εїз ต้นธรรม εїз เติบโตงดงามด้วยคุณธรรม
แหงนหน้ามองขึ้นใปจากโคนต้น เห็นรูปทรงแผ่ระย้ากิ่งสาขา จากร่มเงาแต่ละใบที่ได้มา เกิดจากว่าผู้มีใจไฝ่ในบุญ
Group Blog
 
All blogs
 
อโหสิกรรม การทดแทนคุณบิดามารดา และการสร้างกุศลร่วมกัน 490909

อโหสิกรรมกันแล้วไม่ต้องรับกรรมต่ออีกนั้นเหรอ,

การตอบแทนคุณพ่อแม่อย่างไรจึงถือว่าเสมอกับบุญคุณที่ท่านมีต่อเรา

และทำไมเราจึงไม่ควรบอกว่าจะขอไม่เจอคนนี้แม้ในอีกชาติไหนๆก็ตาม


Chatธรรมวันเสาร์ เรื่องอโหสิกรรม การทดแทนคุณบิดามารดา และการสร้างกุศลร่วมกัน
(เมื่อวันที่ ๙ ก.ย. ๒๕๔๙)
สังขารา อะนิจจา says:
เกดมีคำถามนะค่ะ "สงสัยว่า การพูดว่าอโหสิกรรมเนี่ย สามารถทำได้จริงหรือเปล่า" หมายความว่า พูดว่าอโหสิกรรมแล้วจะไม่มีกรรมต่อกันอีกแล้วได้หรือไม่ค่ะ

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
อโหสิกรรมนั้นมีด้วยกันอยู่ ๒ ฝ่าย ถ้าทั้ง ๒ ฝ่ายต่างก็มีเจตนาที่จะอโหสิกรรมให้แก่กันและกัน ก็ถือว่า เป็นการให้อภัย ก็จะไม่มีการผูกเวรกันอีกต่อไป แต่ทว่า! ในส่วนของกรรมที่ได้กระทำไว้ก่อน ก็ยังคงมีวิบากกรรมที่จะได้รับอยู่ต่อไป
การอโหสิกรรมนั้น เป็นเรื่องของจิตใจของแต่ละฝ่าย ซึ่งเริ่มตั้งเจตนาที่จะไม่เบียดเบียนกันต่อไป แต่ส่วนของอดีตกรรมที่ทำมาแล้ว เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องมีผลตามมา

ถ้าคิดผิดทาง การวางตัวต่อกันก็จะผิด says:
คือเป็นเรื่องของการตั้งใจไม่จองเวรต่อกันอีกเท่านั้น แต่ผลกรรมด้านอื่นๆ ยังมีอยู่ และผลกรรมที่เป็นวิบากของจิตก็ยังคงมีอยู่ด้วย

ถูกแล้ว เรื่องของกรรมที่กระทำไว้ก่อนนั้น จะเป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม ก็ย่อมให้ผลด้วยตัวมันเองตามกฏของธรรมชาติ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเคยไปตีเขาไว้ แม้เราจะขออโหสิกรรมไปแล้ว และถึงแม้ว่าเขาก็อโหสิกรรมให้เราแล้วด้วย แต่ใจของเราก็ยังเศร้าหมองทุกครั้งที่คิดถึงเรื่องนั้น หรือผลของสิ่งที่เราทำลงไป เช่นว่า เขาเจ็บตัวไปแล้ว ก็มีผลเกิดขึ้นแล้ว ย่อมก่อให้เกิดผลส่งทอดไปในหลายระดับ สุดแต่จะเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

และบาดแผลเขาก็ยังมีรอยอยู่ กรรมทั้งหมดได้กระทำไปแล้ว ผลก็ยังมีอยู่ (เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว)
เช่นว่า บุคคลรอบข้างทั้งเราและเขาก็ย่อมรู้สึกไม่ดีต่อการกระทำของเรา เป็นเหตุให้ความสัมพันธ์แม้แต่กับบุคคลอื่นที่เราไม่รู้จักพลอยเสียไปด้วย ส่วนในเรื่องของผลที่จะตามมาในชาติต่อๆ ไปนั้น เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ยาก เพราะเป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยการอธิบายเหตุผล อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “กรรมวิปาโก” นั้นเป็น อจินไตย
แต่ก็ใช่ว่า การขอขมาหรือการขออโหสิกรรมนั้นจะเป็นเรื่องเล็กน้อยนะ เพราะการที่เราขออโหสิกรรมต่อเขานั้น ย่อมหมายถึง เราอาจจะไม่ต้องเกิดมาพบเจอเขาอีกต่อไป เพราะจิตของเราไม่ผูกพันธ์หรืออาฆาตจองเวรกับเขาอีกต่อไปแล้วก็ได้

ผลที่ส่งในชาติต่อไปนั้นเป็นวิบากกรรมที่จะเกิดขึ้นแก่จิตใช่ไหมเจ้าคะ แล้วการที่เขาให้อโหสิกรรมแก่เราแล้ว เรายังจะได้รับผล อย่างเช่น เราไปตีหัวเขา แล้วอนาคต(อนางอ) ข้างหน้า เราก็จะถูกดีหัวอยู่แน่ๆ



