โลกนี้มีมาก่อนผู้คน แต่โลกจะทนอยู่ได้นานสักเท่าใด

ถ้าเงินหมื่นแสนล้านถูกผลาญไป ใช้สร้างอาวุธมายัดใส่มือคน
 
 

รถถังจีน Type-96และ99 ความเหมือนที่แตกต่าง



เห็นกระแสรถถังจีนVT-4 MBT-3000 กำลังมา จึงจะขอกล่าวถึงซักเล็กน้อย โดยยกสองหัวหอกแห่งทหารม้าจีน
รถถังหลักของจีนที่จำหน่ายและประจำการนั้น มีอยู่สองสายเลือดได้แก่

1.Type-96(จีนเรียกว่า ZTZ-96) /VT-4 MBT-3000 
2.Type-99(จีนเรียกว่า ZTZ-99)

มองผิวเผินเหมือนรถถังคลานตามกันมา แต่ที่มาต่างกันสิ้นเชิง โดยจะเริ่มกันที่

Type-96 / VT-4 MBT-3000
ต้นตระกูลมาจาก Type-59(WZ-120) หรือT-54/55ผลิตในจีนนั้นเอง ซึ่งแตกหน่อพัฒนาเป็นรุ่นต่างๆมากมายโดยใช้ชื่อจริงเหล่านี้ว่า Type-69/79 เป็นต้น การพัฒนาก็มีตั้งแต่เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนระบบอำนวยการยิง เปลี่ยนปืนจาก100มม.ไปใช้105มม. L-7  หรือแม้แต่ปืน120มม. เป็นต้น

ZTZ-96 พัฒนามาจากZTZ-88Cที่มาจากType-85IIM ที่เป็นรถถังจีนรุ่นแรกล่ะมั้งเท่าที่หาเจอใช้ปืน2A46 125มม.ของรัสเซีย โดยต้นกระกูลกลุ่มนี้คือType-80ที่มีเอกลักษณ์คือป้อมเป็นแบบเชื่อมเกราะด้านหน้าป้อมปืนเป็นแบบบล็อคเหมือนรถถังยุโรปอย่างM-1เพื่อให้มีความหนามากสุด ทั้งประจำการเองและส่งออก ภาพรวมทั้งน้ำหนักและมิติรถไม่แปลกจนโดดเด่นมาก รวมถึงรูปร่างรถแบบStandard ตัวถัง/ป้อมจะเหมือนกันเกือบหมด
Type-85II
Image

ZTZ-88C
Image

Type-90-II รุ่นลำไย ซึ่งเคยมีข่าวจะเสนอแลกลำไยของไทยนั้นเอง
Image

ZTZ-96A
Image


ZTZ-99เป็นรุ่นที่พัฒนาต่อจากZTZ-98 โดย98เป็นรถถังที่ออกแบบใหม่หมดเลยไม่เกี่ยวข้องกับฝั่งType-80หรือZTZ-96 ด้วยจีนต้องการรถถังที่ทันสมัยกว่ารุ่นที่พัฒนาเองแบบดัดแปลงจากกลุ่มType-59/79 T-55/62 เหมือนที่กล่าวข้างต้น

จีนต้องการรถถังรุ่นใหม่ที่เทียบเท่าตะวันตก เริ่มทดลองทำตั้งแต่ราวปี1985เป็นต้นมา ง่ายๆเลยอิทธิพลแนวคิดมาจากรถถังT-72 ที่ถูกนำมาขยายแบบ โดยรูปทรงยังคงไว้ซึ่งเลือดเนื้อT-72 แต่ป้อมแบนแบบรัสเซียแต่เกราะหน้าเป็นแบบเชื่อมบล็อคเหมือนตะวันตกเพื่อให้มีความหนา ผลที่ได้คือป้อมที่บานเล็กแต่หนาในส่วนหน้า ตัวถังแบบT-72เกราะด้านหน้าห้องพลขับเป็นแบบวี-เชฟ น้ำหนักเดิมๆรถรุ่นนีคือ48ตัน หนักกว่าZTZ-96 เดิมๆเกือบ5ตัน
ZTZ-98
图文:中国陆军新锐98式主战坦克(50)
ZTZ-99 ตัวแรกภาพรวมภายนอกมันก็ZTZ-98 นั้นแล
Image




 

Create Date : 21 สิงหาคม 2559   
Last Update : 21 สิงหาคม 2559 16:50:51 น.   
Counter : 3917 Pageviews.  


Leopard-2 ม้าศึกสุดแกร่งของกองทัพเยอรมัน

Leopard-2 หรือในทีนี้ขอเรียกว่า Leo-2 เป็นรถถังหลักของกองทัพเยอรมันที่สร้างในช่วงสงครามเย็นและใช้งานอยู่ถึงทุกวันนี้

Leo-2 เป็นรถถังที่เรียกได้ว่าพร้อมสมบูรณ์ที่สุดและเกือบดีที่สุดก็ว่าได้   การออกแบบตัวรถ พลังขับเคลื่อน อำนาจการยิง การป้องกัน นับว่าหาข้อติได้ยาก ภายใต้การออกแบบด้วยประสบการณ์อันยาวนานของบริษัทในเยอรมันซึ่งรวมทีมที่มีประสบการณ์ยาวนานและลือชื่อมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่2 ภายใต้สภาวะสงครามเย็นระลุและกองทัพรถถังโซเวียตจำนวนมหาศาลที่พร้อมดาหน้าเข้าใส่ยุโรปตะวันตก รถถังหลักLeopard-2คือปราการสำคัญในการป้องกันที่หลายประเทศในยุโรปเลือกใช้

