แก้วกาญจนาไม้ยอดนิยมเขตร้อน
''แก้วกาญจนา” ไม้ยอดนิยมเขตร้อน

แก้วกาญจนานิยมปลูกเป็นไม้กระถางประดับตามพื้นที่ซึ่งมีร่มเงา และเป็นไม้ประดับที่เติบโตได้ดีในสภาวะที่มีแสงค่อนข้างน้อย ทั้งยังไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนึก แก้วกาญจนาจึงกลายเป็นไม้ประดับใบที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

การปลูกเลี้ยง :
แก้วกาญจนาสามารถเจริญเติบโตได้ดี เมื่อได้รับแสงไม่เกิน 50% นิยมใช้วัสดุปลูกที่มีการระบายน้ำได้ดี หากมีการเปลี่ยนกระถางเพื่อการขยายพันธุ์บ่อยๆ อาจใช้กาบมะพร้าวสับขนาดเล็กผสมดินใบก้ามปู อัตรา 2 ต่อ 1 เป็นวัสดุปลูก โดยผสมปุ๋ยละลายช้า (ออสโมโคส) ชนิด 6 เดือน ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อ พื้นที่ 1 ลูกบาศก์เมตร

แต่หากไม่มีเวลาที่จะเปลี่ยนกระถางมากนัก ก็อาจใช้ถ่านป่นแทนกาบมะพร้าวสับก็ได้ ทั้งนี้วัสดุปลูก อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการรดน้ำและให้ปุ๋ย การใช้แกลบเผาล้วนหรือเศษถ่านล้วนในการเพาะปลูก ก็สามารถทำให้ต้นแก้วกาญจนางอกงามได้ดี หากมีการให้ปุ๋ยละลายน้ำทุกสัปดาห์

การให้ปุ๋ย นิยมให้ปุ๋ยสูตร 13-27-27(1-2-2) ละลายน้ำรด ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยละลายช้า(ออสโมโคส) สูตร 24-8-16(3-1-2)

การขยายพันธุ์ :

นิยมใช้วิธีการตัดยอดและแยกหน่อ โดยการตัดให้มีตุ่มรากติดมาด้วย 2-3 ราก แต่ถ้าตัดมาแล้วไม่มีรากติดมาด้วย ควรนำไปแช่ในสารป้องกันเชื้อราผสมกับน้ำยาเร่งราก(เซราดิกซ์ เบอร์1) นาน 1-2 ชั่วโมง ก่อนจะนำชิ้นส่วนพืชไปปักชำในถุงพลาสติก ส่วนการขยายพันธุ์แก้วกาญจนาด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ด้วยวิธีการปั่นตาจะใช้ระยะเวลานานมาก ประมาณ 3-4 ปี จึงไม่เป็นที่นิยมมากนักสำหรับการขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้

ศัตรูที่สำคัญของแก้วกาญจนา :
1. เพลี้ยเกล็ด เป็นศัตรูสำคัญที่ทำให้แก้วกาญจนาตายได้ มักพบเกาะอยู่บริเวณใต้ใบและก้านใบในกรณีที่มีการรดน้ำไม่ทั่วถึง จะพบว่าเพลี้ยเกล็ดอยู่ตามส่วนของพืชที่ไม่ถูกน้ำอยู่มาก เมื่อถูกเพลี้ยเกล็ดเข้าทำลายมากจะทำให้ใบเกิดอาการเหลืองและร่วงหลุดจากต้น

2. เพลี้ยแป้ง มักพบเข้าทำลายบริเวณใบอ่อนและราก แต่จะพบที่บริเวณรากเป็นส่วนใหญ่ หากใช้วัสดุปลูกที่โปร่งมากเกินไป หากรดน้ำไม่ทั่วถึงจะพบได้ทั่วทั้งต้น

**การป้องกันกำจัด **

หมั่นเช็ดใบให้สะอาดและรดน้ำให้ทั่วถึงทั้งต้น โดยเฉพาะด้านใต้ใบและตามซอกของใบ หรือใช้น้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอก ละลายน้ำรด ก็เป็นการป้องกันกำจัดเพลี้ยเกล็ด/เพลี้ยแป้งได้อีกทางหนึ่ง หากพบว่ามีการแพร่ระบาดมากให้ฉีดพ่นด้วยลาเซียน่ากำจัดแมลง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์

3. โรคเน่า เป็นโรคที่สำคัญ ซึ่งเกิดจากการรดน้ำมากเกินไปจนวัสดุปลูกชื้นแชะ และวัสดุที่ใช้ปลูกมีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ไม่ดี จึงควรเปลี่ยนวัสดุปลูกเป็นประเภทที่มีการระบายน้ำดี และ พิจารณาให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสมตามสภาพภูมิอากาศ

**การป้องกันกำจัด**


ใช้โคโค-แม็กซ์ อัตรา 1 ช้อนชา/น้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นในตอนเย็น 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์จนกว่าจะหายขาด




Create Date : 04 ธันวาคม 2557
Last Update : 4 ธันวาคม 2557 21:44:19 น.
Counter : 634 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tanatporn_ts
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ http://www.kokomax.com เทคโนโลยีการเกษตรชีวภาพ
ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ ในนามเว็บไซต์ http://www.kokomax.com ผู้นำด้านเทคโนโลยีการเกษตรในแนวทางชีวภาพ ก่อตั้งเมื่อตั้งแต่ปี 2549 ดำเนินงานด้านการส่งเสริมการทำเกษตรชีวภาพ ลดสารเคมี มีความยินดีที่ได้รับการตอบรับจากเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และผู้ใช้ในหน่วยงาน ฟาร์ม และบ้านเรือน เป็นอย่างดี และจะพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น