เพื่อนคู่คิด มิตรเกษตรกรไทย
ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ //www.kokomax.com โทร.02-719-2440 LINE ID: KOKOMAX8888




Create Date : 14 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 23:03:00 น.
Counter : 610 Pageviews.

0 comment
ปลูกเผือกในนาข้าว หลีกเลี่ยงปัญหาราคาข้าวตกต่ำ
แม้ว่าหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะมีมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ ด้วยวิธีการต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็น การประกันราคา การแทรกแซงราคา และการประกันภัยแล้ง เป็นต้น แต่ถึงกระนั้นเกษตรกรเองก็ต้องหมั่นหาลู่ทางแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตัวเองด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพและมีรายได้คุ้มค่ากับการลงทุน เช่น นายสมนึก ขวัญเมือง เกษตรกรคนเก่ง อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ที่หลีกเลี่ยงปัญหาราคาข้าวตกต่ำมาปลูกเผือกซึ่งได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า

สมนึกเล่าว่า ตนปลูกเผือกในนาข้าวมาเกือบ 20 ปี เนื่องจากเผือกเป็นพืชหัวที่ดูแลง่าย ไม่ค่อยมีโรคและแมลงศัตรูพืชมารบกวน มีความต้องการน้ำและความชื้นสูง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่อุ้มน้ำได้มากเช่นเดียวกับข้าว ทำให้สามารถเพาะปลูกในผืนนาที่มีอยู่ได้ อีกทั้งได้ผลตอบแทนมากกว่าเมื่อเทียบกับการทำนา และที่สำคัญตลาดมีความต้องการมาก ผลิตได้เท่าไรก็ขายได้หมด

สมนึกบอกถึงวิธีการปลูกและดูแลเผือกว่า ก่อนปลูกจะไถดินตากไว้ 15-30 วัน แล้วไถย่อยดิน ยกร่องปลูกเป็นแถวๆ ห่างกันแถวละประมาณ 80 เซนติเมตร จากนั้นนำต้นกล้าทั้งที่เพาะพันธุ์เองและซื้อจากแหล่งเพาะพันธุ์มาปลูกในร่องที่เตรียมไว้ โดยเว้นระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 30 เซนติเมตร สำหรับต้นพันธุ์ที่เพาะเองนั้นจะนำหัวเผือกที่ได้จากการปลูกครั้งก่อนมาชำในถุงเพาะชำ รดน้ำวันละครั้ง ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนก็สามารถนำต้นกล้ามาปลูกในแปลงปลูกได้

จากปลูกได้ 3 เดือน เผือกจะเริ่มออกหัว ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เพื่อบำรุงลำต้นและเร่งการออกหัว และขุดดินรอบๆ ต้นมาสุมไว้ที่โคนต้นซึ่งต้นเผือกจะออกหัวได้จำนวนมาก และอีก 2 เดือนต่อจากนั้นใส่ปุ๋ยสูตร 13-3-21 เพื่อบำรุงหัวเผือกให้มีขนาดใหญ่ ได้น้ำหนัก ทิ้งไว้ 1 เดือน หรือสังเกตเห็นว่าใบเผือกเล็กลง ใบที่อยู่ด่านล่างมีสีเหลือง เหลือใบยอด 2-3 ใบ จึงสามารถขุดหัวมาขายได้ ซึ่งแต่ละต้นจะได้หัวเฉลี่ย 2 กิโลกรัม ทั้งนี้ก่อนขุดเผือก 15 วัน จะไม่เอาน้ำเข้าแปลงหรือรดน้ำแปลงเพราะเผือกจะดูดซึมน้ำไว้มากทำให้เก็บไว้ไม่ได้นาน

สำหรับต้นทุนการผลิตทั้งค่าปุ๋ย ต้นกล้า และอุปกรณ์อื่นๆ เฉลี่ยอยู่ที่ไร่ละ 20,000 บาท ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงเนื่องจากปัจจุบันราคาปุ๋ยยาฆ่าแมลง และอุปกรณ์ต่างๆ ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ปัจจุบันสมนึกปลูกเผือกบนพื้นที่ 60 ไร่ ต้องใช้เงินทุนร่วม 120,000 บาท ซึ่งเงินทุนส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จ.สระบุรี