คุณภาพชนิดที่ว่ากองทัพทหารม้าทั่วโลกฝ่ายนิยมอาวุธนาโต้ต่างเลือกใช้ชนิดขายดีทั้งมือ1และมือ1ด้วยยอดผลิตจำนวนกว่า3พันคัน  โดยในกลุ่มรถถังยุค80เรื่อยมาจนถึงปลายสงครามเย็นยังไม่มีรถถังรุ่นใดของฝั่งนาโต้ขายได้ดีเท่านี้

ฟังดูอาจเวอร์ไปนะครับ แต่โดยรวมรถถังLeo-2 นั้นมีส่วนในการนำแนวคิดการออกแบบและชิ้นส่วนไปใช้ในรถถังรุ่นใหม่ๆทั่วโลก เช่นเครื่องยนต์ MTU MB-serise ปืน120มม.ของไรเมนทัล  พวกนี้เป็นหัวใจหลักในรถถังของมหาอำนาจหลายๆคันด้วยกัน

Leo-2 นั้นเริ่มมีการพัฒนาในราวปี1979 เพื่อทดแทนLeopard-1 ที่เริ่มล้าสมัยทั้งเกราะป้องกันและอำนาจการยิง ซึ่งก่อนหน้านั้นในปี1969 เยอรมันและสหรัฐร่วมมือกันวิจัยรถถังMBT-70 (Kpz-70 เยอรมัน)  เพื่อทดแทน M-48 M-60 ซึ่งผลปรากฏว่าคุณภาพไม่เป็นอย่างที่ต้องการ ด้วยคุณลักษณะการยิงขณะเคลื่อนที่ การโหลดกระสุนอัตโนมัติ พร้อมต้นแบบ7คันที่เยอรมันลงทุนไปกว่า830ล้านมาร์ก โครงการเลยถูกยกเลิกและต่างคนก็นำสิ่งที่ได้ไปวิจัยรถถังของตนเอง

แต่แท้จริงนั้นราวปี1970 ขณะโครงการMBT-70ใกล้จะยุติ  ก่อนนั้นเล็กน้อยมีการเสนอโครงการอัพเกรดรถถังLeopard-1 ในชื่อ Vergoldeter Leopard KPz Eber / Keiler ภายในปี1968 ซึ่งการอัพเกรดรถถังLeo-1นี้ได้รับการทดสอบโดยข้อตกลงร่วมระหว่างกระทรวงกลาโหมกับบริษัท Krauss-Maffei AG จนได้ต้นแบบสมบูรณ์ในปี1969 สุดท้ายก็ไม่ได้ถูกนำมาเป็นโครการอัพเกรดอย่างจริงจัง

เนื่องจากกลาโหมสนใจที่จะพัฒนาLeopard-2K(ต้นแบบ) มากกว่าซึ่งได้สร้างจนเสร็จสิ้นในปี1972-74 โดยมีต้นแบบ16คัน รหัสPT1-17(หมายเลข12ไม่ได้สร้าง) โดย3บริษัทคือ Krauss-Maffei, Porsche และ Wegman ซึ่งนำเอาป้อมปืนของรุ่นLeo-1A3-A4 มายำรวมกัน ในจำนวนต้นแบบ17คัน ระบบอำนวยการยิงบางส่วนมาจากMBT-70 กล้องวัดระยะมาจากEMES-12  ปืนใหญ่ลำกล้องเรียบ105และ120มม.  ในต้นแบบคันที่11 ใช้ป้อมปืนกลscheitellafettierte 20มม.  ของรถIFV Marder มาติดตั้ง นอกจากนั้นยังมีรุ่น Leopard-2FK ซึ่งจะใช้ปืน152มม. สำหรับยิงกระสุนนำวิถีของสหรัฐอย่าง MGM-51 ชิลเลลักห์ ด้วย แต่สุดท้ายยกเลิกไป

Leopard-2K

ปี1974 เยอรมันขายต้นแบบPT-7 ไปให้สหรัฐศึกษารวมถึงเอาต้นแบบไปทดสอบที่แอริโซน่า ก่อนจะทำตัวอย่างเข้าสู่การผลิตจริง

เยอรมันส่งตัวถังต้นแบบLeopard-2AV ไปทดสอบที่สหรัฐอีกครั้ง ซึ่งมีประสิทธิภาพน่าพอใจทั้งการเสริมเกราะที่ตัวรถ การควบคุมไฟ  การป้องกันทุ่นระเบิด ประกอบกับศึกษายุทธวิธีในการรบของสงครามยมคิปปูห์ในปี1973 ทำให้พึ่งพอใจในประสิทธิภาพค่อนข้างมาก  ก็ยังมากกว่าเป้าหมายMLC-50 สำหรับยานเกราะสายพาน45.4ตัน  (Military Load Classification) เป็นระดับ60 ราวๆ55ตัน

ขอชี้แจงตรงนี้เล็กน้อยว่า MLC หรือมาตรฐานการจัดน้ำหนักชั้นยานเกราะของนาโต้ตามข้อตกลงSTANAG-2021 เป็นการระบุว่ายานเกราะหรือพาหนะทางสงครามนั้นต้องมีน้ำหนักมาตราฐานเดียวกันในทุกประเทศสมาชิก เพื่อให้สามารถลำเลียงพลข้ามสะพาน ถนน ในแต่ล่ะประเทศเวลาระดมเข้าสู่สงครามโดยที่การเคลื่อนพลเป็นไปอย่างรวดเร็วไม่มีปัญหา

