โรคกล้วยไม้ยอดนิยม
*** โรคทั้งหมดนี้ ใช้ เชื้อ โคโค-แม็กซ์ แน่นอนครับ

โรคของกล้วยไม้และการป้องกันกำจัด



โรคใบจุด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Phyllostictina psriformis
ลักษณะ แผลเป็นรูปยาวรี ถ้าเป็นมากบางครั้งแผลจะรวมกันเป็นแผ่น บริเวณตรงกลางแผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาลดำ
เมื่อลูบจะรู้สึกสากมือ
การป้องกัน นำใบที่ติดโรคไปเผา
การกำจัด ใช้เชื้อ โคโค แม็กซ์ 5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่น้ำ 3-5 ชั่วโมงแล้วนำไปฉีกตอนเย็น
กล้วยไม้มักเป็นโรค สกุลแวนด้าและสกุลหวาย



โรคเน่าเละ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas gladioli
ลักษณะ แรกเริ่มจะเป็นจุดช้ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือบนหน่ออ่อน เนื้อเยื่อเหมือนถูกน้ำร้อนลวกคือใบจะพอง
เป็นสีน้ำตาล ฉ่ำน้ำ และมีกลิ่นเหม็น
การป้องกัน ไม่ควรปลูกกล้วยไม้แน่นเกินไป เพราะจะทำให้อากาศระหว่างต้นไม่ถ่ายเท เกิดความชื้นสูงและง่ายแก่ การเกิดโรค
การกำจัด ใช้เชื้อ โคโค แม็กซ์ 5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่น้ำ 3-5 ชั่วโมงแล้วนำไปฉีกตอนเย็น
กล้วยไม้มักเป็นโรค สกุลแคทลียา สกุลรองเท้านารี สกุลออนซิเดี้ยมสกุลซิมบิเดี้ยม ฟาแลนด์




โรคเน่าแห้ง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii
ลักษณะ บริเวณที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เนื้อเยื่อจะแห้ง
และยุ่ยถ้าอากาศชื้นมากๆ จะเห็นเส้นใยสีขาวแผ่นบริเวณโคนต้นจะเห็นว่ามีเม็ดกลมๆ ขนาดเล็กสีน้ำตาลเกาะอยู่ตาม โคนต้น
การป้องกัน ควรดูแลรังกล้วยไม้เป็นประจำทุกๆ วัน ถ้าพบว่าเป็นโรคนี้ควรเก็บใบนำไปเผาทำลายทิ้ง
การกำจัด ใช้เชื้อ โคโค แม็กซ์ 5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่น้ำ 3-5 ชั่วโมงแล้วนำไปฉีกตอนเย็น
กล้วยไม้มักเป็นโรค สกุลแวนด้า สกุลหวาย สกุลรองเท้านารี และสกุลออนซิเดี้ยม




โรคเน่าดำ
สาเหตุ เชื้อรา Phytophthora palmivora โรคนี้จะแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝนหรือช่วงที่มี ความชื้นสูง
ลักษณะ ถ้าเชื้อราเข้าทำลายที่ราก รากจะเน่าแห้ง ซึ่งมีผลทำให้ใบเหลือง ร่วง ตายในที่สุด
ถ้าเชื้อราเข้าทำลายยอดจะทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาลถ้าแสดงอาการรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เมื่อผ่าดู จะเห็นเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้ม
การป้องกัน ไม่ควรปลูกกล้วยไม้หนาแน่นเกินไป ถ้าพบโรคนี้ในระยะเป็นลูกกล้วยไม้ให้แยกกระถางที่เป็นโรคออก เอาไปเผาทำลายถ้าเป็นกับกล้วยไม้ที่ใด แล้วควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกเสียจนถึงเนื้อดี แล้วใช้ยาฉีดพ่น
การกำจัด ใช้เชื้อ โคโค แม็กซ์ 5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่น้ำ 3-5 ชั่วโมงแล้วนำไปฉีกตอนเย็น
กล้วยไม้มักเป็นโรค ไม่ได้ระบุ




