εїз ต้นธรรม εїз เติบโตงดงามด้วยคุณธรรม
แหงนหน้ามองขึ้นใปจากโคนต้น เห็นรูปทรงแผ่ระย้ากิ่งสาขา จากร่มเงาแต่ละใบที่ได้มา เกิดจากว่าผู้มีใจไฝ่ในบุญ
Group Blog
 
All blogs
 
การถวายสังฆทาน 500127 (การสนทนาธรรมครั้งล่าสุดก่อนที่พระอาจารย์จะอาพาธหนัก)

สนทนาธรรมครั้งนี้เป็นครั้งล่าสุดที่ท่านปิยะลักษณ์ได้ขอพักเบรคเพื่อปฏิบัติธรรมเป็นเวลา 2 เดือน แต่เนื่องด้วยจากว่าท่านมีอาการอาพาธมาก่อนหน้านี้ และทรุดหนักลงทุกที ทำให้ช่วงนี้เป็นช่วงที่ท่านต้องรักษาตัว และคงใช้เวลามากกว่าสองเดือนเพื่อรักษาตัวให้หายดี จะได้สามารถกลับมาสนทนาธรรมต่อ

ด้วยอาการอาพาธของท่านปิครั้งนี้มีทุกขเวทนามากเหลือเกิน ขอให้ทุกๆ ท่านตั้งจิตอธิษฐาน น้อมกุศลผลบุญที่เคยได้ทำมาในอดีตอันยาวไกลหาที่สุดมิได้ และเช่นกัน ของท่านปิยะลักษณ์เองด้วย อุทิศให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายในทุกขเวทนาที่ท่านปิได้รับนี้ ขอให้ท่านเหล่านั้นอนุโมทนาบุญ ช่วยปัดเป่าทุกขเวทนาทั้งหมดของท่านปิให้สิ้นไป เพื่อที่ท่านปิยะลักษณ์จะได้มีโอกาสปฏิบัติกุศลเหตุและชี้ทางพระนิพพาน อันจะทำให้ทุกๆ ท่านมีความสุขยิ่งๆ กว่านี้

ขอให้ท่านปิพบหนทางรักษาที่ถูกกับโรคในเร็ววันเถิด


Chatธรรมวันเสาร์ เรื่องการถวายสังฆทาน
(เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๐)

ดวงดารามากมาย แต่หาทนอยู่ได้ตลอดไปสั says:
นมัสการท่านปิ ท่านเอก เจ้าค่ะ สวัสดีทุกๆ คนค่ะ

หนูนิดจ๊ะ *-* says:
กราบนมัสการเจ้าค่ะท่านปิ

นอร์ทthe-wealth-societyความมั่งคั่งไม่ใช่เงินตราที่เป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนคุณค่า หากแต่คือความสุขต่างหากที่เป็นคุณค่าแท้ says:
นมัสการพระคุณเจ้า และสวัสดีเพื่อนร่วมทางธรรมยามค่ำคืนทุกท่านครับ

ท่านปิบอกว่าพักสายตา 20 นาที ยังไม่มาเลย
วันนี้เป็นวันสุดท้ายนะคะที่ท่านปิจะแสดงธรรม อีกทีคงจะเป็นเดือนเมษาเลยถ้าท่านยังอยู่ ครั้งหน้าจะเป็นพระอีกรูป ได้นิมนต์ท่านไว้แล้ว ท่านใดมีคำถาม ถามได้เลยนะคะ

//gotoknow.org/planet/vacanet says:
กราบนมัสการ พระเอกชัย และพระปิยะลักษณ์นะเจ้าคะ

P*~ I +N~*K :กินอาหารหลากหลายมีผักผลไม้ 5 ชนิดต่อวัน อายุอ่ says:
นมัสการพระคุณเจ้าทั้ง 2

ขออนุญาตสอบถามเรื่องการทำสังฆทานครับ
ค่ะ เชิญถามได้เลยค่ะคุณนอร์ธ
ผมอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง เค้าบอกว่าหากทำสังฆทานจำเป็นต้องมีพระสงฆ์อย่างน้อย 4 รูปขึ้นไป หากน้อยกว่านี้ไม่ถือว่าเป็นการทำสังฆทาน และจะไม่ได้บุญ จริงไหมครับ เพราะปกติผมจะทำสังฆทานพระเพียงรูปเดียวเสมอเลยครับ
เค้ายังบอกอีกว่า พระรูปเดียวก็ได้ แต่ต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้น เลยอยากทราบเพื่อความกระจ่างแจ้งครับ