การทดแทนคุณบิดามารดา
เกดขอถามสักตัวอย่างนึงได้ไหมค่ะ มีคำถามใกล้ๆตัว "แล้วถ้าพ่อแม่เรา เลี้ยงเราแบบทิ้งๆขว้างๆ ทำให้เรารู้สึกอ้างว้างไม่มั่นคง แล้วเราไม่อยากให้ท่านเจอแบบเรา เราก็เลยอโหสิกรรมให้ท่านแบบนี้ หมายความว่าพ่อแม่ของเราก็จะไม่เจอใช่หรือไม่ค่ะ"
ไม่ใช่หรอกนะ พ่อแม่ที่ประพฤติไม่เหมาะสมด้วยเจตนาใด เจตนานั้นนั่นแหละย่อมจะส่งผลในอนาคตให้ได้รับวิบากแห่งกรรมนั้น แต่การที่เราให้อภัยท่าน นั้นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับตัวเราเอง
เทิด says:
ท่านปิพูดถูกแล้วครับ พ่อแม่นั้นถึงท่านจะเป็นเช่นไรท่านก็คือพ่อแม่เรา ต้องพยายามเข้าใจท่านให้มากกว่าสิ่งที่ท่านกระทำหรือเป็นอยู่เพราะเหตุผลใด พยายามหาสาเหตุแล้วถ้าแก้ได้ก็ช่วยท่านแก้ แต่ถ้าแก้ไม่ได้ก็ต้องปล่อยวางครับ
ที่เกดถามไม่ได้มีเจตนาจะว่ากล่าวพ่อกะแม่นะค่ะ เพียงแต่อยากบอกว่า "ไม่อยากให้ท่านเจอแบบเราจริงๆๆๆๆ"
โดยมากนะ พ่อแม่ทุกคนย่อมรักและห่วงใยลูก แต่บางครั้งด้วยความไม่รู้เท่าทัน เป็นเหตุให้เลือกตัดสินใจหรือกระทำบางอย่างที่ไม่เหมาะสมออกไป โดยที่ไม่รู้เท่าทัน ซึ่งถือว่าเป็น “กตัตตาวาปนกรรม” คือ กรรมที่ทำโดยไม่เจตนาให้เกิดผลอย่างนั้น ซึ่งเป็นกรรมที่จะให้ผลเล็กน้อย
ค่ะ เกดยอมรับ เมื่อก่อนโกรธพ่อกะแม่มากๆๆๆๆๆๆๆ จนได้เจอธรรมะของพระพุทธเจ้าจึงรู้ว่า "ท่านมีบุญคุณแค่ไหน" ตอนนี้ไม่โกรธ แต่เวลาคิดถึงวันเก่าๆ ก็รู้สึกใจเศร้าหมอง(บอกไม่ถูก)
เวลาเห็นพฤติกรรมอะไรที่ไม่ถูกใจเราหรือไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ ก็ต้องมองดูว่าอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอย่างนั้น เช่น เครียดเรื่องงาน เงิน คนหรือสภาพแวดล้อม
การระลึกถึงพระคุณที่พ่อแม่มีต่อเรานั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และเป็นคุณธรรมพื้นฐานของคนดีทุกคน
พระพุทธองค์ตรัสว่า “สปฺปุริสภูมิ ยทิทํ กตญฺญุตา กตเวทิตา”
การรู้คุณและตอบแทนคุณ เป็นคุณธรรมพื้นฐานของคนดี

และมีพุทธภาษิตว่า “นิมิตฺตํ สาธุ รูปานํ กตญฺญุตา กตเวทิตา”
ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี

คิดแต่สิ่งดีๆ ก็พอครับ สิ่งไม่ดีเป็นสิ่งเน่าสิ่งปฏิกูล เอามาคิดก็มีแต่ทุกข์ คนเราสำคัญที่สุดต้องรู้จักคำว่า ให้อภัยครับ แล้วเราก็จะเป็นสุขเสมอ
พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระคุณของพ่อแม่ว่า มีปริมาณที่มิอาจนับได้ และใช่ว่าบุตรจะสามารถตอบแทนพระคุณนั้นได้โดยง่ายเลย
พระพุทธองค์ตรัสว่า “ถึงแม้ว่าบุตรจะเอาพ่อแม่ทูนไว้บนบ่าทั้งสองข้าง ป้อนข้าวป้อนน้ำ ให้ถ่ายอุจจาระปัสสาวะรดตนเองตลอดชีวิต ก็ไม่สามารถทดแทนพระคุณของพ่อแม่ได้”

แต่การทดแทนอย่างหนึ่งที่ทำได้ คือ ให้คุณพ่อคุณแม่ได้ปฏิบัติธรรมเข้าใจในธรรมหรือเปล่าเจ้าคะ
แต่ตรัสว่า “บุตรคนใดเมื่อพ่อแม่ไม่มีศรัทธา(ในพระรัตนตรัย) ทำให้พ่อแม่เกิดศรัทธา พ่อแม่ไม่มีศีล ทำให้พ่อแม่มีศีล พ่อแม่ไม่มีจาคะ(ความเสียสละเผื่อแผ่แบ่งปัน) ก็ทำให้พ่อแม่มีจาคะ พ่อแม่ไม่มีปัญญา ก็ทำให้พ่อแม่มีปัญญา บุตรนั้นชื่อว่าได้ทดแทนพระคุณของพ่อแม่แล้วด้วยคุณที่เสมอกัน” (๑)
โดยแท้แล้ว พระพุทธองค์ทรงมุ่งหมายลงไปยัง การที่บุตรคนใดอาจทำให้พ่อแม่บรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลได้ บุตรนั้นจึงชื่อว่าได้ให้อมตธรรมแก่พ่อแม่ ซึ่งนับได้ว่า เป็นการทดแทนพระคุณของบุพพการีนั้นแล้ว ด้วยการบูชาคุณอย่างสูงสุด (เรียกว่า พ้นจากหนี้ชีวิตแล้วก็ว่าได้)

