εїз ต้นธรรม εїз เติบโตงดงามด้วยคุณธรรม
แหงนหน้ามองขึ้นใปจากโคนต้น เห็นรูปทรงแผ่ระย้ากิ่งสาขา จากร่มเงาแต่ละใบที่ได้มา เกิดจากว่าผู้มีใจไฝ่ในบุญ
Group Blog
 
All blogs
 

อริยทรัพย์ ๗ ประการ 491021

เรามาเริ่มกันเสนอหัวข้อสำหรับเสาร์หน้าในวันที่ 21 ต.ค. นี้กันเลยดีกว่า
กติกาเหมือนเดิม ตั้งคำถามลงในคอมเม้นท์กันได้เลย

คราวนี้ ช่วยกันโหวตเยอะๆ นะคะ
ใครได้มากกว่า เอาไปเลย (เอาให้พระท่านไปตอบเลย)


แต่สำหรับหัวข้อไหนที่ยังไม่ได้ตอบจากครั้งที่แล้ว
จะตื้อมาลงในครั้งนี้อีกก็ได้นะ

ใครที่ไปตั้งคำถามในห้องสนทนา
จะยกให้ไปชิงโชคครั้งต่อไป

การสนทนาครั้งที่ผ่านๆ มา จะลงทะยอยลงให้อ่านกันเล่นๆ ต่อไปค่ะ



Chatธรรมวันเสาร์ เรื่องอริยทรัพย์ ๗ ประการ
(เมื่อวันที่ ๒๑ ต.ค. ๒๕๔๙)

Kiak.. There is no phychiatrist in the world like a puppy licking says:
สวัสดีครับ นมัสการครับ

รู้จัก, เชื่อ, บังคับ, พอใจ, เคารพ says:
กราบนมัสการครับ พระอาจารย์ , ท่านฐานจาโร สวัสดีครับ เพื่อน ๆ ทุกท่าน

เทิด says:
นมัสการพระอาจารย์ปิฯ และพระฐานจาโร และทุกท่านครับ
ถ้าคิดผิดทาง การวางตัวต่อกันก็จะผิด says:
กราบนมัสนการท่านปิยะลักษณ์และท่านเอกชัยเจ้าค่ะ หวัดดีทุกๆคนค่ะ
วันนี้ตามเคย ยังสรุปเรื่องที่จะคุยกันไม่ได้

ไม่เป็นไรครับ
ให้พระอาจารย์เลือกเลยครับ
1. How to reduce "ego" or "self-delusion"
2. ทรัพย์ใดหรือที่ทำให้เรานั้นมีความมั่นคงได้อย่างแท้จริง
3. ความรักแบบใด ในโลกปัจจุบันนี้ ที่ทำให้ผู้ให้และผู้รับปราศจากความทุกข์
(รู้สึกว่าท่านปิเคยตอบไปแล้ว)
4. ตามรอยพระอรหันต์ เพื่อเป็นแบบอย่างและประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต
5. วิญญาณ ผี เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมีจริงหรือไม่
ครั้งนี้ให้ท่านปิเลือกดีกว่านะ (พวกเรานะ)
รออีกหน่อยก็ได้ครับ ระหว่างนี้เราอาจจะคุยเรื่องอะไรก่อนก็ได้
LET GOooooooo ! says:
namasikara ka Phra Khun Chao and howdy everyone.

Ego คือ มานะ Self-Delusion คือ จิตคิดปรุงแต่ง
Self delusion is conceit, conceit is MANA too.
self delusion in English is also Egoism
self-delusion is a word, Self-delusion is conceit

Delusion = to mislead the mind or judgment
Self = one's self
K.Terd. Self-delusion is a word. Delusion is another word.
Self-delusion (Self`-de*lu"sion) (?), n.
The act of deluding one's self, or the state of being thus deluded.
act of deluding one's self = is egoism.
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
พระพุทธเจ้าอยู่ในทุกหนแห่ง เพียงแต่ใครจะมีดวงตาแห่งปัญญาปรากฏขึ้นเท่านั้น
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นพระองค์
เราพร้อมจะเริ่มกันหรือยัง

พร้อมครับ พระอาจารย์ เตรียมตัวรับการสอนสั่งครับ
อาตมาคิดถึง ทัชมาฮาล สถานที่ซึ่งได้ชื่อว่า อนุสรณ์แห่งความรัก ซึ่งพระราชานามว่า ชาจาฮาล ทรงสร้างเพื่อมเหสีของพระองค์ ซึ่งมีชื่อว่า มุมตัส ซึ่งเสียชีวิตไปก่อนด้วยโรคร้าย พระองค์ทรงสร้างด้วยทรัพย์ในท้องพระคลังจนเกือบหมดสิ้น เป็นเหตุให้ภายหลังพระองค์ทรงถูกพระราชโอรสของพระองค์ปลดจากตำแหน่งและสั่งจำขัง พระองค์กรรแสงเพราะการจากไปของพระมเหสีเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี ทรงเพ่งมองอนุสรณ์แห่งความรักของพระองค์ที่มีต่อพระมเหสีซึ่งรักดังดวงใจด้วยความอาลัยรัก ดวงพระเนตรเต็มไปด้วยหยาดน้ำตา ตลอดระยะเวลากว่า ๑๐ ปีเต็ม จนพระเนตรบอดสนิทเพราะการกรรแสงนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า "ที่ใดมีรัก ที่นั่นย่อมมีทุกข์" นั่นย่อมเป็นความจริงตลอดกาล
ท่านปิ.....
เปล่าหรอกนะ มิได้จะยกขึ้นเป็นหัวข้อสนทนาหรอก เผอิญเมื่อสักครู่ คุณเป้ถามว่าภาพถ่าย DISPLAY PICTURE นี้ถ่ายมาจากที่ไหน ก็เลยถือโอกาสเล่าให้ฟังคั่นเวลาน่ะ
เอาล่ะ เริ่มกันได้แล้วกระมัง

