โรคกาบใบแห้ง (Sheath blight)
โรคกาบใบแห้ง (Sheath blight)

สาเหตุ เชื้อรา Rhizoctonia solani (Thanatephorus cucumeris (Frank) Donk) (Corticium sasakii (Shirai) Mats.)

อาการ

เริ่มพบโรคในระยะข้าวแตกกอจนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว ยิ่งต้นข้าวมีการแตกกอมากเท่าใด ต้นข้าวก็จะเบียดเสียดกันมากขึ้น โรคก็จะเป็นรุนแรง ลักษณะแผลสีเขียวปนเทา ขนาดประมาณ 1-4 x 2-10 มม. ปรากฏตามกาบใบตรงบริเวณใกล้ระดับน้ำ แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดไม่จำกัดและลุกลามขยายขึ้นถึงใบข้าว ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลสามารถลุกลามถึงใบธงและกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง ผลผลิตจะลดลงอย่างมากมาย

การแพร่ระบาด

เชื้อราสามารถสร้างเม็ดขยายพันธุ์ อยู่ได้นานในตอซังหรือวัชพืชในนาตามดิน และมีชีวิตข้ามฤดูหมุนเวียนทำลายข้าวได้ตลอดฤดูกาลทำนา

การป้องกันกำจัด

1.หลังเก็บเกี่ยวข้าว ควรเผาตอซัง และพลิกไถหน้าดิน เพื่อทำลายเมล็ดขยายพันธุ์ของเชื้อรา

2.กำจัดวัชพืชตามคันนาและแหล่งน้ำ เพื่อลดโอกาสการฟักตัวและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราสาเหตุโรค

3.ใช้พันธุ์ที่ต้านทาน เช่น กข 13

4.ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย โคโค-แม็กซ์ อัตราตามคำแนะนำของนักวิชาการ โดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรานี้ในบริเวณที่เริ่มพบโรคระบาด ไม่จำเป็นต้องพ่นทั้งแปลงเพราะโรคกาบใบแห้งจะเกิดเป็นหย่อม ๆ




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 21:47:21 น.
Counter : 505 Pageviews.

0 comment
โรคใบขีดสีน้ำตาล (Narrow Brown Spot)
โรคใบขีดสีน้ำตาล (Narrow Brown Spot)

สาเหตุ เชื้อรา Cercospora oryzae I. Miyake

อาการ
ลักษณะแผลมีสีน้ำตาลเป็นขีด ๆ ขนานไปกับเส้นใบ มักพบในระยะข้าวแตกกอ แผลไม่กว้าง ตรงกลางเล็กและไม่มีรอยช้ำที่แผล ต่อมาแผลจะขยายมาติดกัน แผลจะมีมากตามใบล่างและปลายใบ ใบที่เป็นโรคจะแห้งตายจากปลายใบก่อน ต้นข้าวที่เป็นโรครุนแรงจะมีแผลสีน้ำตาล ที่ข้อต่อใบได้เช่นกัน เชื้อนี้สามารถเข้าทำลายคอรวง ทำให้คอรวงเน่าและหักพับได้

การแพร่ระบาด

สปอร์ของเชื้อรา ปลิวไปกับลม และติดไปกับเมล็ด

การป้องกันกำจัด

1.เผาตอและกำจัดหญ้าบนคันนา

2.ใช้พันธุ์ต้านทานที่เหมาะสมเฉพาะท้องที่

3.ใช้ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ อัตรา 5-10 กก./ไร่ สามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคได้

4.กรณีที่เกิดการระบาดของโรครุนแรง อาจใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย โคโค-แม็กซ์ ป้องกันกำจัดได้เป็นอย่างดี

โรคใบวงสีน้ำตาล (Leaf Scald)

สาเหตุ เชื้อรา Rhynocosporium oryzae Has.and Yokogi

อาการ
ระยะกล้า ข้าวจะแสดงอาการไหม้ที่ปลายใบและมีสีน้ำตาลเข้ม ระยะแตกกอ อาการส่วนใหญ่จะเกิดบนใบ แต่มักจะเกิดแผลที่ปลายใบมากกว่าบริเวณอื่น ๆ ของใบ แผลที่เกิดบนใบ ในระยะแรกมีลักษณะเป็นรอยช้ำ รูปไข่ยาว ๆ แผลสีน้ำตาลปนเทา ขอบแผลสีน้ำตาลอ่อน จากนั้นแผลจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นรูปวงรี ติดต่อกัน ทำให้เกิดอาการใบไหม้บริเวณกว้าง และเปลี่ยนเป็นสีฟางข้าว ในที่สุดแผลจะมีลักษณะเป็นวงซ้อน ๆ กันลุกลามเข้ามาที่โคนใบมีผลทำให้ข้าวแห้งก่อนกำหนด