ถ้าท่านมีทิฐิที่ผิด อย่างเช่น ไม่เชื่อว่าโลกหน้ามีจริง ตายแล้วสูญ ทำอย่างไรจะให้ท่านมีทิฐิที่ถูกได้ (ยากจัง) ทำอย่างไรได้เจ้าคะ
สนใจคำถามพี่เป้มากๆๆเลยค่ะ
ถ้าท่านมีมานะมากล่ะ ทำอย่างไรดีเจ้าคะ
การจะเปลี่ยนความคิดของคนนั้นจะต้องค่อยๆ เป็นค่อยไป โดยการทำให้ดูเป็นตัวอย่างและพยายามคิดหาอุบายให้ท่านเห็นโดยไม่ไปบอกท่านตรงๆ ครับ ความจริงผมเองก็ไม่เชื่อว่าโลกหน้ามีจริงหรอก แต่ผมรู้ว่าผมต้องละความชั่ว ทำความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์เท่านั้น โลกหน้าจะมีหรือไม่ผมไม่สน เพราะผมเองมุ่งที่จะนิพพานในโลกนี้เท่านั้น แต่คำพูดผมเองก็ยังละ สักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่า กายเป็นของตน) ไม่ได้
ในข้อนี้เป็นเรื่องยากนะ ในการเปลี่ยนนิสัยใจคอหรือความเข้าใจของพ่อแม่ เพราะในฐานะบุตร พ่อแม่ย่อมเห็นลูกเป็นเด็กวันยังค่ำ การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องใช้เวลาบ้าง โดยเฉพาะความคิดของคนนั้นเปลี่ยนแปลงยากที่สุด เพราะปกติความคิดเห็นของคนเรานั้น อาศัยการสะสมเหตุปัจจัยมายาวนาน จึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายนัก
การเชื่อแบบนี้ทำให้เขาคิดว่าควรมีความสุขเท่าที่จะหาได้ ติดในวัตถุ ทำในสิ่งที่ตนชอบ ซึ่งไม่ได้เป็นประโยชน์แก่ตนด้วย (ดูหนัง ฟังเพลงไปเรื่อย)
ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสังเกต คือ ชีวิตของพระสารีบุตร ซึ่งท่านเองแม้จะเป็นอัครสาวกผู้เลิศในทางปัญญา ก็ยังไม่สามารถโปรดมารดาของตนซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิได้
จนกระทั่งวาระสุดท้ายนั่นล่ะ ท่านจึงสามารถโปรดโยมแม่ของท่านได้ โดยอาศัยการปรินิพพานของท่านเองนั่นล่ะเป็นอุบายในการโปรดโยมมารดาของท่าน (๒)

แล้วโยมแม่เชื่อได้ไงล่ะ
ปกติความตายของบุตรธิดานั้นเป็นเรื่องใหญ่ พระสารีบุตรท่านก็อาศัยความตายของท่านเป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้โยมแม่ของท่านใส่ใจฟัง คล้ายกับเป็นคำสั่งเสียครั้งสุดท้ายของบุตรของตน
งั้นปัญหาคือการไม่ยอมรับ ทำให้ไม่ยอมฟัง
ใช่ เพราะแม้พระสารีบุตรจะมีชื่อเสียงระบือไปทั่วชมพูทวีป แต่โยมมารดาก็ยังเห็นบุตรว่าเป็นบุตรวันยังค่ำ นี่ล่ะคือปัญหา เป็นสิ่งที่เราจะต้องรู้ไว้เป็นพื้นฐานเพื่อการวางใจได้อย่างถูกต้อง เพราะบางครั้งท่านอาจไม่ยอมรับฟังเรา
แล้วถ้ามีเพื่อนที่เข้าใจทุกอย่างแต่มีทิฐิเหมือนกัน คือ มิจฉาทิฐิ จะถือว่าเป็นกัลยาณมิตรหรือเปล่าเจ้าคะ
ผมว่าบางครั้งถ้าเรายึดคำว่า กัลยาณมิตรเต็มร้อย เราก็จะอยู่ในสังคมด้วยความลำบากใจครับ คงต้องเดินสายกลาง ขอให้เราเมตตาคนทุกคน แต่ไว้ใจคนบางคนเท่านั้น คบเพื่อนให้แยกออกเป็น ๓ ระดับ เพื่อนรู้จัก เพื่อนกินเที่ยว และเพื่อนแท้
คำว่า กัลยาณมิตรและวิธีการปฏิบัติต่อมิตรนั้น เป็นเรื่องสำคัญนะ คำว่า กัลยาณมิตร นั้น มีความหมายถึงเพื่อนที่ดีเท่านั้น คือ แนะนำกันไปสู่สิ่งที่ดี ส่วนวิธีการปฏิบัติต่อมิตร(ที่ทั้งดีและไม่ดีนั้น) เป็นอีกกรณีหนึ่งที่จะต้องศึกษา
PaNopอาสารับบริจาคของเล่นมือ 2 จ้า says:
เจ้าค่ะ