ส่วนผลผลิตที่ได้จะมีพ่อค้ามารับซื้อกิโลกรัมละ 13-17 บาท แล้วแต่ราคาซื้อขายในตลาดในช่วงนั้นและคุณภาพของหัวเผือกที่ผลิตได้ ส่วนปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญคือโรคตากบ ซึ่งเกิดจากเชื้อรา ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือบริเวณใบจะมีจุดเล็กๆ สีดำแดง และจะค่อยๆ ขยายลุกลามไปทั่วใบ ทำให้ใบเหี่ยวไม่สามารถปรุงอาหารได้ และแห้งตายในที่สุด วิธีการสกัดการแพร่ระบาดของโรคจะใช้ยา "โบคุ่ม" ฉีดพ่นใบที่เกิดโรค ยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค และตัดใบที่เกิดโรคไปเผาทำลายเพื่อ ฆ่าเชื้อรา อย่างไรก็ตามแม้ว่าการปลูกเผือกจะต้องใช้ต้นเงินลงทุนสูงกว่าการทำนาแต่ผลตอบแทนก็ได้มากกว่า ที่นาของสมนึก จึงมักจะมีต้นเผือกโบกใบไปตามแรงลมมากกว่าที่จะเห็นรวงทองของต้นข้าว




Create Date : 14 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 22:11:07 น.
Counter : 458 Pageviews.

0 comment
โรคเน่าเละที่เกิดจากแบคทีเรียของหอมหัวใหญ่
โรคเน่าเละที่เกิดจากแบคทีเรียของหอมหัวใหญ่(bacterial soft rot of onion)

โรคเน่าเละส่วนใหญ่จะพบและก่อให้เกิดความเสียหายเฉพาะในหอมหัวใหญ่ ทั้งขณะที่ยังปลูกอยู่ในแปลงและหลังเก็บเกี่ยวแล้ว เป็นโรคที่บางครั้งอาจก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง หากสิ่งแวดล้อมเหมาะสมและไม่ได้รับการป้องกันกำจัดที่ดีพอ

อาการโรค

ขณะที่ยังอยู่ในแปลงปลูก การเกิดโรคมักจะเริ่มขึ้นในระยะที่พืซลงหัวโตเต็มที่ใกล้เก็บเกี่ยวได้แล้ว การเข้าทำลายของเชื้อมักจะเริ่มตรงส่วนคอหรือโคนต้น โดยผ่านทางแผลที่ใบแก่ที่เหี่ยวหรือหักพับ จากนั้นเชื้อก็จะเจริญเติบโตเคลื่อนลงมายังกาบ (scale) ของหัวที่ต่อเชื่อมกับใบหรือลึกเข้าไปภายในต้นก่อให้เกิดอาการแผลเน่าขยายลุกลามกว้างขวางออกไป มองดูภายนอกแผลจะมีลักษณะช้ำ เป็นสีน้ำตาลหรือเทาอ่อนๆ เมื่อเอามือจับหรือกดดูจะรู้สึกอ่อนนิ่ม พร้อมกับจะมีน้ำเหลวๆ ซึมออกมาจากแผลดังกล่าว เชื้ออาจจะเข้าทำลายโดยตรงที่ส่วนของหัวหอมขณะเก็บเกี่ยว โดยผ่านทางแผลรอยช้ำ และหากนำไปเก็บไว้ในที่อับชื้นอุณหภูมิสูงก็จะก่อให้เกิดอาการเน่าขึ้นกับกาบของหัวหอมชั้นนอกๆ ที่ถูกเชื้อเข้าไปในตอนแรก และถ้าปล่อยทิ้งไว้นานๆ ในที่สุดอาจจะเน่าเสียหมดทั้งหัว อาการเน่าเละของหอมที่เกิดจากเชื้อ E. carotovora ปกติจะมีกลิ่นเหม็นเฉพาะตัวเช่นเดียวกับเน่าเละในผักชนิดอื่นๆ แต่บางครั้งอาจมีกลิ่นฉุนคล้ายกำมะถันหรือกลิ่นเปรี้ยว คล้ายกรดนํ้าส้มเกิดขึ้นตามมา ทั้งนี้เนื่องจากมีเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นเข้าไปช่วยทำลายต่อทำให้กาบที่เรียงซ้อนเป็นชั้นๆ ของหัวหอมที่เน่าจะล่อนลื่นหลุดออกมาได้โดยง่าย เมื่อไปจับต้องหรือสัมผัสเข้า