ถนนหลวง สะพาน  จะมีป้ายบอกน้ำหนักที่เคลื่อนผ่านได้ รวมถึงในแผนที่เหล่าเสนาธิการทหารจะรู้ได้ทันทีว่ากองทัพจะเคลื่อนอาวุธใดไปทางไหนได้บ้าง ได้เร็วเท่าไหร่  โซเวียตจึงจำกัดน้ำหนักยานเกราะโดยเฉพาะรถถังหลักไม่เกิน50ตัน เพื่อบุกทะลวงถนนทุกสายในยุโรปตะวันตกได้นั้นเอง

ทีนี้บ้านเราเกี่ยวมั้ย? ก็ไม่เชิงซะทีเดียว หลายคนคงเคยได้ยินได้อ่านเรื่องรถถังหนักๆจะมาติดหล่มในบ้านเรา  หลายท่านอาจมองว่าตลกเพราะเค้าคำนวณ ground pressure มาแล้ว ไม่ติดหรอก แต่นั้นคือตอนออกแบบ ของจริงคือการลำเลียง การข้ามสะพาน ถนน ซึ่งประเทศไทยเรานั้นยังไม่มีมาตรฐานสูงพอ โดยเฉพาะเส้นทางตามชายแดนรอบประเทศ(สะพานอบต.ทั้งหลาย) ซึ่งปัญหานี้รถถัง Abram เคยไปตกสะพาน ถนนริมคลองถล่มรถตกคลองในอิรักมาแล้ว

กลับมาที่Leo-2 ซึ่งมีการปรับปรุงป้อมให้แข็งแกร่งขึ้นจากLeo-1 ป้อมต้นแบบหมายเลข14 ถูกสร้างขึ้นใหม่เพื่อรองรับการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยการยิงเช่นเลเซอร์วัดดระยะ กล้อง EMES-13 ป้อมส่วนหน้ามีความหนาเฉลี่ย350มม. โดยบริษัทWegmann โดยสหรัฐเองเสนอให้เสริมเกราะคอมโพสิตทำมุมในการป้องกันตัวป้อมเข้าไปอีก  รวมถึงเสนอให้ติดตั้งเครื่องยนต์สำรองAPU เป็นต้น ส่วนปืนใหญ่ต่อสู้รถถังยังวางใจปืน105มม.และ102มม. อยู่ในตัวเลือก

ในปี1977 จุดสำคัญอย่างนึงคือการส่ง Leopard2AVปืนใหญ่105มม. มาทดสอบในสหรัฐเปรียบเทียบกับXM-1(ต้นแบบ M1 Abram ) ที่แมรี่แลนด์ ผลสรุปว่าLeo-2 เหนือกว่าอยู่ในหลายจุด  แต่ทั้งสองชาติก็ยังขัดแย้งกันในการเลือกใช้ปืนใหญ่ประจำรถ  โดยเยอรมันต้องการใช้ปืนใหญ่ลำกล้องเรียบขนาด120มม. ขณะที่สหรัฐยังวางใจปืน105มม. M-68 (ตอนหลังก็ต้องเปลี่ยนมาใช้120มม.ตามเยอรมัน ในราวปี1985) รวมถึงเครื่องยนต์ที่สหรัฐจะใช้เครื่องแก๊สเทอร์ไบน์ แต่เยอรมันจะใช้เครื่องดีเซล

สรุปในปี1977  การสร้างรถถังLeo-2 A0-A4 นั้นใช้บริษัทถึง1500บริษัท  ในการผลิตรถถัง8ล็อต  ล็อตล่ะ300กว่าคัน  โดยล็อตแรกจะส่งปลายปี1979  งบประมาณโครงการ359ล้านมาร์ก ไม่รวมที่ลงทุนในโครงการMBT-70 กับสหรัฐ 

เลเซอร์วัดระยะรุ่นCE628 ของ Zeiss Eltro-Optronics ที่ประกอบเข้ากับชุดอำนวยการยิงEMES-15 วัดระยะตั้งแต่200-10000เมตร โดยค่าผิดพลาดในระยะไกลสุด10เมตร  วัดระยะเป้าหมาย3ครั้งใน4วินาที  แล้วทำการส่งเข้าคอมพิวเตอร์ประมวลผลเข้าสู่ระบบอำนวยการยิงแบบอัตโนมัติ หากเกินระยะ4000เมตร ระบบจะไมนำมาประมวณผล พลยิงต้องประมวณผลเอง

กล้องจับความร้อน ของบริษัทZeiss Eltro Optronics  โดยออกแบบตามมาตรฐานสหรัฐ  มีกำลังขยาย12เท่า  ในการตรวจการณ์ระยะไกลสุด  ซึ่งระยะตรวจการณ์กลางคืนจะอยู่ที่3000เมตร

ศูนย์เล็งปืนFERO-Z18 ถูกติดตั้งขนานกับลำกล้องปืนใหญ่เหมือนTZF-3ที่ใช้ในLeo-1 พอรุ่นLeo-2A5 มีการเสริมเกราะNERA ด้านหน้าจึงทำการแยกมาไว้เหนือลำกล้องปืน  ในรุ่น FERO-Z18A6 จะบอกชนิดกระสุนด้วย

ในรุ่นA7 นั้นจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับ Drone LUNA ได้อีกด้วย

