แก้วกาญจนาไม้ยอดนิยมเขตร้อน
''แก้วกาญจนา” ไม้ยอดนิยมเขตร้อน

แก้วกาญจนานิยมปลูกเป็นไม้กระถางประดับตามพื้นที่ซึ่งมีร่มเงา และเป็นไม้ประดับที่เติบโตได้ดีในสภาวะที่มีแสงค่อนข้างน้อย ทั้งยังไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนึก แก้วกาญจนาจึงกลายเป็นไม้ประดับใบที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

การปลูกเลี้ยง :
แก้วกาญจนาสามารถเจริญเติบโตได้ดี เมื่อได้รับแสงไม่เกิน 50% นิยมใช้วัสดุปลูกที่มีการระบายน้ำได้ดี หากมีการเปลี่ยนกระถางเพื่อการขยายพันธุ์บ่อยๆ อาจใช้กาบมะพร้าวสับขนาดเล็กผสมดินใบก้ามปู อัตรา 2 ต่อ 1 เป็นวัสดุปลูก โดยผสมปุ๋ยละลายช้า (ออสโมโคส) ชนิด 6 เดือน ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อ พื้นที่ 1 ลูกบาศก์เมตร

แต่หากไม่มีเวลาที่จะเปลี่ยนกระถางมากนัก ก็อาจใช้ถ่านป่นแทนกาบมะพร้าวสับก็ได้ ทั้งนี้วัสดุปลูก อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการรดน้ำและให้ปุ๋ย การใช้แกลบเผาล้วนหรือเศษถ่านล้วนในการเพาะปลูก ก็สามารถทำให้ต้นแก้วกาญจนางอกงามได้ดี หากมีการให้ปุ๋ยละลายน้ำทุกสัปดาห์

การให้ปุ๋ย นิยมให้ปุ๋ยสูตร 13-27-27(1-2-2) ละลายน้ำรด ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยละลายช้า(ออสโมโคส) สูตร 24-8-16(3-1-2)

การขยายพันธุ์ :

นิยมใช้วิธีการตัดยอดและแยกหน่อ โดยการตัดให้มีตุ่มรากติดมาด้วย 2-3 ราก แต่ถ้าตัดมาแล้วไม่มีรากติดมาด้วย ควรนำไปแช่ในสารป้องกันเชื้อราผสมกับน้ำยาเร่งราก(เซราดิกซ์ เบอร์1) นาน 1-2 ชั่วโมง ก่อนจะนำชิ้นส่วนพืชไปปักชำในถุงพลาสติก ส่วนการขยายพันธุ์แก้วกาญจนาด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ด้วยวิธีการปั่นตาจะใช้ระยะเวลานานมาก ประมาณ 3-4 ปี จึงไม่เป็นที่นิยมมากนักสำหรับการขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้

ศัตรูที่สำคัญของแก้วกาญจนา :
1. เพลี้ยเกล็ด เป็นศัตรูสำคัญที่ทำให้แก้วกาญจนาตายได้ มักพบเกาะอยู่บริเวณใต้ใบและก้านใบในกรณีที่มีการรดน้ำไม่ทั่วถึง จะพบว่าเพลี้ยเกล็ดอยู่ตามส่วนของพืชที่ไม่ถูกน้ำอยู่มาก เมื่อถูกเพลี้ยเกล็ดเข้าทำลายมากจะทำให้ใบเกิดอาการเหลืองและร่วงหลุดจากต้น

2. เพลี้ยแป้ง มักพบเข้าทำลายบริเวณใบอ่อนและราก แต่จะพบที่บริเวณรากเป็นส่วนใหญ่ หากใช้วัสดุปลูกที่โปร่งมากเกินไป หากรดน้ำไม่ทั่วถึงจะพบได้ทั่วทั้งต้น

**การป้องกันกำจัด **

หมั่นเช็ดใบให้สะอาดและรดน้ำให้ทั่วถึงทั้งต้น โดยเฉพาะด้านใต้ใบและตามซอกของใบ หรือใช้น้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอก ละลายน้ำรด ก็เป็นการป้องกันกำจัดเพลี้ยเกล็ด/เพลี้ยแป้งได้อีกทางหนึ่ง หากพบว่ามีการแพร่ระบาดมากให้ฉีดพ่นด้วยลาเซียน่ากำจัดแมลง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์

3. โรคเน่า เป็นโรคที่สำคัญ ซึ่งเกิดจากการรดน้ำมากเกินไปจนวัสดุปลูกชื้นแชะ และวัสดุที่ใช้ปลูกมีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ไม่ดี จึงควรเปลี่ยนวัสดุปลูกเป็นประเภทที่มีการระบายน้ำดี และ พิจารณาให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสมตามสภาพภูมิอากาศ

**การป้องกันกำจัด**


ใช้โคโค-แม็กซ์ อัตรา 1 ช้อนชา/น้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นในตอนเย็น 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์จนกว่าจะหายขาด




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 4 ธันวาคม 2557 21:44:19 น.
Counter : 630 Pageviews.