ปราถนาอยากไปอินเดียจังครับ
ตอนที่ชาจาฮาลคิดถึงรัก เขาคิดอะไรบ้างน้อ คงเต็มไปด้วยตัวตน
สำหรับคำถาม ทั้ง ๕ ข้อ เราจะเริ่มที่ข้อไหนกันดีล่ะ
ท่านปิเห็นว่าข้อไหนเหมาะสมที่สุดเจ้าคะ
คำถามที่ ๒.ทรัพย์ใดหรือที่ทำให้เรานั้นมีความมั่นคงได้อย่างแท้จริง ?
พระพุทธองค์ตรัสถึงทรัพย์ว่า มี ๒ ประเภท คือ
๑. ทรัพย์ภายใน และ
๒. ทรัพย์ภายนอก

ข้อนั้น เป้ตั้งเอง
ทรัพย์ภายนอก ยิ่งใช้ยิ่งหมด, ส่วนทรัพย์ภายใน ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่มขึ้น พระพุทธองค์ตรัสถึงทรัพย์ว่า บุคคลทั้งหลายย่อมแสวงหาอยู่ซึ่งทรัพย์ภายนอก ซึ่งนั่นไม่ประเสริฐเลย ตรัสเรียกว่า “อนริยปริเยสนา”
คนเราตอนนี้ใครๆก็แสวงหาทรัพย์ไว้มากๆ เพราะคิดว่าชีวิตจะได้มีความมั่นคง แต่ทรัพย์ใดหรือที่ทำให้เรานั้นมีความมั่นคงได้อย่างแท้จริง แม้ว่าจะอีกกี่ชาติภพที่เหลือก็ตาม
อนริยปริเยสนา คือ การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ ได้แก่ การแสวงหาทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งทั้งผู้แสวงหาและสิ่งที่ถูกแสวงหาได้มา ก็ล้วนแต่มีความแก่
เจ็บ ตาย เสื่อมสิ้นสลายไปเป็นธรรมดา

อย่าง ทัชมาฮาล
ส่วนการแสวงหาทรัพย์ที่ประเสริฐนั้น เรียกว่า “อริยปริเยสนา” ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรแสวงหา เพราะสิ่งนั้นๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ต้อง แก่ เจ็บ ตายไป ตามเราไปด้วย และไม่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา เช่นกับทรัพย์อื่นๆ
แสดงว่าเราต้องแสวงหาทรัพย์ที่ไม่มีความแก่ เจ็บ ตาย หรือเสื่อมสลายเข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วสิ่งนั้นคืออะไร
ท่านว่า "เรามีความแก่ เจ็บ ตายไป เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ยังแสวงหาสิ่งอันมีความแก่ เจ็บ ตายไป เป็นธรรมดาเช่นกัน เข้ามาเป็นทรัพย์ของตนอีก" ดั่ง "คนเตี้ยอุ้มคนคร่อม" ซึ่งเป็นภาระหนักที่ต้องแบกถือไป
คือไม่มีทางรอด
เท่าที่ทราบ ทรัพย์ภานใน ก็คือ วิชาความรู้ ยิ่งใช้ยิ่งจะงอกงาม ยิ่งให้มาก ก็ยิ่งได้กลับมามาก
ส่วนธรรมอันไม่มีความแก่ เจ็บ ตายไปนั้น ได้แก่คุณงามความดีทั้งหลาย อันเราสามารถสร้างสมไว้เพื่อเป็นทุนแก่เราในขณะที่เรายังคงต้องก้าวเข้าสู่สังสารวัฏอันไม่มีวันจบสิ้นนี้ต่อไป จนกว่าจะบรรลุถึงอมตนฤพาน
อันเวลาอันนับไม่ได้ที่เราหมักหมมมานานแสนนานแล้วนั้น ถ้าเราไม่เริ่มรู้(ตัว)เราก็ไม่เริ่มตัด ถ้าไม่ตัดก็ไม่เห็นปลาย และเวลาอันนับไม่ได้นั้นก็เป็นปลายที่ยังอยู่
เข้าใจในจุดนี้ แต่น่าจะมีวิธีที่ทำให้เราทำคุณงามความดีพร้อมทั้งมีทรัพย์ภายนอกเพิ่มขึ้นด้วย แล้วทรัพย์ภายนอกที่เป็น อริยทรัพย์ มีบ้างไหมครับ
พระพุทธเจ้าได้ให้แนวทางไว้หรือเปล่าครับ ถ้าหากเราไม่แสวงหาทรัพย์(ภายนอก)แล้วเราจะดำรงชีวิตอย่างไร
ไม่ต้องกลัวนะ หากบุคคลมีทรัพย์ภายในเสียแล้ว ทรัพย์ภายนอกเมื่อยังไม่มี ก็สามารถหาและรักษาไว้ได้ แต่ถ้าบุคคลไม่มีทรัพย์ภายในเสียแล้ว แม้จะมีทรัพย์ภายนอกมากเพียงใด ก็อาจใช้หมดสิ้นไปเพราะไม่รู้จักรักษาไว้ได้ด้วยปัญญา พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงทรัพย์ภายในว่า มีอยู่ ๗ ประภาร ซึ่งตรัสเรียกว่า “อริยทรัพย์ ๗ ประการ”
มีอะไรบ้างครับ ? ทรัพย์ภายในมีอะไรบ้างก่อนก็ได้ครับ ใช่ ศรัทธา วิริยะ หิริโอตตัปปะ กตัญญูกตเวที สติ สมาธิ และ ปัญญา หรือเปล่า
อริยทรัพย์ มี ๗ ประการ ได้แก่
๑. ศรัทธา ๒. ศีล
๓. หิริ ๔. โอตตัปปะ
๕. พาหุสัจจะ ๖. จาคะ
๗. ปัญญา

ขอแต่ละข้อย่อยด้วยเจ้าค่ะ
อะไรคือ พาหุสัจจะ ครับ
พาหุสัจจะ คือ การเป็นผู้ได้สั่งสมความรู้ความเข้าใจไว้มาก
ฝึกให้เป็นพาหุสูตร เข้าใจแล้ว
เราควรศรัทธาในอะไร
คำว่า ศรัทธา ท่านว่าได้แก่ ศรัทธาในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เรียกชื่อว่า "ตถาคตโพธิสัทธา" ศรัทธาในข้อนี้ ได้แก่ การเชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธองค์ ว่าสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสแสดงไว้นั้น เป็นความจริงและเป็นสัจธรรมทุกประการ, บางครั้งก็ตรัสว่า ได้แก่ การมีศรัทธาในพระรัตนตรัย, หรือบางคราวก็ตรัสว่า ได้แก่ การมีศรัทธาในธรรม ๔ ประการ ที่พระองค์ทรงรู้แจ้งเห็นจริง คือ
๑. กรรมศรัทธา
๒. วิปากศรัทธา
๓. กัมมัสสกตาศรัทธา
๔. ตถาคตโพธิศรัทธา