โรคจุดสนิม
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis ระบาดได้ดีในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะถ้ามีฝนตกติดต่อกัน
เป็นเวลานานๆ หรือมีน้ำค้างลงจัด
ลักษณะ บนกลีบดอกกล้วยไม้ จะเป็นจุดขนาดเล็กสีน้ำตาลเหลือง ถ้าจุดขยายใหญ่ขึ้นจะเข้มเป็นสีสนิม
มีลักษณะค่อนข้างกลม
การป้องกัน ต้องตรวจสอบรังกล้วยไม้เป็นประจำทุกๆวัน ไม่ปล่อยให้กล้วยไม้ร่วงคาต้น ควรนำกล้วยไม้
ที่ติดโรคไปเผาทิ้ง
การกำจัด ใช้เชื้อ โคโค แม็กซ์ 5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่น้ำ 3-5 ชั่วโมงแล้วนำไปฉีกตอนเย็น
กล้วยไม้มักเป็นโรค กล้วยไม้สกุลหวาย โดยเฉพาะหวายมาดาม หวายขาว หวายชมพูและหวายซีซาร์



โรคใบเปื้อนเหลือง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pseudocercospora dendrobiiระบาดมากตั้งแต่ช่วงปลายฤดูฝนจนฤดูหนาว
ลักษณะ ใบมีจุดกลมสีเหลือง เมื่อเป็นมากๆ จะติดต่อกันเป็นปื้นเหลืองตามแนวของใบ ใต้ใบ
จะเป็นกลุ่มผงสีดำรุนแรงที่สุดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ ร่วงออกจากต้นหมด
การป้องกัน นำใบที่เป็นโรคไปเผา และรักษารังกล้วยไม้ให้สะอาดอยู่เสมอ
การกำจัด ใช้เชื้อ โคโค แม็กซ์ 5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่น้ำ 3-5 ชั่วโมงแล้วนำไปฉีกตอนเย็น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
กล้วยไม้มักเป็นโรค กล้วยไม้หวายปอมปาดัวร์



โรคแอนแทรกโนส
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp. เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลมและฝนหรือน้ำที่ใช้รด
ลักษณะ ใบจะเป็นแผลวงสีน้ำตาลอมแดงหรือน้ำตาลไหม้ จะขยายเป็นแผลใหญ่เป็นวงกลม
ซ้อนกันหลายชั้นเนื้อเหยือบุ๋มแผลลึกต่ำกว่าระดับผิวใบเล็กน้อย
การป้องกัน นำใบที่เป็นโรคไปเผา เพื่อไม่ให้เชื้อระบาด
การกำจัด ใช้เชื้อ โคโค แม็กซ์ 5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่น้ำ 3-5 ชั่วโมงแล้วนำไปฉีกตอนเย็น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
กล้วยไม้มักเป็นโรค กล้วยไม้สกุลออนซิเดี้ยม สกุลแคทลียาสกุลแวนด้า สกุลหวาย สกุลแมลงปอ
ปอมปาดัวร์ และลูกผสมของกล้วยไม้สกุลต่างๆ



โรคเน่าในกระถาง เน่าเข้าไส้
สาเหตุ โรคนี้เกิดจากเชื้อราและเกิดกับลูกกล้วยไม้ต้นเล็กๆ ที่ปลูกอยู่ในกระถางหมู่
ลักษณะ โคนต้นจะมีรอยช้ำ ต่อไปจะเน่าเละและลุกลามไปถึงใบ ยอด และรากสามารถติดต่อได้ง่าย
การป้องกัน ไม่ปลูกกล้วยไม้ในกระถางแน่นจนเกินไป อากาศควรถ่ายเทได้สะดวกและควรให้น้ำพอประมาณ
การกำจัด ใช้เชื้อ โคโค แม็กซ์ 5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่น้ำ 3-5 ชั่วโมงแล้วนำไปฉีกตอนเย็น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
กล้วยไม้มักเป็นโรค ไม่ได้ระบุ




Create Date : 26 เมษายน 2552
Last Update : 4 ธันวาคม 2557 20:37:11 น.
Counter : 2863 Pageviews.

5 comment
โคโค-แม็กซ์ คืออะไร
หากกล้วยไม้ของท่านมีปัญหาเชื้อราเชื้อแบคทีเรียรบกวน เราคือคำตอบ !!!