เกราะของป้อมปืน

เป็นแบบคอมโพสิตซ้อนทับหลายชั้นซึ่งเป็นความลับ ลักษณะเหมือนเกราะที่เรียกว่าโชแบมของอังกฤษแต่ไม่ได้เหมือนของอังกฤษ หลัๆก็พวกเหล็กกล้า เซรามิค ในรุ่นA-5 เสริมเกราะNERA เพิ่มขีดความสามารถในการป้องกัน.ในด้านหน้าเพื่อลดอำนาจเจาะเกราะของกระสุนและระเบิดชนิดต่างๆก่อนเข้าสู่เกราะหลัก

ตัวเกราะส่วนหน้าป้อมเมื่อเจอกระสุนKE  Leo-2A4 จะหนาราวๆ590-690มม. Leo-2A5หนา850-930มม. หนาสุดในชุดนี้เป็นStrv-122(Leo-2A5) ที่ผลิตในสวีเดนหนา 920-940มม.

ตัวป้อมรุ่นA4 มีน้ำหนัก16ตัน  ส่วนรุ่นA6-6M หนัก21ตัน ตัวป้อมหมุน360องศา ภายในเวลา10วินาที

ระบบขับเคลื่อน Leo-2

ใช้ระบบรองรับน้ำหนักแบบทอร์ชั่น-บาร์ และระบบไฮโดรลิค ในชุดรับน้ำหนักแต่ล่ะล้อ

เครื่องยนต์ดีเซล  MTU MB-873 KA-500 ระบายความร้อนด้วยน้ำ พละกำลัง1500แรงม้า เสริมด้วยเทอร์โบชาร์จ2ตัว สร้างความเร็วได้ถึง68กม./ช.ม.  ซึ่งสามารถใช้น้ำมัน2ชนิดในอัตราส่วน6/4คือดีเซล60%และสารไวไฟอื่นๆ40%  ตัวรถที่มุมเอียง35องศา  เครื่องยนต์ยังสามารถหล่อลื่นชิ้นส่วนภายในได้อย่างทั่วถึง โดยเชื้อเพลิงภายในจำนวน900ลิตร

อัตรากินน้ำมันขณะจอดนิ่งๆ12.5ลิตร/ชั่วโมง  ถ้าซิ่งบนถนนเรียบๆระยะทาง100กิโลเมตรใช้น้ำมัน340ลิตร  ในพื้นที่ภูมิประเทศระยะทาง100กิโลเมตร ใช้น้ำมัน530ลิตร

เกียร์อัตโนมัติส่งกำลังRenk HSWL-354 ด้วยเกียร์เดินหน้า4เกียร์ให้ความเร็วสูงสุด72กม./ชม.  ถอยหลัง2เกียร์ให้ความเร็วสูงสุด31กม./ชม.  และเครื่องยนต์ที่ออกแบบเป็นบล็อคสามารถถอดประกอยในสนามรบภายในเวลา15นาที  เครื่องยนต์กำเนิดพลังงานสำรองAPU ขนาด7.5 kW-17 kW

นต่างๆของรถถัง Leopard-2

สำหรับกองทัพเยอรมันนั้นปัจจุบันใช้รุ่นA6/7/6M ส่วนรุ่นA-4 ถูกขายออกไปและรุ่นA-5 บางส่วนถูกยกเลิกเพื่อลดความแตกต่างใน3รุ่นข้างต้น ซึ่งในปี1969ประเทศเยอรมัน เบลเยี่ยม ฮอลแลนด์ นอร์เวย์ ลงนามร่วมกันในการสร้างและใช้งานรถถังLeo-2 เพื่อลดความซับซ้อนในการจัดหาอาวุธ

Leopard2AV  มีรุ่นทดสอบป้อมปืนและตัวถังอย่างเดียวที่ถูกเรียกรวมไปด้วย

Leopard2A0

ผลิตในปี1979-1982 จำนวน380คัน โดย209คันสร้างโดย Krauss-Maffei และ171คันโดยบริษัท MaK  ใช้ระบบอำนวยการยิงEMES-15 กล้องผบ.ตรวจการณ์PERI R17 ศูนย์เล็งFERO Z18 ระบบStabilizer WNA-H22 คอมพิวเตอร์ประมวลผลRPP 1-8 กล้องมองกลางคืน PZB-200 จำนวน200คัน

Leopard2A1 สร้างจำนวน750คัน  ตั้งแต่ปี1982-1984 โดย450คันล็อตแรกจบภายในปี1983 ส่วนอีกล็อตจำนวน300คันจบในปี1984 โดยประกอบด้วยกล้องจับความร้อน  ชุดพลขับมาตรฐานนาโต้ เพิ่มความหนาห้องเครื่อง ผบ.รถถูกเพิ่มความสูงอีก5ซม.สำหรับกล้องตรวจการณ์ เครื่องวัดความเร็วลม กล้องจับความร้อน

Leopard2A2 เป็นการเอารุ่นA-0 ทั้งหมดมาใส่กล้องมองกลางคืนPZB-200

Leopard2A3 สร้างจำนวน300คัน ในธันวาคมปี1984ถึงธันวาคมปี1985 ใช้ลายพราง3สี วิทยุรุ่นใหม่SEM 80/90 (VHF) เป็นต้น

Leopard2A4

 สร้างจำนวน4ล็อต จำนวน695คัน ในเดือนธันวาคมปี1984ถึงมีนาคมปี1987 ในจำนวน370คันถูกติดตั้งคอมพิวเตอร์คำนวณการยิงรุ่นใหม่ เพิ่มจำนวนความจุกระสุนในด้านซ้ายของรถ ระบบดับเพลิงที่ดีขึ้น