คิดว่าน่าจะเป็นหัวข้อในอาทิตย์ได้ครับ "วิธีการปฏิบัติต่อมิตร(ที่ทั้งดีและไม่ดีนั้น)"
ถ้าเขาทำทุกอย่างดีกับพ่อ คุยกับพ่อถูกคอ แต่สิ่งที่คุยเป็นการต่อว่าพุทธศาสนา เข้าใจผิดๆ อย่างนี้ก็ไม่ใช่ใช่ไหมเจ้าคะ ถ้าว่าไปแล้ว ไม่น่าให้คบด้วยหรือเปล่าคะแบบนี้
ให้จำไว้ว่า ผู้ไม่รู้ เรามีหน้าที่ต้องช่วยให้เขา เป็นผู้รู้ครับ ผมเองก็ยังเป็นผู้ไม่รุ้มาตั้ง ๓๓ ปี กว่าจะเข้าใจคำว่า พุทธบริษัท
หลักในการปฏิบัติต่อมิตร(ที่ทั้งดีและไม่ดี)นั้น มีหลักอยู่อย่างหนึ่งที่พึงจำเอาไว้ คือ ไม่มีใครเป็นคนสมบูรณ์พร้อม หรือดีไปเสียทุกอย่าง ฉะนั้น จะหาคนที่ดีเพียงส่วนเดียวนั้นจึงมิอาจหาได้ (เว้นแต่พระอรหันต์)
ฉะนั้น เราจึงควรยอมรับในบุคคลทั้งหลายว่า ก็ย่อมจะมีส่วนที่ดีบ้างไม่ดีบ้างเป็นธรรมดา

อืมม งั้นก็อยู่ที่คุณธรรมที่มีอยู่ในตัวด้วย เลือกคบส่วนดีเขา และถ้ารู้ว่าเขาไม่ดีอะไร ช่วยเดือนได้ก็เตือน เราเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งของตนเอง
การเปลี่ยนแปลงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในเวลาชั่วพริบตา อย่างผมเองได้อยู่ไกล้กับกัลยาณมิตรดีๆหลายท่านๆ เป็นเวลานานพอสมควรกว่าจะเข้าใจ
การเลือกคบมิตรที่ดีหรือกัลยาณมิตรนั้น เราจึงต้องเลือกเฟ้นเอาจากคุณธรรมในตัวเขา คือ เลือกคบสิ่งที่ดีในตัวเขา และกล้าที่จะปฏิเสธหรือไม่คล้อยตามสิ่งที่ไม่ดีในตัวเขา อย่างนี้เราจึงจะได้รับประโยชน์จากกัลยาณมิตรที่แท้จริง
จริงอยู่มงคลชีวิต ข้อ ๑ บอกไว้ว่า "ไม่คบคนพาล" แต่เราก็ต้องอยู่ในสังคมเดียวกันกับเขา เขาจึงต้องรู้จักวิธีที่จะคบด้วย
คำว่าสิ่งดีๆ ในตัวเขา คือ ไม่ใช่ว่าเขาทำให้เรามีความสุข คือ ทำตามสิ่งไม่ดีในตัวเรา
ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง says:
กัลยาณมิตร แปลว่าอะไรค่ะ

กัลยาณะ แปลว่า ดี งาม เจริญ หรือ เป็นที่ชอบใจ ก็ได้
ส่วนคำว่า มิตร นั้น โดยความหมายทั่วไป แปลว่า เพื่อน




การสร้างกุศลร่วมกัน

ขอถามเรื่องนึงได้ไหมค่ะ ถ้าเราไม่อยากเจอใครคนนึงที่เราไม่ชอบในชาติต่อไป เราต้องทำไงค่ะ คือว่าถ้าเราอโหสิกรรมให้แล้ว เราจะไม่เจอเขาหรือเปล่าค่ะ
พัฒนาตัวเองค่ะน้องส้ม แม้ว่าเจอ ก็จะไม่ทุกข์ไปกับความไม่ดีของเขา
ไม่ใช่ไม่อยากเจอความไม่ดีค่ะ แต่ว่าไม่อยากต้องผูกพันกันไปอีกต่างหาก
ทำไม คุณส้ม ถามงั้น
นั่นล่ะน้องส้ม ถ้าเราไปไกลกว่าเขา แม้ว่าต้องเจอก็จะไม่ทุกข์อีก ตอนนี้แม้ว่าจะไม่เจอก็คิดไปก่อนว่าจะทุกข์เมื่อต้องเจอเสียแล้ว
ทำไมค่ะ ถามแบบนี้ไม่ได้เหรอค่ะ คือ ถ้าเรารู้สึกผูกพันกับใคร ก็ต้องเจอกันอีกใช่ไหมค่ะ
ขอตัวก่อนนะค่ะ นมัสการหลวงพี่ และ สวัสดีทุกท่านค่ะ (พอดีร้านเนตปิดสี่ทุ่ม) - - ธ ร ร ม ส วั ส ดี ค่ ะ - - ^^- -
สังขารา อะนิจจา has left the conversation.

