โลกนี้มีมาก่อนผู้คน แต่โลกจะทนอยู่ได้นานสักเท่าใด

ถ้าเงินหมื่นแสนล้านถูกผลาญไป ใช้สร้างอาวุธมายัดใส่มือคน
 
 

SA-15 ทอร์ ระบบป้องกันทางอากาศชนิดแม่นมาก

9K-330 Tor หรือ SA-15(รหัสนาโต้) เป็นระบบป้องกันทางอากาศระยะใกล้ชนิดอัตตาจร มีชุดเรดาห์และท่อยิงอาวุธบนรถรวมเป็น1ระบบ ใช้ป้องกันพื้นที่ระดับกองพล ก่อนเข้าถึงระยะปตอ.ระยะใกล้อีกแบบคือ9K-33ทังกุสก้า
Image
ทอร์ออกช่วงท้ายทศวรรษที่1970 โดยกำหนดรหัสว่า 9K-330 โดยเน้นภารกิจทำลายเป้าหมายทางอากาศจำพวก อากาศยาน ลูกระบิดทิ้งจากอากาศยาน อากาศยานไร้คนขับ ขีปนาวุธร่อน หัวรบจากขีปนาวุธพิสัยใกล้ เรียกว่าทำลายเป้าหมายทุกชนิดที่อยู่ในระยะยิงด้วยความแม่นยำสูงสุด ตอบสนองเป้าหมายสูงสุด การตรวจจับสูงสุด แต่ยังไม่ได้ระบุถึงขั้นทำลายระดับกระสุนปืนใหญ่มาตราฐาน155มม.ลงมาถึงระดับปืนค.

ให้สารภาพตรงๆผมเองก็ยังไม่เข้าใจเมื่อเห็นภาพทอร์เป็นครั้งแรกๆ เพราะมันไม่มีท่อยิงจรวดหรือลูกจรวดให้เห็นมองเผินๆเหมือนฐานเรดาห์ซะมากกว่า
Image
ทอร์มีทั้งหมด3รุ่นคือรหัส9K-330/331/332หรือ Tor-M/M1/M2 ส่วนรุ่นใช้งานทางเรือคือ9K-95หรือSA-N9 และรุ่นที่ผลิตในจีนชื่อHQ-17
ทอร์ถูกออกแบบให้ทดแทน SA-8 เก็คโค่ ที่เป็นอัตตาจรเช่นกันแต่ไม่ค่อยได้เรื่องในประสิทธิภาพเมื่อเจอเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพสูงและในช่วงปี1970-1980หลายประเทศ(กลุ่มนาโต้)เริ่มพัฒนาระเบิดนำวิถี(PGM)เข้ามาใช้อย่างกว้างขวาง
จึงมีข้อกำหนดในการพัฒนาระบบ ทอร์ ออกมาดังนี้
1.อาวุธพร้อมยิงในระยะเวลา3-5วินาที
2.ลูกจรวดพร้อมยิงไม่ต่ำกว่า10นัด
3.หัวรบรุนแรงพอที่จะทำลายระเบิดนำวิถีและหัวรบได้
4.ค่าใช้จ่ายของลูกจรวดใน1นัดต้องไม่แพงกว่าระเบิดนำวิถีหรือหัวรบที่จะเข้าทำลาย(คือให้มันสมราคาหน่อย)
5.ลูกจรวดทดแรงจีได้สูงมากถึง10จี
ข้อกำหนดที่ออกมาจึงทำให้ ทอร์ เป็นระบบแรกๆที่เน้นการทำลายระเบิดร่อนและหัวรบมากกว่าอากาศยานโดยตรง

คณะรัฐมนตรีของโซเวียตจึงพิจารณาโครงการในปี1975-1983 เพื่อพัฒนาระบบทอร์ทั้งของกองทัพบกและกองทัพเรือ
ระบบทอร์ เป็นระบบป้องกันทางอากาศอัตตาจรขนาดกลาง เน้นความสามารถในการข้ามภูมิประเทศ โดยตัวรถรุ่นGM-335 โดยยานรบ1ระบบจะมี
Image
1.TAR เรดาห์สำหรับค้นหาเป้าหมาย
2.TTR เรดาห์สำหรับเกาะติดเป้าหมาย
3.กล้องTVสำหรับเกาะติดเป้าหมายอัตโนมัติ(สำรอง)
4.ความพิวเตอร์ประมวลผลความเร็วสูง ระบบข้อมูลดาวเทียม
5.จอแสดงผลข้อมูลสำหรับผบ.รถ ศูนย์อำนวยการยิง
6.อุปกรณ์สร้างรหัสคลื่นวิทยุหลายช่องทาง
7.ซองบรรจุลูกจรวดจำนวน8นัด ช่องล่ะ4นัด
8.เครื่องกำเหนิดไฟฟ้าสำรองเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ ( ทอร์ M-1 )
จึงทำให้ทอร์ สามารถกำหนดเลือกเป้าหมาย ยิงเป้าหมาย ในขณะที่แท่นยิงเคลื่อนที่อยู่ได้

