εїз ต้นธรรม εїз เติบโตงดงามด้วยคุณธรรม
แหงนหน้ามองขึ้นใปจากโคนต้น เห็นรูปทรงแผ่ระย้ากิ่งสาขา จากร่มเงาแต่ละใบที่ได้มา เกิดจากว่าผู้มีใจไฝ่ในบุญ
Group Blog
 
All blogs
 

การวางใจต่อการที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน 510120

ธรรมะ Online บ่ายวันอาทิตย์
เรื่อง การวางใจต่อการที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน
(วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๑)

ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร

เป้ says:
เชิญน้องหนิงค่ะ

And that's just the way it goes..living by what they send you and Falling Awak says:
สวัสดีค่ะ

เชิญพี่ธนวัฒน์ค่ะ
my-littlebird@hotmail.com says:
        กราบนมัสการพระอาจารย์ และสวัสดีทุกท่านครับ วันนี้เรามีเรื่องอะไรบ้างครับที่จะคุยกัน?..

เชิญคุณแหม่มค่ะ
worathep says:
นมัสการพระคุณเจ้า และสวัสดีทุกคนค่ะ

เชิญน้องส้มค่ะ
        ผมมีเรื่องค้างคาใจนานแล้วครับ ขออนุญาตนมัสการเรียนถามพระอาจารย์ด้วยครับ... ผมรับรู้ในธรรมดาของชีวิต แต่บางครั้ง จิตใจไม่ผ่องใส หรือถึงอุเบกขาได้... เช่น เค้าฆ่าสัตว์ ผมจะได้ยินเสียงร้องทุกคืนครับ ใจก็เศร้า และรับรู้ว่าเราก็ทำไรไม่ได้
       เห็นด้วยค่ะ บางทีเราก็ช่วยสัตว์ในวิธีที่เราช่วยได้ แต่สัตว์ก็ยังทรมานทุกวัน จิตใจก็เศร้า
บ้านผมใกล้โรงเชือด น่าเศร้าแท้ๆ มันย้ายมาใกล้เองนะครับ
       เช่น ในโรงฆ่าสัตว์ที่เขาเลี้ยงและฆ่าแบบทรมาน การใช้สัตว์ทดลอง หรือในประเทศจีนที่เขาฆ่าหมาเอาเนื้อ เห็นวีดิโอแล้วร้องไห้ หรือในแคนาดาที่เขาตีแมวน้ำเพื่อเอาขน แล้วถลกหนังเป็นๆ
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
       ในที่นี้ เราต้องรับรู้ความเป็นธรรมดาของชีวิต ที่แต่ละชีวิตย่อมมีวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ฉะนั้น บางครั้งสัตว์ทั้งหลายต้องตายเป็นจำนวนมากก็ด้วยอดีตกรรมที่เขาสร้างมา (๑) อีกประการหนึ่ง ผู้ที่กระทำอย่างนั้น เช่น ฆ่าสัตว์เป็นต้น นั่นก็เป็นวิถีการดำเนินชีวิตของเขาอย่างนั้น ซึ่งเป็นไปตามจิตสำนึกที่มีระดับขั้นของการพัฒนาปัญญาที่แตกต่างกันออกไป
เคยเห็นเขาเลี้ยงห่าน โดยวิธีที่โหดร้ายมาก ทำไปเพื่อเอาตับห่านก้อนโตๆ
       ใช่ เขาขังห่านไว่ในกรงที่ขยับตัวไม่ได้ ยืนก็ไม่ได้ แล้วปั๊มอาหารหลายมื้อต่อวันลงคอ เพื่อให้ตับมีขนาดใหญ่ เอาไปให้คนกิน จนห่านมันพิการ
       เขาจะเอาท่อเหล็กใส่เข้าไปในคอ แล้วอัดอาหารลงกระเพาะ เป็นเม็ดข้าวโพด บางตัวทนไม่ไหวจะอาเจียน บางตัวก็ท้องเสียตลอด
       บางครั้ง เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของบุคคลและสัตว์ทั้งหลายได้ ตราบเท่าที่เรามีความสามารถที่จำกัด และตราบใดที่บุคคลนั้นยังคงมีทัศนคติต่อการกระทำนั้นๆ ว่าเป็นสิ่งที่ดีงามอยู่
       ฉะนั้น การจะเปลี่ยนแปลงบุคคลอื่น จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากเสมอ จนกว่าเมื่อไรที่เขาเหล่านั้นจะได้อยู่ใกล้ท่านผู้มีปัญญา และได้รับการพัฒนาระดับความรู้ขึ้นมาโดยลำดับ ตราบนั้น เขาจึงจะเปลี่ยนวิถีชีวิตของเขาได้

ทรมาน ความโหดร้ายเหล่านี้มันเกิดขึ้นทุกวัน
เราจะแก้ที่ใจเราเองอย่างไรดีครับ ใจมันไม่เฉย ความเศร้าหม่นหมองก็รบกวนใจอยู่...
       สัตว์ต่างๆ ที่ต้องตายตกไปตามกัน และจะเป็นเช่นนี้ตราบเท่าที่ชีวิตยังคงเป็นไปอยู่ กรรมที่กระทำไว้ก็ย่อมส่งผลให้ได้รับวิบากแห่งการกระทำเรื่อยไป ตราบเท่าที่สังสารวัฏยังคงดำเนินไป วันนี้เป็นผู้ถูกกระทำ วันหน้าก็อาจตกเป็นคราวของผู้กระทำบ้างก็ได้
คุณพระบอกว่าสัตว์ต้องทรมานเพราะเป็นกรรมเหรอคะ
       สัตว์ที่ต้องตายไปนั้น ก็เป็นวิบากกรรมของเขา แต่ผู้กระทำนี่สิ เป็นการสร้างกรรมใหม่ให้แก่ผู้นั้นเลยทีเดียว (๒)
       งั้นถ้าเราจะมามองว่า เราไม่สามารถเลือกได้ที่จะไม่ทานเนื้อสัตว์ หรือทานเนื้อสัตว์ ไม่ได้มีเจตนาอยู่ที่ว่าเราได้ไปฆ่า แต่ถ้าเราทราบว่า เนื้อแบบนี้ มีวิธีการเลี้ยงพิเศษ เพื่อให้เราทาน เราก็คงต้องเลือกหน่อย
       หน้าที่ของเราในฐานะผู้เฝ้ามองและเห็นต่อการกระทำนั้น รวมถึงเห็นชีวิตที่ต้องตายตกตามไปทุกวัน เราควรมีจิตสำนึกที่จะได้ย้อนกลับมาพิจารณาถึงชีวิตเรา ให้เกิดความสังเวชใจ เตือนใจเราเสมอไม่ให้ประมาทในการกระทำความดี เพราะวันหนึ่งแม้เราพลาดพลั้งประพฤติในสิ่งที่ผิด วันนั้นความทุกข์ก็อาจตกเป็นของเราได้เช่นเดียวกัน
       ตั้งแต่เข้าวัด พอหมาที่บ้านป่วยใกล้ตาย เลยใช้วิธีปลอบใจมันแทน บอกมันว่าเป็นธรรมดา เราก็จะตายเหมือนกัน (ทำให้)ปวดใจน้อยลง
       แต่หมาบางตัวต้องทรมานมากก่อนตาย ตัวแรกเป็นหัด ตัวที่สองเป็นสารพัด แย่ล่ะสิเรา

เห็นฝรั่งชอบทำ put ให้มันตาย (Put=วางยา)
       บางครั้ง ถ้าเราเห็นภาพความทุกข์ทรมานของสัตว์ แล้วเราไม่สามารถทำใจให้เป็นปกติได้ วิธีหนึ่งก็คือเราควรถอยห่างออกมาเพื่อรักษาใจของเรา รวมทั้งพยายามแก้ไขเหตุปัจจัยเท่าที่จะเป็นไปได้ในการช่วยเหลือเขา และให้หมั่นพิจารณาถึงความเป็นธรรมดาของชีวิต เพื่อปลอบโยนใจตนไม่ให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจ
       ในกรณีที่เป็นสัตว์เลี้ยงของเรา ถ้าเรายังคงเลี้ยงดูเขาอยู่ก็เป็นการดี แต่ถ้าเราไม่สามารถประคับประคองอาการนั้น แล้วอาจก่อให้เกิดโทษแก่เราตามมา เช่นติดเชื้อบางอย่างหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงบางประเภท อย่างนี้เราก็อาจต้องพิจารณาที่จะต้องปล่อยให้เขาไปตามยถากรรม ให้เขาเป็นไปตามธรรมชาติของเขาอย่างนั้น แต่อย่าไปฆ่าเขาเลย

พูดถึงแบบนี้เรียกว่า การุณยฆาต หรือเปล่า แต่ผลกรรมล่ะ เจ็บปวดทั้งสองฝ่าย?
       ให้เข้าใจว่า หลักในพระพุทธศาสนานั้น ต้องการให้เราประคับประคองใจของเราให้ดี มิให้จิตต้องเศร้าหมองเพราะการกระทำต่างๆ ที่เราได้กระทำลงไป ฉะนั้น การกระทำใดที่เรารู้ได้ว่าไม่ดี เช่น การฆ่าสัตว์ เป็นต้น ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เราก็ต้องไม่กระทำ
       เพราะ “กรรม” คือ เจตนาที่ตั้งต้นขึ้นตั้งแต่ในใจของเรา
(๓) เมื่อคิดจะทำในสิ่งที่ไม่ดี ใจเราก็เศร้าหมอง ไม่ว่าจะอาศัยเหตุผลใดในการกระทำ ใจเราก็เศร้าหมองอยู่นั่นเอง
       อย่างนั้น การฆ่าด้วยความกรุณา  หรือฆ่าโดยอ้างเหตุผลว่ากรุณา ก็ไม่ใช่เหตุผลที่แท้จริงสิเจ้าคะ
       เห็นแล้วปล่อยไปนี่ ไม่บาปหรือคะ? บางทีสงสัยว่าที่เราช่วยไม่ได้ เพราะเราพยายามไม่พอรึเปล่า?
แล้ววิธีที่จะประคับประคองใจของเรา ทำอย่างไรครับ?..
       ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายย่อมมีวิถีชีวิตของตนๆ ใช่ว่าสัตว์ประเภทใดจะเกิดมาเพื่อเป็นสัตว์เลี้ยงของใคร สัตว์นั้นอาศัยสัญชาตญาณในการดำรงชีวิตอยู่ เมื่อสัตว์นั้นไม่ได้รับการพัฒนาตามธรรมชาติที่ควรจะเป็น ก็มีศักยภาพที่น้อยลง เกิดความอ่อนแอ และเป็นโทษแก่สัตว์นั้นเองในที่สุด
       การประคับประคองใจของเรานั้น เราจะต้องเข้าใจธรรมชาติของสิ่งทั้งหลายเสียก่อน ว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร จะมีชีวิตอยู่โดยตัวเขาเองได้อย่างไร และเราควรปฏิบัติต่อเขาอย่างไรจึงจะเกิดผลดีแก่ชีวิตของเขา และไม่ก่อให้เกิดความเบียดเบียนทั้งต่อตัวเราเองและบุคคลที่อยู่รอบข้าง
งั้นเวลาหมอแนะให้ฉีดยาให้มันหลับ(ตาย) หมอก็บาปสิคะ???

เชิญคุณวัฒน์ค่ะ
(รู้จัก,เชื่อ,บังคับ,พอใจ,เคารพตัว says:
ขอบคุณครับคุณเป้ กราบนมัสการครับพระอาจารย์ และสวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกท่าน

       การฆ่าสัตว์ที่อ้างว่า ฆ่าด้วยความกรุณา ที่เรียกในปัจจุบันว่า "การุณยฆาต" นั้น เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดโทษตามมา แก่บุคคลผู้ฆ่าเอง เพราะยังจิตให้เศร้าหมอง ทั้งเป็นภัยแก่ผู้ถูกฆ่า ที่ต้องสิ้นชีวิตลงด้วยการตัดสินใจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งไม่มีสิทธิ์ในการปฏิบัติต่อชีวิตนั้น
ทำไปแล้ว 2 ครั้ง มันจะโกรธเราไหมคะ?
       ไม่รู้สินะ ว่าเขาจะระลึกได้หรือไม่ ถ้าเขาระลึกได้ และเข้าใจไปว่า เรามีเจตนาร้ายให้เขาต้องตาย เขาก็อาจจะโกรธก็ได้
อย่างนี้ จะเป็นเจ้ากรรมนายเวรได้ก็ต้องรู้ว่าใครฆ่า?
รับกรรม  ความกรุณาที่ไม่มีปัญญานี่อันตรายจริงๆ
        ปัญหาอาจจะมีอยู่ว่า เรามีเพียงการใช้อุเบกขาเท่านั้น หรือว่ายังมีวิธีอื่นอีกในการที่จะรับมือกับความเศร้าในใจเราครับ...
       ถ้าเรามีความสามารถที่จะแก้ไขสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นได้ เราก็ควรทำ แต่ถ้าเราไม่มีศักยภาพหรือไม่อยู่ในฐานะที่จะแก้ไขนี่สิ เราจะทำอย่างไร
       แน่นอนว่า “ความกรุณา” ย่อมเป็นคุณธรรมในจิตใจที่ทุกคนควรมี แต่ในด้านความรู้สึก เมื่อผ่านระดับขั้นของเมตตา กรุณา และมุทิตา มาโดยลำดับแล้ว เมื่อไม่สามารถแก้ไขหรือช่วยเหลือให้ดีขึ้นได้ ก็ต้องมาถึงด้านปัญญา คือ ในขั้นของอุเบกขา ได้แก่ การวางใจให้เป็นกลางในสุข-ทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่ต้องมีจิตที่ขึ้น-ลงไปตามความเจริญและความเสื่อมของผู้ใด
(๔)
       มิฉะนั้น คุณธรรมก็จะกลายเป็นโทษ เมื่อไม่สามารถวางจิตใจให้มีปัญญา เห็นถึงความเป็นไปของชีวิตที่ต้องแปรไปตามเหตุปัจจัย และไม่สามารถควบคุมบังคับบัญชาให้เป็นไปอย่างใจปรารถนาได้นั่นเอง

ทำใจอุเบกขา ไม่ใช่อุ้มแบกเขาไว้
       สมมติว่า เราเห็นจิ้งจกฝูงหนึ่งกำลังดักกินแมลงอยู่เป็นสิบเป็นร้อยตัว เราจะทำอย่างไร
ชื่นชมว่ามันอิ่มหมีพีมัน ดีไม๊
เอ้ ไมต้องไปชื่นชมละคุณเป้
จะได้รู้ว่าทุกคนมีความเห็นยังไงกับการคิดแบบนี้
       หรือแม้แต่เราจุดเทียนเพื่อให้แสงสว่าง หรือบูชาพระ แล้วแมลงเม่าบินเข้ามาโฉบเปลวไฟตัวแล้วตัวเล่า เราจะทำอย่างไร
อืม
หาแก้วมาครอบ ถ้าไม่มีแก้วก็ทำบังแสงไว้ในด้านที่เราไม่ใช้แสง
       ฉันเห็นมดแดงมันร่วมมือกันกัดแมลงเม่าที่บินไม่ไหว ตกอยู่ที่พื้นมากมาย เราควรวางใจอย่างไร หรือเราควรจะทำอย่างไร
       ฉันเห็นแมงมุมทำรังดักแมลงตัวเล็กๆ ที่บินมาติดกับมากมาย เราเห็นอย่างนี้แล้ว เราควรจะทำอย่างไร
       ฉันเห็นคนที่ชอบพูดคำหยาบคายต่อบุคคลอื่น แล้วก็ถูกตำหนิกลับด้วยคำรุนแรง แต่เขาก็ยังคงพอใจทำเช่นนั้นอยู่เสมอๆ แล้วเราจะทำอย่างไร

บางอย่างที่ท่านกล่าวมาก็ทำอะไรไม่ได้ บางอย่างก็ทำได้
        รู้สึกท่านอื่น ๆ จะเงียบกันหมดนะครับ คุณนันทนิส กับคุณวรเทพ ไปไหนแล้วครับ คุณส้มด้วย   แป่วววว
ตื่น  คร้าบบบบ   อย่าปล่อยให้พระอาจารย์ กับคุณเป้ คุยกันสองคนสิครับ

อึ๋ย  เดี๋ยวพระผิดศีล
       ฉันเห็นคนตกปลาอยู่กลางสะพาน เขาก็เห็นฉันซึ่งเป็นพระเดินผ่านมา เขาก็แกล้งมองไม่เห็นแล้วพูดคุยกัน ถ้าเธอเป็นฉัน เธอจะทำอย่างไร เธอจะวางใจอย่างไร
ยังปวดใจเรื่องนั้นอยู่เลย
คุณวรเทพ ปวดใจเรื่องอะไรหรือครับ
หมา
อืม
หมาแอบไปมีเมียน้อยหรือครับ

แล้วแต่เหตุปัจจัย คนตกปลา ถ้าเป็นคนรู้จักกันก็เตือนสักหน่อย
       ถ้าคิดว่าเราถูก และยังพอที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ก็จะทำ แต่ถ้าไม่ได้ก็จะคิดว่าโลกนี้มันก็เป็นอย่างนี้เอง
       เราเคยคิดไหม ว่าบางสิ่งก็เป็นธรรมชาติของเขาอย่างนั้น ธรรมชาติที่ไม่ได้ถูกฝึกฝนมาในทางที่ถูกต้อง บ้างก็ด้วยอกุศลวิบากเอื้อโอกาสให้กระทำกรรมชั่วอยู่เสมอ เช่น เกิดเป็นสัตว์กินเนื้อ หรือแม้แต่มนุษย์ที่มีความเห็นผิด ไม่เชื่อว่าบาปมีจริง บุญมีจริง ยินดีในการกระทำความผิด แล้วเธอควรจะทำอย่างไรกับธรรมชาติของเขานั้น ร้องไห้ฟูมฟายหรือ เศร้าโศกเสียใจหรือ หรือเราควรจะเข้าใจต่อการกระทำนั้นอย่างไร
คิดค่ะ แต่บางทีก็ปวดใจอยู่ดี แบบนี้วางท่าทีไม่ถูกใช่ไหมคะ?
ผมว่าไม่เชิงว่าวางท่าทีไม่ถูกหรอกครับ แต่ยังไม่อยากวางมั่งครับ
อืมม ปล่อยวาง แม้แต่ความคิดของเราเอง
บางที คิด กับเข้าใจ กับทำได้ ก็ต่างกันอยู่มาก
ถูกต้องแล้วคร้าบบบบบบบบ
       การเห็นสัจธรรมที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้านี่ล่ะสำคัญ สิ่งที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน ถ้าเราหมั่นพิจารณา บางครั้งเราจะเข้าใจธรรมชาติได้ด้วยตนเอง และวางท่าทีต่อสิ่งนั้นอย่างถูกต้อง โดยแทบไม่ต้องหาเหตุผลเลย แต่สิ่งที่เห็นกลับเป็นเหตุผลในตัวเองอยู่แล้ว ที่จะสอนให้เราวางใจได้อย่างดี
วางใจ แต่ก็ต้องรู้ว่านี่ถูกหรือผิด ใช่ไม๊เจ้าคะ

อืม...
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าวางใจถูกทางแล้วคะ?
       วางใจอย่างไรให้ใจเป็นกุศล มีเหตุมีผลที่ใจเราก็รู้ได้ว่าการวางใจอย่างนี้เป็นสิ่งถูกต้อง และเป็นเหตุที่ทำให้จิตใจเกิดความสงบ
เอาความสุขเป็นตัววัดได้หรือเปล่าเจ้าคะ
       เอาการมีใจที่สงบเป็นตัววัดดีกว่า (๕) แต่ความสงบที่ว่านี้ จะต้องประกอบด้วยปัญญาที่เข้าใจในเหตุในผลนะ ว่าเพราะเหตุใดเราจึงควรวางใจเช่นนี้
งั้นเวลาหมอแนะให้ฉีดยาให้มันหลับ หมอก็บาปสิคะ???
ตอนคิด เจตนาคิดว่าเป็นกุศล  แต่ผลที่ได้เป็นอกุศล แบบนี้ก็ได้ใช่ไหมคะ?

       แล้วจะรู้ได้ไงว่าตอนที่เราคิดนั้น ถูกหรือผิด คิดแรกก็ว่าใจสงบแล้ว ปล่อยแล้ว วางแล้ว แต่ผ่านไป (ทำไปแล้ว) กลับไม่ใช่
ไม่รู้ จนกว่าจะรู้
โอ้ เซ็น หรือเนี้ย (ไม่รู้จนกว่าจะรู้) อิอิ ลึกล้ำ ๆ ๆ
ผมก็สงสัยเหมือนคุณเป้เลยครับ
       ถ้าพิจารณาด้วยปัญญาแล้วว่าเป็นกุศล ผลที่ออกมาก็ต้องเป็นกุศลสิ เว้นแต่เหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลงไป หรือเรารู้ไม่เท่าทันเหตุปัจจัยที่เป็นจริง แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาด้วยความแยบคายโดยวิสัยแห่งวิญญูชนจะพึงรู้ ก็เป็นสิ่งที่เพียงพอแล้ว
หมอหมาที่แนะให้ฉีดยาให้หลับ ถือเป็นวิญญูชนไหมคะ?
หนูคิดว่าถ้าสัตว์ทรมานมาก อยู่ไปก็มีแต่ทรมาน ฉีดยาให้หลับก็ไม่ผิดนะคะ
โอ  คงไม่อยู่ที่ปริญญา
การมีเจตนาฆ่าย่อมเป็นบาป
อืมม แล้วจะเอาอะไรเป็นหลักในการพิจารณา
       สมมติว่า เราเผลอเดินไปเหยียบแมลงสาบเข้าโดยที่ไม่มีเจตนาเลย มันก็ชักดิ้นชักงอ แล้วก็คิดว่า เหยียบมันซ้ำให้มันตายๆ ไปดีกว่า จะได้ไม่ต้องทรมานอีกนาน ก็เลยพยายามเหยียบมันซ้ำให้ถูกเป้าอย่างสุดร้าย เพราะหวังจะให้มันไม่ต้องทรมานอีก อย่างนี้จะถูกไหมล่ะ ?
อืม
       ใครยังมีคำถามอะไรอีกบ้างไหม
.......................
       ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป ในส่วนของอาตมาจะของดการเข้าร่วมสนทนาธรรมในวันอาทิตย์ ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะได้เริ่มต้นอีกครั้งเมื่อไร
       ในระหว่างนี้จะได้มีโอกาสและเวลาในการตรวจสอบแก้ไข "Chat ธรรมวันเสาร์" และ "ธรรมะ Online บ่ายวันอาทิตย์" ที่ยังคั่งค้างอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อที่จะได้นำขึ้น Blog ต่อไป
       และอีกประการหนึ่ง อาตมาภาพขอโอกาสปลีกตัวเพื่อที่จะปฏิบัติพระกรรมฐานให้ยิ่งขึ้น อาจจะใช้เวลา ๒-๓ เดือน ในระหว่างนี้ ขอให้ทุกท่านได้ร่วมจับกลุ่มเสวนาธรรมกันต่อไป อย่าได้ร้างรา ให้สมดังพระพุทธภาษิตว่า


"ธมฺมกาโม ภวํ โหติ  ธมฺมเทสฺสี ปราภโว" (๖)
ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ ผู้ชังธรรมเป็นผู้เสื่อม


สาธุครับ พระอาจารย์ อิอิ
       ธรรมเป็นสิ่งเปิดเผย และเป็นสาธารณะแก่ทุกผู้คนที่จะเข้าถึงความจริง ฉะนั้น ขอให้ทุกท่านอย่าได้ร้างรา อย่าได้เบื่อหน่ายต่อการศึกษาพระธรรม
       ด้วยเหตุที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า


"โย ธมฺมํ ปสฺสติ  โส มํ ปสฺสติ   โย มํ ปสฺสติ  โส ธมฺมํ ปสฺสติ" (๗)
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา
ผู้ใดเห็นเรา(ตถาคต) ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม


       นั่นหมายความว่า การมีอยู่แห่งพระพุทธองค์ ก็ด้วยเหตุที่บุคคลจักได้มีโอกาสได้เข้าถึงธรรม ได้เห็นสัจธรรมในโลก ได้เห็นความเป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลายนี่เอง แล้วไม่ยึดติดถือมั่น นี้เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
       ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ ด้วยการเข้าถึงธรรม โดยการเรียนรู้เหตุปัจจัยในธรรมชาติที่กำลังดำเนินอยู่
       การเห็นแจ้งซึ่งธรรม อาศัยความพากเพียรพยายามของบุคคล มิใช่ด้วยการอ้อนวอน หรือด้วยการตั้งความปรารถนาใดๆ ฉะนั้น ขอให้ทุกท่านได้พากเพียรในการศึกษา เรียนรู้ความเป็นจริงของธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง แล้ววันหนึ่งสัจธรรมย่อมจักปรากฏแก่สายตาเราอย่างแน่นอน
       เพราะแม้พระผู้มีพระภาคจะมีความกรุณาต่อเหล่าสัตว์เพียงใด แต่เนื่องด้วยความปรารถนาทั้งปวงย่อมสำเร็จได้ ก็ด้วยความเพียรพยายามของตัวเราเอง ดั่งพระพุทธภาษิตว่า


"ตุมฺเหหิ กิจฺจํ อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา" (๘)
ความเพียร เป็นสิ่งที่ท่านทั้งหลายต้องกระทำเอง
ตถาคตทั้งหลาย เป็น (แต่เพียง) ผู้บอก ผู้ชี้ทางให้

ในที่สุดแห่งการสนทนาในครั้งนี้ ขอฝากพระพุทธศาสนสุภาษิตไว้ว่า


"อปฺปกา เต มะนุสฺเสสุ  เย ชนา ปารคามิโน
(๙)
อถายํ อิตรา ปชา  ตีรเมวานุธาวติ
ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ถึงฝั่งแห่งพระนิพพานมีน้อยนัก
หมู่มนุษย์นอกนั้น ย่อมวิ่งเลาะอยู่ตามฝั่งใน(โลกียะ) นี่เอง

เย จ โข สมฺมทกฺขาเต  ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ

ก็ชนเหล่าใดประพฤติสมควรแก่ธรรม ในธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว
ชนเหล่านั้น จักถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน ข้ามพ้นบ่วงแห่งมัจจุที่ข้ามได้ยากนัก

กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย  สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต
โอกา อโนกมาคมฺม  วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ

จงเป็นบัณฑิตละธรรมดำเสีย แล้วเจริญธรรมขาว
จงมาถึงที่ไม่มีน้ำ จงละกามเสีย เป็นผู้ไม่มีความกังวล

ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย  หิตฺวา กาเม อะกิญฺจโน
ปริโยทเปยฺย อตฺตานํ  จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต

จงยินดีเฉพาะต่อพระนิพพานอันเป็นที่สงัด
ซึ่งสัตว์ยินดีได้โดยยาก
บัณฑิตควรยังตนให้ผ่องแผ้ว
จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตทั้งหลาย

เยสํ สมฺโพธิยงฺเคสุ  สมฺมา จิตตํ สุภาวิตํ
อาทานปฏินิสฺสคฺเค  อนุปาทาย เย รตา
ขีณาสวา ชุติมนฺโต  เต โลเก ปรินิพฺพุตาติ

จิตอันบัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดอบรมดีแล้ว
โดยถูกต้องในองค์เป็นเหตุตรัสรู้ทั้งหลาย
บัณฑิตทั้งหลายเหล่าใดไม่ถือมั่น
ยินดีแล้วในอันสละความยึดถือ
บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะ
มีความโพลงดับสนิทในโลก

.. ดังนี้แล
ต้องพยายาม
       ขอคุณพระคุ้มครองทุกท่าน ขอให้มีจิตใจปลอดโปร่งผ่องใส มีปัญญาผ่องพิสุทธิ์ เข้าถึงอมตนฤพานด้วยกันทุกท่านทุกคน เทอญ
เจริญพร

[คิม] ดวงใจยังรักเธอ says:
ครับผม 

กราบนมัสการลาพระอาจารย์ ด้วยนะครับ
....................................


๑. อภิ.สํ.๓๔/๖๖๕/๒๓๑ , ๓๔/๖๗๖/๒๓๕
[ธรรมเป็นวิบาก เป็นไฉน? วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นวิบาก.]
 [ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ เป็นไฉน? กุศลธรรมและอกุศลธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือเวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุให้จุติปฏิสนธิ.]
๒. องฺ.ติก.๒๐/๔๗๓/๑๒๘ นิทานสูตร
๓. องฺ.ปญฺจ.๒๒/๓๓๔/๓๖๘ นิพเพธิกสูตร
๔. อง.ปญฺจ.๒๒/๑๙๒/๒๐๒ ที.สี.๙/๓๘๓-๔/๓๘๑ ที.ปา.๑๑/๒๓๔/๑๗๘
๕. อภิ.สํ.๓๔/๑๖/๒๘ , ๓๔/๕๕-๖๖/๓๔
๖. ขุ.สุ.๒๕/๓๐๔/๒๖๗ ปราภวสูตร
๗. สํ.ข. ๑๗/๒๑๖/๑๑๗ ,  ขุ.ธ.อ.๔๓ เรื่องพระวักกลิเถระ [๒๖๒] หน้า ๓๙๒
[อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร? ดูกรวักกลิ ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม. วักกลิ เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม.]
๘. ม.อุ.๑๔/๑๐๓/๖๖  ขุ.ม.๒๙/๓๗/๓๐  ขุ.จูฬ.๓๐/๒๑๙/๘๙
[ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพานก็ดำรงอยู่ ทางไปนิพพานก็ดำรงอยู่ เราผู้ชักชวนก็ดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของเรา อันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อยยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จล่วงส่วน บางพวกก็ไม่ยินดี ดูกรพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทางให้ ฯ]
[ดูกรพราหมณ์ พระตถาคตเป็นเพียงผู้บอกหนทาง พระพุทธเจ้าย่อมบอกหนทาง สัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิบัติอยู่ด้วยตนเอง จึงจะพึงหลุดพ้นได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้นแม้ด้วยประการอย่างนี้.]
๙. สํ.ม.๑๙/๔๓๐/๑๐๙ ปารคามีสูตร




 

Create Date : 26 กุมภาพันธ์ 2551    
Last Update : 25 พฤษภาคม 2551 17:57:56 น.
Counter : 507 Pageviews.  

