การปลูกทุเรียนแบบอายุยืนภาค 2
สาระเรื่องการปลูกทุเรียน

พันธุ์ทุเรียน หมอนทอง จันทบุรี 1,2,3.

การขุดหลุมปลูก ขุดหลุมเพียงพอปลูก ประมาณ 30x30 เซนติเมตรก็พอ ไม่ต้องขุดกว้างมากๆอย่างตำราเก่าๆ ที่ต้องขุด กว้าง 1เมตร ลึก 1 เมตร ดินคือสิ่งรองรับชีวิตพืช การสร้างรากเป็นความสามารถของพืช

คลุกเคล้าดินด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่เย็นแล้วไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีรองก้นหลุมหรือคลุกเคล้าดินปลูกเพราะเรากะปริมาณได้ไม่พอดี

ปลูกให้คอต้นเสมอดิน ทุเรียนที่แกะถุงเพาะชำออกแล้ว วางให้ดินปากถุงเสมอกับพื้นดินปลูก การฝังลึกเกินไปรากหายใจไม่ได้ ขาดออกซิเจนตาย

ใช้หญ้าคลุมโคนต้น หรือวัสดุอื่น ที่ไม่หมักเน่าเปื่อย เพื่อปกป้องความชื้น ไม่คลุมให้หนาเกินไป เพราะจะเป็นที่เพาะพันธุ์ของเชื้อโรคได้

ไม่ต้องทำหลังคาคลุมต้นทุเรียน ทุเรียนต้องการแสงมาก 100 % คลุมหลังคาทุเรียนโตช้า อ่อนแอ

การดูแลรักษา

ทุเรียนต้องการน้ำสม่ำเสมอ ในการยืนต้นและให้ผ ลผลิต น้ำจึงจำเป็นมากในการปลูกทุเรียนเพื่อการค้า แต่กรณีการปลูกแบบได้ก็เอาไม่ได้ก็ไม่เป็นไร น้ำก็ไม่จำเป็นแต่ทุเรียนอาจจะตายได้หากแล้งจัดเกิน 1 เดือน

การวางระบบน้ำ อาจวางได้หลายแบบ

การวางระบบด้วยท่อ พีวีซี ควรเลือกท่อที่เหมาะกับแรงดันน้ำ แต่แรงดันน้ำส่วนมากที่ใช้ในสวน ไม่เกิน 40 เมตร การเลือกท่อชั้นต่ำแค่ ชั้น 5 ก็พอ(ท่อสีเทา)ใช้ในการทำท่อแยก ท่อซอย แต่ท่อเมนใหญ่ ควรใช้ท่อที่ทนแรงดันสูงกว่าคือชั้น 8.5 (ท่อสีฟ้า)ท่อเมนใหญ่ควรใหญ่กว่า4เท่าของท่อซอย ท่อเมนย่อยควรใหญ่กว่า 3 เท่าของท่อซอย ยกตัวอย่าง สวนทุเรียนใช้ปั้มน้ำขนาดแรงดัน40เมตร ท่อออก 2 นิ้ว ท่อเมนใหญ่ควรเป็นท่อสีฟ้าขนาด 2 นิ้วชั้นความหนาควรเป็น 8.5 หรือ ชั้น 13.5 ถ้ามีความยาวท่อมากหรือลึกมากเพราะขนาดท่อที่หนากว่าจะทนแรงดันได้ดีกว่า เหนียวกว่า ท่อเมนย่อย อาจจะใช้ท่อขนาดกว้าง 1.5 นิ้ว หรือใช้ท่อ 2 นิ้วก็ได้ชั้นความหนาของท่ออาจลดลงเป็นชั้น 5 ก็ได้เพราะถ้าใช้ท่อใหญ่แรงดันน้ำในท่อจะมากกว่าท่อเล็ก น้ำที่จะส่งออกท่อซอยจะมีแรงดันสูงและมาก เป็นการเบากำลังเครื่องสูบน้ำไปในตัว ท่อแยกจากเมนย่อย ใช้ท่อขนาด 1 นิ้วชั้นความหนา ชั้น 5 ก็พอ ท่อซอย ใช้ท่อขนาด 1/2 นิ้วเป็นท่อสีเทาก็ได้เพราะแรงดันในช่วงนี้จะลดลงมากแล้วเพราะต้องปล่อยน้ำออกตามหัวให้น้ำเพื่อให้ต้นทุเรียน หัวให้น้ำ ควรใช้หัวให้น้ำแบบมินิสปริงเกอร์ขนาดรูออกไม่เกิน 3 มิลลิเมตร เพราะจะทำให้การให้น้ำได้จำนวนต้นมากกว่า ขนาดรูออกที่ใหญ่กว่านี้ จำนวนหัวให้น้ำ ต่อ 1 ท่อแยกจากเมนย่อย ไม่ควรเกิน 16 หัว การผังท่อ ทุกเส้นจะทำให้มีความทนทานใช้งานได้ยาวนานเพราะถ้าท่อถูกแดดนานๆ จะทำให้เสื่อมสภาพแตกหักได้ง่าย