คุณเกดมาเล่นที่ร้านเน็ทเพื่อเข้าสนทนาธรรมโดยเฉพาะค่ะ(เขาบอกมาก่อนหน้านี้แล้ว)
LET GOooooooo ! says: Nong Orange. I can understand you.
เมื่อมีเหตุปัจจัย ก็จะต้องเจอกันค่ะ
เหตุปัจจัย หมายถึงอะไรค่ะ
อ๋อ รู้แล้วค่ะ ถ้าเราพัฒนาตัวเอง เราก็อาจจะไม่เจอคนที่เราไม่อยากเจอก็ได้ใช่ไหมค่ะ คือ ถ้าเรารู้สึกผูกพันกับใคร ก็ต้องเจอกันอีกใช่ไหมค่ะ (คำถามค่ะ )

ตามหลักพระพุทธศาสนา ถ้าเราผูกเวร(ด้วยโลภะหรือโทสะ) ไว้กับใคร เราก็จะต้องมาเจอเขาอีกนะ
there are a lot of factors. YOU can not control but just do the best you can and that is relax and let things run according to itself own cause.
ถ้าเราไม่ผูก ก็ไม่เจอเหรอค่ะ
อ่าว นี่มาเจอกันหมดเลยนะเนี่ยในห้องเนี้ย ตั้งหกคน ผูกอะไรไว้เนี่ย
ถ้าเราไม่ผูกพันเขาเลยนะ (เช่นไม่มีโลภะหรือโทสะกับเขาเลย) อย่างนี้เราก็อาจเจอเขาหรือไม่เจอเขาก็ได้ เพราะแม้เราไม่ผูกพันเขา แต่เขาก็อาจมาผูกพันเราแทน
หรือบางครั้งแม้เราจะไม่ผูกพันกับเขาโดยตรง แต่เราผูกพันอยู่กับลักษณะอะไรบางอย่างที่เขามี เราก็อาจจะเกิดมาเจอกับเขาหรือพบกับสิ่งนั้นๆ ก็ได้ เช่นว่า เราชอบในลักษณะรูปธรรมบางอย่าง เราก็ไปเกิดในภพที่มีรูปธรรมลักษณะอย่างนั้นๆ ก็ได้ (ตามหลักว่า กามาวจรจิต นำไปสู่ กามาวจรภูมิ เป็นต้น)

สวัสดีค่ะสิ่ว
S i e w says:
นมัสการหลวงพี่ครับ /สวัสดีครับทุกคน
ดีจ๊ะ
หวัดดีค่ะคุณสิ่ว
ดูแล้วเหมือน ไม่มีประโยชน์เลย ตกลงถ้าเราพัฒนาตัวเอง เราก็มีโอกาสไม่เจอกันสูงใช่ใหมค่ะ
อ้อ : ทัวร์ขสมก says:
อ๋อ ... ผมขอนมัสการพระคุณเจ้า และสวัสดีทุกคนนะครับ

การเจอกันนั้นบางทีหลีกเลี่ยงไม่ได้ มันอยู่ที่ตัวเราเองเท่านั้น ถ้าเกิดว่าต้องเจอกัน แล้วเราจะปฏิบัติต่อกันได้ถูกหรือเปล่า
ถ้าจะพยายามไม่เจอใครสักคนจริงๆ นะ ก็เรียกว่า ต้องไม่สร้างบุญสร้างบาปร่วมกันเลยล่ะคราวนี้ (แหม ทำไมโหดจัง)
แบบนี้ก็เรียกว่า ยังไงก็ต้องเจอเหรอค่ะ
yes..yes.. right !! Phra Khun Chao said that right thing.
ระวังอยู่อย่างนะ ถ้าเขาดีขึ้นพัฒนาตัวเองแล้ว เราไม่เจอเขา จะเป็นเช่นไร ถ้าเกิดว่าเราไปตั้งจิดไว้ว่าจะไม่เจอผู้นี้อีก(ซึ่งอีกหน่อยเขาจะเป็นพระพุทธเจ้าล่ะ)
แต่ที่พี่เป้บอก แบบนั้นเราก็ไม่ต้องเจอ ได้ซิค่ะ
ตอนนี้นั้น เรารู้สึกว่าเราไม่อยากเจอเขาอีก แสดงว่าเราไม่ได้พัฒนาตน เพราะเรามีโทสะอยู่
โดนเข้าไป
อ๋อ เปล่าค่ะ ถามเพื่อจะได้วางแนวทางความคิดถูกค่ะ การทำปัจจุบันให้ดีที่สุด ก็จะเกิดอนาคตที่ดีที่สุด คือเหตุไปผล แต่ถ้าเราวางผลไว้ก่อน แล้วค่อยทำเหตุล่ะค่ะ คือ เราไม่อยากเจอคนที่เราไม่อยากเจอ เราก็ต้องคิดว่าเหตุที่จะทำให้เป็นเช่นนั้นคืออะไร เหมือนที่พระพุทธเจ้าสอนจากผล ไป เหตุ
ไม่ดีเลย พระพุทธเจ้าตรัสสภาพจิตอย่างนี้ว่าเป็น “วิภวตัณหา” คือ ความต้องการพรากไปจากอารมณ์หรือสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ซึ่งความรู้สึกนี้จะเป็นเหตุก่อให้เกิดทุกข์ตามมาด้วยอำนาจแห่งความยึดติดถือมั่นในอารมณ์หรือบุคคลนั้น(ว่าเราไม่รักหรือเราเกลียดชัง เป็นต้น)
ผมว่าถ้าไม่อยากเจอใครสักคน ก็ต้องดูว่าเพราะเหตุใดครับ
เมื่อไม่อยากเจอ เหตุก็คือโทสะแล้วค่ะ
ถ้าเราตั้งใจไม่เจอจริง ก็ต้องกำจัดเหตุทั้งภายในและภายนอก
I think it just takes time to cure a person from pain.
อยากรู้จัง ต้องปฎิบัติถึงขั้นไหน ถึงจะไม่มีตัณหา ค่ะ
practice Vipassana
อรหัตตผล
เวลาเจอกันก็ให้มองเขาไปข้างในตัวเขาซึ่งเป็น ตับ ไต ไส้ พุงและก็ให้ปลงซะ ตรงนี้ก็คือกำจัดเหตุภายในใจเรา
ทีนี้ก็มากำจัดเหตุภายนอก ดูจากอายตนะภายนอกซึ่งก็คือ พยายามหลีกเสียง รูปและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเขาทั้งหมดไม่ว่าคนที่เขารู้จัก ปิดการรับรู้ทุกอย่าง
เมื่อรู้ว่าเคือง เมื่อรู้ว่าคิดถึงเขาไม่ดี ก็หยุดทันที หยุดๆๆๆ
คนที่พยายามปฎิบัติ ไม่ใช่มีความอยากหรือค่ะ (ตัณหา) สงสัยค่ะ
If a person who wants to practice Vipassana to kill their Tanha or kilesa, that is not Tanha. That is Panna ( Panya)
I believe Phra Khun Chao has a better answer than me.