สังสารวัฏฏ์ และ อุปาทาน ความยึดถือ 501230

สังสารวัฏฏ์มีจริงหรือ และสังสารวัฏฏ์เป็นยังไง จะมองเห็นได้ยังไง ลองอ่านทำความเข้าใจในการสนทนาครั้งนี้ดูนะคะ

และที่พิเศษ รับพรปีใหม่ได้จากพระอาจารย์ เพื่อความเป็นมงคลกัน


ธรรมะ Online บ่ายวันอาทิตย์
เรื่อง สังสารวัฏฏ์ และ อุปาทาน ความยึดถือ
(วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๐)

ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปัญฺญาวโร

เป้ says:
นิมนต์พระอาจารย์เจ้าค่ะ

ซ้อม ซ้อม ซ้อม และก็ ซ้อม says:
นมัสการพระอาจารย์ ครับ

นมัสการเจ้าค่ะ
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
สวัสดีจ๊ะ ทุกคน

ส้ม says:
สวัสดีค่ะ

dutycompleted says:
นมัสการพระคุณเจ้าและสวัสดีทุกท่านครับ
นิมนต์ท่านสหพรเจ้าค่ะ
[b][c=12]สหพร[/c][/b] says:
นมัสการท่านพระอาจารย์ครับ และพระอาจารย์ทุกรูปครับ

นมัสการท่านสหพร จิรสกฺโก
ครับ นมัสการครับ
สังสารวัฏมีจริงเหรอค่ะ และคืออะไร

      สังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิดของร่างกายและจิตใจ ซึ่งก็มีอยู่แล้วในทุกขณะในปัจจุบัน ทั้งทางกายและทางใจ
      ความเกิดดับเปลี่ยนแปลงของรูปธรรมและนามธรรมนี้ มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาทั้งร่างกายและจิตใจ เรียกว่า เป็นสังสารวัฏอย่างหนึ่งที่มีอยู่กับตัวเราตลอดเวลา
      เมื่อการเกิดดับเปลี่ยนแปลงที่ตัวเรามีอยู่เช่นนี้ เมื่อพรุ่งนี้มี อนาคตมี การเกิดดับเปลี่ยนแปลงก็ย่อมติดตามไป แม้เมื่อภพชาติมีอยู่ สงสารวัฏก็ย่อมเป็นไปอยู่เช่นนี้ ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
      การจะเข้าใจสังสารวัฏได้ จะต้องเริ่มต้นเข้าใจที่ตัวเรา ที่ร่างกายและจิตใจของเราก่อน ว่ามีการเกิดดับเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มีความสุขความทุกข์ มีความรัก ความโกรธ ความหลงอย่างไร มีสติ มีศรัทธา มีวิริยะความเพียร เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปอย่างไร การหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้ ก็ย่อมจะให้เห็นถึงความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของสิ่งทั้งหลายได้

       การยึดติดทำให้เราต้องวนอยู่ในสังสารวัฎใช่ป่าวค่ะ ถ้าจิตเป็นอิสระได้ ก็จะหลุดออกมาได้ ใช่ป่าวค่ะ
      สังสารวัฏ คือ การหมุนเวียนไป การเกิดดับเปลี่ยนแปลงไปของสิ่งทั้งหลายโดยมีสภาพความเป็นทุกข์ถูกบีบคั้นด้วยเหตุปัจจัย
      รูปธรรม มีการเกิดดับเปลี่ยนแปลง เช่น มีการแก่ขึ้น เป็นหนุ่มเป็นสาว เซลล์และอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ก็มีการเกิดดับเปลี่ยนแปลงแทนที่อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นกระแสเลือด การผลัดเซลล์ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นสภาพเปลี่ยนแปลง มีการหมุนเวียนเปลี่ยนไป ไม่คงอยู่ในสภาพเดิม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงความเป็นอนัตตาของสังขาร ที่มีการเกิดดับเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัยตามธรรมชาติ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน แทนที่กันไป เช่นนี้นี่ล่ะ สังสารวัฏที่มีอยู่ในตัวเรา
      ในทางจิตใจของเราก็เช่นเดียวกัน ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ก็มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น เดี๋ยวรู้สึกสบายใจ บางครั้งก็ไม่สบายใจ เดี๋ยวพอใจ บางครั้งไม่พอใจ เดี๋ยวรัก เดี๋ยวชัง เหล่านี้เป็นความเกิดดับเปลี่ยนแปลงของความคิดและความรู้สึกต่างๆ ที่มีสภาพหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตลอดวัน ตลอดคืน ตลอดเวลาเช่นกัน นี่ล่ะ สังสารวัฏ การเกิดดับเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกนึกคิดเป็นไปอย่างนี้ เกิดดับสับเปลี่ยนไปไม่สิ้นสุด
      ความรู้สึกนึกคิดนี้ เป็นสภาพอาศัยปัจจัยปรุงแต่งในธรรมชาติปรุงประกอบขึ้น มีความเป็นปัจจัยแก่กันและกันสม่ำเสมอ เช่น เมื่อตาเห็นรูป เกิดความยินดีพอใจ เป็นเหตุให้คิดนึกปรุงแต่งเป็นไปต่างๆ ร่างกายเองก็เกิดความเร่าร้อนกระวนกระวาย เกิดความยึดถือ ต้องการครอบครอง เป็นต้น
      และเมื่อมีความยึดถือเช่นนี้ ก็เป็นเหตุให้กายแสดงออกเป็นไปต่างๆ ตามความรู้สึกที่มีในใจ เช่น ยิ้มแย้ม หัวใจเต้นระรัว รู้สึกเสียวแปลบปลาบ หรือพูดจาแสดงออกถึงความรู้สึก
เป็นต้น

คือเข้าใจถึงสภาพการเป็นเหตุปัจจัยของสิ่งต่างๆ ในตัวเราได้
เป็นธรรมชาติของผู้ที่อยู่ภายใต้สงสารวัฏเหรอ
      การที่รูปธรรมนามธรรม เป็นปัจจัยแก่กันและกันเช่นนี้ มีสภาพที่หมุนเวียนเปลี่ยนไป คือ เมื่อจิตคิด ร่างกายก็แสดงออก เมื่อร่างกายแสดงออกไป ก็เป็นเหตุให้จิตยึดถือในการกระทำนั้นว่าเป็นเรา เป็นของๆ เรา หลงรัก หลงพอใจในธรรมชาตินั้น มีความยึดถือต่อสภาพความคิดปรุงแต่ง แล้วก็เป็นเหตุแห่งการกระทำกรรมสืบเนื่องเรื่อยไป หมุนเวียนอยู่เช่นนี้ เป็นสังสารวัฏ สภาพแห่งการวนเวียนไปแห่งรูปธรรมนามธรรม นั่นเอง
วนเวียนไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ ถ้าเข้าครรลองของมัน
      การที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กันและกันเช่นนี้ ไม่มีสิ่งใดอยู่ในอำนาจบังคับบัญชา เมื่อมีเหตุมีปัจจัยก็ย่อมให้ผลเกิดขึ้นตามมา ฉะนั้น ทั้งรูปธรรม นามธรรม คือ ร่างกายและจิตใจนี้ จึงมีลักษณะตกอยู่ในสภาพแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนนั่นเอง
      สังสารวัฏ ก็เริ่มต้นเช่นนี้ล่ะ เริ่มต้นที่ตัวเรา ที่ร่างกายที่จิตใจ แล้วก็เป็นเช่นนี้เรื่อยไป ตราบเท่าที่เรายังไม่มีปัญญารู้เท่าทันสภาพการปรุงแต่งนั้นว่าไม่ใช่ "เรา"

เหมือนกับปฎิจจสมุปบาท?
      ภพทั้งหลายอันจะเกิดขึ้นในอนาคตเบื้องหน้าก็เริ่มต้นเช่นนี้ คือ เป็นไปในปัจจุบันและสืบเนื่องไปสู่อนาคต
      เอ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นต่างๆ นี้เป็นวิบากเรา ที่เราทำมา เป็นผลจากเราเป็นเหตุเท่านั้นเหรอเจ้าคะ
      วิบาก หรือผลทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตเรา ก็มาจากเหตุเหล่านี้นี่เอง คือ กรรม ที่เป็นตัวเจตนา ในการปรุงแต่งความคิด ด้วยความยึดติดถือมั่น ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า


"เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ"
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่า เป็นตัวกรรม


      วิบาก คือ ผลที่ปรากฏแก่ใจเรา เช่น ความรู้สึกสบายใจ ไม่สบายใจ การเห็น การได้ยินต่างๆ เหล่านี้ เมื่อเรารู้ไม่เท่าทัน เพราะมีอวิชชาเป็นม่านปิดบังไว้ ก็เป็นเหตุให้ปรุงแต่งตัณหาอุปาทานเข้ายึดถือต่อวิบากแห่งกรรมที่ปรากฏนั้น เรียกว่า สร้างกิเลสให้เกิดขึ้น
      และเมื่อกิเลสเกิดขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็เป็นเหตุให้กระทำ "กรรม" คือ การตั้งเจตนาเพื่อกระทำการต่างๆ ตามที่ยึดติดถือมั่นนั้นอีกครั้งหนึ่ง
      เมื่อกระทำกรรมด้วยเจตนาดังนี้แล้ว ก็ย่อมมีผลแห่งกรรมเกิดขึ้นติดตามมา เรียกว่า มีวิบากแห่งกรรมเกิดขึ้นอีก หมุนเวียนไปเช่นนี้ วิบาก กิเลส กรรม วิบาก กิเลส กรรม
วิบาก หมุนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป

โง่ จน เจ็บ , จน เครียด กินเหล้า
      ตราบเท่าที่ยังไม่รู้เท่าทันอารมณ์ คือ สภาพการปรุงแต่งในจิตว่าไม่ใช่ตัวเราอยู่เพียงใด ก็จะหมุนวนเป็นวัฏฏะทั้ง ๓ นี้เรื่อยไป คือ วิบากวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ และกรรมวัฏฏ์ อยู่เพียงนั้นนั่นเอง นี้เรียกว่า สังสารวัฏฏ์อันยาวนาน เริ่มต้นเช่นนี้
เข้าใจแล้วค่ะ
      อันนี้คือ อกุศลวิบากใช่ไม๊เจ้าคะ ที่เกิดจากเจตนาที่มีความยึดติดเป็นเหตุ วิบากวัฏฏ์ กิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ และ วัฏฏ์ แปลว่าอะไรเจ้าคะ
      ไม่เพียงแต่อกุศลวิบากเท่านั้น แม้กุศลวิบากก็อยู่ในรูปเดียวกัน คือ อาศัยความยึดติดถือมั่นเช่นเดียวกัน ในการกระทำกิจต่างๆ เช่น ทำบุญเพราะต้องการบุญ (ยึดถือในบุญ ปรารถนาในผลบุญ) ก็เช่นเดียวกัน ย่อมเป็นเหตุให้เวียนว่ายตายเกิด เพราะต้องการเสวยผลแห่งบุญนั้น พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า “โอปาทิกบุญ” บุญที่ยังประกอบอยู่ด้วยอุปธิ (คือกิเลส) หรือบุญที่นำไปสู่การเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง
      เหตุจากกรรม ที่เป็นเจตนาปรุงแต่งด้วยความยึดติดถือมั่น และแม้นไม่ถือมั่นแต่มีเจตนา ก็มีผลของกรรมด้วยใช่ไม๊เจ้าคะ
      ถ้ากรรมที่กระทำนั้น ไม่มีความยึดติดถือมั่นอย่างแท้จริง หมายถึง ไม่มีอุปาทานความยึดถือเลย การกระทำนั้นไม่เรียกว่า “กรรม” หรือไม่เป็นกรรม แต่เรียกในชื่อว่า “กิริยา” เพราะไม่มีตนผู้ยึดถือการกระทำนั้น ฉะนั้น ย่อมไม่มีผลแห่งกรรมติดตามไป
      พระพุทธองค์ตรัสถึงกรรมที่ประกอบด้วยเจตนาว่ามี ๓ ประเภท
คือ
      ๑ กัณหกรรม คือ กรรมดำ มีวิบากดำ หรือ กรรมชั่ว
      ๒ สุกกกรรม คือ กรรมขาว มีวิบากขาว หรือ กรรมดี
      ๓ กัณหสุกกกรรม คือ กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว หรือ กรรมที่ทั้งชั่วทั้งดีคละเคล้ากัน เช่น ขโมยของมาให้ทาน ฉลองบวชนาคด้วยการเลี้ยงสุรา เป็นต้น (สนับสนุนการบวชนั้นเป็นบุญ แต่การเลี้ยงสุรานั้นเป็นบาป)
      ๔ อกัณหอสุกกกรรม คือ กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม หรือ กรรมที่กระทำเพื่อทำลายความยึดถือในผลของกรรมนั้น เช่น การเจริญวิปัสสนา หรือโพธิปักขิยธรรมเพื่อไถ่ถอนกิเลสความยึดถือที่มีในใจตน
      ฉะนั้น ใน ๓ ประเภทเบื้องต้นนั้น จัดอยู่ในฝ่ายโอปาทิกะ นำไปสู่ความเกิดในภพภูมิต่างๆ เรียกว่า ย่อมมีผลแห่งกรรมติดตามมา
      ส่วนข้อสุดท้าย จัดอยู่ในฝ่ายอโนปาทิกะ คือ มีเจตนาทำลายเสียซึ่งความยึดติดถือมั่น มีเป้าประสงค์ก็เพื่อชำระล้างจิตใจ ไม่ปรารถนาเสวยผลแห่งบุญ ฉะนั้น จึงเป็นกุศลที่เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมและผลแห่งกรรม หยุดการเวียนว่ายตายเกิด หรือทำลายเสียซึ่งกำจักรแห่งสังสารวัฏนั่นเอง
      แต่โดยมากปุถุชนย่อมมีความยึดถือในการกระทำนั้นว่าเป็นเราเสมอไป และเมื่อกระทำกรรมใดก็ย่อมหวังผลจากการกระทำนั้น ฉะนั้นที่ว่ากระทำกรรมโดยไม่ยึดถือนั้น โดยแท้แล้ว ไม่มี
      ด้วยเหตุว่า ปุถุชน ยังมองไม่เห็นสภาพความไม่ใช่ตัวตนของสรรพสิ่ง เป็นเพียงการเข้าถึงในระดับขั้นความเข้าใจในเหตุผลเท่านั้น ฉะนั้น ไม่สามารถตัดการปรุงแต่งยึดถือว่าเป็นตนของตนได้แท้จริง

      "กระทำกรรมโดยไม่ยึดถือนั้น โดยแท้แล้ว ไม่มี" งั้นแสดงว่ารวมถึงกุศลกรรมที่ได้รับกุศลวิบากด้วย
      ถูกต้องแล้ว กรรม คือ การกระทำของปุถุชน จึงยังคงเป็นกรรมอยู่วันยังค่ำ คือ มีเจตนาปรุงแต่งด้วยความยึดถือ ในรูปใดรูปหนึ่งเรื่อยไป เพราะไม่อาจเข้าใจสภาพธรรมในธรรมชาติ
ว่าไม่ใช่ตัวตนอย่างไร เพราะคิด ก็เป็นเราคิด เพราะทำ ก็เป็นเราทำ ย่อมมีความรู้สึกเช่นนี้อยู่เป็นธรรมดา
      ไม่ว่ากุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่กระทำก็ตาม ก็ล้วนแต่กระทำด้วยความยึดมั่นถือมั่นทั้งนั้น เพราะไม่รู้ความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแห่งการกระทำนั้น ว่าไม่ใช่เรา ฉะนั้น สังสารวัฏของปุถุชน จึงไม่อาจกำหนดได้ ว่าจะยาวนานเพียงใด

ไปเรื่อยๆ ตราบเท่าที่ยังมีความรู้สึกเป็นตัวตนอยู่?
      เอ อย่างนี้ การที่เราจะพ้นจากสังสารได้ ก็ด้วยแต่หาตัวยึดให้เจอสิ แล้วเอาตัวยึดออก

      แต่สำหรับพระอริยเจ้าแล้ว เพราะกำหนดรู้ในสภาพความไม่ใช่ตัวตนของสรรพสิ่งนั่นเอง จึงตัดทอนสภาพความยึดถือในสภาวธรรมเหล่านั้น เป็นเหตุให้กำหนดภพได้ ว่าจะต้องเวียนว่ายไปในสังสารวัฏอีกนานเพียงใด เช่น พระโสดาบันบุคคล ย่อมกำหนดภพชาติในวัฏฏะได้ว่า จะไม่เกิดอีกเกินกว่า ๗ ชาติ
เป็นต้น

      แต่แม้พระอริยเจ้าจะรู้ถึงความไม่ใช่ตัวตนของสรรพสิ่ง แต่ทว่า เหตุใดยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่เล่า ข้อนี้น่าพิจารณา 

อืมม
      ตอบว่า เพราะแม้จะเห็นแจ้งถึงสภาพธรรมที่มิใช่ตัวตน แต่ก็ยังมีความยินดีในกามสุขบ้าง ในรูปสุขบ้าง ในอรูปสุขบ้างนี่เอง จึงทำให้ยังมีความพอใจในการเวียนว่ายไป แม้ภายใน ๗ ภพ(ชาติ) นั่นเอง
      เรียกว่า ยังไม่หยุดความปรารถนาที่จะส้องเสพอารมณ์ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส ฯลฯ นั่นเอง เรียกว่า "แม้จะรู้ ก็ยังไม่อาจละ" น่าตลกจริงๆ

      อืมม ยังปรารถนาอยู่ ก็แสดงว่ายังรู้สึกว่ามีความเป็นตัวตนอยู่ ไม่ปราศจากเสียทีเดียว
      ความรู้สึกว่าเป็นตัวตนนั้นไม่มี แต่แม้จะไม่รู้สึกว่าเป็นตัวตนเช่นนั้น ก็จะยังมีความปรารถนาต่อการเสพอารมณ์ที่น่าปรารถนาอยู่นั่นเอง
      คล้ายกับว่า เครื่องประดับภายในร้านค้า เช่น สร้อย แหวน เป็นต้น แม้จะรู้ว่าไม่ใช่ของเรา เราไม่สามารถซื้อหาครอบครองเป็นของตนได้ เพราะราคาแพง แต่ก็ขอลองสวมใส่สักหน่อยให้ชื่นใจก็ยังดี

แสดงว่ายังติดอยู่กับความสุข อยู่น้า
      เคยได้ยินว่า พระอรหันต์กำหนดว่าจะนิพพานในชาตินี้หรือชาติหน้าได้ พระอรหันต์ท่านไม่นิพพานในชาตินี้เท่านั้นเหรอเจ้าคะ

      พระอรหันต์ย่อมนิพพานในชาตินี้สิ เพราะสิ้นความปรารถนาในอารมณ์ทั้งปวงแล้ว ต่างกับพระอริยบุคคล ๓ ชั้นต้น ที่ยังมีความปรารถนาในอารมณ์อยู่ นี้คือความต่างกัน
      คือ ที่ถาม เพราะเคยได้ยินว่า พระอรหันต์ท่านกำหนดได้ว่าจะไปนิพพานในชาติต่อๆ ไปได้
      พระอรหันต์ ย่อมนิพพานในชาตินี้ ย่อมไม่เกิดอีกแล้ว ไม่ว่าในภพใดๆ
      งั้นแสดงว่าที่ได้ยินมา ไม่ถูกสิ ถึงว่ามันประหลาดๆ แล้วทำไงให้รู้ถึงความไม่มีตัวไม่มีตน
      อุปาทาน ความยึดติดถือมั่นนั้น มีจนถึงพระอนาคามีเชียวนะ พระอริยบุคคล ๓ เบื้องต้น คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี และพระอนาคามีนั้น ยังมีอุปาทานอยู่บ้างมากน้อยต่างกัน
แล้วภัยในสังสารวัฏล่ะเจ้าคะ จะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ไง
      ก็ความทุกข์ยังไงเล่า ที่ไม่อาจเลี่ยงพ้นตราบเท่าที่ยังมีอัตภาพร่างกายนี้อยู่
แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะไม่มีอุปทานได้ค่ะ
      ในที่นี้ จึงขออธิบายเรื่องอุปาทานสักนิด ว่าอุปาทาน ความยึดติดถือมั่น นั้นมี ๔ อย่าง คือ
      ๑ กามุปาทาน ความยึดติดในกามและสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวง อันนี้มีจนถึงพระอนาคามี เว้นแต่พระอรหันต์เท่านั้นจึงจะละได้
      ๒ ทิฏฐุปาทาน ความยึดติดในความเห็นผิดต่างๆ ที่นอกเหนือไปจากสีลัพพตุปาทานและอัตตวาทุปาทาน อันนี้ก็เช่นเดียวกัน พระอริยบุคคลทุกระดับละได้แล้ว ตั้งแต่พระโสดาบัน

ความเห็นผิดในอะไรบ้างเหรอเจ้าคะ
      ทิฏฐุปาทาน คือ ความเห็นผิดทั่วๆ ไป เริ่มตั้งแต่ความเห็นผิดยึดถือว่า ชีวิตจะมีความสุขได้ ต้องมีทรัพย์สินเงินทองมากๆ ยศตำแหน่งและเกียรติยศในสังคม ย่อมแสดงถึงความสำเร็จในชีวิต จนถึงความเห็นผิดที่ว่าทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาพระรัตนตรัยไม่มีผล สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ผู้ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นแจ้งประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มี ทุกอย่างเป็นไปตามพรหมลิขิต หรือมีเทพเจ้าผู้ดลบันดาลความสำเร็จให้แก่ชีวิตเรา เหล่านี้เป็นต้น
      ๓ สีลัพพตุปาทาน ความยึดติดในข้อปฏิบัติที่ผิดว่าสามารถนำไปสู่ความพ้นทุกข์หรือปัญหาได้ เช่น การทรมานตน หรือการถือศีลพรตอย่างเคร่งครัดงมงาย เป็นต้น อันนี้พระอริยบุคคลทุกระดับละได้แล้วเช่นกัน ตั้งแต่พระโสดาบัน

      อย่างนี้ พระที่อดอาหารเป็นเดือนๆ นี่เข้าข่ายไม๊เจ้าคะ อดจนร่างกายแย่  
      ถ้าอดอาหาร เพราะเข้าใจว่า จะเป็นเหตุให้บรรลุคุณวิเศษเบื้องสูง อย่างนี้ก็เป็น สีลัพพตุปาทาน
      ๔ อัตตวาทุปาทาน ความยึดติดในความเห็นผิดว่าเป็นตัวเป็นตน ว่ามีเราของเรา อาทิ สามี บุตร ภรรยา และทรัพย์ของเรา เป็นต้น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นตัวเป็นตน ไม่เห็นความเป็นไปของเหตุและปัจจัย ติดอยู่ในสมมติบัญญัติว่าตัวเราของเรา อันนี้ก็เช่นเดียวกัน พระอริยบุคคลทุกระดับละได้แล้ว ตั้งแต่พระโสดาบัน

โห ความยึดติดในกามช่างร้ายเหลือ
      ดังนั้น จะเห็นได้ว่า อุปาทาน ความยึดมั่นทั้ง ๔ อย่างนั้น ๓ อย่างข้างท้าย ละได้แล้วตั้งแต่เป็นพระโสดาบัน มีเพียงกามุปาทาน ความยึดติดในกามคุณและในอารมณ์ทั้งหลายที่น่าปรารถนาเท่านั้น ที่จะละได้หมดจด ก็ต่อเมื่อเป็นพระอรหันต์ คือ ต้องดับตัณหาให้ได้ทั้งหมดนั่นล่ะ จึงจะดับกามุปาทานได้
      งั้น ข้อ 4 ก็คือ ทำข้อ 2 และ 3 ให้ถูกก่อนเหรอคะ ต้องทำทิฐิให้ถูกก่อน ใช่ไม๊เจ้าคะ
      ทั้งข้อ ๒ ๓ และ ๔ นั้น ละได้พร้อมๆ กัน เมื่อบรรลุโสดาปัตติผล แต่ก็เริ่มจากการมีสัมมาทิฏฐิก่อนนั่นล่ะ ซึ่งเป็นองค์แรกในอริยมรรคมีองค์ ๘
เอาแล้วน่ะ สัปดาห์นี้ คงพอสมควร
ขอฝากพระพุทธภาษิตสำหรับสัปดาห์นี้ไว้ว่า

ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา     
              ขันธ์ทั้งห้าที่ถูกยึดมั่นแล้วย่อมเป็นของหนัก
ภารหาโร จ ปุคฺคโล
              คนนั่นแหละแบกของหนักเอาไป
ภารา ทานํ ทุกฺขํ โลเก
              ผู้แบกของหนักเป็นความทุกข์ในโลก
ภารนิกฺเขปนํ สุขํ
              เหวี่ยงของหนักทิ้งไว้เสียเป็นความสุข
นิกฺขิปิตฺวา ครุ์ ภารํ อญฺญํ ภารํ อนาทิย
              พระอริยเจ้าสลัดทิ้งของหนักเสียแล้ว
              ทั้งไม่หยิบฉวยของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก
สมูลํตณฺหํอพฺพุยฺหนิจฺฉาโตปรินิพฺพุโตติ
              ถอนตัณหาพร้อมทั้งมูลรากแล้ว
              เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วดังนี้.

เห้อ เขาไม่รู้กันน่ะสิว่ามันหนัก
       สุดท้ายนี้ ขออำนวยพรในวาระสิ้นปีเก่า ต้อนรับปีใหม่พุทธศักราช ๒๕๕๑ ขอให้ทุกท่านได้มีความกำลังกาย ปราศจากโรคภัยทั้งปวง
      มีกำลังจิตที่เข้มแข็ง เต็มเปี่ยมด้วยความมุ่งมั่น ด้วยการประพฤติปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความสุข
      และมีกำลังปัญญาเต็มเปี่ยมในการดำเนินชีวิต สามารถผ่านพ้นอุปสรรคปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ด้วยปัญญาความรู้ที่สว่างไสวดั่งดวงตะวัน และมีปัญญาชำแรกกิเลส เข้าถึงสัจจภาวะได้โดยไวด้วยกันทุกคน

ขอบพระคุณมากๆ ครับ โมทนากับทุกท่านอย่างสูงครับ โมทนา โยมเป้ สาธุ.
อยากให้พรช่วงสุดท้ายสำเร็จได้ในชาตินี้จัง
       ขอให้ทุกท่านเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุข พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ ทุกทิพาราตรีกาล เทอญ
นมัสการลา ท่านจิรสกฺโก และเจริญพรญาติโยมทุกคน

ครับ นมัสการครับ นมัสการลาครับ
การสนทนาเหลืออีกสองครั้งนะเจ้าคะ
กราบขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ

ขอบคุณค่ะ
ท้ายสุดนี้ ขอให้คุณพระ (ธรรม) คุ้มครองทุกท่าน....นะค่ะ

.............................................