โห อธิบายด่วนเจ้าค่ะ
วิปาก และ กัมมัสสกตา คืออะไรครับ เข้าใจแต่กรรม และที่เพิ่งอธิยายไปคือ ตถาคต
๑. กรรมศรัทธา คือ การมีความเชื่อในเรื่องของกรรมว่า บุคคลทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว
๒. วิปากศรัทธา คือ การมีความเชื่อในเรื่องวิบากแห่งกรรมที่ปรากฏในปัจจุบันว่า สิ่งที่ปรากฏขึ้นในปัจจุบันแก่ชีวิตของเรานั้น ล้วนแต่เป็นไปเพราะกรรม คือ การกระทำที่เราได้กระทำไว้ทั้งสิ้น

ครับ
วิบากจิตใดๆ ที่ได้รับอยู่ ย่อมเกิดจากที่เราเคยทำมาก่อนแน่นอน
๓. กัมมัสสกตาศรัทธา คือ การมีความเชื่อในเรื่องของการให้ผลของกรรมว่า บุคคลจะได้รับผลที่ดีหรือไม่ดีในชีวิตของเรา ล้วนแต่เป็นสิ่งที่แต่ละคนได้ทำเอาไว้เองทั้งสิ้น ทำให้กันไม่ได้ ทำแทนกันไม่ได้ เช่นว่า เมื่อต้องการให้เกิดวิบากที่ดีแก่ชีวิตของเรา ก็ต้องขวนขวายทำกรรมนั้นด้วยตนเอง เรียกง่ายๆ ว่า ทุกคนย่อมมีกรรมเป็นของๆ ตน มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เป็นทายาท เป็นที่พึ่งพิงอาศัย บุคคลกระทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ย่อมต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นด้วยตนเอง และเมื่อปรารถนาสิ่งใดในชีวิต ก็พึงกระทำกรรมดีนั้นด้วยตนเอง
เจ้าค่ะ
กรรมศรัทธา คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว วิปากศรัทธา คือ ทุกคนมีกรรมเก่า กัมมัสสกตาศรัทธา คือ กรรมของใครก็เป็นกรรมของคนนั้น
พิ้งP^ i +n *K He is a Hero says:
นมัสการพระคุณเจ้า และสวัสดีเพื่อนๆทุกท่านค่ะ พอดีไปข้างนอกมาพึ่งกลับมาค่ะ มาสายประจำ
เชิญสนทนากันต่อนะคะ ขออนุญาตอ่านก่อนค่ะ

ตถาคตโพธิศรัทธาล่ะเจ้าคะ
ส่วน ตถาคตโพธิศรัทธา ได้กล่าวไปแล้วว่า ได้แก่ การเชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั่นเอง อันนี้ข้อศรัทธานะ ซึ่งถ้าจะกล่าวโดยเคร่งครัดนั้นยังสามารถสรุปลงมาได้อีกประการหนึ่ง โดยพระพุทธองค์ตรัสไว้ถึงศรัทธาของอุบาสก-อุบาสิกาว่า หากจะเป็นศรัทธาที่ดีงาม ถูกต้องแท้จริงนั้น จะต้องมีความมั่นคงในพระรัตนตรัยอย่างเข้มแข็ง ไม่คลอนแคลน ที่เรียกว่า “อจลศรัทธา” เลยทีเดียว ไหนใครมี “อจลศรัทธา” บ้าง ยกมือขึ้น?
ด้วยคนครับ
PaNopอาสารับบริจาคของเล่นมือ 2 จ้า says:
กราบมนัสการ ทั้ง 2 ท่าน เจ้าค่ะ

คำว่า “อจลศรัทธา” นั้น หมายถึง
๑. จะไม่กล่าวคำ ขอผู้อื่นว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
๒. จะไม่ถือที่พึ่งอื่น เว้นแต่พระรัตนตรัย
๓. จะไม่เปลี่ยนศาสนาตลอดชั่วชีวิต ไม่ใช่ง่ายนะ คิดให้ดีก่อน

ต้องข้อ ๑ ต้องอธิบาย หมายถึง ไม่ขอความช่วยเหลือจากใครเลยหรือเปล่า
๑. จะไม่กล่าวคำ ขอผู้อื่นว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก เช่น กล่าวขอให้เทพยดาทั้งหลาย
จงช่วยอำนวยโชค ทรัพย์ อำนาจแก่เรา หรือ จะไม่กล่าวว่า “ขอพระเจ้าจงคุ้มครอง ขอพระพรหม
ขอพระอัลเลาะห์ ขอเทวดาจงคุ้มครอง” เป็นต้น

สรุปคือ ยึดพระรัตนตรัยก็จบ ไม่ว่าเรื่องอะไรก็แล้วแต่ นั้นคือ พูดให้เข้าใจง่ายๆ แบบคุณ สนธิ ก็ต้อง ถือ ธรรมเป็นใหญ่ใช่ไหมครับ
ไหนอีกทีซิ ใครทำได้ ยกมือขึ้น ในข้อที่ ๑
คนแรก
๒. จะไม่ถือที่พึงอื่น เว้นแต่พระรัตนตรัย เช่นว่า เราจะไม่กราบไหว้อ้อนวอน นอบน้อมต่อผู้ใดเว้นไว้แต่ผู้ที่เป็นคนดี ผู้ที่มีคุณต่อเรา และพระรัตนตรัย
ยกมือทุกข้อครับ
ไหนอีกทีซิ ใครทำได้ ยกมือขึ้น ในข้อที่ ๒
ทำได้ค้ะ
แล้วข้ออื่นมีแยกไหมครับ
อย่าคิดว่าง่ายนะ คิดให้ดีๆ ก่อนตอบนะ เช่นว่า ตั้งแต่นี้ไป เลิกไหว้พระพรหม เลิกไหว้ศาลพระภูมิ บ้านเก่าๆ ไหว้เจ้า ผีสางนางไม้ นะ แน่ใจหรือ ส่วนข้อที่ ๓ จะไม่เปลี่ยนศาสนาตลอดชั่วชีวิต ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่า การเปลี่ยนศาสนาจากศาสนาพุทธ ไปเป็นศาสนาอื่นนั้น เป็น “อภิฐานะ” คือ การกระทำอันหนัก ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมอันหนักหกประการ
เลิกไหว้พระพรหม เลิกไหว้ศาลพระภูมิ ? แต่บ้านเก่าๆ ไหว้เจ้า ผีสางนางไม้ ผมไม่ไหว้แน่นอนครับ?
ข้อนี้ทำได้ค่ะ
อภิฐานะ (ฐานะอันหนักหรือกรรมอันหนัก) นั้น มี ๖ ประการ คือ
๑. ฆ่ามารดา (มาตุฆาต)
๒. ฆ่าบิดา (ปิตุฆาต)
๓. ฆ่าพระอรหันต์ (อรหันตฆาต)
๔. ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อเลือด (โลหิตตุปบาท)
๕. ทำพระสงฆ์แตกแยก (สังฆเภทกรรม)
๖. เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่น (อัญญสัตถุทเทส)