พระฐานจาโร says:
พระรูปเดียวเป็นการเจาะจงถวาย เรียกว่า ปุคคลิกทาน

กราบนมัสการท่านเอกชัยเจ้าค่ะ
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
นมัสการท่านเอกชัยครับ สวัสดีจ๊ะทุกคน
แล้วจะได้บุญไหมครับท่าน
เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความตั้งใจ(เจตนา)เป็นตัวกรรม
ดังนั้น ไม่ว่าท่านจะทำกุศลใด และได้กุศลนั้น ก็ขึ้นอยู่เจตนาค่ะ
นมัสการพระอาจารย์ครับ นิมนต์อธิบายเรื่องสังฆทานครับ
เรื่องของสังฆทาน มี ๒ นัย ที่ต้องพิจารณานะ
นัยที่ ๑ คือ คำว่าสงฆ์ในพระวินัยบัญญัติ
นัยที่ ๒ คือ วิธีการถวายสังฆทานตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
นัยที่ ๑ เราจะต้องทราบก่อนว่าคำว่า "สังฆทาน" นั้นมาจากศัพท์ ๒ คำ คือ สังฆะ+ทาน
คำว่า ทาน นั้นไม่มีปัญหา แปลว่า การให้ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า ทานมี ๒ อย่าง
(๑) คือ
๑. อามิสทาน (การให้วัตถุสิ่งของ) และ
๒. ธรรมทาน (การให้ธรรม)
ส่วนอภัยทานนั้น แม้จะใช้คำว่าทานเช่นกัน และพระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงไว้ในพระสูตรด้วย แต่ก็ไม่ได้ทรงจัดไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นการกล่าวผ่านไปในที่ทั่วไปเท่านั้น โดยมีความหมายเท่ากับคำว่า เมตตา ส่วนที่จะมีครบทั้ง ๓ นั้นกล่าวไว้ในอรรถกถาเท่านั้น
(๒)
ตอนนี้มาดูคำว่า สังฆะ หรือ สงฆ์ บ้าง คำว่า “สงฆ์” นั้น มี ๒ ความหมาย คือ ความหมายในทางพระวินัยอย่างหนึ่ง และความหมายในทางธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกัน
คำว่า “สงฆ์” ในทางพระวินัย ท่านใช้คำเต็มๆ ว่า “การกสงฆ์” ซึ่งหมายถึง หมู่สงฆ์ผู้กระทำกิจให้สำเร็จประโยชน์ตามพระวินัยบัญญัติ ซึ่งมีด้วยกันอยู่ ๔ ประเภท
(๓) คือ
๑. จตุวรรค คือ พระภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เป็นสงฆ์ผู้พร้อมกระทำกิจบางประการให้สำเร็จได้ เช่น การประชุมสงฆ์เพื่อกระทำอุโบสถกรรมทุก ๑๕ วัน(สวดปาฏิโมกข์) เป็นต้น
๒.ปัญจวรรค คือ พระภิกษุตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป เป็นสงฆ์ผู้พร้อมกระทำกิจบางประการให้สำเร็จได้ เช่น การประชุมสงฆ์เพื่อกรานกฐินให้สำเร็จ (โดยนัยแห่งอรรถกถา) หรือการบวชพระในถิ่นที่ขาดแคลนพระภิกษุ(ปัจจันตชนบท) เป็นต้น
๓.ทสวรรค คือ พระภิกษุตั้งแต่ ๑๐ รูปขึ้นไป เป็นสงฆ์ผู้พร้อมกระทำกิจบางประการให้สำเร็จได้ เช่น การประชุมสงฆ์เพื่อทำการบวชพระในถิ่นที่มีพระภิกษุบริบูรณ์(มัชฌิมชนบท) เป็นต้น
๔.วีสติวรรค คือ พระภิกษุตั้งแต่ ๒๐ รูปขึ้นไป เป็นสงฆ์ผู้พร้อมกระทำกิจบางประการให้สำเร็จได้ เช่น การประชุมสงฆ์เพื่อการอัพภาน(แก้อาบัติสังฆาทิเสสแก่ภิกษุ เพื่อรับเข้าหมู่ต่อไป) เป็นต้น
ทั้ง ๔ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นสงฆ์ในทางพระวินัยบัญญัติ เพื่อการกระทำกิจให้ลุล่วงไป เรียกว่า การกระทำสังฆกรรม
ตอนนี้มาดูความหมายในทางธรรมบ้าง คำว่า “สงฆ์” ในทางธรรมนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ด้วยกัน ๒ ลักษณะ คือ
๑. สมมติสงฆ์ ซึ่งหมายถึง หมู่แห่งภิกษุทั้งหลายที่ได้อุปสมบทแล้วอย่างถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติ
๒. อริยสงฆ์ หรือสาวกสงฆ์ ซึ่งมีด้วยกัน ๒ ประเภท คือ
๒.๑ หมู่แห่งภิกษุผู้ซึ่งได้บรรลุคุณธรรมชั้นสูง เป็นอริยบุคคลแล้ว คือ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป นี้อย่างหนึ่ง และ
๒.๒ หมู่แห่งคฤหัสถ์ชาวบ้านผู้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันขึ้นไปเช่นกัน นี้อีกอย่างหนึ่ง

(ครับ)
ฉะนั้นคำว่า “อริยสงฆ์” นั้น จึงมีทั้งที่เป็นคฤหัสถ์และบรรพชิต ซึ่งต่างก็เรียกว่า อริยสงฆ์ หรือสาวกสงฆ์ เช่นกัน
แต่ที่ต่างกันคือ ถ้าเป็นหมู่แห่งภิกษุผู้บรรลุธรรม เราเรียกว่า พระอริยสงฆ์ หรือพระสาวกสงฆ์ แต่ถ้าเป็นหมู่แห่งคฤหัสถ์ชาวบ้านผู้บรรลุธรรม เราเรียกเพียงว่า อริยสงฆ์ หรือสาวกสงฆ์ เท่านั้น (ไม่มีคำว่า “พระ” นำหน้า) เข้าใจไหมล่ะ

งั้นคำว่าสงฆ์ ไม่ใช่หมายถึงพระเท่านั้น
ถูกต้อง
ค่ะ
อ๋อครับ
สังฆะ คือ?
พระพุทธเจ้าตรัสว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ คู่แห่งบุคคล ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ ก็คือ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตนั่นเอง
อ๋อๆ จริงด้วยครับ สวดมนต์อยู่แท้ๆ
แต่แปลไม่ออก แม้แต่ภาษาไทยเอง
คำว่า สงฆ์ มาจากศัพท์ว่า สงฺโฆ ซึ่งแปลว่า หมู่ พวก หรือ กลุ่มชน ในภาษาไทยใช้คำว่า “สังคม” นั่นเอง
อ๋ออ กลุ่มคน งั้นเราเรียกพระรูปนี้รูปเดียวว่าพระสงฆ์ ก็ไม่ถูกเสียทีเดียวเหรอ
ควรจะเรียกว่า “พระภิกษุ” จะถูกต้องกว่า
อ๋ออ เจ้าค่ะ
ความจริงแล้ว คำว่า “สังฆทาน” นั้น ถ้าแปลโดยศัพท์ก็น่าจะหมายถึง การให้ทานแก่กลุ่มบุคคลทั้งหลายโดยไม่เจาะจงนั่นเอง เช่น ให้ทานเพื่อสร้างสะพาน สร้างถนนแก่ชุมชน หรือ สร้างศาลาให้พระภิกษุสงฆ์ก็ได้
แต่ในที่นี้ ในทางศัพท์บัญญัติ พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายไปที่การให้ทานแก่พระภิกษุสงฆ์เท่านั้น จึงจะเรียกว่า สังฆทาน
เอาล่ะ เมื่อเราเข้าใจความหมายของ "สังฆะ" และ "ทาน" แล้ว ตอนนี้ก็มาถึงวิธีการถวายสังฆทานบ้างว่ามีวิธีการอย่างไร อย่างไรจึงจะเรียกว่า สังฆทาน