กล้วยไม้ในประเทศไทยส่วนใหญ่ ล้วนประสบปัญหาเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคแอนแทรคโนส ราแป้ง โรคราดำ โรคเน่าดำ โรคต้นเน่าแห้งหรือโรคราเมล็ดผักกาด หรือเน่าเข้าไส้ ใบจุด ใบด่าง รากเน่าโคนเน่า โรคใบใหม้ โรคใบหงิกหด โรคเน่าเละ ฯลฯโดยส่วนใหญ่เกษตรกรยังใช้สารเคมีซึ่งใช้แล้วจะมีปัญหาดื้อยาเกิดขึ้น และมีแนวโน้มเปลี่ยนมาใช้สารชีวภาพเพิ่มมากขึ้น เห็นได้ชัดจากยอดขาย KOKO-MAX ที่เพิ่มขึ้นทุกไตรมาส เพราะเกษตรกรเชื่อมั่นในคุณภาพและเกิดปรากฎการบอกต่อปากต่อปากจริงและนี่คือโอกาสที่ไม่ควรพลาด เพราะเรามีทีมงานการทำตลาดให้ โฆษณาให้ ท่านจึงมั่นใจได้ว่าสินค้าสามารถขายได้จริงและได้ผลจริงไม่มีการดื้อยา พิสูจน์แล้วโดยตัวแทนจำหน่ายใน 5 จังหวัด รับประกันคุณภาพโดย นักจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาคุยกันซิครับ เราแก้ปัญหาให้คุณได้ทุกปัญหา

จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง

สนใจเป็นตัวแทนจำหน่าย ท่านสามารถติดต่อทางชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ ได้ที่ 087-2126507,056-912218 หรือ tanatporns@gmail.com

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ //board.212cafe.com/tanatporns




Create Date : 25 เมษายน 2552
Last Update : 4 ธันวาคม 2557 20:36:19 น.
Counter : 391 Pageviews.

7 comment
แก้ปัญหาเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียในกล้วยไม้


กล้วยไม้ จัดเป็นพืชที่ดูแลรักษาค่อนข้างยากเพราะบอบบาง อ่อนแอ ไม่ทนทานต่อโรคและแมลงสักเท่าไร ดังนั้นผู้ที่จะปลูกจะต้องเป็นผู้ที่มีใจรักในพืชชนิดนี้อยู่พอสมควรเลยนะครับ เพราะจะต้องมีความทรหดอดทนในการเอาใจใส่ในการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้กล้วยไม้ที่มีความสวยสดงดงาม และทำให้สภาพต้นมีความอุดมสมบูรณ์และเกลี้ยงเกลาสะอาดตาเป็นที่เจริญหูเจริญตาของคนที่ผ่านมาผ่านไป และที่สำคัญจะต้องทำให้มีดอกออกมาให้ได้ชื่นชมด้วย ไม่ใช่ว่าปล่อยให้ถูกหนอน โรคและแมลงเข้าทำลายจนเสียหายยับเยินไม่ผลิดอกออกผลดูแล้วไม่งามตา จะอวดเพื่อนฝูงที่มาเยี่ยมเยียนที่บ้านบ้างก็ไม่ได้ เพราะไม่น่าจะมีความภูมิใจสักเท่าไรถ้ากล้วยไม้ที่เลี้ยงไว้แครแกร็นใบแหว่งเว้าดูแล้วไม่สวยงามและสมบูรณ์

ปัญหาที่นักเพาะกล้วยไม้ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมือสมัครเล่นหรือมืออาชีพที่พบกันส่วนมากและเป็นเรื่องที่เราจะนำมาพูดคุยกันในที่นี้ก็คือเรื่องของเชื้อราต่าง ๆที่เข้ามารบกวนกล้วยไม้ เช่น โรคราดำ โรคเน่าดำ โรคต้นเน่าแห้งหรือโรคราเมล็ดผักกาด หรือเน่าเข้าไส้ โรคใบจุด ใบไหม้ ใบด่าง และอื่นๆ อีกมากมาย ต้นเหตุของปัญหานี้มีสาเหตุมาจากเชื้อราเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งลักษณะอาการของโรคและบาดแผลที่พบก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ของเชื้อราที่เข้าทำลาย แต่ถ้ามองในสภาพโดยรวมก็ไม่แตกต่างกันสักเท่าไร