๑. วิ.ม.อ.๑ หน้า ๑๘๖ , วิสุทธิมรรค
[สังสารวัฏ (วงเวียน) อันไม่ปรากฏที่สิ้นสุด เรียกว่าสังสารจักร ก็แลอวิชชา นับว่าเป็นดุมของสังสารจักรนั้น เพราะเป็นต้น(เหตุ) ชรามรณะนับว่าเป็นกง เพราะเป็นปลาย(เหตุ) ธรรมที่เหลือ ๑๐ ข้อนับเป็นซี่กำ เพราะมีอวิชชาอยู่ต้นและเพราะมีชรามรณะอยู่ปลาย ในธรรมเหล่านั้น
อนึ่ง ในธรรมเหล่านั้น ด้วยถือเอา (คือกล่าวถึง) อวิชชา สังขาร ก็เป็นอันถือเอา (คือกินความถึง) ตัณหาอุปาทาน ภพ (ซึ่งเป็นเหตุคือเป็นกิเลสและกรรมด้วยกัน) ด้วย เพราะฉะนั้น ธรรม ๕ ประการนี้ จึงจัดเป็นกรรมวัฏในอดีต
ธรรม ๕ มีวิญญาณ เป็นต้น (คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา) จัดเป็นวิปากวัฏในกาลบัดนี้
ด้วยถือเอา (คือกล่าวถึง) ตัณหา อุปาทาน ภพ ก็เป็นอันถือเอา (คือกินความถึง) อวิชชา สังขารด้วย เพราะฉะนั้น ธรรม ๕ ประการนี้จึงเป็นกรรมวัฏในกาลบัดนี้ (ด้วย)
ธรรม ๕ ประการนี้ (คือ วิญญาณ ฯลฯ เวทนา)จัดเป็นวิปากวัฏในกาลต่อไป (ด้วย) … ]
[วัฏฏะ (วงกลม) ๓] ส่วนในข้อว่า 'ภวจักรมีวัฏฏะ ๓ หมุนไปไม่หยุด'
นี้มีอรรถาธิบายว่า ภวจักรนี้มีวัฏฏะ ๓ โดยวัฏฏะ ๓ นี้ คือ สังขารและภพ เป็นกรรมวัฏ
อวิชชาตัณหาอุปาทานเป็นกิเลสวัฏ วิญญาณนามรูป สฬายตนะผัสสะเวทนาเป็นวิปากวัฏ พึงทราบเถิดว่ากิเลสวัฏยังไม่ขาดลงตราบใด
ก็ชื่อว่าหมุน เพราะเป็นไปรอบแล้วรอบเล่า ชื่อว่าไม่หยุด เพราะมีปัจจัยยังไม่ขาดลงตราบนั้นอยู่นั่นเอง…

๒. องฺ.ปญฺจ.๒๒/๓๓๔/๓๖๘ นิพเพธิกสูตร

๓. อภิ.สํ.อ.๗๖ หน้า ๑๕๔
[บรรดาบทอัพยากฤตเหล่านั้น บทว่า กิริยา ได้แก่ สักว่ากระทำ. จริงอยู่ ในกิริยาจิตทุกดวงทีเดียว กิริยาจิตใดไม่ถึงความเป็นชวนะ กิริยาจิตนั้นย่อมไม่มีผล เหมือนดอกไม้ลม* กิริยาจิตใดถึงความเป็นชวนะ กิริยาจิตนั้นก็ไม่มีผล เหมือนดอกไม้ที่ต้นมีรากขาดแล้ว ย่อมเป็นเพียงการกระทำเท่านั้น เพราะเป็นไปด้วยอำนาจยังกิจนั้นๆ ให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า กิริยา (การกระทำ).]
อภิ.สํ.อ.๗๖ หน้า ๑๕๖
[ว่าด้วยมโนวิญญาณธาตุเป็นกิริยาจิตสหรคตด้วยโสมนัส จิตนี้ในพระบาลีว่า มโนวิญฺญาณธาตุ อุปฺปนฺนา โหติ ฯเปฯ โสมนสฺสสหคตา (มโนวิญญาณเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก สหรคตด้วยโสมนัส) ดังนี้ เป็นจิตเฉพาะบุคคล ไม่ทั่วไปแก่สัตว์เหล่าอื่นนอกจากพระขีณาสพเท่านั้น ย่อมได้ในทวาร ๖.
          จริงอยู่ ในจักขุทวาร พระขีณาสพเห็นที่อันสมควรแก่การทำความเพียรย่อมถึงโสมนัสด้วยจิตนี้. ในโสตทวาร ท่านถึงที่ซึ่งควรแก่การจำแนกแจกภัณฑะ เมื่อบุคคลผู้ละโมบทำเสียงดังถือเอาอยู่ ท่านก็ถึงโสมนัสด้วยจิตนี้ว่า ตัณหาเป็นเหตุให้หวั่นไหวชื่อเห็นปานนี้เราละได้แล้วดังนี้. ในฆานทวาร เมื่อพระขีณาสพบูชาพระเจดีย์ด้วยของหอม หรือดอกไม้ก็ถึงโสมนัสด้วยจิตนี้. ในชิวหาทวาร พระขีณาสพแบ่งบิณฑบาตที่ถึงพร้อมด้วยรสที่ได้มาฉันอยู่ ก็ถึงโสมนัสด้วยจิตนี้ว่า สาราณิยธรรม (ธรรมที่ควรระลึกถึง) เราบำเพ็ญแล้วหนอ ดังนี้. ในกายทวาร พระขีณาสพบำเพ็ญอภิสมาจาริกวัตรอยู่ ก็ถึงโสมนัสด้วยนี้ว่า ก็วัตรของเราเต็มรอบแล้ว ดังนี้ พระขีณาสพย่อมได้ในปัญจทวารอย่างนี้ก่อน.
แต่ในมโนทวารจิตของพระขีณาสพย่อมเกิดขึ้นปรารภอดีตและอนาคต จริงอยู่ พระตถาคตทรงระลึกถึงเหตุที่ทรงกระทำแล้วในครั้งที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นโชติปาละ เป็นท้าวมฆเทวราช และเป็นกัณหดาบสเป็นต้น จึงทรงกระทำการแย้มให้ปรากฏ ก็การระลึกนั้นเป็นกิจ (หน้าที่) ของบุพเพนิวาสญาณ และสัพพัญญุตญาณ ก็ในเวลาสิ้นสุดแห่งความเป็นไปของญาณทั้งสองเหล่านั้น จิตดวงนี้ย่อมเกิดร่าเริง. ในอนาคต พระองค์ก็ได้ทรงทำการแย้มให้ปรากฏว่า จักมีพระปัจเจกพุทธะ มีเสียงดังเสียงพิณ มีเสียงดังตะโพน ดังนี้ ก็การระลึกนั้นเป็นกิจของอนาคตังสญาณ และสัพพัญญุตญาณ ก็ในเวลาสิ้นสุดแห่งความเป็นไปของญาณทั้งสองเหล่านั้น จิตนี้ย่อมเกิดร่าเริง.]

๔. องฺ.จตุก.๒๑/๒๓๒/๒๑๙ สังขิตตสูตร, องฺ.จตุก.อ.๓๕ หน้า ๕๘๓
[บทว่า กณฺหํ ได้แก่ กรรมดำ คือ อกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า กณฺหวิปากํ ได้แก่ มีวิบากดำ เพราะให้เกิดในอบาย. บทว่า สุกฺกํ ได้แก่ กรรมขาว คือ กุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า สุกฺกวิปากํ ได้แก่ มีวิบากขาว เพราะให้เกิดในสวรรค์. บทว่า กณฺหํ สุกฺกํ ได้แก่ กรรมคละกัน. บทว่า กณฺหสุกฺกวิปากํ ได้แก่ มีวิบากทั้งสุขและทุกข์. จริงอยู่ บุคคลทำกรรมคละกันแล้ว เกิดในกำเนิดเดียรัจฉานด้วยอกุศลในฐานะเป็นมงคลหัตถีเป็นต้น
เสวยสุขในปัจจุบันด้วยกุศล. บุคคลเกิดแม้ในราชตระกูลด้วยกุศล ย้อมเสวยทุกข์ในปัจจุบันด้วยอกุศล. บทว่า อกณฺหํ อสุกฺกํ ท่านประสงค์เอามรรคญาณ ๔ อันทำกรรมให้สิ้นไป. จริงอยู่ กรรมนั้นผิว่าเป็นกรรมดำ ก็พึงให้วิบากดำ ผิว่าเป็นกรรมขาว พึงให้วิบากขาว แต่ที่ไม่ดำ ไม่ขาว เพราะไม่ให้วิบากทั้งสอง ดังกล่าวมานี้เป็นใจความในข้อนี้.]

๕. สํ.ม.๑๙/๙๐๐/๒๒๔ สํ.ม.อ.๓๑ หน้า ๓๓
[ก็แล เอกพีชีบุคคล เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ หมดไปอย่างสิ้นเชิง จึงเป็นพระโสดาบัน ซึ่งไม่มีความตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ มุ่งหน้าแต่จะตรัสรู้ ท่องเที่ยวไปสู่ภพมนุษย์อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า เอกพีชี.
          ส่วนบุคคลใด ท่องเที่ยวไปสองสามภพแล้ว จึงจะทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลนี้ชื่อ โกลังโกละ ผู้ออกจากตระกูลไปสู่ตระกูล. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็แล โกลังโกลบุคคล เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เพราะสังโยชน์ ๓ หมดไปอย่างสิ้นเชิง จึงเป็นพระโสดาบัน ซึ่งไม่มีความตกต่ำเป็นธรรมดา แน่นอนมุ่งหน้าแต่จะตรัสรู้ เขาเที่ยววิ่งไปอีกสองหรือสามตระกูลแล้ว จึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า โกลังโกละ.
          พึงทราบว่า ตระกูล ในพระพุทธดำรัสนั้น ได้แก่ ภพ. และคำว่า สองหรือสาม นี้ สักว่าเป็นการแสดงในที่นี้เท่านั้น เพราะผู้ท่องเที่ยวไปจนถึงภพที่ ๖ ก็ยังเป็นโกลังโกละอยู่นั่นเอง.
          ผู้ที่เกิดขึ้นอีกอย่างมากก็แค่เจ็ดครั้ง ไม่ถือเอาภพที่แปดนี้ชื่อ สัตตักขัตตุปรมะ มีเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ก็แล สัตตักขัตตุปรมบุคคล เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไปอย่างสิ้นเชิง จึงเป็นพระโสดาบัน ที่ไม่มีความตกต่ำเป็นธรรมดาเป็นผู้แน่นอน มุ่งหน้าแต่จะตรัสรู้ เขาท่องเที่ยวไปสู่เทพและมนุษย์ อีก ๗ ครั้งแล้ว จึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า สัตตักขัตตุปรมะ.]

๖. ม.มู.๑๒/๒๘๘/๑๙๕

๗. ม.มู.๑๒/๑๕๖/๙๒ อภิ.วิ.๓๕/๙๖๓/๔๕๗

๘. อภิ.สํ.๗๕ หน้า ๖๓๔ และ สงฺคห ธัมมสังคณี ทสฺสนติก และอุปาทานโคจฺฉก
[ก็ถ้าพระโสดาบันจักไม่เจริญให้โสดาปัตติมรรคเกิดแล้ว ความเป็นไปแห่งอุปาทินนกขันธ์ ก็พึงเป็นไปในสังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและที่สุดที่บุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เว้นไว้ ๗ ภพ. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุแห่งความเป็นไปของอุปาทินนกขันธ์นั้นยังมีอยู่ ก็โสดาปัตติมรรคเมื่อเกิดขึ้นนั่นแหละย่อมถอนขึ้นซึ่งกิเลส ๕ เหล่านี้ คือ สัญโญชน์ ๓ อย่าง ทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัย บัดนี้ ความเป็นไปแห่งอุปาทินนกะ จักเป็นในสังสารวัฏที่มีเบื้องต้นและที่สุด ซึ่งบุคคลรู้ไม่ได้แล้วของพระโสดาบันเว้น ๗ ภพแต่ที่ไหน. โสดาปัตติมรรคเมื่อกระทำความเป็นไปแห่งอุปาทินนกขันธ์ไม่ให้เป็นไป ชื่อว่า ย่อมออกจากอุปาทินนกขันธ์ ด้วยประการฉะนี้. ...
ถ้าพระอรหันต์จักไม่อบรมอรหัตมรรคให้เกิดไซร้ ความเป็นไปแห่งอุปาทินนกขันธ์ ก็พึงเป็นไปในรูปภพและอรูปภพ เพราะเหตุไร? เพราะเหตุทั้งหลายแห่งความเป็นไปในอุปาทินนกขันธ์ยังมีอยู่. ก็อรหัตมรรคนั้นเมื่อเกิดขึ้นนั่นแหละ ย่อมถอนขึ้นซึ่งกิเลส ๘ เหล่านี้ คือ รูปราคะ๑ อรูปราคะ๑ มานะ๑ อุทธัจจะ๑ อวิชชา๑ มานานุสัย๑ ภวราคานุสัย๑ อวิชชานุสัย๑. บัดนี้ ปวัตตะแห่งอุปาทินนกขันธ์ ของพระขีณาสพจักเป็นไปในภพใหม่ได้แต่ที่ไหน. อรหัตมรรคเมื่อกระทำปวัตตะแห่งอุปาทินนกขันธ์ไม่ให้เป็นไป
นั่นแหละ ชื่อว่า ย่อมออกจากอุปาทินนกขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.
ก็บรรดามรรคทั้ง ๔ เหล่านั้น โสดาปัตติมรรคย่อมออกจากอบายภพ สกทาคามิมรรคย่อมออกจากเอกเทศแห่งสุคติกามภพ อนาคามิมรรคย่อมออกจากกามภพ อรหัตมรรคย่อมออกจากรูปภพและอรูปภพ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อรหัตมรรคย่อมออกแม้จากภพทั้งปวง ดังนี้ทีเดียว.]

๙. สํ.ข.๑๗/๕๓/๒๕




 

Create Date : 01 มกราคม 2551    
Last Update : 2 มกราคม 2551 21:40:53 น.
Counter : 326 Pageviews.  

ที่มาของพระพุทธรูป วัตถุมงคล และ ธรรมของอุบาสก-อุบาสิกา 501021

เรามาดูกันว่า เป็นชาวพุทธยังไง ถึงถูกพระพุทธเจ้าตำหนิว่าเป็น "จัณฑาลอุบาสก"

ธรรมะ Online บ่ายวันอาทิตย์
เรื่อง ที่มาของพระพุทธรูป วัตถุมงคล
และ ธรรมของอุบาสก-อุบาสิกา
(วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๐)

ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปัญฺญาวโร

เป้ says:
นิมนต์พระอาจารย์ปิยะลักษณ์เจ้าค่ะ นมัสการท่านจิรสกฺโกเจ้าค่ะ

หนูนิดจ้ะ. says:
นมัสการเจ้าค่ะ

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
เจริญพรญาติโยมทุกคน

[b][c=12]สหพร[/c][/b] says:
เจริญพร

วันนี้มีพระสมาชิกใหม่ค่ะ ท่านจิรสกฺโก นิมนต์ห้องนี้เจ้าค่ะ
สวัสดีครับ
นมัสการท่านปภสฺสโร นมัสการท่านเอกชัย และนมัสการท่านจิรสกฺโกครับ
เจริญธรรม ท่านสมณะบินก้าว

นมัสการท่านอาจารย์ ปิยะลักษณ์ครับ
ทุกๆ คนกราบพระกันแล้วหรือยังคะ
:::คิดถึง แต่ Aoaeynoi อะ:::.. says:
นมัสการพระคุณเจ้าครับ

ชมสถานีโทรทัศน์เพื่อแผ่นดินที่ //www.asoke.info/earth.html และวิทยุชุมชนปฐมอโศก //www.asoke.info/pacradio.html says:
นมัสการ พระอาจารย์ปิยะลักษณ์ ท่านจิรสกฺโก ท่านปภสฺสโร หลวงพี่เอกชัยครับผม

Naruphon : Looking for twinkle venue [Naruphon Agricultural and Farm Products] says:
นมัสการพระคุณเจ้าครับ

เจริญพร
วันนี้มีคำถามหรือเปล่าคะ เสนอได้เลยค่ะ
ขอเป็นฝ่ายฟังนะครับ
ขอเสนอคำถามดูนะค่ะ เป็นทางเลือก... คือเมื่อคืน ดูรายการไอทีวี
เรื่อง การสัก (หนุมาน ช้าง เสือฯ) เมื่อครอบครูแล้วเกิดอาการต่างๆ
จะอธิบายสภาวธรรมแบบนี้ว่าอย่างไรคะ

อ๋อ ผมก็ได้ดูครับ
ที่เขาเรียกว่าเล่นของ น่ะเหรอคะ
คุณพ่อข้าวตู....the necromancer...แม่นางฟ้าตัวน้อย says:
เค้าเรียกของขึ้น ภาวะทางจิต ทางจิตวิทยาสงสัยว่าจะเป็นอุปาทานหมู่

อ๋อ
คุณดุ่ยสักด้วยหรือเปล่า
ลงอักขระครับ ไม่ได้สักเป็นลาย เป็นการจารอักขระลงบนตัว
เคยคิดจะสักครับ
น้องโจเคยคิดจะสัก ทำไมเหรอคะ
รู้สึกถึงความสวยงามของลวดลายครับ
ต่างกันยังไงเหรอคะ ลงอักขระจะไม่มีของขึ้นเหรอ
น้องเป้ มีคำถามอื่นอีกไหมคะ เผื่อน่าสนใจกว่านะคะ 555
       เป็นแค่เปลือกครับ อย่าสนใจเลย บางท่านไม่ชอบหรือไม่เชื่อเรื่องเหล่านี้จะไม่สนุกเอา
ผมว่าลวดลายก็สวยงามดีนะครับ เป็นรูปร่าง อักขระต่างๆ
ครับ แต่จะไม่เห็น
รู้ไว้ เผื่อเจอคนของขึ้น จะได้เอาไม้กวาดตี
555
เอ่อ ฟันไม่เข้า แต่เอาไม้กวาดตีเจ็บครับ
       คือที่ยกเรื่องนี้ เพราะอยากทราบว่า ในทางพุทธศาสนา มีคำอธิบายปรากฎการณ์หรือสภาวะธรรมนี้ว่าอย่างไรนะค่ะ  เพราะจิตวิทยาฝรั่งเขาบอกว่า เป็นอุปาทานร่วม (แต่ก็ตอบเหมือนกำปั้นทุบดิน) คิดว่าทางธรรม เราน่าจะอธิบายได้ชัดเจนกว่านะค่ะ
นิมนต์ท่านพระอาจารย์ปิฯ อธิบายด้วยเจ้าค่ะ

ก็คงเป็นปรากฏการณ์ทางจิตอย่างนึงมั๊งครับ
อาตมาไม่ได้ดูโทรทัศน์ด้วยสิ ไม่รู้เรื่องราวเป็นมาอย่างไร
       มีความเชื่อไปในรูปร่างหรือลักษณะที่ปรากฏบนลวดลาย ให้แสดงพฤติกรรมที่เลียนแบบคล้ายกันออกมา
       ก็เช่นว่า บางคนสักรูปลวดลายที่เป็นลิง เมื่อตนเองมีความเชื่อ ความศรัทธา ประกอบกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เป้นปัจจัยเสริมความเชื่อเหล่านั้นให้มากยิ่งขึ้น
จึงอาจเปลี่ยนแปลงรูปแบบความเชื่อที่คิดมา แสดงออกเป็นพฤติกรรมต่างๆ ก็ได้มั๊งครับ
       คือผมเคยไปถามบุคคลเหล่านี้นะครับ เขาบอกสวนใหญ่เขารู้ตัว แต่ไม่สามารถบังคับตนเองได้ ซึ่งผมก็ไม่รู้ทางการแพทย์เขาเรียกว่าอะไร อาจจะคล้ายคนที่มีอาการทางประสาท ที่ไม่สามาถบังคับตัวเองได้มั๊งครับ

       อันนี้ก็เป็นคำตอบแบบกำปั้นทุบดินนะค่ะ ยากไปอ่ะป่าวคะ งั้นลองเปลี่ยนคำถามก็ได้ค่ะ ใครมีอะไรก็เชิญนะค่ะ
ลองฟังเป็นเรื่องสนุกๆ ดูนะครับ
       กระผมเองก็เพิ่งเคยได้ฟังมาว่า ในการรบของคนไทยในสมัยก่อน เขาบูชาพระกันก่อนออกรบ เขาทำสมาธิกันก่อน ตั้งใจเพื่อจะไปรบ เขาใช้กำลังใจด้วย คาถาอาคมด้วย ในสมัยนั้นก็คงจะหาวิธีต่างๆ เพื่อป้องกันภยันอันตราย มีพระท่านนึงท่านเล่า บันทึกเสียงไว้ว่า (หมายถึงที่เขียนมาเมื่อครู่ด้วยนะครับ บันทึกไว้ว่า)
       คนสมัยก่อน ก่อนออกรบ ตั้งจิตบูชาพระ รบเสร็จก็บูชาพระ สร้างวัดวา บำเพ็ญกุศล (อันนี้ท่านว่ามีผีมาเล่าให้ท่านฟังนะ) กระผมพิมพ์ไม่เก่ง ขออภัยด้วยนะครับ ผีเล่าว่า วิชาทางพระพุทธศาสนา คือ การบำเพ็ญสมาธิ แบบฉบับขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากนำไปใช้ในการออกรบ จะไร้ผล ท่านจึงศึกษาวิชาปลุกตัว การปลุกตัวของท่านก็คือ ปลุกหัวใจ ครับ ท่านว่างั้น เป็นลิงบ้าง เป็นเสือบ้าง เป็นควายก็มี หากใช้วิชาปลุกหัวใจสัตว์นี้
       ก็ไม่น่าจะใช้ได้ผลอะครับ เพราะออกไปฆ่าคน ผิดศิลอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าท่านทรงห้ามเรื่องนี้อยู่แล้ว
ปลุกความกล้าเหรอเจ้าคะ
       ไม่แน่ใจครับ ท่านเล่าว่า จะมีอาการเหมือนสัตว์เท่านั้น แต่ท่านเล่าไป ฟังดู ก็เหมือนมีกำลังมากขึ้น แต่ไม่เห็นบอกว่าต้องสักยันต์ด้วย บอกแต่ปลุกหัวใจ สัตว์
       ถ้ากระผมเดา
       ก็ขอยกเรื่องคุณไสย์ พระพุทธเจ้าตรัสถึงวิชาทางไสยศาสตร์ว่าไม่ดีสำหรับผู้กระทำและถูกกระทำ เคยศึกษาเจอเท่านั้นเองครับ ก็ขอเดา เผื่อเป็นวิธีคิดอย่างนึงว่า เมื่อไสยศาสตร์มี ก็แสดงว่าวิชาอื่นๆ น่าจะมี เพราะกระผมคนหนึ่งล่ะครับกลัวการเดาผิดมาก กลัวไปให้ข้อมูลหรือตอบข้อมูลที่ทำให้คนอื่นเข้าใจไปในทางที่ผิดครับ จึงพยายามตอบหรือแนะทางให้เป็นกลางๆ เท่านั้นครับ เล่าพอสนุกๆ ครับ การสัก กระผมว่าอาจจะทำเป็นอนุสสติเหมือนการห้อยพระเครื่องก็ได้

       ก็มีแหละครับ วิชาอื่นๆ เพราะก่อนพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ท่านก็ได้ไปศึกษาวิชาการแขนงอื่นๆ มากมาย แต่กลับพบว่าไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์
ครับๆ
เดรัจฉานวิชารึป่าวหนอ
ว่าไปแล้ว และอะไรที่ถือว่าเป็นวิชาล่ะคะ วิชาอย่างไร ถึงเป็นเดรัจฉานวิชาคะ
นั่นสิคุณเป้ อาตมาน่ะอ่อนตำรา เพียงคาดการณ์
เราจะรู้ได้อย่างไรว่านี่คือ วิชา นะ
       หลังจบนักธรรมเอก จบอภิธรรมมาสี่ชั้นและอุปสมบทมา ก็เอาแต่งาน ไม่ค่อยจะได้กลับมาอ่าน หรือศึกษาจากตำราซักเท่าไหร่เลย
       ยิ่งมาอยู่ในอโศก ก็เอาแต่ฝึกเจอของจริงในการจาริกและอ่านใจ ออกจาริกตอบเรื่องนี้ คงไม่สะดวกตอบ

วิชาในทางพุทธศาสนา ..ที่อ่านเจอมีดังนี้ค่ะ
       บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิด บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น
        ..วิชาที่ปรากฎในพระไตรปิฎก มีวิชา 3 และวิชา 8
       วิชชา ๓ คือ พระพุทธองค์สำเร็จได้ก่อนตรัสรู้
๑. ความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้ (บุพเพนิวาสานุสติญาณ)
๒. ความรู้ในเรื่องการเกิด แก่ ตายของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ)
๓. ความรู้ที่ทำให้กิเลสสูญสิ้น (อาสวักขยญาณ)
        @วิชชา ๘ คือ
๑. ความรู้ในวิปัสสนาญาณ
๒. ฤทธิ์ทางใจ (มโนมยิทธิ)
๓. แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ (อิทธิวิธิ)
๔. หูทิพย์ (ทิพพโสต)
๕. หยั่งรู้จิตผู้อื่นได้ (เจโตปริยญาณ)
๖. ระลึกชาติได้ (บุพเพนิวาสานุสสติญาณ)
๗. ตาทิพย์ (ทิพพจักขุ)
๘. ความรู้ที่ดับกิเลสได้ (อาสวักขยญาณ)

เอ ฤทธิ์ต่างๆ ถือเป็นวิชาที่ควรรู้ด้วยเหรอคะ
       หากนำไปใช้เพื่อตัดกิเลส และใช้เพื่อเผยแผ่ทางธรรมก็ใช่นะค่ะ เพราะทำด้วยจิตที่เป็นกุศล ..แต่ถ้านำไปใช้เพื่อเบียดเบียน ก็เป็นอวิชชา..
      งั้นก็ไม่ใช่เลิศในบรรดาวิชาทั้งหลาย เพราะยังทำให้เกิดทุกข์ได้ วิชาที่เลิศที่สุดน่าจะเป็นข้อที่ 8 ความรู้ที่ดับกิเลสได้ (อาสวักขยญาณ) หรือเปล่าคะ
       ตอนเด็ก ก็เคยเห็นคนที่สักลิงลมของขึ้น ตอนนั้นเขาเล่นไพ่กับเพื่อน พอตำรวจบุกมาที่บ้าน เขาก็ตัวเบาหวิวเลย กระโดดผึงแว็ปเดียวขึ้นยอดไผ่ แต่พอลิงออกไปแล้วลงไม่ได้ ต้องตะโกนเรียกคนข้างล่างให้ช่วย เฮ้ย. . . .ช่วยข้าที ขำ กันซะ
       ก็เห็นครูบาอาจารย์ที่ท่านเคยรู้เรื่องเหล่านี้ใช้จนคล่อง พอต่อมาท่านเหล่านี้ก็เลิก. . . และไม่ได้สนับสนุนลูกศิษย์ให้เล่นหรือเรียนสิ่งเหล่านี้ แต่ให้หันมาเอาสัมมาอริยมรรคมาสอนแทน
      เช่น หลวงพ่อจรัล วัดอัมพวัน หลวงพ่อสดที่ไปหลงวิชาธรรมกาย มีบันทึกประวัติท่านที่เปลี่ยนแปลงตนเองเป็นหลักฐานติดตามอ่านได้

      ท่านบิน คนนั้นเขาตัวบางๆ เล็กๆ หรือเปล่า ถึงโดดได้สูง ตัวหนักๆ คงไม่ได้สักลิงลมแน่ๆ อาจเป็นพวกควาย ก็เป็นได้
ตัวใหญ่ เธอ
อาจเป็นพวกควาย ก็เป็นได้ ! ?
       ๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป
ความเห็นผิด ย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง ประกอบด้วยอวิชชา
ความดำริผิด ย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นผิด
เจรจาผิด ย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิด
การงานผิด ย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด
การเลี้ยงชีพผิด ย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด ..ฯลฯ

       อย่าว่าแต่ลิงลม ประเภททุบแก้วเหล้าเอามาเคี้ยวก็เคยเห็น พวกนี้ไม่ได้เก่งหรอก เดรัจฉานวิชาทั้งนั้น เพียงแต่คนมักชอบ นักเลงมักชอบ
เพราะชอบ ออกศักดา อวดตน หรือเปล่า
เอ คง งั้นมั๊ง
       [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป
ความเห็นชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วยวิชชา
ความดำริชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ
เจรจาชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบ
การงานชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ
การเลี้ยงชีพชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ ..ฯ

       ว่างๆ ลองเข้ามาฟัง หรือหาโหลดการเขียนบันทึกของหลวงพ่อจรัลสิ อาตมานำมาออนทางวิทยุชุมชน ตั้งแต่เรื่องมักกะลีผล นารีผล จนชุด สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมก็ได้
ในเรื่อง ท่านใช้นามว่า พระเจริญ นะ
       ตอนนี้อาตมา กำลังค้นคว้าแนวปฏิบัติของครูบาอาจารย์แต่ละรูปมาศึกษา หมายจะตามดูปฏิปทา

เคยไปที่วัดหลวงพ่อเหมือนกันครับ
อ้อ ดีมั๊ยล่ะ ที่ไป
ครับ
เชิญน้องอุ้ยค่ะ
ไร้ความคิด ไร้ตัวตน ไร้หัวใจ says:
กราบนมัสการพระอาจารย์ทุกรูป เเละสวัสดีทุกๆ คนครับ

.....
       อยากจะย้อนกลับไปพูดถึงเนื้อหาการสนทนาสักนิดหนึ่ง ตั้งแต่เรื่องที่ถามเกี่ยวกับ "การสัก" บนตัวคน ซึ่งมีข้อสงสัยกันมาตลอด ถึงความเป็นไปได้ และความศักดิ์สิทธิ์ของคาถาอาคมต่างๆ ว่ามีความจริงประการใด ในเรื่องของการสักหมาย สักเลข สักลายบนวัตถุ หรือบนผิวหนังของคนเรานั้น เป็นสิ่งที่มีปรากฏเหมือนกันในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
       ตามความเห็นผม หากคนมีอุปาทานปักมั่น เชื่ออย่างลึกซึ้ง ก็มีจริงเป็นจริงตามที่เขาสักครับ
       มีจริงในความคิดเขา สามารถปรากฎและแสดงออกได้ตามความสามารถที่เขาทำให้เป็นไปได้
       เช่นในสามัญผลสูตร พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงมหาศีล คือ สิ่งที่พระภิกษุไม่พึงกระทำเอาไว้ประการหนึ่ง คือ การเป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน ฯลฯ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นต้น
หมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน ที่พระไปเจิมกันตามบ้านเหรอเจ้าคะ
       ผมเคยเดินจาริกในอินเดียช่วงที่อยู่ระหว่างสถานที่ปฐมเทศนาเดินไปสู่กุสินารา ผมพบนักบวชต่างลัทธิวาดลายที่หน้าตาเต็มไปหมด เขานิมนต์เข้าไปสนทนา
       เขาเชื่อมากๆ ขนาดรู้ว่าเขาคุยกับงูได้ ว่างูมาบอกเขาจะมีนักบวชศากยบุตรจะผ่านมาที่อารามเขา. ดังนั้นจะปฏิเสธว่าไม่มีไม่ได้