พระพรหมกับศาลพระภูมิ นี้ไม่ใช่ของศาสนาพุทธหรือครับ แต่บ้างครั้งก็ต้องดู สถานการณ์หรือเปล่า ว่าผู้คนส่วนใหญ่ในที่นั้นเป็นอย่างไร เช่น เข้าเมืองที่เขาไหว้พระพรหมกันทั้งเมืองแล้วเราไม่ไหว้ ผมว่าคงออกจากเมืองลำบาก หรืออย่างเช่น ศาลพระภูมิซึ่งชาวบ้านศรัทธา แต่เราบังเอิญมีความจำเป็นไปทำธุระกับเขา แล้วเขาก็ไหว้กันแล้วเราจะนั่งอยู่เฉยๆได้หรือครับ ?
ได้สิ
ถ้าตามที่ท่านพระปิฯ กล่าวแสดงว่า ศาลพระภูมิกับพระพรหมไม่ใช่สิ่งในศาสนาพุทธ
ไม่ใช่จ๊ะ สรุปว่า มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกเท่านั้น
การเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่น เป็นกรรมหนักอย่างไรครับ
ท่านว่า เป็นกรรมอันหนัก เป็นความผิดพลาดสถานหนักที่จะทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิขึ้นในภายหลัง และจะเป็นปัจจัยให้ในภพชาติต่อๆ ไป ห่างเหินจากพระพุทธศาสนา มีจิตใจไม่มั่นคง หรือไม่ได้พบพระพุทธศาสนาอีกนานแสนนานเลยก็ได้ นิมนต์ท่านต่อครับ
[c=36]HO Ho HO [/c] says:
สวัสดีคับ กำลังพูดเรื่องอะไรครับเนี่ย

คนไทย-จีนทั่วไปที่เข้าศาลเจ้าและเป็นพุทธด้วย เข้าข่ายหรือเปล่าครับ
การไหว้เจ้าของคนจีน เขาไหว้เทวดานะ ไม่ได้ไหว้พระพุทธเจ้าอย่างเรา ต่อไป อริยทรัพย์ข้อที่ ๒ คือ การมีศีล
การกรอกเอกสารของเขาจะเป็นพุทธ แล้วก็มีเข้าวัดทำกิจกรรมทางพุทธตามโอกาส แล้วก็กราบไหว้เจ้าของเค้าด้วย ถือว่าเป็นกรรมหนักด้วยหรือเปล่าครับ
ไม่ถือเป็นกรรมหนัก เพราะเขาไม่ได้เปลี่ยนศาสนา แต่ว่าถือเป็นการศรัทธาที่ไม่ถูกต้องสิ้นเชิง คือศรัทธาถูกต้องบ้าง ไม่ถูกต้องบ้าง
ครับ กระจ่างครับ
เค้าเรียก อุบาสกจัณฑาล อิอิอิ
ไหว้ วิญญาณ บรรพบุรุษ ด้วยครับ
ไหว้บรรพบุรุษได้ เพราะท่านมีคุณต่อเรา
ผมคิดว่า ความเชื่อนี้เป็นสิ่งที่ต้องละเอียดอ่อนครับ ถ้าเขาศรัทธาในสิ่งที่ดีงามแล้วผมว่าศาสนาไหนก็ได้ครับ เพราะไม่เช่นนั้นคงจะต้องรบกันเหมือนพวกตะวันออกกลาง
ไม่ใช่หรอกนะ คุณเทิด ถ้าศาสนาไหนก็เหมือนกัน พระพุทธเจ้าก็ไม่ต้องประกาศพระศาสนา เพราะศาสนาอื่นในโลกก็มีมากมายที่สอนให้คนเป็นคนดี
ผม ถือโอกาสถามเลยแล้วกันครับ แบบนี้ศาสนาอื่นที่สอนว่าไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ก็ไม่ถูกต้องสิครับ
ใช่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น มิจฉาทิฏฐิ เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ, คำว่า อุจเฉททิฏฐิ นั้น คือ การเชื่อว่าไม่มีชาตินี้ชาติหน้า หรือไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด
นั่นเอง

จริงๆแล้วอยากถามต่อ แต่เดี๋ยวออกนอกเรื่อง ทรัพย์ เกินไป
เอาล่ะนะ กลับเข้ามาสุ่อริยทรัพย์ข้อที่ ๒ คือ ศีล ได้แก่ การถือศีล ๕ ข้อเป็นอย่างน้อย ในเรื่องของศีล ๕ นี่เป็นเรื่องที่เรารู้จักกันดี ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่า สำหรับชาวพุทธแล้ว จะต้องถือปฏิบัติให้ครบบริบูรณ์ จึงจะได้ชื่อว่า เป็นอุบาสก-อุบาสิกาที่ดี ที่เรียกว่า อุบาสก-อุบาสิการัตนะ พระพุทธองค์ตรัสว่า พระอริยบุคคลย่อมมีศีล ๕
บริบูรณ์พร้อม ใครอยากเป็นอริยบุคคล ก็ต้องพยายามฝึกมีศีล ๕ ด้วยนะ

