การปลูกมะเขือเปราะ
มะเขือเปราะ

ลักษณะโดยทั่วไป
มะเขือเปราะเป็นพืชผักที่มีอายุยืน สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
การเพาะกล้ามะเขือเปราะ

1.ให้เตรียมดินละเอียดพร้อมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2:1 และใส่ดินผสมดังกล่าวลงในถาดพลาสติกเพาะกล้า

2.ใช้เศษไม้เล็กๆ (ขนาดเท่าไม้จิ้มผลไม้) กดลงไปในดินที่บรรจุอยู่ในถาดพลาสติกเพาะกล้า ขนาดความลึก 0.5 ซม.

3.นำเมล็ดมะเขือเปราะหยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 1-2 เมล็ด

4.กลบดินผิวหน้าเมล็ดไปจากถาดพลาสติกเพาะกล้าโดยใช้ปูนขาวโรยเป็นเส้นล้อมถาดเพาะไว้

5.หลังเพาะนาน 7-10 วัน มะเขือเปราะเริ่มงอก หมั่นรดน้ำต้นกล้ามะเขือเปราะทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเข้าและเย็นจนกระทั่งต้นกล้ามะเขือเปราะมีอายุ 25-30 วัน จึงย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในกระถางหรือในแปลงปลูก

การเตรียมในแปลงหรือในกระถาง

1.ถ้าปลูกในแปลงควรเตรียมดินปลูก โดยใช้จอบขุดย่อยดินหน้าดินลึก 15-20 ซม. และย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอกหรือใส่ปุ๋ยหมัก หว่านและคลุกเคล้าให้เข้ากับดินในแปลง

2.ในกรณีปลูกในกระถาง ให้ผสมดินปลูกในกระถาง โดยใช้ดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 2:1

การดูแลรักษา
1.ย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในแปลง หรือในกระถาง
2.รดน้ำทุกวัน และในช่วงการติดผลต้องระมัดระวังในน้ำอย่างสม่ำเสมอ
3.หลังย้ายปลูกแล้ว 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1/4 ช้อนชา ควรโรยปุ๋ยห่างโคนต้นประมาณ 2-3 เซนติเมตรและรดน้ำทันที
4.ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1/4 ช้อนชาทุกๆ 15 วัน
5.หลังย้ายปลูกนาน 45-60 วัน มะเขือเปราะเริ่มทยอยผลผลิต สามารถเก็บผลผลิตไปบริโภคได้
6.หลังจากที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตมะเขือเปราะไปแล้วประมาณ 2 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งออกบ้าง เพื่อทำให้ลำต้นมะเขือเปราะเจริญเติบโตแตกกิ่งก้านใหม่ที่มีความแข็งแรง จะให้ผลผลิตรุ่นใหม่ได้อีก และควรทำการตัดแต่งและบำรุงต้นมะเขือเปราะด้วยฮอร์โมนช้อนเงินเช่นนี้ทุกๆ 2-3 เดือน




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 21:45:43 น.
Counter : 872 Pageviews.

0 comment
การปลูกมะเขือยาว
การปลูกมะเขือยาว

มะเขือยาว เป็นพืชข้ามปี สามารถเจริญ เติบโตในดิน ทุกสภาพ ดินมีความเป็น กรดเป็นด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ปลูกได้ ตลอดปี และทั่วทุกภาค ของไปประเทศไทย มะเขือยาว เป็นพืชที่เรา ใช้ส่วนผล ในการบริโภค ใช้เป็นผักสด หรือประกอบ อาหารได้หลายชนิด

การเตรียมแปลงและเพาะกล้ามะเขือยาว
ขุดดินลึก 15-20 เซนติเมตร (1 หน้าจอบ) ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลาย ตัวดีแล้วพรวนดิน และย่อยดินให้ละเอียด ยกเป็นแปลง ตามขนาดและตามความต้องการ ปรับหน้าดินให้เรียบหว่าน เมล็ดพันธุ์ให้กระจายให้ทั่วแปลง แล้วหว่านกลบด้วย ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุดด้วยฟางข้าวกลบหน้าบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม ดูแลรักษากล้านาน 25-30 วัน ต้นกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ จึงย้ายลงแปลงปลูก