ความต้องการที่จะฆ่ากิเสสนั้นไม่ใช่ตัณหาแต่เรียกว่าฉันทะหรือเปล่า ฉันทะเป็นความอยากในทางที่ดีที่อยากจะทำให้เกิดปัญญา
จ๊ะ ความต้องการในการทำลายกิเลสและภพชาตินั้นเกิดขึ้นจาก ปัญญา ไม่ใช่ ตัณหา
yes..yes.. yes.. yeahhhhhh!!!
แล้วฉันทะล่ะคะ
ฉันทะนั้นแปลว่า ความพอใจในอารมณ์หรืออะไรก็ตามที่เป็นเหตุแห่งความยินดีพอใจ ซึ่งฉันทะนั้น เป็นคำกลางๆ อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ กุศลฉันทะ กับ อกุศลฉันทะ
มีอกุศลฉันทะด้วยเหรอ
ในการที่เราต้องพบเจอกับใครบางคนนั้น เพราะอาศัยว่าเราได้เคยทำบุญทำกุศลร่วมกันมาโดยมาก ซึ่งหากแม้บางครั้ง เขาจะทำให้ใจช้ำใจไปบ้าง ก็ขอให้เข้าใจว่านั่นเป็นวิบากของเราเองที่ได้เคยทำไว้ในอดีต อย่าไปโกรธเขาเลย เพราะเขา(ผู้ที่ทำร้ายเรา) ก็เป็นเพียงเครื่องมือของกรรมเท่านั้น ที่ตามมาให้ผล
อืมมม เครื่องมือของกรรมเท่านั้น ที่ตามมาให้ผล ให้เราต้องรับวิบาก
ก็ไม่อยากเจอกันแล้ว นิค่ะ (ผิดด้วยเหรอ) แบบนี้ก็ต้องมีวิบากไปเรื่อย เหรอค่ะ
อย่าไปคิดว่าไม่อยากเจออีกให้เราช้ำใจเราเองเล่นๆ สิคะ ตอนที่คิดน่ะมันทุกข์ ตอนที่ไม่คิดก็ไม่ทุกข์ แล้วเราจะคิดไปทำไมให้ทุกข์ตัวเองเล่นๆ
เปล่าค่ะ แค่สงสัยค่ะ อยากรู้ค่ะ ว่าทำได้ไหม ถ้าไม่ได้ก็ไม่ซีเรียสค่ะ
ก็เข้าใจว่าไม่คิดน่ะยาก แต่ลองถามสิว่าคิดไปทำไม อะไรเป็นเหตที่ทำให้เราคิดถึง
ก็แค่อยากรู้ค่ะ จะไม่คิดก็ได้ค่ะ คนเราสามารถแยกได้ว่าช่วงไหนปล่อยให้คิด ช่วงไหนไม่คิดค่ะ
เหมือนๆ กับเมื่อเราพบเจอใครบางคนที่ดีกับเรา นอกจากเราจะขอบใจเขาแล้ว โดยแท้จริง เราควรขอบใจตัวเราด้วยต่างหากที่ได้เคยสร้างกรรมดีเอาไว้ ทำให้เขาถูกกรรมดลใจหรือใช้เป็นเครื่องมือในการทำดีกับเราด้วยเช่นเดียวกัน
อ่าว น่อ เขาเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราได้กุศลวิบากเน้อ
yes..yes. yes.. right PKC.. This is how I met my friends.
ในส่วนของผู้ที่ทำดีกับเรา เขามีเจตนาในการทำกุศลนะ แล้วเขาก็ได้สร้างกุศลกรรมไว้ด้วย แต่ในอีกด้านหนึ่ง เขาก็ถูกกรรมจัดสรรให้มาทำดีกับเรา แทนที่จะไปทำกับคนอื่น อย่างนี้เข้าใจไหมจ๊ะ
แต่เมื่อพบเจอใครบางคนที่ดีกับเรา เราพอใจ แต่ก็อาจนำมาซึ่งความทุกข์ได้ เพราะความพอใจ ใช่เปล่าค่ะ เพราะการมีความสุข ขณะเดียวกันก็คือสร้างกำแพงแห่งความทุกข์ หรือเปล่าค่ะ
เอวัง ก็มีด้วยประการละชะนี้
เอวัง
จะจำวัดแล้วเหรอเจ้าคะ
คำว่า เอวํ แปลว่า ดังนี้แล หรือด้วยประการฉะนี้ ไม่ใช่จะจำวัดแล้ว ??
..........................................................................