ค่ะ
ข้อที่ ๓ หิริ ความละอายต่อการกระทำความชั่วเสียหาย อุปมาเหมือนบุคคลรังเกียจสิ่งของที่สกปรก ไม่ปรารถนาจะแตะต้อง ไม่ว่าจะต่อหน้าหรือลับหลัง
มีคำถามคำหนึ่ง อย่างดื่มเพื่อสังคม 1-2 แก้วนี้ได้ไหมครับ
ไม่ได้จ๊ะ สุราไม่ควรดื่มเลย
ถ้างั้นอาจบอกว่า ไม่ดื่มเพราะไม่ชอบดีไหมครับ หรือว่า ขอเป็นดื่มอย่างอื่นแทน เช่น โซดาหรือน้ำเปล่า บอกว่าปัญหาสุขภาพ เพราะไม่ชอบอาจจะทำให้เราโกหกก็ได้มั๊ง อิอิ
ปัญหาสุขภาพ ก็โกหกเหมือนกัน คิดว่า ขอไม่ดื่มดีกว่าเพราะต้องทำงานพรุ่งนี้หรือไม่ก็มีธุระสำคัญต้องทำเช่น สนทนาธรรม
ข้อที่ ๔ โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่วเสียหาย ซึ่งหมายถึง เกรงว่าตนเองจะต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ดี อุปมาเหมือนกับไฟ ซึ่งเราไม่ปรารถนาจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย กลัวจะไหม้ตัวเรา
วันนี้ คุณเป้ (พิธีกรประจำรายการ) ไม่อยู่ คุณเป้บอกว่า ไฟที่บ้านดับจ๊ะ
เดี๋ยวผมส่งข้อความเก่า ๆ ให้อ่านครับ
บางครั้งก็ต้องพูดปิยะวาจาครับเพราะระดับสติปัญญาของคนไม่เหมือนกัน ถ้าเราบอกว่าเป็นของสกปรกสำหรับบัวขั้น 2 ขึ้นไปผมว่าเราเข้าใจกัน แต่ถ้าเราพูดกับบัวใต้ตรมอาจจะนำภัยมาสู่เราได้
ข้อที่ ๕ พาหุสัจจะ ได้แก่ การศึกษาเรียนรู้ ได้สะสมความรู้ความเข้าใจไว้มาก , พาหุสัจจะ นี่เป็นส่วนของการมีข้อมูลข่าวสารมาก เรียกว่า มีประสบการณ์มากก็ได้นะ
ข้อที่ ๖ จาคะ ได้แก่ การมีน้ำใจ เสียสละ เผื่อแผ่แบ่งปันต่อบุคคลอื่นอยู่เสมอ ซึ่งผู้ที่มีจาคะมาก ย่อมเป็นที่รักของบุคคลทั้งหลาย และข้อสุดท้าย
ข้อที่ ๗ ปัญญา การมีปัญญา สามารถวินิจฉันเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างรู้เท่าทันความเป็นจริง จนถึงขั้นมีปัญญาเข้าใจโลกและชีวิตอย่างถูกต้อง สามารถไถ่ถอนความยึดติดถือมั่นได้ในที่สุด