Leopard2A5

เป็นการอัพเกรดประสิทธิภาพและยืดอายุใช้งานออกไปแบ่งเป็น2ล็อตคือปี1995-1998(225คัน) 1999-2002(125คัน) เป็นการเอารุ่นA4 มาทำใหม่หมด เสริมเกราะNERA ด้านหน้าและด้านข้าง กล้องผบ.รถPERI R17A2 (สามารถใช้งานกลางคืนได้) คอมพิวเตอร์ประมวลผลรุ่นใหม่  ระบบปรับลำกล้องปืนไฟฟ้า  กล้องมองหลัง ฝาปิดห้องพลขับเปิดด้วยนิวเมติค  ด้านในเป็นSpall liners แบบเคฟลาห์  รวมถึงแผนที่ดาวเทียม และความพร้อมก่อนจะนำไปติดตั้งปืน120มม. L-55 โดยส่วนใหญ่เอารถLeo-2รุ่นแรกๆมาทำ

Leopard2A6

หลักๆเป็นการเพิ่มอำนาจการยิงเช่นปืน120มม. L-55 โดยเอารถถังLeo-2A5 จำนวน160คันมาอัพเกรด กับอีก65คันเป็นรุ่นLeo-2A4 โดยในปี2001 รถถังLeo-2A6 ถูกส่งไปบรรจุในกองพันรถถังที่403

Leopard2A6M เสริมเกราะ STANAG 4569 ระดับ4 ป้องกันกับระเบิดรถถังขนาด10กก.  ที่นั่งพลขับถูกติดตั้งที่นั้งแบบซับแรงกระแทกของบริษัทAutoflug ในเยอรมันโดยมีฮอลแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ สวิตฯร่วมพัฒนาด้วย

ในระหว่างนี้ Leo-2 มีการปรับปรุงประสิทธิภาพมาถึง3ครั้ง โดยครั้งแรกเกิดในรุ่นA4 แต่เป็นการทดลองเช่น การใช้กล้องจับความร้อน แผนที่ดาวเทียม ระบบวางแผนและข้อมูลการรบ Integrated Management and Information System (IFIS)  ครั้งที่สองในรุ่นA5 เช่นเสริมเกราะ ทดสอบปืน120มม.L-55 กล้องผบ.รถใช้งานกลางคืนได้

และครั้งที่3ปี2008  ได้แก่การทดลองปืน140มม.  ระบบควบคุมและสั่งการ IFIS  การสื่อสารทางวิทยุที่ดีขึ้น เสนอให้กลาโหมในปี1995

Leopard 2 UrbOp(PSO)

สำหรับทำภารกิจรบในเมืองโดยบริษัทKrauss-Maffei Wegmann เป็นผู้นำเสนอ โดยนำLeo-2A6 จำนวน150คันมาดัดแปลง ในจำนวนนี้เป็นรุ่นA4 50คัน เช่นเสริมใบดันดินด้านหน้า  เสริมเกราะด้านหน้าและด้านข้าง กล้องมองรอบคันที่ให้ภาพคมชัดทั้งกลางวัน/กลางคืน  โทรศัพท์ด้านนอกตัวรถ เครื่องยนต์APU ป้อมปืนกลรีโมทและเพิ่มเติมคือเครื่องยิงลูกระเบิด40มม.  แอร์ปรับอากาศ ส่วนปืนแรกเริ่มใช้120มม.L-44 แต่ก็เสนอปืน120มม.L-55 เพิ่มเติมโดยมีการนำเสนอในปี2009 ซึ่งแนวคิดนนี้ถูกนำไปใช้ในรุ่นA7

Leopard2A7

ซึ่งไม่เน้นรบในเมือง รถถังจำนวน20คันเป็นของเก่าจากฮอลแลนด์ที่แคนาดาใช้และถูกส่งมาเยอรมันอีกที ซึ่งนำรุ่นA6M มาเป็นพื้นฐาน  ใช้เครื่องยนต์APU Steyr M12 TCA  17kw  ซึ่งระบายความร้อนได้ดีขึ้น รวมถึงการใช้ชุดพรางSaab Baracuda ที่ลดการแพร่ความร้อนและพรางสายตาได้ดี  ระบบเชื่อมโยงข้อมูลแบบโครงข่าย ระบบแสดงผลภายในSOTAS-IP การเสริมเกราะด้านข้าง โดยรถถังA7 จำนวน14คันถูกส่งไปบรรจึกองพันรถถังที่203

Leopard-2 เวอร์ชั่นของKMW

Leopard 2A6EX

 เป็นรถรุ่นA4 ผลิตในปี1998/1999 เป็นตัวสาธิตจำนวน1คัน ในชุดอุปกรณ์เดียวกับStrv-122ของสวีเดน  หลักเช่นเสริมเกราะ การปรับสายพานด้วยไฮโดรลิค เครื่องยนต์APU รวมถึงขุมกำลังEuro-Power Pack คือชุดเครื่องยนต์Euro-Power Pack ประกอบด้วยเครื่องดีเซล MTU 883  ชุดเกียร์ HSWL-295 TM ของ Renk  รวมถึงใช้ปืน120มม. L-55 เปิดตัวในปี2002

Leopard2PSO (Peace Support OperationsหรือภารกิจUN) /2A7+ อย่างที่เกริ่นไปก่อนหน้าว่าออกแบบเพื่อตอบสนองภารกิจในเมือง