วิธีการดูแลรักษามิให้เชื้อราเข้าทำลายกล้วยไม้ของเราได้อย่างง่ายดายก็โดยการใช้ฮอร์โมน ช้อนเงิน 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นและราดบนราก จะทำให้กล้วยไม้แข็งแรงและมีภูมิต้านทานต่อโรคสูง

ในกรณีที่มีเชื้อราได้เขาทำลายเซลล์และเนื้อเยื้อของกล้วยไม้แล้วเราก็จะสามารถที่จะใช้ เชื้อโคโค-แม็กซ์ 5 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นอาบให้เปียก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระบาด ถ้ามีความเสียหายมากก็ให้ทำการฉีดพ่น 3 วันครั้ง แต่ถ้าต้องการฉีดพ่นเพื่อล้างใบหรือทำลายสปอร์ปรกติก็ให้ฉีดพ่น 7 วันครั้ง ก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการป้องกันและกำจัดเชื้อราในกล้วยไม้ได้



Create Date : 25 เมษายน 2552
Last Update : 4 ธันวาคม 2557 20:36:34 น.
Counter : 429 Pageviews.

0 comment
คุณสาเกตุ เจ้าของฟาร์กล้วยไม้ กับเชื้อ โคโค-แม็กซ์


คุณสาเกตุ ทับทิมเงิน เกษตรกรเจ้าของฟาร์มกล้วยไม้ส่งออก จังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่าเดิมปลูกกล้วยไม้แล้วประสบปัญหา โรคเน่าเข้าไส้ และโรคราดำ ซึ่งเป็นปัญหาจากเชื้อรา คุณสาเกตุ จึงไปหาสารเคมีมาฉีดพ่น ฉีดไป 2-3 ครั้ง เกิดปัญหาการดื้อยา ต่อมาคุณสาเกตุ ได้รู้จักชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ จึงได้โทรมาปรึกษานักวิชาการของชมรม ทางชมรมได้แนะนำเชื้อ โคโค-แม็กซ์ ให้ไปทดลองใช้ ผลปรากฎว่าตั้งแต่ครั้งแรกที่ฉีด เชื้อราก็หยุดการแพร่กระจาย พอฉีดไปได้ 2-3 ครั้งอาการของกล้วยไม้ค่อยๆดีขึ้น จนหายเป็นปรกติในเวลาประมาณ 1 เดือน คุณสาเกตุ โทรมารายงานผลเป็นระยะ ได้รับความพึงพอใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากใช้สารเคมีแล้ว เกิดอาการดื้อยา และได้ผลไม่เต็ม 100% คุณสาเกสบอกว่าได้แนะนำเพื่อนเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม่ส่งออกให้ทดลองใช้อีกด้วย

การใช้เชื้อ โคโค-แม็กซ์ นำเชื้อ 5 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมง เพื่อให้เชื้อขยายตัว แล้วนำไปฉีดพ่นตอนเย็น ทุก7-10 วัน เชื้อราจะหยุดการขยายตัวทันที ตั้งแต่ครั้งแรกที่ฉีด


ที่มา:ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ



Create Date : 25 เมษายน 2552
Last Update : 4 ธันวาคม 2557 20:36:51 น.
Counter : 292 Pageviews.

2 comment
ห้องโชว์กล้วยไม้ ชวนเพื่อนมาอวดกล้วยไม้กัน
สวยมั๊ยครับ ทางชมรมได้ไปเยี่ยมลูกค้าที่ฟาร์มนครปฐมครับ ไม่มีปัญหาเชื้อราเลยครับ เพราะใช้ โคโค-แม็กซ์ มานานแล้วครับ






















Create Date : 25 เมษายน 2552
Last Update : 4 ธันวาคม 2557 20:37:28 น.
Counter : 288 Pageviews.

0 comment
1  2  

tanatporn_ts
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ http://www.kokomax.com เทคโนโลยีการเกษตรชีวภาพ
ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ ในนามเว็บไซต์ http://www.kokomax.com ผู้นำด้านเทคโนโลยีการเกษตรในแนวทางชีวภาพ ก่อตั้งเมื่อตั้งแต่ปี 2549 ดำเนินงานด้านการส่งเสริมการทำเกษตรชีวภาพ ลดสารเคมี มีความยินดีที่ได้รับการตอบรับจากเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และผู้ใช้ในหน่วยงาน ฟาร์ม และบ้านเรือน เป็นอย่างดี และจะพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น