบคุมระบบเศรษฐกิจโลกอย่างเบ็ดเสร็จ หรือสร้าง Structural Power ด้านเศรษฐกิจให้กับสหรัฐฯ โดยมีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการภายหลังการเจรจา GATT รอบอุรุกวัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ โดยทุกชาติต้องยกเลิกการกีดกันทางภาษีทั้งหมด เพื่อให้เกิดการค้าที่เสรีอย่างสมบูรณ์

แท้จริงแล้วก่อนที่จะมี WTO หรือ GATT นั้นมีความคิดที่จะจัดตั้งองค์กรโลกบาลองค์กรหนึ่งขึ้นมาเพื่อจัดระเบียบการค้าโลกให้มีความเป็นเสรีอยู่ก่อนแล้ว ตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยขณะนั้นสหรัฐฯมีภาคอุตสหากรรมการผลิตที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก ดังนั้นการที่มีการวางกฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศภายใต้กรอบการค้าเสรี ย่อมทำให้สหรัฐฯได้ประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้นสหรัฐฯจึงมีการผลักดันให้มีการจัดตั้ง องค์การการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Organization: ITO) ขึ้น ภายใต้กฎบัตรฮาวาน่า หรือ Havana Charter

แต่เนื่องจากการเมืองสหรัฐฯเป็นระบบตัวแทน และบรรดาตัวแทนหรือ ส.ส. และ ส.ว. ต่างก็เป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์อันหลากหลายในสหรัฐฯ การณ์เลยกลายเป็นว่าเนื่องจากการตั้ง ITO นั้นไปขัดกับผลประโยชน์ของบรรดากลุ่มทุนเกษตร ดังนั้นจึงมีการล็อบบี้กันสภาคองเกรสอย่างเข้มข้น จนในที่สุดรัฐสภาสหรัฐฯก็ไม่ให้การรับรองการตั้ง ITO ภายใต้กฎบัตรฮาวาน่า องค์กรนี้จึงต้องล้มเลิกไปโดยปริยาย

แม้กระนั้นสหรัฐฯก็ไม่ล้มเลิกความพยายามในการกำหนดกฎเกณฑ์ทางการค้าที่ตัวเองมีแต่ได้เปรียบ สหรัฐฯจึงหันไปใช้เวทีที่หลงเหลืออยู่ก็คือ ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรและการค้า หรือ GATT (General Agreement on Tariff and Trade) โดยเป้าหมายก็เพื่อการเปิดเสรีในบางส่วน แทนที่จะทำการเปิดเสรีในทุกอุตสาหกรรมเหมือน ITO

นอกจากสหรัฐฯจะเดินเกมการค้าระหว่างประเทศผ่าน GATT แล้วสหรัฐฯยังมีการสร้างหลักประกันทางการค้าในอีกรูปแบบหนึ่งขึ้นมาซึ่งก็คือ ข้อตกลงการค้าเสรีทวีปอเมริกาเหนือ หรือ NAFTA (North America Free Trade Agreement) ซึ่งเป็นการสร้างกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค (Regional Trade Block) ขึ้น ทั้งนี้เป้าหมายที่แท้จริงก็เพื่อตอบโต้และถ่วงดุลกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปในช่วงก่อนหน้านี้คือ ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ EEC (European Economic Community) ซึ่งต่อมาก็พัฒนามาเป็น สหภาพยุโรป หรือ EU (European Union) นั่นเอง

ไม่เพียงแต่ซีกตะวันตกเท่านั้น ทางฝั่งตะวันออกหรือทางเอเชียเองก็มีการตั้งความร่วมมือในระดับภูมิภาคขึ้นมาเช่นเดียวกันนั่นก็คือ ASEAN (Association of South East Asian Nations) ซึ่งมีที่มาจากการตั้งองค์กรในลักษณะและวัตถุประสงค์เดียวกับ NATO ก็คือการจัดตั้ง SEATO (South East Asia Treaty Organization) ทั้งนี้แรกเริ่มเดิมที ASEAN เป็นแค่ความร่วมมือทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม แต่หลังจากนั้นก็ขยายมาคลุมประเด็นทางเศรษฐกิจด้วยภายใต้ AFTA (ASEAN Free Trade Agreement)

การสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคไม่เพียงสร้างตลาดภายในที่เข้ทแข็งได้เท่านั้น หากแต่ในเวที่ระหว่างประเทศอย่าง WTO ยังเป็นการสร้างอำนาจต่อรองที่เข้มแข็งมากกว่าการต่อรองในนามชาติใดชาติหนึ่งโดยเฉพาะ ดังเช่นกรณีของสหภาพยุโรปที่ใช้การต่อรองในกลุ่มเพื่อกีดกันไม่ให้สินค้าเกษตรจากประเทศยากจนมาตีตลาดในยุโรปเองได้ เพื่อปกป้องภาคการกษตรของยุดรปเอาไว้ นอกจากนี้การเจรจาเขตการค้าเสรีหรือ FTA (Free Trade Agreement) ในนามของสหภาพยุโรปก็ทำให้อำนาจต่อรองเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลด้วยเช่นกัน


NGOs

องค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGOs (Non Governmental Organizations) นั้นถือเป็นองค์กรระหว่างประเทศอีกองค์กรที่มีบทบาทสูงภายใต้บริบทปัจจุบัน โดย NGOs นั้นมีประวัติการกำเนิดที่สืบย้อนไปไกลถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงใหม่ๆ ชาติต่างๆในยุโรปเสียหายอย่างหนัก บรรดาโบสถ์แคธอลิคในสหรัฐฯมีความต้องการระดมเงินบริจาคไปช่วยเหลือชาวแคธอลิคในยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม โดยกลุ่มองค์กรแคธอลิคกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า CRS (Catholic Relief Service) นอกจากกลุ่มของแคธอลิคแล้ว ก้มีองค์กรบรรเทาทุกข์โดยโบสถ์ของนิกายโรปเตสแตนท์ขึ้นมาในภายหลัง กลุ่มนี้ก็คือ CWS (Church World Service) กล่าวได้ว่า NGOs แห่งแรกของโลกเป็นกลุ่ม NGOs โดยศาสนจักร มีเป้าหมายในเชิงมนุษยธรรม และต่อมาแนวคิดและวิธีปฏิบัติของ NGOs ทั้ง 2 แห่งมีการยอมรับมากขึ้นจึงเกิด NGOs ในลักษณะบรรเทาทุกข์ขึ้นแต่ทำโดยภาคประชาชนตามมาอีกมากเช่น CARE เป็นต้น

ในยุคต้นๆ NGOs อาศัยเงินบริจาคล้วนๆในการดำเนินงานต่างๆเพื่อส่งความช่วยเหลือไปยังยุโรป โดยเราสามารถแบ่ง NGOs ออกเป็น 3 กลุ่มคือ
1.NGOs ที่ให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม เช่น CRS และ CWS
2.NGOs ที่ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการหรือความช่วยเหลือทางเทคนิค ซึ่งต้องอาศัยผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
3.NGOs ที่เป็นองค์กรด้านการพัฒนา ซึ่งเติบโตมากในปัจจุบัน เช่น กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ กลุ่ม NGOs ที่ทำหน้าที่ถ่วงดุลกับกลุ่มทุน หรือกลุ่มองค์กรพัฒนาภาคชนบท เป็นต้น

ด้วยเป้าหมายการทำงานที่ทำเพื่อสังคมโดยแท้ และประกอบกับบรรดาหน่วยงานของรัฐในหลายๆประเทศไม่ใส่ใจดูแลทุกข์สุขของประชาชน และมีการกดขี่ชาวบ้านอย่างมาก ทำให้ NGOs สามารถเข้าถึงมวลชน และได้รับความไว้วางใจอย่างดี ทำให้ NGOs มีความเข้าใจและมีข้อมูลหลายอย่างที่หน่วยงานภาครัฐ หรือแม้แต่กลุ่มทุนไม่มีและไม่สามารถเข้าถึงได้

การที่ NGOs มีความสามารถในการหาข้อมูลเชิงลึกภายใต้ต้นทุนการดำเนินงานที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้มหาอำนาจอย่างสหรัฐฯเห็นประโยชน์ของ NGOs ในการเก็บข้อมูลเชิงลึก เพื่อใช้ในการเผยแพร่ลัทธิบริโภคนิยมอเมริกัน ให้หยั่งรากลึกในชุมชนของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลาย การที่มีสาวกลัทธิบริโภคนิยมในภาคชนบทย่อมหมายถึง ตลาดขนาดมหึมาของกลุ่มทุนอเมริกันด้วย

เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกเพื่อขยายขอบเขตตลาดของสินค้าอเมริกัน สหรัฐฯจึงมีการจัดตั้งหน่วยงานที่มีชื่อว่า USAID (United States Agency for International Development) ขึ้นเพื่อแทรกแทรงตัวเองเข้าไปใน NGOs ต่างๆที่ทำงานอยู่กับมวลชน โดยอาศัยการให้เงินช่วยเหลือการทำโครงการของเหล่า NGOs แต่การที่ให้เงินตรงๆของ USAID อาจนำมาซึ่งความเคลือบแคลงสงสัยของคนที่พอจะรู้ทันได้ สหรัฐฯจึงใช้วิธีให้ NGOs ของตัวเองครอบ NGOs คนอื่นๆอีกทีเพื่ออำพรางตัวเอง โดยสหรัฐฯจะให้เงินช่วยเหลือผ่านวิธีที้เรียกว่า การประมูลงบประมาณ โดยคนที่มักจะไปประมูลงบประมาณก็คือพวก NGOs ฝ่ายศาสนจักรในสหรัฐฯนั่นเอง โดยทางกลุ่มต้องมีการเขียนหนังสือแสดงเจตจำนงหรือ LOI (Letter of Intent) ส่งไปยัง USAID เพื่อแจงรายละเอียดของโครงการ เมื่อ USAID พิจารณาแล้วว่า NGOs กลุ่มนี้ไว้ใจได้ และโครงการที่เขียนเข้าทางที่วางไว้ ก็จะให้เงินช่วยเหลือไปตาม LOI ที่ขอ จากนั้น NGOs เหล่านี้ก้จะนำเงินไปปล่อยให้ NGOs อื่นๆ ผ่านวิธีการเขียน LOI เพื่อขอเงินอีกที ซึ่ง NGOs ที่รับเงินในปลายทางจะต้องรายงานความก้าวหน้าของโครงการ และส่งข้อมูลมาเป็นระยะๆอยู่เสมอ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ กองทัพข้อมูล หรือ Information Convoy จำนวนมหาศาลถูกส่งกลับมายังสหรัฐฯ และเข้ามาอยู่ในมือกลุ่มทุนโดยไม่รู้ตัว

ด้วยเล่ห์เพทุบายเช่นนี้ บรรดากลุ่มทุนผุกขาดจึงอาศัยการตั้ง NGOs บังหน้าบ้างเพื่อไปคลุกคลีกับชาวบ้าน แล้วหลอกเอาข้อมูลต่างๆมา เพื่อประโยชน์ในการครอบงำตลาดในอนาคตด้วย

ดังนั้น NGOs จึงเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในทาง IPE จากการที่มีกิจกรรมเคลื่อนไหวในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงเครือข่ายระดับโลก มีเป้าหมายที่หลากหลาย และนอกจากนี้ก็กลายเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายในการครอบงำ และแผ่อิทธิพลของมหาอำนาจและกลุ่มทุนข้ามชาติด้วย