0 comment
โรคที่สำคัญของอโกลนีมา
โรคที่สำคัญของอโกลนีมา

1.โรคเน่าเละ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinnia carotovora

ลักษณะอาการ อาการ เริ่มแรกที่ใบ จะเกิดเป็นจุดฉ่ำน้ำ แล้วขยายลุกลามออกไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อเยื่อมีลักษณะเหมือนถูกน้ำร้อนลวก เป็นสีน้ำตาลอ่อน ใบพองเต่งและชุ่มน้ำ ถ้า หากลองสัมผัสเพียงเบา ๆ ก็จะเละติดมือขึ้นมา และมีกลิ่นเหม็น หากปล่อยไว้นานจะลามเน่าตายทั้งต้น โรคเน่าเละนี้หากเป็นแล้วมักรัษาได้ยาก จึงควรป้องกันตั้งแต่เริ่มต้น โดยเฉพาะช่วงที่มีความชื้นสูง หรือฤดูฝน

การป้องกันกำจัด
- ควรแยกต้นหรือตัดส่วนที่เป็นโรคออก และไปทำลายทิ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดไปยังต้นอื่นได้- หากเกิดโรคเพียงเล็กน้อย ควรนำต้นออกจากภาชนะปลูก จากนั้นนำไปปลูกในกระถางใหม่ หรือฉีดพ่นด้วย โคโค-แม็กซ์ อัตรา 2 ช้อนชาต่อ น้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นตอนเย็น

2.โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา Myrothecium rorium

ลักษณะอาการ บริเวณใบจะแสดงอาการจุดสีน้ำตาล และขยายเป็นวงกว้างออกไป มีรูปร่างและขนาดไม่แน่นอน แผล มีลักษณะเป็นแถบวงกลมซ้อนกันออกไป มีเม็ดขนาดเล็กสีน้ำตาลเข้มเรียงเป็นแถวอยู่ในแถบวงกลมนั้น เนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะแห้ง เป็นสีน้ำตาลอ่อน หรือสีออกนวล ขอบแผลโดยรอบเป็นสีน้ำตาลเข้ม และมีเนื้อเยื่อสีเหลืองรอบอีกชั้น เมื่อเกิดจุดแผลหลาย ๆ จุด จะลามจนขยายรวมกันเป็นจุดแผลขนาดใหญ่ เนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะแห้งและยาว ฉีกขาดเป็นรูได้ง่ายหากลุกลามไปจนถึงเส้นกลางใบควรทำลายทิ้ง ในสภาพอากาศร้อนชื้น จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การแพร่ระบาดเร็วขึ้น

การป้องกันกำจัด
- หากพบต้นอโกลนีมาที่ไม่แข็งแรง ควรถอนทิ้งแล้วทำการปลูกในดินและกระถางใหม่ จากนั้นใช้ปุ๋ยกล้วยไม้ออคิดส์-โกลด์ ฉีดพ่นใบและโคนต้น ในช่วงเช้าเพื่อช่วยให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี และเพิ่มความแข็งแรงให้กับระบบราก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ง่าย เพราะหากต้นอโกลนีมาไม่แข็งแรงหรือระบบรากไม่สมบูรณ์ จะทำให้เกิดโรคได้ง่าย

- เมื่อพบใบที่เป็นโรค ควรตัดใบทิ้ง พร้อมทั้งนำออกจากแปลงและเผาทำลาย และฉีดพ่นด้วย โคโค-แม็กซ์ อัตรา 2 ช้อนชาต่อน้ำ 5 ลิตร ทุก 7 วัน อย่างน้อย 2 ครั้ง จนไม่พบอาการของโรค

น่ารู้ ไม่ ควรตัดใบที่เป็นโรคทิ้งบริเวณต้นที่เป็นโรคเดิม เพราะจะทำให้สปอร์ของเชื้อราแพร่กระจายไปติดกับต้นอื่นที่อยู่ข้างเคียง โดยสปอร์ของเชื้อราสามารถปลิวไปตามลม การชะล้างของน้ำฝน และการรดน้ำ