ส่วนรุ่นA7 นำเสนอในปี2010 ซึ่งได้รับการรับรองจากกลาโหมเยอรมัน  หลักๆนอกจากปืนแล้วยังรวมถึงใช้กล้องจับความร้อนรุ่นSPECTUS Cassidian Optronics  กล้องผบ.รถรุ่นPERI RTWL ซึ่งมีใช้ในรถIFV PUMA ซึ่งผบ.รถสามารถเลือกเล็งเป้าหมายและสั่งการยิงได้ทันทีรวมกับอำนาจการยิงของปืนใหญ่120มม.L-55 เพียงพอในการต่อสู้รถถังในระยะไกล


Leopard-2 เวอร์ชั่นของIBD Deisenroth Engineering

ซึ่งมุ่งเน้นการอัพเกรดรถถังLeo-2A4 ด้วยชุดเกราะโมดูลหลากหลายแบบตามความต้องการ นำเสนอในปี2008ในชื่อ Leopard-2A4 Evolution ซึ่งประกอบด้วยชุดเกราะAMP-B/SC เป็นต้น ชุดเกราะดังกล่าวมีน้ำหนักที่120กก./ตร.ม.

Leopard-2 เวอร์ชั่นRheinmetall

นำเสนอในปี2010 นำส่วนของLeo-2A4 Evolution มาเป็นรากฐานแล้วเสริมเรื่อง การป้องกันทั่วทั้งคันยันหลังคารถ ระบบป้องกันจรวดแบบ ROSY  การเชื่อมโยงข้อมูลและสั่งการรบ การมองเห็น ระบบการยิงอาวุธนำวิถีแบบSACLOS แม้อุปกรณ์ส่วนใหญ่จะเป็นดิจิตอล-อัตโนมัติแต่ก็คงการสั่งการแบบอนาล็อกไว้ เป็นต้น

Leopard-2 เวอร์ชั่นAselsanของตรุกรี

ถูกนำเสนอในปี2011ในชื่อLeopard 2 Next Generation บนพื้นฐานรุ่นA4 ระบบส่วนใหญ่เช่นอำนวยการรบเป็นของบริษัทในตรุกรี  การป้องกันใช้เกราะของAMAPจากเยอรมัน

Stridsvagn-121/122หรือLeopard-2 เวอร์ชั่นสวีเดน

สวีเดนเริ่มศึกษารถถังรุ่นใหม่ในราวปี1984-1987 ก่อนประกาศโครงการ MBT-2000 และเริ่มจัดการทดสอบรถถัง Leclerc T-72  M1A2 และLeopard-2 ในปี1993 ผลปรากฏว่าLeo-2 ชนะการทดสอบด้วยคะแนน91% M1A2 86% และLeclerc 63%

สวีเดนจึงเริ่มจัดหารถถังLeo-2A4 จำนวน160คัน ในปี1994 ในชื่อStrv-121 โดยใช้กระสุนผลิตในอิสราเอล

Strv-121 เป็นLeo-2A4 ต่างจากของเยอรมันตรงลายพรางและวิทยุ

Strv-122 เป็นรุ่นLeo-2A5 เสริมเกราะAMAP ระบบสื่อสารเป็นต้น

Panzer-87 หรือLeopard-2 เวอร์ชั่นสวิตเซอร์แลนด์

ช่วงที่เยอรมันพัฒนาLeo-2 นั้นสวิตฯได้เริ่มโครงการจัดหาและพัฒนายานเกราะของตนเอง ซึ่งมีที่ปรึกษาเป็นบริษัทจากเยอรมัน ในปี1979 ประกาศแผนสร้างNeuen Kampfpanzers (NKPZ) หรือรถถังหลักแบบใหม่ แต่ไปๆมาๆมองว่าไม่คุ้มค่าจะสร้างต่อจึงเช่ารถถังM1 Leo-2 มาทดสอบในปี1982 สุดท้ายLeo-2 ก็ได้รับการคัดเลือกนอกจากประสิทธิภาพแล้วยังรวมถึงข้อเสนอในการสร้างในประเทศ ซึ่งให้ได้มากกว่าM-1ของสหรัฐ

ในปี1984 กลาโหมสวิตฯจึงจัดหารถถังLeopard-2A4 จำนวน380คัน โดย35คันผลิตในเยอรมันรถถังLeopard-2 นั้นเป็นรถที่สืบตำนานพญาเสือ(Tiger)อันโด่งดังในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 การออกแบบที่ละเอียดทุกจุด ความสัมพันธ์ระหว่างพลังขับเคลื่อน อำนาจการยิง ความแข็งแกร่งของเกราะ เพื่อไว้ปะทะกับฝูงรถถังโซเวียตที่พร้อมดาหน้าเข้ามาในยุคสงครามเย็น ซึ่งไม่ต่างจากยุคสงครามโลกครั้งที่2ที่ฝ่ายนึงคือความสมบูรณ์แบบ ฝ่ายนึงเน้นปริมาณเข้าใส่กัน

แต่ทุกบทพิสูจน์คือการได้ลงสนามจริง สถานการณ์จริง ซึ่งรถถังM-1 Challenger-2 Merkava-3/4 เคยเจอมาอย่างโชกโชน แต่ก็ยังไม่รอดพ้นความสุญเสียไปได้ ในขณะเดียวกัน Leopard-2 นั้นเคยเข้าร่วมคือรักษาสันติภาพเท่านั้น  แต่ถ้าเอาภาพรวมนับว่าหาคู่ต่อสู้แลกหมัดต่อหมัดได้ยากเลยทีเดียว

ส่วนถามว่าเหมาะกับบ้านเราไหม ?  อย่างว่าของดีไม่ได้หมายความว่าจะถูกนะครับ ขนาดประเทศผู้ผลิต ผู้ใช้หลายๆเจ้ายังต้องหาซื้อมือสองมาอัพเกรดใช้ จนถึงไม่ได้อัพเกรดเลยก็มี




 

Create Date : 20 มกราคม 2559   
Last Update : 20 มกราคม 2559 9:56:50 น.   
Counter : 2816 Pageviews.  