TAR เป็นเรดาห์ครอปโกเปอร์ เรดาห์ค้นหาเป้าหมายมีมุมกวาดทางกว้าง ในเวลา1วินาที โดยหมุน1รอบกวาดทางสูง4มุม 4องศาแบ่งเป็น8ระดับรวม32องศา โดยเน้นความละเอียดในการค้นหาเป้าหมายในทุก4องศาไล่ระดับลงมา และมุมค้นหาสูงสุด64องศา
Image
MTIเกาะติดเป้าหมายทั้งความเร็วสูงและต่ำในครั้งเวลาเดียวกัน(ไม่เกิน10เมตร/วินาที) โดยแยกเกาะติดเป้าหมายต่างกัน ในขณะเดียวกันยังป้องกันการก่อกวนระบบเรดาห์ เมืื่อเรดาห์ค้นหาเป้าหมาและแยกแยะเป้าหมายออกจากกันแล้วคอมพิวเตอร์จะทำการประเมินภัยคุกคาม จากทิศทางและความเร็วที่เข้ามาในระยะตรวจจับของเรดาห์ โดยในระยะ18-22ก.ม. ค้นหาเป้าหมายRCS 0.1m2 แต่ความละเอียดก็ขึ้นอยู่กับความเร็วเป้าหมายโดยจะละเอียดสุดที่ระยะ12ก.ม.
ในรุ่น M-1 อัพเกรดในปี1991 เกาะติดเป้าหมายได้พร้อมกัน4เป้าหมายแล้วเลือกยิงทำลาย หรือเกาะติดเป้าหมายอัตโนมัติ ขณะสลับโหมดจะมีการสแกนเกาะติดเป้าหมายความละเอียดในระดับความสูงทุก7องศาและทางกว้าง3องศา
โดยการเกาะติดเป้าหมายของจรวดที่ยิงไปยังเป้าหมายนั้นมีการสั่งการชุดแรกที่แท่นยิงและตัวลูกจรวดผ่านจอมอนิเตอร์ภายในรถ และการเกาะติดแบบที่สองด้วยจอทีวีที่เกาะติดเป้าหมายอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มความเร็วในการสลับระบบเกาะติดเป้าหมาย โดยมีใช้ในรุ่น M-1
Image

M-1 ใช้เวลาในการต่อต้านเป้าหมาย3.4-10.6วินาที(ต่างจากความต้องการที่วางไว้3-5วินาที) ขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศและการต่อต้านทางอิเล็คทรอนิคที่รุนแรงระดับใด ซึ่งจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นราว2วินาที ในการสลับโหมดเพื่อเน้นค้นหาเป้าหมายทุก8องศา
ทอร์ M-1 มีรุ่นที่เป็นรถลากเรียกว่า9A332/9A331MK พัฒนาโดยเบราลุส ใช้รถบรรทุก MZKT-6922 6x6 เพื่อตอบสนองเรื่องความคล่องตัวและความสามารถในการป้องกันพลประจำรถ
Image
และรถตัวนี้ยังนำมาใช้เป็นฐานให้รุ่น M2 ซึ่งรัสเซียก็สนใจไปติดตั้งบนรถKAMAZ เช่นกันเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่่า
Image
ภาพด้านบน ทอร์ M-1T ใช้รถบรรทุกลาก
ระบบ ทอร์ M-1 มีระบบแผนที่ดาวเทียมในการเคลื่อนที่ ระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลและมีช่องทางในการค้นหาและประมวลแยกจากกันเพื่อเสริมความเร็วในการเกาะติดและทำการยิงเป้าหมาย

Image
SA-15D หรือ 9K-332 ทอร์ M-2/M-2E(ส่งออก) เป็นรุ่นปรับปรุงใหม่ใช้เรดาห์PESAR คอมพิวเตอร์ใหม่ โดยยังมีแท่นยิงเป็นรถบรรทุกล้อยางหรือรถสายพานก็ได้ ซึ่ง ทอร์ M-2 นั้นเป็นรุ่นที่เทพสุดในขณะนี้ก็ว่าได้สำหรับภารกิจป้องกันทางอากาศแบบสแกนละเอียดทุกองศาในรัศมี22ก.ม. เพดาน6ก.ม. คงจะเหลือแต่กระสุนปืนใหญ่ ปืนค. เท่านั้นที่ไม่ได้กล่าวถึง

