εїз ต้นธรรม εїз เติบโตงดงามด้วยคุณธรรม
แหงนหน้ามองขึ้นใปจากโคนต้น เห็นรูปทรงแผ่ระย้ากิ่งสาขา จากร่มเงาแต่ละใบที่ได้มา เกิดจากว่าผู้มีใจไฝ่ในบุญ
Group Blog
 
All blogs
 

อทินนาทาน ลิขสิทธิ์ และอาชีพค้าขายที่ชาวพุทธไม่ควรทำ 490916

ธรรมวันเสาร์ เรื่องอทินนาทาน ลิขสิทธิ์ และอาชีพค้าขายที่ชาวพุทธไม่ควรทำ
(เมื่อวันที่ ๑๖ ก.ย. ๒๕๔๙)
Oar != Aor says:
นมัสการพระคุณเจ้าครับ สวัสดีทุกๆ ท่านครับ

Power = Value x Flow --> //www.wealth says:
นมัสการพระคุณเจ้า และสวัสดีครับ

Mee สิ่งเดียวที่ทำให้คนๆหนึ่งถลำลงไปสู่ความชั่ว คือการพลาดทำผิดแล้วไม่ยอมรับว่าผิด กับไม่คิดจะทำอะไรให้ดีขึ้น says:
นมัสการพระคุณเจ้าครับ

เป้-ถ้าคิดผิดทาง การวางตัวต่อกันก็จะผิด says:
กราบนมัสการท่านปิยะลักษณ์ เจ้าค่ะ

เทิดเกียรติ์-เทิด says:
กราบนมัสการท่านพระปิยะลักษณ์ ครับ
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
สวัสดีจ๊ะ วันนี้เราจะคุยเรื่องอะไรกันดีล่ะ

ชินา-LET GOooooooo ! says:
What is the topic today

มีสิ่งหนึ่งอยากถามได้ไหมครับ
การที่เราเอาของรักของคนอื่น ถือว่าผิดศีลข้อ 2 ใช่ไหมครับ แต่ถ้าของสิ่งนั้นไม่ได้หายไป ถือว่าผิดไหมครับ เช่น การที่เรา copy file จากคนอื่นมาเก็บไว้ที่เครื่องเรา ของๆคนนั้นยังอยู่ แต่ก็มาอยู่ที่เราด้วย ถือเป็นการผิดศีลไหมครับ (รอฟังคำตอบครับ)

ขอเขาหรือยังคะ
ไม่ได้ขอครับ
เขาเคยบอกหรือเปล่าว่าเอาไปได้เลย
ไม่เคยครับ
เรื่องนี้ก็น่าสนใจครับ "การที่เรา copy file จากคนอื่นมาเก็บไว้ที่เครื่องเรา" หรือ Download program จากไวป์ไซด์ Emule หรือใช้ Bittorran
ในเรื่องของลิขสิทธิ์ใช่ไหม ที่คุณอยากจะรู้น่ะ
เรื่องของลิขสิทธิ์ด้วย และเรื่องความถูกต้องในศีลธรรมด้วยครับ
ในเรื่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือลิขสิทธิ์นี่นะ เป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนเล็กน้อย
เช่น นาย ก มีรูปที่ถ่ายไว้ดูส่วนตัว แต่ นส ข อยากได้ จึง copy เก็บไว้ โดยไม่บอกให้นาย ก รู้ แต่นาย ก ไม่ได้เสียรูปไป เพราะยังอยู่ในเครื่อง นส ข จะผิดศีลข้อ 2 ไหมครับ
ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง says:
สวัสดีทุกคนค่ะ คือว่า วันจะคุยเรื่องธรรมมะหัวข้ออะไรค่ะ คุณเทิด กับคุณนอร์ธ
เรื่อง "การที่เรา copy file จากคนอื่นมาเก็บไว้ที่เครื่อง โดย file ยังอยู่ที่เครื่องเขา (ไม่ได้หายไปไหน) เราผิดหรือไม่"
ผมว่าเรื่องเกี่ยวกับการ Download โปรแกรมมาใช้โดยไม่ได้ซื้อ ก็น่าจะดีนะครับ เพราะเราส่วนใหญ่ก็จำเป็นต้องทำอย่างงั่นเพราะว่าสู้ราคาค่าโปรแกรมไม่ไหว
มีวัตถุประสงค์ต้องการให้ท่านปิยะลักษณ์ เอาธรรมะตอบเรื่องนี้หรือค่ะ
สอบถามเพื่อนๆ พี่ๆ เฉยๆ ครับ (แค่อยากรู้ครับ)
บางตัวตัวราคา ๒ หมื่นถ้าซื้อมาใช้โดยไม่ได้ทดลองก่อนว่าเหมาะกับเรา หรือมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือ ก็จะเป็นการเสียเปล่า
ถ้าเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็น topic ก็สามารถผ่านไปได้เลยครับ
ตกลงจะคุยหัวข้อเรื่องธรรมะกันหรือเปล่าค่ะ คือ ว่ารออยู่ค่ะ มีใครเสนอหัวข้อค่ะ
ครับ (ขออภัยที่นอกเรื่องครับ)
ธรรมะคือ ความเป็นจริงตามธรรมชาตินะ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระไม่ใช่หรือ ถ้าพระท่านสามารถไขปัญหาได้เราทุกคนก็จะได้สบายใจ
นั่นสิครับ (ตอนนี้มีคนกังวลมาก)
ตกลงจะเอาเรื่องอะไรล่ะ จะได้ตอบเป็นข้อๆ ไป
เชิญตั้งหัวข้อกันได้เลยครับ มีใครเสนอหัวข้อใดบ้างครับ
ถ้าถามในเรื่องนี้จริงๆ ก็จะได้ยกเรื่องนี้ขึ้นเป็นหัวข้อในการสนทนา
"อย่างไร เข้าข่ายการขโมย"
ok ka this topic
ตกลงว่า จะคุยกันเรื่องของ 'อทินนาทาน' ใช่ไหม
ขอรับพระคุณเจ้า
การอทินนาทานนั้น มีความหมายว่า การถือเอา(นำเอา)สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ไปโดยอาการแห่งการขโมย เมื่อเขายังหวงแหนอยู่ , การอทินนาทานนั้น มีทั้งที่เป็นวัตถุสิ่งของและที่เป็นมนุษย์
ถ้าเป็นวัตถุสิ่งของ ก็เป็นลักษณะของการลักทรัพย์ ถ้าเป็นมนุษย์ก็ถือเป็นการละเมิดในเรื่องการครอบครองในสิ่งอันเป็นที่รัก เช่น คู่ครอง เป็นต้น ซึ่งถือเป็น กาเมสุมิจฉาจาร

file ถือเป็นวัตถุไหมครับ
เรื่องของไฟล์ลิขสิทธิ์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ถือได้ว่าเป็นวัตถุอย่างหนึ่ง
แต่ file ของเขาไม่ได้หายไปแต่อย่างใดนะครับ
เราจะเข้าใจลักษณะของการอทินนาทานได้ เราจะต้องเข้าใจความหมายหรือความมุ่งหมายของการอทินนาทานก่อนนะ
การอทินนาทานนั้น ป้องกันมิให้คนเราล่วงละเมิดในสิทธิของบุคคลอื่น ในสิ่งที่บุคคลอื่นเขาเป็นเจ้าของ เมื่อเขาไม่ต้องการให้เราครอบครองสิทธินั้น

ครับ (ฟังต่อครับ)
สิทธิในสิ่งของนี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า มีเฉพาะกับสังคมหรือกลุ่มบุคคลผู้มีอารยธรรมเท่านั้น เช่น ในสังคมมนุษย์ และเทวดา ที่มีการตกลงร่วมกันในเรื่องของสิทธิหรือความเป็นเจ้าของ ซึ่งเป็นการยอมรับหรือตกลงร่วมกันว่าสิ่งนี้ๆ เราหรือเธอเป็นผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ (๑)
แต่โดยธรรมชาติแล้ว สิ่งทั้งหลายทั่วผืนปฐพีนี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองมิได้มีเจ้าของ มิได้มีใครสร้างขึ้น ล้วนแต่เป็นไปตามเหตุปัจจัย
แม้อุปกรณ์ทั้งหลายที่มนุษย์สร้างขึ้นก็นำมาจากทรัพยากรธรรมชาติทั้งสิ้น จะว่าโดยแท้แล้วการงานที่มนุษย์กระทำขึ้นนี้ต่างหากที่เป็นผลผลิตของบุคคลนั้น แต่ธรรมชาติก็ยังคงเป็นของกลางที่มนุษย์หยิบยืมมาใช้ มิอาจมีผู้ใดถือสิทธิ์ความเป็นเจ้าของในธรรมชาตินั้นได้อย่างแท้จริง
เช่น เราไม่สามารถกล่าวได้ว่า ผืนแผ่นดินนี้เป็นของเรา เรามีสิทธิ์ในผืนแผ่นดินนี้ เช่นว่า เมื่อน้ำท่วม แผ่นดินไหว ธรรมชาตินั้นที่ว่าเป็นของเรา ก็กลับมิใช่ของเราขึ้นได้ทุกเมื่อ

แล้วอย่างนี้สัตว์แย่งอาหารจากสัตว์ ก็ไม่ผิดสิ
นั่นสิครับ อือ.. น่าคิดจัง
ธรรมดาสัตว์เดรัจฉานย่อมมีการแก่งแย่งกันและกัน สัตว์ทั้งหลายไม่เข้าใจในเรื่องสิทธิ จึงไม่อาจกระทำการสมมติตกลงร่วมกันได้ ว่าสิ่งนี้เป็นของใคร เพราะเขาไม่เข้าใจ
สัตว์ทั้งหลายต่างแย่งชิงกันและกันอยู่เสมอ อย่างที่เรียกว่า ไม่รู้จักสิทธิหรือความเป็นเจ้าของใดๆ ดังนั้น สัตว์ที่แข็งแรงกว่าก็ขับไล่สัตว์ที่อ่อนแอกว่าออกนอกพื้นที่ สัตว์ใหญ่แย่งชิงอาหารจากสัตว์เล็ก ปลาใหญ่กินปลาเล็ก สุนัขสมสู่กันโดยไม่รู้ว่าเป็นแม่เป็นลูก เป็นต้น
ฉะนั้น การตกลงร่วมกันเพื่อแบ่งปันทรัพยากร หรือการจัดสรรแบ่งแยกสิทธิการครองครองนั้น จึงเป็นวิวัฒนาการของมนุษย์ผู้มีอารยธรรมเท่านั้นที่จะตกลงร่วมกัน เรียกว่า สมมติร่วมกัน (สํ=ร่วมกัน+มติ=ข้อตกลง) คือตกลงร่วมกันว่า ใครจะมีสิทธิในสิ่งใด ด้วยวิธีการเช่นใด

แต่ไม่ได้หมายความว่าการแย่งนั้นเขาไม่ได้ขโมย จะใช้ว่ายึดเอาสิ่งนั้นเป็นของตนโดยเขาไม่อนุญาต อย่างนี้เป็นการลักทรัพย์ด้วยหรือเปล่าเจ้าคะ
การแย่งเอาสิ่งของหรือกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นมาทั้งที่เขารู้ เมื่อเขาไม่ยินยอมพร้อมใจ เรียกว่า การกรรโชกทรัพย์
P^ i +n *K He is a Hero says:
นมัสการพระคุณเจ้า สวัสดีค่ะทุกคน

สวัสดีครับ คุณพิ้งค์
ขออ่านก่อนค่ะ เชิญสนทนากันต่อค่ะ
โดยสรุปในขั้นต้นก่อนว่า การอทินนาทานนั้น มีเฉพาะในหมู่มนุษย์และเทวดาผู้รู้จักสมมติหรือการตกลงร่วมกันเท่านั้น เพื่อแบ่งสิทธิในสิ่งทั้งหลายเพื่อการครอบครองกรรมสิทธิ์ ถ้าบุคคลใดไม่รู้จักกระทำสมมติ เมื่อนั้นก็ไม่เข้าข่ายการกระทำการอทินนาทาน ตอนนี้สิ่งที่จะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งการถือสิทธินั้น จึงสุดแต่ว่ามนุษย์จะสมมติตกลงร่วมกันแค่ไหน อย่างไร
แสดงว่า สัตว์ และคนที่เป็นโรคประสาท (คนบ้า) ก็ไม่เข้าข่ายสินะครับ เพราะไม่รู้จักกระทำสมมติร่วมกัน
ใช่
เข้าใจแล้วขอรับ
เอ แล้วเขาไม่ทำกรรมไม่ดีเหรอคะ คือไม่รู้จักเรื่องการมีสิทธิในสิ่งของ ก็เลยลักหรือยึดของคนอื่นโดยไม่สนใจ
อย่างนี้คนไม่มีสติเผลอไปขโมยก็ไม่ผิดสิครับ เพราะไม่รู้จักกระทำสมมติร่วมกัน (ชั่วขณะนึง)
เอ อย่างนี้เกิดมาไม่รู้อะไรเลยดีกว่า แล้วก็เอาของเขามาเป็นของตัว อย่างนี้จะได้ไม่ทำกรรมไม่ดี
อันนั้นแน่นอน เมื่อสัตว์ทั้งหลายไม่รู้จักสมมติก็ย่อมทำการเบียดเบียนกัน เป็นเหตุที่ทำให้จิตใจของเขานั้นเกิดความเศร้าหมอง เกิดความบีบรัด เกิดความคับเครียดภายในจิตใจ และไม่มีความรู้สึกมั่นใจในการดำรงชีวิต รวมถึงไม่ได้รับความเบิกบานผ่องใสที่เกิดขึ้นได้จากการเสียสละ จิตใจของเขานั้นย่อมรู้อยู่ถึงสภาพของการเบียดเบียนและความกดดันทั้งหลาย นี่ล่ะผลของบาปที่แท้จริง คือ ความทุกข์ภายในจิตใจนั่นเอง
อย่างเช่นว่า ถ้าในอนาคตเกิดคนเราสมมติร่วมกันว่า อากาศในประเทศนี้ ก็เป็นของคนในประเทศนี้เท่านั้น ก็ถือเป็นสิ่งซื้อขายกันได้ เป็นต้น เช่นว่า ใครที่มาที่ประเทศไทยเรา จะต้องเสียค่าอากาศหายใจ วันละ ๒๔ บาท เป็นต้น จนกว่าจะออกไปนอกอาณาจักร อย่างนี้ก็ทำได้นะ เพราะว่าสิทธิในสิ่งทั้งหลายทั่วผืนปฐพีนี้ อย่างที่ได้กล่าวว่า ไม่มีใครมีสิทธิ์ครอบครองแต่ต้น แต่มีขึ้นเมื่อมนุษย์-เทวดาผู้มีอารยธรรมนั้น เริ่มมีการตกลงร่วมกันเท่านั้น
ฉะนั้น ปัญหาอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นซึ่งเห็นได้ชัด คือ เมื่อมนุษย์เราเมื่อมีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น ก็เริ่มใช้อำนาจในการกำหนดสิทธิ์ในสิ่งต่างๆ ว่าห้ามการล่วงละเมิด ทั้งที่บางทีสิ่งนั้นไม่ควรห้ามสิทธิ์ก็มี เช่นว่า เราห้ามพูดว่า "ถูกต้องแล้วคราบบบบบบบ" ออกทีวี มิฉะนั้นอาจถูกปรับว่า ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิทางปัญญาได้

หมายความว่า ไม่ผิดทางธรรมชาติ แต่ผิดตามกฎกติกาที่เรากำหนดเอง เพื่อการดำรงอยู่ร่วมกันใช่ไหมค่ะ
ใช่จ๊ะ
เพราะไม่มีสิ่งใดเป็นของใคร
หรืออย่างเช่น มนุษย์เราตกลงร่วมกันว่า น้ำและปลาในมหาสมุทรนี้เป็นของประเทศฉัน เธอห้ามล่วงล้ำเขตเข้ามาจับปลาในเขตของฉัน ถ้าเข้ามาก็ถือว่าผิดกฏหมายต้องชดใช้ อย่างนี้ก็ได้นะ
อย่างในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า สิทธินั้นเป็นสิ่งถูกสมมติขึ้นมา ซึ่งจะมีประโยชน์แท้จริงก็ต่อเมื่อรู้จักใช้ให้เกิดความพอดี หรือตั้งอยู่บนความชอบธรรมเท่านั้น

แบบนี้คนที่ไม่เจตนาจะลักทรัพย์ เช่น เดินเรือไปจับปลาเลยน่านน้ำของตนไป แบบนี้ผิดหรือเปล่าค่ะ
ไม่ผิดศีลธรรม แต่อาจผิดกฏหมาย
อย่างที่คุณเทิดและคุณนอร์ธถามในตอนแรกเกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์ในสิ่งของที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของอยู่นั้น จึงขึ้นอยู่กับว่าสิ่งนั้นเจ้าของเขาหวงแหนหรือไม่ และกฏของสังคมที่ตกลงร่วมกันนั้น อนุญาตให้บุคคลนั้นมีสิทธิในสิ่งนั้นๆ ด้วยหรือไม่

แบบนี้การแย่งแฟนคนอื่น ผิดไหมค่ะ
ต้องถามว่าผิดอะไรครับ กฏหมาย ประเพณี ศีลและธรรม
ถ้าสังคมไม่ยอมรับให้มีสิทธิในสิ่งนั้น แม้บุคคลนั้นจะหวงแหนก็ตาม ก็อาจไม่มีสิทธิในการหวงแหนก็ได้ เช่น เพื่อนกันไม่มีสิทธิ์หวงห้ามเพื่อนของตนไปคบเพื่อนใหม่ อย่างนี้ถ้าคนๆ นั้นเกิดหวงห้ามสิทธิ์ขึ้นมา ก็จะไม่ถูกต้องเพราะไม่มีสิทธิ์จะทำอย่างนั้น
แต่ถ้าเป็นสามีหวงห้ามสิทธิในภรรยาของตนมิให้ไปมีชายคนใหม่หรือไปมีความสัมพันธ์กับชายอีกคน อย่างนี้มีสิทธิที่จะหวงห้ามได้ เพราะสังคมยอมรับในสิทธินั้นของสามี-ภรรยาที่จะพึงมีต่อกัน