3.โรครากเน่า เกิดจากเชื้อรา Pythium spp. มีลักษณะที่สังเกตได้ คือ ต้นเหี่ยว ใบที่โคนต้นเป็นสีเหลือง รากมีสีน้ำตาลดำ เมื่อไปจับดูจะหลุดออกได้ง่าย

การป้องกันกำจัด ควรใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา ด้วยการฉีดพ่น โคโค-แม็กซ์ อัตรา 2 ช้อนชา/น้ำ 5 ลิตร ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ครั้งน่ารู้
- ควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่สะอาด เพื่อลดโอกาสการเกิดโรค
- ไม่ควรวางกระถางต้นอโกลนีมาบนพื้นดิน หรือ บนโต๊ะที่ชื้นแฉะ เพราะหากมีการระบายน้ำที่ไม่ดีจะทำให้เกิดโรคได้




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 4 ธันวาคม 2557 21:40:49 น.
Counter : 360 Pageviews.

0 comment
ทำความรู้จักอโกลนีมา
อโกลนีมา (Aglaonema) หรือ แก้วกาญจนา ได้ชื่อว่าเป็นราชาแห่งไม้ประดับ ที่มีทรงพุ่มที่สวยงาม ขนาดเล็ก กระทัดรัด ใบมีสี และลวดลายที่หลากหลาย จากการที่มีการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่ความสวยงามของอโกลนีมาเท่านั้น แต่ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีจึงเป็น เหมือนพืชที่ช่วยฟอกอากาศ และยังเป็นไม้มงคลที่ช่วยเสริมสิริมงคล และให้โชคลาภแก่ผู้ปลูกอีกด้วย ทำให้อโกลนีมาได้รับความนิยมในการนำมาประดับตกแต่งสวน อาคาร สถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน โรงแรม หรือ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น อโกลนีมา เป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย ไม่ค่อยมีโรคแมลงเข้าทำลายมากนัก สามารถเจริญเติบโตได้ดี

ดินหรือวัสดุปลูก ต้องใช้วัสดุที่โปร่งเบาระบายน้ำได้ดี เพราะทำให้ต้นโตเร็ว และรากไม่เป็นโรคเน่าง่าย โดยใช้ชิ้นมะพร้าวสับขนาดใหญ่ แกลบดิบเก่า (แกลบดิบที่ทิ้งไว้ 3-4 เดือน จนมีสีเหลืองคล้ำ) และใบก้ามปูผุ ในอัตรา 1: 1: 1 หรือ อาจผสมเศษถ่านหิน เพิ่มเข้าไปอีก 1/2 ส่วนก็ได้

น่ารู้ เมื่อปลูกเลี้ยงไปนานๆ ควรดินปลูกทุก 6 เดือน เพื่อให้อโกลนีมาเจริญเติบโตได้ดีขึ้น







Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 4 ธันวาคม 2557 21:36:30 น.
Counter : 530 Pageviews.

0 comment
เทคนิคที่ควรรู้ในการปลูกสับปะรดสี
เทคนิคที่ควรรู้ในการปลูกสับปะรดสี

เรื่องเทคนิคนี้ เป็นสิ่งจำเป็นมาก ที่จะเพาะเลี้ยงให้ประสบความสำเร็จอย่างสูง เพราะพันธุ์สับปะรดสีที่นิยมส่วนใหญ่โตช้า ราคาแพง ถ้าเพาะเลี้ยงไม่ถูกวิธี สับปะรดสี จะไม่แตกหน่อ ไม่เจริญเติบโต สีไม่สวย หรือค่อยๆโทรมตายไปในที่สุด

1.สับปะรดสีชอบกระถางดินเผา โปร่ง ขนาดกระถางที่ใช้ต้องเล็กกว่าต้น ถ้ากระถางใหญ่ ปกติเครื่องปลูกจะมีความชื้นมาก ระบายน้ำช้า

2.ไม่ควรปลูกต้นจมลึกลงไปในวัสดุปลูกมากเกินกาบใบล่าง

3.วัสดุถ้ามีเชื้อรา เป็นเส้นใยสีขาวหรือเป็นแผ่น ที่ผิววัสดุ ให้เปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่ ให้เหลือเฉพาะรากที่เกาะวัสดุอยู่เท่านั้น

4.ถ้าในฤดูฝน ความชื้นสูง ควรฉีดพ่นยาป้องกันเชื้อราและแบคทีเรียโคโค-แม็กซ์ ทุก 7-15 วันครั้ง ป้องกันใบเน่าเป็นจุดๆ หรือตายไปได้