Image
Image
เรดาห์PESA ของJSC พลาโทซอน ที่รุ่น M-2 ใช้นั้นสามารถเกาะติดเป้าหมายสูงสุด48เป้าหมาย เลือกเกาะติดเป้าหมายสำคัญที่อันตรายสูงสุด10เป้าหมายเพื่อยิงทำลาย เสริมด้วยระบบElectro-Optical

ลูกจรวด9M-330 เอกลักษ์เฉพาะคือแท่นปล่อยเรียกบ้านๆคือดีดให้ลอยสูงจากท่อยิงในแนวดิ่ง ขึ้นไป21เมตรแล้วทำการจุดระเบิด เหตุที่โซเวียตใช้การยิงลักษณะนี้เพื่อเพิ่มความเร็วในการต่อตีเป้าหมาย
Image
Image

ลูกจรวดบรรจุในซองยิงจำนวน4นัด รถยิง1คันจะมีซองบรรจุ2ซองรวม8นัด รูปทรงจรวดเหมือน 9เค-33 ใช้เชื้อเพลิงแข็งในการขับเคลื่อน
เมื่อทำการยิงหมดต้องใช้เวลาถึง18นาที ในการบรรจุใหม่
Image

ระบบทอร์นั้น ถ้าวางเป็นชุดยิงเต็มระบบ ทอร์ จะมี4แท่นยิงกระจายกำลังทั่วพื้นที่ป้องกันหน่วยกองพล รถเติม/ลำเลียงลูกจรวด3คัน รถบังคับการ1คัน รถทหารช่างอีก3คัน และสนับสนุนด้วยรถรถเรดาห์กำลังสูงสำหรับวางกำลังป้องกันอีกอย่างล่ะ1คัน

รุ่นต่างๆของระบบ Tor
-ZK95 Dagger หรือ SA-N 9
Image
เปิดตัวในราวปี1986 ระยะยิง12ก.ม. เกาะติดเป้าหมายได้พร้อมกัน4เป้าหมายและ1แท่นยิงมี8นัด
ระบบเรดาห์และควบคุมการยิง9R-95 สามารถควบคุมปืนAKM-630 เพื่อยิงทำลายเป้าหมายในระยะประชิดได้ ระยะตรวจจับ45ก.ม.ที่ความสูง3.5ก.ม.

-9K-330 Tor M
Image
รุ่นที่เปิดตัวในปี1986และได้ชื่อว่าเป็นระบบยิงทางดิ่งแบบแรกของโลก

-9K-331 Tor-M1
Image
รุ่นที่เข้าประจำการในกองทัพโซเวียตในช่วงปี1991ปรับปรุงระบบเรดาห์ใหม่ คอมพิวเตอร์ใหม่

9K-331 Tor-M1TA
Image
เป็นรุ่นลากจูงโดยใช้ตัวรถ ยูราล5323 เป็นรถบังคับการและเทรเลอร์ลากแท่นยิง

9K-331 Tor-M1B
Image
เป็นแท่นลากแยกห้องควบคุมการยิงและแท่นยิงออกจากกัน

9K-331 Tor-M1TS
Image
เป็นรุ่นสำหรับวางกำลังป้องกันสถานที่

9K-331 Tor-M1/2U
รุ่นที่เปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่

9K-332 Tor-M2
ใช้เรดาห์PESAR คอมพิวเตอร์ควบคุมการยิงแบบใหม่ ขีดความสามารถในการเกาะติดเป้าหมายสูงขึ้น48เป้าหมาย ลำดับเป้าหมายอันตรายสุดได้10เป้าหมายและทำการยิงทำลายได้พร้อมกัน4เป้าหมาย
Image
Tor-M2E รุ่นส่งออกและเปลี่ยนเป็นรถบรรทุกล้อยาง รวมถึงจรวด9M-334รุ่นใหม่
Tor-M2K รุ่นปรับปรุงตัวรถจากM2E โดยMZKTของเบลารุส

Tor-M2KM
Image
เป็นรุ่นติดตั้งบนรถบรรทุก TATA เป็นตัวที่อินเดียในปี2013 เน้นความคล่องตัวในการเคลื่อนที่เพื่อป้องกันเขตอุตสาหกรรมและเขตเมือง

สรุปได้ว่าระบบทอร์เป็นระบบป้องกันทางอากาศของดีแบบหาตัวจับยากในการป้องกันชนิดที่ยิงทำลายแบบพลาดเป้าไม่ได้ ที่รัสเซียก็ไม่ค่อยเปิดเผยข้อมูลออกมามากนัก




 

Create Date : 21 ตุลาคม 2557   
Last Update : 21 ตุลาคม 2557 13:23:58 น.   
Counter : 4356 Pageviews.  