TNCs / MNCs

ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และการเติบโตแบบก้าวกระโดของทุนนิยมโลกนับตั้งแต่สหภาพโซเวียตล่ม สลายลง ย่อมหลีกเลี่ยงการพูดถึงบทบาทของ บรรษัทข้ามชาติ หรือ TNCs (Transnational Corporations) หรือ MNCs (Multinational Corporations) ไม่ได้ โดยการค้าโลกกว่าร้อยละ 40 นั้นเป้นการค้าอันเป็นผลมาจากการซื้อขายภายในเครือของ MNCs เอง นอกจากนี้ MNCs ยังมีกำลังทางทรัพยากรมหาศาลที่ใหญ่เกินกว่ารัฐบาลของประเทศยากจนจนถึงประเทศที่มีรายได้ปานกลาง หรือแม้แต่รัฐบาลมหาอำนาจเองจะควบคุมได้ MNCs ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Wal-Mart Stores มีรายได้เกือบ 380,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีคนงานกว่า 2 ล้านคนทั่วโลกในปี 2007 ซึ่งถ้าเทียบกับประเทศไทย ต้องถือว่าไทยเล็กกว่า Wal-Mart เสียอีก เพราะไทยมีขนาดเศรษฐกิจแค่ 250,000 ล้านเหรียญเท่านั้น คือ Wal-Mart ใหญ่กว่าไทย 1.5 เท่า ทั้งๆที่ไทยมีประชากรกว่า 63 ล้านคน นอกจากนี้รายได้ของ Wal-Mart ยังคิดเป็นกว่า 11% ของขนาดเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และแม้แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯเองก็ถูกควบคุมโดยเศรษฐกิจของ MNCs ไม่กี่บริษัทที่ทำการวางแผนการจ้างงาน การลงทุน การตลาด เพื่อแข่งกับ MNCs จากซีกโลกอื่น ซึ่งหากพิจารณามุมนี้ อาจเรียกได้ว่า ระบบการบริหาร MNCs เป็นระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลางคือ จากบริษัทแม่ ไม่ต่างจากระบบของพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกในยุคสงครามเย็น ดังนั้นกลไกการแข่งขันเสรีจึงเป็นเรื่องที่โกหกโดยสิ้นเชิง

MNCs นั้นมีประวัติอันยาวนานย้อนไปได้ถึงยุคพาณิชยนิยมตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 14 ที่ยุโรปเริ่ม ออกล่าอาณานิคม และ MNCs ก็ขยายตัวอย่างมากในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 เป้าหมายหลักของ MNCs ไม่ว่าในอดีตหรือปัจจุบัน และในอนาคตนั้นคือ การแสวงหากำไร ซึ่งเป็นธรรมชาติของธุรกิจที่มีการแข่งขันกันในระบบทุนนิยม โดยหาก MNCs ต้องการกำไรที่มากกว่าเดิมนั่นย่อมหมายถึง ต้องมีการผลิตขนาดใหญ่ (Mass Production) และการผลิตขนาดใหญ่ก็ย่อมต้องการตลาดขนาดใหญ่ (Mass Market) ซึ่งมีศักยภาพในการเป็นแหล่งวัตถุดิบ และเป็นตลาดในการระบายสินค้าได้ ดังนั้นจึงต้องมีการล่าอาณานิคมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบและตลาดไปในตัว MNCs ในยุคนั้นเช่น บริษัท East India Trading Company ของอังกฤษถึงกับวางแผนยึดประเทศอินเดียทั้งประเทศ ซึ่งในที่สุดก็ตกเป้นอาณานิคมของอังกฤษในที่สุด

ทั้งนี้การที่ MNCs ทำการยึดอาณานิคมในยุคล่าอาณานิคมก็เพื่อการ exploit เอาความมั่งคั่งหรือมูลค่าส่วนเกินจากตลาดที่เข้าไปยึด ในยุคใหม่ภายใต้สภาวะโลกาภิวัตน์ที่ MNCs สามารถเคลื่อนย้ายทุน และทรัพยากรระหว่างประเทศได้อย่างเสรี MNCs จึงไม่จำเป้นต้องอาศัยกำลังทหารเข้ายึดดินแดนเหมือนสมัยก่อน แต่อาศัยอำนาจแห่งทุน และกลไกระหว่างประเทศอย่างเช่น องค์กร Bretton Woods ทั้ง 3 ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และ NGOs เข้าทำการควบคุมทรัพยากรทั้งหมดเอาไว้ ใช้ทั้งเงินและการล็อบบี้ในระดับชาติและระหว่างประเทศในการสร้างกฎกติกาที่เอื้อต่อการครอบครองตลาด รวมทั้งการครอบงำทางคิดผ่านการโฆษณาชวนเชื่อ และการศึกษา ดังนั้นในยุคใหม่ MNCs จึงสามารถเข้าควบคุมตลาดได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดกว่า และถูกต่อต้านน้อยกว่าในยุคล่าอาณานิคม ดังนั้น MNCs จึงเป็นตัวแทนของลัทธิล่าอาณานิคมสมัยใหม่ (Neo Colonialism) อย่างปฏิเสธ

เครดิต : อ.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ


Create Date : 14 ธันวาคม 2554
Last Update : 14 ธันวาคม 2554 11:59:17 น. 0 comments
Counter : 3280 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.