ผมขอเสริมนิดหนึ่งครับว่า จาคะนี้ต้องเป็นไปโดยที่ไม่ทำให้เราเป็นทุกข์ครับ เช่น มีซองผ้าป่ามา แต่เราไม่มีเงิน ก็ยังใส่ไปนี้ ก็ไม่ควรทำ หรือถ้าจะทำจริงๆ ก็เป็นจำนวนที่เราคิดว่าไม่ทำให้เราเดือดร้อน
จ๊ะ พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้เราทำความดีพอเหมาะพอสมแก่อัตตภาพของตนนะ เรียกว่า “อัตตัญญุตา” รู้จักตน และ “มัตตัญญุตา” รู้จักประมาณในการกระทำ
ส่วนข้อ ปัญญานี้ ขอพูดอย่างนี้ได้ไหมครับว่า ปัญญาแบบที่ดูตามเหตุตามปัจจัยและเป็นไปในทางกุศลกรรม โดยตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ได้จ๊ะ
จบแล้ว อริยทรัพย์ ๗ ประการ
เข้าใจแล้วครับทำอะไรให้ยึดหลัก สัปปุริสธรรม นั้นเอง
มีใครมีคำถาม หรือข้อเสนอแนะอะไรบ้างหรือเปล่าจ๊ะ
ท่านค่ะ ขอถามค่ะ เรื่องไหว้พระประจำวันเกิด ไหว้ได้มั๊ยคะ
ไหว้พระน่ะ ไหว้ได้อยู่แล้ว แต่อย่าไปคิดว่าจะต้องไหว้พระประจำวันเกิดของเราก็แล้วกันนะ ไหว้พระองค์ไหนก็เป็นมงคลเหมือนกัน
ค่ะ
Can we have our parents as depend too, other than Triple Gem ( Phra Rattanatri
Yes
จริงแล้ว กตัญญูกตเวทิตา น่าจะถือเป็นทรัพย์ที่สำคัญอีกอันได้ไหมครับ หรือว่าที่ท่านไม่ลงไว้ เพราะว่าเราจะไปกตัญญูในทางที่ผิด
กตัญญูกตเวทิตาธรรม ท่านว่า เป็นคุณธรรมพื้นฐานของคนดี
เข้าใจแล้วครับ
แล้วถ้าผมเกิดถือว่า จะไม่ไหว้รูปปั้นละครับ ผมจะไหว้พระโดยที่ไม่ใช้รูปปั้น จะผิดไหมครับ พระอาจารย์
ชาวพุทธเรามีหลักอยู่อย่างหนึ่ง คือ เราบูชาเฉพาะสิ่งที่เรารู้และเข้าใจในความหมายของสิ่งนั้น ว่าเป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่าควรแก่การบูชาอย่างไร
ถ้าอยากเป็นคนดีก็ต้องเป็นคนที่มี ความกตัญญูกตเวที ก่อนเป็นอันดับแรก ดังนั้นถ้าจะแนะนำใครก็แนะนำให้มี ความกตัญญูกตเวที ก่อนเป็นอันดับแรก
ใช่จ๊ะ ความกตัญญูกตเวที เป็นคุณธรรมพื้นฐานของคนดีที่ทุกคนจะต้องมี ท่านว่า “ยสฺมึ กตญฺญุตา นตฺถิ นิรตฺถา ตสฺส เสวนา” ผู้ใดไม่มีความกตัญญูแล้วไซร้ คบบุคคลนั้นไปก็ไม่มีประโยชน์
Can we have JADEE as dependent too
เจดีย์ เป็นตัวแทนในการระลึกถึงพระรัตนตรัย สามารถบูชาได้เพื่อน้อมจิตให้เป็นกุศล, การกราบไหว้พระเจดีย์ ก็เหมือนกับเรามีรูปถ่ายของคุณพ่อ คุณแม่ ปู่ ย่า ตา ยายไว้เคารพสักการะ เพื่อระลึกถึงคุณความดีของท่าน เพื่อให้เกิดกำลังใจ ความอบอุ่นใจ และทำจิตของเราให้เป็นกุศล
ค่ะ
So it is not wrong to always want to go to Buddha Gaya all the time, right
Yes, it is not wrong, but The real Buddha is in the nature in everywhere if you have the eyes.
EYES IS THE VISION, IS IT
The eyes is wisdom
OHHH, ANYWAY, I still love going to Buddhagaya. hhaahah
That is alright, wherever if it can make you happy
yeahhhhhhhh !!!
เมื่อวานไปอ่านเจอคำหนึ่งมาว่า "คนเรานั้นให้ลืมบุญคุณที่ทำให้คนอื่นให้หมด แต่ให้เลือกจำบุญคุณที่คนอื่นได้กระทำไว้ให้เรา"
7 ข้อที่กล่าวมานี้ ถ้าทำได้ไม่ครบ จะเป็นอะไรรึเปล่าครับ ในหัวข้อทรัพย์ เราอาจจะถือว่าเราขาดข้อนี้ แต่ข้อนั้นเราเยอะ ข้อโน้นก็เยอะ ขาดไปข้อนี้ไม่เป็นไร ทรัพย์เยอะอยู่ดี ได้หรือเปล่าครับ
ทำได้เท่าไร ก็ดีเท่านั้นล่ะจ๊ะ, ทำได้๑ ก็ดี๑ ทำได้๒ ก็ดี๒ ทำได้ทั้งหมด ก็ดีที่สุด
ผมว่าแต่ละข้อมันสัมพันธ์กันครับ พูดอีกอย่างคือ มันเป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน
เผื่อจะได้เน้นๆ ข้อใดข้อหนึ่งมาชดเชยข้อที่เรายังทำไม่ได้ หรือไม่สะดวกทำ ถามดูเล่นๆนะครับ
ถ้าไม่มี ศีล ปัญญาก็ไม่เกิด ถ้ามีปัญญาแล้ว ไม่รักษาศึล ปัญญาก็หายไป ถ้ามีจาคะมาก ปัญญาก็ไหลกับเข้ามามาก ถ้ามีปัญญาแต่ไม่ศรัทธาในปัญญาก็หมดเร็ว
เอาล่ะ วันนี้ อาตมาคงต้องขอตัวก่อนแล้วล่ะ ดึกแล้ว คงต้องไปสวดมนต์ก่อนนอนแล้ว
ครับ กราบลาพระอาจารย์ครับ
ขออนุโมทนากับทุกคนนะ ที่ได้เข้ามาร่วมสนทนาธรรมด้วยกัน ขอนมัสการท่านเอกชัย ฐานจาโร ด้วยครับ
Chao Ka. Namasikara ka both Phra Khun Chao and sawadee ka everyone.
กราบลาครับ
กราบลาค่ะ
พระเอกชัย ฐานจาโร says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ
ร่วมไว้อาลัย says:
กราบลาค่ะ

ขอฝากพุทธภาษิตสำหรับครั้งนี้ไว้ว่า "สทฺธาย ตรติ โอฆํ" คนจะข้ามห้วงน้ำได้ด้วยศรัทธา
กราบขอบพระคุณท่านทั้ง 2 ที่ให้โอกาสในการสนทนาธรรมค่ะ
อืม อาทิตย์ หน้าอยากจะขอเชิญชวน เพื่อน ๆ ทุกท่าน ไปตั้งคำถามได้ที่เว็บ ของคุณเป้ นะครับ
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=dhammatree&group=7

ค่ะ



Chatสากัจฉาธรรม เรื่องนิพพานกับการบรรลุธรรม
(๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๙)
เทิด says:
เลยอยากถามว่า ผี มีจริงไหม หรือว่าจิตเราคิดปรุงแต่งไปเอง
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีจริง

ไม่ทราบว่าผมจะหาอ่านส่วนนี้ได้จากที่ไหนครับ เพื่อให้ตัวเองได้รู้เห็นด้วยตนเอง นะครับ ? คือผมลองคิดทบทวนแล้ว ผี ไม่น่าจะมีจริง จึงเกิดความสงสัยนะครับ ?
มากมาย มีในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เปตวัตถุ
แล้วพระพุทธเจ้ามีวิธีพิสูจน์ไหมครับ หรือว่าเราต้องเจอด้วยตัวเอง เพราะเท่าที่ผมเกิดมาก็ไม่เคยเห็นผีเลย และคนรอบข้างผมก็ไม่เคยมีใครเห็นผีเลย จะมีก็แต่ผีในหนังเท่านั้น
ต้องการพิสูจน์ ก็ต้องเจริญฌานให้สำเร็จ จนเกิดตาทิพย์
เข้าใจแล้วครับ แล้วคำถามมีต่อว่า ถ้าไม่มี ฌาน นี้ จะ นิพพานได้ไหนครับ
การบรรลุธรรม จำเป็นต้องได้ฌานเป็นบาทฐาน อย่างน้อยก็ฌานขั้นที่หนึ่ง ซึ่งจะได้ฌานนั้นเอง ในขณะที่บรรลุธรรม เรียกว่า เจริญวิปัสสนาไป จนถึงขณะที่กำลังจะบรรลุธรรม ฌานจะเกิดขึ้นเอง
บรรลุธรรม กับ นิพพาน นี้อันเดียวกันไหมครับ อย่างพระอานนท์นี้ถือว่า บรรลุธรรมหรือเปล่า
จ๊ะ
แต่พระอานนท์ก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์นี่ครับ แล้วถือว่านิพพานได้อย่างไร
การบรรลุธรรมมีหลายระดับ ตั้งแต่ การบรรลุโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ ซึ่งในขณะที่บรรลุธรรมในชั้นนั้นๆ จะได้เข้าถึงสภาวะนิพพานชั่วขณะหนึ่งในขณะที่กิเลสนั้นดับไป อันนี้เรียกว่า เป็นการนิพพานชั่วขณะจิตที่บรรลุธรรม
แต่ถ้าหมายถึง การนิพพาน ซึ่งหมายถึงการดับรอบจากวัฏฏสงสาร คือหยุดการเวียนว่ายตายเกิด อันนี้ก็เป็นนิพพานในอีกลักษณะหนึ่ง คือ รูปธรรม-นามธรรม ไม่ปรากฏขึ้นอีก บางครั้งเรียกว่า ปรินิพพาน ก็ได้