แซมรัสเซียมีดีอย่างไร

ถ้าใครติดตามข่าวการทหารต่างประเทศจะมีชื่ออาวุธตัวนึงคือS-300 กับ TOR M-1 ปรากฏแก่ประเทศที่เป็นอริอเมริกาเช่นอิหร่าน ซีเรีย เป็นต้น ว่าต้องการอยากให้รัสเซียขายให้ทีเถอะ ขณะเดียวกันอเมริกาก็กดดันว่ารัสเซียอย่าขายนะ  จึงน่าสนใจว่ามันมีดีอะไร

ถ้าเรื่องประสิทธิภาพก็แน่ๆยิงไกล ระบบตรวจจับที่ดี แต่การทดสอบSAMจากรัสเซียนั้นพิสูจน์ความร้ายจนอเมริกาเองยังหวั่นๆและรู้แก่ใจดีคือ การที่รัสเซียทดสอบยิงเป้าบินที่เป็น" จรวด " เหมือนกัน จนประสบความสำเร็จก่อนเข้าประจำการ

ทั่วไปหลายชาติจะยิงเป้าบินที่เป็นอากาศยานไร้คนขับ เครื่องบินอะไรทำนองนี้ แต่รัสเซียทดสอบยิงเป้าบินที่เป็นจรวดที่มีลักษณะจำเพาะคือ เร็วไม่ต่ำกว่า2-3มัค บางรุ่น ได้4มัค ขนาดเล็กเท่าๆกับลูกจรวดที่ยิงมาทำลายเป้าหมายและทดแรงGได้ระดับ8-10 ต่อให้ผาดแผลงจนเครื่องบิดก็ไม่รอด



9F841 Saman

จะว่าไปการทำสอบหรือซ้อมรบของรัสเซีย เป้าซ้อมยิงที่ส่วนตัวอ่านเจอในตอนนี้คือการนำจรวดแซมด้วยกันมาทำเป้าซ้อม รุ่นอื่นๆนอกจากที่ท่านสมาชิคข้างต้น คือการนำSA-4กาเนฟ(2K11) ซึ่งเป็นแซมพิสัยกลางมาใช้ทำเป้าลวง และเสนอส่งออกในปี1994ใช้ชื่อว่า9M316M Virazh เห็นขนาดใหญ่ๆเทอะทะ ก็สามารถเร่งความเร็วได้ถึง4มัคเลยล่ะ นอกจากนั้นก็มี9F841 SamanหรือSA-8เก็คโค่ มาทำเป้าซ้อมยิงทำความเร็วได้ราวๆ1.4มัค ในระยะ5ก.ม. เริ่มนำมาใช้ทดสอบในปี1996ทดสอบกับS-300Vจำนวน3ระบบ Buk-M1จำนวน26ระบบและTor-M1อีก3ระบบ ในระบบผังป้องกันทางอากาศทุกระยะยิง(ไกลสุด-กลาง-ใกล้) โดยใช้เป้าซ้อมแบบOsa-AKMก็คือฐานควบคุมการยิงระบบSamanจำนวน20ระบบ


9M316M Virazh

ไม่แปลกที่สหรัฐจะมีปัญหากับรัสเซียในการจัดหาระบบแซมตัวใหม่ๆตอนแรกจากS-300 จนถึงTor-M1 ที่มีระยะยิงใกล้สหรัฐเองก็ยังไม่อยากให้รัสเซียขาย โดยระบบBuk-M1/M2M/2MKE Tor-M1/M2/M2E สามารถโจมตีเป้าหมายตั้งแต่จรวดนำวิถีไปจนถึงระเบิดร่อน

อันเนื่องมาจากระบบเป้าซ้อมของรัสเซียโดยเฉพาะSamanมีขนาดที่เล็กสุดและเร็วสุด1.4มัค ซึ่งยากพอที่ระบบแซมจะทำการยิงให้โดน(แต่ก็ยิงจนโดนจนได้) ก่อนหน้านี้รัสเซียทดสอบSA-2/3/4/6 กับLA-17Kของลาวอสคิน แต่มันทำความเร็วได้ราวๆ0.9มัคเอง






 

Create Date : 18 มิถุนายน 2556   
Last Update : 18 มิถุนายน 2556 20:59:30 น.   
Counter : 1455 Pageviews.  


เมื่อGoalkeeper รัวใส่Exocet กระจุย2ลูกซ้อน

เห็นในคลิปแล้วน่าสนใจดี ยิงจรวดเอ็กซ์โซเซ็ท 2 ลูกใส่เรือที่มี โกลคีปเปอร์ ป้องกัน โดยระบบป้องกันยิงรัวซะตกทะเลไปเลย
....เป็นอีกการทดสอบที่ใจถึงอย่างมาก




 

Create Date : 18 มิถุนายน 2556   
Last Update : 18 มิถุนายน 2556 20:31:33 น.   
Counter : 591 Pageviews.  