ที่ว่าได้รับสุขเวทนา นั่นสมควรได้รับเพราะได้ทำมาแล้ว แต่ที่ว่าเป็นทุกข์เพราะตัณหาที่เราไปยึดความสุขนั้นไว้ ใช่ป่าว
อันนี้ต้องแยกเป็น ๒ ด้าน คือ
สุขหรือทุกขเวทนาทางกาย ย่อมเกิดขึ้นจากกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบากส่งผล แต่สำหรับสุขหรือทุกขเวทนาทางใจ(โสมนัสหรือโทมนัส) นั้น ยังแยกออกมาได้เป็นอีก ๒ ระดับ คือ
- ในขั้นกามสุข คือ สุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความสมหวังและผิดหวังต่อกามคุณอารมณ์ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอำนาจแห่งการปรุงแต่งในใจเรา ได้แก่ ตัณหา๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา นั่นเอง และ
- ในขั้นนิรามิสสุข คือสุขและทุกข์ที่เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยกามคุณอารมณ์ ในกรณีนี้เมื่อพ้นจากอำนาจกามแล้ว จิตย่อมเป็นอิสระจากกามคุณอารมณ์ ย่อมไม่มีทุกข์เพราะการปรุงแต่งอันเป็นไปในกามคุณอารมณ์เลย แต่กลับมีความสงบในจิตใจเกิดขึ้นแทน เช่น สุขที่เกิดจากการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ความมีจิตสงบเป็นสมาธิ หรือสูงขึ้นไปถึงขั้นเกิดปัญญาเห็นชีวิตและสังขารตามที่เป็นจริง จนจิตเป็นอิสระเหนือสิ่งทั้งปวงได้
ส่วนความทุกข์ที่มีในทางใจที่พ้นไปจากอำนาจของกามคุณอารมณ์นั้น ก็เป็นความทุกข์ที่ประณีตบางอย่าง ซึ่งคนทั่วไปไม่ค่อยรู้จัก หรือให้ความใส่ใจเท่าไรนัก
เช่น ทุกข์จากการต้องการความสงบในทางใจ เช่นว่า อยู่ในที่ๆ วุ่นวาย ต้องแก้ปัญหาอะไรต่างๆ มากมาย เป็นต้น หรือทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการต้องการความรู้ ต้องการปัญญา เพื่อความเป็นผู้แตกฉานในธรรม หรือทุกข์แฝงอย่างเช่น การถือเนื้อถือตัว การยึดถือในความเห็นของตน การดูหมิ่นผู้อื่น เหล่านี้ก็ล้วนเป็นความทุกข์ที่ไม่อาศัยกามคุณอารมณ์เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นความทุกข์ที่ประณีตที่คนทั่วไปไม่ใคร่ให้ความใส่ใจ หรือเห็นว่าเป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข

..........................................................................

ยังไม่มีใครตอบคำถามข้างบนเลย ( สงสัย )
เรื่องอะไรล่ะ
เพราะความพอ คงมะทำให้เราเป็นทุกขึ้นนะคะ คุณส้มขา
แต่เมื่อพบเจอใครบางคนที่ดีกับเรา เราพอใจ แต่ก็อาจนำมาซึ่งความทุกข์ได้ เพราะความพอใจ ใช่เปล่าค่ะ เพราะการมีความสุข ขณะเดียวกันก็คือสร้างกำแพงแห่งความทุกข์ หรือเปล่าค่ะ แบบนี้เราจะวางใจยังไงค่ะ
สงสัยเยอะไปเปล่าค่ะ

นั่นเลย ว่าจะถามพอดี สุขแล้วไปทุกข์ เพราะสุขนั้นคืออะไร???
ความทุกข์ที่น้อยลง..ค่ะ
สุขและทุกข์เป็นของคู่ เป็นโลกธรรม การมีสุขนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ดีเพราะอาศัยกุศลวิบากส่งผลส่วนหนึ่ง(ในทางรูปธรรม) อาศัยการปรุงแต่งในจิตใจอย่างถูกต้องส่วนหนึ่ง(ในทางนามธรรม) การมีทุกข์ก็เป็นสิ่งตรงข้ามกัน
พระพุทธองค์ทรงยอมรับถึงสภาพความเป็นจริงของโลก ว่าย่อมให้สุขและทุกข์คละเคล้ากันไป และก็ไม่ทรงปฏิเสธความสุขนะว่าไม่มีอยู่จริง โดยแท้ความสุขนั้นก็มีอยู่จริงและมีอยู่หลายระดับ(ดังที่ได้กล่าวแล้ว) เช่นเดียวกับความทุกข์ซึ่งก็มีอยู่จริงและมีอยู่ด้วยกันหลายระดับเช่นเดียวกัน
ในด้านของความสุขนั้น เราไม่พึงมองโลกในด้านเดียว บางคนบางครั้งก็มองโลกแต่ในแง่ร้าย หรือเห็นว่าชีวิตนั้นมีแต่ความทุกข์ ไม่มีความสุขเลย
แต่ในหลักของพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ไม่ทรงให้เราปฏิเสธต่อความสุขเลยนะ แต่กลับให้เรายินดีในความสุขนั้น และปฏิบัติต่อความสุขที่เกิดขึ้นนั้นอย่างถูกต้อง โดยการพัฒนาความสุขของเราให้เข้าถึงความสุขอันประณีตขึ้นไปโดยลำดับ
เราอย่าเข้าใจว่า พระพุทธองค์สอนให้เราปฏิเสธความสุขนะ มิฉะนั้นจะขัดแย้งกับหลักพระพุทธศาสนานะ