การวางท่อน้ำด้วยท่อ พีอี ท่อพีอีเป็นท่ออ่อน ราคาถูกกว่าท่อพีวีซี การเลือกขนาดท่อก็ใช้วิธีเดียวกันกับท่อ พีวีซี การต่อน้ำเบื้องต้นจากปั๊มน้ำอาจต้องใช้ท่อ พีวีซีร่วมด้วย เพราะต้องการกลบฝังในช่วงนี้เพื่อป้องกันแรงกระชากของแรงน้ำ เมื่อกำลังปั๊มและหยุดปั๊ม ท่อชนิดนี้ไม่เหมาะที่จะกลบฝังเพราะท่ออ่อนหากดินยุบตัวแน่น ท่อจะแฟบน้ำผ่านไม่ได้ วิธีการวางระบบท่อก็ใช้ลักษณะเดียวกันกับ ท่อพีวีซี แต่อุปกรณ์แตกต่างกัน

การให้น้ำแบบลากสายรด การให้น้ำแบบนี้เหมาะแก่สวนขนาดเล็ก 1-2 ไร่ ลงทุนไม่มาก มีอุปกรณ์ปั๊มน้ำ โดยการต่อสายยางชนิดสายยางอ่อนจากปั๊มน้ำได้เลย แล้วลากสายรดไปทั่วสวน ลงทุนน้อยแต่ใช้แรงงานมาก

การให้น้ำแบบสปริงเกอร์ข้ามศรีษะ การให้น้ำแบบนี้สะดวกดี สามารถย้ายหัวให้น้ำได้ตามใจชอบ รัศมีการให้น้ำกว้าง ได้ครั้งละหลายต้น แต่การให้น้ำระบบนี้ต้องคำนืงถึงผลกระทบต่างๆ ที่จะตามมา อย่างแรก แรงตกกระทบของน้ำ แรงตกกระทบที่ซ้ำๆ ทำให้ใบพืชช้ำได้ โดยเฉพาะยอดอ่อนจะช้ำง่ายมาก อย่างที่สอง การทำลายความเข้มข้นของสารอาหารในใบพืชที่กำลังเตรียมจะสังเคราะห์เป็นแป้งและน้ำตาลทำให้ต้นพืชขาดความสมบูรณ์ ต้นโทรมใบเหลือง อย่างที่สามวัชพืชจะงอกงามดีมากทำให้ต้องกำจัดสิ้นเปลืองทุนและแรงงาน




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 21:48:34 น.
Counter : 411 Pageviews.

0 comment
การปลูกทุเรียนแบบอายุยืน ภาค 1
การปลูกทุเรียนแบบอายุยืน

การปลูกทุเรียนแบบอายุยืนยาว ทุเรียนอายุไม่ยืนเพราะเหตุไร?

สาเหตุมีมากมายพอที่จะประมาณได้ดังนี้

ความไม่สมดุลย์ของธรรมชาติ เพราะมนุษย์เติมแต่งและตัดทอน

เป็นสาเหตุใหญ่มาก สามารถแยกย่อยได้หลายหัวข้อ

ความต้องการของคน ตรงข้ามกับความต้องการของต้นพืช พืชต้องการอยู่แบบมีเพื่อนมีพี่น้อง มีพืชอื่นอยู่บ้างในขอบเขตรัศมีรอบๆข้าง อย่างน้อยๆก็ต้องมีหญ้าอยู่บ้าง ชนิดหญ้าอาจหลากหลายตามสภาพพื้นที่ แต่คนต้องการความเตียนโล่งจะเดินเหินสบาย มีความคล่องตัวในงานทำงาน เป็นความต้องการของมนุษยฝ่ายเดียว เราไม่เข้าใจความต้องการของพืช สรุป เราต้องเข้าใจพืช ทำที่อยู่ให้พืชอย่างเหมาะสม อย่าตามใจเรา