มิตซูบิชิ TYPE-10 รถถังญี่ปุ่นเพื่อญี่ปุ่น


ไทพ์-10 (ฮิโตมารุ ชิกิ เซนชา) อีกหนึ่งผลผลิตรถถังหลักของกองทัพญี่ปุ่น พัฒนาเพื่อเข้าทดแทน ไทพ์-90ที่มีส่วนผสมของรถถังลีโอพาร์ด-2เอ4จากประเทศเยอรมัน
ในขณะที่รถถังตะวันตกหรือทั่วๆไปจะมีมิติใกล้เคียงกันโดยเฉพาะการออกแบบป้อมและน้ำหนัก(ราว55-60ตัน ในบางรุ่น)ไทพ์-10 ออกแบบสวนทางรถถังตะวันตกทันทีเนื่องจากข้อกำหนดที่ว่า
-ต้องสามารถไปทุกจุดของเกาะญี่ปุ่นแม้แต่ถนนแคบๆในเมืองหลักของญี่ปุ่น
-ความเร็วสูงสุดไม่ต่ำกว่า70ก.ม./ช.ม.
-ระบบสื่อสารC4Iขั้นสูง
-ใช้อะไหล่ร่วมกับไทพ์-90
-เกราะถอดประกอบใหม่ได้ในสนามรบ
-ลดความร้อนที่ปล่อยออกมาจากตัวรถรูปทรงตัวรถต้องลดการตรวจจับด้วยเรดาห์
พิกัดรถถังจึงออกมากระทัดรัดน้ำหนัก44ตัน ตัวรถเดิมๆว่ากันว่าหนัก38ตัน ปืนใหญ่120มม. 44คาลิเบอร์เครื่องยนต์ดีเซล




แน่นอนว่ารถถังรุ่นนี้ถูกออกแบบให้รับมือหากโดนข้า่ศึกรุกรานโดยเฉพาะจีนที่กองทัพเะติมโตมากสุดๆในช่วงปี2000เรื่อยมาซึ่งไทพ์-10 จะทำงานคู่กับรถเกราะMCV 8x8 ที่ติดปืนใหญ่105มม.ที่มีความคล่องตัวสูงโดยเฉพาะรบในเมืองและส่งกำลังทางอากาศ

ไทพ์-10มีชื่อว่า " ฮิโตมารุ ชิกิ " ประมาณการราคาต่อคันไว้ที่950ล้านเยน(ราคาปี2010)เริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี2002โดยมิตซูบิชิเป็นผู้รับเหมาโครงการนี้ไป ต้นแบบคันแรกส่งมอบเดือนมกราคมปี2006 รถอีก2คันส่งมอบวันที่13ก.พ.2008เพื่อทดสอบที่ฮอกไกโดและเริ่มสร้างเข้าประจำการในปี2010

เกราะที่ยังไม่มีการเปิดเผยออกมามากนักแต่ระบุไว้ว่าน้ำหนักมวลรวมเกราะทั้งคันลดลงจาก ไทพ์-90 ถึง30%เกราะเป็นนาโนคริยตัลโมดูล-เซรามิค คอมโพสิต จำพวกนี้ ทดสอบด้วยปืนใหญ่120มม.มาตราฐานนาโต้ยิงใส่ในระยะ250เมตร แต่ยังไม่มีการเปิดเผยผลทดสอบยิงออกมา

ไทพ์-10เมื่อยังไม่ได้ติดเกราะโมดูลเข้าไป เกราะคอมโพสิตด้านหน้าออกแบบเหมือนลีโอพาร์ด-2เอ
ตระแกรงใส่ของด้านหลังป้อมถูกออกแบบให้กว้างและยาวกว่าเดิมสำหรับป้องโดนลอบยิงด้วยหัวรบจำพวกRPG-7


ปืนใหญ่120มม. 44คาลิเบอร์ที่ถูกออกแบบขึ้นใหม่ภายในประเทศถูกทำให้น้ำหนักเบาลง13% พร้อมระบบโหลดกระสุนอัตโนัมติเดิมที่ถูกถอดแบบมาจากไทพ์-90 กระสุนพร้อมยิง14นัดและสำรองอีก22นัดในป้อมส่วนหลังรถ

กระสุนSABOT JM-33 ขนาด120มม. ลิขสิทธิ์DM-33 ของเยอรมันทดสอบยิงจากปืน120มม. 44คาลิเบอร์ ในระยะ2000เมตร เจาะแผ่นเหล็กได้หนา500มม. วางเอียง80องศา