การเตรียมแปลงปลูกและการย้ายปลูก
มะเขือยาว เป็นพืชที่มีรากค่อนข้างลึก ในแปลงปลูกควรโรยปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ยกแปลงให้สูง 20-30 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5 เมตร ความยาวแปลงแล้วแต่พื้นที่ ขุดหลุมปลูกลึก 15-20 เซนติเมตร (1 หน้าจอบ) ใช้ระยะ ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 10 เซนติเมตร รองกันหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ 1/2 ช้อนชา ทับหน้าปุ๋ยเคมีด้วยปุ๋ยคอก หลุมละ 1 กะลามะพร้าว เสร็จแล้วให้นำต้นกล้าลงปลูกในหลุม แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษามะเขือยาว
การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 1 ช้อนชา/ต้น ทุกๆ 15-20 วัน โรยห่างโคนต้น 5-10 เซนติเมตร (บริเวณชายทรงพุ่ม) หรือใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอโดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้
การให้น้ำ ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
การพรวนดินกำจัดวัชพืช หลังจากปลูกแล้ว ถ้ามีวัชพืชให้รีบกำจัดอย่างปล่อยให้รบกวน เพราะจะทำให้แย่งน้ำอาหาร และควรพรวนดินไปด้วยเพื่อให้ดินร่วน

หากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย ใช้โคโค-แม็กซ์ อัตรา 5 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตอนเย็น จะกำจัดโรคได้เป็นอย่างดี
การเก็บเกี่ยวมะเขือยาว
อายุการเก็บเกี่ยวของมะเขือยาวประมาณ 60-80 หลังย้ายกล้าลงปลูกสามารถเก็บได้ ให้เลือกเก็บผลที่มีขนาดพอเหมาะ




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 21:46:03 น.
Counter : 280 Pageviews.

0 comment
โรคยอดหงิกของพริก
พริกยังคงเป็นพืชที่มีพื้นที่ปลูกค่อนข้างมาก โดยส่วนมากจะมีปัญหาเริ่มตั้งแต่การเพาะกล้า เช่น โรคกล้าเน่า กล้ายุบ หรือแม้แต่ปลูกไปแล้วใบหงิก ช่วงที่กำลังเจริญเติบโตก็มีหนอนกิน ติดผลแล้วถูกเชื้อราทำลาย เช่นผลเน่า กุ้งแห้ง แอนแทรคโนส เป็นต้น ประมาณ 90% โดยเกษตรกรยังคงแก้ไขกันที่ปลายเหตุ

การทำพริกปลอดสารนั้นเน้นหนักไปที่การปรับปรุงดินให้มีค่า PH อยู่ที่ 5.8-6.4 ถ้าค่า PH ต่ำ ก็ควรใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ หรือถ้าค่า PH สูงควรใส่แคลเซี่ยมซัลเฟตหรือภูไมท์ ถ้าดินเคยใส่ยาคลุมหญ้าหรือยาฆ่าหญ้ามามาก อาจจะมีสารตกค้างควรใส่แคลเซี่ยมซัลเฟต 20-40 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อทำลายสารตกค้าง เมื่อเพาะเมล็กควรใช้เชื้อโคโค-แม็กซ์ ทำลายเชื้อราโรคพืชตกค้างในดิน และใส่คลุกเคล้ารองก้นหลุมก่อนปลูกกล้าจะช่วยป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า ป้องกันโรคใบหงิก ที่เกิดจากไรขาวและเพลี๊ยนั้นใช้วิธีรองก้นหลุมด้วยแคลเซี่ยมซัลเฟตหรือฉีดพ่นด้วยลาเซียน่า และตลอดช่วงรักษาใช้แคลเซี่ยมซัลเฟต 2 ส่วน ผสมเคมี 5 ส่วน แทนการใช้ปุ๋ยเคมี 10 ส่วน จะทำให้พริกแข็งแรงและได้ผลผลิตมากกว่า เชื้อราต่างๆ ใช้เชื้อโคโค-แม็กซ์ อัตรา 5 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร แช่น้ำทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมง ฉีดพ่นตอนเย็น 5-7 วันครั้ง ตลอดเวลาการผลิตพริกจะไม่มีปัญหาโรคกุ้งแห้งหรือแอนแทรคโนสกินผลพริกเลย

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ
//www.kokomax.com




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 21:49:56 น.
Counter : 239 Pageviews.

0 comment

tanatporn_ts
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ http://www.kokomax.com เทคโนโลยีการเกษตรชีวภาพ
ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ ในนามเว็บไซต์ http://www.kokomax.com ผู้นำด้านเทคโนโลยีการเกษตรในแนวทางชีวภาพ ก่อตั้งเมื่อตั้งแต่ปี 2549 ดำเนินงานด้านการส่งเสริมการทำเกษตรชีวภาพ ลดสารเคมี มีความยินดีที่ได้รับการตอบรับจากเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และผู้ใช้ในหน่วยงาน ฟาร์ม และบ้านเรือน เป็นอย่างดี และจะพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น