แต่ว่าคงไม่มีตามทุกอย่างในความเชื่อของคนหรอกเจ้าค่ะ
นิมนต์ท่านปิฯ ต่อ เลยเจ้าค่ะ
       หรือเช่น ในคัมภีร์มิลินทปัญหา ซึ่งเป็นคัมภีร์ในชั้นอรรถกถาอธิบายความแห่งพระไตรปิฎก พระนาคเสนได้ทูลตอบปัญหาพระยามิลินท์ ซึ่งถามเกี่ยวกับการบูชาพระบรมธาตุ ว่าเป็นสิ่งที่พระภิกษุไม่พึงขวนขวายกระทำ โดยตอนหนึ่ง พระนาคเสนทูลวิสัชชนาปัญหาว่า
       ในบรรดาวิชาทั้งหลาย เช่น .. มนต์สำหรับกันอาวุธศาสตรา ..ฯลฯ นี้เป็นสิ่งที่ราชบุตรพึงขวนขวายศึกษา เพราะเป็นศิลปะอันเกี่ยวด้วยอาชีวะ วิชาไตรเวท อาทิ วิชาแก้อาถรรพ์ เป็นต้น ก็เป็นสิ่งที่เหล่าพราหมณวงศ์จะพึงเล่าเรียน แต่ไม่เกี่ยวด้วยสมณศากยบุตรจะพึงเล่าเรียน
       หรืออย่างวิชชา ๘ ซึ่งคุณหนูนิดกล่าวถึงเมื่อสักครู่ ในข้อที่ ๒ และข้อ ๓ ว่า มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ และอิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ นี้ก็เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีจริง โดยตรัสถึงวิชชาว่าด้วยฤทธิ์ทางใจและการแสดงฤทธิ์ไว้มากมายหลายแห่งหลายประการในพระไตรปิฏก
ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงตรัสว่ามีเช่นนั้นจริง
       นั่นสิ คุณเป้ พระพุทธเจ้าท่านแหวกม่านของเทวนิยมในยุคนั้นที่มีเต็มไปหมด มาสู่อเทวนิยม ดังในสามัญผลสูตร พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึง มหาศีล คือ สิ่งที่พระภิกษุไม่พึงกระทำเอาไว้ ในข้อหนึ่งก็คือ การเป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้าน เรือน ฯลฯ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นต้น ดังที่พระอาจารย์ปิยะลักษณ์ อ้างถึง...
       ตอนนี้ ในส่วนที่เราจะทำความเข้าใจต่อเรื่องของการสักยันต์ หรือการสักอักษรลงบนตัวคนนั้นก็เช่นเดียวกัน เมื่อเทียบกับพระพุทธพจน์ก็จะเข้าลักษณะของคาถาอาคมซึ่งเกิดขึ้นด้วยแรงอธิษฐาน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากฤทธิ์ทางใจ จากกำลังสมาธิ แล้วใช้กำลังสมาธินั้นในการแสดงปาฎิหาริย์ต่างๆ
      หมายความว่า คนเหล่านั้นเขามีอิทธิฤทธิ์จริงเหรอเจ้าคะเมื่อของขึ้น หรือว่าเป็นเพียงอุปาทาน นึกว่าตนเป็นเช่นนั้นจริง
       ซึ่งการแสดงปาฏิหาริย์ขึ้นนั้น มีได้ด้วยกำลังสมาธิ หรือด้วยอำนาจจิตอธิษฐานของผู้ที่มีสมาธินั้น ว่าต้องการให้รูปธรรมนั้นเป็นอย่างไร ดังตัวอย่างในพระไตรปิฎกและคัมภีร์ในชั้นอรรถกถา ซึ่งแสดงไว้มากมายถึงจิตอธิษฐานของผู้ที่ทั้งมีชีวิตอยู่ และผู้ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว ว่าต้องการให้สิ่งที่ตนอธิษฐานจิตไว้นั้น แสดงอานุภาพแห่งกุศลและฤทธิ์ของผู้นั้นออกมาอย่างไร
       ตัวอย่างอธิษฐานจิตของผู้ที่มีชีวิตอยู่ เช่น พระปิลินทวัจฉะนิรมิตมาลัยทองคำแก่เด็กหญิง อธิษฐานปราสาทของพระเจ้าพิมพิสารให้เป็นทองคำ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระอธิษฐานให้แผ่นดินไหว ฯลฯ
เป็นต้น
       ตัวอย่างอธิษฐานจิตของผู้ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว เช่น พระผู้มีพระภาคอธิษฐานให้พระบรมธาตุมีอานุภาพสามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ แม้เมื่อพระพุทธองค์ทรงดับขันธปรินิพพานไปแล้ว พระมหากัสสปะอธิษฐานให้ดวงประทีปและพวงดอกไม้บูชาพระบรมธาตุไม่เหี่ยวแห้งสิ้นไป ปรากฏแก่พระเจ้าอโศกผู้จักกอบกู้พระศาสนาในภายหน้าได้พบเห็น เป็นต้น

ผลของคุณวิเศษแสดงออกมาหลังจากที่ตนตายไปแล้ว?
       จะเห็นได้ว่า การแสดงปาฏิหาริย์ด้วยอำนาจสมาธิและคุณธรรมของบุคคลๆ นั้น เป็นสิ่งที่ปรากฏมีอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา แต่ทว่า ! คงจะมีน้อยคนนักที่จะกระทำได้ หากผู้นั้นมิใช่ผู้ที่มีกำลังสมาธิ หรือมีบุญบารมีอย่างแท้จริง
       ซึ่งหากเราสังเกตจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันสถานการณ์ที่ปรากฏและมีผลต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาประการหนึ่งก็คือ การที่คนส่วนใหญ่หวังซึ่งอำนาจดลบันดาลจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งภายนอกที่ไม่อาจเข้าใจและควบคุมเหตุปัจจัยอันใดได้ มีแต่คาดหวังผลสำเร็จ รอคอยการดลบันดาล ซึ่งไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่
       การฝากความหวัง ความสำเร็จ และความก้าวหน้าในชีวิตไว้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็นเหล่านี้ ไม่อาจให้ความสมหวังดังใจปรารถนาแก่ผู้ร้องขอได้ เพราะมิได้เกิดขึ้นจากความพากเพียรพยายามของตน
       การหวังว่าชีวิตจะดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา รวดเร็วทันใจ โดยไม่ต้องอาศัยความพากเพียรพยายาม นับเป็นความประมาทอย่างยิ่ง ดังตัวอย่างในเรื่องความเชื่อเรื่องการสัก การลงเลขยันต์ วัตถุมงคล และเครื่องรางของขลังต่างๆ เป็นต้น
       ซึ่งสิ่งเหล่านี้ หากย้อนไปในสมัยพุทธกาล เมื่อประมาณ ๒๖๐๐ ปีมาแล้วจะเห็นได้ว่า เป็นสิ่งที่ประชาชนให้ความเชื่อถือ และถือเอาเป็นที่พึ่ง เป็นสรณะมาแต่เดิม
       จนเมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระสัทธรรม ก็ได้ทรงปฏิเสธต่อหลักการความเชื่อเหล่านี้ ที่ว่าชีวิตจะมีความเจริญหรือความเสื่อมต้องอาศัย และขึ้นอยู่กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเทวฤทธิ์ปาฏิหาริย์เป็นสิ่งดลบันดาล พระพุทธองค์ทรงประกาศคำสอนที่ให้คนส่วนใหญ่หยุดการหวังพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์และอำนาจลี้ลับต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งภายนอกที่ไม่สามารถคาดหวังผลสำเร็จได้ หรือไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาที่มีอยู่จริงในชีวิตได้
       แต่ทรงสอนในมนุษย์รู้จักเรียนรู้เข้าใจเหตุปัจจัยที่นำชีวิตไปสู่ความเจริญและความเสื่อม โดยทรงชี้ในเห็นถึงศักยภาพและความสามารถของมนุษย์ ที่เมื่อได้รับการฝึกฝนพัฒนาแล้ว สามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นได้ด้วยตนเอง แม้แต่ฤทธานุภาพก็ตาม โดยไม่ต้องหวังพึ่งหรือรอคอยผลสำเร็จจากการดลบันดาลของผู้ใด

ดีจัง จะได้ไม่ต้องไปเป็นลิงเป็นควาย
       เมื่อพระพุทธศาสนาแพร่หลายไปในชมพูทวีปอย่างเข้มแข็งมั่นคงแล้ว เป็นเหตุให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ มีการเรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาตนมาโดยลำดับ แต่ทว่า ! เมื่อพุทธกาลล่วงผ่านเลยไปนานเข้า การศึกษาพระพุทธศาสนาก็เริ่มเสื่อมถอยลง การศึกษาพระธรรมคำสอนเริ่มอยู่ในรูปของการถกเถียงปัญหาทางอภิปรัชญา มิได้มุ่งไปที่การฝึกหัดพัฒนาตนเพื่อเปลี่ยนแปลงที่ตนเอง หรือแก้ไขปัญหาชีวิตที่กำลังเกิดขึ้นจริง บ้างก็ถดถอยกลับไปสู่ ‘ลัทธิหวังผลดลบันดาล’ ดังที่เคยเป็นมา มิได้อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงที่มุ่งแก้ไขปัญหาชีวิตที่ตัวปัญหา ด้วยการเรียนรู้ศึกษาที่เหตุปัจจัย
       จะเห็นได้ว่า วิวัฒนาการของมนุษย์ที่ได้พัฒนามาโดยลำดับ ก็ถึงจุดตีบตัน และถดถอยกลับไปสู่ความเสื่อมเช่นเดิม คือการที่คนหยุดการฝึกฝนพัฒนาตน แต่กลับหวังพึ่งสิ่งภายนอก ทั้งที่เข้าใจได้และเข้าใจไม่ได้ ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักการของพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเราเป็น "กรรมวาที วิริยวาที และกิริยวาที"
นั่นเอง
เหมือน “ฟ๊าดฟู๊ด” มั้งเจ้าคะ ง่ายกว่า สะดวกกว่าแต่โทษเยอะ
       การสูญเสียหลักประพฤติปฏิบัติ ที่ต้องการให้มนุษย์มีการเรียนรู้และฝึกหัดพัฒนาตนนี้ นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่กั้นขวางต่อการดำเนินชีวิตที่ดี และต่อการพัฒนาปัญญา เพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าถึงสังคมอุดมคติที่มนุษย์ทุกคนอาจมีชีวิตที่ไร้การเบียดเบียน เป็นสุข และมีความเข้าใจต่อชีวิตอย่างอารยชนที่จะพึงมีได้
       การที่มนุษย์มีความปรารถนาสิ่งใด ก็ต้องฝึกหัดสร้างสรรค์ที่ตัวเอง ฝึกฝนที่ตัวเรา เริ่มต้นที่ตัวเราด้วยความพากเพียรพยายาม มิใช่หวังผลดลบันดาลจากสิ่งภายนอก ดังที่เห็นกันอยู่มากในปัจจุบัน
       ดังเช่น พระพุทธรูป เป็นต้น ซึ่งแต่เดิมก็มิได้เป็นสิ่งที่มีมาในสมัยพุทธกาล แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในภายหลัง ช่วงประมาณปีพุทธศักราช ๖๐๐-๗๐๐ ในสมัยที่ชนชาติกรีกเข้ามาสู่ชมพูทวีป
เรียกศิลปะแบบนั้นว่า คันธาระ ซึ่งเริ่มมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้น ตามคติความเชื่อของการบูชาเทพเจ้าของชาวกรีกโบราณ
       พระพุทธรูปได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคม โดยเฉพาะชนชาติกรีก ที่มีการบูชาเทพเจ้ามาแต่เดิม พระพุทธเจ้าในฐานะผู้นำทางจิตใจของชาวพุทธ ก็ได้ถูกสร้างขึ้นในลักษณะของรูปเคารพ เพื่อง่ายต่อการเข้าถึง เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งการระลึกถึง และการแสดงออกซึ่งความเคารพ รวมถึงตามความเชื่อแต่โบราณที่หวังพึ่งการดลบันดาลในฐานะของเทพเจ้าผู้หนึ่ง พระพุทธรูปก็ถูกสร้างเพื่อตอบสนองความต้องการนั้นเช่นกัน ซึ่งในช่วงแรกลักษณะของพระพุทธรูปก็มีลักษณะคล้ายเทพเจ้าของกรีกนั่นเอง

       เห็นตรงกันเลยครับ และปัจจุบันจะหาพระภิกษุที่จะหาญกล้าตรงไปตรงมาในการอธิบายดูจะน้อยไปทุกทีนะครับ
แล้วก่อนหน้าที่มีพระพุทธรูป ชาวพุทธบูชาพระพุทธเจ้ากันยังไงเจ้าคะ
       ความต้องการของสังคมที่ต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และมีที่พึ่งที่ระลึกให้ยึดเหนี่ยวได้ง่ายผสมผสานกับลัทธิความเชื่อที่ต้องการผลดลบันดาลจากสิ่งภายนอก จึงทำให้มีการพัฒนาสัญลักษณ์ซึ่งใช้เป็นตัวแทนของสิ่งที่ตนเคารพขึ้นมาโดยลำดับ จนถึงในยุคของพระอรรถกถาจารย์ได้เรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “อุทเทสิกเจดีย์” คือ สิ่งที่ใช้เตือนใจให้ระลึกถึงบุคคลที่ตนเคารพ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแก่บุคคลผู้นั้น ดังเช่น พระพุทธเจ้า เป็นต้น
       โดยให้ความหมายของการบูชาว่า ผู้ใดให้ความเคารพต่ออุทเทสิกเจดีย์ ซึ่งโดยนัยของพระพุทธศาสนาก็คือ รูปเคารพหรือสิ่งอื่นใดก็ตามที่ใช้เป็นสื่อให้ระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้าได้ ก็ย่อมเป็นสิ่งที่มีผลมีอานิสงส์มาก คือ การระลึกนึกถึงพระพุทธองค์ ย่อมจะทำจิตใจของผู้นั้นให้เกิดความปราโมทย์แจ่มชื่นเบิกบานใจ ซึ่งก็จัดเป็นบุญประการหนึ่ง เรียกว่า บุญที่เกิดจากความนอบน้อมบ้าง (อปจายนมัยกุศล) บุญที่เกิดจากการระลึกถึงพระพุทธองค์บ้าง (พุทธานุสสติภาวนา)

       เมื่อกลางวัน ท่าน ว วชิรเมธี กับอาจารย์ ส. ก็มาออกอากาศที่ astv 1 ก็เปิดประเด็นนี้ โดยกล่าวถึงหลวงพ่อปัญญาฯ ในฐานะบรรพชิตที่หาญกล้าท่านหนึ่ง เรื่องที่เด่นของท่านคือ การยืนยันหลักฐานกรณีการสวรรคตที่มาล่วงลับดับขันธ์ลง
       อุทเทสิกเจดีย์ สามารถมีได้ในหลายลักษณะ เช่น อาจเป็นพระพุทธรูป หรือก้อนหินสักก้อนหนึ่ง ที่อาจสลักเสลาลวดลายอะไรบางอย่าง เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า หรือแม้แต่พระเครื่องในปัจจุบัน ก็อยู่ในลักษณะเช่นเดียวกัน
       ตรงนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมกำลังหลงทิศทาง ไม่เข้าใจความหมายของการมีพระพุทธรูป โดยเฉพาะวัตถุมงคลหรือพระเครื่องต่างๆ หรือแม้แต่เครื่องรางของขลังก็ตาม ซึ่งเป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้คนหลงเข้าใจไปว่า จะสามารถดลบันดาลสิ่งต่างๆ ตามที่บุคคลร้องขอหรือตั้งความปรารถนาได้ ซึ่งขัดแย้งต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าดังที่ตรัสไว้ใน
‘อิฏฐสูตร’
๑๐ ว่า

          “ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก คือ อายุ ๑ วรรณะ ๑ สุข ๑ ยศ ๑ สวรรค์ ๑
          ธรรม ๕ ประการนี้ เรามิได้กล่าวว่าจะพึงได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนา ถ้าธรรม ๕ ประการนี้ จักได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนาแล้วไซร้ ในโลกนี้ ใครจะพึงเสื่อมจากอะไร..”

       หากเราพิจารณาจะเห็นได้ว่า มีหรือบุคคลใดที่กราบไหว้อ้อนวอนไม่เป็น จุดธูปเทียนถวายดอกไม้ของหอมเครื่องบูชาไม่เป็น แน่นอนว่าใครๆ ก็ทำเป็น แต่ใครเล่าที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต นั่นก็คือ คนที่รู้จักพากเพียรพยายามในการกระทำกิจหน้าที่การงานของตนนั่นเอง รวมถึงเป็นผู้ที่ใช้สติปัญญาอย่างเต็มที่ในการดำเนินชีวิต มิใช่หมายถึง ผู้ที่ไม่ทำอะไรมัวแต่เฝ้ารอหวังผลดลบันดาลจากเทพเทวา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ตนเคารพนับถือ
       อย่างที่ได้กล่าวว่า ความหมายที่แท้จริงของพระพุทธรูปหรือวัตถุมงคลต่างๆ นี้ คือสัญลักษณ์หรือสิ่งเตือนใจให้ระลึกถึงบุคคลผู้ที่เราเคารพ ดังเช่น พระพุทธเจ้าหรือพระศาสนา ซึ่งจะเตือนใจเราทุกครั้งที่ได้สัมผัสหรือพบเห็นกับสิ่งเหล่านี้ เราจักได้ระลึกนึกถึงพระพุทธคุณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงบำเพ็ญเพียรมา และทรงมีคุณูปการต่อโลกมากมาย  เมื่อใดก็ตามที่เราได้น้อมนำมาพิจารณา ย่อมให้เกิดกำลังใจในการพากเพียรประพฤติปฏิบัติ และเป็นดั่งดวงประทีปที่ส่องแสงสว่างท่ามกลางจิตใจของคน

งั้นพระเครื่อง ก็ไม่ได้ให้แขวนไว้กันผีหรือพลังวิเศษเท่านั้น
       นั่นแหละครับ พระอาจารย์ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ผมตั้งจิตที่จะทำอะไรที่เป็นมงคลให้กับชีวิตตนเองหลังจากบวชมาเลย 10 พรรษา ที่จะทำอะไรซักอย่าง. . . จนกระทั่งพรรษาที่ 12 จึงได้มีโอกาสพาตนเองไปปฏิบัติบูชาโดยการเดินไปยัง 4 สังเวชนียสถานจนครบ
       แต่จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน ความเข้าใจของประชาชนต่อสิ่งเหล่านี้ผิดเพี้ยนไปมากเพียงใด จนถึงขั้นมีการขายการเช่าพระพุทธรูปเป็นลักษณะของพุทธพาณิชย์ เป็นที่มีของรายได้มากมาย โดยไม่คำนึงถึงคุณค่าที่แท้จริงที่มีต่อสิ่งเหล่านี้ ว่าที่แท้มีไว้เพื่ออะไร
       "อุเทสิกเจดีย์" สิ่งเตือนใจให้ระลึก สร้างเพื่ออุทิศแด่พระพุทธเจ้า กลับกลายเป็นวัตถุมงคล เครื่องรางศักดิ์สิทธิ์ที่พาให้คนหลงงมงายออกนอกพระพุทธศาสนา ขัดแย้งต่อ แม้แต่พระธรรมคำสอนของพระองค์เอง
       พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของเหตุผล เป็นศาสนาแห่งความรู้ความเข้าใจ แต่เมื่อขาดสติปัญญาความรู้ในพระธรรมคำสอนอย่างเพียงพอ ก็กลับกลายเป็นโทษต่อการยึดถือปฏิบัติที่ผิดพลาด
       จนจะเห็นว่าในปัจจุบัน ผู้คนดูถูกดูแคลนพระพุทธเจ้ามากเพียงใด ถึงขั้นสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ไม่สมควรขึ้นมากมาย เช่น พระพุทธรูปปางเหยียบโลก พระพุทธรูปปางปลดทุกข์(ถ่ายอุจจาระ) หรือแม้แต่พระพุทธรูปปางเสพสม (ร่วมประเวณี) เป็นต้น นี่จะเห็นได้ว่า ชาวพุทธเหล่านี้มีความเสื่อมทรามทางจิตใจมากเพียงใด จึงกระทำการดังล้อเลียนพระผู้มีพระภาคถึงเพียงนั้น

อย่างนี้นิกายวัชรญาณ ก็เป็นความเพี้ยนไปสิ ที่มีปางเสพสังวาส
       ตอนนี้เมื่อเราเข้าใจความหมายของการมีพระพุทธรูปหรืออุทเทสิกเจดีย์แล้ว เราจะได้ถือเอาการปฏิบัติที่ถูกต้อง เข้าสู่แนวทางแห่งการประพฤติปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธศาสนา ซึ่งก็คือ การฝึกฝนพัฒนาตนอย่างสูงสุด โดยไม่เฝ้ารอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวฤทธิ์ปาฏิหาริย์จะดลบันดาลให้
       เมื่อเราต้องการความสำเร็จเกิดขึ้นในชีวิต ก็พึงฝึกฝนตนเอง และสร้างสรรค์ขึ้นจากความรู้ความสามารถของตัวเรา เพราะโดยแท้แล้ว ความสำเร็จใดก็ตามจะมีผลยั่งยืนนาน ก็ต้องมาจากความรู้เข้าใจของตนเอง นี่ล่ะ จึงจะเป็นที่พึ่งแก่ตนได้อย่างแท้จริง
       ถ้าเรามัวแต่พึ่งพาความขลังศักดิ์สิทธิ์จากสิ่งอื่น จากบุคคลอื่นเสียแล้ว เราก็จะต้องพึ่งพาสิ่งเหล่านี้เรื่อยไป พึ่งพาตนไม่ได้ ต้องมองหารอคอยผลดลบันดาลเรื่อยไป โดยไม่รู้เหตุรู้ปัจจัยว่าสิ่งเหล่านี้จะให้ผลตรงตามความปรารถนาได้อย่างไร หรือจะอำนวยผลให้ดังใจปรารถนาได้หรือไม่

เจ้าค่ะ side effect เยอะนะ ถ้ามัวแต่พึ่งสิ่งภายนอก
       เช่นนี้แล้ว ก็เข้าลักษณะที่พระพุทธเจ้าติเตียนว่า เป็นผู้ถือมงคล ตื่นข่าว ไม่เชื่อกรรม (คือการกระทำ) แต่กลับเชื่อมงคล ซึ่งเป็นสิ่งที่จะถือเอาเป็นสาระมิได้
โดยพระพุทธเจ้าทรงตำหนิผู้ที่ถือเช่นนี้ว่า เป็น "จัณฑาลอุบาสก" คือ หากเป็นชาวพุทธ ก็เป็นชาวพุทธหยากเยื่อ เป็นชาวพุทธขยะ หรือเป็นชาวพุทธปลอมๆ นั่นเอง ไม่ใช่ชาวพุทธที่ดีที่แท้จริง ให้      สมกับที่เรียกตนเองว่าเป็นชาวพุทธ ในความหมายของคำว่า "พุทธะ" ซึ่งแปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม

อ่ะนะ คนชอบกินอาหารขยะ ก็กลายเป็นขยะ (โรคภัยใข้เจ็บเยอะ)
       เอาล่ะ ในวันนี้ก็คงจะได้ความรู้ความเข้าใจอะไรไปพอสมควร เพื่อจะเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ และจะได้เข้าใจในหลักการของพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง จะได้เป็นอุบาสก-อุบาสิกาที่ถูกต้อง ที่ดีจริง
       สมกับที่พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญว่า "อุบาสกรัตนะ อุบาสกปทุม" คือ อุบาสก-อุบาสิกาแก้ว อุบาสก-อุบาสิกาดังแก้วมณี อุบาสก-อุบาสิกาดังดอกบัว เพราะสามารถข้ามพ้นการยึดถือที่ผิดไปเสียได้ คือ การถือมงคล ตืนข่าว ไม่เชื่อกรรม แต่กลับเชื่อมงคล มาเป็นการประพฤติที่ดีงาม ถูกต้องตามหลักของอุบาสกธรรม
๑๑ นั่นคือ เป็นผู้ไม่ถือมงคล ตื่นข่าว (ศักดิ์สิทธิ์) เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล นั่นเอง
สุดท้ายนี้ ก็ขออนุโมทนาบุญกับทุกคนที่ได้ร่วมสนทนากันในวันนี้

สาธุครับ
 เจ้าค่ะ ต้องมั่นคง กล้าหาญ มั่นใจ มั่นคง กล้าหาญ
       กราบขอบพระคุณและนมัสการพระอาจารย์ครับ เดี่ยวผมก็ต้องไปออกวิทยุต่อ ลาโยมทุกๆ คนด้วย เจริญธรรม - เจริญสุข ทุกๆ ท่าน เน้อ
และขอฝากพระพุทธศาสนภาษิตสำหรับสัปดาห์นี้ไว้ว่า
เย้ พุทธภาษิต


พหุ ํ เว สรณํยนฺติปพฺพตานิวนานิจ ๑๒
อารามรุกฺขเจตฺยานิมนุสฺสาภยตชฺชิตา
เนตํโขสรณํเขมํเนตํสรณมุตฺตมํ
เนตํสรณมาคมฺมสพฺพทุกฺขาปมุจฺจติ.


"มนุษย์เป็นอันมาก ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถึงภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง; สรณะนั่นแลไม่เกษม, สรณะนั่นไม่อุดม, เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.


โยจพุทฺธญฺจธมฺมญฺจ  สงฺฆญฺจ สรณํคโต
จตฺตาริอริยสจฺจานิสมฺมปฺปญฺายปสฺสติ
ทุกฺขํทุกฺขสมุปฺปาทํทุกฺขสฺสจอติกฺกมํ
อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํมคฺคํทุกฺขูปสมคามินํ
เอตํโขสรณํเขมํเอตํสรณมุตฺตมํ
เอตํสรณมาคมฺมสพฺพทุกฺขาปมุจฺจติ.


ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ (คือ) ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบแห่งทุกข์ ด้วยปัญญาชอบ; สรณะนั่นแล ของบุคคลนั้นเกษม, สรณะนั่นอุดม, เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้."