RBS-23 แบมเช่ อีกหนึ่งของดีจากสวีเดน


RBS-23 แบมเช่



RBS-23 แบมเช่ นับว่าเป็นหนึ่งของดีจากสวีเดนอีกรุ่นนึง เป็นระบบป้องกันทางอากาศพิสัยใกล้ที่มีขีดความสามารถสูงทำลายเป้าหมายทุกชนิดที่บินได้ตั้งแต่ระดับต่ำไปจนถึงระดับสูง เป้าหมายทุกประเภทตั้งแต่อากาศยาน จนถึงเป้าหมายที่จัดการยากอย่างระเบิดนำวิถี ขีปนาวุธร่อน(จำพวกโทมาฮอค) อากาศยานไร้นักบินUAV ใช้ป้องกันเป้าหมายที่มีความสำคัญเช่น กองบัญชาการ สนามบิน  ในรัศมีทำการที่20ก.ม.+


ด้านนึงที่น่าสนใจสำหรับบ้านเราที่หันมาใช้อาวุธจากสวีเดน ซึ่งหากดูการวางโครงสร้างการป้องกันภัยทางอากาศแล้ว แบมเช่ เหมาะที่จะนำมาใช้งานได้ดีด้านนึง เพราะเป็นการวางโครงข่ายข้อมูลเชื่อมโยงระหว่างเหล่าทัพคือ เชื่อมโยงข้อมูลจากเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศแบบอิริอาย-กริฟเพ้น-แบมเช่+ปตอ. โดยทั้งหมดผ่านการจัดลำดับเป้าหมายที่สวีเดนเรียกว่า STRIC ซึ่งรวมข้อมูลเป็นศูนย์กลางก่อนส่งข้อมูลเข้าสู่หน่วยต่างๆเพื่อทำการประมวลผลและวางแผน ลำดับเป้าหมายในขั้นต่อไป ซึ่งโยงเป้าหมายได้ทั้ง3เหล่า เหมาะแก่บ้านเราที่เน้นData link อย่างมาก


ที่ผมได้กล่าวข้างต้นว่า มันดีด้านนึงคือขีดความสามารถในการจัดการเป้าหมายในระยะยิงสูง แต่ระยะยิงมันใกล้หากเทียบกับระยะทำการของอาวุธที่มากับยานนำปล่อย ซึ่งอาจจะไม่สามารถทำลายอากาศยานให้เสียหายได้ ได้แค่รอทำลายอาวุธที่ถูกยิงเข้ามา เนื่องจากในการต่อต้านพิสัยไกลนั้นจะให้อากาศยาน(บ.ข.)เข้าทำการต่อตีก่อนจะฝ่ามาถึง แบมเช่ ในการป้องกันขั้นสุดท้าย


สำหรับบ้านเรานั้นการป้องกันทางอากาศ เราเองไม่มีแซมที่เรียกได้ว่าขีดความสามารถสูงใช้งาน ส่วนใหญ่ก็เก่าและรอปลดประจำการ ที่เหลือใช้ได้คือแซมที่ยิงในระยะสายตาหรือระยะใกล้นั้นเองเพราะต้องทำการยิงด้วยพลยิง และไม่มีขีดความสามารถในการต่อต้านเป้าหมายจำพวกระเบิดนำวิถี ขีปนาวุธร่อน  ซึ่งหากจัดหา แบมเช่เข้าประจำการ ก็เหมือนวางระบบต่อต้านอากาศยานใหม่นั้นเอง


มาดูกันว่า แบมเช่ เป็นมาอย่างไร แบมเช่นั้นถูกพัฒนาในช่วงทศวรรษ1993เป็นต้นมา ซึ่งถือว่าเป็นระบบที่ค่อนข้างใหม่และถูกพัฒนาให้ตามทันเทคโนโลยีในยุคนี้ รวมถึงมีการปรับปรุงเรื่อยมากว่าจะเข้าประจำการก็ปี2008พอดี โดยแผนพัฒนาเป็นไปตามที่กองทัพสวีเดนเสนอในราวปี1993 บริษัทที่รับไปพัฒนาในตอนนั้นคือ โบฟอส(ต่อมาเป็น ซาบ-โบฟอส)และอิริคสัน ได้รับสัญญาการผลิตในปี2000 ก่อนจะถูกทดสอบและบรรจุเข้าประจำการอย่างเป็นทางการในปี2008


ระบบแบมเช่ ถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติการได้ในทุกสภาวะอากาศ สงครามอิเล็คทรอนิค ตัวจรวดสามารถต่อตีเป้าหมายเมื่ออยู่เกินขอบเขตได้ ซึ่งเรดาห์จะเกาะติดเป้าหมายก่อนเข้าระยะทำการยิงของจรวด โดยการทำงานของ1ชุดยิงจะประกอบด้วย รถเรดาห์ตรวจอากาศค้นหาเกาะติดเป้าหมาย-เชื่อมโยงข้อมูล ฐานควบคุมและยิงจรวด 