ปืนกลร่วมแกนขนาด7.62มม. 1กระบอก เป็นอาวุธรอง


ระบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล วี8สูบเทอร์โบแปรผัน+ชุดหัวฉีดควบคุมด้วยอิเล็คทรอนิค กำลังขับเคลื่อน1200แรงม้าอัตราขับต่อน้ำหนัก27แรงม้า/ตัน ด้วยเกียร์ส่งกำลังแบบHMT กล่าวโดยรวมเป็นการส่งกำลังโดยใช้ปั๊มไฮโดรลิคแบบที่ใช้ในรถแทร็คเตอร์ ซึ่งส่งกำลังได้อย่างต่อเนื่อง

ฝากระโปรงยางถูกออกแบบให้ลดการปล่อยความร้อนออกจากตัวรถ
ระบบกันสะเทือนกึ่งอัตโนมัติแบบไฮโดรลิค-มอเตอร์ไฟฟ้าเอียงซ้ายเอียงขวาได้+เซ็นเซอร์วัดระดับแรงดันกระบอกไฮโดรลิคสั่นสะเทือน6
จุดรอบคัน

ระบบอำนวยการรบที่สำคัญอย่างC4I 
หลักๆเชื่อมโยงข้อมูลกับ ฮ.OH-1 และAH-64Dเพื่อสร้างข้อมูลการรบในด้านการวางแผนบัญชาการฯลฯเหมือนรถถังรุ่นท็อบทั่วไป


ส่วนที่เพิ่มสำคัญคือกล้องพาโนรามิค กลางวัน/กลางคืนมุมมอง360องศา ที่ไม่มีในรถถัง ไทพ์-90
ระบบอื่นๆได้แก่กล้องมองรอบคัน กลางวัน/กลางคืน
เซ็นเซอร์วัดความเร็วลม สภาพอากาศของ THALES ประเทศฝรั่งเศศ
น่าแปลกที่ ไทพ์-10ยังไม่มีแผนการติดตั้งระบบป้องกันตนเองAPS มีเพียงระบบแจ้งเตือนเลเซอร์รุ่น301MG
ท่อยิงระเบิดควัน/แฟร์ ขนาด76มม. จำนวน8ท่อ ติดตั้งข้างล่ะ4ท่อ





 

Create Date : 09 กรกฎาคม 2558   
Last Update : 9 กรกฎาคม 2558 14:23:03 น.   
Counter : 2458 Pageviews.  


อาเจนติน่าอัพเกรด TAM-2C

  TAM หรือ Argentine Medium Tank (รถถังหลักอาเจนติน่า) เป็นกำลังสำคัญของทหารม้าแห่งกองทัพอาเจนติน่าในปัจจุบัน 




ซี่งTAM นั้นเป็นรถถังเยอรมันที่ผลิตโดยอาเจนฯเอง(พูดประวัติเกี่ยวข้อง้กับกองทัพไทยแล้วเศร้า) ซึ่งตั้งแต่อาเจนฯจัดหาเข้าประจำการในราวปี1983เรื่อยมานั้น แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบอำนวยการรบภายในเท่าใด เรียกว่าค่อนข้างหลงยุคพอสมควรในขณะที่รถถังมีการพัฒนาไปบ้างแล้วหลายรุ่น แต่รถถังTAM ยังไม่สามารถตอบสนองภัยคุกคามได้ดีเท่าที่ควร ทำให้อาเจนฯซึ่งงบประมาณไม่มากไม่สามารถจัดหารถถังใหม่ได้

ปี2010 อาเจนฯทำการจ้างบริษัท Elbit ของประเทศอิสราเอลทำการปรับปรุงรถถังTAM ใหม่ให้มีความทันสมัยมากขึ้นรองรับภัยคุกคามในยุคปัจจุบัน เช่นเปลี่ยนระบบอำนวยการยิงใหม่ ระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์สำรองAPU และปืนใหญ่120มม. L-44 ที่ยังไม่ยืนยันชัดเจน แต่จากภาพก็คล้าย

TAM-2C ระบบอำนวยการรบเทียบเท่ารถถังหลักของอิสราเอลอย่างMerkava MK.3 กล่าวโดยรวมคือ

-ระบบวางแผนการรบ จอแสดงข้อมูล (Battle Management System )
-ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมด้วยการเข้ารหัสในการใช้งาน เชื่อมโยงกับUAV
-กล้องความร้อนสำหรับพลขับ
-กล้องพาโนรามิค360องศา รุ่นCOAPS สำหรับ ผบ.รถ
-เลเซอร์วัดระยะและเกาะติดเป้าหมาย
-ระบบแจ้งเตือนเมื่อถูกเลเซอร์ตรวจจับ

ปรับปรุงอื่นๆ
-เครื่องยนต์สำรองAPU
-ปืนใหญ่ IMI 120mm. L-44 และกระสุนนำวิถีด้วยเลเซอร์ LAHAT
-เสริมตระกร้าท้ายป้อม
-ระบบรักษาการเคลื่อนไหวของป้อมปืนด้วยไฮโดรลิค







 

Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2558   
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2558 11:01:32 น.   
Counter : 1969 Pageviews.  


VDO รถถังSprut-SD T-90MS K-2









 

Create Date : 11 ตุลาคม 2557   
Last Update : 11 ตุลาคม 2557 11:30:11 น.   
Counter : 1596 Pageviews.  


1  2  3  4  5  

ลิงน้อยเอ็นจอยเขียน
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]






" ผมไม่ได้บ้าฝรั่ง แต่ผมชอบในความมีอารยะของเขา แต่ฝรั่งเลวๆผมก็เกลียดเป็นเท่าตัวเหมือนกัน "



New Comments
[Add ลิงน้อยเอ็นจอยเขียน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com