    อตฺตาหิอตฺตโนนาโถ   โกหินาโถปโรสิยา ๑๓
อตฺตนาหิสุทนฺเตนนาถํลภติทุลฺลภํ


ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งที่แท้จริงได้
การมีตนที่ฝึกดีแล้วนั่นแหละ ชื่อว่าได้ที่พึ่งที่หาได้ยาก


       ขอให้ทุกท่านจงเจริญด้วยอุบาสกธรรม ๕ ประการยิ่งขึ้นไป คือ
๑. มีศรัทธา
๒. มีศีลบริสุทธิ์
๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
        คือ มุ่งหวังผลจากการกระทำและการงาน มิใช่จากโชคลาง และสิ่งที่ตื่นกันว่าขลังศักดิ์สิทธิ์
๔. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ (เขตบุญ) นอกหลักพระพุทธศาสนา
๕. ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา หรือบำเพ็ญบุญแต่ในพระพุทธศาสนา
ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า
          “ดูกรภิกษุทั้งหลายอุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม๕ประการย่อมเป็นอุบาสกผู้เลวทรามเศร้าหมองและน่าเกลียดธรรม๕ประการเป็นไฉนคืออุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าวเชื่อมงคลไม่เชื่อกรรม ๑ แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑ ทำการสนับสนุนในที่นอกศาสนานั้น ๑ ”
          “ดูกรภิกษุทั้งหลายอุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม๕ประการย่อมเป็นอุบาสกแก้วอุบาสกปทุมอุบาสกบุณฑริกธรรม๕ประการเป็นไฉนคืออุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าวเชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑ ทำการสนับสนุนในศาสนา ๑ ”

ถ้าอย่างไร วันนี้ขอลาแต่เพียงเท่านี้ล่ะนะ
นมัสการท่านปภสฺสโร นมัสการท่านเอกชัย และนมัสการท่านจิรสกฺโก
เจริญธรรมท่านสมณะบินก้าว และขออนุโมทนาบุญกับญาติโยมทุกคน


กราบขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ


๑. ที.สี.๙/๑๖๓/๙๘
๒. มิลินทปัญหา หน้า ๒๘๓  พุทธปูชานุญญาตานุญญาตปัญหาที่ ๕
[อานนฺท ดูกรสำแดงอานนท์ ท่านทั้งหลาย อพฺยาวตา ท่านทั้งหลายอย่าทำขวนขวายที่จะสักการบูชาพระสรีระของตถาคตเลย .. ข้อซึ่งตรัสว่าไม่ให้สักการบูชาพระสรีรกายของพระองค์นั้น พระองค์ห้ามแต่บรรพชิตทั้งหลายมิให้กระทำสักการบูชา ด้วยเหตุว่าบรรพชิตมีกิจที่จะพิจารณาสังขาร กระทำโยนิโสมนสิการให้เป็นเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา และเจริญซึ่งสติปัฏฐานานุปัสสนา อันควรที่จะประกอบให้เป็นประโยชน์แก่ตน ผจญเสียซึ่งกิเลสทั้งหลายนี่แหละเป็นกิจอันบรรพชิตพึงกระทำจึงสมควรที่จะปฏิบัติ พระสัพพัญญูเจ้าจึงบัญญัติมิให้พระภิกษุกระทำสักการบูชาพระสรีรกายของพระองค์เจ้า การกระทำสักกาบูชาสรีรกายของพระองค์นั้น ควรที่เทวดามนุษย์ปุถุชนจะพึงกระทำเท่านั้น มหาราช
ขอถวายพระพร เปรียบปานประดุจราชบุตรทั้งหลาย ควรที่จะเรียนศิลปศาสตร์ฝ่ายราชกุมารมีประการต่างๆ คือ หัดขี่ช้าง ขี่ม้า ชักรถ เรียนยิงธนู เพลงหอก เพลงดาบ เรียนเลข เรียนนับด้วยข้อมือ และมนต์สำหรับกันอาวุธศัสตรา เรียนรู้ภาษานกกา ให้รู้จักข่าวดีข่าวร้าย รบพุ่งทั้งหลายมีประการต่างๆ นานา นี่แหละเป็นกิริยาที่ราชบุตรทั้งหลายจะพึงขวนขวายกระทำ .. ไตรเวทวิชาการทั้งปวงนี้ โลกนับถือว่าเป็นวิทยาอันดี สิกฺขากรณียา สมควรที่มาณพเหล่ากอพราหมณ์พรหมวงศ์จะพึงกระทำวิธีพากเพียรร่ำเรียนไว้สำหรับอาตมา(ตนเอง)
มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ พุทธบูชานี้ไม่ควรที่ชินบุตรจะพึงกระทำในพระศาสนา ควรที่จะพิจารณาซึ่งสังขารธรรมจำเริญพระสติปัฏฐานอนุปัสสนา ควรที่จะพึงประกอบประโยชน์แห่งตน เพื่อจะผจญเสียซึ่งกิเลสให้กำจัดจากจิตมิให้มีราศีอยู่ในวิถีจิต ทางปฏิบัตินี้ควรที่บรรพชิตจะพึงกระทำ จึงจะสมควรแก่ตัวเป็นชินบุตรเป็นพุทธบุตร มีอุปไมยฉันนั้น .. ยถา ความข้อนี้มีอุปมาฉันใด อกมฺมญฺจ อันว่าใช่การของพระชินบุตรทั้งหลายที่จะกระทำสักการบูชาเป็นพุทธบูชา ควรแต่จะพิจารณาซึ่งสังขารให้เห็นเป็นพระทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เป็นอนุปัสสนารำพึงไปในพระสติปัฏฐาน โยนิโสมนสิการกำหนดให้เห็นคุณและโทษ อุตส่าห์เพียงเรียนคันถธุระวิปัสสนาธุระเป็นประโยชน์แห่งตน ขวนขวายที่จะผจญเสียซึ่งกิเลสทั้งหลาย การที่กระทำสักการบูชาอันพุทธบุตรกระทำ(ด้วยปฏิบัติบูชา) นี้เป็นการชอบที่จะกระทำ .. ยทฺ ตถาคโต น ภเณยฺย ผิแลว่า สมเด็จบรมโลกนาถศาสดาไม่ทรงพระมหากรุณาตรัสเทศนาว่ากล่าว ห้ามปรามสั่งสอนไว้ดังนี้ ก็น่าที่พระชินบุตรบรรพชิตทั้งหลายนี้ จะมละเสียซึ่งจีวรและบาตรและเพศบรรพชิตกิจน้อยใหญ่ จะตั้งใจกระทำแต่การพุทธบูชาเป็นอามิส มิได้ประพฤติกิจเป็นปฏิบัติบูชา เหตุการณ์ดังนี้ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสห้ามปรามมิให้กระทำบูชา โปรดไว้ให้กระทำสักการบูชาพระองค์แต่เทวดาและมนุษย์นิกรทั้งปวงด้วยประการดังนี้]
๓. วิ.ม.๑/๖/๑๑ พระโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท   วิ.ม.๔/๓๘-๕๐/๓๗-๔๖ แสดงปาฏิหาริย์ ๑๒
ประการแก่ชฎิล ที.สี.๙/๑๓๒/๗๒ วิชชา๘   ขุ.ปฏิ.๓๑/๖๓๐/๓๐๘ อิทธิพละ๑๐   ขุ.ปฏิ.๓๑/๖๘๐-๖๙๔/๓๓๐-๓๓๗
     อภิ.ก.๓๗/๑๘๔๔/๘๑๗
๔. วิ.ม.๕/๔๖/๔๔  เรื่องพระปิลินทวัจฉะ   ขุ.อป.๓๒/๑๒๓/๑๗๒  พระพุทธเจ้าอธิษฐานหลังคาดอกไม้
     วิ.ม.อ.๑ หน้า ๑๐๒  พระโมคคัลลีบุตรอธิษฐานให้แผ่นดินไหว
๕. เรื่องอันตรธาน มาใน ม.อุ.อ.๒๒ หน้า ๓๑๖   อภิ.วิ.อ.๗๘ หน้า ๖๙๐-๖๙๔   
     ที.ปา.อ.๑๕ หน้า ๒๕๑   สํ.นิ.อ.๒๖ หน้า ๖๓๔   
     ที.ม.อ.๑๓ หน้า ๔๖๗  พระมหากัสสปะอธิษฐานพวงมาลัยดอกไม้ประทีปบูชาพระธาตุไม่แห้งเหี่ยว ดับไป
๖. วิ.ม.๔/๖๕/๕๗      [ลำดับนั้น ท่านพระอัสสชิ ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แก่สารีบุตรปริพาชกว่าดังนี้:-
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติทรงสั่งสอนอย่างนี้.]
๗. องฺ.ติก.๒๐/๕๗๗/๒๗๔ เกสกัมพลสูตร
[ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะเหล่าใดที่มีแล้วในอดีตกาล.. ที่จักมีในอนาคตกาล.. ถึงตัวเราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะในกาลบัดนี้ ก็เป็นกรรมวาทะ (กล่าวว่า กรรมมี) เป็นกิริยวาทะ (กล่าวว่า กิริยามี) และเป็นวิริยวาทะ (กล่าวว่า วิริยะมี) มักขลิ โมฆบุรุษ คัดค้านพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น.. คัดค้านเราด้วยเหมือนกัน ด้วยวาทะว่า กรรมไม่มี กิริยาไม่มี วิริยะไม่มี.
         ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชาวประมง ลงไซไว้ที่ปากแม่น้ำ เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อฉิบหาย เพื่อวอดวายแห่งปลาจำนวนมากฉันใด มักขลิ โมฆบุรุษ ก็เป็นเสมือนไซดักคน เกิดขึ้นในโลก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแห่งคนเป็นอันมากฉันนั้น.],
๘.    หนังสือ “พระพุทธรูปศิลปะสมัยอยุธยา” หน้า ๑๙  โดย สมเกียรติ โล่ห์เพชรัตน์
       หนังสือ “พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง” เรื่อง คติดการสร้างพระพุทธรูป  โดย ราศี บุรุษรัตนพันธุ์
๙.    ขุ.ชา.อ.๖๐ หน้า๒๖๗
๑๐.      องฺ.ปญฺจ.๒๒/๔๓/๔๗
๑๑.      องฺ.ปญฺจ.๒๒/๑๗๕/๒๐๙  จัณฑาลสูตร
๑๒.      ขุ.ธ.๒๕/๒๔/๒๘ ขุ.ธ.อ.๔๒ หน้า ๓๔๖ เรื่องที่ ๑๕๓
๑๓.      ขุ.ธ.๒๕/๒๒/๒๕ ขุ.ธ.อ.๔๒ หน้า ๑๐๓ เรื่องที่ ๑๓๐




 

Create Date : 20 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 1 มกราคม 2551 22:58:39 น.
Counter : 463 Pageviews.  

ความเข้าใจต่อภาพ ภิกษุสันดานกา


ธรรมะOnline บ่ายวันอาทิตย์
เรื่อง ความเข้าใจต่อภาพ ภิกษุสันดานกา
เตือนใจสำนึกระลึกถึงหน้าที่ๆ มีต่อพระศาสนา
(วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๐)
(ฉบับยังไม่ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาและเรียบเรียง โดยพระอาจารย์ปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร เนื่องจากติดภารกิจในการเข้าอบรมพระกรรมฐาน)


เป้ says:
นิมนต์ท่านปภสฺสโร ท่านเอกชัย ท่านบินก้าวเจ้าค่ะ
นมัสการเจ้าค่ะ

AE : สิ่งทั้งหลายทั้งปวงในโลก มิควรยึดมั่นถือมั่น says:
นมัสการค่ะ

พระเอกชัย says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ
เจริญพรทุกๆท่าน

ชมสถานีโทรทัศน์เพื่อแผ่นดินที่ //www.asoke.info/earth.html และวิทยุชุมชนปฐมอโศก www.asoke.info/pacradio.html says:
เจริญธรรม ทุกท่าน ทุกคน

จักไม่ตาย says:
นมัสการครับ

นมัสการค่ะ
นมัสการครับ หลวงพี่เอกชัย
นิมนต์พระอาจารย์เจ้าค่ะ
นมัสการพระอาจารย์ค่ะ
นมัสการพระอาจารย์ครับ
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
นมัสการท่านเอกชัย
เจริญธรรมท่านสมณะบินก้าว และเจริญพรญาติโยมทุกคน

นมัสการพระอาจารย์ปิยะลักษณ์ ครับ
เชิญคุณดุ่ยค่ะ
(F)*unicef คุณพ่อข้าวตู....the necromancer...ชอบล้อเล่นกับหัวใจตัวเอง...เค้าจะเอาคอนโด says:
สวัสดีครับ ทู้กท่าน

น.น้ำใจดี (FM89.25Mhz) says:
นมัสการพระอาจารย์ปิ พระอาจารย์บินก้าว พระอาจารย์เอกชัย และเพื่อนๆ ครับ

ออกพรรษา ที่วัดพระอาจารย์มีงานอะไรบ้างครับ เผื่อญาติโยมสนใจ
หลวงพี่เอกชัยด้วยครับ ที่วัดมีงานบุญอย่างไรครับ

ออกพรรษาปีนี้ ไม่มีอะไรพิเศษครับ วันนี้เพิ่งมีงานกฐินผ่านไป
      สองวันครับ วันออกพรรษา ทำบุญ ถวายถัตตาหารตอนเช้า แล้วอยู่รักษาอุดบสถศีลวันรุ่งขึ้นมีถวายสลากภัตอาหารแห้ง ผลไม้
อ้อ
      หลังจากตักบาตรเทโวแล้ว ที่ตำบลมีนโยบายเชื่อมสัมพันธ์กับวัดในตำบล จะนิมนต์พระจากวัดอื่นๆ แลกเปลี่ยนกันไปตามวัดในตำบล
       ส่วนที่พุทธสถานปฐมอโศกที่ผมจำพรรษา ก็จะมีงานมหาปวารณาสำหรับสมณะทั้งหมด 105 รูป ในวันที่ 7-8 พ.ย และตักบาตรเทโว ทำบุญหมู่บ้านปฐมอโศก ญาติโยมมามากตอนเย็นไปจนกลางคืน มีงานรื่นเริงเล็กน้อยวันที่ 9-10 พ.ย. พิเศษปีนี้มีการเปิดสถานีโทรทัศน์เพื่อมนุษยชาติในเช้าวันที่ 9 ด้วย ท่านใด โยมคนใดมีเวลาก็นิมนต์และเชิญมาได้ พกบ้านมาคนละหลัง พักค้างก็ได้นะ กุฏิ มีไม่พอ
ค่ะ
ครับ
แล้ววันนี้ญาติโยมมีอะไรมาปุจฉากันล่ะเนี่ย ?
หัวข้ออะไรดีล่ะ
หมดสงสัยกันแล้วแน่เลย
      อืมม เอาเรื่องใกล้ๆ ที่เป็นข่าว ใครมีความเห็นกับคำว่า "ภิกษุสันดานกา" บ้างคะ พอดีเมื่อสองครั้งที่แล้วน้องคิมได้เสนอหัวนี้เอาไว้ค่ะ
ความเห็นเกี่ยวกับคำนี้ หรืองานชุดนี้ครับ
ตรงใจผมเลยครับ
ใครยังไม่เคยเห็นรูปนี้บ้างคะ
       ถ้ามองในแง่ศิลปะผมว่าการวางคอมโพสน่าสนใจ การเล่นกับสีบนพื้นที่ว่าน่าสนใจ การเล่าเรื่องอธิบายได้ค่อนข้างดีบนความเรียบง่าย
เขามีข้อความให้อ่านเหรอคะคุณดุ่ย หรือว่าอยู่ในรูปนั้นแล้ว
ไม่ครับอธิบาย...ผมหมายถึงการสื่อด้วยรูป
       ผมอยากจะตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมพระกลุ่มที่ออกมาต่อต้านภาพนี้ เป็นกลุ่มเดียวกับที่ออกมาเรียกร้องให้บรรจุพุทธศาสนาลงในรัฐธรรมนูญ
       เท่าที่ผมทราบมาก็น่าจะเป็นสายธรรมกาย บอกตรงๆ ผมไม่ค่อยศรัทธาพระกลุ่มนี้ครับ

อืม น่าคิด นะโยมนะ
เหมือนเรามองงานโฆษณาซักชิ้น ภาพหนึ่งภาพแทนคำนับร้อยนับพัน
ท่าน ติช นัท อัน เคยบอกไว้ว่า พุทธศาสนาไม่ได้อยู่ที่จีวร โบสถ์ แต่อยู่ที่ใจต่างหาก
ประเด็นที่น่าตามคือ " หมิ่นศาสนา หรือสะท้อนภาพสังคม "
       พระกลุ่มนี้ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของส่วนร่วมเป็นหลัก แต่ทำสิ่งเหล่านี้เพื่อผลประโยชน์ของตนเองต่างหาก
       ประเทศนี้เมื่อก่อนชื่อว่าสยาม สยามคือความหลากหลายของชนชาติ ประเทศนี้ไม่ใช่ของคนเชื้อชาติไทย ที่นับถือสาสนาพุทธอย่างเดียวครับ แต่ยังเป็นประเทศของ คนมอญ ลาว มลายู เขมร คนนับถือพุทธ มุสลิม คริสต์ และอื่นๆ ด้วย อีกอย่างพระกลุ่มนี้มาจากสายธรรมกาย ผมว่าเขาสอนแบบหลอกลวง

       มุมมองท่าน ติช นัท อัน เป็นมุมมองของคนใจกว้าง ยอมรับในความสำคัญของพุทธบริษัททั้งสี่ ไม่ทิ้งน้ำหนักความสำคัญที่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง อาตมาได้เคยพบท่าน และเคยไปสัมผัสเวียดนามเพื่อพิสูจน์คำพูดกับความจริง ก็เห็นสอดคล้องกัน
ผมเป็นมหายานครับ แฮะ ๆๆๆๆ ไม่ได้เป็นเถรวาท
ใครไม่เคยเห็นรูป ไปดูในนี้ได้นะคะ //www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=2325
โทษด้วยนะครับที่ผมพิมพ์ยาวไป
ถ้ามองในแง่เนื้อหา ผมเคยอ่านในเวปนี้ครับ //board.palungjit.com/showthread.php?t=90267
ซึ่งถ้าไม่รังเกียจอะไรลองเข้าเยี่ยมชม

       แต่ประเด็นที่น่าตามที่ว่า " หมิ่นศาสนา หรือสะท้อนภาพสังคม " ในสายตาอาตมาเห็นว่า นี่คือการช่วยให้พระเราหันมามองตนเองมากกว่า มิใช่เรื่องของการหมิ่นแต่อย่างใด
       ผมก็เห็นด้วยกับหลวงพี่ครับ ภาพนั้นมันสะท้อนความจริงของสังคม ผมยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงครับ ผมศรัทธาในพระที่ปฏิบัติดีมากนะครับ เช่น ท่านพุทธทาส ท่านปัญญา ท่านป.อ.ปยุตโต แต่ภาพเขาต้องการสื่อถึงพระจำพวกจอมมายากล หลวงนุ้ย มากกว่าครับ
เชิญคุณตู่ค่ะ
Sitthisak Tayanuwat says:
สวัสดีครับทุกคน

สวัสดีครับ
ตอนนี้กำลังออกความเห็นเรื่องภาพภิกษุสันดานกา ค่ะ
       ในรอบสามสี่ปีที่ผ่านมา อาตมาจาริกผ่านไปหลายประเทศ ไปศึกษาศาสนาเป็นเชิงศาสนาเปรียบเทียบทั้งในส่วนมหายาน - เถรวาท ก็เห็นความต่างและความจริง ความเอาจริงไม่เอาจริง ก็สมควรแล้วที่มีปรากฏการณ์แนวนี้เกิดมาบ้าง ไม่ใช่ต้องให้ท่านเ จ้าคุณฯ หรือครูบาอาจารย์ในฝ่ายนักบวชเท่านั้นมาสะท้อนปัญหา โยมก็ทำได้
ว่าไปแล้ว คำว่า ภิกษุสันดานกา นี่พระพุทธเจ้าพูดไว้ว่าอย่างไรบ้างนะคะ
คุณเป้ข้อนี้ต้องนิมนต์พระอาจารย์แล้วล่ะนะ นิมนต์ครับ
ท่านปิทำอะไรอยู่น้อ
เชิญน้องกอล์ฟค่ะ

[b][c=12](*)GoLF(*)[/c][/b][c=4][/c] says:
สวัสดีคับ

แต่ถ้าความคิดของผมไม่เหมาะสม ก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ
       ดีแล้วละ ตอนนี้กำลังรอพระอาจารย์ที่ว่า คำว่า ภิกษุสันดานกา นี่พระพุทธเจ้าพูดไว้ว่าอย่างไรบ้าง
ต้องมาแลกหมัดกัน เอาให้หงายกันไปคนละข้างเลย
ไม่ทราบว่าวินิจฉัยกันไปถึงไหนแล้วหละครับ เรื่องภิกษุสันดานกา
มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยค่ะ ทิตตู่คิดว่าอย่างไรบ้างคะกับรูปนี้
เคยอ่านบทสัมภาษณ์ผู้วาด ก็เห็นว่าเค้าเจตนาดีนะครับ
มีในเวปไม๊คะคุณตู่
อืม ผมอ่านจากหนังสือพิมพ์น่ะครับ
นิมนต์ท่านปิตอบด้วยยยยยยย เจ้าค่ะ
เชิญน้องส้มค่ะ

คุณส้ม says:
สวัสดีค่ะ

       หลังจากที่แต่ละคน แต่ละท่านได้ให้ความเห็นต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องภาพ "ภิกษุสันดานกา" ซึ่งผู้เขียนภาพ ได้อ้างอิงถึงที่มาในพระไตรปิฎก อาตมาก็เลยอยากจะขอยกพระพุทธวจนะที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ ซึ่งมาในอังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ๑ ดังนี้คือ
กากสูตร (ว่าด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ)
   [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้มักขจัด ๑  คนอง ๑  ทะเยอทะยาน ๑  กินจุ ๑  หยาบช้า ๑
  ไม่มีกรุณา ๑  ไม่แข็งแรง ๑     มักร้อง ๑เผลอสติ ๑  สั่งสม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการนี้แล
          ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ลามกก็ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ ฉันนั้น เหมือนกันแล ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ขจัด ๑ คึกคนอง ๑ ทะเยอทะยาน ๑ กินจุ ๑ หยาบช้า ๑ ไม่มีกรุณา ๑ ไม่แข็งแรง ๑ มักร้อง ๑ เผลอสติ ๑ สั่งสม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลามกประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการนี้แล ฯ
ในพระไตรปิฏก พระพุทธเจ้าตรัสไว้เท่านี้เอง

แล้วทำไมรูป มันดูไปทาง 10 ข้อหรือเปล่า
       ในส่วนอรรถกถา ก็ไม่ได้มีข้อความอะไรอธิบายเพิ่มเติม เกี่ยวกับพระสูตรนี้นัก มีเพียงคำอธิบายพระบาลี ดังนี้คือ
บทว่า ธ?สี ได้แก่ ผู้กำจัดคุณ ไม่เอื้อถึงคุณของใครๆ แม้เขาเอามือจับก็กำจัดเสีย ยังถ่ายอุจจาระรดบนศีรษะ.
บทว่า ปคพฺโภ ได้แก่ ประกอบด้วยความคะนอง ไร้ยางอาย.
ตัณหาความอยาก ท่านเรียกว่า ตินติณะ ในบทว่า ตินฺติโณ ประกอบด้วยความอยากนั้น หรือมากด้วยความน่ารังเกียจ.
บทว่า ลุทฺโท แปลว่า หยาบช้า.
บทว่า อการุณิโก แปลว่า ไร้กรุณา.
บทว่า ทุพฺพโล ได้แก่ ไม่มีกำลังแรงน้อย.  
บทว่า โอรวิตา ได้แก่ บินไปร้องไป.
บทว่า เนจยิโก ได้แก่ ทำการสะสม.
       อาตมาได้เคยอ่านคำให้สัมภาษณ์ของผู้เขียน ซึ่งเขาพูดคล้ายกับว่า พระพุทธเจ้าตรัสอะไรไว้มากมายในเรื่องนี้ หรือพระพุทธเจ้าทรงแสดงถึงความรุนแรงของภิกษุผู้ประพฤิติไม่ดีไว้มากมาย การแสดงภาพนี้ยังน้อยเกินไป แต่อย่างที่ได้ยกขึ้นมาให้เห็นนั่นล่ะว่า ข้อความในพระไตรปิฎกมีเท่านี้

       ผมคิดว่ารูปมันสะท้อนสังคมปัจจุบัน โดยเอาคำพูดของพระพุทองค์มาเชื่อมโยง มันก็เป็นไปในทางของการปฏิบัติไม่ดี ผมว่าทำนองเดียวกันนะครับ
       ฉะนั้น การที่ผู้เขียนภาพยกเอาพระพุทธวจนะมาอ้างอิง เพื่อต้องการสื่อความหมายของพุทธวจนะนั้น จึงเป็นลักษณะของการจินตภาพไว้เกินจริง ซึ่งอาจใช้เป็นเชิงสัญลักษณ์เพื่อต้องการสื่ออะไรบางอย่างแก่สังคม
             ในสมัยพุทธกาลพระองค์พูดแค่นั้น แต่ในสังคมสมัยนี้การกระทำมิชอบ มันก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบขึ้นนะครับ
      ว่าไปแล้ว รูป ที่เกินจากคำสอน(หรือใช้คำที่ไม่ได้สอน) มันทำให้คนในสังคมที่เขาไม่มีความศรัทธา ได้ทีเหมือนกันนะ
ผมว่าจะศรัทธาหรือไม่ มันแล้วแต่มุมมองนะครับ
      วิธีการสื่อด้วยรูป ผลที่ได้ออกมา กลายเป็นความสะใจเล่นๆ ของคนบางกลุ่มหรือเปล่า
       ผมยังยืนยันว่ามันคือเรื่องจริงของสังคมนะครับ ศิลปินต้องการบอกว่า สิ่งนี้มันมีอยู่ในสังคมนะ
ม่ายยย ปฏิเสธค่ะ
       เช่น ภาพพระภิกษุดังกล่าว การตั้งชื่อภาพว่า "ภิกษุสันดานกา" ก็ตาม การแสดงท่าทางของพระภิกษุในรูป ลายสักที่ไม่เหมาะสมบนตัวภิกษุก็ตาม เหล่านี้ล้วนต้องการสื่อถึงพระภิกษุในภาพว่าเป็นพระภิกษุที่ไม่ดี ว่ามีลักษณะน่ารังเกียจ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกบางอย่างที่ผู้เขียนต้องการสื่อให้เห็น
ดังรายละเอียดของภาพจากบทสัมภาษณ์ดังต่อไปนี้ คือ
          ผศ.เสถียร วิพรมหา เลขาธิการเครือข่ายภาคประชาชนพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ กล่าวว่า ภาพดังกล่าวไม่เหมาะสมหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์ทั้ง 2 รูป เอาหัวชนกัน หลับตา มีปากแหลมเหมือนปากของอีกา แสดงกิริยาแย่งด้ายสายสิญจน์และตะกรุดในบาตร สักยันต์รูปกบอยู่ในท่าผสมพันธุ์ ส่วนร่างกายของพระด้านขวา มีภาพตุ๊กแกอยู่ในท่ากำลังผสมพันธุ์ด้วย ในย่ามพระมีลูกกรอกแสดงถึงความเป็นเพศชายและเพศหญิง โดยผู้หญิงกำลังทำท่าผสมพันธุ์อยู่
          ซึ่งคณะสงฆ์ได้ศึกษาพระไตรปิฎกเกี่ยวกับภิกษุสันดานกา ไม่ได้กล่าวถึงการมีเพศสัมพันธ์ขนาดนี้ พิจารณาแล้วเห็นว่า มีผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาโดยตรง เป็นการดูหมิ่นและเหยียดหยามพระสงฆ์ไทยโดยภาพรวม สื่อให้เห็นว่า พระสงฆ์มีพฤติกรรมเป็นเหมือนในภาพ สอนสังคมเกิดความลุ่มหลงต่อไสยศาสตร์แบบหลับหูหลับตาโดยไม่ใช้ปัญญา เป็นภาพไม่สร้างสรรค์ ...

       เรื่องของคนซึ่งสามารถทำความเข้าใจและพัฒนาตนให้มีคุณธรรมภูมิธรรมได้ แต่พอทำไม่ดีไปลงที่กา. . . คงเรียกว่า จากหน้าตารูปกายเป็นคน แต่กลายเป็นเดรัจฉานในร่างคนนี้ไปเลย เขาจะเตือนหรือสื่อหรือคิดลึกปานนี้รึเปล่านะ
       เราจะปล่อยให้มันเป็นไป หรือหาทางแก้ไขให้มันดีขึ้น ผมว่าเขาต้องการบอกอย่างนั้นนะครับ
      แต่วิธีการทำแบบนี้ เป้นการประจานซะมากกว่าการเตือน (หรือเปล่า) ความรู้สึกของผู้เขียนที่มีในภาพ หวังว่าจะมีต่อพระบางรูป ไม่ใช่รวมหมดนะเจ้าคะ
       การสื่อภาษาด้วยภาพสัญลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ให้จินตนาการต่างๆ ต่อผู้พบเห็น หรือผู้รับสารอย่างปฏิเสธไม่ได้ต่อผลที่เกิดขึ้นทางด้านจิตใจของผู้อ่านหรือของผู้ชมภาพนั้น
      อย่าเพียงแค่เพื่อต้องการระบาย ความแสบในใจ เพื่อหวังให้ผู้อื่นเจ็บๆ คันๆ ก็แล้วกัน
       ผมว่าภาพนี้เจตนาดี แต่อาจจะประโยชน์น้อยครับ หมายถึงว่าเจตนาจะสะท้อน แต่ก็ไม่ได้ช่วยทำให้อะไรมันดีขึ้นจึง เรียกว่าประโยชน์น้อย
       ซึ่งหากเราพิจารณาด้านจิตใจของผู้ที่ต้องรับสาร ที่ผู้เขียนกำลังสื่อออกมา เช่น เรา ในฐานะผู้รับสารนั้น เราเกิดความรู้สึกอย่างไรขึ้นต่อการเห็นภาพนี้ ในที่นี้อาตมากำลังตั้งคำถาม เพื่อต้องการให้เราพิจารณาลงไปที่จิตใจของตัวเราเอง ว่าเมื่อเราได้เห็นภาพนี้แล้ว เราเกิดความรู้สึกเช่นใด?
       เช่น เรารู้สึกเคารพพระรัตนตรัยยิ่งขึ้น เราเกิดศรัทธาในพระศาสนายิ่งขึ้น เราเกิดความรู้สึกยกย่องต่อการประพฤติปฏิบัติดี เราเกิดความวิริยะอุตสาหะในการกระทำความเพียร หรือเราเกิดความรู้สึกอย่างไร

       ถ้าไปดูผลงานที่ผ่านๆ มาของศิลปิน จะพบว่าเขาเขียนรูปเรื่องศาสนามาตลอด มีเทิดทูนมากมาย
       นึกถึงคำในหลวงครับ "ในสังคมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี (สะท้อน/ความจริง) หน้าที่ของเราคือการสนับสนุนคนดีให้มีโอกาสในการทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ (ชี้ทาง)"
       แต่ที่รู้สึกสลดใจกับวิธีการประท้วงของภิกษุรูปหนึ่ง ที่เป็นข่าวลงไปนอ นหงายเอาภาพปิดหน้าตาบนพื้นถนนสิ. . . ภาพนั้นที่ลงสื่อรู้สึกไม่เห็นด้วยเอาซะเลย ไม่แน่ใ จว่า ครูบาอาจารย์ของท่านนั้น จะเรียกไปว่ากล่าวตักเตือนอย่างไรหรือเปล่า ?
       เขาไม่ได้มีอคติต่อภิกษุ แต่นั้นแหละเขาต้องการบอกว่ามันมีอยู่ จะปล่อยให้เป็นไป หรือจะแก้ไข
      เขียนขึ้นมาทำไมน้อ ทำอย่างอื่นดีกว่าไม๊น้อ อยากรู้จังว่า ศิลปินคนนี้เขียนภาพออกมาแนวไหน บางคนเป็นความถนัดของเขาที่จะทำภาพน่ากลัวน่าเกลียดออกมา
       ผมว่า ถึงศิลปินจะวาดภาพเพื่อสื่อให้เกิดความศรัทธาต่อพุทธศาสนามากขึ้น มันก็ไม่มีประโยชน์ ถ้าหากความจริงมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น
       หรือเมื่อเราได้เห็นภาพนี้แล้ว เรากลับรู้สึกเศร้าหมองต่อสิ่งที่เห็น เรารู้สึกตำหนิภิกษุที่ปรากฏอยู่ในภาพ เรารู้สึกเกลียดชัง หมดศรัทธาในพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย หรือเรารู้สึกหวั่นไหวไปบ้างหรือไม่ ต่อศรัทธาที่เรามีต่อพระรัตนตรัย อาตมาอยากให้เราลองถามตนเองสักนิด ทันทีที่เราเห็นภาพนั้นแล้ว เราเกิดกุศลจิตหรือเป็นเหตุกระตุ้นให้เกิดอกุศลจิตขึ้นในจิตใจกันแน่
      ความจริงของน้องคืออะไรคะ หรือว่า ความจริงแล้วไม่มีพระดีเลย ไม่มีผู้ที่ศรัทธาในพุทธที่แท้จริงเลย มันก็มีทั้งมี และไม่มีนะ
       วาดแต่สิ่งที่ดีๆ โดยไม่สนใจสิ่งที่ไม่ดี มันจะมีประโยชน์อะไร ศิลปินต้องสะท้อนความจริงให้กับสังคมได้รับรู้
       เขาอาจตั้งใจเพียงเผยแพร่งานเท่านั้น แต่คาดไม่ถึงว่า จะเป็นประหนึ่งเหมือนการติที่เผ็ดร้อน
       ครับพี่พูดถูกเลย พระดีมีมากมาย แต่ความจริงมันมีไม่ดีอยู่ เขาจึงสื่อเพื่อบอกสิ่งนี้ให้กับสังคม และให้เราคิดแก้ไข
       ความเป็นจริงแล้ว การสื่อสิ่งต่างๆ หรือการป้อนข้อมูลให้แก่สังคมและบุคคลอื่นนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก
       เช่นว่า ถ้าเรามีเพื่อนบ้านคนหนึ่ง เขามักยกเอาเรื่องเลวร้ายของคนนั้นคนนี้มาพูดให้เราฟังเสมอๆ เราจะรู้สึกอย่างไร คำพูดนั้นจะกระตุ้นความรู้สึกในส่วนที่ดีของเราให้ออกมาได้หรือไม่ หรือจะกระตุ้นในส่วนที่ไม่ดีภายในจิตใจของเราให้ออกมา
       การเกิดความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดีเกิดขึ้น ส่งเสริมให้เกิดกุศลหรืออกุศล สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราควรพิจารณา

