อาการขาดธาตุอาหารของผักไร้ดิน
หลายๆท่านที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ได้สอบถามทางชมรมเข้ามาว่าการที่ผักขาดธาตุอาหาร ธาตุเหล็กและแมงกานีส แตกต่างกันอย่างไร และต้องทำอย่างไร

โดยการที่ผักขาดธาตุเหล็ก ลักษณะจะมีสีเหลืองอ่อนถึงซีด แผ่นใบเหลืองและเส้นใบเขียว สักเกตุปลายรากจะบวม แต่หากขาดธาตุแมงกานีส ผักจะแสดงอาการที่ใบเช่นเหลืองซีด ใบจะเป็นจุดเล็กๆ กระจายทั่วทั่งใบ ทั้งใบอ่อนและใบแก่ หรือในบางกรณีอาจขาดธาตุอาหารหลายๆตัวพร้อมกันได้ ต้องดูที่ลักษณะความรุนแรงคือจะเริ่มมีใบเหลืองเป็นอันดับแรก ผักช่วงนี้อาจจะเจอโรคทำลายได้ง่ายต้องระวังให้ดีครับ ยิ่งหากเป็นช่วงหน้าฝนแล้วยิ่งต้องระวัง ในการขาดธาตุอาหารทางชมรมแนะนำฮอร์โมนช้อนเงิน ช้อนเงินนี้จะมีธาตุอาหารครบทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม และจุลธาตุต่างๆที่จำเป็นสำหรับผัก จะหยุดอาการขาดธาตุอาหารได้ดี ทำให้ผักโตไว เก็บผลผลิตได้เร็วขึ้น ผักกรอบ น้ำหนักดี สามารถใช้กับน้ำในระบบได้ดี หรือหากฉีดพ่นร่วมด้วยจะดีมาก เช่น นำช้อนเงินอัตรา 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นผักในตอนเช้าแดดจัด ทุกๆ 7-10 วัน เห็นผลภายใน 3 วัน ผักจะเขียวสวย โตเร็ว ป้องกันโรคและแมลงได้เป็นอย่างดี






Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 21:46:42 น.
Counter : 1101 Pageviews.

0 comment
โรคใบจุดในผักปลอดสารพิษ(ผักไร้ดิน)
ปัจจุบันพบการแพร่ระบาดของโรคใบจุดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะฟาร์มที่ปลูกในระบบเปิด เชื้อนี้สามารถมาได้หลายทาง ยิ่งหากเป็นฟาร์มที่ปรับเปลี่ยนระบบการผลิต มาจากการปลูกผักบนดิน หรือปลูกควบคู่กัน และฟาร์มเก่า เนื่องจากมีเชื้อสามารถขยายพันธุ์และสามารถแพร่ระบาดได้ง่าย และเชื้อสามารถอยู่ข้ามฤดูได้ ประกอบกับ พืชที่ปลูกในระบบไม่ใช้ดิน จะมีความต้านทานต่อโรคน้อยกว่าพืชที่ปลูกบนดิน เนื่องจาก

1.ไม่ใช้สารเคมีป้องกันโรค

2.มีความสม่ำเสมอทางพันธุกรรม เป็นเหตุให้เชื้อมีการปรับตัว และเข้าทำลายได้ง่าย

3.จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในระบบมีน้อยกว่า ทำให้ขาดสิ่งที่ปกป้องตามธรรมชาติ

ฟาร์มเก่าอาจพบปัญหาโรคใบจุดได้ในช่วงปีแรกๆของการปลูก หากมีการดูแล และสุขาภิบาลที่ไม่ดีพอ

สำหรับโรคใบจุดในสลัดพันธุ์ต่างประเทศ และคื่นฉ่ายที่ปลูกในระบบปลูกพืชไม่ใช้ดินที่ได้ตรวจพบในประเทศไทย ยังไม่ได้มีการยืนยันถึงเชื้อสาเหตุที่แน่ชัด แต่จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า เชื้อส่วนใหญ่ได้แก่ เชื้อ Cercospora spp.

การแพร่ระบาด

เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคใบจุด สามารถอาศัยอยู่ในซากพืช และในดินได้ดี หรือติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ สปอร์จะแพร่ระบาดได้ดีไปกับลม และน้ำฝน น้ำที่ใช้ในระบบพ่นฝอย ช่วยให้โรคจะบาดได้เร็วขึ้น นอกจากนี้วัชพืชที่อยู่รอบๆแปลงปลูก จะเป็นแหล่งหลบอาศัยของเชื้อได้

การป้องกันกำจัด

1.ในฟาร์มเปิดใหม่ ควรเตรียมพื้นที่ปลูกให้ดี พื้นโรงเรือนควรโรยด้วยหินกรวด เพื่อป้องกันน้ำขัง เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค

2.ในพื้นที่ที่มีลมแรง ควรใช้ซแรนขึง หรือปลูกพืชกำบังลม เพื่อไม่ให้ส่วนขยายพันธุ์จากแปลงข้างเคียงปลิวเข้ามา