ระบบเรดาห์และควบคุมการยิง


1ชุดยิงประกอบด้วย หนึ่งหน่วยเฝ้าระวังค้นหาแจ้งเตือนทางอากาศ Surveillance Co-ordination Center (SCC)เชื่อมโยง2-4หน่วยควบคุมการยิงMissile Control Centers (MCC) ซึ่งหน่วยควบคุมการยิงสามารถเคลื่อนที่ไปวางกำลังที่จุดใดก็ได้ ห่างจากจุดเฝ้าระวัง โดยเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบData link ในขณะที่ฐานควบคุมการยิงนั้นสามารถต่อตีเป้าหมายเฉพาะหน้าในกรณีระบบเชื่อมโยงข้อมูลจากเรดาห์เฝ้าระวังเสียหายด้วย กล้องจับภาพความร้อน จึงทำให้มีระยะยิงครอบคลุมพื้นที่กว้างมากเลยทีเดียว



จิราฟAMB 3D radar


เรดาห์เฝ้าระวังค้นหาเป้าหมายนั้นใช้เรดาห์ 3มิติ ของอิริคสัน จิราฟAMB (Agile Multi - Beam) 3D radarความถี่5.40GHz-5.90GHz มุมค้นหา70องศา อัพเดทเป้าหมายทุก1วินาที ติดตั้งบนรถบรรทุกใช้พลประจำควบคุม1-2นาย สามารถทำการรบภายใต้สภาวะ นคช.ได้ เรดาห์คลื่นความถี่ ซีและจี แบนด์ ระยะค้นหาไกลมากสุดถึง100ก.ม.และ60/30ก.ม.ตามลำดับ ตามแต่ขนาดประเภทของเป้าหมาย ความสูงของเป้าหมาย2หมื่นเมตร โดยเรดาห์ติดตั้งบนเสาที่ยืดหด ในความสูง8-12เมตร ตามแต่สภาพภูมิประเทศเพื่อความสามารถในการตรวจจับเป้าหมายในทุกระดับความสูง ติดตั้งระบบพิสูจน์ฝ่ายหรือIFF



โดยมันยังเป็นเรดาห์ทวิบทบาทสามารถเกาะติดเป้าหมาย สั่งการ ประเมินภัยคุกคาม เชื่อมโยงข้อมูลกับอากาศยานหน่วยอื่น สามารถวางการเชื่อมโยงผ่านสายเคเบิล ใยแก้วนำแสงและคลื่นวิทยุในรัศมี20ก.ม. มีโปรแกรมวางแผนในการซ้อมรบเพื่อฝึกอบรมภายในตัวด้วย


ศูนย์ควบคุมการยิงMissile Control Centers (MCC)



ศูนย์ควบคุมการยิงMissile Control Centers (MCC)


สามารถสั่งการยิงจรวดได้ด้วยการนำวิถีผ่านเรดาห์และกล้องจับภาพความร้อนในกรณีปิดเรดาห์เพื่อป้องกันการตรวจพบจากข้าศึก  แท่นยิงประกอบด้วยเรดาห์และจรวดพร้อมยิง6นัด  สามารถพร้อมยิงในระยะเวลา10นาที ใช้พลควบคุม1-2นาย คอมพิวเตอร์ควบคุม2เครื่อง


ศูนย์ควบคุมการยิงจะเชื่อมโยงข้อมูลผ่านศูนย์เฝ้าระวังด้วยคลื่นวิทยุและสายเคเบิล ในระยะไม่เกิน20ก.ม. โดยในกองทัพสวีเดนใช้วิทยุทางยุทธวิธีแบบTS-9000


เรดาห์ควบคุมการยิงความถี่ เคแบนด์ ความถี่ที่34-35GHz เป็นเรดาห์ควบคุมการยิงแบบ อิเกิล พัฒนาโดยอิริคสัน ติดตั้งบนเสาสูง8เมตร ติดตั้งระบบเซนเซอร์อากาศ  ระบบพิสูจน์ทราบเป้าหมาย และกล้องจับภาพความร้อน โดยจะใช้ในการเกาะติดค้นหาเป้าหมายที่บินมาในระดับต่ำด้วย โดยสามารถปรับปรุงข้อมูลเป้าหมายได้ตลอดเวลา โดยมีระยะค้นหาไกล30ก.ม.