เข้าใจแล้วครับ บรรลุธรรม มิได้หมายถึงนิพพานตลอดกาล
ขอบพระคุณมากครับ




 

Create Date : 17 ตุลาคม 2549    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 21:40:10 น.
Counter : 484 Pageviews.  

ความรักที่บริสุทธิ์ 490729

Chatธรรมวันเสาร์ เรื่องความรักที่บริสุทธิ์
(เมื่อวันที่ ๒๙ ก.ค. ๒๕๔๙)

เพราะความเป็นจริงนั้นมันไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าคนส่วนใหญ่เห็นว่าอย่างไร says:
เจ้าค่ะ ท่านปิกลับมาแว้ววว
ใครมีข้อสงสัยทางธรรมะ ถามได้เลยค่ะ
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says: วันนี้คุณฯ มีหัวข้อที่จะคุยกันบ้างไหมจ๊ะ
รู้จัก, เชื่อ, บังคับ, พอใจ, เคารพ ตัวเราเอง says:
งั้นขอเสนอ เรื่อง ความรัก ครับ
Ekachai (เอกชัย) says:

ความรักที่บริสุทธิ์ไม่ทุกข์ และเป็นกุศลด้วยครับ รักในพรหมวิหารธรรมไงครับ
รักบริสุทธิ์ มีนิยามไหมครับ แล้วจะทำยังไงให้รัก เป็นรักในพรหมวิหารละครับ
รักบริสุทธิ์หรือ ก็มีแต่พระอรหันต์นะ
ยากจังเลย งั้นแสดงว่า ถ้าหากต้องการให้เป็นรักบริสุทธิ์ ก็ต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นพระอรหันต์
รักที่บริสุทธิ์ คือความรักที่มีแก่สัตว์โลกและสิ่งแวดล้อมด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ คือ รักที่ไม่คิดเบียดเบียนตนเองและหรือผู้อื่นไงครับ รักของคุณพ่อคุณแม่ไงครับ ท่านจึงเป็นพระอรหันต์ของบุตรธิดา ท่านหมายถึงบิดามารดาที่ดี มีคุณธรรมครับ ความรักเป็นเรื่องที่ดี ถ้ารักเป็นใช่ไหมครับ
พระอรหันต์ คือ ผู้ที่มีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส จากการไม่คิดอกุศลอีกเลย

คำว่า รักบริสุทธิ์ นั้น โดยแท้จริงต้องมีความหมายถึง การรักโดยที่ไม่มีความเห็นแก่ตัวเลยแม้แต่น้อยนะ อย่างนี้สิจึงจะเรียกว่า ความรักที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง
รักที่ไม่ตอบสนองความต้องการของตน
ความรักที่บริสุทธิ์แท้จริงนั้น แม้แต่ความรู้สึกรักหรือชังโดยความรู้สึกส่วนตัวก็ไม่มี ความรักที่บริสุทธิ์ ไม่มีการยึดถือแม้ความรู้สึกรักของตน หรือแม้เป็นที่รักของตนก็ไม่มี อย่างความรักของพ่อแม่ แม้จะดีสำหรับลูก แต่ก็จำกัดไว้แค่เพียงบุตรของตนเท่านั้น ไม่อาจเผื่อแผ่ความรักนี้เพื่อผู้อื่นได้ เพราะยังเห็นแก่ตน คือ ที่รักก็เพียงเพราะเป็นลูกของตน คนอื่นไม่เกี่ยว นี่เพราะรักตนเอง หรือรักเฉพาะของๆ ตนเอง
อ๋อ จึงเป็นเหมือนพระอรหันต์ของลูกไงครับ เขาว่ากันอย่างนั้น แต่ไม่เป็นพระอรหันต์ของสังคม
ความรักที่ยังเกาะเกี่ยวอยู่กับเฉพาะของๆ เรานั้น ยังไม่บริสุทธิ์ใจแท้จริง เพราะโดยแท้มิได้รักเขา แต่เพราะรักตนเอง จึงรู้สึกหวงแหนและรักของๆ ตนเอง
ลักษณะของความรัก ธรรมชาติของความรัก
ความรักทั่วไป ถ้าต้องการให้ตัวเราเป็นสุข เราเรียกว่า สเน่หา (๑) ความรักที่ต้องการให้ผู้อื่นเป็นสุข เราเรียกว่า เมตตา (๒) ความรักที่ต้องการให้แก่ตัวเรา เรียกว่า สเน่หา จ๊ะ
ใช่แล้ว ....ถ้าหลงรัก คือ รักแบบลุ่มหลงเป็นกิเลส จากความโลภใช่ไหมครับ ?
ความรักแบบลุ่มหลง ก็เป็นส่วนหนึ่งของโลภะจ๊ะ
Terd says: ถ้าหลง น่าจะเป็น โมหะ นับครับ
ความหลงมีในกิเลสทุกประเภท แต่ทว่า ในการแยกนั้น เรามองว่า อะไรเป็นตัวเด่น ถ้ามีความติดใจ ก็โลภะเป็นตัวเด่น
ต่างนี้กระจ่างครับ โลภะ เป็นส่วนย่อย ของ โมหะ
ความรักในพุทธศาสนา ท่านแยกกว้างๆ ว่า เป็นความรักตน หรือเป็นความรักผู้อื่นจ๊ะ ถ้ารักตนต้องการให้เขามาทำให้เราเป็นสุขเป็นสเน่หา ถ้ารักผู้อื่นต้องการให้เขาเป็นสุขโดยไม่คำนึงถึงเรา ก็เป็นเมตตา หรืออาจพูดใหม่ว่า ต้องการให้เขาเป็นสุข เป็น เมตตา ต้องการให้เราเป็นสุข เรียกว่า ตัณหา หรือ สเน่หา ก็ได้
แล้ว ราคะ เป็นความรักหรือเปล่าครับ
ราคะ เป็นอาการที่เรามีความติดใจในอารมณ์รักจ๊ะ (๓)
ถ้าเป็นกามราคะ ถือว่าคิดไม่บริสุทธิ์เป็นอกุศลครับ
จ๊ะ คุณเอกชัย กามราคะ เป็นความติดใจในกามคุณอารมณ์
จะติดใจจากอะไรครับ จากปัจจัยภายใน หรือ ภายนอก ครับ
คุณเทิด ทั้ง ๒ อย่างจ๊ะ ติดใจภายในความคิดปรุงแต่ง เป็นภายในก็ได้ ติดใจกามคุณอารมณ์ ๕ เป็นภายนอกก็ได้
ความรักทั้ง ๒ แบบ คือ เมตตาและสเน่หานั้น ว่าโดยอารมณ์นั้น ต่างกันตรงที่ว่า เมตตา ทำใจเราให้ชุ่มช่ำเย็น แต่สเน่หา ทำให้ใจเราเร่าร้อนอยู่ภายใน