เอาของให้พระรูปใดรูปหนึ่งแล้วก็บอกท่านว่านี่ถวายเป็นสังฆทานนะ (เอางั้นเลย)
คำว่า สังฆทาน นั้น พึงทราบว่า มีความหมายถึงการให้โดยเจตนาอุทิศแก่สงฆ์หรือให้แก่สงฆ์นั่นเอง โดยไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุผู้รับว่าจะเป็นใคร เป็นผู้ใด ไว้ก่อนล่วงหน้า อย่างนี้ท่านว่าเป็นสังฆทาน
อ๋อครับ
พระพุทธเจ้าทรงจำแนกทานที่ถึงแล้วในสงฆ์(สังฆทาน)ไว้ว่า มีด้วยกัน ๗ ประเภท (๔) คือ
๑. ถวายทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (พระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุณีสงฆ์) โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
๒. ถวายทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (พระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุณีสงฆ์) เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว หรือไม่มีพระพุทธเจ้า
๓. ถวายทานในพระภิกษุสงฆ์ (เมื่อไม่มีพระพุทธเจ้า)
๔. ถวายทานในพระภิกษุณีสงฆ์ (เมื่อไม่มีพระพุทธเจ้า)
๕. ถวายทานเจาะจง(จำนวน)พระภิกษุและพระภิกษุณี
๖. ถวายทานเจาะจง(จำนวน)พระภิกษุ
๗. ถวายทานเจาะจง(จำนวน)พระภิกษุณี
เอาล่ะ ครบล่ะนะ ตอนนี้จะอธิบายแต่ละข้อล่ะนะ
ในข้อแรก ๑. ถวายทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อันนี้พ้นสมัยแล้ว เพราะพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแล้ว ซึ่งในข้อแรกนี่นะ ไม่เจาะจงจำนวนพระผู้มารับ คือ
สุดแล้วแต่จะมารับ
๒. ถวายทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว หรือไม่มีพระพุทธเจ้า , ในข้อนี้ในปัจจุบันก็ไม่มีแล้วนะ เพราะพระภิกษุณีสงฆ์ที่บวชถูกต้องตามพระพุทธบัญญัตินั้นไม่มีแล้ว
๓. ถวายทานในพระภิกษุสงฆ์ ข้อนี้ในปัจจุบันยังมีอยู่ แต่จะต้องไม่ระบุจำนวน
๔. ถวายทานในพระภิกษุณีสงฆ์ ข้อนี้ก็ไม่มีแล้วเช่นกัน ดังได้อธิบายแล้วข้างต้น
๕. ถวายทานเจาะจง(จำนวน)พระภิกษุและพระภิกษุณี ข้อนี้ก็ไม่มีแล้วนะ เพราะไม่มีพระภิกษุณีแล้ว
๖. ถวายทานเจาะจง(จำนวน)พระภิกษุ ข้อนี้ยังมีอยู่ ซึ่งในข้อนี้ล่ะ หมายถึง การนิมนต์พระภิกษุกี่รูปก็ได้มารับเครื่องไทยธรรม โดยขอให้พระภิกษุรูปนั้นได้รับฉันทามติจากสงฆ์ให้มารับก็แล้วกัน
โดยท่านใช้คำว่า “เผดียง(ประกาศในท่ามกลาง) สงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖”
๗. ถวายทานเจาะจง(จำนวน)พระภิกษุณี ข้อนี้ก็ไม่มีแล้ว
จบละจ๊ะ

ฉันทามติจากสงฆ์ คือได้รับการเลือกจากพระรูปอื่นๆให้มารับ?
แสดงว่าถ้าพระรูปนั้นไม่ได้รับฉันทามติจากสงฆ์ ก็รับสังฆทานไม่ได้น่ะสิครับ
ถูกต้องจ๊ะ คือ ต้องไม่ใช่แอบมาเอง หรือขืนมาทั้งที่ไม่ได้รับอนุญาตจากสงฆ์ จะใช้ไม่ได้
ถ้าไม่มีใครอยู่วัด แล้วอยู่รูปเดียว และไม่ได้รับมอบหมาย ก็รับไม่ได้สิเจ้าคะ
ทุกครั้งที่มารับ จะต้องขออนุญาตทุกครั้งเลยหรือขอรับ
ตอนนี้การได้รับฉันทามติจากสงฆ์ให้มารับนี่นะ ในปัจจุบันก็มีวิธีการปฏิบัติอยู่หลายอย่าง เช่นว่า จัดให้มีภัตตุเทศก์ (พระผู้ทำหน้าที่จัดหาพระเพื่อรับกิจนิมนต์หรือสังฆทาน) เป็นต้น
อย่างนี้ ถ้าพระภัตตุเทศก์เป็นผู้ที่สงฆ์ยอมรับให้ปฏิบัติหน้าที่นั้นแล้ว พระภัตตุเทศก์จะอนุญาตให้ใครเป็นผู้ไปรับก็ใช้ได้ทั้งนั้น
หรือบางทีอาจใช้วิธีการจับสลากภัตต์(คล้ายๆ จับไม้สั้นไม้ยาว) หรือให้เรียงตามลำดับพรรษาไปเรื่อยๆ หรือเรียงตามลำดับรายชื่อ ตามแต่สงฆ์จะมีมติเห็นชอบร่วมกันก็ใช้ได้
หรืออาจใช้วิธีการแจ้งอนุญาตกันไว้ก่อนล่วงหน้าในหมู่สงฆ์ เช่น ตั้งกติกากันในหมู่สงฆ์ว่า ใครอยู่วัดในวันนั้น ใครว่างในวันนั้น หรือใครจะเป็นผู้ลงไปรับ ก็ยินดีทั้งนั้น อย่างนี้ก็ใช้ได้ ขึ้นอยู่กับมติในที่ประชุมสงฆ์เป็นสำคัญว่าเห็นสมควรตั้งกติกากันไว้อย่างไร ถ้าไม่มีภิกษุรูปใดคัดค้าน สงฆ์ทั้งมวลเห็นชอบร่วมกันก็ใช้ได้