ถ้าหากว่าเขายังไม่แต่งงานกันถูกต้องตามกฏหมายหรือเขาไม่ได้มีอะไรกันถึงขั้นที่เกินกว่าประเพณี ผมว่าจะผิดก็คงตรงผิดธรรมนี้ละครับ
การอทินนาทานนั้น มีความหมายว่า การถือเอา(นำเอา)สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ไป เมื่อเขายังหวงแหนอยู่ (ถามตามความหมายของคำนี้ค่ะ)
ต้องขอโทษครับนอกเรื่องนิดหนึ่ง พอดีตัวเองก็กำลังทำอยู่
ก็คือ ต้องแต่ง. กันก่อน ถ้ายังไม่แต่ง ก็ไม่ผิด
แต่รู้สึกว่าเราเสนอทางเลือกที่ดีที่สุดให้เขาได้พิจารณาก่อนที่เขาจะตัดสินใจ เพราะเราก็มั่นใจในตัวเราว่าดีที่สุดคนหนี่งในประเทศไทย
ฉะนั้น สังคมจึงตั้งกฎสมมติขึ้นมาเป็นกฎหมายว่า ผู้ใดต้องการให้ตนมีสิทธิโดยชอบธรรม จะต้องจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้อง เพื่อรักษาสิทธิของตนในสิ่งที่ตนเห็นว่าควรหวงห้ามไว้ อย่างนี้เป็นต้น เพื่อให้สังคมให้สิทธินั้น
ครับ
แต่ที่ยังไม่แน่ใจก็คือจะผิด ธรรมะ ข้อไหนหรือเปล่า
ที่พูดมานี่เป็นทางสังคมบัญญัติ แล้วทางพุทธล่ะเจ้าคะ หมาไปลักไก่ก็ไม่ถึงว่าเป็นบาปเหรอ
สำหรับสัตว์เดรัจฉาน ไม่มีการตกลงร่วมกันในด้านสิทธิในสิ่งของอะไรต่างๆ ฉะนั้นจึงมีแต่การแย่งชิงกันไม่รู้จักจบสิ้นด้วยกำลังของตนเท่าที่จะทำได้ ฉะนั้น จึงไม่มีการลักทรัพย์กันและกัน แต่สภาพจิตที่กระทำก็เป็นอกุศล เรียกว่า เป็นบาป เพราะจิตใจนั้นเศร้าหมองด้วยอกุศลจิต เช่น ประกอบด้วยโลภะ โทสะ หรือโมหะ เป็นต้น
เกิดอกุศลจิต มีเจตนาไม่ดีในการกระทำ
เอาล่ะ จะเริ่มเข้าสู่เนื้อหากันต่อไป หลังจากได้กล่าวถึงความหมายของ “อทินนาทาน” แล้ว
ครับ
ในอรรถกถาพระไตรปิฎก ได้กล่าวจำแนกถึง การอทินนาทานว่ามีด้วยกันถึง ๑๓ ลักษณะ แต่อาจจะละเอียดไปก็ได้นะ หรือว่ายังไงพวกเรา
โห เยอะจัง แต่ก็สนใจครับ
จะฟังไหม หรือจะข้ามไป
คนอื่นว่ายังไงเอ่ย
jaja...ไม่มีอะไรต้องกลัว says:
ฟังด้วยเจ้าค่ะ

เอาๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ok ka
ละเอียดไปหน่อยค่ะ ฟังได้ค่ะ
เอาเลยเจ้าค่ะ ละเอียดสิดี จะได้รู้จักแยกแยะออก ไม่งั้นก็สงสัยกันอยู่นั่นล่ะ
การอทินนาทานจำแนกออกได้เป็น ๑๓ ลักษณะ คือ (๒)
๑. ลัก ได้แก่ อาการถือเอาทรัพย์ที่เคลื่อนจากฐานได้ ด้วยไถยจิต (จิตคิดจะลัก) อันเป็นอาการแห่งขโมย
๒. ชิงหรือวิ่งราว ได้แก่ อาการที่ชิงเอาทรัพย์ที่เขาถืออยู่
๓. ลักต้อน ได้แก่ อาการที่ขับต้อนหรือจูงปศุสัตว์ หรือสัตว์พาหนะไป
๔. แย่ง ได้แก่ อาการที่เข้าแย่งเอาของซึ่งคนถือทำตก
๕. ลักสับ ได้แก่ อาการสับสลากชื่อตนกับชื่อผู้อื่นในกองของด้วยหมายจะเอาสลากที่มีราคา
๖. ตู่ ได้แก่ อาการกล่าวตู่เพื่อจะเอาที่ดินเป็นของตัว แม้เจ้าของจะขอคืนก็ไม่ยอม
๗. ฉ้อ ได้แก่ อาการที่รับของฝากแล้วเอาเสีย
๘. ยักยอก ได้แก่ อาการที่บุคคลผู้เป็นภัณฑาคาริก มีหน้าที่รักษาเรือนคลังนำเอาสิ่งของที่รักษานั้น ไปจากเขตที่ตนมีกรรมสิทธิ์รักษาด้วยไถยจิต

ไถยจิต???
ไถยจิต แปลว่า มีจิตคิดที่จะขโมย
๙. ตระบัด ได้แก่ อาการที่นำของต้องเสียภาษี เมื่อจะผ่านด่านที่เก็บภาษี ก็ซ่อนของเหล่านั้นเสีย
๑๐. ปล้น ได้แก่ อาการชักชวนกันไปทำโจรกรรม ลงมือบ้าง มิได้ลงมือบ้าง
๑๑. หลอกลวง ได้แก่ อาการที่ทำของปลอม เช่น ทำธนบัตรปลอม
๑๒. กดขี่หรือกรรโชก ได้แก่ อาการที่ใช้อำนาจข่มเหงเอาทรัพย์ของผู้อื่น ดังราชบุรุษเก็บค่าอากรเกินพิกัด
๑๓. ลักซ่อน ได้แก่ อาการที่เห็นของเขาทำตก แล้วเอาของมีใบไม้เป็นต้นปกปิดเสีย ถึงที่สุดขณะทำสำเร็จ
มีทั้งหมด ๑๓ ลักษณะนี้นะ เรียกรวมๆ ว่าการอทินนาทานทั้งหมดเลย (จบแล้ว)

อ่ะนะ
ต้องระวังตนเองให้หลีกเลี่ยงได้ครบทั้งหมดนี่
ค่ะ
ครับ
สรุป ก็คือต้องรักษาศีล.
อ่านกันทันหรือเปล่าล่ะ สงสัยข้อไหนบ้างไหม
คุ้นๆ เหมือนอยู่ในหนังสือนักธรรมตรีน่ะครับ
ช่วยสรุป13ข้อนี้มาเป็นข้อเดียวได้ป่ะเจ้าคะ
ก็สรุปว่า ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้นั่นล่ะ




อาชีพค้าขายที่ชาวพุทธไม่ควรทำ

ขอถามเรื่องหนึ่งได้ไหมค่ะ ไม่เกี่ยวกับหัวข้อก่อนหน้านี้ค่ะ
อยากถามว่า การที่เราเลี้ยงสัตว์ เช่น นก หนู สุนัข ไว้ขาย นี่เป็นบาปหรือเปล่าค่ะ

ขายสิ่งมีชีวิตน่าจะบาปนะ น่าสงสารออก
การเลี้ยงไว้ขายนั้นเป็นบาปแน่ๆ
ถ้าเป็นอาชีพของพ่อแม่ แล้วลูก ก็บาปด้วยเหรอค่ะ
พระพุทธองค์ตรัสถึงอาชีพค้าขายที่ชาวพุทธไม่ควรกระทำเพราะเป็นบาปไว้ ๕ อย่างนะ
๑. เลี้ยงสัตว์ไว้ เพื่อขายเป็นอาหาร
๒. ค้าขายมนุษย์เรา เช่น ค้าทาส หรือค้าผู้หญิง
๓. ค้าขายอาวุธ เพื่อการต่อสู้หรือเพื่อการสงคราม
๔. ค้าสุรา ยาเสพติด
๕. ค้ายาพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง หรือยาทำให้แท้งบุตร เป็นต้น
อาชีพค้าขาย ๕ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น “มิจฉาวณิชชา” คือ อาชีพเกี่ยวด้วยการค้าขายที่เป็นบาป ชาวพุทธไม่ควรกระทำ

ขอโทดค่ะท่าน นู๋พึ่งไปฉีดยาป้องกันหนอนกินใบไม้มาเมื่อกี๊บาปมั๊ยคะ
บุญต่างกับบาปตรงไหน บุญเจตนาดี บาปเจตนาร้าย ที่คุณพ่อคุณแม่ท่านค้าขายสัตว์ก็เพราะว่าเป็นอาชีพของท่าน ซึ่งถือว่า ท่านต้องมาชดใช้กรรมที่ท่านทำไว้ที่ชาติปางก่อนและสัตว์เหล่านั้นที่ท่านขายก็ได้ทำกรรมกับท่านไว้เช่นเดียวกันนะ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำได้ก็คือ สร้างฐานะเราให้ดีแล้วถึงเวลาก่อน พยายามเกลี่ยกล่อมให้ท่านปล่อยวางซะ อาจจะขายกิจการไปให้กับคนอื่นหรือเลิกทำก็ได้
อาชีพเป็นสิ่งที่เราแต่ละคนเป็นผู้เลือกนะ คนเราสามารถเลือกอาชีพได้ พระพุทธองค์ตรัสว่า เราจะทำบาปโดยอ้างว่า ทำเพื่อบุตรธิดา ภรรยาสามี บิดามารดา เพราะความยากจน หรือแม้เพราะประเทศชาตินั้นไม่ได้ ท่านกล่าวว่า เรามิอาจอ้างด้วยคำนี้ต่อหน้าพญายมราช
การที่เราค้าสัตว์เป็นอาหารนั้น ถูกต้องแล้วที่ว่า ส่วนหนึ่งมาจากผลกรรมของสัตว์นั้นที่ได้กระทำไว้เอง แต่อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญกว่า ก็คือ บุคคลผุ้กระทำย่อมเป็นบาป เพราะมีเจตนาในการทำลายชีวิตสัตว์ หรือมีส่วนร่วมในการทำลายชีวิตสัตว์นั้น

แบบนี้ก็ทำบาปร่วมกันซิค่ะ
หนอนกินไบไม้หมดบ้านเลยค่ะ
บาปสิครับคุณพิงค์ หนอนตายป่าวละ
ไม่เห็นตัวหนอน
อ้าว
ไปฉีดป้องกันไว้ก่อนค่ะ
งั้นไม่เป็นไรครับ (หนอนไม่ตาย)
ใบไม้เป็นรู ตอนเช้าค่ะ แต่ใช้สูตรชีวภาพค่ะ
แล้ว การที่เราใช้ รองเท้าหนัง (วัว) กระเป๋าหนัง (ปลากระเบน) แบบนี้เราบาปเปล่าค่ะ
ไม่น่าบาปนะครับ (มันตายแล้วนี่) แล้วเราก็ไม่ได้ไปบังคับให้คนไปฆ่านี่นา
แบบนี้โรงงานที่ทำน้ำปลา ทำจากปลาที่ตายแล้ว ก็ไม่บาปใช่ไหมค่ะ
การใช้รองเท้าหนัง เก้าอี้หนัง หรือของใช้ใดๆ ที่เกี่ยวด้วยชีวิตสัตว์นั้น จะเป็นบาปก็ต่อเมื่อ เรามีเจตนาหรือมีส่วนร่วมในการฆ่าเท่านั้น เช่นว่า เรามีเจตนาฆ่า หรือเราสั่งให้เขาฆ่า หรือเรามีส่วนร่วมในการฆ่านั้น
ชีวิตของคนในโลกนี้มีอยู่ ๓ ทาง ทางที่แข็ง ทางสายกลางและทางที่หย่อน ทางเดินในความเป็นจริงสำหรับคนที่ยังเป็นปถุชนนั้นมี ๓ ทาง ทางสีขาว ทางสีเทาและทางสีดำ
น่าคิดแหะ
สนับสนุนการฆ่าด้วยการซื้อ อิอิ
โรงงานฟอกหนังสัตว์ รับหนังสัตว์มาทำ ก็ไม่บาปหรือค่ะ ทำให้เกิดการฆ่า..
ถ้าเป็นเพียงการซื้อของที่เขาทำมาจากสัตว์ โดยเราซื้อของที่เขาทำมาแล้วจากสัตว์ที่ตายไปแล้วก็ไม่บาป อย่างเช่นว่า เราซื้อหมู ไก่ ปลา มากิน ซึ่งเป็นสัตว์ที่เขาฆ่ามาแล้ว อย่างนี้ก็ไม่มีบาป
เราไม่ได้ส่งเสริม การทำบาปหรือค่ะ แบบนี้เค้ากิน มังสวิรัติ. กันทำไหมค่ะ
แต่ถ้าเราไปชี้ให้เขาฆ่า อย่างนี้จึงจะเป็นบาป เช่นว่า เราไปร้านอาหารแล้วไปที่ตู้ปลา สั่งว่าเอาตัวนี้นะ อย่างนี้จะเป็นบาป เพราะสั่งให้เขาฆ่ามาเป็นอาหาร
คำว่า "บาป" คืออะไรเจ้าคะ
บาปคือการที่ทำไปแล้วทำให้จิตใจเศร้าหมอง (มั้งครับ)
พระท่านนั้นนับได้จะยืนอยู่แต่บนทางสีขาวเท่านั้นจะไม่ออกมาจากทางนี้เลยเป็นอันขาด ส่วนพวกเราๆนี้ก็ต้องเข้าๆออกๆทางสีขาวกับทางสีเทาอยู่เป็นประจำ แต่อย่าเผลอไปเข้าทางสีดำเป็นอันขาด
ถ้าเราอยู่บนทางสีขาวได้มากเท่าใด จิตใจของเราก็จะเป็นสุขมากเท่านั้นแต่ตามธรรมดาแล้วทุกคนก็ยังอยู่ในสงสารวัฏ จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ว่าอะไรเป็นทางสีขาว ทางสีเทาและทางสีดำ
ผมเพียงแต่คิดว่า การดำเนินชีวิตสิ่งสำคัญที่สุด ต้องไม่ประมาท ถ้าเราคิดแต่เชิงบวกตลอดเวลา เราก็จะมีแต่มือขวาซึ่งจะไม่สามารถต่อสู้กับคนที่ใช้ทั้งมือขวาและมือซ้ายได้ สำหรับผมแล้วซึ่งเป็น ฆราวาสอยู่ จำเป็นต้องมีทั้งสองมือครับ นั้นคือเดินทางสายกลาง
การอุปมาอย่างนี้ไม่ถูกนะ ที่เปรียบว่าการทำความดีเป็นมือขวา การทำความชั่วเป็นมือซ้าย ฉะนั้น เราต้องทำทั้งความดีและความชั่วเพื่อจะได้มีทั้งมือซ้ายและมือขวา อันนี้เป็นอุปมาที่ใช้ไม่ได้
เรากลับต้องอุปมาให้ถูกต้องเสียใหม่ว่า เราทำความดีก็ด้วยมือทั้งสองข้าง เราทำความชั่วก็ด้วยมือทั้งสองข้าง ฉะนั้น คนเราจะดีหรือจะชั่วก็ขึ้นกับจะใช้มือทั้งสองข้างไปทำอะไรต่างหากจึงจะถูกต้อง
และการที่กล่าวว่าสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตก็คือการไม่ประมาทนั้นถูกต้องแล้ว แต่ทว่า เมื่อไรที่เราไปทำความชั่วเสียหายเข้านั่นล่ะ เรียกว่า เรานั้นประมาทแล้ว คือ ทำไปโดยไม่มีสติสัมปชัญญะ เพราะตามธรรมดาคนที่ทำความชั่วคือคนที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ และพระพุทธเจ้าเรียกคนที่ไม่มีสติ(กระทำความชั่ว) ว่าคนประมาท
ฉะนั้น คำว่า ความไม่ประมาทมิใช่หมายถึงการระมัดระวังผู้อื่นหรือเพียงการรู้เท่าทันผู้อื่นเพื่อไม่ให้เสียเปรียบผู้อื่นเท่านั้น แต่กลับหมายถึง การมีชีวิตอยู่อย่างมีสติรู้เท่าทัน มีความรู้เนื้อรู้ตัว เพื่อไม่ให้ตนต้องตกไปสู่การทำความชั่วนั่นเอง
พระพุทธองค์ตรัสว่า สัจธรรมความจริงเป็นอย่างนี้ “คนทำดีย่อมได้ดี คนทำชั่วย่อมได้ชั่ว” เมื่อเราทำบาป บาปนั้นย่อมจะต้องตกแก่เรา เรารู้ในสัจธรรมนี้ไว้ เพื่อให้เรายอมรับความจริงว่า เราจะเอาอย่างไร ดี-ชั่ว เจริญหรือเสื่อม อยู่ที่เราเลือกหนทางชีวิตของเราเอง แต่ถ้าจะให้บอกว่าสิ่งผิดเป็นสิ่งถูกนั้นเป็นไปไม่ได้

ครับ
รับ. วิบากกรรม
งงอ่ะ คุยอะไรกันอยู่อ่ะ
ไม่บอก.
แป่ว
นั้นคือ โลกมนุษย์ ครับ เราทุกคนก็ยังอยู่ใน โลกธรรมอยู่ ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์กัน
เหมือนกับว่า ถ้าเรายินดีเอามือข้างหนึ่งจุ่มลงในกะทะที่กำลังเดือดจัด กับมืออีกข้างหนึ่งกลับประพรมด้วยของหอมลูบไล้ด้วยน้ำมันหอมระเหยต่างๆ อย่างนี้เราจะได้รับทั้งความทุกข์และความสุขระคนกันไป เราจะยินดีเช่นนั้นหรือ
หมายความว่า ด้านหนึ่งคุณเทิดเป็นด้านมืด อีกด้านหนึ่งเป็นด้านสว่างเหรอค่ะ
เปล่าครับ ผมเรียนรู้ว่า เราต้องรู้ทั้งสองด้านและใช้สติปัญญาไตร่ตรองดูว่าสิ่งที่เราทำนั้นเป็นผลดีกับคนทุกคนหรือไม่และสังคมจะเกิดสันติภาพหรือไม่
พระพุทธองค์ตรัสถึงบุคคลในโลกว่า ย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้กระทำไว้ การศึกษาพระธรรมก็เพื่อให้รู้ว่าอยู่อย่างไรเราจะมีความเจริญขึ้นถ่ายเดียว โดยไม่มีความเสื่อมเลย มิใช่การยอมรับความเจริญและความเสื่อมไปพร้อมๆ กัน ถ้าอย่างนั้น การศึกษาพระธรรมจะมีค่าอะไร เพราะไม่อาจให้ชีวิตพ้นจากความเสื่อมได้ ดั่งเช่น ความหมายของพระธรรมว่า สิ่งที่พยุงสัตว์ไว้ไม่ให้ตกลงสู่โลกที่ชั่วช้าเลวทราม
ผมเพียงแต่ยึดหลักขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่บอกว่า "เราทำให้คนทุกคนเป็่นคนดีไม่ได้แต่เราต้องส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองก็เท่านั้น"
หมายความว่า ชีวิตเราต้องเลือกเดินทางไหน ทางหนึ่ง ใช่เปล่าค่ะ ไม่ใช่สีเทา
ในหลวงบอกให้ไปทางสีดำงั้นเหรอคะ ตีความอย่างไรเนี่ย
.....................................................................