5.ถ้าต้นแตกหน่อ จนก้านหน่อแข็งแรง ให้รีบตัดหน่อไปปลูกใหม่ ต้นแม่จะได้ไม่โทรม และมีหน่อ ใหม่ได้เร็วขึ้น

6.ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยกล้วยไม้ออคิดส์-โกลด์ ฉีดพ่นในช่วงเช้ามีแดด ใช้ได้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน

7.หมั่นถอนหญ้า,มอส และตะไคร่ เพราะทำให้วัสดุปลูกถ่ายเทอากาศได้น้อย

8.ศัตรูแมลงที่พบได้บ่อย คือเพลี้ย สามารถกำจัดได้ด้วยลาเซียน่า อัตรา 2 ช้อนชา/น้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นในตอนเย็น


เทคนิคนี้หลายๆท่านได้ทดลองใช้กันมาแล้วได้ผลจริง ลองนำไปใช้กันดูนะครับ




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 4 ธันวาคม 2557 20:53:12 น.
Counter : 211 Pageviews.

0 comment
การกำจัดเพลี๊ยไฟและศัตรูพืช
เพลี้ยไฟ เป็นที่รู้จักกันดีในวงการผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ในชื่อว่า "ตัวกันสี" เป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็กมาก มีความยาวประมาณ 1 - 2 มิลลิเมตร รูปร่างเรียวยาว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อน หรือสีดำ ตัวแก่มีปีกซึ่งมีลักษณะแคบยาว มักจะพบเห็นตัวอ่อนเกาะบนกล้วยไม้ เพลี้ยไฟมีการเคลื่อนไหวรวดเร็วมาก ถ้าไม่สังเกตจะมองไม่เห็นตัว
ลักษณะอาการ เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนที่อ่อนๆ เช่น ตามยอด ตาและดอก มักพบเพลี้ยไฟเข้าทำลายกล้วยไม้ในฤดูร้อนและฤดูฝน ทำความเสียหายมากแก่กล้วยไม้ในระยะที่ดอกตูมและดอกกำลังบาน โดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต เป็นสีน้ำตาลและแห้งคาก้านช่อดอก ส่วนอาการที่ดอกบานเริ่มแรกจะเห็นเป็นรอยแผลสีซีดขาวที่ปากหรือกระเป๋า และตำแหน่งของกลีบดอกที่ซ้อนกัน ต่อมาแผลจะกลายเป็นสีน้ำตาลเรียกว่า "ดอกไหม้หรือปากไหม้" ดอกเหี่ยวแห้งง่าย
การป้องกันและกำจัด ใช้ ลาเซียน่า 3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นในช่วงเย็นๆ เพื่อกำจัดและตัดวงจรของของศัตรูพืชต่างๆ

ไรแดงหรือแมงมุมแดง

เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของกล้วยไม้ โดยเฉพาะกล้วยไม้สกุลหวาย ไรแดงเป็นศัตรูจำพวกปากดูดมีขนาดเล็กมาก แต่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นจุดสีแดงเล็กๆ เคลื่อนไหวได้ ไรแดงมีสีต่างๆ เช่น สีแดง สีเหลืองอมเขียว สีเหลืองและส้ม รูปร่างค่อนข้างกลม มักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มทางด้านใต้ใบ
ลักษณะอาการ ไรแดงจะทำลายทั้งใบและดอก โดยจะดูดน้ำเลี้ยง ถ้าดูดน้ำเลี้ยงที่ใบจะทำให้เกิดเป็นจุดด่าง ผิวใบไม่เรียบ มีสีเหลืองและค่อยๆ เป็นสีเข้มขึ้นจนถึงสีน้ำตาล ถ้ามีการทำลายมากๆ จะมองเห็นบริเวณนั้น
การป้องกันและกำจัด ทำได้โดยเก็บใบและดอกที่ถูกทำลายไปเผาและใช้ ลาเซียน่า 3 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทั้งต้น




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 4 ธันวาคม 2557 20:44:21 น.
Counter : 302 Pageviews.

0 comment
1  2  

tanatporn_ts
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ http://www.kokomax.com เทคโนโลยีการเกษตรชีวภาพ
ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ ในนามเว็บไซต์ http://www.kokomax.com ผู้นำด้านเทคโนโลยีการเกษตรในแนวทางชีวภาพ ก่อตั้งเมื่อตั้งแต่ปี 2549 ดำเนินงานด้านการส่งเสริมการทำเกษตรชีวภาพ ลดสารเคมี มีความยินดีที่ได้รับการตอบรับจากเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และผู้ใช้ในหน่วยงาน ฟาร์ม และบ้านเรือน เป็นอย่างดี และจะพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น