การแพร่ระบาด

มีพืชอาศัย เช่น หญ้าชันกาด หญ้าขน

การป้องกันกำจัด

1.ใช้พันธุ์ข้าวต้านทาน เช่น กำผาย 15, หางยี 71

2.กำจัดพืชอาศัยของเชื้อราสาเหตุโรค

3.ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาด หรือพบแผลลักษณะอาการดังที่กล่าวข้างต้น บนใบข้าว จำนวนหนาตา ในระยะข้าวแตกกอ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชโคโค-แม็กซ์ ตามอัตราคำแนะนำ




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 21:47:37 น.
Counter : 511 Pageviews.

0 comment
โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Spot)
โรคใบจุดสีน้ำตาล (Brown Spot)

สาเหตุเชื้อรา Helminthosporium oryzae Breda de Haan.

อาการ

แผลที่ใบข้าวมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล รูปกลมหรือรูปไข่ ขอบนอกสุดของแผลมีสีเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 มม. แผลที่มีการพัฒนาเต็มที่ขนาดประมาณ 1-2 x 4-10 มม. บางครั้งพบแผลเป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิมกระจัดกระจายทั่วไปบนใบข้าว แผลยังสามารถเกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก บางแผลมีขนาดเล็ก บางแผลอาจใหญ่คลุมเมล็ดข้าวเปลือก ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกสกปรก เสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสีข้าวสารจะหักง่าย

การแพร่ระบาด

เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลมและติดไปกับเมล็ด

การป้องกันกำจัด

1. ใช้พันธุ์ต้านทานที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีคุณสมบัติต้านทานโรคใบสีส้ม

2. คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย โคโค-แม็กซ์

3. ใส่ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ อัตรา 5-10 กก./ไร่ ช่วยให้ข้าวเป็นโรคน้อยลง

4. กำจัดวัชพืชในนา ทำแปลงให้สะอาด ใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม หรือปลูกพืชหมุนเวียนจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
5. ถ้าอาการของโรครุนแรง ในระยะข้าวแตกกอ ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย โคโค-แม็กซ์ อัตราตามคำแนะนำของนักวิชาการ




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 21:47:55 น.
Counter : 233 Pageviews.

0 comment
โรคใบไหม้ ในข้าว(Rice Blast)
โรคไหม้ (Rice Blast)

สาเหตุ เชื้อรา Pyricularia grisea (Cooke) Sacc.

อาการ

ระยะกล้า ใบมีแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มม. ความยาวประมาณ 10-15 มม. แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้ง ฟุบตาย คล้ายถูกไฟไหม้ ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ ระยะคอรวง ถ้าข้าวเพิ่มเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก

การแพร่ระบาด

พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ใส่ปุ๋ยสูง และมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน ถ้าอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 22-25°ซ ลมแรงจะช่วยให้โรคแพร่กระจายได้ดี เชื้อราสามารถติดไปกับเมล็ดข้าว แพร่กระจายไปตามดิน น้ำ ลม

การป้องกันกำจัด
1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค เช่น กข 1 กข 9 กข 11 กข 21 สพ. 1 และคลองหลวง 1

2. หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสมคือ 15-20 กก./ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าถึง 50 กก./ไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว

3. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารชีวภาพป้องกันกำจัดเชื้อรา โคโค-แม็กซ์ ตามคำแนะนำของนักวิชาการ

4. ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาด ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแบคทีเรีย โคโค-แม็กซ์ตามอัตราที่ระบุ จะป้องกันโรคไหม้ระยะคอรวงได้ดี




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 21:48:15 น.
Counter : 412 Pageviews.

0 comment

tanatporn_ts
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ http://www.kokomax.com เทคโนโลยีการเกษตรชีวภาพ
ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ ในนามเว็บไซต์ http://www.kokomax.com ผู้นำด้านเทคโนโลยีการเกษตรในแนวทางชีวภาพ ก่อตั้งเมื่อตั้งแต่ปี 2549 ดำเนินงานด้านการส่งเสริมการทำเกษตรชีวภาพ ลดสารเคมี มีความยินดีที่ได้รับการตอบรับจากเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และผู้ใช้ในหน่วยงาน ฟาร์ม และบ้านเรือน เป็นอย่างดี และจะพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น