อทินนาทาน ลิขสิทธิ์
ในเรื่องของการลักทรัพย์ที่คุยกันในวันนี้ เป็นการกล่าวถึงความหมายและลักษณะของสิ่งที่เรียกว่า การลักทรัพย์ เท่านั้น ซึ่งต้องการให้เราได้รู้ว่า สิ่งใดที่อาจตกลงร่วมกันและได้รับการยอมรับในสังคม การถือเอาสิ่งนั้นที่เจ้าของมิได้ให้ ถือเป็นการขโมยทั้งสิ้น
การลักทรัพย์นั้น ย่อมมีผลต่อจิตใจของผู้กระทำไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งแม้ว่าสัตว์จะไม่รู้จักสมมติ แต่ทว่า การแย่งชิงนั้นย่อมกระทำให้จิตนั้นเกิดความเศร้าหมอง ซึ่งนั่นก็ถือได้ว่าเป็นบาปแล้ว

เกิดจิตเป็นอกุศล. ก็บาปแล้ว
แต่สำหรับสังคมมนุษย์ผู้รู้จักการสมมติตกลงร่วมกันนั้น บาปจะเกิดมีขึ้นอีกส่วนหนึ่ง ในส่วนแห่งการละเมิดในกฏของสังคม ซึ่งตนนั้นเข้าใจในความหมายนั้นอีกชั้นหนึ่ง การที่รู้ว่า การลักทรัพย์นั้นไม่ดี ไม่ถูกต้อง ตามครรลองของสังคม จะทำให้จิตใจของผู้กระทำนั้น เกิดความเศร้าหมองยิ่งขึ้นด้วยเจตนาที่รุนแรงด้วยอำนาจความถือตัว ซึ่งเป็นเหตุให้กล้ากระทำแม้จะรู้ว่าไม่ควร (ซึ่งต่างจากสัตว์เดรัจฉานที่ไม่รู้)
ค่ะ นั่น. คือบทสรุป today
.....................................................................

แล้วการ Download โปรแกรมมาลองใช้ดูก่อนที่จะตัดสินใจซื้อละครับ
ปกติเขาจะให้ทดลองใช้ไม่ใช่หรือ trial version
โปรแกรมบางตัวไม่มีแบบให้ลองใช้ก่อนนะครับ เราเลยต้องไปใช้โปรแกรมพิเศษสำหรับ Download ตัวโปรแกรมนั้นเช่น Emule, Bitcomet, หรือจากเวป์ไซด์ที่คนทั่วไปทำไว้
ถ้าจะให้ถูกต้องแท้จริง เราจะต้องทราบว่า เจ้าของลิขสิทธิ์เขายินดีให้เราใช้นะ ถ้าเรารู้ว่า เขาไม่ยินดีให้เราใช้ ก็คงจะใช้ไม่ได้
บางครั้งรู้สึกว่ามันเสี่ยงแต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะว่าโปรแกรมบางประเภทมีให้เลือกเยอะมากๆ ไม่รู้จะเอาอันไหนดี
แต่ถ้าเป็นตัวที่เราคิดว่าจะได้ใช้แน่นอน เราก็ตัดสินใจซื้อได้เลยถึงแม้มันจะแพง ผมก็เพิ่งจะเสียเงินซื้อโปรแกรม MathCad ราคา ห้าพันบาทไป
ในแง่นี้ เราต้องเข้าใจก่อนว่า ในด้านหลักธรรมความถูกต้องหรือไม่นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง แต่ในส่วนที่เราจะเอาอย่างไรตามที่เห็นความเหมาะสมนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ซึ่งในแง่ของลิขสิทธิ์นั้น ความจริงก็เป็นกฏสมมติในทางโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนมาก เพราะตัวมันเองก็ไม่ได้มีอยู่โดยความเป็นสิ่งที่เจ้าของนั้นต้องสูญเสียไป คล้ายกับเป็นสิ่งที่คนหวงแหนไว้ ทั้งที่มันก็ไม่มีวัตถุที่ต้องเสียไป
ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกมากที่ในปัจจุบัน เรายอมรับให้นำเอาปัญญาหรือความรู้มาซื้อขายกัน ทั้งที่มันไม่มีของที่ต้องเสียไปจากเจ้าของนั้นเลย วัฒนธรรมตะวันตกหวงกั้นแม้แต่ภูมิปัญญา สอนให้คนรู้จักแต่การแย่งชิงผลประโยชน์ คิดแต่ผลประโยชน์เฉพาะตน ไม่เห็นถึงประโยชน์ต่อมนุษยชาติ ที่ควรส่งเสริมความสะดวกสบายแก่กันและกัน ซึ่งตนก็มิได้เสียผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริงในธรรมชาติไปเลย หมายถึงว่า ตนก็ได้รับประโยชน์จากความรู้และเทคโนโลยีนั้นอยู่แล้ว แต่กลับหวงสิทธิ์นั้นมิให้ผู้อื่นได้รับรู้ตาม
จริงอยู่ แม้ว่าในระหว่างกระบวนการผลิตคิดค้นพัฒนานั้น จะต้องใช้ความพยายามและทุนทรัพย์ไปบ้าง แต่ก็ควรตระหนักถึงประโยชน์ที่แท้จริงอันจะพึงเกิดมีขึ้นต่อสังคมเป็นที่ตั้ง และแม้ต้องคิดมูลค่าต่อการสูญเสียระยะเวลาและความเหนื่อยยากในการคิดค้น ก็ควรจำกัดมูลค่าไว้พอควรโดยเห็นแก่ประโยชน์สุขต่อสังคมมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ และมีกำหนดระยะเวลาเพียงเพื่อให้คุ้มกับทุนที่ต้องเสียไปแล้วเท่านั้น มิใช่มุ่งแต่จะหาประโยชน์จากผลกำไรทางการค้า มิฉะนั้น มนุษย์จะไม่ต่างอะไรจากสัตว์เดรัจฉานเลย ที่มุ่งแต่กอบโกยผลประโยชน์ แก่งแย่งซึ่งกันและกัน

ครับ
การที่มนุษย์เรารู้จักแต่การแก่งแย่งฉกฉวยผลประโยชน์ เป็นเหตุให้สังคมขาดการพัฒนา ต่างก็เกรงกลัวกันและกัน ดั่งเช่น ชาติตะวันตก-ตะวันออก สหรัฐ-โซเวียต สหรัฐ-จีน ซึ่งคอยแต่จะเบียดเบียน และปกป้องความรู้ของกันและกันตลอดเวลา
ในปัจจุบันทำอะไรนิดหนึ่งก็ต้องมีลิขสิทธิ์ เสียค่าลิขสิทธิ์อะไรต่างๆ นั่นเพราะอะไร ก็เพราะสังคมมนุษย์ยังไม่มีการพัฒนาคุณสมบัติในทางจิตใจนั่นเอง มัวแต่กีดกันช่วงชิงผลประโยชน์

สรุปเรื่อง โปรแกรมที่ Download มาจาก Internet คือ ใช้ได้แต่ต้องเพื่อการทดลองว่าเหมาะสมกับเราและงานที่เราทำหรือไม่ โดยอาจมีช่วงระยะเวลาที่จำกัดไว้ เมื่อคิดว่าดีพอที่แล้วจะก็ควรที่เสียสละเงินเพื่อเป็นทุนให้นักพัฒนาโปรแกรมต่อไปหรือนำใช้เพื่อทำให้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในเชิงสร้างสันติภาพ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสังคมโดยร่วม มิใช่เพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตน เป็นอย่างไงครับ พอจะนำมาเป็นหลักยึดในการปฏิบัติได้ไหมครับ ?
ขออนุโมทนาคุณเทิดเกียรติ์ที่คิดอย่างนั้น จะทำให้คุณใช้โปรแกรมได้อย่างสบายใจจริงๆ
ครับนั้นคือ โลกของความเป็นจริงซึ่งก็คงต้องอาศัยพวกเราๆ ที่อยู่ในที่นี้ละครับเป็นกำลังสำคัญในการชักนำ ชี้ทางและแจกแจงให้คนรอบข้างหันมาใส่ใจกับการพัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีครับ ?
ขออนุโมทนาทุกคนนะสำหรับวันนี้ สัปดาห์หน้าคงได้คุยกันใหม่ ขอไปนั่งสมาธิก่อนนะ
ครับ อนุโมทนาครับ
กราบพระคุณท่านพระปิฯที่ให้ความกระจ่างในเรื่องของ อทินนาทานและลิขสิทธิ์
ขอบคุณค่ะที่ให้ความรู้ทางธรรม


๑ วิ.ม.๑/๑๒๕/๒๕๘ อทินนาทานสิกขาบท ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ ๑-๔.. ๕. ถือเอาทรัพย์ที่สัตว์ดิรัจฉานครอบครอง
๒ วิ.ม.๒ หน้า ๑๐๘-๑๑๑ มมร.




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2549    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 21:29:43 น.
Counter : 682 Pageviews.  

อโหสิกรรม การทดแทนคุณบิดามารดา และการสร้างกุศลร่วมกัน 490909

อโหสิกรรมกันแล้วไม่ต้องรับกรรมต่ออีกนั้นเหรอ,

การตอบแทนคุณพ่อแม่อย่างไรจึงถือว่าเสมอกับบุญคุณที่ท่านมีต่อเรา

และทำไมเราจึงไม่ควรบอกว่าจะขอไม่เจอคนนี้แม้ในอีกชาติไหนๆก็ตาม


Chatธรรมวันเสาร์ เรื่องอโหสิกรรม การทดแทนคุณบิดามารดา และการสร้างกุศลร่วมกัน
(เมื่อวันที่ ๙ ก.ย. ๒๕๔๙)
สังขารา อะนิจจา says:
เกดมีคำถามนะค่ะ "สงสัยว่า การพูดว่าอโหสิกรรมเนี่ย สามารถทำได้จริงหรือเปล่า" หมายความว่า พูดว่าอโหสิกรรมแล้วจะไม่มีกรรมต่อกันอีกแล้วได้หรือไม่ค่ะ

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
อโหสิกรรมนั้นมีด้วยกันอยู่ ๒ ฝ่าย ถ้าทั้ง ๒ ฝ่ายต่างก็มีเจตนาที่จะอโหสิกรรมให้แก่กันและกัน ก็ถือว่า เป็นการให้อภัย ก็จะไม่มีการผูกเวรกันอีกต่อไป แต่ทว่า! ในส่วนของกรรมที่ได้กระทำไว้ก่อน ก็ยังคงมีวิบากกรรมที่จะได้รับอยู่ต่อไป
การอโหสิกรรมนั้น เป็นเรื่องของจิตใจของแต่ละฝ่าย ซึ่งเริ่มตั้งเจตนาที่จะไม่เบียดเบียนกันต่อไป แต่ส่วนของอดีตกรรมที่ทำมาแล้ว เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องมีผลตามมา

ถ้าคิดผิดทาง การวางตัวต่อกันก็จะผิด says:
คือเป็นเรื่องของการตั้งใจไม่จองเวรต่อกันอีกเท่านั้น แต่ผลกรรมด้านอื่นๆ ยังมีอยู่ และผลกรรมที่เป็นวิบากของจิตก็ยังคงมีอยู่ด้วย

ถูกแล้ว เรื่องของกรรมที่กระทำไว้ก่อนนั้น จะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม ก็ย่อมให้ผลด้วยตัวมันเองตามกฏของธรรมชาติ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเคยไปตีเขาไว้ แม้เราจะขออโหสิกรรมไปแล้ว และถึงแม้ว่าเขาก็อโหสิกรรมให้เราแล้วด้วย แต่ใจของเราก็ยังเศร้าหมองทุกครั้งที่คิดถึงเรื่องนั้น หรือผลของสิ่งที่เราทำลงไป เช่นว่า เขาเจ็บตัวไปแล้ว ก็มีผลเกิดขึ้นแล้ว ย่อมก่อให้เกิดผลส่งทอดไปในหลายระดับ สุดแต่จะเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

และบาดแผลเขาก็ยังมีรอยอยู่ กรรมทั้งหมดได้กระทำไปแล้ว ผลก็ยังมีอยู่ (เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว)
เช่นว่า บุคคลรอบข้างทั้งเราและเขาก็ย่อมรู้สึกไม่ดีต่อการกระทำของเรา เป็นเหตุให้ความสัมพันธ์แม้แต่กับบุคคลอื่นที่เราไม่รู้จักพลอยเสียไปด้วย ส่วนในเรื่องของผลที่จะตามมาในชาติต่อๆ ไปนั้น เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยาก เพราะเป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยการอธิบายเหตุผล อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “กรรมวิปาโก” นั้นเป็น อจินไตย
แต่ก็ใช่ว่า การขอขมาหรือการขออโหสิกรรมนั้นจะเป็นเรื่องเล็กน้อยนะ เพราะการที่เราขออโหสิกรรมต่อเขานั้น ย่อมหมายถึง เราอาจจะไม่ต้องเกิดมาพบเจอเขาอีกต่อไป เพราะจิตของเราไม่ผูกพันธ์หรืออาฆาตจองเวรกับเขาอีกต่อไปแล้วก็ได้

ผลที่ส่งในชาติต่อไปนั้นเป็นวิบากกรรมที่จะเกิดขึ้นแก่จิตใช่ไหมเจ้าคะ แล้วการที่เขาให้อโหสิกรรมแก่เราแล้ว เรายังจะได้รับผล อย่างเช่น เราไปตีหัวเขา แล้วอนาคต(อนางอ) ข้างหน้า เราก็จะถูกดีหัวอยู่แน่ๆ



การทดแทนคุณบิดามารดา
เกดขอถามสักตัวอย่างนึงได้ไหมค่ะ มีคำถามใกล้ๆตัว "แล้วถ้าพ่อแม่เรา เลี้ยงเราแบบทิ้งๆขว้างๆ ทำให้เรารู้สึกอ้างว้างไม่มั่นคง แล้วเราไม่อยากให้ท่านเจอแบบเรา เราก็เลยอโหสิกรรมให้ท่านแบบนี้ หมายความว่าพ่อแม่ของเราก็จะไม่เจอใช่หรือไม่ค่ะ"
ไม่ใช่หรอกนะ พ่อแม่ที่ประพฤติไม่เหมาะสมด้วยเจตนาใด เจตนานั้นนั่นแหละย่อมจะส่งผลในอนาคตให้ได้รับวิบากแห่งกรรมนั้น แต่การที่เราให้อภัยท่าน นั้นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับตัวเราเอง
เทิด says:
ท่านปิพูดถูกแล้วครับ พ่อแม่นั้นถึงท่านจะเป็นเช่นไรท่านก็คือพ่อแม่เรา ต้องพยายามเข้าใจท่านให้มากกว่าสิ่งที่ท่านกระทำหรือเป็นอยู่เพราะเหตุผลใด พยายามหาสาเหตุแล้วถ้าแก้ได้ก็ช่วยท่านแก้ แต่ถ้าแก้ไม่ได้ก็ต้องปล่อยวางครับ
ที่เกดถามไม่ได้มีเจตนาจะว่ากล่าวพ่อกะแม่นะค่ะ เพียงแต่อยากบอกว่า "ไม่อยากให้ท่านเจอแบบเราจริงๆๆๆๆ"
โดยมากนะ พ่อแม่ทุกคนย่อมรักและห่วงใยลูก แต่บางครั้งด้วยความไม่รู้เท่าทัน เป็นเหตุให้เลือกตัดสินใจหรือกระทำบางอย่างที่ไม่เหมาะสมออกไป โดยที่ไม่รู้เท่าทัน ซึ่งถือว่าเป็น “กตัตตาวาปนกรรม” คือ กรรมที่ทำโดยไม่เจตนาให้เกิดผลอย่างนั้น ซึ่งเป็นกรรมที่จะให้ผลเล็กน้อย
ค่ะ เกดยอมรับ เมื่อก่อนโกรธพ่อกะแม่มากๆๆๆๆๆๆๆ จนได้เจอธรรมะของพระพุทธเจ้าจึงรู้ว่า "ท่านมีบุญคุณแค่ไหน" ตอนนี้ไม่โกรธ แต่เวลาคิดถึงวันเก่าๆ ก็รู้สึกใจเศร้าหมอง(บอกไม่ถูก)
เวลาเห็นพฤติกรรมอะไรที่ไม่ถูกใจเราหรือไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ ก็ต้องมองดูว่าอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอย่างนั้น เช่น เครียดเรื่องงาน เงิน คนหรือสภาพแวดล้อม
การระลึกถึงพระคุณที่พ่อแม่มีต่อเรานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และเป็นคุณธรรมพื้นฐานของคนดีทุกคน
พระพุทธองค์ตรัสว่า “สปฺปุริสภูมิ ยทิทํ กตญฺญุตา กตเวทิตา”
การรู้คุณและตอบแทนคุณ เป็นคุณธรรมพื้นฐานของคนดี

และมีพุทธภาษิตว่า “นิมิตฺตํ สาธุ รูปานํ กตญฺญุตา กตเวทิตา”
ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี

คิดแต่สิ่งดีๆ ก็พอครับ สิ่งไม่ดีเป็นสิ่งเน่าสิ่งปฏิกูล เอามาคิดก็มีแต่ทุกข์ คนเราสำคัญที่สุดต้องรู้จักคำว่า ให้อภัยครับ แล้วเราก็จะเป็นสุขเสมอ
พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระคุณของพ่อแม่ว่า มีปริมาณที่มิอาจนับได้ และใช่ว่าบุตรจะสามารถตอบแทนพระคุณนั้นได้โดยง่ายเลย
พระพุทธองค์ตรัสว่า “ถึงแม้ว่าบุตรจะเอาพ่อแม่ทูนไว้บนบ่าทั้งสองข้าง ป้อนข้าวป้อนน้ำ ให้ถ่ายอุจจาระปัสสาวะรดตนเองตลอดชีวิต ก็ไม่สามารถทดแทนพระคุณของพ่อแม่ได้”

แต่การทดแทนอย่างหนึ่งที่ทำได้ คือ ให้คุณพ่อคุณแม่ได้ปฏิบัติธรรมเข้าใจในธรรมหรือเปล่าเจ้าคะ
แต่ตรัสว่า “บุตรคนใดเมื่อพ่อแม่ไม่มีศรัทธา(ในพระรัตนตรัย) ทำให้พ่อแม่เกิดศรัทธา พ่อแม่ไม่มีศีล ทำให้พ่อแม่มีศีล พ่อแม่ไม่มีจาคะ(ความเสียสละเผื่อแผ่แบ่งปัน) ก็ทำให้พ่อแม่มีจาคะ พ่อแม่ไม่มีปัญญา ก็ทำให้พ่อแม่มีปัญญา บุตรนั้นชื่อว่าได้ทดแทนพระคุณของพ่อแม่แล้วด้วยคุณที่เสมอกัน” (๑)
โดยแท้แล้ว พระพุทธองค์ทรงมุ่งหมายลงไปยัง การที่บุตรคนใดอาจทำให้พ่อแม่บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลได้ บุตรนั้นจึงชื่อว่าได้ให้อมตธรรมแก่พ่อแม่ ซึ่งนับได้ว่า เป็นการทดแทนพระคุณของบุพพการีนั้นแล้ว ด้วยการบูชาคุณอย่างสูงสุด (เรียกว่า พ้นจากหนี้ชีวิตแล้วก็ว่าได้)