เชื้อสาเหตุโรค

ส่วนใหญ่พบว่าเป็นเชื้อ Erwinia carotovora ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดเดียวกันกับที่ก่อโรคเน่าเละในผักอื่นๆ นอกจากนั้นยังพบว่ามีPseudomonas alliicola และ Pseudomonas cepacia อีกสองชนิดที่ก่อให้เกิดอาการเน่าในลักษณะคล้ายๆ กัน หรือร่วมเข้าทำลายอยู่ด้วย โดยทำให้เกิดกลิ่นคล้ายกำมะถัน และกลิ่นเปรี้ยวคล้ายกรดน้ำส้ม หรือก่อให้เกิดอาการกลีบเปลือกอ่อนหลุดออกโดยง่าย (slippery skin) ขึ้นกับหัวหอม

การอยู่ข้ามฤดูและการแพร่ระบาด

หลังจากเข้าทำลายพืชแล้วหากขณะยังอยู่ในแปลงปลูก เมื่อพืชตายเชื้อก็จะเจริญเติบโตในดินดังกล่าว โดยอาศัยเกาะกินเศษซากพืชได้ต่อไปจนถึงฤดูปลูกใหม่ก็จะกลับขึ้นมาทำลายพืชอีก โดยผ่านทางแผลหรือเนื้อเยื่อของใบที่แก่เต็มที่ เมื่อเกิดโรคแสดงอาการขึ้นกับต้นพืชต้นใดต้นหนึ่งแล้ว จากนั้นก็อาจจะแพร่ระบาดต่อไปยังต้นอื่นๆ โดยหนอนแมลงวัน (maggot fly) น้ำที่สาดกระเซ็น การจับต้องสัมผัส สำหรับการติดโรคกับหัวหอมหลังเก็บเกี่ยวแล้ว มักจะเกิดโดยผ่านทางแผลที่เกิดจากการกดกระแทกหรือการบรรจุที่เบียดอันแน่นเกินไป

การป้องกันกำจัด

1. ควรเก็บเกี่ยวหัวหอมเมื่อแก่เต็มที่และปล่อยไว้ในแปลงจนกระทั่งเปลือกชั้นนอกสุกและใบที่มีอยู่แห้งดีแล้ว

2. วิธีการบรรจุหัวหอมลงภาชนะหีบห่อตลอดจน การขนส่งควรทำด้วยความระมัดระวัง ภาชนะที่ใช้บรรจุควรโปร่งเพื่อให้มีอาการถ่ายเทได้ และไม่เบียดอัดแน่นจนเกินไป อาจทำให้เกิดรอยช้ำหรือแผลที่หัวหอมทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

3. เมื่อพบว่ามีหัวหอม แสดงอาการเน่าให้รีบฉีดพ่นด้วยโคโค-แมกซ์ KOKOMAX เพื่อหยุดการแพร่ระบาด และกำจัดโรค ให้ใช้อัตรา 5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นตอนเย็นลงโคน 7-10 วันครั้ง

KOKOMAX.COM



Create Date : 14 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 22:00:52 น.
Counter : 289 Pageviews.