1. การเลี้ยงแบบอยากให้โตเร็ว ทดแทนบุญคุณเร็ว ให้อาหารครั้งละมากๆจะได้กินมากโตเร็ว แต่ความเป็นจริงแล้วไม่เป็นอย่างนั้นเลย ลองนึกถึงตัวเราเองบ้าง หุงข้าวหม้อใหญ่ ทำกับข้าวโคมใหญ่ ตอนแรกทำคิดว่าจะกินให้หมดแต่เมื่อกินอิ่มแล้ว ก็ต้องพอขืนอย่างไรก็ไม่หมด ของที่เหลือก็ไม่คิดจะทิ้งเสียดายเก็บไว้ไม่นานก็เริ่มเน่า ส่งกลิ่นรบกวน นานเข้าก็รบกวนมากขึ้น จำเป็นต้องทิ้งต้องล้างเก็บไว้ไม่ได้อีกแล้ว ย้อนกลับไปที่ต้นพืช♣ต้นพืชก็เช่นเดียวกันมีความพอเพียงในมื้ออาหารเหมือนกันไม่ต้องการมากกว่าที่กินได้ มากเกินต้นพืชผลักภาระเน่าเสียของปุ๋ยทิ้งไม่ได้เพราะมันอยู่บนดินที่เดียวกันสาดทิ้งเทเสียไม่ได้ ถ้ามีการสะสมมากขี้นๆ อันตรายเกิดแน่นอน สรุป เราต้องรู้มื้ออาหารของพืช และปริมาณแต่ละมื้อ อย่าเดาสุ่ม

1.มีของอะไรดีอยากให้ได้กิน เขาว่าน้ำหมักชีวภาพ ปลาหมักทุเรียนกินแล้วเติบโตดีก็หามาให้ เขาว่าปุ๋ยชีวภาพตรานั้นดี ทุเรียนดกแน่ก็หามาให้ เขาว่าฮอร์โมนไอโอกลินดีก็หามาให้ เขาว่าปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 ใส่แล้วเนื้อเหลืองเหมือนขมิ้นก็หามาให้ ตกลงแล้วเชื่อหมอทำนายทายทักมากกว่าเชื่อตัวเอง ทุเรียนก็ทรุดโทรมเพราะโดนยาหลาย ขนานทั้งยาบำรุงยากระตุ้น เชื่อเถอะถ้าเช้าคุณกินกาแฟไข่ลวก สายหน่อยกระทิงแดง เอ็ม100 บวกกระท่อมเที่ยงวันส้มตำไข่เค็ม เย็นขาหมู รับรองได้หากรัปทานอย่างนี้ไม่เกิน 5 วันอาการคลื่นไส้ ปวดเศียรเวียนเกล้า หัวใจสั่นไม่เป็นจังหวะ ขาอ่อน นอนไม่หลับต้องเกิดขึ้นไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง พืชก็เป็นแต่มันแสดงอาการให้เห็นช้ากว่าเรามากๆ สรุปข้อ 3 อย่านึกว่าทุกอย่างจะดีหมดงดให้ในสิ่งที่ไม่รู้จริง

2.ความรู้เรื่องปัจจัยการผลิต นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ทุเรียนที่ตายไปส่วนมากเกิดจากการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างผิดๆ ปุ๋ยนับเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง อันดับต่อมาคือยาฆ่าหญ้า น้ำหมักชีวภาพต่างๆสารเคมีที่ใช้บำรุงต้นทุเรียน ฯลฯ การศึกษาอย่างรู้แท้ จำเป็นมาก แต่ถ้าคุณมีขีดจำกัดเรื่องการศึกษาก็ควรยึดรูปแบบของสวนที่ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติ อย่างมั่นคง ไม่โลเล และควรพิจารณาสวนที่มีการปฏิบัติแบบให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับต้นๆ สรุปความรู้จริง รู้ลึก หรือยึดมั่นในอาจารย์เกษตรอินทรีย์ทุเรียนรอดตายลดต้นทุน

อ่านต่อฉบับหน้า




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 14 ธันวาคม 2557 21:48:51 น.
Counter : 191 Pageviews.

0 comment

tanatporn_ts
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ http://www.kokomax.com เทคโนโลยีการเกษตรชีวภาพ
ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ ในนามเว็บไซต์ http://www.kokomax.com ผู้นำด้านเทคโนโลยีการเกษตรในแนวทางชีวภาพ ก่อตั้งเมื่อตั้งแต่ปี 2549 ดำเนินงานด้านการส่งเสริมการทำเกษตรชีวภาพ ลดสารเคมี มีความยินดีที่ได้รับการตอบรับจากเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และผู้ใช้ในหน่วยงาน ฟาร์ม และบ้านเรือน เป็นอย่างดี และจะพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น