ถ้าท่านมีทิฐิที่ผิด อย่างเช่น ไม่เชื่อว่าโลกหน้ามีจริง ตายแล้วสูญ ทำอย่างไรจะให้ท่านมีทิฐิที่ถูกได้ (ยากจัง) ทำอย่างไรได้เจ้าคะ
สนใจคำถามพี่เป้มากๆๆเลยค่ะ
ถ้าท่านมีมานะมากล่ะ ทำอย่างไรดีเจ้าคะ
การจะเปลี่ยนความคิดของคนนั้นจะต้องค่อยๆ เป็นค่อยไป โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างและพยายามคิดหาอุบายให้ท่านเห็นโดยไม่ไปบอกท่านตรงๆ ครับ ความจริงผมเองก็ไม่เชื่อว่าโลกหน้ามีจริงหรอก แต่ผมรู้ว่าผมต้องละความชั่ว ทำความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์เท่านั้น โลกหน้าจะมีหรือไม่ผมไม่สน เพราะผมเองมุ่งที่จะนิพพานในโลกนี้เท่านั้น แต่คำพูดผมเองก็ยังละ สักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่า กายเป็นของตน) ไม่ได้
ในข้อนี้เป็นเรื่องยากนะ ในการเปลี่ยนนิสัยใจคอหรือความเข้าใจของพ่อแม่ เพราะในฐานะบุตร พ่อแม่ย่อมเห็นลูกเป็นเด็กวันยังค่ำ การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องใช้เวลาบ้าง โดยเฉพาะความคิดของคนนั้นเปลี่ยนแปลงยากที่สุด เพราะปกติความคิดเห็นของคนเรานั้น อาศัยการสะสมเหตุปัจจัยมายาวนาน จึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายนัก
การเชื่อแบบนี้ทำให้เขาคิดว่าควรมีความสุขเท่าที่จะหาได้ ติดในวัตถุ ทำในสิ่งที่ตนชอบ ซึ่งไม่ได้เป็นประโยชน์แก่ตนด้วย (ดูหนัง ฟังเพลงไปเรื่อย)
ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสังเกต คือ ชีวิตของพระสารีบุตร ซึ่งท่านเองแม้จะเป็นอัครสาวกผู้เลิศในทางปัญญา ก็ยังไม่สามารถโปรดมารดาของตนซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิได้
จนกระทั่งวาระสุดท้ายนั่นล่ะ ท่านจึงสามารถโปรดโยมแม่ของท่านได้ โดยอาศัยการปรินิพพานของท่านเองนั่นล่ะเป็นอุบายในการโปรดโยมมารดาของท่าน (๒)

แล้วโยมแม่เชื่อได้ไงล่ะ
ปกติความตายของบุตรธิดานั้นเป็นเรื่องใหญ่ พระสารีบุตรท่านก็อาศัยความตายของท่านเป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้โยมแม่ของท่านใส่ใจฟัง คล้ายกับเป็นคำสั่งเสียครั้งสุดท้ายของบุตรของตน
งั้นปัญหาคือการไม่ยอมรับ ทำให้ไม่ยอมฟัง
ใช่ เพราะแม้พระสารีบุตรจะมีชื่อเสียงระบือไปทั่วชมพูทวีป แต่โยมมารดาก็ยังเห็นบุตรว่าเป็นบุตรวันยังค่ำ นี่ล่ะคือปัญหา เป็นสิ่งที่เราจะต้องรู้ไว้เป็นพื้นฐานเพื่อการวางใจได้อย่างถูกต้อง เพราะบางครั้งท่านอาจไม่ยอมรับฟังเรา
แล้วถ้ามีเพื่อนที่เข้าใจทุกอย่างแต่มีทิฐิเหมือนกัน คือ มิจฉาทิฐิ จะถือว่าเป็นกัลยาณมิตรหรือเปล่าเจ้าคะ
ผมว่าบางครั้งถ้าเรายึดคำว่า กัลยาณมิตรเต็มร้อย เราก็จะอยู่ในสังคมด้วยความลำบากใจครับ คงต้องเดินสายกลาง ขอให้เราเมตตาคนทุกคน แต่ไว้ใจคนบางคนเท่านั้น คบเพื่อนให้แยกออกเป็น ๓ ระดับ เพื่อนรู้จัก เพื่อนกินเที่ยว และเพื่อนแท้
คำว่า กัลยาณมิตรและวิธีการปฏิบัติต่อมิตรนั้น เป็นเรื่องสำคัญนะ คำว่า กัลยาณมิตร นั้น มีความหมายถึงเพื่อนที่ดีเท่านั้น คือ แนะนำกันไปสู่สิ่งที่ดี ส่วนวิธีการปฏิบัติต่อมิตร(ที่ทั้งดีและไม่ดีนั้น) เป็นอีกกรณีหนึ่งที่จะต้องศึกษา
PaNopอาสารับบริจาคของเล่นมือ 2 จ้า says:
เจ้าค่ะ

คิดว่าน่าจะเป็นหัวข้อในอาทิตย์ได้ครับ "วิธีการปฏิบัติต่อมิตร(ที่ทั้งดีและไม่ดีนั้น)"
ถ้าเขาทำทุกอย่างดีกับพ่อ คุยกับพ่อถูกคอ แต่สิ่งที่คุยเป็นการต่อว่าพุทธศาสนา เข้าใจผิดๆ อย่างนี้ก็ไม่ใช่ใช่ไหมเจ้าคะ ถ้าว่าไปแล้ว ไม่น่าให้คบด้วยหรือเปล่าคะแบบนี้
ให้จำไว้ว่า ผู้ไม่รู้ เรามีหน้าที่ต้องช่วยให้เขา เป็นผู้รู้ครับ ผมเองก็ยังเป็นผู้ไม่รุ้มาตั้ง ๓๓ ปี กว่าจะเข้าใจคำว่า พุทธบริษัท
หลักในการปฏิบัติต่อมิตร(ที่ทั้งดีและไม่ดี)นั้น มีหลักอยู่อย่างหนึ่งที่พึงจำเอาไว้ คือ ไม่มีใครเป็นคนสมบูรณ์พร้อม หรือดีไปเสียทุกอย่าง ฉะนั้น จะหาคนที่ดีเพียงส่วนเดียวนั้นจึงมิอาจหาได้ (เว้นแต่พระอรหันต์)
ฉะนั้น เราจึงควรยอมรับในบุคคลทั้งหลายว่า ก็ย่อมจะมีส่วนที่ดีบ้างไม่ดีบ้างเป็นธรรมดา

อืมม งั้นก็อยู่ที่คุณธรรมที่มีอยู่ในตัวด้วย เลือกคบส่วนดีเขา และถ้ารู้ว่าเขาไม่ดีอะไร ช่วยเดือนได้ก็เตือน เราเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งของตนเอง
การเปลี่ยนแปลงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในเวลาชั่วพริบตา อย่างผมเองได้อยู่ไกล้กับกัลยาณมิตรดีๆหลายท่านๆ เป็นเวลานานพอสมควรกว่าจะเข้าใจ
การเลือกคบมิตรที่ดีหรือกัลยาณมิตรนั้น เราจึงต้องเลือกเฟ้นเอาจากคุณธรรมในตัวเขา คือ เลือกคบสิ่งที่ดีในตัวเขา และกล้าที่จะปฏิเสธหรือไม่คล้อยตามสิ่งที่ไม่ดีในตัวเขา อย่างนี้เราจึงจะได้รับประโยชน์จากกัลยาณมิตรที่แท้จริง
จริงอยู่มงคลชีวิต ข้อ ๑ บอกไว้ว่า "ไม่คบคนพาล" แต่เราก็ต้องอยู่ในสังคมเดียวกันกับเขา เขาจึงต้องรู้จักวิธีที่จะคบด้วย
คำว่าสิ่งดีๆ ในตัวเขา คือ ไม่ใช่ว่าเขาทำให้เรามีความสุข คือ ทำตามสิ่งไม่ดีในตัวเรา
ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง says:
กัลยาณมิตร แปลว่าอะไรค่ะ

กัลยาณะ แปลว่า ดี งาม เจริญ หรือ เป็นที่ชอบใจ ก็ได้
ส่วนคำว่า มิตร นั้น โดยความหมายทั่วไป แปลว่า เพื่อน




การสร้างกุศลร่วมกัน

ขอถามเรื่องนึงได้ไหมค่ะ ถ้าเราไม่อยากเจอใครคนนึงที่เราไม่ชอบในชาติต่อไป เราต้องทำไงค่ะ คือว่าถ้าเราอโหสิกรรมให้แล้ว เราจะไม่เจอเขาหรือเปล่าค่ะ
พัฒนาตัวเองค่ะน้องส้ม แม้ว่าเจอ ก็จะไม่ทุกข์ไปกับความไม่ดีของเขา
ไม่ใช่ไม่อยากเจอความไม่ดีค่ะ แต่ว่าไม่อยากต้องผูกพันกันไปอีกต่างหาก
ทำไม คุณส้ม ถามงั้น
นั่นล่ะน้องส้ม ถ้าเราไปไกลกว่าเขา แม้ว่าต้องเจอก็จะไม่ทุกข์อีก ตอนนี้แม้ว่าจะไม่เจอก็คิดไปก่อนว่าจะทุกข์เมื่อต้องเจอเสียแล้ว
ทำไมค่ะ ถามแบบนี้ไม่ได้เหรอค่ะ คือ ถ้าเรารู้สึกผูกพันกับใคร ก็ต้องเจอกันอีกใช่ไหมค่ะ
ขอตัวก่อนนะค่ะ นมัสการหลวงพี่ และ สวัสดีทุกท่านค่ะ (พอดีร้านเนตปิดสี่ทุ่ม) - - ธ ร ร ม ส วั ส ดี ค่ ะ - - ^^- -
สังขารา อะนิจจา has left the conversation.

คุณเกดมาเล่นที่ร้านเน็ทเพื่อเข้าสนทนาธรรมโดยเฉพาะค่ะ(เขาบอกมาก่อนหน้านี้แล้ว)
LET GOooooooo ! says: Nong Orange. I can understand you.
เมื่อมีเหตุปัจจัย ก็จะต้องเจอกันค่ะ
เหตุปัจจัย หมายถึงอะไรค่ะ
อ๋อ รู้แล้วค่ะ ถ้าเราพัฒนาตัวเอง เราก็อาจจะไม่เจอคนที่เราไม่อยากเจอก็ได้ใช่ไหมค่ะ คือ ถ้าเรารู้สึกผูกพันกับใคร ก็ต้องเจอกันอีกใช่ไหมค่ะ (คำถามค่ะ )

ตามหลักพระพุทธศาสนา ถ้าเราผูกเวร(ด้วยโลภะหรือโทสะ) ไว้กับใคร เราก็จะต้องมาเจอเขาอีกนะ
there are a lot of factors. YOU can not control but just do the best you can and that is relax and let things run according to itself own cause.
ถ้าเราไม่ผูก ก็ไม่เจอเหรอค่ะ
อ่าว นี่มาเจอกันหมดเลยนะเนี่ยในห้องเนี้ย ตั้งหกคน ผูกอะไรไว้เนี่ย
ถ้าเราไม่ผูกพันเขาเลยนะ (เช่นไม่มีโลภะหรือโทสะกับเขาเลย) อย่างนี้เราก็อาจเจอเขาหรือไม่เจอเขาก็ได้ เพราะแม้เราไม่ผูกพันเขา แต่เขาก็อาจมาผูกพันเราแทน
หรือบางครั้งแม้เราจะไม่ผูกพันกับเขาโดยตรง แต่เราผูกพันอยู่กับลักษณะอะไรบางอย่างที่เขามี เราก็อาจจะเกิดมาเจอกับเขาหรือพบกับสิ่งนั้นๆ ก็ได้ เช่นว่า เราชอบในลักษณะรูปธรรมบางอย่าง เราก็ไปเกิดในภพที่มีรูปธรรมลักษณะอย่างนั้นๆ ก็ได้ (ตามหลักว่า กามาวจรจิต นำไปสู่ กามาวจรภูมิ เป็นต้น)

สวัสดีค่ะสิ่ว
S i e w says:
นมัสการหลวงพี่ครับ /สวัสดีครับทุกคน
ดีจ๊ะ
หวัดดีค่ะคุณสิ่ว
ดูแล้วเหมือน ไม่มีประโยชน์เลย ตกลงถ้าเราพัฒนาตัวเอง เราก็มีโอกาสไม่เจอกันสูงใช่ใหมค่ะ
อ้อ : ทัวร์ขสมก says:
อ๋อ ... ผมขอนมัสการพระคุณเจ้า และสวัสดีทุกคนนะครับ

การเจอกันนั้นบางทีหลีกเลี่ยงไม่ได้ มันอยู่ที่ตัวเราเองเท่านั้น ถ้าเกิดว่าต้องเจอกัน แล้วเราจะปฏิบัติต่อกันได้ถูกหรือเปล่า
ถ้าจะพยายามไม่เจอใครสักคนจริงๆ นะ ก็เรียกว่า ต้องไม่สร้างบุญสร้างบาปร่วมกันเลยล่ะคราวนี้ (แหม ทำไมโหดจัง)
แบบนี้ก็เรียกว่า ยังไงก็ต้องเจอเหรอค่ะ
yes..yes.. right !! Phra Khun Chao said that right thing.
ระวังอยู่อย่างนะ ถ้าเขาดีขึ้นพัฒนาตัวเองแล้ว เราไม่เจอเขา จะเป็นเช่นไร ถ้าเกิดว่าเราไปตั้งจิดไว้ว่าจะไม่เจอผู้นี้อีก(ซึ่งอีกหน่อยเขาจะเป็นพระพุทธเจ้าล่ะ)
แต่ที่พี่เป้บอก แบบนั้นเราก็ไม่ต้องเจอ ได้ซิค่ะ
ตอนนี้นั้น เรารู้สึกว่าเราไม่อยากเจอเขาอีก แสดงว่าเราไม่ได้พัฒนาตน เพราะเรามีโทสะอยู่
โดนเข้าไป
อ๋อ เปล่าค่ะ ถามเพื่อจะได้วางแนวทางความคิดถูกค่ะ การทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ก็จะเกิดอนาคตที่ดีที่สุด คือเหตุไปผล แต่ถ้าเราวางผลไว้ก่อน แล้วค่อยทำเหตุล่ะค่ะ คือ เราไม่อยากเจอคนที่เราไม่อยากเจอ เราก็ต้องคิดว่าเหตุที่จะทำให้เป็นเช่นนั้นคืออะไร เหมือนที่พระพุทธเจ้าสอนจากผล ไป เหตุ
ไม่ดีเลย พระพุทธเจ้าตรัสสภาพจิตอย่างนี้ว่าเป็น “วิภวตัณหา” คือ ความต้องการพรากไปจากอารมณ์หรือสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ซึ่งความรู้สึกนี้จะเป็นเหตุก่อให้เกิดทุกข์ตามมาด้วยอำนาจแห่งความยึดติดถือมั่นในอารมณ์หรือบุคคลนั้น(ว่าเราไม่รักหรือเราเกลียดชัง เป็นต้น)
ผมว่าถ้าไม่อยากเจอใครสักคน ก็ต้องดูว่าเพราะเหตุใดครับ
เมื่อไม่อยากเจอ เหตุก็คือโทสะแล้วค่ะ
ถ้าเราตั้งใจไม่เจอจริง ก็ต้องกำจัดเหตุทั้งภายในและภายนอก
I think it just takes time to cure a person from pain.
อยากรู้จัง ต้องปฎิบัติถึงขั้นไหน ถึงจะไม่มีตัณหา ค่ะ
practice Vipassana
อรหัตตผล
เวลาเจอกันก็ให้มองเขาไปข้างในตัวเขาซึ่งเป็น ตับ ไต ไส้ พุงและก็ให้ปลงซะ ตรงนี้ก็คือกำจัดเหตุภายในใจเรา
ทีนี้ก็มากำจัดเหตุภายนอก ดูจากอายตนะภายนอกซึ่งก็คือ พยายามหลีกเสียง รูปและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเขาทั้งหมดไม่ว่าคนที่เขารู้จัก ปิดการรับรู้ทุกอย่าง
เมื่อรู้ว่าเคือง เมื่อรู้ว่าคิดถึงเขาไม่ดี ก็หยุดทันที หยุดๆๆๆ
คนที่พยายามปฎิบัติ ไม่ใช่มีความอยากหรือค่ะ (ตัณหา) สงสัยค่ะ
If a person who wants to practice Vipassana to kill their Tanha or kilesa, that is not Tanha. That is Panna ( Panya)
I believe Phra Khun Chao has a better answer than me.

ความต้องการที่จะฆ่ากิเสสนั้นไม่ใช่ตัณหาแต่เรียกว่าฉันทะหรือเปล่า ฉันทะเป็นความอยากในทางที่ดีที่อยากจะทำให้เกิดปัญญา
จ๊ะ ความต้องการในการทำลายกิเลสและภพชาตินั้นเกิดขึ้นจาก ปัญญา ไม่ใช่ ตัณหา
yes..yes.. yes.. yeahhhhhh!!!
แล้วฉันทะล่ะคะ
ฉันทะนั้นแปลว่า ความพอใจในอารมณ์หรืออะไรก็ตามที่เป็นเหตุแห่งความยินดีพอใจ ซึ่งฉันทะนั้น เป็นคำกลางๆ อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ กุศลฉันทะ กับ อกุศลฉันทะ
มีอกุศลฉันทะด้วยเหรอ
ในการที่เราต้องพบเจอกับใครบางคนนั้น เพราะอาศัยว่าเราได้เคยทำบุญทำกุศลร่วมกันมาโดยมาก ซึ่งหากแม้บางครั้ง เขาจะทำให้ใจช้ำใจไปบ้าง ก็ขอให้เข้าใจว่านั่นเป็นวิบากของเราเองที่ได้เคยทำไว้ในอดีต อย่าไปโกรธเขาเลย เพราะเขา(ผู้ที่ทำร้ายเรา) ก็เป็นเพียงเครื่องมือของกรรมเท่านั้น ที่ตามมาให้ผล
อืมมม เครื่องมือของกรรมเท่านั้น ที่ตามมาให้ผล ให้เราต้องรับวิบาก
ก็ไม่อยากเจอกันแล้ว นิค่ะ (ผิดด้วยเหรอ) แบบนี้ก็ต้องมีวิบากไปเรื่อย เหรอค่ะ
อย่าไปคิดว่าไม่อยากเจออีกให้เราช้ำใจเราเองเล่นๆ สิคะ ตอนที่คิดน่ะมันทุกข์ ตอนที่ไม่คิดก็ไม่ทุกข์ แล้วเราจะคิดไปทำไมให้ทุกข์ตัวเองเล่นๆ
เปล่าค่ะ แค่สงสัยค่ะ อยากรู้ค่ะ ว่าทำได้ไหม ถ้าไม่ได้ก็ไม่ซีเรียสค่ะ
ก็เข้าใจว่าไม่คิดน่ะยาก แต่ลองถามสิว่าคิดไปทำไม อะไรเป็นเหตที่ทำให้เราคิดถึง
ก็แค่อยากรู้ค่ะ จะไม่คิดก็ได้ค่ะ คนเราสามารถแยกได้ว่าช่วงไหนปล่อยให้คิด ช่วงไหนไม่คิดค่ะ
เหมือนๆ กับเมื่อเราพบเจอใครบางคนที่ดีกับเรา นอกจากเราจะขอบใจเขาแล้ว โดยแท้จริง เราควรขอบใจตัวเราด้วยต่างหากที่ได้เคยสร้างกรรมดีเอาไว้ ทำให้เขาถูกกรรมดลใจหรือใช้เป็นเครื่องมือในการทำดีกับเราด้วยเช่นเดียวกัน
อ่าว น่อ เขาเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราได้กุศลวิบากเน้อ
yes..yes. yes.. right PKC.. This is how I met my friends.
ในส่วนของผู้ที่ทำดีกับเรา เขามีเจตนาในการทำกุศลนะ แล้วเขาก็ได้สร้างกุศลกรรมไว้ด้วย แต่ในอีกด้านหนึ่ง เขาก็ถูกกรรมจัดสรรให้มาทำดีกับเรา แทนที่จะไปทำกับคนอื่น อย่างนี้เข้าใจไหมจ๊ะ
แต่เมื่อพบเจอใครบางคนที่ดีกับเรา เราพอใจ แต่ก็อาจนำมาซึ่งความทุกข์ได้ เพราะความพอใจ ใช่เปล่าค่ะ เพราะการมีความสุข ขณะเดียวกันก็คือสร้างกำแพงแห่งความทุกข์ หรือเปล่าค่ะ
เอวัง ก็มีด้วยประการละชะนี้
เอวัง
จะจำวัดแล้วเหรอเจ้าคะ
คำว่า เอวํ แปลว่า ดังนี้แล หรือด้วยประการฉะนี้ ไม่ใช่จะจำวัดแล้ว ??
..........................................................................