เจ้าค่ะ
ค่ะ
       คนที่ศรัทธาศาสนาด้วยใจริง เข้าใจแก่นพุทธศาสตร์ ผมว่าภาพไม่ได้ทำให้ศรัทธาเขาลดลงเลยครับ มีแต่จะทำให้มันยิ่งเพิ่มขึ้น หาทางแก้ไขปัญหานี้ครับ
       ในลักษณะตรงข้าม ถ้าเรามีเพื่อนบ้านที่ดีคนหนึ่ง เขามักนำเอาเรื่องคนที่ทำความดี ขยันขันแข็ง รักครอบครัว มีใจบุญสุนทาน มาเล่าให้เราฟังเสมอๆ เราจะรู้สึกอย่างไร
       แน่นอนว่าสิ่งที่ดีงามที่เราได้รับสัมผัสอยู่นั้น ย่อมกระตุ้นเตือนความรุ้สึกที่ดีงามที่มีอยู่ในใจเราให้ออกมา เป็นเหตุให้เราปรารถนาที่จะประพฤติปฏิบัติดีตามบุคคลนั้นไปด้วย

ค่ะ
ถ้าเราเอาแต่ศรัทธาเทิดทูน มองแต่ส่วนดี ส่วนไม่ดีมันจะเป็นแบบนั้นไปตลอด
       ผมว่าเรื่องนี้ใกล้เคียงกับภาพถ่ายพระเสพเมถุนกับสัตว์เมื่อปีที่แล้ว ที่ขึ้นหน้า 1 นสพ.บางฉบับ เห็นแล้วเศร้าใจยิ่งนัก
       เกิดคำถามขึ้นในใจว่า นสพ.ควรนำรูปนี้มาลงหรือไม่ครับ แต่วงการสื่อสารมวลชน ก็ใช้จุดยืนในการวินิจฉัยเรื่องนี้ว่า หน้าที่สื่อมวลชนคือการรายงานความเป็นไปของสังคม (หลายครั้งที่จุดยืนนี้ ทำลายชีวิตคนไปหลายคนครับ และอาจจะกำลังช่วยทำลายพระศาสนาอยู๋)

       รายงานความเป็นไปของสังคม หรือว่ากำลังพยายามขายข่าวให้ได้กันอยู่ อย่างรูปนี้ ถ้าสวยๆ คงขายไม่ได้(หรือเปล่า)
       ฉะนั้น ความมีกัลยาณมิตรที่จะสื่อในสิ่งทีดีมีประโยชน์ ย่อมนำพาจิตใจของเราให้เกิดความสุข ความเบิกบานผ่องใส และความสงบประณีตในจิตใจขึ้นได้ เพราะอารมณ์ที่ดี (อิฏฐารมณ์) ย่อมนำมาซึ่งความรู้สึกที่ดีงาม เป็นปกติเช่นนั้นเสมอๆ ในบุคคลทั่วไป
       ตอนนี้บางคน บางท่านอาจให้ความเห็นว่า ความจริงแล้ว ภาพดังกล่าวนั้น ก็เป็นการสะท้อนภาพของสังคมที่กำลังเป็นอยู่จริง หรือมีอยู่จริงนั่นเอง ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ทำไมเราไม่ให้โอกาสเขาแสดงออกอย่างเต็มที่ อย่างเป็นอิสระ อย่างที่เขาต้องการสื่อ เพื่อบอกอะไรแก่สังคมบ้างเล่า

       ความจริงมันก็คือความจริง มันมีอยู่จริง ถึงแม้เราจะปิดไม่ยอมสื่อมันออกมา แต่มันจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคม ถ้าสื่อออกมาเพื่อช่วยกันแก้ไข ให้คนตระหนัก มันจะไม่ดีกว่าหรือครับ
       ในกรณีนี้ อาตมาอยากจะยกตัวอย่างสักเล็กน้อย เช่น ถ้ามีศีลปินคนหนึ่ง เขามีความคิดว่า เขาอยากจะสะท้อนภาพสังคมออกมาให้ชัดเจน แม้จะเป็นเรื่องร้ายๆ ก็ตาม เพื่อสื่อให้เห็นถึงความเลวร้ายของสภาพสังคมที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดการแก้ไข
       ศิลปินผู้นี้ เขาก็เลยเขียนภาพ ขออภัยนะ ! ตั้งชื่อว่า “พ่อสันดานหมา” หรือภาพ "พ่อวายร้ายข่มขืนลูกสาวในไส้" แล้วศิลปินนั้นก็บรรจงวาดภาพอย่างวิจิตรพิสดาร เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเลวร้ายของพ่อที่กำลังกระทำต่อลูกสาวของตนเอง เช่นนี้แล้ว เราจะรู้สึกต่อภาพนี้อย่างไร ภาพนี้ดีหรือไม่ดี เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ หรือเราจะบอกว่า "มันก็เป็นความจริงนี่นะ ทำไมจะเขียนไม่ได้" อย่างนั้นหรือ

หรือเราจะปิดมันไว้ตลอดกาล ยอมรับภิกษุจำพวกสันกานกาต่อไปครับ
แล้วการวาดรูป ทำให้สิ่งเหล่านี้หายไปเหรอคะ
       หรือมีอีกคนหนึ่ง เขียนภาพชื่อว่า “ครูเฒ่าหัวงู” หรือภาพ “ครูชั่วปลุกปล้ำศิษย์สาวของตน” เช่นนี้ แล้วเขาก็บรรจงเขียนภาพครูอาจารย์ที่กำลังปลุกปล้ำ กระทำมิดีมิร้ายต่อนักเรียนของตน อย่างนี้ เมื่อเราเห็นภาพนั้นแล้ว เราจะรู้สึกอย่างไร สะใจหรือ ! เราอาจพูดว่า “อ้าว
ก็มันเป็นความจริงนี่นา ทำไมจะเขียนไม่ได้ล่ะ” อย่างนี้หรือเปล่า
เหมือนคนละประเด็น สิ่งที่กระทำ กับสิ่งที่ต้องการ

       พระอาจารย์ครับ ผมคิดว่าที่พระอาจารย์พูดมันเป็นกรณีเฉพาะของการกระทำนะครับ แต่ภาพนี้มันสื่อถึงวงกว้างของศาสนา วงกว้างของสังคม ลักษณะภาพก็ไม่ขนาดนั้น ถึงวาดแล้วมันจะไม่ทำให้กรณีแบบนี้หายไป แต่ก็ช่วยให้สังคมรับรู้ และตระหนัก หาทางแก้ไขได้นะครับ
       หรือมีอีกคนหนึ่ง เขียนภาพชื่อว่า “ข้าราชการสันดานหมู” หรือภาพ “ข้าราชการนั่งเสวยสุขบนภาษีอากรของประชาชน” แล้วเขาก็บรรจงเขียนภาพนั้น สะท้อนภาพของสังคมทั้งในอดีตและปัจจุบัน ที่ข้าราชการมีการกดขี่เอารัดเอาเปรียบประชาชน แล้วนำออกมาแสดง โดยแสดงชื่อภาพรวมๆ ไปว่า "ข้าราชการชั่ว..." แล้วเราจะรู้สึกอย่างไร เราจะยังคงพูดว่า "อ้าว มันก็เป็นเรื่องจริง... ทำไมจะเขียนไม่ได้” อีกเช่นกัน อย่างนั้นหรือ
      สังคมรู้อยู่แล้วค่ะ แต่รูป ทำให้มาแก้ไขกันได้หรือ หรือว่าจะทำให้คนแบบในรูปอายหายกันไปหมด จะเป็นไปแบบนั้นหรือ
       ถึงอาจจะไม่ร้อย แต่ได้บางส่วนก็ยังดีครับ เพราะการแก้ปัญหาใดๆ โดยใช้นโยบายอย่างไรก็ตาม แต่ไม่มีทางแก้ได้ทั้งหมดหรอกครับ
       หรือมีอีกคนหนึ่ง เขียนภาพชื่อว่า “ตำรวจดาวไถ” หรือภาพ “ตำรวจชั่ว กดขี่ประชาชน" แล้วเขาก็บรรจงเขียนภาพออกมาอย่างวิจิตรพิสดาร ให้เห็นถึงความเลวร้ายของสถาบันตำรวจ ว่ามีตำรวจเลวๆ อย่างนี้จริงๆ หรือมีอยู่มากในสังคม แล้วเราจะรู้สึกอย่างไร เราจะรู้สึกต่อสถาบันนั้นๆ อย่างไร ดีหรือไม่ดี ส่งเสริมกุศลหรืออกุศล ดีหรือไม่ที่สื่อความจริงที่มีอยู่ในสังคมให้เกิดการแก้ไขในรูปแบบอย่างนี้ หรือเราจะกล่าวเช่นเดิมว่า "มันก็เป็นความจริง...ทำไมจะเขียนไม่ได้ล่ะ"
      หรือกลายเป้นว่า พวกที่ไม่ชอบยิ่งได้ใจใหญ่ เข้าทาง สิ่งไหนเกิดขึ้นมากกว่ากัน หรือว่า น่าอับอายที่โดนมาประจานแบบนี้ ต้องจริงจังกันมากขึ้นสักหน่อยแล้ว
       จากตัวอย่างที่ได้ยกมาพอให้เห็นภาพ เราจะเห็นได้ว่า ศิลปินสามารถสื่อความรู้สึกที่มีต่อสังคมได้ทั้งในแง่ที่ดีและไม่ดี
แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นความจริงที่มีปรากฏอยู่ก็ตาม แต่ทว่า ! เราเคยคิดกันหรือไม่ว่า เรากำลังชี้นำสังคม ชี้นำประชาชนให้มองภาพความเสื่อมทรุดของสังคม ให้มองความเสื่อมทรามของสถาบันต่างๆ ที่มีในสังคม ด้วยวิธีการประจานต่อสาธารณชนให้รับรู้
       จริงอยู่ แน่นอนว่า เป็นจริง มีจริงอยู่ในสังคมนี้อย่างแน่นอน แต่เราควรสื่อความจริงนั้นออกมาเพื่อชี้นำสังคมในลักษณะเช่นว่านี้หรือไม่

       ข้างนอกนี้สำรวมอินทรืย์ยากมากครับพระอาจารย์ เราอยู่เฉยๆ มันก็แทงเข้ามาถึงที่เลยครับ สำรวมกันแทบไม่ทัน
       ผมคิดว่าถ้าคนเรามีศรัทธามั่นคง เชื่อในความดี เชื่อในความถูกต้อง เชื่อในสถาบันที่เราศรัทธา ต่อให้มีสิ่งใดมากระทำให้เราคิดต่างออกไป ก็ยากที่จะให้เราเปลี่ยนความเชื่อได้นะครับ ถ้าสิ่งที่เราเชื่อคือสิ่งที่ดีจริง
       ที่คุณพูดก็จริงอยู่ แต่ทว่า ! คนที่จะมีปัญญา มีศรัทธาที่มั่นคงเช่นว่านั้น จะมีสักเท่าไรกัน คนส่วนมากในสังคมเช่นในปัจจุบัน คุณก็จะเห็นได้จากการที่คนลุ่มหลงอยู่ในลัทธิวัตถุนิยม บริโภคนิยม นี่มิใช่เพราะอิทธิพลของสื่อด้วยการโฆษณาชวนเชื่ออย่างนั้นหรือ
       คนส่วนใหญ่ต้องการการชี้นำ และคล้อยตามสื่อที่ตนเสพได้ง่าย ฉะนั้น การสื่อในสิ่งที่จะให้ประโยชน์แก่สังคมจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก

       ขอโทษด้วยนะครับยังอภิปรายกันไม่จบ ผมต้องขอตัวไปวิ่งออกกำลังกายก่อนนะครับ
       เราลองคิดถึงสภาพความเป็นจริงถึงสถาบันอันเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพ เชิดชูบูชาในคุณความดีต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่า ก็ย่อมมีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดีปะปนกันไป เป็นไปไม่ได้ที่ทุกสังคม หรือในสถาบันใดจะมีแต่คนที่ดี แต่ทว่า ! ในส่วนน้อยที่ประพฤติไม่ดีนั้น ก็ยังมีส่วนใหญ่ที่ประพฤติปฏิบัติดีงาม แต่ทำไมเราจึงจ้องจะเพ่งโทษซึ่งกันและกัน ชี้นำประชาชนให้มองภาพสถาบันนั้นๆ เช่น บิดามารดา ครูอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ หรือแม้แต่พระมหากษัตริย์ หรือประเทศใดประเทศหนึ่งในทางร้าย เราต้องการที่จะสื่อเพื่อให้ประชาชนผู้รับสาร ซึ่งอาจขาดวิจารณญาณในการพิจารณาโดยรอบคอบเห็นดีเห็นงามไปกับเราด้วย ว่าสถาบันนั้นๆ เลวทราม หรือมีส่วนเสียเช่นนี้ๆ อย่างนั้นหรือ
เพราะว่าคนร้ายชอบทำตัวเป็นใหญ่มั้งเจ้าคะ (คือทำผลเสียได้มาก)
       ขอโทษด้วยถ้าความคิดเห็นของผมไม่เหมาะสมอย่างไร ผมจะนำความคิดที่ได้รับมาคิดต่อครับ
กราบลาพระอาจารย์ สวัสดีทุกท่านนะครับ

สวัสดีค่ะน้องปึ๊น แล้วมาคุยกันใหม่
       ดังเช่นทีวีหรือหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน เราจะเห็นได้ว่า การขายข่าวสารต่างๆ ก็ล้วนแต่ชักนำสังคมไปสู่ความเลวร้าย ให้เห็นสังคมในด้านร้ายๆ เช่นกัน
       คนทำความดีมีมากแต่ก็ไม่ได้นำมาลงข่าว คนทำผิดพลาดเสียหายแม้เล็กน้อยก็นำมาประจานกันเป็นเรื่องใหญ่โต เรื่องที่ไม่ควรลง เช่น รูปผู้หญิงนุ่งน้อยห่มน้อย ภาพลามกอนาจาร การกินอยู่อย่างหรูหราฟุ่ยเฟือย คนรวยเพราะถูกหวย หรือเรื่องเหลวไหลงมงาย อาทิ เครื่องรางของขลัง คนขูดต้นไม้หาเลข เหล่านี้ก็ล้วนแต่นำมาลง
       เราท่านแต่ละคนจะมีความรู้สึกอย่างไรต่อสังคมนี้บ้างล่ะ เราส่งเสริมกันในเรื่องที่ดี หรือเราส่งเสริมกันในด้านใด

ว่าไปแล้ว ข่าวแบบนี้ ทำให้คนมีใจที่กระด้างขึ้นด้วย
       การชี้นำสังคมเป็นสิ่งที่สำคัญ การยกย่องความดีเป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าเรามุ่งแต่จะติเตียนกันและกัน โดยมิได้ตระหนักถึงหน้าที่ของแต่ละคนที่จะช่วยผยุง ประคับประคองสังคมให้เป็นไปในทางที่ดี มีแต่สาแก่ใจ ที่ได้เห็นการว่ากล่าวติเตียนกันและกันเช่นนี้ โดยมองเห็นว่าตนเป็นคนนอก อย่างนี้ เราก็จะไม่คิดแก้ไขปัญหานั้น หรือช่วยแก้ไขวิกฤตการณ์นั้นเลย
การเสนอข่าวสารมักจะโน้มเอียงไปในทางไม่ดี เพื่อให้ขายข่าวได้ (ง่าย)
เอ หรือว่า สังคมนี้ ชอบเรื่องแบบนี้น้อ พวกขายข่าวก็รู้ใจ จัดห้ายยย
เพราะคนเราไวต่อความทุกข์ มากกว่าที่จะไวต่อความสุข
       ในฐานะที่เรา(ส่วนใหญ่) ก็เป็นพุทธศาสนิกชน แล้วเรายังคงเมินเฉยต่อการตำหนิติเตียนสถาบัน ดังเช่น สถาบันพระพุทธศาสนา สถาบันพระสงฆ์ โดยมองว่าถูกแล้ว ชอบแล้ว ที่จะออกมาตำหนิ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันให้หนัก แต่เราเองก็ไม่ได้ตระหนักที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้อง ดูแล คุ้มครองพระพุทธศาสนาในยามเกิดปัญหาวิกฤติขึ้น อย่างนี้แล้ว จะเรียกตัวเราว่า ยังคงเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีเช่นนั้นหรือ
เจ้าค่ะ
       ดังเช่น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ก่อนที่จะปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงวางพระหฤทัยที่จะฝากพระศาสนาไว้กับพุทธบริษัททั้ง
๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ให้ช่วยกันประคับประคอง ดูแลพระศาสนาให้ดำรงไว้ด้วยดี เพื่ออนุเคราะห์ต่อโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขแก่พหูชน

ค่ะ
       ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของเราแต่ละคน ที่จะช่วยกันดูแล ปกป้องพระพุทธศาสนา ซึ่งหมายถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยิ่งด้วยชีวิตของเรา เกินกว่าที่เราจะมัวแต่มาเหยียบย่ำซ้ำเติม
       เมื่อพระศาสนาเสื่อมทรุดลง ก็แสดงให้เห็นว่า แม้แต่สังคมในอุดมคติดังเช่น สังคมสงฆ์ ก็ยังคงเสื่อมทรุดลงเช่นนี้ สังคมของเราจะเป็นอย่างไร เพราะแม้แต่แกนกลางซึ่งเป็นศูนย์รวมแห่งคุณงามความดีทั้งหลาย ยังต้องเผชิญต่อการถูกทำลาย ด้วยกลุ่มคนบางกลุ่มที่แอบแฝงเข้ามาในพระศาสนา มิได้มีการฝึกฝนพัฒนาตน แต่เพียงต้องการให้ได้มาซึ่งลาภสักการะ นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า สังคมของเรากำลังขาดที่พึ่ง สังคมกำลังดำเนินไปในทางที่ผิด

สาธุครับ ทหารรักษาป้อม ป้อมย่อมรักษาทหาร
หรือว่าบริษัทสามหายไปแล้ว เหลือบริษัทเดียว
แล้วสังคมสงฆ์เสื่อมเพราะอะไรค่ะ แล้วจะแก้ไขได้หรือไ ม่
       เราพึงเข้าใจว่า สถาบันสงฆ์ หรือพระภิกษุนั้น ก็คือ ลูกชาวบ้านอย่างเราๆ นี่เอง ชาวบ้านอย่างเราๆ ที่เข้ามาอาศัยพระพุทธศาสนา เข้ามาบวชเรียนในพระธรรมวินัย มิได้หมายความว่า เขาเหล่านั้นที่บวชเข้ามาจะเป็นเจ้าของศาสนา
       แต่โดยแท้แล้ว เราทั้งหลายนี่ล่ะเป็นเจ้าของพระศาสนาที่แท้จริง คือ พุทธบริษัท ๔ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงฝากพระศาสนาไว้กับเราทุกคน มิใช่ว่า พระภิกษุเป็นผู้รักษาหรือมีหน้าที่ดูแลปกป้องพระพุทธศาสนา เพราะโดยแท้แล้ว บุคคลใดก็ตามที่ยังมีการฝึกหัดพัฒนาอย่างไม่เพียงพอ แม้จะเป็นพระภิกษุก็ตาม ต่างก็ยังเป็นปุถุชน ดังเช่น เราท่านทั้งหลาย เช่นกัน
       ฉะนั้น เราจะหวังฝากพระพุทธศาสนาไว้ที่ใครกัน ไม่ใช่ที่ตัวเราหรือ แต่ละท่าน แต่ละคน ที่เป็นเจ้าของพระศาสนาที่แท้จริง

เจ้าค่ะ
       การติ มันทำง่ายนะครับพระอาจารย์ ส่วนการจะช่วยให้เกิดสิ่งดีที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ สัมผัสได้ทำยากสุดยาก และคนที่ทำต้องเจอแรงเสียดทานจากคนช่างติ(ชนิดไม่สร้างสรรค์) มากมาย
      คนที่เขากำลังทำสิ่งนี้อยู่ อาจคิดว่าตนเองกำลังรักษาพระพุทธศาสนาไว้ก็ได้ อย่างนี้ ท่าทีในการรักษาอย่างไร ถึงถูกต้องถูกวิธีเจ้าคะ
แต่ในยุคนี้คนที่รู้จักพระพุทธศาสนาที่แท้จริง อาจมีน้อย
       เราควรคิดกันเสียใหม่ว่า ถ้าสถาบันสงฆ์ที่ปัจจุบันมีความเสื่อมทรุดเช่นนี้จริง ดังที่มีคนวิพากษ์วิจารณ์ด้วยความรุนแรง หรือต้องการสื่อให้เห็นภาพแห่งความเลวร้ายของสถาบันหนึ่งในพระพุทธศาสนา เราต่างหากกลับต้องมีหน้าที่ๆ จะต้องชี้แจง ให้เขาเหล่านั้นได้เห็นความเป็นจริงที่ว่า
       ในทุกสังคมก็ย่อมต้องมีทั้งคนที่ดีและไม่ดีปะปนกันไป แต่การที่จะสื่อภาพลักษณ์ให้เกิดความประทับใจ ติดตาตรึงใจ ทำไมเราไม่สื่อหรือส่งเสริมกันในด้านที่ดี เพื่อนำพาสังคมและประชาชนไปในแนวทางที่ดีเล่า ซึ่งเป็นหน้าที่ของแต่ละคนที่จะพึงกระทำ
       ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าพุทธบริษัทยังไม่สามารถแสดงพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง กล่าวปราบปรับปวาท ผู้กล่าวล่วงเกินต่อพระพุทธศาสนาได้ พระพุทธเจ้าก็จะยังทรงไม่ปรินิพพานเพียงนั้น
       แต่เพราะพระองค์ทรงเห็นแล้วว่า พุทธบริษัททั้ง ๔ มีความสมัครสมานสามัคคีอย่างเพียงพอ มีความรักในพระศาสนา มีการศึกษาและปฏิบัติจนสมควรแก่ธรรมแล้วนั่นล่ะ จนถึงสามารถแสดงธรรมอันวิจิตร สามารถข่มขี่ตอบโต้ต่อผู้กล่าวร้ายต่อพระศาสนาได้นั่นล่ะ พระพุทธองค์จึงวางพระหฤทัยที่จะดับขันธปรินิพพาน

ค่ะ
ค่ะ
       หากการติ คนที่ติก็ประพฤติตน ทำหน้าที่ตนได้ดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง ดังพุทธพจน์ที่ว่า ตั้งตนในคุณอันสมควรก่อน พร่ำสอนผู้อื่นภายหลัง จักไม่มัว หมอง. . . แต่เท่าที่เห็นไม่ใช่จะสวนหมัดกลับหรืออะไรหรอกนะครับ เห็นว่า. . .คนติ คนตำหนิ ไม่ว่าจะทำโดยเจตนาอย่างไรก็ตามแต่ แต่คนเหล่านั้นก็ยังทำหน้าที่ในเรื่องที่ตนตินั้นไม่ได้ดีเลย บางคนตรงกันข้ามเลยซะด้วยซ้ำ
       แล้วเราดูในปัจจุบันซิว่า พุทธบริษัท ออกมาวิพากษ์สังคมสงฆ์อย่างไร เราเห็นดีเห็นงามเมื่อมีผู้กล่าวร้าย ตำหนิติเตียนพระรัตนตรัยอย่างไร นักวิชาการทางศาสนา นักวิพากษ์สังคม บางท่านก็กล่าวว่า "จะเป็นอะไรไป เขียนได้ ก็มันเรื่องจริง ทำไมจะพูดไม่ได้" "ใจแคบเกินไปหรือเปล่า" "พวกไม่รู้จักศิลปะ" อย่างนี้เป็นต้น
หรือว่าสูงส่งจนแตะต้องไม่ได้ เอ แล้วแตะได้แค่ไหนน้า
       บางครั้ง เรากำลังมองข้ามหน้าที่ของตนที่มีต่อพระศาสนา อันเป็นที่นำมาแห่งความรัก และความสงบร่วมกันในสังคม เรามักสะใจ สาแก่ใจ หรือบางท่านก็ชื่นชม ว่าเขาเขียนได้ดี ชัดเจนดี ตรงไปตรงมาดี รุนแรงดี อย่างนี้เป็นต้น
       นั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือ คล้ายกับเรารู้สึกว่า เราเป็นคนนอก นอกพระศาสนา พระศาสนาไม่ใช่เรื่องของเรา สถาบันสงฆ์เป็นองค์กรหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรา เป็นต่างหากจากเรา เราไม่มีส่วนช่วยกันดูแล ประคับประคอง ส่งเสริมให้พระภิกษุ ซึ่งโดยมากก็ลูกชาวบ้านนี่เองที่เข้ามาบวชเรียน แต่อาจมีการศึกษาพระธรรมวินัยไม่เพียงพอ เราเองในฐานะเจ้าของพระศาสนา เราควรช่วยกันผลักดัน ส่งเสริมให้พระภิกษุท่านได้รับการศึกษาอย่างเพียงพอ และอย่างถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัยมิใช่หรือ

คนมองพระศาสนาไม่ใช่เรื่องของเรา เพราะขาดศรัทธาหรือเปล่า
      อืมม จริงๆแล้ว ศรัทธาน้อยไปหรือเปล่า ว่าไปแล้ว พระเองก็สะท้อนถึงชาวบ้าน เพราะพระเองก็คือลูกชาวบ้านที่มาบวช
       แต่ว่าสังคมไทย ก็มีการสื่อข่าวในไปลักษณะสื่อสังคมออกมาว่าไม่ดีอยู่แล้ว และไม่เชิดชูคนดี ซึ่งต่างจากต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น อเมริกา ที่จะให้เกียรติ เชิดชู
       และหากพบเห็นพระภิกษุรูปใดประพฤติปฏิบัติไม่เหมาะสม เราต่างหากที่ควรเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหา ถ้าพระภิกษุบางพวกเหล่านั้น ประพฤติไม่ดีจริงๆ นั่นก็หมายถึง โดยแท้ ท่านเหล่านั้นก็ยังมิใช่พระสงฆ์ที่แท้อยู่นั่นเอง เราต่างหากที่ต้องนำท่านเหล่านั้นออกมาจากพระศาสนา ไม่ให้พระศาสนาต้องบอบช้ำเพราะลูกชาวบ้านอย่างเราๆ ที่ไม่ได้ขวนขวายศึกษาพระธรรมวินัย หรือได้รับการศึกษาพระธรรมวินัยอย่างถูกต้อง
      มิใช่ว่า จะมายินดีอยู่ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ พอใจตำหนิติเตียนสถาบันอยู่เช่นนี้ แล้วสังคมจะได้อะไรขึ้นมา ! เมื่อเราสนับสนุนการชี้นำสังคมไปในลักษณะอย่างนี้ ดังกับว่า เราไม่ใช่พุทธบริษัทอย่างไรล่ะ

      หรือว่า เพราะคำที่มีมาว่า ทำดีอย่าเด่นจะเป็นภัยหรือเปล่าคะ น้องส้ม คนเลยกลายเป็นเช่นนี้กันไป
       ประกาศให้สังคมรับรู้ว่า คนดี คนเสียสละ ควรยกย่อง ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคม รวมถึงเด็ก
หรือว่า เรามัวแต่กลัว เพราะมองว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แตะต้องไม่ได้ เจ้าคะ
       สมัยนี้มีการติหลากหลายแนวทาง ดูจะติดเชื้อกันไปหมด ตัวอย่างคนทำสื่อ. . บางค่าย จมปลักอยู่แต่การนำเสนอโน่นไม่ดี. . . นี่ไม่ดี. . หรือเพราะเขามองหาดีไม่เป็น หรือไม่มีในสังคมแล้วหรือไร ที่จะหาพฤติกรรมที่ดีออกมานำเสนอได้บ้าง จึงออกมาแบบนั้นทั้งภาพแสงสี หรือว่าการศึกษาที่เรียนๆ กันอยู่ หมาหางด้วนจริงๆ ดั่งที่หลวงปู่. .ว่าไว้ ยิ่งศึกษายิ่งจมอยู่ในโลกโลกียะจนแน่นหนา ห่างไกลโลกุตตระ ลดโลภ โกรธ หลง
       อาตมาขอย้อนกลับมากล่าวถึงเรื่องของภาพ "ภิกษุสันดานกา" สักเล็กน้อย เราเคยคิดหรือไม่ว่า บางครั้งความหวังดีแม้แต่ของผู้เขียนภาพ แต่ก็อาจก่อให้เกิดผลเสียติดตามมามากมาย ทั้งต่อตนเอง ต่อพระศาสนา หรือแม้แต่ผู้เสพสื่อนี้ก็ตาม ล้วนแต่เป็นที่ตั้งให้เกิดอกุศลจิต ให้คิดถึงบุคคล สังคม สถาบัน ในด้านที่ไม่ดี
คือจะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตาม ต้องมองผลที่เกิดขึ้นหลายมุมมอง
       สรุปโดยส่วนตนเห็นว่า ภาพ "ภิกษุสันดานกา" ก็เป็นการติชนิดหนึ่ง ในบรรดาการใช้สื่อทั้งภาพวาด สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิดิโอ โทรทัศน์ ฯลฯ ควรติเพื่อก่อจะดีที่สุด หรืออย่างน้อยควรนำเสนอวิธีแก้ป้องกันด้วยก็ยิ่งดี
คือ อาจเป็นสไตล์ของคนวาดก็ได้เจ้าค่ะ วาดรูปสวยๆ ไม่เป็น
มิฉะนั้น ได้ (ของจิตรกร) จะไม่คุ้มเสีย (ของสังคมหรือหน่วยงานที่โดนติ ฯลฯ)
       เราลองคิดเสียใหม่ว่า ถ้าผู้เขียนมีความปรารถนาดีจริงต่อพระศาสนา แล้วต้องการสื่อให้เห็นถึงปัญหาที่มีในสังคม ทำไมผู้เขียนจึงไม่แสดงภาพทั้ง สองด้านของความจริง
       เช่นว่า มีภาพๆ หนึ่ง อาจแสดงถึงภาพพระภิกษุที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบกำลังประกอบศาสนกิจ แล้วในขณะเดียวกัน ก็อาจมีภาพภิกษุอีกหมู่หนึ่งกำลังเป็นดังเช่นภิกษุสันดานกา ซึ่งกำลังทอดเงาบดบังพระภิกษุผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบผู้นั้นอยู่
       อย่างนี้สิ ย่อมสื่อให้เห็นได้ถึงสภาพความเป็นจริง ว่าพระศาสนานี้กำลังมีปัญหาเกิดขึ้น คือ มีผู้ไม่หวังดีกลุ่มหนึ่งกำลังมีอำนาจหรือแสดงสิ่งที่ผิดต่อสาธารณชน แล้วบดบังความบริสุทธิ์แห่งพระศาสนา ได้แก่ สังคมแห่งพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย เช่นนี้ ย่อมเป็นการแสดงภาพแห่งทัศนคติที่ถูกต้องตรงไปตรงมา มิใช่ว่า จะมุ่งแต่วิจารณ์ มุ่งแต่การทำลาย ที่ไม่ได้สร้างสรรค์อะไรให้เกิดขึ้นได้เลย

       นั่นสิครับ เราจะหวังให้คนทำมีสำนึกดีเช่นพระอาจารย์ว่า. . นี้ จะมีปรากฏหรือหนอ ? ? ?
       หรือถ้าว่าให้ชัดเจน เรากล่าวอย่างนี้ได้ไหมว่า ทำไมท่านผู้เขียนไม่ตั้งเจตนาในการส่งเสริมสถาบันพระศาสนาให้มั่นคงยิ่งขึ้น หรือส่งเสริมให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้ซาบซึ้ง และเห็นภาพความงดงามของสังคมในอุดมคติ มากกว่าการทำลายความน่าเชื่อถือของสถาบันใดๆ ก็ตาม
       เช่น ภาพพระภิกษุผู้พร่ำสอนประชาชนให้ตั้งอยู่ในความดี ภาพพระมหากษัตริย์ผู้ทรงรักใคร่ประชาชน ภาพประชาชนที่มีความสมัครสมานสามัคคีกันในการดูแลชุมชุน ภาพครูอาจารย์ที่พร่ำสอนศิษย์ให้เป็นคนดี อย่างนี้จะดีกว่าไหม?