0 comment
โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) ตระกูลแตง
โรคราน้ำค้าง(Downy mildew)

โรคราน้ำค้างจัดว่าเป็นโรคที่สำคัญของแตงโมทุกพันธุ์รวมทั้งพืชในตระกูลนี้อีกหลายชนิดเช่น แตงกวา แตงร้าน มะระ ฯลฯ ส่วนพวกตำลึง บวบ ฟักทอง ฟักข้าว ไม่ค่อยพบโรคนี้ระบาด

ลักษณะอาการของโรค

ใบแตงโมมีแผลสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลอ่อนประปรายทั่วใบ ทำให้ใบแห้งและเหี่ยวอาการจะปรากฎบนใบแก่โคนเถาก่อน โรคระบาดรวดเร็วมากจะทำให้เถาแตงเหี่ยวตายหมดทั้งเถาได้ในเวลาที่อากาศชื้น ด้านท้องใบจะมีกระจุกของราสีขาวหม่นขึ้นบนแผลคล้ายผงแป้ง โรคมักจะระบาดรุนแรงและรวดเร็ว เมื่อแตงกำลังให้ผล ทำให้เถาแตงตายไปก่อนที่แตงโมจะสุก

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis ซึ่งเป็นเชื้อราที่แพร่ระบาดไปในอากาศ

การป้องกันกำจัด

1. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย โคโค-แมกซ์ แช่ทิ้งไว้ 1 คืนก่อนนำไปเพาะ

2. ใช้โคโค-แมกซ์ อัตรา 5 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 7-10 วันครั้ง


เว็บไซต์ รายละเอียดเพิ่มเติม //www.kokomax.com



Create Date : 14 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 21:39:11 น.
Counter : 1861 Pageviews.

0 comment
ที่ 8 ไร่ ทำเกษตรผสมผสาน มีกินมีใช้เหลือเก็บกว่า 180,000 บาท ต่อปี -เกษตรทั่วไทย
ที่ 8 ไร่ ทำเกษตรผสมผสาน มีกินมีใช้เหลือเก็บกว่า 180,000 บาท ต่อปี -เกษตรทั่วไทย

นายชรินทร์ กลั่นแฮม เกษตรกรตัวอย่าง ตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ จ.กาญจนบุรี แม่แบบการขยายผลของโครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.กาญจนบุรี ที่ยึดอาชีพทำการเกษตรแบบเกษตรผสมผสาน โดยปลูกทุกอย่างที่กินได้ และกินทุกอย่างที่ปลูก เหลือกินเอาออกขาย ปัจจุบันเป็นหนึ่งของเกษตรกรที่สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างมั่นคง ด้วยมีกินและมีรายได้เหลือเก็บทุกวัน และสามารถส่งเสียลูกได้เล่าเรียนอย่างไม่ขัดสน

นายชรินทร์ เล่าว่า ตนเป็นหนึ่งของราษฎรที่ได้รับการจัดสรรพื้นที่สำหรับทำกิน จากโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 8 ไร่ นำมาแบ่งสันปันส่วน เป็นที่อยู่อาศัยส่วนหนึ่ง ที่เหลือใช้ทำกินเป็นแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ แบบผสมผสาน โดยขุดสระน้ำไว้ 1 สระเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้สำหรับบำรุงต้นพืช ในสระปล่อยปลา ขอบสระปลูกพืชผักสวนครัวสลับกับไม้ผล อาทิ กระท้อน ขนุน ละมุด มะม่วง และมะนาวในวงบ่อด้วยระบบน้ำหยด โดยปลูก พริก มะเขือ ผักกวางตุ้ง มะละกอ และกล้วยแซม เลี้ยงไก่เพื่อกินไข่และเนื้อ ควบคู่กับการปลูกฝรั่งพันธุ์กิมจู ในพื้นที่ 5 ไร่ ระหว่างที่ฝั่งยังไม่ให้ผลผลิตก็อาศัยผักสวนครัว และกล้วยเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งกล้วยช่วงที่ออกลูกพร้อมๆ กันกินและขายไม่ทันก็จะนำมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบขาย เมื่อฝรั่งกิมจูให้ผลผลิตก็สามารถเก็บขายได้วันละไม่น้อยกว่า 1,000 บาท โดยมีพ่อค้าจากตลาดมารับซื้อถึงบ้าน