อ๋อ มอบหมายหน้าที่กันเอาไว้
เชิญคุณนัฐค่ะ

น.น้ำใจดี (FM89.25Mhz) says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ

แล้วพระที่รับสังฆทาน จะต้องนำของที่ได้รับเข้ากองกลางทันทีหรือเปล่า แต่ในบางทีเห็นท่านถือกลับกุฏิล่ะเจ้าคะ
อันนี้อยู่ที่การตกลงกัน ถ้าคณะสงฆ์เห็นชอบว่าจะต้องนำเครื่องไทยธรรมที่ได้รับมาเข้าส่วนกลาง ก็ต้องนำเข้าส่วนกลางก่อน แล้วจึงขออนุญาตนำไปใช้ในภายหลัง
หรือ ถ้าคณะสงฆ์เห็นชอบว่า ภิกษุใดเป็นตัวแทนสงฆ์เป็นผู้มารับแล้ว ก็ขอให้สิทธิ์แก่ผู้นั้นในการอุปโภคบริโภคได้ตามแต่เห็นสมควร อย่างนี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับมติในที่ประชุมจะตกลงร่วมกัน
เช่น ภิกษุ ก. เป็นตัวแทนสงฆ์รับนิมนต์ไปฉันตามบ้าน ภิกษุรูปนั้นทั้งฉันภัตตาหาร ทั้งได้รับเครื่องไทยธรรมกลับมา ก็อาจเป็นเจ้าของสิทธิ์ในสิ่งทั้งหลายได้ คราวหน้าถึงคราวภิกษุ ข. ไปบ้าง ก็มีสิทธิเช่นเดียวกัน มิใช่ว่าจะต้องนำภัตตาหารนั้นมาแบ่งกันที่วัดก่อนจึงจะฉันได้ อย่างนี้เป็นต้น
ตัวอย่างทั้งหมดที่ยกมา เป็นการกล่าวถึงพระภิกษุผู้เป็นตัวแทนสงฆ์มารับสังฆทานนั้นเอง โดยสาระสำคัญคือ ต้องเป็นผู้ที่สงฆ์ยินยอมพร้อมใจให้มารับนั่นเอง
จะขอกล่าวถึงประเด็นนี้ให้ชัดสักนิดหนึ่งว่า การจะเป็นสังฆทานได้นั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่าได้แก่ "การถวายทักษิณาทานในสงฆ์ ๗ ประการ" ข้างต้นนะ ซึ่งหมายถึงทุกข้อล้วนแต่เป็นสังฆทานเสมอกัน ต่างกันเพียงว่าอานิสงฆ์แห่งทานไม่เท่ากัน เรียงลำดับจากข้อที่ ๑ มีอานิสงฆ์มากที่สุด แล้วลดลงมาตามลำดับ
โดยพระพุทธเจ้าตรัสในท้ายพระสูตรนี้ว่า "บุคคลถวายทานแม้แก่พระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นเหล่าโคตรภูภิกษุ แม้ในเวลานั้นทักษิณาที่ถวายในสงฆ์นั้น ยังมีอานิสงส์นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ โดยเราไม่กล่าวเลยว่า ปาฏิปุคคลิกทาน (การถวายเจาะจงพระภิกษุผู้นั้นผู้นี้) มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถวายในสงฆ์โดยปริยายใดๆ เลย"

แปลไม่ออกอ่ะ
จะขอแปลศัพท์ก่อนนะ คำว่า “โคตรภูภิกษุ” แปลว่า ภิกษุผู้มีเพียงผ้ากาสาวะพันคอเท่านั้น เป็นผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม
คำว่า “โคตรภู” นั้น ตามศัพท์แปลว่า ครอบโคตร ในที่นี้หมายถึง เป็นครึ่งบรรพชิตครึ่งคฤหัสถ์ หรือเป็นสมณะแต่เพียงชื่อ
(๕) เช่น พระภิกษุผู้ประพฤติไม่เรียบร้อย ไม่อยู่ในพระธรรมวินัย เป็นต้น เรียกว่า โคตรภูภิกษุ
แม่เป้ว่า โคตรภูภิกษุ คือ ผ้าเหลืองน้อย ห้อยหู
ที่ว่า โคตรภูภิกษุ คือ ผ้าเหลืองน้อย ห้อยหู ถูกต้องแล้ว เป็นสำนวนแปลในพระไตรปิฎกซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละฉบับ ซึ่งแปลยักเยื้องต่างกัน บางคนก็แปลว่า มีแต่ผ้าพันคอสีเหลือง มีแต่ผ้าพันข้อมือสีหลือง บางที่ก็ว่า มีตั่งหูเป็นผ้าเหลือง แต่ความหมายโดยรวมก็คือ มีความเป็นพระน้อยนั่นเอง
โห มีอานิสงส์นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แม้แต่คนเหล่านี้เหรอ
พระพุทธเจ้าตรัสในตอนท้ายว่า "... เราไม่กล่าวเลยว่า ปาฏิปุคคลิกทาน (การถวายจำเพาะเจาะจงภิกษุผู้รับ) มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถวายในสงฆ์โดยปริยายใดๆ เลย" นี้หมายความว่า การถวายทานโดยเจาะจงพระภิกษุผู้มารับนั้น มีอานิสงส์ไม่เสมอด้วยสังฆทานนั่นเอง
หมายความว่า ถึงถวายเป็นสังฆทาน แม้สงฆ์เหล่านั้นเป็นโคตรภูภิกษุ ก็มีอานิสงส์นับไม่ได้ อย่างนั้นหรือครับ
กล่าวอย่างตรงไปตรงมาตามพุทธวจนะนี้ หมายความว่า แม้การถวายทานโดยเจาะจงให้แก่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาลก็ตาม ก็ยังมีอานิสงส์ไม่เสมอด้วยสังฆทานนั่นเอง
อืมม เจ้าค่ะ
หมายความว่า ถ้าเจาะจงพระภิกษุผู้รับ แม้จะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้รับ ก็ยังมีอานิสงส์ไม่มากเท่าการถวายสังฆทานในปัจจุบันโดยอุทิศแก่สงฆ์ (ตั้งเจตนาให้แก่สงฆ์)
อานิสงฆ์คือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นใช่ไม๊เจ้าคะ
อานิสงส์ แปลว่า ประโยชน์หรือผลดีที่เกิดขึ้น หรือบุญที่เกิดขึ้น ก็ได้
บุญคืออะไร
“บุญ” แปลได้หลายความหมายนะ จะกล่าวถึงความหมายหลักก่อนนะ บุญ แปลว่า ความดีที่กระทำ, วิบากของกุศลกรรม, ผลของความดี, ความสุข, ภพอันน่าชื่นใจ, เครื่องชำระล้างสันดาน, ความบริสุทธิ์
โห ตู้พระไตรฯเคลื่อนที่
เช่นว่า ทำบุญ ได้รับบุญ เสวยผลบุญ บุญคือความสุข เข้าถึงบุญ(ภพอันประณีต) โอปาทิกบุญ
ทำอะไรชื่อว่าเป็นการทำบุญล่ะเจ้าคะ
ตอบสั้นๆ ว่า ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หรือโดยย่อได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ คือ ทาน ศีล และภาวนา นั่นเอง ในส่วนขยาย ๑๐ ข้อ เอาไว้ก่อนนะ
เชิญน้องส้มค่ะ
ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง says:
สวัสดีค่ะ

ตอนนี้ขอกลับมากล่าวถึงว่า ทำไมการถวาย “สังฆทาน” จึงมีอานิสงส์มากกว่า “ปาฏิปุคคลิกทาน” พระพุทธเจ้าทรงแสดงองค์ประกอบในการให้ทานว่า มีเจตนาเป็นสำคัญ อย่างที่ “คุณหนูนิด”กล่าวไว้ในตอนแรกว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ" ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ความตั้งใจ(เจตนา)เป็นตัวกรรม นี่คือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของกรรมนั่นเอง
พระพุทธเจ้าตรัสถึงองค์ประกอบในการให้ทาน
(๖) ว่าจะมีผลมีอานิสงส์มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
๑. ผู้ให้ทาน
๒. วัตถุทานที่ให้ และ
๓. ผู้รับทาน