เอ หรือว่า เขาไม่เห็นพระสงฆ์มีดีเลย
ผู้เขียนเองได้สะท้อนให้เราได้เห็นว่ามีชาวไทยบางกลุ่มที่มีความคิดด้านลบกับพระสงค์นะค่ะ
       ถ้าเรายินดีในการจ้องมองจุดบอด เพ่งโทษ ตำหนิติเตียนกันเช่นนี้ แน่นอนว่า ไม่ว่าจะเป็นสถาบันใดก็ตาม ก็ย่อมได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจ โดยเฉพาะผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ก็ย่อมต้องพลอยมัวหมองไปด้วย ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อย่างที่ได้กล่าวว่า แม้ผู้เขียนอาจมีเจตนาที่ดีก็ตาม
       อย่างไรก็ตาม การสนทนาเรื่องนี้ในวันนี้ ผมจะขอนำมาขยายออกทางสื่อที่ผมทำอยู่ต่อไปด้วยนะครับพระอาจารย์ แต่ตอนนี้ต้องขอตัวก่อน ได้เวลาไปเทศน์ออกวิทยุชุมชนก่อนครับผม ญาติโยมทั้งหลาย อาตมาขอตัวก่อนนะ เจริญสุขทุกๆ คน เจริญธรรม. . .
กราบลาค่ะ
กราบลาค่ะ
เจริญธรรม ท่านสมณะ
       อาตมาก็เลยอยากจะให้คิดดูเล่นๆ ว่า ถ้ามีภาพ "พ่อผู้ข่มขืนลูกสาวในไส้" ออกมาจริงๆ ต่อไปสถาบันบิดาจะถูกมองอย่างไร ลูกสาวจะต้องระแวงภัยว่าพ่อของตนจะข่มขืนหรือไม่ เช่นนั้นหรือ
       หรืออย่างเช่นภาพ "ภิกษุสันดานกา" นี้ เมื่อพระภิกษุออกบิณฑบาตรับอาหารจากชาวบ้าน แล้ววัยรุ่นคะนองกลุ่มนี้ กล่าวว่า “นี่พวกภิกษุสันดานกาหรือเปล่านี่” เราจะคิดอย่างไร
       ตัวอย่างทั้งสองที่ยกมา ทั้งพ่อ ผู้กำลังถูกสังคมจ้องมอง ทั้งพระภิกษุ ที่กำลังถูกสังคมจ้องมอง ก็เช่นเดียวกัน ย่อมเกิดความเสียหายต่อสถาบันนั้นๆ อย่างเลี่ยงเสียไม่ได้ ทั้งที่ก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจเป็นเช่นนั้น

      ถ้าความคิดของสังคมเป็นไปอย่างสื่อที่เขาป้อนให้ ก็สะท้อนให้เห็นว่าสังคมนั้นอยู่ในระดับไหนกัน
กราบนมัสการลาเช่นกันครับ
สวัสดีค่ะคุณตู่
       ฉะนั้น ในโอกาสที่เราได้มีโอกาสร่วมสนทนากัน ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เราทั้งหลายจะเห็นความสำคัญแห่งหน้าที่ของแต่ละคน ที่จะพึงมีต่อพระศาสนา ต่อสังคม และประเทศชาติ ที่จะร่วมกันส่งเสริมภาพลักษณ์ในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ออกมา แม้ว่าสิ่งเหล่านั้นอาจจะยังเป็นสังคมในอุดมคติก็ตาม แต่เราก็ยังยินดีที่จะได้เห็นภาพแห่งความรัก ความศรัทธาในคุณความดี ยิ่งกว่าความมุ่งร้ายต่อกัน หรือต่อสถาบันใดสถาบันหนึ่งมิใช่หรือ
       ขอให้ญาติโยมทุกท่านได้มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งแก่จิตใจของตน ขอให้ญาติโยมทุกคนจงมีตนเองเป็นที่พึ่ง เป็นที่หวังแห่งความเจริญในชีวิตของแต่ละท่าน ด้วยการยึดมั่นและส่งเสริมกันในคุณงามความดี

กราบขอบพระคุณพระอาจารย์ค่ะ
เวลาก็ได้ล่วงเลยมามากแล้ว
       ครับพระอาจารย์ คราวหน้าอยากให้พระอาจารย์ ขยาย ธรรม 4 ประการ ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ครับ
ขออนุโมทนาบุญกับญาติโยมทุกคนอีกครั้งหนึ่ง
ขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ
นมัสการท่านเอกชัย และขอเจริญพรแก่ญาติโยมทุกคน
นมัสการลาพระอาจารย์ ทุกๆ ท่านครับ
       ในวาระสิ้นสุดพรรษากาลนี้ ขอให้ญาติโยมจงมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง และเป็นที่พึ่งอันดีแก่ตน ด้วยการประพฤติกรรมดีด้วยกันทุกคน
นมัสการลาพระอาจารย์ทุกท่านค่ะ
มากราบพระงามๆ สามทีกันนะคะ
ค่ะ
กราบลาพระอาจารย์ค่ะ ที่ให้ความรู้เพื่อส่งเสริมปัญญา
และขอฝากพระพุทธภาษิตสำหรับสัปดาห์นี้ไว้ว่า
น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมนั้นไม่ดี
ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมนั้นแหละดี
ลาล่ะจ๊ะ

ครั้งหน้าคงไม่จัดใช่ไม๊เจ้าคะ
กราบลาค่ะ
       จ๊ะ สัปดาห์หน้าอาตมาของดครั้งหนึ่งนะ อาตมาจะเข้าเก็บตัวเพื่อเจริญพระกรรมฐาน ๑ สัปดาห์
อนุโมทนาด้วยค่ะ
อนุโมทนาด้วยค่ะ
ดีจัง เมื่อไหร่จะมีโอกาสบ้างน้อ




 

Create Date : 30 ตุลาคม 2550    
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2550 21:38:42 น.
Counter : 500 Pageviews.  

ความสันโดษกับความพอเพียง สัญญา ความทรงจำ และ คนดีจะดีได้ ต้องไม่ทิ้งความดี 501014

ธรรมะ Online บ่ายวันอาทิตย์
เรื่อง ความสันโดษกับความพอเพียง
สัญญา ความทรงจำ และ คนดีจะดีได้ ต้องไม่ทิ้งความดี
(วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๐)

ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปัญฺญาวโร


เป้ says:
นมัสการท่านปิยะลักษณ์เจ้าค่ะ

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
เจริญพรจ๊ะ

หนูนิดจ้ะ. says:
นมัสการเจ้าค่ะ

[คิม] ดวงใจยังรักเธอ says:
คร้าบ

นฤพนธ์ : ตามหาทางแห่งแสง [นฤพนธ์ การเกษตรและพืชไร่] says:
นมัสการพระคุณเจ้าครับ

เริ่มต้นกันเลยดีกว่านะคะ ช่วยกันคิดและโหวดหัวข้อสนทนาในวันนี้กันดีกว่า
อยากเสนอเรื่อง คิดเห็นยังไงกับภาพ “ภิกษุสันดานกา” ครับบ
นิมนต์ท่านเอกชัยเจ้าค่ะ
ขอเสนอเรื่อง ความสันโดษ กับความพอเพียง เหมือนและแตกต่างกันอย่างไรนะค่ะ
ดีครับ
arusaya says:
ค่ะเห็นด้วย

เห็นด้วยกับ หนูนิดครับ
เชิญคุณซุงค่ะ
 [a=10] sOMEsOONGINmELBOURNE[/a] says:
นมัสการท่านปิครับ และสวัสดีทุกท่าน

นมัสการท่านเอกชัยครับ
นมัสการท่านเอกชัยเจ้าค่ะ
นมัสการท่านเอกชัยด้วยครับ
นมัสการท่านเอกชัยครับ
พระเอกชัย says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ

นมัสการพระคุณเจ้าครับ
สวัสดีทุกๆ ท่านครับ ฝนมามืดเลย เริ่มลงแล้ว
ส้ม says:
นมัสการค่ะ

ทุกๆ คน ตอนนี้มีสองหัวข้อค่ะ มีใครอยากเสนอเพิ่มอีกไม๊คะ
1. คิดเห็นยังไงกับภาพภิกษุสันดานกา
2. ความสันโดษ กับความพอเพียง เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร

โหวดข้อ 2 ค่ะ
 เลือกข้อ 2 ครับ
ขอตอบหัวข้อที่ ๒ ก่อนก็แล้วกัน
ครับ
       คำว่า สันโดษ หมายถึง ความยินดีพอใจในปัจจัย ๔ อันหามาได้ด้วยความชอบธรรมของตน ซึ่งคำว่า สันโดษ นั้น ถ้าแปลเป็นไทยตามรูปศัพท์  ก็แปลว่า มีความพอใจ (๑)
       ส่วนคำว่า พอเพียง เป็นคำภาษาไทย ซึ่งมีความหมายว่า เพียงพอเท่าที่มีความต้องการ, คำว่า พอ ก็หมายถึง เต็มตามความต้องการ จ๊ะ

ความต้องการ หมายถึงความจำเป็น หรือต้องการ(ตามอำเภอใจ) เจ้าคะ
       ความต้องการ หมายถึง มีความประสงค์อย่างนั้น หรืออยากได้อย่างนั้น ซึ่งอาจจะเกิดจากความรู้ความเข้าใจด้วยสติปัญญาก็ได้ หรืออาจเกิดจากความอยากความปรารถนาที่มีอยู่ในใจก็ได้
อย่างนั้น ก็มีความจำกัดไม่เหมือนกันในแต่ละคนสิเจ้าคะ
เชิญน้องอุ้ยค่ะ

ไร้ความคิด ไร้ตัวตน ไร้หัวใจ says:
สวัสดีทุกๆ คน เเละนมัสการพระอาจารย์ทุกๆ รูปนะครับ

       ตอนนี้คำว่า ความสันโดษ กับ ความพอเพียง เมื่อดูจากความหมายแล้ว จะเห็นได้ว่า ความสันโดษ เป็นคุณสมบัติภายในจิตใจคน ที่มีความพอใจในสิ่งที่มีอยู่หรือได้รับมา ส่วนคำว่า พอเพียง นั้น หมายถึง มีความเพียงพอต่อความต้องการ นั่นเอง
โยมว่า ในหลวงคงพยายามสื่อในเรื่องความสันโดษนะค่ะ
แต่คำว่าสันโดษ ถูกทำให้ตีความผิดๆ มานาน
       เพราะถ้าหมายถึง "เพียงพอต่อความต้องการ" ก็คงไม่มีใครมีความต้องการเพียงเท่านั้น
       ผมกลับมองว่าการสันโดษนั้น หมายถึง การที่เรามีชีวิตอยู่ได้โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่นน่ะครับ
       "ผมกลับมองว่าการสันโดษนั้นหมายถึงการที่เรามีชีวิตอยู่ได้โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่นน่ะครับ"... อันนี้เป็นผลของความสันโดษนะค่ะ เพราะหากใครมีควมสันโดษ   ก็จะไม่ไปทำการเบียดเบียนใครอยู่แล้ว
แล้วทำไมในหลวงใช้คำว่าพอเพียงแทนสันโดษล่ะเจ้าคะ
น้องเป้ ถามเหมือนพี่คิด
ความพอเพียงคือการใช้ชีวิตอย่างไม่โลภ
เชิญคุณธนวัฒน์ค่ะ
Dhanawatana says:
       กราบนมัสการครับ สวัสดีทุกท่านครับ...ผมขออ่านอย่างเดียวก่อนนะครับ เพราะพิมพ์ช้าครับ

       การมีความสันโดษนั้น เป็นเหตุให้จิตใจของผู้ที่มีความสันโดษ ไม่เกิดความเร่าร้อนเพราะความอยากความปรารถนาอันไม่มีที่สุด ซึ่งย่อมถูกแผดเผาอยู่ทุกขณะเมื่อบุคคลนั้นยังไม่รู้จักความพอเพียง และพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
      สาธุเจ้าค่ะ แต่เหมือนเคยได้ยินว่า เมื่อก่อนรัฐบาลทำให้ความหมายของคำว่าสันโดษเปลี่ยนไป กลายเป็นความไม่เอาอะไรเลย (ขี้เกียจ)
       การมีความสันโดษนั้น มาจากภาษาบาลีว่า "สนฺตุฏฺฐี" ซึ่งเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้บุคคลมีจิตใจที่สงบเยือกเย็นจากความอยากความปรารถนาที่มีอยู่ทุกขณะ แต่ในส่วนของการประพฤติปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนปรารถนานั้น ก็จะต้องมีความพากเพียรพยายามเรื่อยไป แต่ทำด้วยจิตใจที่มีความสงบไม่มีความเร่าร้อน นั่นเอง
      อืมม เพราะจิตนั้นเร่าร้อนด้วยความต้องการ ถึงเที่ยวแสวงหาของมาเพื่อดับร้อนนั้น แต่แล้วก็ว่าไม่อาจดับได้ เพราะสาเหตุแห่งความเร่าร้อนไม่ได้เกิดจากของ แต่เกิดจากใจนั้นเอง
       ในข้อนี้ พระพุทธองค์ตรัสถึงธรรมที่เป็นเหตุแห่งการตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณว่า พระองค์ทรงประจักษ์แจ้งแก่ตนเอง ว่าเหตุแห่งการตรัสรู้ธรรม (๒) ประการ ได้แก่
       ๑.ความไม่สันโดษในกุศลธรรม คือ การไม่ยินดีอยู่เฉพาะต่อการเจริญกุศลธรรมเพียงเท่านี้ๆ และ
       ๒.ความบากบั่นพากเพียรพยายามไม่ระย่อท้อถอยต่อการกระทำความดีทั้งปวง
       ซึ่งเรียกธรรมในหมวดนี้ว่า "อุปัญญาตธรรม" ๒

ที่ท่านปิฯ กล่าวนี่ หมายถึง การให้เลือกสิ่งที่เป็นกุศล
.........................................
เราควรมีมุมมองต่อสัญญา หรือความจำที่มากระทบใจ อย่างไรดีครับ?
       ความทรงจำที่ปรากฏขึ้นทางใจนั้น เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยปรุงประกอบให้เกิดขึ้น เช่น การเห็น การได้ยินต่างๆ เหล่านี้ การกระทบต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ล้วนเป็นสิ่งกระตุ้นเตือนความทรงจำ เป็นเหตุให้เกิดการนึกคิดปรุงแต่งสิ่งต่างๆ ซึ่งเรื่องราวหรือสิ่งที่จิตระลึกนึกถึงนั้น จะเป็นสิ่งที่ประสานสอดคล้องกับสิ่งที่ตาเห็นฯ หรือการกระทบที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
       เช่น เมื่อเราเห็นรูปใครบางคน จิตก็จะเริ่มเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือคล้ายคลึงกับสิ่งที่ตาเห็นนั้น เช่น มีลักษณะเหมือนใครที่เราเคยรู้จัก คนนั้นอยู่ที่ไหน มีลักษณะนิสัยใจคอเป็นอย่างไร เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเราอย่างไร
       ตรงนี้ล่ะ จะเกิดเป็นการปรุงแต่งเรื่องราวความคิดที่ปรากฏขึ้นทางใจในทันทีโดยที่เราไม่รู้ตัว เรียกว่า เป็นอัตโนมัติ ซึ่งหากเรารู้ไม่เท่าทันความคิดนั้น จิตก็จะหลงไปในอารมณ์ เกิดเป็นโลภะ โทสะ หรือโมหะ ขึ้นมา เช่น เกิดความยินดีพอใจ หรือเกิดความทุกข์ เศร้าโศกเสียใจขึ้นมา เป็นต้น
(๓) ( สฬายตนะ => ผัสสะ => เวทนา => ตัณหา => อุปาทาน => ทุกข์ ) (๔)
       การเกิดความคิด หวนระลึกนึกถึงสัญญาความทรงจำในอดีตเป็นเรื่องปกติที่ย่อมมีอยู่เสมอๆ หน้าที่ของเราก็คือ การระลึกรู้ด้วยสติสัมปชัญญะ    ว่าความทรงจำนี้ เรื่องราวความนึกคิดนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว มีผลอย่างไรต่อใจเรา มีประโยชน์หรือโทษอย่างไร เรียกว่า ระลึกรู้ให้เกิดความเข้าใจต่อสภาพธรรมนั้น ไม่เข้าไปยึดติดถือมั่นต่อสภาพการปรุงแต่งที่เกิดขึ้น เป็นแต่อาศัยเป็นที่ตั้งแห่งการพิจารณาธรรม ให้เกิดปัญญาขึ้นได้ในที่สุด
(๕) ( สฬายตนะ => ผัสสะ => เวทนา => มีสติสัปชัญญะ => นันทิดับ => อุปาทานดับ => ทุกข์ดับ ) (๖)
เอ่อน้องของผมเขานั่งอ่านๆ อยู่ เเล้วเขาไม่รู้เรื่องเลยอ่ะ(ให้น้องพิมมาตลอดเลย)
น้องอายุเท่าไหร่เหรอคะ
20ครับ
ของใหม่นะค่ะ แด๊วน้องก็คุ้นเคยค่ะ
เหอะๆ ก็เเค่คำศัพท์สูงๆ อ่านะ เขาก็งี้เเล
อย่างนี้พี่อุ้ยต้องติวให้เข้มๆ แล้ว
       เหอะๆ ไม่ต้องหรอกครับ เขาหัวไวพออ่านะ เเต่คำศัพท์ทางพุทธศาสนาบางครั้งผมเองก็มึนๆ อยู่เหมือนกันเเล
บอกน้องนะคะว่า “บัณฑิต” ย่อมพัฒนาตนเองให้เจริญยิ่งขึ้นค่ะ
แต่ความรู้มียิ่งมากยิ่งปวดหัวนะครับ บางทีไม่รู้จะดีกว่ารู้นะ
(อันนั้นน้องมันพิมพ์อ่าครับ)

เรากำลังพูดถึงสิ่งที่จะทำให้เราเจริญยิ่งขึ้นนะค่ะ
ครับผม
(อันนี้อุ้ยพิมพ์)
แล้วพระอาจารย์ครับ ถ้าการรู้จักอยู่ร่วมกันจะทำให้จิตจายฟุ่งซ่านหรอครับ

ความห่วงใยต่อคนที่ดีๆ จัดเป็นกุศลหรืออกุศลครับ
ถ้าห่วงใยแล้วทำให้ทุกข์ แสดงว่ามีอกุศลเข้าแทรกซะแล้วล่ะค่ะ
ห่วงก็ทุกข์ ไม่ให้ห่วงก็ไม่ทราบจะทำยังไง
ความห่วงใย ถ้าเป็นเหตุทำให้จิตใจเกิดความไม่สงบขึ้น ก็จัดเป็นอกุศลนะ
แบบนี้ ก็ไม่ต้องห่วงใครเลยเหรอค่ะ
ค่ะ
พ่อแม่ พี่น้องก็ไม่ต้องห่วงเหรอค่ะ
(สาธุที่ท่านปิฯ กล่าวะนะค่ะ)
       เช่น เราห่วงว่าเราจะได้ไปกินขนมกับเพื่อนไหม นี้เกิดจากโลภะ,      ถ้าห่วงว่าเราจะถูกเจ้านายตำหนิไหม อันนี้เกิดจากโทสะ, ถ้าห่วงว่าเพื่อนของเราจากไปนาน ไม่รู้เป็นตายร้ายดีอย่างไร อย่างนี้ก็อาจจะเกิดจากโมหะ หรืออุทธัจจะ ก็ได้
      ห่วงว่า เพื่อนของเราจากไปนาน ไม่รู้เป็นตายร้ายดี นี่เป็นอกุศลด้วยเหรอเจ้าคะ
       ถ้าระลึกถึงด้วยใจที่สงบ ก็ไม่ควรใช้คำว่า “ห่วง” หรือ “ห่วงกังวล” นะ ควรใช้คำว่า “ระลึกถึง” บุคคลนั้นมากกว่า ว่าขณะนี้เป็นอย่างไร เท่านั้นก็พอ ก็จะไม่เป็นอกุศล
Sitthisak Tayanuwat says:
       พระอาจารย์ครับ นมัสการลาก่อนนะครับ วันนี้เข้ามาสังเกตุการณ์ก่อน คราวหน้าคงมีคำถามมาถามบ้างครับ คงเป็นเรื่องการปฎิบัติ ขอให้พระอาจารย์แข็งแรง ออกบิณได้ทุกวันนะครับ

สวัสดีจ๊ะ ฑิต
       เเล้วการทำไม่ดีเเต่เป็นประโยชน์ส่วนรวม กับการทำดีเเต่เป็นผลเสียต่อส่วนรวมเเบบนี้ เเบบไหนมันจะดีกว่ากันอ่าครับ
       “การทำดีเเต่เป็นผลเสียต่อส่วนรวม” น่ะ ไม่มีหรอกนะ ถ้าเป็นการทำดี (กุศลกรรม) ย่อมให้ผลที่ดีเสมอ เพียงแต่จะเกิดเป็นผลดีอย่างแท้จริงได้ จะต้องเลือกเวลาที่เหมาะแก่การทำความดีนั้นด้วย
        .........................................
       พระอาจารย์คับ ทำไมคนที่จ้องแต่หาผลประโยชน์ของคนอื่น มักได้ดีกว่าคนที่ปิดทองหลังพระ แล้วบางทีซ้ำร้ายโดนใส่ร้ายป้ายสี โดนคนมีอิทธิพลรังแกด้วยคับ
       จะขออุปมาว่า เหมือนกับคนขึ้นบันไดทีละขั้นๆ แล้วช่วยเหลือกันและกัน ย่อมมั่นคงปลอดภัยกว่า แต่คนบางคนอาจกระโดดขึ้นบันไดทีละสองสามขั้น แล้วแถมยังผลักเพื่อนที่อยู่ข้างๆ หรือคนที่อยู่ข้างหน้าอีก อย่างนี้แล้วถามว่า ใครจะมีความมั่นคงในชีวิตกว่า ใครจะได้รับความรักความเข้าใจกว่า ใครจะได้รับการยอมรับจากสังคมกว่า ใครจะมีความสุข ความเบิกบานใจยิ่งกว่าล่ะ
เขาคงชอบอยู่โดดๆ บนบันไดมั้งเจ้าคะ ลมพัดแรงดี
       เป็นธรรมดาที่ในสังคมย่อมมีทั้งคนร้ายและคนดี ถ้าเรายังคงมั่นคงในความดี และช่วยเหลือกันและกัน ก็ย่อมจะได้รับสิ่งที่ดีเป็นสิ่งตอบแทน
ค่ะ
       แต่อาจเพราะในปัจจุบัน คนที่ดีก็ไม่ได้มีความเข้มแข็งในความดีอย่างเพียงพอ และที่สำคัญก็ไม่ได้คิดช่วยเหลือกันและกัน ไม่ช่วยปกป้องกันและกัน ฉะนั้น เมื่อคนไม่ดีมารวมกันมากเข้าๆ ด้วยอาศัยผลประโยชน์ร่วมกัน(ในทางทุจริต) บางอย่าง ก็กลายเป็นมีกำลังมากขึ้นมา แล้วอย่างนี้ เราจะโทษใครดีล่ะ โทษเราที่ไม่สามัคคีกัน ไม่ช่วยเหลือกัน ไม่เข้มแข็งในการรักษาความดี อย่างนี้จะถูกต้องกว่าไหม
       เรียนพระอาจารย์คับ ถ้าอย่างเช่น เราอยู่ในสังคมที่มีแต่การกอบโกยผลประโยชน์ต่อกัน ทำให้เกิดผลเสียมากมาย สิ่งที่เรารู้ที่ไม่ดีนั่นควรออกมาประจานรึปล่าวคับ ถ้าการแฉนั่นมีผลเสียต่อเราอาจถึงขั้นเสียชีวิต แต่ผลที่ได้อาจสูญปล่าวเพราะต้องไปแข่งกับคนมีอำนาจ
       ในการรักษาความดีนั้น เป็นหน้าที่ของคนดีที่พึงกระทำเรียกว่า กระทำไปด้วยความตรงไปตรงมา ตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีอยู่ แต่เราจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันนี้ คนดีก็ไม่กล้าออกมารักษาความดี ไม่กล้าออกมาประกาศความจริง อย่างนี้สิ สังคมจึงมีแต่ภาพที่เลวร้ายแสดงออกมาให้เห็นเสมอ ทำให้เห็นไปว่าสังคมนี้ไม่มีคนที่ดีแล้ว
หรือว่าคนดีที่ว่า ไม่ดีจริง
       ระลึกถึง สิ่งที่ท่านเจ้าคุณฯ เคยแสดงไว้เลยนะค่ะ “อธรรมวาทีมีกำลัง ธรรมวาทีก็อ่อนกำลัง” ประมาณนี้นะค่ะ
       เราลองคิดดูเถิดว่า ถ้าเราอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจในการประกาศความจริงความถูกต้อง หรือช่วยเหลือคนดีที่ถูกกลั่นแกล้ง หรือต้องรักษาความเป็นธรรมในสังคม แล้วเราไม่กล้าแสดงความจริงนั้นออกมา   ไม่กล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง แล้วอย่างนี้ สังคมจะเป็นอย่างไร ? เพราะแม้แต่คนที่เรียกตนว่าเป็นคนดี ก็ยังไม่กล้ารักษาความดีเลย !
ก็กลายเป็นสังคมของคนไม่ดีจิ
       แล้วเราลองดูสิว่า เมื่อคนดีจำนวนมากไม่กล้ารักษาความดีความถูกต้องชอบธรรม แต่กลับเกรงกลัวต่ออำนาจ และการเสียผลประโยชน์ต่างๆ ที่อาจมีมาสู่ตน เมื่อคนจำนวนมากประพฤติเช่นนั้น สังคมจะเป็นอย่างไร ภาพที่ออกมาสู่สายตาของประชาชนต่อสังคมจะเป็นอย่างไร กลายเป็นว่า สังคมนี้นิยมความชั่ว สังคมนี้ไม่มีคนดีเหลืออยู่เลย อย่างนั้นหรือ
ธรรมต้องนำเหล่าอธรรม
       การที่คนดีท้อถอย แต่คนไม่ดีกลับ “ได้ใจ” คือ กล้ากระทำกรรมชั่วอย่างไม่เกรงกลัวต่อสายตาผู้อื่นและระบบสังคม นั่นแสดงให้เห็นว่า สังคมกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ที่อธรรมวาทีกำลังมีอำนาจและสามารถครอบงำความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่มีต่อสังคมได้ คือ ประชาชนส่วนใหญ่กำลังยอมรับพฤติกรรมเช่นนั้นว่า เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ว่าเป็นเรื่องปกติที่จะพึงมีการประพฤติเช่นนั้น โดยคิดไปในทำนองว่า ‘สังคมสมัยนี้ก็เป็นอย่างนี้เองเป็นเรื่องธรรมดา ใครๆ เขาก็ทำกัน’
       ต่อไป ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีก็จะหายไป คนจะไม่เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่กระทำ นั่นไม่ใช่เพราะคนดีอ่อนแออย่างนั้นหรือ หรือแต่ละคนก็คิดถึงแต่ตนเอง คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตน เกรงว่าตนจะต้องสูญเสียผลประโยชน์ หรือเสี่ยงต่อภัยอะไรบางอย่าง ทำให้คนดีไม่กล้าช่วยเหลือคนดี แล้วอย่างนี้ภายหน้าสังคมจะเป็นอย่างไร

คนดีคงโดดเดี่ยวน่าดู?
เอ ถ้าบอกว่าเป็นคนดี แต่กลัวจะเสียประโยชน์ตน อย่างนี้เป็นคนดี งั้นเหรอ
       ถ้าคนดีมีน้อย จะสู้คนชั่วได้ไง หรือคนชั่วมีอิทธิพล อำนาจมากกว่าคนดี  จะสู้ได้ไง
ฤๅ ว่าสังคมนี้มีแต่คนไม่ดี และคนที่นึกว่าตนเป็นคนดี
       คนดีในความคิดของผม คือ การไม่ทำความชั่ว ทำความดีโดยไม่ลำบากมากนัก อะคับ
       แน่นอนว่าสภาพสังคม ทั้งในปัจจุบันและอนาคตย่อมขึ้นต่อการกระทำและการตัดสินใจของแต่ละบุคคลที่จะรักษาสังคมที่ดีงามเอาไว้ แม้จะมิใช่สังคมในอุดมคติอย่างที่หวังไว้ก็ตาม
       การที่จะรักษาลักษณะของสังคมที่ดีงามเอาไว้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ อย่างน้อยที่สุดก็ต้องมีหลักที่ชัดเจนว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร สิ่งใดถูก สิ่งใดผิด มิเช่นนั้น ต่อไปภายหน้า คนก็จะนิยมความชั่วร้าย เพราะอนุชนรุ่นหลังจะเข้าไปว่า คนในยุคสมัยของเรานั้นมีแต่คนชั่วร้าย มีแต่คนเลว เพราะไม่มีใครกล้ารักษาความดีเลย มีแต่ฉกฉวยผลประโยชน์ เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน

      คนดีบอก ฉันไม่ใช่ซูปเปอร์แมน นี่นา ฉันก็กลัวตายเหมือนกันนะ        โอ้ เดี๋ยวนี้ข่าวฉาวๆ เพียบเลยเจ้าค่ะ
แต่คนเรา ก็ดีหรือร้ายสลับกันได้ ?
พระอาจารย์คับ คือเราต้องเสียสละใช่ไหมคับ
เพื่อลูก -*-

       แม้แต่คนที่ต้องเป็นทุกข์เพราะถูกกลั่นแกล้งหรือถูกรังแกด้วยความ อยุติธรรม ก็ไม่มีผู้ใดกล้าขึ้นมาปกป้อง มีแต่เกรงภัย หรือคิดไปว่า ‘ไม่ใช่ที่’ ‘ไม่ใช่ธุระของเรา’ ลักษณะเช่นนี้โดยแท้ก็คือ การไม่กล้ารักษาความดีนั่นเอง เรียกว่า มี “ภยาคติ” การประพฤติที่ไม่ถูกต้องตรงไปตรงมา เพราะความเกรงภัย นั่นเอง
       ซึ่งถ้าเราพิจารณาโดยแท้แล้ว เราจะรู้ได้ว่า ถ้าสถานการณ์เลวร้ายเช่นว่านี้เกิดขึ้นกับเราบ้าง เราก็คงเรียกร้องหาความเป็นธรรมเช่นกัน และคงรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจไปว่า ‘ทำไมสังคมนี้ จึงได้เป็นเช่นนี้นะ ไม่มีใครให้ความสำคัญ หรือคิดที่จะปกป้องคนดีบ้างเลย ?’