ที่ว่าได้รับสุขเวทนา นั่นสมควรได้รับเพราะได้ทำมาแล้ว แต่ที่ว่าเป็นทุกข์เพราะตัณหาที่เราไปยึดความสุขนั้นไว้ ใช่ป่าว
อันนี้ต้องแยกเป็น ๒ ด้าน คือ
สุขหรือทุกขเวทนาทางกาย ย่อมเกิดขึ้นจากกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบากส่งผล แต่สำหรับสุขหรือทุกขเวทนาทางใจ(โสมนัสหรือโทมนัส) นั้น ยังแยกออกมาได้เป็นอีก ๒ ระดับ คือ
- ในขั้นกามสุข คือ สุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความสมหวังและผิดหวังต่อกามคุณอารมณ์ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอำนาจแห่งการปรุงแต่งในใจเรา ได้แก่ ตัณหา๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา นั่นเอง และ
- ในขั้นนิรามิสสุข คือสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยกามคุณอารมณ์ ในกรณีนี้เมื่อพ้นจากอำนาจกามแล้ว จิตย่อมเป็นอิสระจากกามคุณอารมณ์ ย่อมไม่มีทุกข์เพราะการปรุงแต่งอันเป็นไปในกามคุณอารมณ์เลย แต่กลับมีความสงบในจิตใจเกิดขึ้นแทน เช่น สุขที่เกิดจากการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ความมีจิตสงบเป็นสมาธิ หรือสูงขึ้นไปถึงขั้นเกิดปัญญาเห็นชีวิตและสังขารตามที่เป็นจริง จนจิตเป็นอิสระเหนือสิ่งทั้งปวงได้
ส่วนความทุกข์ที่มีในทางใจที่พ้นไปจากอำนาจของกามคุณอารมณ์นั้น ก็เป็นความทุกข์ที่ประณีตบางอย่าง ซึ่งคนทั่วไปไม่ค่อยรู้จัก หรือให้ความใส่ใจเท่าไรนัก
เช่น ทุกข์จากการต้องการความสงบในทางใจ เช่นว่า อยู่ในที่ๆ วุ่นวาย ต้องแก้ปัญหาอะไรต่างๆ มากมาย เป็นต้น หรือทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการต้องการความรู้ ต้องการปัญญา เพื่อความเป็นผู้แตกฉานในธรรม หรือทุกข์แฝงอย่างเช่น การถือเนื้อถือตัว การยึดถือในความเห็นของตน การดูหมิ่นผู้อื่น เหล่านี้ก็ล้วนเป็นความทุกข์ที่ไม่อาศัยกามคุณอารมณ์เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นความทุกข์ที่ประณีตที่คนทั่วไปไม่ใคร่ให้ความใส่ใจ หรือเห็นว่าเป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข

..........................................................................

ยังไม่มีใครตอบคำถามข้างบนเลย ( สงสัย )
เรื่องอะไรล่ะ
เพราะความพอ คงมะทำให้เราเป็นทุกขึ้นนะคะ คุณส้มขา
แต่เมื่อพบเจอใครบางคนที่ดีกับเรา เราพอใจ แต่ก็อาจนำมาซึ่งความทุกข์ได้ เพราะความพอใจ ใช่เปล่าค่ะ เพราะการมีความสุข ขณะเดียวกันก็คือสร้างกำแพงแห่งความทุกข์ หรือเปล่าค่ะ แบบนี้เราจะวางใจยังไงค่ะ
สงสัยเยอะไปเปล่าค่ะ

นั่นเลย ว่าจะถามพอดี สุขแล้วไปทุกข์ เพราะสุขนั้นคืออะไร???
ความทุกข์ที่น้อยลง..ค่ะ
สุขและทุกข์เป็นของคู่ เป็นโลกธรรม การมีสุขนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ดีเพราะอาศัยกุศลวิบากส่งผลส่วนหนึ่ง(ในทางรูปธรรม) อาศัยการปรุงแต่งในจิตใจอย่างถูกต้องส่วนหนึ่ง(ในทางนามธรรม) การมีทุกข์ก็เป็นสิ่งตรงข้ามกัน
พระพุทธองค์ทรงยอมรับถึงสภาพความเป็นจริงของโลก ว่าย่อมให้สุขและทุกข์คละเคล้ากันไป และก็ไม่ทรงปฏิเสธความสุขนะว่าไม่มีอยู่จริง โดยแท้ความสุขนั้นก็มีอยู่จริงและมีอยู่หลายระดับ(ดังที่ได้กล่าวแล้ว) เช่นเดียวกับความทุกข์ซึ่งก็มีอยู่จริงและมีอยู่ด้วยกันหลายระดับเช่นเดียวกัน
ในด้านของความสุขนั้น เราไม่พึงมองโลกในด้านเดียว บางคนบางครั้งก็มองโลกแต่ในแง่ร้าย หรือเห็นว่าชีวิตนั้นมีแต่ความทุกข์ ไม่มีความสุขเลย
แต่ในหลักของพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ไม่ทรงให้เราปฏิเสธต่อความสุขเลยนะ แต่กลับให้เรายินดีในความสุขนั้น และปฏิบัติต่อความสุขที่เกิดขึ้นนั้นอย่างถูกต้อง โดยการพัฒนาความสุขของเราให้เข้าถึงความสุขอันประณีตขึ้นไปโดยลำดับ
เราอย่าเข้าใจว่า พระพุทธองค์สอนให้เราปฏิเสธความสุขนะ มิฉะนั้นจะขัดแย้งกับหลักพระพุทธศาสนานะ

ปฏิบัติต่อความสุขนั้นอย่างถูกต้อง และใช้พัฒนาตนให้เกิดปัญญาเพื่อรู้รับความสุขได้ตรงตามความเป็นจริง?
แต่ตามสภาพใจ ตามปกติเราก็มักจะติดอยู่ในความสุขไม่ใช่เหรอ เมื่อติด ไม่ใช่ยึดเหรอค่ะ
ผมว่าการที่เราทำดีกับคนอื่นก็เพื่อให้ใจเราเป็นสุขครับและพอใจเราเป็นสุขแล้วเราก็จะมีสมาธิซึ่งนำไปสู่การเกิดปัญญาเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน “เทวทหสูตร” ว่า (๓)
๑. ไม่พึงนำทุกข์มาทับถมตนเองที่มิได้เป็นทุกข์
๒. ไม่พึงละทิ้งความสุขที่เกิดขึ้นโดยชอบธรรม
๓. แต่แม้ความสุขที่เกิดขึ้นโดยชอบธรรม ก็ไม่พึงสยบ ลุ่มหลง และมัวเมา (อยู่ในอำนาจ) และ
๔. เมื่อเธอรู้ว่า เหตุแห่งทุกข์ยังมีอยู่เพียงใด ก็พึงพากเพียรเพื่อกระทำเหตุแห่งทุกข์นั้นให้สิ้นไปให้ได้ หรืออีกสำนวนหนึ่งว่า
เมื่อรู้ว่ายังมีความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก ก็พึงเพียรพยายามเพื่อเข้าถึงความสุขอันประณีตยิ่งขึ้นไปนั้นให้จงได้ (เพื่อเข้าถึงความสุขที่ประณีตสูงสุด)

ต่อสู้กับกิเลสไปเรื่อย “วิริเยน ทุกฺขมจฺจติ”
yeahhhhh
ใช้สุขให้เกิดสุขยิ่งๆขึ้นไป ตาลายยยยยยย
เอาล่ะมั๊งจ๊ะ คืนนี้
ครับ ผมก็ว่าจะไปเหมือนกัน
Oh!! old people like me have to go to sleep. Namasikara PKC Piyalak and everyone. Good night na ja.
โอ ทำงานไม่เสร็จเลย
นมัสการลาครับ
สงสัยเพลินไปหน่อย
คุณส้ม คุณเป้ คุณนพ คุณอ้อ คุณชิน คุณสิ่ว และคุณเทิดเกียรติ์ ขอให้ทุกคนมีความสุข มีความเบิกบานใจ
แล้วอย่าลืมนะ! เข้าถึงความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไปด้วยความพากเพียร และกระทำเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไปให้จงได้ (เพื่อเข้าถึงความสุขที่ประณีตสูงสุด)

กราบขอบพระคุณท่านพระปิฯ ครับ
namasikara ka.
นมัสการพระคุณเจ้าครับผม
โอ ลงทุนเขียนชื่อทุกคนเลย.. ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำตอบวันนี้ ที่พี่เพื่อนทุกคนช่วยกันตอบค่ะ
เอ้า ไหว้พระกันคนละสามที
อย่าลืมสวดมนต์ก่อนนอนนะครับทุกท่าน แล้วท่านจะนอนหลับฝันดีตลอดคืนเลย
ท่านปิก็ช่วยนำทางด้วยเจ้าค่ะ
(เพื่อเข้าถึงความสุขที่ประณีตสูงสุด). ปฎิบัติลูกเดียวเลย
ขอให้ทุกคนมีจิตใจที่แจ่มใสเบิกบาน และ see you again in next week
ของแบบนี้ ก็ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน .. สู้ตายค่ะ
แผ่เมตตาด้วยก็จะยิ่งดีครับ แค่ ๓ นาทีเท่านั้น
ใครมีเมตตาบ้างค่ะ ช่วยติว stat ให้หน่อย
ผมเองก็กำลังอ่าน Basic อยู่ครับ
ช่วยติวหน่อยซิค่ะ. ใครก็ได้ ที่มีเมตตา ไม่ต้องถึงขั้นอรหันต์. ก็ได้ อวยพรให้หน่อยค่ะ สอบวันจันทร์
We have a cry baby in this Chat room hahahahha
๑ องฺ.ทุก.๒๐/๒๗๘/๖๙
๒ สํ.ม.๑๙/๗๓๓/๑๗๘ (อรรถกถาจุนทสูตร เล่ม ๓๐ หน้า ๔๒๖ มมร.)
๓ ม.อุ.๑๔/๑/๑ (เทวทหสูตร)




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2549    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 21:46:03 น.
Counter : 435 Pageviews.  

วิธีแก้ไขความอกหัก 490826

เทิด says:
แต่ที่อยากจะทราบวันนี้เพื่อเอาไว้ใช้ประโยชน์ก็คือ วิธีแก้ไขความอกหัก เพราะว่าเราเองก็อายุมากแล้ว มีน้องๆมาปรึกษาประจำ ไม่รุ้จะตอบอย่างไร
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
ความจริง ตามหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องของกรรมนะ คนเราจะอยู่ร่วมกันได้นั้น มีปัจจัย ๒ ประการ(๑)
๑ บุพเพสันนิวาส การได้เคยอยู่ร่วมกันมาก่อน
๒ การเกื้อกูลกันในปัจจุบันภพ หากแม้นบุคคลไม่เคยมีบุพเพสันนิวาสกันมาเลย หรือไม่เคยทำบุญร่วมกันมาเลย ก็จะไม่พบกัน หรือไม่พอใจกัน
อย่างเราเจอคนมากมายตามป้ายรถเมล์ แต่เราไม่ได้ใส่ใจ หรือไม่มีโอกาสได้รู้จักเขา นั่นเพราะว่าไม่มีบุพเพสันนิวาส แต่ถ้าหากเราเคยทำบุญมาร่วมกันกับเขา เพราะเคยผูกจิตไว้ที่เขา เราจะเกิดมาเจอเขาอีก

กำลังไปได้ดี น่าสนใจเก็บไว้แนะนำน้องๆ และตัวเอง
A good friend who points out mistakes and imperfections and rebukes evil says:
นัดกันมาเหรอ

PaNop อาสารับบริจาคของเล่นมือ 2 จ้า says:
ก็เป็น บุพเพสันนิวาส หรือคะ

ทีนี้ คนเรานะ อยู่ที่ว่า ใครผูกใจไว้กับใคร เช่น เราผูกใจไว้กับเขา แต่ถ้าเขาไม่ผูกใจไว้กับเรา เราอาจเกิดมาเจอเขา มองเขา ชอบเขา เหมือนเราชอบดารา แต่ดารานั้นไม่รู้เลยก็ได้
อย่างนี้เป็นเสน่หาหรือเปล่าเจ้าคะ
อย่างนี้ บางทีเราก็เสียใจนะ เพราะรักเขาแต่เขาไม่รู้ จนต้องร้องเพลง "รักเธอ แต่เธอไม่รู้" อย่างนี้ จึงอยู่ที่ว่า เราจะยอมผูกเขาไว้ในใจเรา เพื่อตามติดเขาเรื่อยไปหรือไม่ แต่สำหรับผู้ที่เรารักเขานั้น ถ้าเขาไม่ผูกใจไว้กับเรา เขาก็จะไม่ชอบเรา
แสดงว่า เราผูกใจไว้เพียบเลย ถ้าเราเป็นคนที่เจ้าชู้
ตรงนี้ล่ะ สำคัญ ข้อที่ ๒ การอุปถ้มภ์กันในภพนี้จะเริ่มมามีบทบาทล่ะ
ถ้าเราผูกพันธ์เขาไว้ในใจเรา เราเจอเขาแล้ว แต่เขาไม่รู้ ก็เลยเป็นหน้าที่ของเรา ถ้าเราต้องการเขา ก็ต้องจีบล่ะ คราวนี้ การเริ่มต้นแห่งสัมพันธภาพ จะเกิดได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับความตั้งใจและบุญของเรา

ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง says:
วันหลวงพี่เทศน์ดูทางโลกจัง

อย่างนี้ราคะหรือเปล่าเจ้าคะ
ราคะแน่
ก็ต้องหยั่งเชิงดูก่อน ว่าจะจีบอย่างไรหรือเจ้าคะ
ตอนนี้ ถ้าเรามีบุญกุศลที่สร้างไว้ในเรื่องนี้ เราก็จะมีโอกาสสมดังปรารถนา
บุญ ทำไมต้องเป็นบุญล่ะ บุญคือการละไม่ใช่เหรอ
บุญกุศลจะช่วยส่งให้เราเกิดความสมหวัง เพราะจะให้สุขเวทนาจ๊ะ
บุญคือ การทำจิตใจให้บริสุทธ์ครับ ทำบุญเมื่อไร ก็จิตใจบริสุทธ์ครับ
การที่เราตั้งจิตไว้อย่างไร เราก็จะได้อย่างนั้น ด้วยอำนาจแห่งบุญ
อืมม มีบุญที่จะได้รับสุขเวทนา บางที อาจะเป็นทุกขเวทนาภายหลังก็ได้
แบบมีบุญเยอะ ก็สมหวังเยอะหรือค่ะ
ก็ต้องทำบุญมา ทัดเทียมกัน ก็จะได้ มีใจที่บริสุทธิ์ และรักแท้ ใช่หรือไม่คะ
แต่ทว่า ไม่แน่เสมอไปนะ ถ้าเรามีบุญไม่มากพอที่จะคู่กับเขา ก็จะไม่ได้คู่กัน เช่น เขามีคุณธรรมสูงเกินไป เป็นต้น เราไม่ทันเขา ก็จะพลัดพรากกัน เรียกว่า ไม่สมกัน
แต่ เราจะจีบเขาเหรอ ถ้าเป็นเมตตา เมื่อเราเริ่มจีบ แสดงว่าตัญหาขวนขวายเขามาให้เรา
ไม่แน่เสมอไปนะ บางทีเราเห็นว่า เขาไม่มีความสุข เราอาจกรุณาเขาก็ได้
ก็ต้องเรียกว่าทำดีด้วย มีกรุณาต่อกัน
อย่ารักใครเลยดีกว่า ง่ายดี
ซึ่งในครั้งที่แล้วได้แสดงแล้วว่า การอยู่ร่วมกันตลอดรอดฝั่งนั้น อาศัยคุณธรรมที่ต้องเสมอกัน ๔ ประการ ใครจำได้บ้าง
ทมะ จาคะ สัจจะและ?
๑ ศรัทธาเสมอกัน
๒ ศีลเสมอกัน
๓ จาคะเสมอกัน และ
๔ ปัญญาเสมอกัน
ตอนนี้ ลักษณะที่เรียกกันว่า อกหักน่ะ มันก็มีสัก ๒ หรือ ๓ แบบได้กระมัง (เดานะ)

ยังไม่ทันตอบเลย เฉลยละ
๑ เราชอบเขาฝ่ายเดียว แบบเขาไม่รู้เลย (แบบเราชอบดารา)
๒ เราชอบเขาแล้วและตามจีบเขา แต่ไม่ติด (อันนี้ พวก poppy love อะไรทำนองนี้) และ
๓ เป็นแฟนกันแล้วเลิกลากันไป แล้วก็... ไม่รู้แล้ว นึกออกแค่นี้

เอ๊ะ ที่รู้นี่หมายฟามว่า
อ้อ says: นมัสการ พระคุณเจ้าครับ
อยากจะเรียนถามว่า พอดีผมไปชอบคนที่เขามีแฟนแล้วแต่ยังไม่แต่งงาน ก็เลยบอกให้เขาทราบก่อนที่เขาจะเดินทางไปต่างที่ ก็เลยถือได้ว่า ผมอกหักครับ อย่างงี้ผมควรทำอย่างไรดี
อกหัก เพราะคุณเทิดวางจิตไว้ไม่ถูกต้อง
เมื่อมีประสบการณ์ ก่อนรักใคร ก็ต้องดูให้ดีๆก่อน อย่าให้ถลำไปมากจนทุกข์
แต่ผมก็ดีใจที่ได้บอกไป เพราะไม่เช่นนั้นก็จะเป็นบ่วงติดใจผมไปตลอดเวลา
บ่วงว่าไม่ได้บอกเหรอคะ
เรื่องจึงมาลงว่า จะมีวิธีแก้ทุกข์อย่างไรจากการอกหัก
อ่ะ ปรุงแต่งไปเอง
อย่างสมัยพุทธกาลนะ มีมานพคนหนึ่ง ไม่มีคนรัก แล้วก็ไม่มีทุกข์อะไร แต่พอมีคนบอกว่า ที่นั่นมีหญิงสาวสวย จะขอมาให้ เท่านั้นเอง ก็เกิดความรักขึ้นมาจับ ใจ เพียงได้ยินคำร่ำลือ
ต่อมา หญิงคนนั้น เกิดจู่ๆ ก็ตายไปอย่างปัจจุบันทันด่วนด้วยโรคลมบางอย่าง หนุ่มน้อยนั้นก็กินไม่ได้ไม่หลับเลย คิดถึงแต่นางทั้งที่ไม่เคยรู้จักกัน
ที่เกิดความทุกข์ขึ้นเช่นนี้นั้น เป็นเพราะว่า จิตคิดปรุงแต่งไปตามอำนาจแห่งความยึดถือครอบครองว่า นั่นของเรา นั่นของเรา นั่นเอง พอเสียไป ก็เลยรู้สึกว่า เสียของรักของตน
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสองไม่เคยรู้จักกันเลย เพียงแต่มีคนบอกว่า จะขอมาให้เท่านั้น ก็ทึกทักเอาแล้วว่า "ของกู ของกู" ของกูแน่แล้วคราวนี้ ก็เลยต้องทุกข์ ถึงขั้นเกือบฆ่าตัวตายตามเลยนะ จะบอกให้(๒)

มานพที่น่าสงสาร
ดูสิดู เป็นอย่างไรบ้าง อำนาจของเสน่หานี่ ร้ายจริงๆ ไม่เคยเจอ ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยพูดด้วย ตัวตนก็ไม่เคยเห็น เพียงแต่มีคนพูด ให้คิดปรุงแต่งไปฝ่ายเดียว
อย่างนี้ก็มีด้วย!

