In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 
อะไรก่อปัญหาเศรษฐกิจเชิงโครงสร้าง

ปัญหาทางเศรษฐกิจของไทยเป็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง เกษตรกรไทย 20-30 ปีที่แล้ว ทำงานมีรายได้อยู่ดีกินดีมีสุข มากกว่าปัจจุบัน ทั้งๆที่เศรษฐกิจได้โตขึ้นมาก แต่เป็นเพราะกระจุกตัวเฉพาะภาคอุตสาหกรรมและอยู่ในเมือง ชนชั้นแรงงานหรือเกษตรกรไทยกลับมีรายได้เท่าเดิมหรือลดลงด้วยซ้ำในขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นไม่รู้กี่เท่า ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนที่ไม่เคยกว้าก็ขยายห่างขึ้น โดยจำนวนของผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมเป็นคนส่วนน้อยของประเทศเท่านั้น เรียกได้ว่าล้มเหลวในแง่ของการกระจายรายได้ ในขณะที่ประเทศเจริญแล้วอย่างเช่น อเมริกา และยุโรปหลายประเทศ มีการกระจายรายได้ที่ดี มีสวัสดิการทางสังคมดีถึงดีมาก เมื่อเทียบกับประเทศไทย หรือกับประเทศในเอเชีย ภายใต้พื้นฐานของทุนนิยมเสรีประชาธิปไตยเท่านั้น ไม่นับประเทศคอมมิวนิสต์ เพราะถ้าพูดเรื่องความเป็นธรรมหรือเสมอภาคของคนส่วนใหญ่ในประเทศถายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ จะทำได้ง่ายกว่าประชาธิปไตยมาก โดยประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์หรือค่อนข้างสังคมนิยม แต่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศอยู่สบายไม่ลำบากก็มีอยู่
ในอเมริกาคุณทำงานเป็นเพียงพนักงานเสิร์ฟ หรือพนักงานระดับล่างๆก็ยังมีสิทธิ์ผ่อนรถ แม้เพียงมือสอง หรือหาซื้อของใช้จำเป็น ให้ชีวิตอยู่สบายได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากได้รับสวัสดิการทางสังคมที่ดี และได้รับผลตอบแทนจากการทำงานที่สูงพอ สอดคล้องกับอุตสาหกรรมประเทศเขา ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายคนระดับล่างแทบไม่มีสิทธิ์หรือแทบไม่ได้รับโอกาสที่จะได้เป็นคนรวยหรือแม้เพียงอยู่สบายก็ยังยาก

เมื่อ10กว่าปีก่อนเราเคย EXPORT สินค้าอะไร ปัจจุบันเราก็ยัง EXPORT สินค้าที่เน้นต้นทุนการผลิตต่ำ ต้องแข่งขันทางด้านราคาเหมือนเดิม ทั้งๆที่ต้นทุนสูงขึ้นหลายเท่าในเรื่องของราคาอสังหาริมทรัพย์และค่าแรงก็แพงขึ้น ไม่สามารถยกระดับไผลิตสินค้าเกรดสูงขึ้น ขายให้ตลาดลูกค้าระดับสูงขึ้น ให้สอดคล้องกับต้นทุนที่สูงขึ้นมากได้ เหมือนอย่างประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลาย วิธีแก้ปัญหาจึงเป็นวิธลดต้นทุนเพื่อผลิตสินค้าให้ได้ถูกลง เช่น กดค่าแรง ใช้แรงงานเด็ก ฯลฯ เนื่องจากเราไม่มีทางเลือกแล้ว ไม่ใช้วิธีลดต้นทุนก็ผลิตสินค้าไม่ได้ พอลดต้นทุน กดค่าแรง คนจนก็ลำบากมีรายได้ไม่เพียงพอ จะผลิตสินค้าระดับสูงขายตลาดสูงโดยไม่เน้นต้นทุนต่ำ จ่ายค่าแรงให้แรงงานอยู่ได้ ก็ยังทำไม่ได้ดี คนรดับล่างส่วนใหญ่ในประเทศกำละงพัฒนา จึงไไม่ได้รับค่าแรงที่เป็นธรรมเพียงพอต่อการใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ไม่เหมือนกับประเทศที่เจริยแล้วที่ถ้าคุณจะรวยต้องไม่ใช่จากการเหยียบบ่าคนจนใช้แรงงานราคาถูก ขายสินค้าให้ตัวเองร่ำรวย แต่ต้องผลิตสินค้าเกรดสูง บนฐานของต้นทุนที่สูง ขายในตลาดระดับสูงเช่นกัน

ประเทศที่ประชาชนอยู่อย่างผาสุก ต้องมีความสอดคล้องกันในแง่ของต้นทุนกับสินค้าที่ผลิต ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นประเทศที่ร่ำรวยเสมอไป แต่ต้องเป็นประเทศที่กระจายรายได้ดี ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่สุขสบาย ซึ่งไม่ใช่ประเทศไทยหรืออีกหลายประเทศที่กำลังพัฒนาในโลก เมื่อมีความไม่สอดคล้องของปัจจัยที่เป็นต้นทุนการผลิตกับสินค้าที่ผลิตได้อยู่ในประเทศใด นอกจากจะทำให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ จากการที่เมื่อ DEMAND ขึ้นไปหา SUPPLY ไม่ได้ SUPPLY จะลงมาหา DEMAND แล้วนั้น ยังจะทำให้เกิดปัญหาสังคมมากมายด้วย เพราะเมื่อช่องว่างทางฐานะห่างขึ้นระหว่างคนจนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศกับคนรวย โดยคนจนไม่มีโอกาสลืมตาอ้าปากได้ ประเทศเราจะกลายเป็นประเทศที่ไม่น่าอยู่สำหรับคนรวยด้วยในอนาคต

จาก หนังสือเศรษฐศาสตร์แห่งความจริง หน้า33-35 



Create Date : 11 มิถุนายน 2555
Last Update : 11 มิถุนายน 2555 15:28:41 น. 0 comments
Counter : 1334 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.