“ในพื้นที่ 5 ไร่ผมปลูกฝรั่งใช้เวลาประมาณ 7-8 เดือน จึงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ระหว่างรอฝรั่งก็ปลูกพริกตามร่องแปลงฝรั่ง ประมาณ 2-3 เดือนพริกก็ให้ผลผลิต ระหว่างรอพริก ก็ลงผักกวางตุ้งในร่องพริกประมาณ 1 เดือนเก็บกินได้ ปลูกกล้วยเสริมระหว่างร่องฝรั่ง ซึ่งกล้วยเป็นรายได้ทั้งต้น หน่อกล้วย ปลี ผล ใบ ขายได้ทั้งหมด อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการเป็นแนวบังลมให้แก่ฝรั่งและผัก เพราะยามที่ลมแรงจะเป็นผลต่อผลฝรั่งลูกเล็กอาจจะหลุดร่วงได้ ปัจจุบันมีรายได้เหลือเก็บไม่น้อยกว่า 180,000 บาทต่อปี” นายชรินทร์ กลั่นแฮม กล่าว

ส่วนแรงงานทำกันเองสองสามีภรรยาไม่ต้องจ้างแรงงานจากภายนอก ปุ๋ยบำรุงต้นพืชทำเอง จากความรู้ที่ได้ไปอบรมมาจากโครงการห้วยองคตฯ ใช้ไส้เดือนเป็นตัวช่วยในการพรวนดิน ใช้ปุ๋ยมูลหมูจากการเลี้ยงหมูหลุมในบ้าน และนำกิ้งไม้ที่ตัดแต่งทรงพุ่มมาเผาถ่าน พร้อมทำน้ำส้มควันไม้นำมาฉีดพ่นในแปลงไล่แมลง และเป็นปุ๋ยทางใบ และปลอดภัยต่อสุขภาพแถมทำให้ฝรั่งมีรสชาติที่หวานและกรอบตรงตามความต้องการของตลาดอีกด้วย ทั้งนี้โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีการจัดแบ่งแปลงที่ดินทำกินให่ราษฎรครอบครัวละ 8 ไร่ ครอบครัวใหญ่ 16 ไร่ รวม 907 แปลง และแปลงที่อยู่อาศัยครอบครัวละ 1 ไร่ รวม 780 แปลง โดยมีหลักเกณฑ์ห้ามซื้อขายและให้เป็นมรดกตกทอดแก่ลูกหลานเท่านั้น

และเพื่อสร้างความมั่นคงในที่ทำกินให้แก่ราษฎรในพื้นที่ และเพื่อให้การจัดการระเบียบชุมชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สำนักงาน กปร. กรมป่าไม้ และจังหวัดกาญจนบุรี จึงได้ร่วมกันดำเนินการจัดทำข้อมูลและสำรวจพื้นที่เพื่อจัดทำเอกสารสิทธิ์ทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (สทก.) ให้แก่ราษฎรโดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเดิมหรือทายาท และกลุ่มเปลี่ยนมือผู้ครอบครองสิทธิ์
โดยนายชรินทร์ กลั่นแฮม และครอบครัวเป็นหนึ่งของราษฎร ที่ได้รับเอกสารสิทธิ์ ทำกินและอยู่อาศัยในพื้นที่ ปัจจุบันมีชีวิตมีกินมีรายได้อย่างสมบูรณ์

ที่มา: เดลินิวส์

ขอบคุณ ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ //www.kokomax.com/

**โรคพืช คิดถึง โคโค-แมกซ์ KOKO-MAX




Create Date : 05 ธันวาคม 2557
Last Update : 5 ธันวาคม 2557 10:50:53 น.
Counter : 1040 Pageviews.

0 comment
1  2  

tanatporn_ts
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ http://www.kokomax.com เทคโนโลยีการเกษตรชีวภาพ
ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ ในนามเว็บไซต์ http://www.kokomax.com ผู้นำด้านเทคโนโลยีการเกษตรในแนวทางชีวภาพ ก่อตั้งเมื่อตั้งแต่ปี 2549 ดำเนินงานด้านการส่งเสริมการทำเกษตรชีวภาพ ลดสารเคมี มีความยินดีที่ได้รับการตอบรับจากเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และผู้ใช้ในหน่วยงาน ฟาร์ม และบ้านเรือน เป็นอย่างดี และจะพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น