แย่จัง
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตำหนิโทษของกามคุณอารมณ์ และเสน่หา ราคะ ว่าเป็นสิ่งที่ควรบรรเทาเสีย ไม่ควรปล่อยให้ลุกลากไปด้วยการปรุงแต่งมากมาย
เยอะแยะค่ะ คิดฝ่ายเดียว ส่วนใหญ่คนเราก็คิดเองฝ่ายเดียวทั้งนั้น
เจ้าค่ะ ถ้ามองง่ายๆ ก็คือรู้ให้ทันก่อนทุกข์
พระพุทธเจ้าทรงตรัสเป็นคาถาแก่หนุ่มน้อยนั้นว่า
"ความโศกย่อมเกิดขึ้นเพราะกาม
(เพราะสิ่งอันเป็นที่รักและความรักในกาม)
ภัยทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นแต่กาม
ความโศกย่อมไม่มีแต่บุคคลผู้พ้นวิดเศษแล้วจากกาม
ภัยจักมีแต่ที่ไหน"

คำว่ารักในที่นี้คือเสน่หา
มีสำหรับ เด็กน้อย ตาดำ บ้างไหมค่ะ
หนุ่มน้อยนั้นได้พบพระพุทธเจ้า ก็ยังโชคดีไปนะ ได้บรรลุโสดาปัตติผลในที่สุดแห่งเทศนา
เขาเห็นทุกข์
isiwat says: ใครอ่ะเห็นทุกข์
ความจริงแล้ว ในโลกของเรานั้น ชีวิตของคนเรามีบุพเพสันนิวาสกับบุคคลทั้งหลายมากมายนับไม่ถ้วน แต่ทว่า เราจะพบเจอบุคคลเหล่านั้น ในเวลาที่แตกต่างกันไป
บางครั้ง เราพบเจอคนๆ หนึ่ง เรารู้สึกพอใจมาก แต่เรามีแฟนแล้วเป็นต้น ก็เลยไม่สมหวัง อย่างนี้ก็มีมากมายนะในสังคมปัจจุบัน เพราะโดยมาก คนเราจะชอบคนที่เข้ามาสู่ชีวิตเราคนแรกๆ โดยไม่พิจารณาใจของเราให้ดีเสียก่อน

ชอบก่อนรู้ว่าเป็นใครที่ควรชอบหรือเปล่า
ตอนนี้พอเจอคนที่เรารักจริงๆ ก็เลยไม่สมหวัง ซึ่งในที่นี้เกิดจากความประมาทในการดำเนินชีวิต เช่น เราไปคว้าสาวในเท็คมา ตามโต๊ะสนุ๊กบ้าง ตามสถานที่ท่องเที่ยวบ้าง เป็นต้น ในที่นี้คือเราประมาทนั่นเอง
โห บุพเพสันนิวาสแบบไม่ได้เรื่องเลย
โอ ขนาดนั้นเลยหรือค่ะ
พระผุ้มีพระภาคทรงตรัสว่า คนเราย่อมคบหากันด้วยธาตุ
น่าสนใจครับ คบหาด้วยธาตุ ไม่เคยได้ฟังมาก่อนเลย ช่วยอธิบาย ขยายความด้วยครับท่านพระปิฯ
ภาษาทางอภิธรรมหรือเปล่าอ่ะ
ธาตุในที่นี้ หมายถึง เมื่อเราประพฤติตนประมาท เช่นไปในที่เที่ยว ในที่ไม่สมควร เราก็ได้คนที่เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน คือ ประพฤติ(ศีล)เสมอกัน คือ ชอบเที่ยวเหมือนกัน
เราเลือกคนชอบของเราเอง
แต่สมมติ ถ้าเราไปตามศูนย์สุขภาพนะ เราก็จะได้เจอคนที่มีอัธยาศัยอีกแบบหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นคนที่รู้จักดูแลตนเอง รู้จักดูแลสุขภาพอย่างดี และถ้าเราอยู่กับเขา เขาก็จะเอาใจใส่ดูแลเราด้วยเช่นเดียวกัน
ดีครับเป็นคำแนะนำที่ดีมากๆ เลือกถิ่นที่อยู่ที่เหมาะสมและคบแต่บัณฑิต
ไปวัดดีกว่า
หรือ ถ้าเราไปวัดนะ เราธัมมะธัมโม เราก็เจอคนธัมมะธัมโม มีนิสัยสุภาพ เหมือนๆ กับเรา
เมื่อวันก่อนไปอ่านมาว่า ไปวัดเพื่ออะไร ได้ใจความดีมากครับ
ตอนนี้ คนเรานี่ก็แปลก คือ ชอบของที่มันสะดุดตานะ แปลกๆ เด่นๆ นั่นก็หมายถึงว่า บุคคลผู้นั้น ก็ย่อมได้รับความเอาใจใส่อยู่เองเป็นพิเศษ ซึ่งใครๆ ก็สนใจคนที่น่าสนใจ
เช่น สวยมากๆ เก่งมากๆ รวยมากๆ อะไรทำนองนี้ และบุคคลเหล่านี้โดยมาก หากถูกตามใจมากๆ มีแต่คนชื่นชม ก็มักจะหลงตัวเอง และอาจมีนิสัยดูแคลนผู้อื่นตามไปด้วย ซึ่งเป็นเหตุแห่งการที่ธรรมชาติเองจะรักษาดุลยภาพของชีวิต ทำให้คนทั้งหลายนั้น จะหาที่สมบูรณ์พร้อมได้ยากมาก
พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่า "ทุลลโภ องฺคสมฺปนฺโน" อันว่าบุคคลที่พร้อมไปเสียทุกอย่างนั้น หาได้ยากในโลก
ส่วนนี้ บางครั้งเราควรรู้เท่าทันว่า คนเรายิ่งเด่นก็ยิ่งอันตรายมาก เพราะโดยมาก มิได้ฝึกฝนตนเอง เช่น มีแต่คนชมว่าเก่ง ก็จะไม่พัฒนาตนให้ยิ่งขึ้น หรือหยิ่งทะนงตนมันเสียเลย เป็นต้น
คนยิ่งสวย ใครๆ ก็รุมรัก ก็ไม่ค่อยขวนขวายพัฒนาความสามารถของตนให้ยิ่งขึ้นไป บางครั้งก็คิดว่า 'เดี๋ยวก็มีคนมีฐานะมาเลี้ยงดู จะเรียนหนังสือไปทำไม'

อิอิ เราไม่สวย แต่ก็ไม่ค่อยชอบพัฒนา
แม้แต่คนที่ถูกชมว่าเป็นเด็กดีมากๆ ก็มักจะประมาทในการดำเนินชีวิต ไม่ค่อยระมัดระวัง โดยคิดว่า ความดีจะคุ้มครองเอง เป็นต้น จึงทำดีแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ
ทำดีแบบไม่ดูตาม้าตาเรือ
ตอนนี้กลับมาว่า เรื่อง อกหัก ต่อนะ
การไม่สมหวังในรักนี่นะ เป็นธรรมดาของความรักแบบเสน่หานะ เพราะเหตุว่า คนทุกคนเมื่ออาศัยเสน่หา หรือตัณหา ในการเลือกคู่ครอง ก็ย่อมจะต้องการคนที่ดีกว่าตนในบางด้าน เพื่อเติมเต็มสิ่งที่ตนยังขาดอยู่
เช่น คนสวยแต่ไม่รวย เราก็มักชอบหาคนรวยๆ มาเป็นคู่ เพื่อหวังเต็มเติมชีวิตเขา

อืมมม การเติมเต็ม เป็นข้อเหตุผลที่คนหาคู่รัก
หรือ เราเก่งแต่ไม่สวย เราก็อยากได้คนหล่อๆ มาเป็นแฟน เพื่อเชิดหน้าชูตาตน หรือ เรารวยด้วย สวยด้วย แต่ไม่ค่อยฉลาด เราก็จะหาคนฉลาดๆ มาเป็นคู่ครอง
เพราะอะไร ก็เพราะว่าบางสิ่งเมื่อเราไม่มี เมื่อเห็นผู้ใดมีเข้าก็มักเกิดความประทับใจในการที่ได้มีสิ่งนั้น นั่นเอง อย่างนี้ ความจริงก็ดูเหมือนดี แต่ทว่า ฝ่ายตรงกันข้าม เขาก็คิดทำนองเดียวกันกับเรา

ผู้ชายมักหาคนสวยๆ เสมอ แต่ดูๆ ไปแล้ว เหมือนตุ๊กตาหน้ารถ
คือทั้งสองฝ่าย ต่างก็ต้องการให้อีกฝ่ายหนึ่งมาเต็มเติม ซึ่งถ้าโชคดีลงตัวได้พอ ก็แล้วไป แต่โดยมากไม่เป็นอย่างนั้น เพราะต่างฝ่ายต่างก็อาศัยซึ่งกันและกันในการหาความสุขให้ตนเอง ฉะนั้น เมื่ออีกฝ่ายมีท่าทีว่าจะไม่สามารถให้ในสิ่งที่ตนขาดได้ เขาก็อาจจะหมดความรักต่อบุคคลนั้นลงได้
คนมีปัญญาที่แท้จริง จะรู้ว่าไม่จำเป็นต้องมีคู่ก็ได้ ที่จะทำให้เกิดประโยชน์ที่ดีที่สุดได้
ตอนนี้ นิสัยของคนเรานะ ไม่ใช่ว่า จะนิยมมองผู้อื่นในแง่ดีสักเท่าไรหรอกนะ ฉะนั้น เมื่อเขามีส่วนที่ไม่บริบูรณ์อยู่บ้าง เมื่อเราเริ่มหมดรักเขา หรือเบื่อเขา เราก็จะเอาส่วนด้อยของเขานั้นมาเป็นข้อตำหนิ ชวนทะเลาะ หรือถึงขั้นใช้เป็นข้ออ้าง มองคนใหม่มันเสียเลย
อย่างนี้เรียกว่ารักหรือเปล่าเนี่ย
นี่เพราะอำนาจของราคะที่ต้องการให้เขามาเติมเต็มในชีวิตเราให้สมบูรณ์ ซึ่งเป็นวิธีการคิดที่ผิด ไม่ถูกต้อง ที่แท้ เราควรเติมเต็มตัวเราอยู่เสมอ แล้วพยายามมอบความรักให้แก่เขา คิดช่วยเหลือเขาเสมอต่างหาก
ซึ่งถ้าต่างฝ่ายต่างสำนึกไว้ก่อนว่า เราปรารถนาประคับประคองเขา ช่วยเหลือจุนเจือซึ่งกันและกัน อย่างนี้สิ ความรักย่อมจักยั่งยืน

ถ้าไม่ใช่แฟนกัน ช่วยเหลือเขาไหมค่ะ
เรียกว่า ควรอาศัยความรักอย่างเมตตานั้น มานำทางชีวิตของเราให้ดำเนินไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต และช่วยเหลือจุนเจือกันและกัน อย่างไม่คิดให้เขามาช่วยเหลืออะไรเรา
อย่างไม่คิดให้เขามาช่วยเหลืออะไรเราแม้แต่น้อย แม้แต่การดีตอบ
ซึ่งถ้าต่างฝ่ายต่างคิดอย่างนี้ ต่างฝ่ายต่างเป็นผู้ให้ มิใช่ปรารถนาเป็นผู้รับ ความรักจะยิ่งราบรื่น มั่นคง และนำมาซึ่งมาปราโมทย์ในจิตใจของแต่ละฝ่าย
เรียกว่า ต้องเริ่มต้นด้วยเมตตา มิใช่รักแบบเสน่หา อยากแต่จะเอาเขามา เพื่อมาทำให้ตัวเราเป็นสุข

โห จะเจอไหมเนี่ย (ตัณหาอีกแล้ว)
ตอนนี้ อาตมาจะได้พูดถึงสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบันบ้างล่ะนะ ในสังคมปัจจุบัน เราถูกสอน หรือถูกหล่อหลอมด้วยค่านิยมให้ผลักดันตนเองขึ้นสูง ไม่ว่าจะเป็นฐานะ หน้าตาในสังคม อำนาจ การศึกษา หรือแม้แต่การยอมรับว่าเป็นคนดี
นี่คือกระแสสังคมในปัจจุบัน
พอคนเรา ถูกปลูกฝังให้ดันตนขึ้นสูงและให้เร็วที่สุด ระบบความคิดที่อาศัยผู้อื่นมาช่วยเหลือจึงเกิดขึน รู้ใช่ไหม หมายถึงอะไร
พรรคพวก?
เรามักถูกสอนให้มองผู้อื่นโดยมองไปที่ผลประโยชน์ที่เขาจะให้แก่เราได้ และในระยะสั้นๆ และรวดเร็วที่สุด แม้แต่การมีคู่ครอง เราก็มักถูกสอนให้คิดอย่างนั้น
คนเราส่วนใหญ่มองว่า คู่ครองของเรา ควรเป็นผู้ที่มีเกียรติ มีหน้าตาในสังคม มีฐานะที่ดี หรือมีอำนาจ ได้รับการยอมรับในสังคม หรือแม้แต่ ขอให้เขาหล่อ หรือให้เธอสวยมากๆ เพื่อให้เราภาคภูมิใจ หรือแม้เขาจะพร่องไปเสียบางอย่าง แต่ก็ต้องมีบางอย่างล่ะ ที่เด่นจริงๆ จนคนที่อยู่รอบข้างเราพอใจ และยอมรับในส่วนนั้น ว่าสมควรแล้วที่จะครองคู่ด้วย เข้าลักษณะฝากความหวังและอนาคตไว้กับอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่คิดพึ่งพาตนเอง
ตอนนี้ล่ะ ค่านิยมที่เลวร้าย หรือสภาพที่แท้จริงก็เริ่มปรากฏ คือ ทุกคนต่างต้องการคนที่ดีกว่า และดีกว่า และดีกว่าผู้อื่น ยิ่งขึ้นไปเสมอ ไม่รู้จักอิ่ม เช่น เรามีแฟน ก็ว่าน่ารักแล้วนะ แต่พอเราเจออีกคน อาจน่ารักกว่า เราก็ทิ้งเลยคนเก่า เพราะไม่รู้สึกพอ

ก็เพราะเงื่อนไขที่เรามีคือดีกว่า
S i e w says:
สำหรับผม ขอแค่คนที่จะไม่มาเพิ่มทุกข์ให้กับผมก็พอครับ ฮ่ะๆ

จะทุกข์หรือไม่ก็อยู่ที่เงื่อนไขที่เราเลือกด้วย
หรือ เราเจอคนที่ฐานะก็พอควรแล้ว แต่เจออีกคนที่รวยกว่า แล้วก็รวยกว่า ถ้ามีหวังว่าอาจจะได้ ก็เตรียมทิ้งเลยคนเก่า แบบนี้ไม่ดีเลย
ท่านพูดถึงใครน้อ
เพราะอะไร เพราะเงื่อนไขที่เราตั้งไว้ คือ เราต้องการให้เขามาให้กับเรา ไม่ใช่เราต้องการให้กับเขา หรือจะเรียกว่า ไม่ใช่ว่าเรารักเขาที่ตัวเขา แต่เรารักในสิ่งที่เขาจะมีให้เราได้ต่างหาก
เรารักตัวเราเอง
ซึ่ง ความรักแบบ poppy love หรือความรักแบบความฝันนั้น จึงมักไม่สมหวัง เพราะว่า ต่างก็ไม่เข้าใจถึงความหมายของความรักที่แท้จริง และต่างฝ่ายต่างก็ต้องการให้อีกฝ่ายหนึ่งมาทำให้ตนเป็นสุข และให้สิ่งที่ตนยังไม่มีหรือยังขาดอยู่ ซึ่งก็ปรารถนาว่าเขาจะต้องดีกว่าตน และมีในสิ่งที่ตนไม่มีเสมอๆ
" มองไปให้ทั่วทั้งโลกเลย จะมีบุคคลใดเล่าเป็นที่รักยิ่ง มากไปกว่าตัวเรานั้นไม่มี "
เช่น เราจน เราต้องการคนรวย ส่วนคนที่เราชอบซึ่งเขารวย เขาก็มองคนที่รวยกว่า และคนที่รวยกว่าที่ถูกมอง ก็มองแต่คนที่ยิ่งรวยกว่าตน เป็นต้น SO ดังนั้น จึงไม่มีใครสมรักเลยสักคน
และเราทุกข์อยู่ตอนนี้(อกหัก)ก็เพราะว่าเรารักตัวเราเอง เพราะคิดว่าตัวเรากำลังสูญเสียความรักไป
ทุกคนมองสูง แล้วก็มองสูง
ถูกต้องแล้วครับคนเราต้องรักตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก แต่เป็นไปเพื่อเอื้อให้ไปเกิดความสุขความสงบกับผู้อื่น
มองกันอย่างนี้จะได้เจอคนที่ชอบไหมเนี่ย
แต่ผมไม่เห็นอยากมองคนที่เหนือกว่าผมด้วยสิ่งของภายนอกเลย ขอเพียงมีคุณธรรมเหนือเรา คงไม่ทำให้เราทุกข์ และช่วยให้เราพ้นทุกข์ได้
คำว่ารักตัวเอง ก็ต้องรักให้ถูก
ดีแล้วครับ สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา ณ ปัจจุบันคือ สิ่งที่ดีที่สุด และ เราควรรู้จักเป็นคนมักน้อยและสันโดษ
แต่สำหรับสัตบุรุษ คือ คนที่ดีนั้น มองตามที่เป็นจริง ว่าทุกสรรพสิ่งย่อมเสมอกันโดยธาตุ ย่อมเลือกคนที่เข้ากันได้โดยธาตุ (เช่นความดี) มิใช่มองแต่ที่สูงกว่า แล้วก็สูงกว่า
แต่เขาจะเลือกคนที่มีคุณธรรมเสมอเขาหรือเปล่าคะ
ทุกข์ใจนะครับแต่ก็ยังอยากอยู่ คือ ต้องการคนที่เหนือกว่าเราด้วยพฤติกรรม จิตใจ และความฉลาด (ปัญญา)
คนดีกับคนชั่ว มองไม่เหมือนกัน โดยความหมายว่า สัตบุรุษกับอสัตบุรุษย่อมคิดไม่เหมือนกัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"ธรรมของสัตบุรุษและอสัตบุรษนั้น ไกลกันแสนไกล"