3.ดูแลกำจัดวัชพืชบริเวณรอบๆพื้นที่ปลูกให้สะอาด

4.ใช้วัสดุเพาะกล้าที่ใหม่สะอาด หรือผ่านการฆ่าเชื้อแล้วในการเพาะกล้า

5.ปรับระยะเวลาการสเปย์น้ำให้เหมาะสม อย่าให้ชื้นแฉะเกินไป

6.หากพบโรค ให้เก็บส่วนของพืชที่เป็นโรคไปเผาทำลาย หรือฝังกลบโรยด้วยปูนขาว อย่าทิ้งเศษพืชที่เป็นโรคลงบนพื้น บริเวณโต๊ะปลูก

7.หลังเก็บเกี่ยว ทำความสะอาดโต๊ะปลูก และพ่นด้วยสารชีวภาพโคโค-แม็กซ์ เพื่อกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียตกค้าง

8.ในฟาร์มที่พบการระบาดรุนแรง อาจต้องพ่นสารชีวภาพโคโค-แม็กซ์เพื่อ ป้องกันเชื้อราในระยะเพาะกล้า

9.หากมีการระบาดรุนแรงจนควบคุมไม่ได้ อาจต้องพักแปลงปลูก ทำความสะอาด และพ่นด้วยสารชีวภาพโคโค-แม็กซ์ (อัตราเข้มข้น) บริเวณพื้นที่ปลูกเพื่อควบคุมโรค ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ และคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญ




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 21:46:21 น.
Counter : 213 Pageviews.

0 comment
การป้องกันโรครากเน่าในระบบไฮโดรโพนิกส์
การป้องกันโรครากเน่าในระบบไฮโดรโพนิกส์โดยใช้ PH ที่แตกต่างกันในแต่ละฤดู

การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ในแต่ละฤดูควรใช้ PH ที่แตกต่างกันเพราะ PH ที่ 5.2 จะทำให้ผักเจริญเติบโตได้ดี แต่ถ้าสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูงเกินไปก็จะทำให้รากของผักเสียได้ง่ายและโรคก็จะเข้าทำลาย เชื้อราที่เป็นโทษต่อผักเช่น เชื้อราพิเที่ยมจะชอบ PH ค่อนข้างต่ำและเมื่อสารละลายธาตุอาหารมีอุณหภูมิสูงด้วยแล้วก็จะทำให้เกิดโรครากเน่าได้ง่าย ในทางกลับกันเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ใช้ป้องกันโรครากเน่าจากเชื้อราพิเที่ยมจะชอบ PH ค่อนข้างสูงถ้า PH สูงเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัดเชื้อราพิเที่ยมได้ดีขึ้นเพราะฉะนั้นการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ในฤดูร้อนควรใช้ PH ที่ประมาณ 6.5-7.0 จะปลูกผักได้ดีอาจจะมีปัญหาบ้าง แต่เราก็สามารถแก้ไขได้คือ

1) การปลูกผักที่ PH 6.5-7.0 อาจจะมีธาตุอาหารบางตัวตกตะกอนเราสามารถแก้ไขได้โดยการใช้เชื่อราไตรโคเดอร์มาใส่ไปในระบบเพื่อย่อยธาตุอาหารที่ตกตะกอนให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่และยังเป็นตัวกำจัดเชื้อราพิเที่ยมพร้อมทั้งยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของผัก ช่วยกระตุ้นให้ผักสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยขจัดแคลเซียมฟอสเฟตที่ตกตะกอนอยู่ที่รางและที่ๆสารละลายธาตุอาหารไหลผ่านให้หมดไป ช่วยยืดอายุการใช้งานของปั๊มน้ำ

2) เหล็กอาจจะเสื่อมและตกตะกอนแก้ไขโดยใช้เหล็กที่ทน PH ได้สูง เช่น เหล็ก EDDHA ถึงจะมีราคาแพงขึ้นแต่ถ้าผักโตได้ดีในฤดูร้อนก็คุ้มค่าในฤดูฝนควรปลูกผักที่ PH ประมาณ 6.0-6.5 เพราะช่วงนี้สารละลายธาตุอาหารจะไม่ร้อนมากเหมือนฤดูร้อนส่วนในฤดูหนาวควรปลูกที่ PH ประมาณ 5.5-6.0 ในฤดูหนาวสภาพอากาศเหมาะแก่การเจริญเติบโตและมีโรครบกวนน้อยจึงปลูกผักที่ PH ต่ำได้

ข้อมูลจากภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 21:47:01 น.
Counter : 217 Pageviews.

0 comment

tanatporn_ts
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ http://www.kokomax.com เทคโนโลยีการเกษตรชีวภาพ
ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ ในนามเว็บไซต์ http://www.kokomax.com ผู้นำด้านเทคโนโลยีการเกษตรในแนวทางชีวภาพ ก่อตั้งเมื่อตั้งแต่ปี 2549 ดำเนินงานด้านการส่งเสริมการทำเกษตรชีวภาพ ลดสารเคมี มีความยินดีที่ได้รับการตอบรับจากเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และผู้ใช้ในหน่วยงาน ฟาร์ม และบ้านเรือน เป็นอย่างดี และจะพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น