คุณธรรมของผู้รับ ดั่งเนื้อนาบุญ ดูได้ง่ายๆ คือในหลวงของเรา
ตอนนี้ในส่วนของผู้ให้ทานนั้น เจตนาให้การให้นั้นสำคัญที่สุด ผู้ที่ให้ทานโดยเยื่อไยในบุคคล(ผู้รับ) เช่นว่า ให้กับพระที่เคารพนับถือ ให้กับพระที่ตนชื่นชอบ ให้กับพระดังๆ อย่างนี้มีอานิสงส์น้อย เพราะเจตนาในการให้ประกอบไปด้วยความตระหนี่หวงแหนในกลุ่มพวก จำกัดอยู่เฉพาะในบุคคลที่รัก เรียกว่ามี “วรรณมัจฉริยะ” ทำให้มีอานิสงส์น้อย
ไม่ต่างอะไรกับบุคคลที่รักกัน จะให้อะไรๆ ต่อกันสักเท่าไรก็ได้ แต่กับคนที่ตนไม่รักแล้ว แม้นิดหนึ่งก็ไม่อาจให้ได้

ให้เพราะเราชอบเท่านั้นเอง แบบนี้นำทุกข์มาให้ภายหลัง การถวายสังฆทานทำให้ตัดข้อนี้ไปได้
เช่นว่า สามีกับภรรยา บิดากับบุตร ญาติกับญาติ พี่กับน้อง เพื่อนกับเพื่อน คนรักกับคนรัก อย่างนี้ จำเพาะเจาะจงให้เท่าไรก็ให้ได้ เป็นหมื่นเป็นแสนก็ให้ได้ แต่พอเขาไม่ใช่คนที่เรารักนี่สิ ให้ได้ยากมาก
เช่นว่า แฟนกันให้เท่าไรก็ให้ได้ แต่พอเลิกกันเท่านั้น ทุกอย่างต้อง fifty-fifty บาทเดียวก็ขาดไม่ได้ เป็นต้น หรือให้กับขอทานสักสิบบาท คิดแล้วคิดอีก เดินไปแล้วก็เดินมา เดินมาแล้วก็เดินกลับไป ให้ไม่ลง เป็นต้น

โอ้ย แม้แต่ฟิฟตี้ฟิฟตี้ก็ยังไม่อยากเลย
ขอยกตัวอย่าง พระนางปชาบดีโคตมี พระน้านางของพระพุทธองค์ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการแสดงธรรมเรื่องอานิสงส์ของการถวายสังฆทานว่ามีอานิสงส์มาก
(๗) ดังนี้ คือ
ครั้งนั้น พระนางได้ทอผ้าเนื้อละเอียดคู่หนึ่ง โดยตั้งใจจะให้แก่พระพุทธองค์ในฐานะพระพุทธเจ้าและความเป็นบุตร(เลี้ยง)ที่แสนรัก (แม้แต่บุตรแท้ๆ คือ พระนันทเถระ ยังไม่ให้เลยนะ) พระองค์ทรงทอและเย็บด้วยพระหัตถ์เอง แล้วนำเข้าไปในท่ามกลางหมู่สงฆ์ถวายแก่พระพุทธองค์
พระพุทธองค์ทรงปฏิเสธตรัสว่า “ดูก่อนโคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์” พระนางทรงเสียพระทัยมาก น้ำพระเนตรจะหลั่งออกทูลอ้อนวอนถึง ๓ ครั้งต่อพระพุทธองค์ให้ทรงรับ แต่พระพุทธองค์ก็ทรงปฏิเสธ กลับตรัสว่า "พระนางจงถวายสงฆ์เถิด "
พระนางไม่รู้จะทำเช่นไร จึงน้อมคู่ผ้ามอบให้กับพระสารีบุตรช่วยรับ พระสารีบุตรก็ไม่รับ ให้กับพระโมคคัลลานะๆ ก็ไม่รับ พระเถระทั้งหลายไม่มีใครยอมรับเลยแม้แต่รูปเดียว พระนางให้ไปโดยลำดับจนถึงพระภิกษุเพิ่งบวชใหม่ในวันนั้นซึ่งเป็นพระรูปสุดท้าย แล้วก็น้อมคู่ผ้าถวายแก่พระภิกษุหนุ่มรูปนั้น พระภิกษุรูปนั้นได้รับผ้านั้นเอาไว้ พระนางก็ทรงโทมนัสหลั่งน้ำพระะเนตรสุดที่จะกลั้นไว้ได้ ไม่รู้จะทำเช่นไร

น้อยใจสุดๆ ดูเหมือนได้บุญน้อยสุด
แล้วยังไงต่อค่ะ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่พระนางถวายผ้านั้นแก่สงฆ์ (ไม่จำเพาะให้เฉพาะพระองค์ๆ เดียว) นั้น ชื่อว่า ได้ให้ทานนั้นเป็นไปแล้วในสงฆ์ และชื่อว่าได้ถวายแม้แก่พระองค์ด้วย แล้วตรัสอานิสงส์แห่งการถวายสังฆทานว่ามีผลมากมีอานิสงส์มาก หาประมาณมิได้
เชิญคุณวัฒน์ค่ะ
รู้จัก,เชื่อ,บังคับ,พอใจ,เคารพตัว says:
กราบ นมัสการ พระอาจารย์ กับ ท่านเอกชัยครับ หวัดดีครับเพื่อน ๆ ทุกท่าน

พระพุทธองค์ต้องการจะสอนพระนางว่า ไม่พึงจำเพาะเจาะจงผู้รับ ไม่พึงตระหนี่ในทาน พึงทำจิตให้กว้างใหญ่ไพศาลหาประมาณมิได้ในสงฆ์ทั้งหลาย อย่าได้จำเพาะพระภิกษุว่าต้องรูปนั้นรูปนี้ เพราะนั่นไม่ประเสริฐเลย
ภายหลังได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า พระภิกษุหนุ่มรูปนั้น ในอนาคตกาลไม่นานนัก จะอุบัติเป็นพระศรีอริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไปในภัททรกัปป์นี้ (นั่นหมายถึง พระภิกษุรูปสุดท้ายนี้คือพระโพธิสัตว์ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมีให้เต็มบริบูรณ์นั่นเอง) พระภิกษุหนุ่มรูปนั้น มีนามมังกรว่า "อชิตภิกษุ"
เป็นไง happy ending ไม๊