ผมว่าคนเรานั้น เลือกคู่ต้องใช้หลัก สัปปุริสธรรม ครับ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักกาล รู้จักประมาณ รู้จักบริษัท รู้จักบุคตล
ถ้าจะเพื่อเติมเต็มเรา อย่างที่ท่านปิว่าไปแล้ว การเลือกแบบนี้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะมีเงื่อนไขที่ไม่ค่อยดี
เราลองมองดูเถิดว่าเราเป็นสัตบุรุษหรือไม่ ในการเลือกคู่ ๑ เรารักเขา เพราะเขาเป็นเขาอย่างนั้น โดยความเป็นธาตุที่เสมอกับเราใช่หรือไม่
เขาเป้นอย่างที่เขาเป็น ไม่ใช่เป็นอย่างที่เราต้องการ เพราะเมื่อเราไม่ต้องการ เงื่อนไขก็จะตกไป ก็คือไม่รักอีกเหมือนเดิม
๒ เรารักเขา โดยอาศัยความรักที่เรามีให้เขา ต้องการดูแลเขา ใช่หรือไม่ หรือเราต้องการให้เขามาให้ความรักเรา ดูแลเรา คุ้มครองเรา มากกว่ากัน
เจ้าค่ะ รักเขาเพราะว่าเขาตอบสนองความต้องการของเราได้ รักแบบนั้นคือราคะ คืออยากที่จะให้เขาทำให้เรามีความสุข
๓ เราปรารถนาที่จะพัฒนาตัวเรา ด้วยการพัฒนาศักยภาพในการเป็นผู้ให้ เพิ่มพละกำลังให้แก่ตน และเต็มเปี่ยมด้วยน้ำใจ หรือเราต้องการงอมืองอเท้า ให้เขาทำให้เรา ดูแลเราอยู่นั่นเอง
ดีครับ มีอีกกี่ข้ออยากให้มีเยอะๆ จะได้เก็บไว้เป็นธรรมทาน
อย่างนี้ต้องให้คำว่า รัก คือ การให้ ไม่ใช่ ลัก คือการเอา
ถูกต้องครับบบบบบบบ ความรักคือ การให้ เป็นคำนิยามที่ดีที่สุดเหมือน พ่อแม่ให้ลูก ครูบาอาจารย์ให้ศิษย์
และ ๔ สุขของเราสามารถเกิดขึ้นได้จากการเป็นผู้ให้ หรือว่า สุขของเราเกิดขึ้นจากการเป็นผู้รับกันแน่ คิดให้ดีว่า อย่างไหนจะให้ความสุขได้มากกว่ากัน ให้แล้วเป็นสุข ยิ่งให้ยิ่งเป็นสุข หรือ ต้องรอได้รับจากเขาจึงจะเป็นสุขได้
สาธุเจ้าค่ะ ประโยคนี้ เราตั้งเงื่อนไขความสุขไว้ว่าอย่างไร
สุดท้ายล่ะนะ
๕ เรามีปัญญามองเห็นสภาพของชีวิตและสังขารตามที่เป็นจริงหรือไม่ว่า ชีวิตทุกชีวิตต่างก็เผชิญหน้าต่อปัญหาและความทุกข์รอบด้านด้วยกันทั้งนั้น

คือ มีความเข้าใจในผู้อื่นด้วย?
ฉะนั้น เราจะคิดว่า เราต้องการสุข สุข สุข อยู่นั่นเอง หรือว่าเราจะเข้มแข็ง ตั้งตนไว้โดยสุจริตธรรม เพื่อเป็นแบบอย่างของผู้ให้ เกื้อกูลบุคคลทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้ที่เรารัก ซึ่งอาจยังมีปัญญาไม่เพียงพอที่จะเห็นโลกตามความเป็นจริง
เจ้าค่ะ
วันนี้หัวข้อพูดเรื่อง หัวข้ออกหัก แต่ก็ได้ทราบเรื่องหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องธาตุ บุพเพสันนิวาส การเลือกคู่ของสัตบุรุษ
ในโลกที่ยังวุ่นวายสับสนนี้ เราควรให้แสงแห่งปัญญาที่จะนำทางชีวิต ให้ก้าวไปสู่จุดมุ่งหมาย และมีความเจริญไปพร้อมๆ กัน โดยจะประคับประคองกันไป เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้เข้าถึงสัจธรรมของชีวิต
ที่แท้จริง ปัญญานั่นแลประเสริฐกว่าทุกสรรพสิ่ง ซึ่งอาจมองเห็นความเป็นจริงในโลกแห่งสังขารทั้งหลาย ว่าต่างก็ต้องตกอยู่ภายใต้ความทุกข์ที่รุมเร้าเหมือนๆ กัน

สัจจธรรมของชีวิต นี้หมายถึง ทุกคนต้องเกิด แก่ เจ็บ ตายใช่ไหมครับ และ ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามกฏ อิทัปปัจจยตา
ยิ่งเพิ่มความเสียสละ และเต็มเปื่ยมไปด้วยเมตตาปราณีต่อโลก คือ หมู่สัตว์ทั้งหลาย ว่ายังต้องการใครบางคน ที่จะเข้ามาช่วยเหลือและชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิต ดังพระพุทธองค์ทรงเคยดำเนินมาเป็นแบบอย่าง
อย่างนี้คือความคิดของโพธิสัตว์?
การประคับประคองกันไปนี้ จึงมิใช่การหวังแต่เพียงความสุขเฉพาะหน้า บางครั้ง อาจเสียสละได้แม้กระทั่งชีวิตของตนเพื่อคนที่เรารัก อย่างนี้สิ เรียกว่าความรักที่แท้จริง
งั้นรักแท้ ก็ไม่ใช่จะให้ความสุขเสมอไป
ผมรู้สึกว่า บางทีตายแทนยังง่ายกว่าการให้ความเข้าใจและอดทนต่อกัน
รักแบบเมตตาก็มีความสุขได้ ถ้าเราตั้งเงื่อนไขความสุขในทางที่ถูกต้อง
แรงมานะและทิฐิมันทำให้เห็นอะไรไม่ชัดน่ะครับ
กำแพงทิฐิ
ความสุขที่สูงสุดคือ ความว่างเปล่า ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่เป็นสุขและทุกข์
อย่าหวังแต่จะให้เขามาทำให้เราเป็นสุข เพราะนั่นไม่เพียงพอที่จะเดินทางร่วมกัน เพราะการเดินทางร่วมกันไปสู่ความสุข ความสดชื่นเบิกบานนั้น ยังเป็นหนทางอันยาวไกลที่ต้องก้าวเดินไปอีกนานแสนนาน กว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต่างก็ปรารถนาร่วมกัน คือ ความที่ไม่ต้องพลัดพรากจากกันอีก และการที่จะไม่ต้องพลัดพรากจากกันอีกนั้น มี ๒ ลักษณะ คือ
มีด้วยเหรอ ที่ที่จะไม่ต้องพลัดพรากจากกัน
๑ แม้จากกันไป แต่จิตใจเราก็ไม่พลัดพรากจากกัน
อ๋อ ความทรงจำ
๒ จะไม่มีรูปธรรมที่ต้องพลัดพรากจากกันอีกต่อไป เพราะต่างฝ่ายต่างก็เข้าถึงเป้าหมายปลายทางแห่งชีวิตแล้วทั้งสองฝ่าย
ตรงที่สองน่าสนใจครับ คิดว่าคงต้องตั้งเป้าหมายไว้เช่นนั้น
พากันไปให้รู้ถึงสัจธรรมของชีวิต
ไม่มีอีกแล้วซึ่งความพลัดพราก เพราะไม่มีการอุบัติปรากฏขึ้นอีก ไฉนเลยจะมีความพลัดพรากกันได้เล่า เป็นความสงบเย็นแห่งสังขารทั้งหลายตลอดกาลนาน
อย่างกับกลอนแน่ะ
เราจะไม่จากกันอีกต่อไป เราจะไม่ต้องพลัดพรากกันอีกต่อไป เราจะไม่ต้องร้องไห้เพราะการสูญเสียในสิ่งอันเป็นที่รักอีกต่อไป นั่นคือ ความสงบเย็นแห่งดวงจิตอย่างแท้จริง
แต่โดยจากตัวอย่างผู้ที่เข้าถึงสัจธรรมของชีวิต นี่มีสักเท่าไหร่กันที่ไปกันเป็นคู่ และส่วนมากก็จะไปเดี่ยวดัวยตัวเองหรือเปล่า พากันดับความพลัดพราก รู้สีกว่ามันจะขัดๆกันอ่ะ
มีนะ ผู้ที่เข้าถึงฝั่งพร้อมกัน นกุลปิตา นุกลมาตา อย่างไร
เจ้าค่ะ ที่ท่านเคยเล่าให้ฟัง แต่ก็มีน้อยกว่า ผู้ที่ไปด้วยตนเอง(ฉายเดี่ยว)
พอล่ะมั๊งคืนนี้ เหมือนเข้าวิชาอบรมจริยธรรมยังไงไม่รู้
LET GOooooooo ! says:
namasikara ka and hi everyone

ตามที่ผมเข้าใจให้ใช้ ๓ อย่างประกอบ ๑ มันเป็นเช่นนั้นเอง ๒ เราบังคับใครไม่ได้ ๓ พิจารณาซากศพ
"ถึงโลกกว้างไกลใครๆ รู้ โลกภายในลึกซึ้งอยู่รู้บ้างไหม
มองโลกภายนอก มองออกไป มองโลกภายในคือใจตน"

ขอฝาก สุภาษิตจีน ไว้บทหนึ่งนะ

สมเป็นลูกคนจีน จริง หลวงพี่
จงอุทิศเพื่อชีวิตทั้งหลาย น้อมความรัก ความเมตตา
สร้างอำนาจความรู้สึกอิ่มใจ ด้วยปรารถนาบริสุทธิ์
ให้เกิดเต็มเปื่ยม และเอ่อล้นอยู่ภายในอยู่เสมอ
และน้อมให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ไม่จิรังยั่งยืน ทนสภาพอยู่ยาก
ไม่มีอะไรเป็นตัวเป็นต้น เป็นเราของเรา ในโลกแห่งสังขารทั้งหลาย

แต่เรา ก็ต้องมีลมหายอยู่ต่อ ในโลกที่มีตัวตน????
ที่ว่าโลกไม่มีตัวตน เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดจากการปรุงแต่ง ประกอบกันขึ้นมา สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง ย่อมไม่มีตัวของตนเอง
จงปลงปล่อย และแจ้งจริงในอนัตตาเป็นที่สุด
เมื่อความโปร่งว่าง ได้บังเกิดในดวงใจ
ก็สลัดความยึดถือ หมดความหมายมั่น
น้อมเห็นชีวิตต่อชีวิต ซึ่งมิช้านานก็ต้องแก่ เจ็บ ตายไป
ยิ่งเพิ่มอุทิศ สละ เกื้อกูล เพื่อชีวิตทั้งหลาย

การตั้งจิตเช่นนี้ เรียกว่าอะไรเจ้าคะ ยากที่จะทำให้มองเห็นแบบนี้ได้
มีชีวิตอยู่เพื่อการจ่ายออกสลัดออก ถอนสิ้นความเห็นแก่ตัว
มีความปราโมทย์ด้วยเมตตา ปัญญา ปราณีโลก
เกื้อกูล ดับทุกข์โศก แก่มวลชนชีพทั้งหลาย
จากชีวิตถึงชีวิตด้วยธรรมพร้อมใจกาย
เบาสบายคลายร้อน ผ่อนให้เย็น
ซาย โย นา ระ

อ่าว กลายเป็นญี่ปุ่นไปซะแระ
ต้องใช้เวลาครับ คิดว่าต้องศึกษาธรรมะไปได้ในระยะเวลาพอสมควร ก็จะกระทำได้เพราะจะรู้ว่าชีวิตไม่มีอะไรที่น่าเอาเลย มีแต่ความทุกข์ทั้งนั้น ถ้าไม่ติดหน้าที่ก็ควรจะไปบวชดีกว่า
Phra Khun Chao Ka I thought that Metta has another side effect, it causes attachment, isn't it
metta it will make you be free from selfish เอาล่ะมั๊ง คืนนี้
รักให้เป็น แล้วจะเห็นค่าของความรัก ???
I know that but metta has side effect which is that it causes lobha after that BECAUSE it is Sukkha
vedana isn't it

ครับ ขอบพระคุณพระคุณเจ้าที่ให้ความเมตตากรุณาเราในการแสดงธรรม
ขอให้ทุกคนมีความสุขทุกครั้งที่ได้เห็นผู้อื่นเป็นสุข
ขอบพระคุณมากครับสำหรับธรรมมะวันนี้ นมัสการลาครับ
Namasikara ka
ครับ มุทิตา
จงสร้างความสุขได้ด้วยตนเองจากภายใน และจงมอบความสุขให้แก่บุคคลอื่น อันเกิดจากความสุขที่มีอยู่ในภายใน ถ้าตนเป็นทุกข์เสียแล้ว จะมอบความสุขให้แก่บุคคลอื่นได้อย่างไรกัน
งั้นก็ต้องสร้างความสุขภายในของตนเองก่อน
สาธุ _/ \_
ค่ะ
เคยได้ยินเพลงๆ หนึ่งว่า "ถ้าเธอไม่รักตัวเอง ไม่เคยดูแลแม้ตัวเอง แล้วเธอจะรักฉันยังไง ถ้าเธอไม่รักตัวเอง ทำตัวไม่มีคุณค่าใด ก็แล้วใครจะรักเธอ"
แล้วถ้าเธอรักตัวเองมากไปล่ะ
What happens if that person loves himself or herself too much hahaha
ตลกดี
ไม่มีใครในโลกรักคนอื่นมากกว่าตัวเองหรอกค่ะ (มีไม๊เนี่ย)
ไปดีกว่า ชักจะไปกันใหญ่แล้วเรา ไม่ไหว
ราตรีสวัสดีครับทุกท่าน
อย่างนี้ทุกทีท่านปิ
บ๊าย บาย นะทุกคน see you next week 8.30 PM
นมัสการครับ ราตรีสวัสดิ์ครับ
ราตรีสวัสดิ์ค่ะทุกคน
sayonara ka PKC Piyaluk
หลับสบาย คลายกังวลค่ะ
๑ ขุ.ธ.๔๒/๑๐๒/๓๖ มมร.
๒ ขุ.ธ.๔๒/๑๖๙/๔๐๔ มมร.




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2549    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 21:44:18 น.
Counter : 395 Pageviews.  

โกรธ 490819

ถ้า โกรธ ก็ ซวย แน่ๆ

รองเท้าแตะสุดที่รักของผมโดนป้าในรถตู้เหยียบขาด
ป้าแค่ขอโทษเท่านั้นเหรอ


วันนี้ผมซวยไปทั้งวันแน่ๆ


ไปดูว่าเขาคุยอะไรกันบ้างเกี่ยวกับความโกรธ

Chatธรรมวันเสาร์ เรื่องความคิดที่ควรเกิดขึ้นเมื่อเราเสียของรัก (เมื่อวันที่ ๑๙ ส.ค. ๒๕๔๙)
อารัมภบทที่มาของกระทู้สนทนาธรรม

วันนี้ออก 2 คน says:
กราบเรียนนะครับ... มีบุคคลทำให้รองเท้าแตะซึ่งผมรักมาก ชำรุดจนไม่สามารถใช้ได้ แต่ด้วยความที่เขาไม่ตั้งใจ และเป็นอุบัติเหตุ สิ่งที่เขาแสดงออกมานั้น จึงมีแต่กิริยาที่ว่า ขอโทษ แต่ผมนั้นเป็นทุกข์ไปแล้ว เพราะว่าผมรักรองเท้ามาก
ผมก็ไม่ได้อยากโกรธเขานะครับ ... แต่อยากให้เขารับรู้บ้างว่าผมเสียใจ หลังจากนั้นตลอดวันที่เหลือ ... ผมก็เก็บเรื่องนี้ไว้ตลอด ผมควรจะคิดอย่างไร กับสิ่งที่เกิดขึ้น คือผมก็ไม่อยากจะโกรธเขา แต่ผมควรจะทำอย่างไรให้เขารับรู้ ผมอยากให้เขารับรู้นะครับ ประเด็นคือตรงนั้นอะครับ
แต่อันที่จริง ผมก็ไม่ได้รับคำว่าขอโทษนะครับ แค่กิริยาที่บอกว่าเสียใจ ด้วยการผงกหัว อยากให้เขาแสดงอาการรับรู้ในการเสียใจของเรามากกว่านั้น มันเฉย ๆ สงสัยกำลังอึ้ง ๆ อยู่
อยากให้เขารับรู้ เหมือน ช่วยรู้สึกกะผมหน่อยได้ไหม ว่าผมรักรองเท้าผมนะ คู่กรณีผม เป็นคุณป้ามีอายุแล้วนะครับ เหมือนแบบว่า เหยียบเท้าเหรอ ... ขอโทษนะ
ครับ วันนั้นผมเลยคิดว่าเป็นวันซวย แต่ตอนนี้ไม่อะไรแล้วอะครับ ขอโทษนะครับ รู้สึกว่ามันไม่ค่อยเกี่ยวกะธรรมะเท่าไหร่ ฮุ ฮุ

Angel says:
จริงๆ มันก็เกี่ยวนะครับ เป็นผม คิดถึงนิทานเรื่องหนึ่ง เรื่องที่พระ 2 องค์ไปเจอผู้หญิงตกน้ำ นะครับ พระองค์ที่อาวุโสกว่า ลงไปช่วย ผู้หญิงที่ตกน้ำ ส่วนพระอีกองค์ ยืนดูนะครับ แล้วระหว่างทางกลับวัดองค์ที่ไม่ได้ช่วย ก็คิดว่าพระองค์ที่ลงไปช่วยว่าต้องอาบัติหรือเปล่า พอกลับถึงวัด พระองค์ที่ลงไปช่วยก็บอกกับพระองค์ที่ไม่ได้ช่วยว่า เราวางผู้หญิงคนนั้นลงแล้วแต่ท่านยังไม่วาง

รดา says:
อื ม เนื้อหาดีจังคะ

ผมพาลไปคิดว่า ผมจะแจ้งความด้วยดีไหม เพราะว่าเขาทำให้ผมเสียทรัพย์ เขาต้องชดใช้ มันจะผิดหลักธรรมะไปไหมครับ อันที่จะแจ้งความนี่คิดตอนที่คุยกับพี่เป้ครับ ผมบอกพี่เป้ไปด้วย ผมว่าผมมีสิทธิจะแจ้งความนะครับ ... แต่ว่ามันอาจจะกึ่ง ๆ กับการจองเวรหรือเปล่าครับ?
ก็ถ้า มันทำให้สูญเสียทรัพย์ ขนาดต้องแจ้งความ ก็มองซะว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ เพื่อให้คนอื่นไม่โดนอย่างที่เราโดน แต่ก็ต้องพิจารณาในหลักพรหมวิหาร แล้วเราต้องไม่ทำเช่นนั้นด้วยความโกรธ เราต้องทำเพราะหวังว่าเขาจะดีขึ้น หรือไม่ให้เขาทำให้คนอื่นเดือดร้อนครับ
เราสามารถแยกออกเป็นคนล่ะประเด็นได้ใช่ไหมครับ ... คือเรื่องที่เราต้องจัดการกับจิตใจของเรา กับเรื่องที่เราต้องจัดการกับทรัพย์สินของเรา วันนั้นผมบอกพี่เป้เลยล่ะครับ ว่าจริง ๆ แล้ว ผมก็ยังเป็นคนที่เห็นแก่ตัวอยู่ ที่คุยธรรมะกับพี่เป้มาเกือบ 2 ปีนั้นคงแทบไม่ได้ช่วยอะไรเลย แค่รองเท้าผมพังผมจะเสียใจเอาได้ขนาดนั้น
จำนิทานได้อีกเรื่อง เรื่องยึดติด คือ ครอบครัวหนึ่ง ก็อยู่ในบ้านเดียวกัน ลูกเล่นของเล่นอยู่ แล้วพ่อมาเดินเหยียบ ลูกร้องไห้ พ่อก็ด่าว่าลูกโง่ ของเล่นชิ้นนิดเดียว ทำไมต้องเสียใจ, พอมีโทรศัพท์เข้ามา พ่อก็ไปรับสาย นายโทรมาบอกว่า งานที่พ่อทำอยู่น่ะมันเสียหายอาจถึงขั้นไล่ออก พ่อก็ร้องไห้ คำถามว่า ระหว่างพ่อกับลูก ใครโง่กว่ากัน
[ N ] o [ R ] t [ H ] says:
ขอบคุณสำหรับนิทานดีๆครับ

คุณส้ม says:
วันนี้มีสนทนาธรรมใช่ไหมค่ะพี่เป้ เรื่องอะไรค่ะ

น้ำตาที่เราสูญเสียมีมากมายนับปริมาณไม่ได้อยู่แล้ว เราอยากเสียมันไปอีกหรือ เราอยากจมอยู่ในทุกข์อีกเหรอ says:
ค่ะ กำลังสนทนากันอยู่ค่ะ เรื่อง ความคิดที่ควรเกิดขึ้นเมื่อเราเสียของรัก

ผมขอตัวก่อนนะครับ ยินดีครับที่ได้สนทนากัน นมัสการพระคุณเจ้า และ ราตรีสวัสดิ์ครับ
.................................................................................