       เราไม่ยินดี เราไม่สนับสนุน เราไม่เคารพคนชั่ว.. เราสอนลูกหลานเราว่า      คนแบบนี้ไม่เหมาะ ไม่ดี ก็เท่ากับเราได้ทำดี มีโอกาสเหมาะๆ ก็หาช่องทางขัดขวางสิ่งชั่วร้ายได้
      เอ น้องอุ้ย หรือว่าเราต้องมีความตั้งใจในการทำความดีให้มากกว่านี้ เพราะจะทำให้เราขวนขวายที่จะหากลวิธีต่อสู้กับพวกคนไม่ดี เราไม่ใช่ ซุปเปอร์แมน เจ้าค่ะ
       อยากจะยกตัวอย่างสักเรื่องหนึ่ง
       ครั้งหนึ่ง อาตมาเมื่อครั้งยังไม่ได้บวช มีวันหนึ่งขับรถผ่านไปแถวถนนจรัลสนิทวงศ์ ในวันนั้นเป็นเวลาบ่าย ซึ่งปกติรถไม่เคยติดเลย แต่วันนั้น    รถติดมาก รู้ไหมเพราะอะไร

อุบัติเหตุ?
[b][c=12]GoLF[/c][/b][c=4][/c] says:
รีบร้อนจะไปทำอะไรหรือเปล่า

       วันนั้น อาตมาแปลกใจมากที่รถติดนานกว่า ๑ ชั่วโมง ทีแรกอาตมาก็เข้าใจว่า “น่าจะเกิดอุบัติเหตุ” อย่างที่คุณเป้คิดนั่นล่ะ แต่ไม่ใช่ !
       อาตมาขับรถไปถึงจุดที่เป็นสาเหตุที่ทำให้รถติดในขณะนั้น ปรากฏว่า ช่องทางด้านขวา คุณตำรวจใช้ “หมวก” กั้นทางไว้ช่องทางหนึ่งทางขวามือ เพื่อให้รถทางขวากลับรถ ซึ่งนั่นก็เป็นธรรมดา แต่ !

สองแต่ แล้วนะ มีลุ้น
-*-
       ในอีก ๒ ช่องทางด้านซ้าย นี่สิ ปรากฏว่า มี “หมวก” อันหนึ่ง ล้มลงมาขวางอยู่ที่กลางถนนในช่องทางที่ ๒ ทำให้รถ ๒ ช่องทางต้องเบียดกันเพื่อแย่งกันเข้ามาใช้ในช่องทางเดียว คือ ทางซ้ายมือสุด
หมวก หมายถึง กรวย เหรอเจ้าคะ
       คุณลองคิดดูเถิดว่า กว่า ๑ ชั่วโมงที่ผ่านไป มีรถจำนวนมากที่ผ่านจุดเกิดเหตุนั้นไป แต่กลับไม่มีใครเลยสักคนหนึ่ง หรือผู้ขับรถสักคันหนึ่งที่จะลงมาช่วย ‘เพียงแต่ยก “หมวก” ขึ้นมาไว้ดังเดิม’ ก็จะทำให้รถวิ่งไปได้ทั้ง       ๒ ช่องทางแล้ว
       คุณลองพิจารณาดูเถิดว่า ๑ ชั่งโมงเชึยวนะที่ผ่านไป รถจำนวนเท่าไร  ที่ผ่านจุดเกิดเหตุนั้นไป แต่กลับไม่มีใครสักคนที่จะมีน้ำใจจอดรถข้างทาง เพื่อลงมาหยิบ “หมวก” ที่ว่านั้น
ตั้งขึ้น คุณรู้ไหม นั่นเพราะอะไร ?

นะค่ะท่าน
เค้าอาจคงหวังว่าจะมีคนอื่นไปช่วยหยิบให้ (คิดกันทุกคน เลยไม่มีใครไปหยิบเลย)
หรือว่า กว่าจะรู้ เดี๋ยวฉันก็ผ่านแระ ขี้เกียจล่ะ
คงคิดว่า ไม่ใช่หมวกของตัวเองมั่ง
มีหลายแง่จัง แต่เป็นไปได้หมด
      หรือทำตามๆ กัน เหมือนดังฝูงสัตว์ที่วิ่งข้ามตาน้ำตามๆ กัน (ทางอื่นก็มี ไม่รู้จักคิด)
และไม่ได้คิดถึงผู้อื่น
       นั่นคงเป็นเพราะ เขาผ่านไปแล้ว อย่างไรเล่า ! เขาผ่านเรื่องร้ายๆ นั้นไปแล้วอย่างไร เขาจึงไม่ต้องสนใจที่จะคิดช่วยเหลือคนข้างหลัง เขาไม่คิดบ้างว่า
กว่า ๑ ชั่วโมงที่ทั้งเขาและทุกคนต้องติดอยู่ในรถเช่นนั้น มันเป็นความทุกข์ยากสักเพียงใด มันเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายสักเพียงใด
       แต่พอเราแต่ละคนผ่านไป เรากลับลืมความทุกข์นั้นเสีย ลืมความทุกข์ของเราไปเสียสิ้น ไม่คิดที่จะช่วยเหลือผู้อื่น ละเลยต่อการทำหน้าที่ๆ คนดีพึงกระทำ ละทิ้งความดีที่มีอยู่ในตัวเรา
       แม้แต่น้ำใจที่จะพึงมี แม้เพียงเล็กน้อย เพียงสักคนหนึ่ง ‘เพียงสักคนหนึ่งเท่านั้น’ ที่จะลงมาแก้ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น แต่กลับไม่มีเลยแม้เพียงสักคน นั่นเพราะอะไร
คุณเคยคิดกันบ้างไหม

ไม่เหลียวหลังมาเห็นใจผู้อื่น ?
       เพราะความเห็นแก่ตัวใช่หรือไม่ ? เพราะคุณแต่ละคนได้ผ่านพ้นวิกฤตนั้นมาแล้ว ไม่ใช่เรื่องของเราอีกต่อไปแล้ว คุณคิดอย่างนี้กันทั้งหมด    ใช่หรือไม่
       คนเรามักมองความลำบากของตัวเองก่อนคนอื่นเสมอ แบบว่ามองอะไรใกล้ๆ ตัวไว้ก่อนอะ
      อืมม เจ้าค่ะ เพราะการสะสมนิสัยที่มองแต่ตัวเอง ขวนขวายเอาเข้าตัวเสมอ จนติดนิสัย
ใครเด็ดมะม่วงบ้านอื่น เราอุเบกขา แต่มาเด็ดมะม่วงบ้านเรา เราโทสา
       วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่อาตมารู้สึกเสียใจที่สุดในชีวิต และพร้อมกับภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตเช่นกัน
สงกะสัย ลงไปเอากรวยออกจิ
       ที่ว่า รู้สึกเสียใจ ก็เพราะว่า ในขณะนั้นอาตมารู้สึกว่า สังคมช่างเลวร้ายอะไรเช่นนี้ ไม่มีคนมีน้ำใจเลยหรือ แม้เพียงสักคน !
       และที่กล่าวว่า รู้สึกภาคภูมิใจที่สุด ก็เพราะว่า อาตมาได้จอดรถแอบไว้ข้างทาง และวิ่งกลับมาเพื่อมายก “หมวก” นั้นขึ้นไว้ตามเดิม คุณรู้ไหมว่าอาตมาเห็นอะไร

 @ ฝน says:
กราบนมัสการพระคุณเจ้าค่ะ

       อาตมาได้เห็นรถจำนวนมากวิ่งผ่านหน้าไปทั้ง ๒ ช่องทาง อาตมามองดูอยู่ตรงนั้นระยะหนึ่ง ๆ เพียงพอที่จะให้ได้เห็นผลแห่งกรรมที่ได้กระทำประจักษ์อยู่ต่อหน้า แม้การกระทำจะเป็นความดีเพียงเล็กน้อย แต่ก็ได้ช่วยคนภายหลังได้เป็นจำนวนมาก แหม! ช่างเป็นความรู้สึกน่าปลื้มปีติเสียยิ่งกระไร
ค่ะ
Happy Ending จัง
       แต่คุณลองคิดกันเสียนิดหนึ่งเถิดว่า บุคคลผู้ที่อยู่ข้างหน้าเรา ที่ผ่านเราไปอย่างไม่ใส่ใจในสิ่งที่เกิดขึ้นกว่า ๑ ชั่วโมง เขาเหล่านั้นคิดอย่างไร เขายังจะได้ชื่อว่า “เป็นคนดี” ของสังคมอยู่อย่างนั้นหรือ ?
ดีไม่พอเจ้าค่ะ
คนไม่กล้ามากกว่า, ไม่กล้า = ขลาด
อาจจะรีบจนไม่สนอะไรเลยก็ได้นะ
หรือว่า ไม่สนอยู่แล้ว
คนเราควรดี “แค่” ควรพอ ในเมื่อพระท่านสอนไม่ให้สันโดษในกุศลธรรม
น้านนน น้องธนวัฒน์จ๊ะ
       แน่นอนว่า นั่นไม่ใช่เรื่องยากอะไร เป็นเพียงสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เราอาจทำแก่สังคมของเราได้ แต่เพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ล่ะ ที่เราท่านทั้งหลายต่างมองข้ามกันไป แล้วเช่นนี้ คุณจะเห็นอย่างไร ว่าเหตุใดภาพที่ปรากฏต่อสายตาประชาชนในขณะนี้ จึงปรากฏแต่ภาพที่ไม่ดีซึ่งมีให้เห็นอยู่มากมาย แต่กลับไม่มีภาพของคนดีที่ช่วยกันปกป้องประเทศชาติ ศาสนา และสังคมอย่างจริงจังกันบ้างเลย
       อีก 2 นาที ผมต้องไปแล้ว ขอกราบนมัสการลาพระอาจารย์นะครับ ขอบพระคุณครับสำหรับการไขปัญหาครับ
 เราจุมพิตโดยไม่รู้จักกัน says:
สวัสครับ

       แน่นอนว่า การสร้างความดี การรักษาความดีเอาไว้ ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน ซึ่งถ้าเรา ผู้ที่เชื่อมั่นว่า ‘ตนเป็นคนดี’ ยังไม่อาจรักษาความดีเอาไว้ได้ ในสังคมนี้ก็คงจะไม่มีแบบอย่างที่ดีให้แก่อนุชนรุ่นหล้งให้ถือเอาเป็นแบบอย่างๆ แน่นอน
       พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปรโตโฆสะ ได้แก่ เสียงจากภายนอก คือ ความมีกัลยาณมิตร ย่อมเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์
(๗) ซึ่งหมายถึง การที่บุคคลทั้งหลายโดยมากย่อมง่ายต่อการคล้อยตามบุคคลอื่น มีการเรียนรู้และเลียนแบบพฤติกรรมกันอยู่เสมอ ฉะนั้น เพื่อนจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่จะเป็นแบบอย่างแห่งความประพฤติ ซึ่งถ้าเรามีเพื่อนที่ดีหรืออยู่ใกล้คนดี หรือได้เห็นแบบอย่างที่ดีอยู่เสมอ ชีวิตเราก็ย่อมดำเนินไปในวิถีทางแห่งการพัฒนาตนและสร้างสรรค์กรรมดีให้เกิดขึ้น สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

 
ยาทิสฺจูปเสวติ โสปิ ตาทิสโก โหติ
(บุคคล) คบคนเช่นใด ก็เป็นเช่นคนนั้น
(๘)


       ถ้าสังคมของเรา เริ่มแต่ตัวเราไม่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่คนใกล้ชิด สังคม หรือบุคคลอื่นได้แล้ว การเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ดีของกันและกัน ก็ย่อมจะเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
       เมื่อคนหนึ่งไม่กล้ารักษาความดี อีกคนหนึ่งก็ไม่กล้ารักษาความดีเช่นเดียวกัน แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าสังคมเข้มแข็ง คนดีกล้ารักษาความดี ยืนหยัดปกป้องความดี และต่อสัจจธรรมความเป็นจริง กล้ารักษาความถูกต้องชอบธรรมเอาไว้ ก็ย่อมเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่บุคคลอื่นได้ประพฤติตาม นี่ล่ะ ความมีกัลยาณมิตรจึงเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์อย่างแท้จริง
       คำว่า "พรหมจรรย์" นั้น หมายถึง การดำเนินชีวิตที่ดีงามประเสริฐ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็อาศัยความร่วมแรงร่วมใจของคนในสังคมที่มีความเข้มแข็งร่วมมือกันในการรักษาความเป็นธรรม สามารถต่อกรกับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมได้
       แต่ถ้าหากว่า คนดีอ่อนแอเสียแล้ว คนดีไม่เข้มแข็ง ไม่กล้ารักษาความดี คนดีไม่ช่วยเหลือคนดี แล้วอย่างนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าและได้เกิดขึ้นให้เห็นแล้วในปัจจุบันถึงความเลวร้ายของสังคมที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ        ก็ย่อมจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

       ผมสรุปอย่างที่พระอาจารย์พูดนะคับ ว่าการทำความดีไม่ควรสนจายเรื่องของตัวเอง ขอเป็นเพียงทำให้คนอื่นหรือสังคมมีชีวิตที่ดี มีความสุขก็เพียงพอ เราเพียงชีวิตเดียว กับคนทั้งสังคมมันคุ้มอยู่แล้ว ผมสรุปถูกปล่าวอะคับ
ค่ะ
       ฉะนั้น ก็ขอให้เราทั้งหลายจงช่วยกันประคับประคองสังคมเอาไว้ ด้วยการรักษาความดี โดยเริ่มต้นที่ตัวเราก่อน เพื่อเป็นแบบอย่างแก่บุคคลที่อยู่รอบข้าง
และทวีผลออกไปสู่สังคมวงกว้างให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ควรประพฤติปฏิบัติ

แต่บางทีคนดีอาจเลือกที่จะดีต่อครอบครัวก่อนดีต่อสังคมนะคับ (มีเยอะ)
       จากหนึ่งเป็นสอง จากสองเป็นสี่ จากสี่เป็นแปด ทวีขึ้นเรื่อยไปเช่นนี้ สังคมเราจะต้องดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เพียงแต่เราไม่ละทิ้งความดีเท่านั้นเอง
       ในท้ายที่สุดนี้ ขอฝากพระพุทธภาษิต สำหรับสัปดาห์นี้ เอาไว้ว่า

ตสฺมาติหานนฺท อตฺตทีปา วิหรถ อตฺตสรณา อนฺสรณา ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา อนฺสรณา ฯ
"ดูกรอานนท์ เธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะ,
 เธอทั้งหลาย จงมีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่เถิด"
(๙)

       เอาล่ะจ๊ะ ในสัปดาห์นี้ ก็คงจะฝากไว้แต่เพียงเท่านี้
       เวลาก็ได้ล่วงเลยมากว่า ๑๗.๒๕ นาฬิกาแล้ว กว่า ๒ ชั่วโมงแล้วนะที่ได้สนทนากันมา
       ขอให้ญาติโยมจงมีแต่ความสุข มีกำลังใจในการรักษาความดีเรื่อยไป ขอให้ธรรมรักษาทุกท่านผู้ประพฤติธรรมให้ได้รับความสุขยิ่งขึ้นไป ดังพุทธภาษิตว่า

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
(๑๐)


ลาล่ะจ๊ะ แล้วพบกันสัปดาห์หน้า

กราบลาพระอาจารย์ทุกรูป เเละขออนุโมทนากับธรรมะดีดีในวันนี้นะครับ สาธุ
-*-

บายคับ
ขอบพระคุณค่ะ
พนมมือส่งพระอาจารย์ครับ
สาธุ

ขอบคุณครับ
................................................






๑. ขุ.ขุ.๒๕/๕/๒  ขุ.สุ.๒๕/๓๑๗/๒๘๘ มงคลสูตร,  ขุ.ขุ.อ.๓๙ หน้า ๑๙๙
[ความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ชื่อว่า สันตุฏฐี. สันโดษนั้นมี ๑๒ อย่าง คือในจีวร ๓ อย่าง (บิณฑบาต ๓ อย่าง เสนาสนะ ๓ อย่าง คิลานปัจจัย ๓ อย่าง) คือยถาลาภสันโดษ สันโดษตามที่ได้. ยถาพลสันโดษ สันโดษตามกำลัง  ยถาสารุปปสันโดษ สันโดษตามสมควร. ในบิณฑบาตเป็นต้นก็อย่างนี้. จะพรรณนาประเภทแห่งสันโดษนั้น ดังนี้.
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้จีวรดีหรือไม่ดี ภิกษุนั้น ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรนั้นเท่านั้น ไม่ประสงค์จีวรอื่น เมื่อได้ก็ ไม่รับ นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในจีวรของภิกษุนั้น.
อนึ่งเล่า ภิกษุอาพาธเมื่อห่มจีวรหนักย่อมต้องค้อมตัวลงหรือลำบาก เธอจึงเปลี่ยนจีวรนั้นกับภิกษุที่ชอบกัน ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรนั้น ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่ นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษในจีวรของภิกษุนั้น.
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง เป็นผู้ได้ปัจจัยอันประณีต เธอได้จีวรบรรดาจีวรชั้นดีเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีค่ามาก คิดว่าจีวรนี้เหมาะแก่พระเถระ พระผู้บวชมานาน และพระพหูสูต จึงถวายแก่พระภิกษุเหล่านั้น ตนเองก็เลือกเอาเศษผ้าจากกองขยะ หรือจากที่ไรๆ อื่น ทำสังฆาฎิครอง ก็ยังเป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในจีวรของภิกษุนั้น. …
สันโดษแม้ทั้งหมดนั้น มีประเภทอย่างนี้ก็เรียกว่า สันตุฏฐี - สันตุฏฐีนั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุประสบการละบาปธรรมทั้งหลาย มีความปรารถนาเกินส่วน ความมักมาก และความปรารถนาลามกเป็นต้น เพราะเป็นเหตุแห่งสุคติ เพราะเป็นเครื่องอบรมอริยมรรค และเพราะเป็นเหตุแห่งความเป็นผู้อยู่ได้สบายในทิศทั้ง ๘ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า 
จาตุทฺทิโส อปฺปฏิโฆ จ โหติ สนฺตุสฺสมาดน อิตรีตเรน.

ผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมีความได้ ย่อมเป็นผู้อยู่สบายในทิศทั้ง ๔ และไม่มีปฏิฆะเลย ดังนี้เป็นต้น]
๒. องฺ.ทุก.๒๐/๒๕๑/๔๘  อภิ.สํ.๓๔/๑๕/๒๗; ๘๗๕/๓๐๐
[ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงคุณของธรรม ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน? คือ ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรม  (อสนฺตุฏฺฐิตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ) ๑ ความเป็นผู้ไม่ย่อหย่อนในความเพียร (อปฺปฏิวานิตา จ ปธานสฺมึ) ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ได้ยินว่า เราเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพธิญาณ อันเรานั้นได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม อันเรานั้นได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท ...]
๓. สํ.นิ.๑๖/๑๔๕/๖๓
[ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส จึงมีต่อไป ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ แต่ยังครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมีอารัมณปัจจัยความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงมี เมื่อมีความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไป ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงมีต่อไป ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่จงใจ ไม่ดำริ และไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารัมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อไม่มีอารัมณปัจจัยความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงไม่มี เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งมั่นแล้ว ไม่เจริญขึ้นแล้ว ความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปจึงไม่มี เมื่อความบังเกิดคือภพใหม่ต่อไปไม่มี ชาติชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสต่อไปจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ]
สํ.ข.๑๗/๘๗/๔๒
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้.. ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ รูปนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะรูปแปรไปและเป็นอื่นไป. ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นในมีวิญญาณ ๑ วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะวิญญาณแปรไปและเป็นอย่างอื่นไป.
๔. ม.มู.๑๒/๒๔๘/๑๕๖
[ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป เพราะประชุมธรรม ๓ ประการ จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใดก็จำเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใดก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใดก็เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น บุคคลเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันใดส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าก็ครอบงำบุรุษ เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้นเป็นเหตุ ในรูปทั้งหลายที่พึงจะรู้ด้วยตาเป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี.
 ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียง ...
 ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ฆานวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ...
 ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ...
 ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ...
 ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ เพราะประชุมธรรม ๓ ประการ จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใดก็จำเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใดก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใดก็เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น บุคคลเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันใดส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าก็ครอบงำบุรุษ เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้นเป็นเหตุ ในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยใจ เป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี. ]
๕. สํ.ข.๑๗/๘๘/๔๓
[ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้ว่ารูปไม่เที่ยง แปรปรวนไป คลายไป ดับไป เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า รูปในกาลก่อนและรูปทั้งมวลในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดังนี้ ย่อมละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้ จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข ภิกษุผู้มีปกติอยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ผู้ดับแล้วด้วยองค์นั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้ว่า เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง แปรปรวนไป คลายไป ดับไป เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า วิญญาณในกาลก่อน และวิญญาณทั้งมวลในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดังนี้ ย่อมละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้ ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข ภิกษุผู้มีปกติอยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ผู้ดับแล้วด้วยองค์นั้น. ]
๖. ม.มู.๑๒/๔๕๘/๓๔๗
[ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง. เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ดี ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ     เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้นย่อมมีได้ อย่างนี้.
ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์ที่น่าชัง เป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมทราบชัดเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ อันเป็นที่ดับหมดแห่งอกุศลธรรมอันลามกตามความเป็นจริง. เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดีก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายก็ดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานก็ดับ ภพก็ดับ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ โทมนัสและอุปายาสของภิกษุนั้นก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนั้น. ]
๗. สํ.ม.๑๙/๕-๑๑/๒ องฺ.เอก.๒๐/๗๒/๑๑ ขุ.อิติ.๒๕/๑๙๕/๑๖๘
๘. ขุ.ชา.๒๘/๘๖๒/๒๐๗
[บุคคลคบคนเช่นใดๆ เป็นบุรุษผู้มีศีล หรืออสัตบุรุษผู้ไม่มีศีล เขาย่อมตกอยู่ในอำนาจของผู้นั้น บุคคลกระทำคนเช่นใดให้เป็นมิตร และเข้าไปคบหาคนเช่นใด แม้เขาก็ย่อมเป็นเช่นคนนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้นได้  ผู้เสพย่อมติดนิสัยผู้ที่ตนเสพ ผู้ติดต่อย่อมติดนิสัยผู้ที่ตนติดต่อ เหมือนลูกศรอาบยาพิษย่อมเปื้อนแล่ง ฉะนั้น  
นักปราชญ์ไม่ควรเป็นผู้มีคนลามกเป็นสหาย เพราะกลัวจะแปดเปื้อน  การเสพคนพาล ย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อปลาเน่า แม้ใบไม้ก็มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป ฉะนั้น  ส่วนการคบหาสมาคมกับนักปราชญ์ ย่อมเป็นเหมือนบุคคลเอาใบไม้ห่อของหอม แม้ใบไม้ก็มีกลิ่นหอมฟุ้งไป ฉะนั้น  เพราะฉะนั้น บัณฑิตรู้ความเป็นบัณฑิตของตนดังใบไม้สำหรับห่อ จึงไม่คบหาสมาคมอสัตบุรุษ คบหาสมาคมสัตบุรุษ  อสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ. ]
องฺ.ติก.๒๐/๔๖๕/๑๑๘
[บุรุษคบคนเลว ย่อมเลวลง   คบคนที่เสมอกัน ย่อมไม่เสื่อมในกาลไหนๆ
คบคนที่สูงกว่า ย่อมพลันเด่นขึ้น   ฉะนั้น จึงควรคบคนที่สูงกว่าตน ดังนี้ ฯ]
๙. ที.ม.๑๐/๙๓/๘๖ ที.ม.๑๑/๓๓/๔๓
[ดูกรอานนท์ ภิกษุสงฆ์ยังจะหวังอะไรในเราเล่า ธรรมอันเราได้แสดงแล้ว กระทำไม่ให้มีในมีนอก กำมืออาจารย์ในธรรมทั้งหลาย มิได้มีแก่ตถาคต.,. ดูกรอานนท์ บัดนี้ เราแก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับแล้ว วัยของเราเป็นมาถึง ๘๐ ปีแล้ว เกวียนเก่ายังจะใช้ไปได้เพราะการซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ แม้ฉันใด กายของตถาคต ฉันนั้นเหมือนกัน ยังเป็นไปได้ ก็คล้ายกับเกวียนเก่าที่ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ ฯ
ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตเข้าถึงเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่ทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง เพราะดับเวทนาบางเหล่าแล้วอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมผาสุก เพราะฉะนั้น
พวกเธอจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง    คือจงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด ฯ

ดูกรอานนท์ อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่า มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือจงมีธรรมเป็นเกาะ     มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ เป็นผู้มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก อย่างนี้แล อานนท์ ภิกษุจึงจะชื่อว่า มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่  ดูกรอานนท์
ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี โดยที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ     มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง มิใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุของเราที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาจักปรากฏอยู่ในความเป็นยอดยิ่งฯ]
๑๐. ขุ.ชา.๒๗/๒๒๘๓/๔๐๐




 

Create Date : 18 ตุลาคม 2550    
Last Update : 26 ตุลาคม 2550 21:57:00 น.
Counter : 566 Pageviews.  

1  2  3  

กลุ่มต้นธรรม
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




* * * * * * * * * * * * * * * * * * *

อันเวลาอันนับไม่ได้ที่เราหมักหมมมานานแสนนานแล้วนั้นถ้าเราไม่เริ่มรู้เราก็ไม่เริ่มตัด ถ้าไม่ตัดก็ไม่เห็นปลาย และเวลาอันนับไม่ได้นั้นก็เป็นปลายที่ยังอยู่
web site hit counter
We keep fighting fires because we keep adding fuel.
We truly putout fires only when we remove their fuel.

ถึงโลกกว้างไกล ใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
มองโลกภายนอก มองออกไป
มองโลกภายใน คือใจเรา

Friends' blogs
[Add กลุ่มต้นธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.