ตอนนี้ท่านอยู่ไหนน้อ อย่างนี้ท่านต้องตั้งจิตไว้เพื่อให้มาเกิดในยุคพุทธกาลด้วยหรือเปล่าเจ้าคะ
คงกำลังบำเพ็ญบารมีอยู่ที่ไหนสักแห่งหนึ่งล่ะ อาจอยู่ข้างๆ คุณก็ได้
เจ้าโมเช่(แมว)
เอ สงสัยคนอื่นๆ อ่านจนหลับไปหมดแล้วกระมัง เงียบจัง
อาจมีคนเล่นเกมอยู่ก็ด้าย
เดี๋ยวขอห้อยพระก่อนนะ กลัวผีหลอก
บางคนก็ซุ่มโจมตีด้วยรอยยิ้ม
ไหน สหายธรรม ช่วยส่งเสียงกันหน่อยซิ
ถามแล้วอ่ะ สงสัยเบื่อ ถามคนเลียว
อาห้อย ๆ กาจ้ากา อิอิ โย่
ท่านเอกชัย นิมนต์ออกจากสมาธิก่อน
ป้านพ อย่าเพิ่งไปซาวน่า
คุณพิ้ง อย่าเพิ่งคุยโทรศัพท์
คุณหนูนิด อย่าเพิ่งเขียนจดหมาย
คุณส้ม อย่าเพิ่งทาครีมกันแดด
ส่งเสียงกันหน่อย อะไรกัน ปล่อยให้พูดอยู่คนเดียว

ท่าน ป่าวค่ะท่าน
ตกลงว่า พอเข้าใจเรื่อง การถวายสังฆทาน แล้วนะ
สรุปอีกครั้งหนึ่งว่า จะเป็นสังฆทานได้ จะต้องไม่เจาะจงพระภิกษุผู้รับนะ ใครก็ได้ ขอให้เป็นตัวแทนจากสงฆ์มารับก็แล้วกัน ใช้ได้ทั้งนั้น จะกี่รูปก็ได้ ๑ รูป ๒ รูป ๔ รูป ๘ รูป กี่รูปก็ได้ เป็นสังฆทานทั้งนั้น ตรงนี้คนจะสับสนกับเรื่อง "การกสงฆ์" คิดว่า ต้องนิมนต์พระ ๔ รูปเป็นอย่างน้อยจึงจะเป็นสงฆ์ อันนั้นใช้เฉพาะกับการทำสังฆกรรมของพระภิกษุเท่านั้น เพื่อให้ครบตามพระวินัยบัญญัติในแต่ละกรณี ไม่ได้ใช้ในความหมายนี้
เราไม่ได้ไปร่วมทำสังฆกรรมกับท่าน ไม่ต้องไปเกี่ยวกับเรื่อง "การกสงฆ์ ๔ ๕ ๑๐ ๒๐" นะ อันนี้คนเข้าใจผิดกันมาก การถวายสังฆทานตามที่พระพุทธเจ้าแสดง ดังเช่นเรื่องพระนางโคตมีนั้นถวายรูปเดียว แต่ก็เป็นอันถวายสงฆ์แล้วนะ
พูดง่ายๆ ว่า ถ้าจะถวายสังฆทาน จะต้องไม่ระบุพระภิกษุผู้รับนั่นเอง โดยขอนิมนต์ตัวแทนสงฆ์กี่รูปก็ได้มารับ เข้าใจไหมล่ะ

เข้าใจครับ
แมวหมาได้ป่ะ ที่เอาไปปล่อยวัดกันน่ะ
หุหุ
ครับ อยู่ที่เจตนาของผู้ให้ทานครับว่าต้องการถวายโดยไม่เฉพาะเจาะจง ภิกษุสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง เจตนาต้องการถวายทานเพื่อสงฆ์
ถูกต้องแล้ว อย่างคุณนัฐว่า "ต้องการถวายโดยไม่เฉพาะเจาะจงภิกษุสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง เจตนาต้องการถวายทานเพื่อสงฆ์"
พระศรีอริยะ ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ ประเภทใดครับ? ปัญญา วิริยะ ศรัทธา
ท่านเป็นศรัทธาธิกะโพธิสัตว์
พระพุทธเจ้าของเรา บำเพ็ญบารมีมา 4 อสงไขย กำไรแสนกัปล์
โห ยาวนานจังเลย
ศรัทธาธิกะโพธิสัตว์ ทำไมถึงได้เรียกว่าเป็นศรัทธาครับ ผมประมาณเอาว่า ปัญญาธิกะ คือ จะเน้นเรื่องการบำเพ็ญด้านบารมี ส่วนวิริยะ เน้นด้านความเพียร ส่วนศรัทธา เน้นด้านความเชื่อมั่น ทำให้ระยะเวลาในการทำให้บารมีเต็มต่างกัน ใช่ไหมครับ
จะขอตอบคำถามของคุณนัฐ เรื่องพระโพธิสัตว์นิดนึงก่อนนะ พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระโพธิสัตว์นั้นว่ามี ๓ ประเภท (๘) คือ
๑. พระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญาแก่กล้า ศรัทธาอ่อน เรียกว่า ปัญญะธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขย กับแสนกัปป์ เป็นอย่างน้อย
๒. พระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญาปานกลาง เรียกว่า ศรัทธาธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขย กับแสนกัปป์ เป็นอย่างน้อย
๓. พระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญาอย่างอ่อน เรียกว่า วีริยาธิกะ ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขย กับแสนกัปป์ เป็นอย่างน้อย ตรงนี้พอเข้าใจนะ

เมื่อปัญญาน้อย ต้องอาศัยศรัทธามากขึ้น เมื่อปัญญาน้อยมาก ๆ ต้องอาศัยความเพียร เป็นเหตุปัจจัยใช่ไหมครับ วิริเยนะ ทุกขมัตเจติ
ส่วนเรื่องการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ๆ ไม่ว่าแบบใด ก็ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศทั้งสิ้น คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา (๙)
และจะขอขยายความ ให้เกร็ดความรู้อีกนิดหนึ่งนะว่า พระโพธิสัตว์ มี ๓ จำพวก คือ
๑. พระสัมมาสัมพุทธโพธิสัตว์ ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ผู้ตรัสรู้เอง แล้วประดิษฐานพระศาสนา
๒. พระปัจเจกโพธิสัตว์ ได้แก่ พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เอง แต่มิได้ประดิษฐานพระศาสนา
๓. พระสาวกโพธิสัตว์ ได้แก่ พระอรหันตสาวกทั่วไป
สำหรับเวลาในการบำเพ็ญบารมีนั้น
- ผู้ปรารถนาความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญบารมี อย่างน้อย ๔ อสงไขย ๑ แสนมหากัป
- ผู้ปรารถนาความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญบารมี อย่างน้อย ๒ อสงไขย ๑ แสนมหากัป
- ผู้ปรารถนาความเป็นพระอนุพุทธเจ้า (พระอรหันตสาวก) ต้องบำเพ็ญบารมี อย่างน้อย ๑ แสนมหากัป