ปฏิบัติต่อความสุขนั้นอย่างถูกต้อง และใช้พัฒนาตนให้เกิดปัญญาเพื่อรู้รับความสุขได้ตรงตามความเป็นจริง?
แต่ตามสภาพใจ ตามปกติเราก็มักจะติดอยู่ในความสุขไม่ใช่เหรอ เมื่อติด ไม่ใช่ยึดเหรอค่ะ
ผมว่าการที่เราทำดีกับคนอื่นก็เพื่อให้ใจเราเป็นสุขครับและพอใจเราเป็นสุขแล้วเราก็จะมีสมาธิซึ่งนำไปสู่การเกิดปัญญาเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน “เทวทหสูตร” ว่า (๓)
๑. ไม่พึงนำทุกข์มาทับถมตนเองที่มิได้เป็นทุกข์
๒. ไม่พึงละทิ้งความสุขที่เกิดขึ้นโดยชอบธรรม
๓. แต่แม้ความสุขที่เกิดขึ้นโดยชอบธรรม ก็ไม่พึงสยบ ลุ่มหลง และมัวเมา (อยู่ในอำนาจ) และ
๔. เมื่อเธอรู้ว่า เหตุแห่งทุกข์ยังมีอยู่เพียงใด ก็พึงพากเพียรเพื่อกระทำเหตุแห่งทุกข์นั้นให้สิ้นไปให้ได้ หรืออีกสำนวนหนึ่งว่า
เมื่อรู้ว่ายังมีความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก ก็พึงเพียรพยายามเพื่อเข้าถึงความสุขอันประณีตยิ่งขึ้นไปนั้นให้จงได้ (เพื่อเข้าถึงความสุขที่ประณีตสูงสุด)

ต่อสู้กับกิเลสไปเรื่อย “วิริเยน ทุกฺขมจฺจติ”
yeahhhhh
ใช้สุขให้เกิดสุขยิ่งๆขึ้นไป ตาลายยยยยยย
เอาล่ะมั๊งจ๊ะ คืนนี้
ครับ ผมก็ว่าจะไปเหมือนกัน
Oh!! old people like me have to go to sleep. Namasikara PKC Piyalak and everyone. Good night na ja.
โอ ทำงานไม่เสร็จเลย
นมัสการลาครับ
สงสัยเพลินไปหน่อย
คุณส้ม คุณเป้ คุณนพ คุณอ้อ คุณชิน คุณสิ่ว และคุณเทิดเกียรติ์ ขอให้ทุกคนมีความสุข มีความเบิกบานใจ
แล้วอย่าลืมนะ! เข้าถึงความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไปด้วยความพากเพียร และกระทำเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไปให้จงได้ (เพื่อเข้าถึงความสุขที่ประณีตสูงสุด)

กราบขอบพระคุณท่านพระปิฯ ครับ
namasikara ka.
นมัสการพระคุณเจ้าครับผม
โอ ลงทุนเขียนชื่อทุกคนเลย.. ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำตอบวันนี้ ที่พี่เพื่อนทุกคนช่วยกันตอบค่ะ
เอ้า ไหว้พระกันคนละสามที
อย่าลืมสวดมนต์ก่อนนอนนะครับทุกท่าน แล้วท่านจะนอนหลับฝันดีตลอดคืนเลย
ท่านปิก็ช่วยนำทางด้วยเจ้าค่ะ
(เพื่อเข้าถึงความสุขที่ประณีตสูงสุด). ปฎิบัติลูกเดียวเลย
ขอให้ทุกคนมีจิตใจที่แจ่มใสเบิกบาน และ see you again in next week
ของแบบนี้ ก็ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน .. สู้ตายค่ะ
แผ่เมตตาด้วยก็จะยิ่งดีครับ แค่ ๓ นาทีเท่านั้น
ใครมีเมตตาบ้างค่ะ ช่วยติว stat ให้หน่อย
ผมเองก็กำลังอ่าน Basic อยู่ครับ
ช่วยติวหน่อยซิค่ะ. ใครก็ได้ ที่มีเมตตา ไม่ต้องถึงขั้นอรหันต์. ก็ได้ อวยพรให้หน่อยค่ะ สอบวันจันทร์
We have a cry baby in this Chat room hahahahha
๑ องฺ.ทุก.๒๐/๒๗๘/๖๙
๒ สํ.ม.๑๙/๗๓๓/๑๗๘ (อรรถกถาจุนทสูตร เล่ม ๓๐ หน้า ๔๒๖ มมร.)
๓ ม.อุ.๑๔/๑/๑ (เทวทหสูตร)



Create Date : 10 ตุลาคม 2549
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 21:46:03 น. 0 comments
Counter : 439 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กลุ่มต้นธรรม
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




* * * * * * * * * * * * * * * * * * *

อันเวลาอันนับไม่ได้ที่เราหมักหมมมานานแสนนานแล้วนั้นถ้าเราไม่เริ่มรู้เราก็ไม่เริ่มตัด ถ้าไม่ตัดก็ไม่เห็นปลาย และเวลาอันนับไม่ได้นั้นก็เป็นปลายที่ยังอยู่
web site hit counter
We keep fighting fires because we keep adding fuel.
We truly putout fires only when we remove their fuel.

ถึงโลกกว้างไกล ใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
มองโลกภายนอก มองออกไป
มองโลกภายใน คือใจเรา

Friends' blogs
[Add กลุ่มต้นธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.