S i e w says:
มาแล้วครับขออภัย เชิญต่อกันได้ครับ
แต่วันนี้เอ็มของพระท่านมีปัญหามากเลยค่ะ ตอนนี้ก็พวกเราเองให้ธรรมะกัน
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
ตอนนี้อยู่กันกี่คนแล้วนี่

ยังลุยกันต่อได้เจ้าค่ะ
ทวนประเด็นกันหน่อยมั้ยคะ
พี่สรุปเลยดีกว่าเอาประเด็นว่า เมื่อเราเสียของรัก เราควรใช้อะไรมาเป็นอาวุธในการต่อสู้กับความทุกข์ในการสูญเสียดี คิดยังไงดีเมื่อเสียของรัก
เมื่อสักครู่รู้สึกว่า จะคุยกันเรื่อง รองเท้าขาด อะไรทำนองนี้ใช่ไหม
เจ้าค่ะ เสียรองเท้าแสนรักแสนหวงไป
รองเท้าขาดก็ธรรมดานะ แต่เราอย่าศีลขาดก็แล้วกัน
ศีลไม่ขาด แต่โคตรทุกข์เลยล่ะเจ้าคะ
ทีนี้คนที่รองเท้าขาดเขาก็รักรองเท้าเขา คนทำขาดก็ขอโทษ แต่คนที่รองเท้าขาดเขารู้สึกว่า ขอโทษแบบขอไปที
อะไรจะเสียก็เสียไป แต่อย่าให้เสียใจ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของคนเรา ก็คือ ใจ นะคุณ
รองเท้าจะหายก็ให้หายไป แต่เราอย่าทำใจหล่นหายก็แล้วกันครับ
ตอนนั้น คงเป็นว่า เขามองเห็นแต่ของที่เขาเสีย เขาไม่ได้มองเห็นว่าเขาเสียใจ อยู่เป็นได้เจ้าค่ะ
ถ้าเราไม่รักษาใจ มัวแต่มุ่งมองไปข้างนอก เราจะไม่ได้อะไร นอกจากความเสียใจ แล้วก็เสียความเป็นคนดีของเราไปด้วย
พระพุทธเจ้าทรงเสียสละทั้งสมบัติจักรพรรดิ์ บุตร ภรรยา และทั้งชีวิตก็ยอมสละให้ ก็เพื่อรักษาใจเอาไว้ มิให้จิตใจต้องเศร้าหมองไปเลยนะคุณ แล้วเราเสียเพียงรองเท้าเก่าๆ ของเราไป แต่เรายอมทำร้ายจิตใจของเรา มันจะดีหรือคุณ

เราเสียความสุขที่เราเคยมีมั้งเจ้าคะ
การโกรธเป็นการประทุษร้ายจิตใจของเราเอง ซึ่งไม่มีใครทำให้ เราทำลายสิ่งที่มีค่าที่สุดของเราไป เพียงเพื่อรองเท้าเก่าๆ คู่หนึ่ง แล้วเรายังจะพอใจทำอย่างนั้นอยู่อีกหรือ
คุณชินา says:
Phra Khun Chao Ka.. You mean that whatever that causes pain in our mind, we should just let it go, even when it is an important things, is it ?

yes khun shin
it's a simple things
สิ่งทั้งหลายในโลก ล้วนรวมลงมาที่ใจของเรา ความทุกข์ ความสุข ก็รวมลงที่ใจของเรา เราทำร้ายใจของเรา อย่างที่ไม่มีใครเคยทำร้ายได้ เราโกรธเขา แค้นเขา แล้วเราก็ต้องทุกข์ใจ ทั้งสร้างบาปกรรมแก่ใจของเรา อย่างนี้มันดีหรือ
the most important things are ur mind
ครับพระคุณเจ้า
เป้ว่าสภาพของจิตในขณะนั้นคือไม่ตระหนักถึงว่า สภาวะโกรธอยู่นั้นมันเป็นทุกข์นะ ถ้ามันรู้มันคงไม่ถือไว้หรอก
คนเราเวลาโกรธ ก็หน้ามืดตามัว ไม่เห็นอรรถเห็นธรรม คิดอะไรก็คิดแต่เรื่องไม่ดี พูดอะไรก็พูดแต่เรื่องไม่ดี ทำอะไรก็ทำแต่เรื่องไม่ดี ฉะนั้น เราจึงต้องเริ่มกลับมาเรียนรู้ และศึกษาวิธีการควบคุมจิตใจ
ถ้าเรารู้ได้ว่า เราโกรธก็พึงเร่งรีบระงับความโกรธนั้นเสีย มิใช่มุ่งมองไปหาผู้ผิด หรือจ้องจะให้ร้ายผู้อื่น ซึ่งนั่นก็หมายถึง ใจของเราจะเริ่มขุ่นมัวมากขึ้นทุกที

do we still have to let go that is so important to us and it might cause us death ? like someone took away your medicine that can cure our cancer ?
ไม่ถึงขนาดนั้นหรอกคุณชิน คุณก็รู้ว่า ถ้าเราทำความดีแล้ว ถ้าอะไรจะเกิดขึ้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ล้วนแต่เป็นกรรมของเราเอง
อย่างกรณีพระเวสสันดรใช่มั้ยคะ ให้แม้กระทั่งสิ่งที่คนทั่วไปสละได้ยาก
ถ้าเรารู้ว่าเรากำลังโกรธ -> ผมคงหายโกรธไปกว่าครึ่งแล้วล่ะครับ ปัญหาคือไม่รู้ว่าโกรธเนี่ยสิครับ ต้องมีสติเยอะๆ
ที่สำคัญคือ แม้เราจะรู้ว่าเราโกรธ แต่เราก็ยังพอใจให้ความโกรธเกิดขึ้นอีก นั่นล่ะคือปัญหา แม้จะมีผู้ตักเตือน ก็ยังไม่ใส่ใจที่จะแก้ไข มัวแต่สาละวนอยู่กับความพยายามปรุงแต่งหาเหตุผลว่า สมควรโกรธ อยู่นั่นเอง
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อกุศลธรรมเกิดขึ้นในขณะใด ก็พึงเร่งรีบระงับในขณะนั้น ดั่งไฟไหม้ศีรษะตน

OK.. that means whatever the hell is, just let go, even it is near death.
พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งทรงเป็นโพธิสัตว์ แม้โจรจะตัดจมูกท่าน ตัดหูท่าน เลื่อยมือท่านจนขาด กรีดฝ่าเท้าท่าน ท่านก็ยังไม่ทำความโกรธ ต่อโจรนั้นแม้แต่น้อยเลย
so hard to ยอม
โห พระคุณเจ้าครับ และเราเป็นปุถุชนธรรมดาจะมีความอดทนอดกลั้นได้ขนาดนั้นหรือครับ?
พระพุทธเจ้าสอนว่า ถ้าเธอกระทำความโกรธให้เกิดขึ้นแม้ต่อโจรผู้ที่กำลังเลื่อยหนังและเนื้อ และแม้เอ็น กระดูก และเยื่อในกระดูกของเธอ , ถ้าเธอมีประทุษร้ายต่อโจรนั้น ก็ชื่อว่า เธอไม่ใช่คนของเรา และไม่พึงกล่าวว่าเป็นสาวกของเรา
โห ผมจะเป็นสาวกได้ไหมครับ? ทำไมยากจัง ผมคงต้องฝึกฝนอีกมากแน่ๆเลย
อืมมม เหตุสมควรโกรธไม่มีในโลก เสียของก็จะแย่อยู่แล้ว(จิต) นี่โดนทำร้ายร่างกายเลย จะทนไหวเหหรอ, ต้องตั้งท่าทีในความคิดใหม่ หรือมองโลกในมุมที่เราไม่เคยมองมาก่อน
oh my goodness.. I have to change. So hard to let go. so hard
บางครั้ง เราถูกกระแสของสังคมที่เต็มไปด้วยคนไม่ดี แนะนำพร่ำสอนให้เห็นแก่ตัว ขาดความอดทนอดกลั้น ไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญของการพัฒนาจิตใจและปัญญา จนทำให้เรา ลืมมองไปว่า คนดีๆ เขาทำกันอย่างไร สัตบุรุษ นักปราชญ์ ผู้มีความรู้ เขาคิดกันอย่างไร เราเห็นแต่ตัวเราเป็นใหญ่ ไม่เห็นคุณธรรมต่างๆ ที่ควรประพฤติปฏิบัติ มีแต่จะเพ่งมองไปที่สิ่งภายนอก ไม่ใส่ใจต่อการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวเราเอง

มองเห็นความสุขเราเป็นใหญ่หรือเปล่าเจ้าคะ แต่เราเข้าใจผิดๆ ในเงื่อนไขของการเกิดความสุข
บางครั้ง เมื่อเราเกิดความโกรธขึ้น ก็เป็นเหตุที่ทำให้เรามองไม่เห็นเหตุเห็นผลนะคุณ, อย่างพระภิกษุนะ พระพุทธเจ้าท่านตรัสสอนว่า ถ้าพระภิกษุยังละความคิดประทุษร้ายในเพื่อนพรหมจรรย์ไม่ได้ ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้เข้าถึงธรรมเลย ท่านว่าเปรียบเหมือนสนิมของใจ
ในหลักของการเจริญภาวนานั้น พระพุทธเจ้าท่านกล่าวถึงธรรมที่ขัดขวางต่อการพัฒนาจิตใจที่สำคัญก็คือ โทสะ ความคิดโกรธประทุษร้ายในบุคคลอื่น

ที่นี่ รู้สึกได้ถึงความอบอุ่นจริงๆเลยครับ
จะต้องยอมรับว่าความโกรธไม่ดี ถ้าไม่ยอมรับ ก็ยังพอใจที่จะโกรธอยู่ ถึงจะรู้ว่ามีคนบอกว่าไม่ดี แต่ในใจก็ยังชอบที่จะโกรธ ปัญหาก็ยังแก้ไม่ได้
ถ้าเราฝึกสังเกตนะ เราจะรู้ว่า ทุกครั้งที่เราโกรธ เราจะพยายามหาเหตุผลมารองรับความโกรธของเรา นั่นล่ะคือปัญหาสำคัญที่เราต้องเริ่มแก้ไข
ถ้าเราไม่สามารถละความพอใจในการปรุงแต่งเหตุผลเพื่อทำให้โกรธได้ ทำอย่างไรมันก็ยังโกรธอยู่นั่นเอง

เหตุผลสมควรโกรธไม่มีในโลก แต่คนโกรธจะบอกว่ามีเหตุผลที่จะโกรธเสมอๆ
เราจะต้องเริ่มต้นที่
๑. การรู้ตัวก่อนว่าเราเริ่มโกรธแล้วนะ
๒. จงระลึกไว้เสมอว่า ความโกรธนั้นไม่ดี ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
๓. จงระงับความคิดโกรธนั้นทันที ดั่งคนตัดใบหญ้าด้วยมีดที่คบกริบ ไม่ให้เหลือ
๔. เมื่อเราพยายามตัดความโกรธนั้นแล้ว ไม่ว่าจะโดยวิธีใดก็ตาม เราก็ควรจะรู้อีกอย่างหนึ่งว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมมีกรรมเป็นของของตน คือ คนทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว เราควรสงสารเขาด้วยซ้ำไป

พิ้ง says:
ท่านคะ แล้วสมมติถ้าเราจับได้ว่าเค้าโกหกเรา เราสมควรโกรธมั๊ยคะ เช่นพ่อแม่ โกหกเรา

การจะตัดความโกรธได้นั้น เราต้องรู้ว่า ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีเหตุผลให้พึงโกรธเพียงใดก็ตาม แต่การคิดประทุษร้ายต่อผู้อื่น นั่นล่ะ ที่แท้ก็คือการประทุษร้ายใจของเราก่อน
เราไม่รักตัวเราหรือ เราไม่รักใจของเราหรือ แล้วทำไมเรายอมให้ใครเขามาทำร้ายจิตใจของเรา พระพุทธเจ้าตรัสว่า สำหรับปุถุชนแล้ว ความโกรธนั้น มีรากเป็นพิษ แต่มียอดหวาน

อืมม รากเป็นพิษ แต่มียอดหวาน เคยได้ยินคำว่า ความโกรธเหมือนขนมหวาน
ดูจากภายนอกแล้ว เวลาปรุงแต่งความโกรธ แรกๆ ก็เหมือนจะสนุกดีที่ได้คิดอย่างนั้น แต่พอเอาเข้าจริงๆ เราปล่อยให้เขาลุกลามออกไป ดั่งไฟที่ไหม้เชื้อ ก็ลุกลามเผาผลาญจิตใจของเรา จนระงับไว้ไม่ได้เสียแล้วในภายหลัง
เวลาเรามีความโกรธแล้วนะ เราไม่อาจเข้าใจแม้ในเหตุผลง่ายๆ ได้เลย อย่างเช่น ความโกรธนั้นไม่ดี เราก็จะบอกว่า ไม่ดีแล้วยังไง ถึงจะไม่ดี แต่ตอนนี้ขอโกรธก่อนก็แล้วกัน

๕๕๕๕ ใช่เลย มันอร๊อยอร่อย เหมือนจิตเราชอบเสพอารมณ์เลยเจ้าค่ะ
หรือบางครั้งเราก็จะบอกตัวเราว่า อย่างไงซะมันก็สมควรโกรธอยู่นั่นเอง เพราะเขาเลวอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น ซึ่งความจริง เราไม่รู้ว่านั่นไม่ใช่ตัวเราเลยนะที่พูดน่ะ แต่มันคือมารที่กำลังสอนเรา
พอเย็นลงจะคิดได้ว่าเอ๊ะ เรื่องมันไม่ใหญ่โตอะไร แต่ต้องรอให้หายโกรธก่อนงัยคะ ตอนนั้นคิดรักตัวเอง คิดอะไรก้อไม่ทัน
:) (แอบอ่านอยู่นานแล้ว) (ดีจังเลย)
I think I learn something from this Dhamma Talk. Thank to you K. Poopeh for holding on this chatroom.
พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า
“ดูก่อนภิกษุททั้งหลาย ภิกษุรูปใดยังสลัดทิ้งตอในใจ ๕ อย่างไม่ได้ ภิกษุนั้นจะถึงความเจริญงอกงามในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ได้เช่นเดียวกัน ตอในใจ ๕ อย่าง คือ
- ภิกษุเคลือบแคลงสงสัยไม่เลื่อมใสแนบสนิทในพระศาสดา ๑
- ภิกษุเคลือบแคลงสงสัยไม่เลื่อมใสแนบสนิทในพระธรรม ๑
- ภิกษุเคลือบแคลงสงสัยไม่เลื่อมใสแนบสนิทในพระสงฆ์ ๑
- ภิกษุเคลือบแคลงสงสัยไม่เลื่อมใสแนบสนิทในสิกขา ๑
และสุดท้าย
- ภิกษุโกรธเคืองน้อยใจ มีจิตกระทบกระทั่ง เกิดความกระด้างเป็นเหมือนตอ เกิดขึ้นในเพื่อนพรหมจรรย์ ๑,
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความหมั่นฝึกอบรม เพื่อการลงมือกระทำ ด้วยความพยายาม เหล่านี้ ย่อมเป็นตอในใจของภิกษุนั้น เป็นเหตุให้จะไม่ถึงซึ่งความเจริญงอกงาม ในธรรมวินัยนี้”
ซึ่งในสี่ข้อแรกนั้น เป็นเรื่องทั่วไปที่สำคัญซึ่งมักรู้กันอยู่แล้ว แต่ในข้อสุดท้าย พระพุทธเจ้าทรงเน้นในเรื่องของการขจัดความโกรธ ว่าถ้ายังทำไม่ได้ ยังผูกใจเจ็บ จะไม่สามารถก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมเลย(๑)

จบแล้วค่ะ ท่านออนไม่ได้แล้วค่ะ เครื่องมีปัญหา
thankyou na ka. K. Poopeh.
อ๋อค่ะ ขอบคุณคุณปูเป้
ครับสวัสดีครับ
๑ องฺ.ปญฺจ.๒๒/๒๐๕/๒๒๒ (เจโตขีลสูตร)




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2549    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 21:47:19 น.
Counter : 300 Pageviews.  

1  2  3  4  

กลุ่มต้นธรรม
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




* * * * * * * * * * * * * * * * * * *

อันเวลาอันนับไม่ได้ที่เราหมักหมมมานานแสนนานแล้วนั้นถ้าเราไม่เริ่มรู้เราก็ไม่เริ่มตัด ถ้าไม่ตัดก็ไม่เห็นปลาย และเวลาอันนับไม่ได้นั้นก็เป็นปลายที่ยังอยู่
web site hit counter
We keep fighting fires because we keep adding fuel.
We truly putout fires only when we remove their fuel.

ถึงโลกกว้างไกล ใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
มองโลกภายนอก มองออกไป
มองโลกภายใน คือใจเรา

Friends' blogs
[Add กลุ่มต้นธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.