งั้นถ้าเริ่มต้นตอนนี้ อย่างน้อย 1 แสนมหากัป ก็ได้เป็นพระอรหันตสาวก
โถ ใครจะไปรู้ล่ะ นี่อาจจะเป็นชาติที่ ๙๙,๙๙๙ มหากัปป์ของคุณเป้แล้วก็ได้ เรื่องนี้ไม่มีใครรู้ได้ ไม่ใช่ว่าจะนับหนึ่งเสียที่ไหนเล่า
ใครจะไปรู้ว่าชาตินี้ เราอาจได้บำเพ็ญบารมีมาเต็มที่พร้อมแล้วก็ได้ จึงไม่ควรประมาท เร่งทำความเพียรต่อไปให้เต็มที่ของตนก็แล้วกัน
เดี๋ยว ๆๆ ก่อนจะจบ ตกลงว่าเข้าใจเรื่องสังฆทานแน่แล้วนะ ใครยังมีข้อสงสัยอยู่บ้าง
คือ อย่าไปสับสนระหว่าง การนิมนต์เจาะจงพระภิกษุ(ว่ากี่รูปก็ได้) กับ การกสงฆ์ (องค์ประชุมของพระสงฆ์ในการทำสังฆกรรมตามพระวินัย) ก็แล้วกัน มันคนละเรื่องกัน การกสงฆ์เป็นเรื่องเฉพาะของพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ใช้สำหรับข้อบัญญัติในทางพระวินัยเท่านั้น ว่าจะทำสังฆกรรมเป็นสงฆ์ได้ต้องมีการกสงฆ์ในเรื่องนั้นๆ อย่างน้อย ๔ รูปขึ้นไป ข้อนี้ไม่เกี่ยวกันเลยกับเรื่องการถวายอุทิศแก่สงฆ์

ท่านคะ แล้วสังฆทานแบบที่วัดจัดไว้พร้อม แล้วเราไปแค่ทำบุญใส่ซอง ยังงี้จะได้บุญมะคะ
เจตนาของผู้ให้ทานเพื่อเป็นสังฆทานเป็นหลักครับ เพราะบางคนมีการโอนเงินเข้าบัญชีของทางวัด แล้วแจ้งไปว่าขอถวายเป็นสังฆทานก็มีครับ
ค่ะ งั้นสะดวกค่ะ วัดแถวบ้านพิ้ง เป็นแบบนี้ค่ะ
สวัสดีค่ะคุณท๊อป
Top says:
สวัสดีครับ
ถามว่าไรครับ

วันนี้เราคุยกันเรื่อง สังฆทานครับ
อ๋อ ครับ ขอโทษทีครับ
การถวายสังฆทานแบบที่วัดจัดไว้พร้อมนั้น เราไม่ได้ตระเตรียมสิ่งของเอง ฉะนั้น เจตนาจึงมีกำลังอ่อน และไม่ได้พิจารณาให้ดีในเรื่องสิ่งของที่จะถวาย ฉะนั้น จึงได้บุญน้อย และนั่นก็มิใช่การถวายสังฆทานที่เป็นเครื่องไทยธรรมนั้นๆ ด้วยนะ
คือ เราไม่ได้ให้ผ้า ให้สบู่ในถังนั้นจริงๆ เราเช่าถังมาใช้ แล้วมันเป็นสังฆทานวน (เอาถังมาวนไปวนมา แล้วก็ตั้งที่เดิม) เป็นการเข้าลักษณะการบริจาคเงินมากกว่า ไม่ใช่การถวายของ ฉะนั้น เราไม่ได้อานิสงส์จากการถวายของนั้นหรอก

ค่ะท่าน
แล้วสิ่งใดที่ไม่ควรถวายเป็นสังฆทานเจ้าคะ
ผมว่า มังสะ 10 อย่าง และบางอย่างต้องดูกาลิกที่จะขัดต่อพุทธบัญญัติ ใช่ไหมครับ
คุณเป้ถามว่า "สิ่งใดที่ไม่ควรถวายเป็นสังฆทานเจ้าคะ" ตอบว่า ก็สิ่งที่ไม่มีประโยชน์กับพระ หรือมีโทษกับพระนั่นเอง ไม่ควรถวาย สิ่งที่ไม่มีประโยชน์ เช่น หวี เสื้อ กางเกง เข็มขัด ผ้าถุง พวกนี้พระใช้ไม่ได้ (เอามาทำไม) ของไม่มีประโยชน์กับพระ ให้พระมา บุญจะเกิดได้ยังไง
ค่ะ
คือ ให้โดยไม่คิด
สิ่งที่เป็นโทษก็ยิ่งไม่ควรถวาย เพราะนอกจากจะไม่เป็นบุญแล้ว ยังเป็นบาปอีกด้วย เช่น การถวายเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด กับพระ ซึ่งเมื่อพระเสพแล้วจะก่อให้เกิดโทษตามมา
สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเป็น “ทานมัยกุศล” ได้ เป็นได้แต่ “ทานมัยอกุศล” คือ เกิดอกุศลจากการให้แทน

แสดงว่าบุญจะเกิดมาก อยู่ที่การมีประโยชน์มากต่อผู้รับด้วยใช่ไหมครับ?
บุหรี่นี่สุดฮิตสำหรับพระต่างจังหวัดเลย
ใช่จ๊ะ บุญจะเกิดมากน้อย องค์ประกอบที่ ๒ คือ เครื่องไทยธรรมนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่ได้มาโดยบริสุทธิ์(สุจริตธรรม) และมีประโยชน์(ไม่มีโทษ) (๑๐)
ถ้าอย่างนั้นผมขอถามนะครับ ถ้าเกิดเรามีการเตรียมของไปถวายสังฆทานเอง มีความตั้งใจที่จะให้สิ่งนั้นกับพระ แต่ถังยังตั้งอยู่ที่บ้าน แล้วมีเหตุที่จะต้องนำใช้ก่อน อย่างเช่น ยา หรือ ผ้าพันแผล แล้วค่อยมีการจัดคืนให้ภายหลัง อย่างนี้จะบาปหรือเปล่าครับ
อืม น่าคิดนะ
อ๋อ ไม่บาปหรอกจ๊ะ เพราะยังมิได้มีการถวายของนั้น สิทธิ์ในวัตถุนั้นยังคงเป็นของเรา ต่อเมื่อถวายไปแล้วนั่นล่ะ จึงไม่ควรไปยุ่งเกี่ยว
เอาล่ะมั๊งจ๊ะ คืนนี้
ดึกมากแล้วนะ
โอโฮ เที่ยงคืนกว่าแล้ว
ไว้แค่นี้ก่อนนะ

ครับ กราบลาครับ
ค่ะท่าน กราบขอบพระคุณท่านทั้งสอง
คืนนี้อาตมาขออำลาล่ะนะ อีก ๒ เดือนเจอกัน
สาธุค่ะ
ขอบคุณค่ะ
พบกันใหม่ น่าจะเป็นต้นเดือนเมษายนนะ ได้ทราบว่า สัปดาห์หน้าคุณแก้วได้นิมนต์ "ท่านบินก้าว" ไว้ให้แล้ว
อาตมาคงจะขอตัวสักระยะหนึ่ง เพื่อการเจริญภาวนาให้ยิ่งขึ้น และถือโอกาสได้พิจารณาทบทวนพระธรรมที่ได้ศึกษาไปให้ยิ่งขึ้นด้วย
ขอโอกาสทุกคนนะ