ตัวจรวด


สามารถสร้างอัตราเร่งให้ตัวเองและรักษาความเร็วได้ดี โดยจะรักษาความเสถียรของตัวจรวดไปในระยะเวลาสูงสุด เนื่องจากไม่ได้ใช้เชื้อเพลงแข็งแต่เป็นบูชเตอร์-แรมเจ็ท หัวรบระเบิดแรงสูงติดตั้งชวนกระทบแตกและเฉียดระเบิด ระยะยิงมากกว่า15ก.ม. ความสูง15000เมตร ควบคุมการยิงด้วยคลื่นเรดาห์ โดยจรวดพร้อมยิง4นัด สามารถโหลดจรวดใหม่ใช้เวลาน้อยกว่า4นาที



ภาพรวม แบมเช่ถือว่ามีขีดความสามารถสูงมากรุ่นนึงในกลุ่มนาโต้ ข้อคือการประสานข้อมูลเป้าหมายแบบเรียลไทม์ ระหว่าง3เหล่าทัพ อีกทั้งมีการประมวลและวิเคราะห์เป้าหมายที่ละเอียดสูงเพื่อการจัดการเป้าหมายให้ได้ทุกประเภท เพียงแต่ระยะยิงของลูกจรวดมันใกล้เท่านั้นเอง  แต่ก็น่าสนใจสำหรับกองทัพไทยเพราะเราเองใช้ระบบโครงข่ายเฝ้าระวังใกล้เคียงสวีเดนน่ะครับ





 

Create Date : 12 มีนาคม 2554   
Last Update : 12 มีนาคม 2554 17:22:11 น.   
Counter : 2635 Pageviews.  


LD-2000หรือC-RAM เวอร์ชั่นจีน

LD-2000



LD-2000เป็นระบบปตอ.ป้องกันภาคพื้น ภารกิจหลักยิงสกัดเป้าหมายที่ต้องอาศัยความแม่นยำสูงทุกชนิดโดยเฉพาะ ลูกระเบิด จรวดหลายลำกล้อง กระสุนปืนใหญ่ ที่มีขนาดเล็กตรวจจับจากเรดาห์ด้วยกันยาก  โดยอเมริกาและอิสราเอลพัฒนาในชื่อ เคาเตอร์-แรม หรือเรียกว่า ซี-แรม ที่ใช้ระบบป้องกันระยะประชิดประจำเรือแบบ ฟาลังซ์ ติดตั้งบนรถบรรทุกซึ่งพัฒนาโดยบริษัทเรย์เทียนของอเมริกา ซึ่งสามารถเข้าที่ตั้งยิงได้ทันทีโดยไม่ต้องพึ่งพาระบบอำนวยการรบจากที่อื่น มีพิสัยยิงค่อนข้างใกล้ซึ่งเน้นป้องกันขั้นสุดท้ายหากระบบแซมป้องกันหลักนั้นไม่สามารถทำการยิงได้หรือมีหลุดเข้ามาในจุดสำคัญเช่น ฐานบัญชาการ ฐานปืนใหญ่ และสนามบินเป็นต้น


 


C-RAM ที่ถูกนำมาติดตั้งบนบกที่อิสราเอลใช้งาน


ระบบที่จีนพัฒนานั้นจะมีอำนาจการยิงที่หนักหน่วงกว่าเนื่องจากเป็นระบบที่ใช้ปืนกลหนักไทพ์-730 ขนาด30ม.ม.7ลำกล้อง โดยฟาลังซ์นั้นเป็นปืน20ม.ม.6ลำกล้องเท่านั้น โดยระบบไทพ์-730นั้นเป็นระบบป้องกันระยะประชิดที่ได้แผนแบบคล้ายๆกับโกลคีปเปอร์ของฮอลแลนด์ ที่โด่งดัง โดยแอลดี-2000 พัฒนาและผลิตโดยบริษัท นอรินโค่ ไชน่า นอร์ท อินดรัสทรี คอร์เปอเรชั่น เปิดตัวครั้งแรกที่ งานแสดงอาวุธที่ อาบูดาบี ปี2005



ระบบCIWS ไทพ์-730 ที่ติดตั้งบนเรือ นำมาติดตั้งบนรถ


แอลดี-2000นั้นใช้ปืนกล กรายาเชฟ-ชิปูนอฟ จีเอสเอช-6-360 มาเป็นแผนแบบในการพัฒนา โปรเจ็ค-850(ไทพ์-730บี) ขนาด30ม.ม.7ลำกล้อง อัตราการยิงที่4200-5800นัด/นาที ทำการยิงแบบอัตโนมัติหรือผ่านกล้องจอทีวีควบคุมการยิงด้วยรีโมทคอนโทร เลเซอร์ชี้เป้าและวัดระยะ(โอเอฟซี)ก็ได้ ระยะยิงหวังผล3000เมตร กระสุนกล่องล่ะ500นัดจำนวน2กล่อง เป็นกระสุนเจาะเกราะและระเบิดแรงสูง เวลาทำการยิงปลอกกระสุนจะพุ่งออกทางด้านหน้าใต้ลำกล้องปืน


นอกจากนั้นยังมี อาวุธปล่อยต่อสู้อากาศยานแบบ ทีวาย-90นำวิถีด้วยอินฟาเรดจำนวน6นัดติดตั้งในกล่องยิงข้างป้อมล่ะ3นัด ระยะยิงไกลสุด6ก.ม. ความเร็ว2มัค หัวรบระเบิดแรงสูง20ก.ก.


ระบบเรดาห์ควบคุมตัวปืนนั้นมีเรดาห์ควบคุมการยิงเกาะติดเป้าหมายที่พัฒนามาจาก ทีอาร์-73ซี(ไทพ์-347ซี)รุ่นส่งออกเป็นรุ่นจี ที่ติดตั้งบนเรือรบมาเป็นเรดาห์ อีเอฟอาร์-1/แอลอาร์-66(นาโต้เรียกว่า ไรซ์-แลมป์) โดยสถาบันซีอาน เนวิเกชั่น-เทคโนโลยี โดยเป็นเรดาห์คลื่นความถี่ เจ-แบน์ด คลื่นความถี่ระหว่าง15.7-17.3เมกเฮิรซ์  ระยะตรวจจับเป้าหมาย9ก.ม. หมุนกวาด16000รอบ/นาที ซึ่งละเอียดสูงมากทำให้สามารถตรวจจับเป้าหมายขนาดพื้นที่หน้าตัดต่ำสุดๆเพียง0.1ตร.ม.ในอากาศที่ระยะต่ำกว่า8ก.ม. ส่วนเป้าหมาย02.-2ม. ในระยะต่ำกว่า15ก.ม. แยกแยะเป้าหมายที่มาในทิศทางเดียวกันได้ว่ามีเป้าหมาย(จรวดกี่ลูก)ห่างกันเท่าไรในระยะทางด้านหลัง5เมตร ด้านข้าง2-3เมตร ใช้ไฟทำงาน120-150กิโลวัตต์ เวลาในการเซ็ทอัพระบบใหม่3วินาทีนอกจากนั้นยังทำงานคู่กับเรดาห์ตรวจอากาศคลื่น ไอ-แบน์ด ความถี่8.8-9.7จิกะเฮิรซ์



เรดาห์2ชุด ท่อยิงอาวุธปล่อยTY-90


โดยทั่วไปนั้นประสิทธิภาพยังไม่ค่อยดีนักเพราะสามารถติดตามเป้าหมายความเร็วต่ำกว่า2มัคได้ เนื่องจากประสิทธิภาพในการตรวจจับของเรดาห์ที่ไม่มีความเร็วในการตามเป้าหมายได้เพียงพอและต้องใช้การเชื่อมต่อข้อมูล เอสแอลซี-2 ซึ่งเชื่อมข้อมูลเรดาห์ระยะไกลในการกำหนดทิศทางเป้าหมายเพื่อเตรียมยิง เพราะในการยิงบนบกมีสิ่งกีดขวางในการทำงานเช่นป่า เนินเขา ซึ่งอันตรายสำหรับอาวุธที่บินต่ำๆเช่นระเบิดสมาร์ทบอม ฮ.ที่บินต่ำ ซึ่งต่างจากในทะเลที่เป็นพื้นที่โล่งเรดาห์สามารถทำงานได้เต็มที่และได้รับการสนับสนุนข้อมูลเป้าหมายจากเรดาห์ประจำเรือรวมถึงแซมระยะไกลในการสกัดกั้นข้างต้น


แอลดี-2000 ติดตั้งบนรถบรรทุกขนาดหนัก ดับบิวเอส-2400 ที่ลอกแบบมาจากรถบรรทุก เอ็มเอแซด-543ของรัสเซีย ซึ่งเป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่8X8ล้อ


ระบบแอลดี-2000นั้น หากจะมองว่ามีประสิทธิภาพข้างต้นก็ถือว่าดี แต่พึ่งเปิดตัวจึงต้องรอการปรับปรุงให้มีขีดความสามารถทันต่อภัยคุกคามที่มีเยอะกว่าทางเรือในการป้องกันทางบกจากอาวุธโจมตีภาคพื้นนาๆชนิด นอกจากนั้นยังมีความสิ้นเปลืทองสำหรับชาติที่งบประมาณน้อยๆเพราะต้องใช้แซมยิงอุดช่องว่างในระยะไกล


  




 

Create Date : 21 มกราคม 2553   
Last Update : 21 มกราคม 2553 20:33:30 น.   
Counter : 4856 Pageviews.  


1  2  

ลิงน้อยเอ็นจอยเขียน
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]






" ผมไม่ได้บ้าฝรั่ง แต่ผมชอบในความมีอารยะของเขา แต่ฝรั่งเลวๆผมก็เกลียดเป็นเท่าตัวเหมือนกัน "



New Comments
[Add ลิงน้อยเอ็นจอยเขียน's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com