ค่ะท่าน
ครับ
ยินดีที่ได้มีโอกาสสนทนาธรรม online ทุกวันเสาร์มาเป็นเวลากว่า ๑/๒ ปี หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์บ้างตามแต่ความตั้งใจ และความปรารถนาของแต่ละบุคคล
ค่ะ
ครับ
ในท้ายที่สุดนี้ ขออาราธนาคุณแห่งพระรัตนตรัยพร้อมกับบุญกุศลที่เราท่านทั้งหลายได้ร่วมกันกระทำแล้วนี้ จงเป็นพลวปัจจัยอำนวยพรให้ทุกท่านได้มีกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญา ในการนำพาชีวิตของทุกท่านให้ได้ผ่านพ้นอุปสรรคปัญหา
มีปัญญาที่จะสามารถนำพาตนไปพ้นจากความทุกข์ มีความสุขยิ่งขึ้นไปในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สามารถชักนำชีวิตของตนให้ผ่านพ้นจากอุปสรรคปัญหาและสามารถนำพาให้บุคคลรอบข้างได้เข้าถึงความสุขได้ด้วยเช่นเดียวกัน

สาธุ
"ความสุขใด เสมอด้วยความสงบไม่มี" ขอให้ทุกท่านจงพบกับสันติสุขภายในด้วยกันทุกคนเทอญ
ค่ะ
สาธุค่ะ
ขออวยพรให้หลวงพี่มั่งได้ป่ะ ขอให้หลวงพี่เบิกบาน แจ่มใส ทั้งกาย และใจ
สุขภาพแข็งแรง
ขอบใจสำหรับคำอวยพรของทุกคนนะ
ขอให้คุณพระ(ธรรม)คุ้มครองหลวงพี่นะค่ะ เดินทางปลอดภัยตลอด ๒ เดือน
ขอนมัสการท่านเอกชัยด้วยนะครับ ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
เนื่องจากพี่เป้หาย ไหนไม่รู้ ขอปิดงานเลยนะค่ะ หลวงพี่จะได้พักผ่อน ขอให้ทุกคนกราบลาท่านปิพร้อมกันอีกครั้งค่ะ
สาธุ
สาธุ
สาธุ สาธุ สาธุ
เจริญพรทุกคนนะ ขอฝากพุทธภาษิตสำหรับสัปดาห์นี้ไว้ว่า
"ยอดแห่งมรรคา คือ อัษฎางคิกมรรค"
"ยอดแห่งสัจจะ คือ อริยสัจจะ ๔ ประการ"
"ยอดแห่งธรรม คือ ความปราศจากราคะ"
"ยอดแห่งมนุษย์ คือ พระผู้เห็นแจ้ง"

กราบลาค่ะ ราตรีสวัสดิ์ ลาทุกคนด้วยค่ะ
สุภาษิตทั้ง ๔ นี้ มาในพระธรรมบท หมวดว่าด้วยมรรค ทางดำเนินสู่ความบริสุทธิ์
.......
ออกไม่เป็น แฮะ

มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ (๑๑)
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐสุด

สจฺจานํ จตุโร ปทา
บรรดาสัจจะทั้งหลาย บททั้ง ๔ (อริยสัจ) ประเสริฐสุด

วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ
บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรมประเสริฐที่สุด

ทิปทานญฺจ จกฺขุมา
บรรดาสัตว์สองเท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐสุด

เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโญ ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา
ทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทรรศนะ ทางอื่นไม่มี

เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปชฺชถ มารเสนปฺปมทฺทนํ
ท่านทั้งหลายจงเดินทางนี้ ที่เป็นเครื่องกำจัดกองทัพมาร

เอตญฺหิ ตุมฺเห ปฏิปนฺนา ทุกขสฺสสนฺตํ กริสฺสถ
ท่านทั้งหลายเดินทางนี้แล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดังนี้

ลาจริงๆ ล่ะนะ ขอให้คุณพระคุ้มครอง
……………….…………………………………………



๑ องฺ.ทุก.๒๐/๓๘๖/๘๕
๒ สํ.ส.๑๕/๙๐๐/๒๗๓ (อรรถกถาแสดงทาน๓ ใน ขุ.จริยา.อ. ๓๓ หน้า ๖๑๘)
๓ วิ.ปริ.๘/๑๓๕๘/๕๑๐
๔ ม.อุ.๑๔/๗๑๒/๓๔๔ ทักษิณาวิภังคสูตร
๕ ม.อุ.อ. ๒๓ หน้า ๔๐๗ มมร.
๖ ม.อุ.๒๘/๙/๔๓
๗ เค้าเรื่องจากทักษิณาวิภังคสูตร ม.อุ.๑๔/๗๐๗/๓๔๒ ปรากฏเรื่องใน ปฐมสมโพธิกถา
๘ ขุ.เถร.อ. ๕๐ หน้า ๑๘ มมร.
๙ ขุ.เถร.อ. ๕๐ หน้า ๑๔-๑๙ มมร.
๑๐ องฺ.อฏฺฐ.๒๓/๑๒๗/๑๘๙
๑๑ ขุ.ธ.๒๕/๓๐/๓๕


ยังมีเนื้อหาการสนทนาธรรมที่มีเนื้อหาน่าอ่านก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากท่านปิยะลักษณ์อาพาธไม่สามารถตรวจทานเนื้อหาให้ได้ สามารถตรวจให้ได้แค่อันล่าสุดนี้ จึงยังไม่สามารถนำมาลงได้ ณ ตอนนี้




Create Date : 13 มีนาคม 2550
Last Update : 16 มีนาคม 2550 12:50:22 น. 0 comments
Counter : 470 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กลุ่มต้นธรรม
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




* * * * * * * * * * * * * * * * * * *

อันเวลาอันนับไม่ได้ที่เราหมักหมมมานานแสนนานแล้วนั้นถ้าเราไม่เริ่มรู้เราก็ไม่เริ่มตัด ถ้าไม่ตัดก็ไม่เห็นปลาย และเวลาอันนับไม่ได้นั้นก็เป็นปลายที่ยังอยู่
web site hit counter
We keep fighting fires because we keep adding fuel.
We truly putout fires only when we remove their fuel.

ถึงโลกกว้างไกล ใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
มองโลกภายนอก มองออกไป
มองโลกภายใน คือใจเรา

Friends' blogs
[Add กลุ่มต้นธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.