ความเร่าร้อนเป็นทุกข์ เพราะมันบีบคั้นจิตใจ เป็นการเบียดเบียนตนเอง
หรือไม่ก็ต้อง ความรักแบบเย็น กับ ความรักแบบเร่าร้อน อันนี้ผมเข้าใจง่ายครับ
คำว่าตัณหา กับ ราคะ ล่ะคะ มีความคาบเกี่ยวกันยังไง
ตัณหากับราคะนั้น ต่างกันเล็กน้อยโดยศัพท์ และความกว้างแคบต่างๆ กัน คือ ราคะนี่เป็นส่วนหนึ่งของตัณหา โดยที่ตัณหานั้นมี ๓ ประเภท คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา หรือเข้าใจง่ายๆ ว่า ราคะก็เป็นตัณหา แม้โทสะก็เป็นตัณหานั่นเอง
ครับ ก็ได้ครับ ถ้าพูดตามภาษาศาสนา คือ รัก แบบบริสุทธิ์ใจ(เย็น) และรักแบบไม่บริสุทธิ์(ร้อน) คณะพอจะเห็นด้วย หรือต่อเติมไหมครับ ?
แล้วที่เขาบอกว่า ความรักคือ "การให้" ละครับ น่าจะเป็นทั้งให้ ตนเอง หรือ ให้ผู้อื่น
ความรักคือการให้ นั่นเป็นความรักแบบเมตตาจ๊ะ คือปรารถนาให้เขาเป็นสุข โดยไม่เกี่ยวกับตัวเราว่าเราจะได้รับความสุขนั้นด้วยหรือไม่
สรุปว่า ถ้าปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุขเป็นเมตตา ถ้าปรารถนาให้เราเป็นสุข เรียกว่า สเน่หาจ๊ะ ในส่วนของสเน่หานั้น เชื่อว่าทุกท่านรู้จักกันดีแล้ว จากชีวิตประจำวันของปุถุชน ตอนนี้เรามาพูดกันเรื่องความรักแบบเมตตากันดีกว่า

เมตตา อีกความหมาย น่าจะเป็นความรักที่ไม่ต้องการผลตอบแทน เหมือนพระหรือพ่อแม่เมตตาลูก
อย่างไรเราจะรักแบบเมตตาล่ะเจ้าคะ คนส่วนมากถูกปลูกฝังแม้แต่การให้ทานก็หวังที่จะได้สิ่งตอบแทนแล้ว
ความรักแบบเมตตานั้น ก็ยังมี ๒ ระดับนะ คือ
๑. รักแบบจำเพาะเจาะจงบุคคลที่เรารัก และ
๒. รักแบบไม่มีประมาณแก่คนทุกคน คือ รักที่บริสุทธิ์ไม่ยึดเกี่ยวด้วยตัวตนของเรา
ความรักแบบเมตตาที่จำเพาะเจาะจงนั้น ยังไม่บริสุทธิ์ เพราะรักเฉพาะคนของเราเท่านั้น ส่วนนี้ท่านมีชื่อเรียกจำเพาะว่า คือ เมตตาในพรหมวิหาร ๔

เมตตาแบบเฉพาะเจาะจง มันก็ใช่เมตตาเหรอเจ้าคะ
ส่วนความรักแบบอัปปมัญญา เป็นความรักที่มิได้อาศัยความเห็นแก่ตัวของเรา หรือคนของเรา อย่างนี้เรียกว่า เมตตาที่เป็นอัปปมัญญา (มิใช่ความรักแบบเมตตาในพรหมวิหาร) จ๊ะ ซึ่งจะแคบกว่า
ความรัก ๒ แบบแต่ละแบบมี ๒ ระดับ ร่วมแล้วเป็น ๔ อย่าง คิดเอาเองแบบมันๆ ครับ ต้องขอโทษด้วย
คุณเทิด ยังพูดไม่ถูกนัก เพราะสเน่หา มิอาจมีต่อสัตว์ทั่วไปได้จ๊ะ ต้องจำเพาะเป็นรายๆ ไป เพราะเราไม่อาจมีสเน่หาต่อคนทุกคนได้ มันต้องเป็นรายๆ ไป เพราะเราจำกัดลักษณะเฉพาะของสิ่งที่เราชอบใจไว้แล้ว ว่าสิ่งนี้ๆ เท่านั้นที่จะทำให้เราพอใจและเป็นสุข
ความสุขของเรานั้นมีเงื่อนไข
จ๊ะ
อัปปมัญญา ขนาดไหน แบบไหน อย่างไรเจ้าคะ แบบว่าสละชีวิตเหรอ
ความรักแบบอัปปมัญญานั้น เป็นความรักแบบที่มิใช่รักเพราะตนรู้สึกรัก แต่เป็นความรักเพราะอำนาจแห่งสติปัญญาฝ่ายเดียว
ความรักแบบเมตตา จะทำให้เราเป็นสุขได้ทุกครั้ง เมื่อเรามีความเมตตาต่อผู้อื่น โดยความสุขสงบเย็นในจิตใจจะเกิดขึ้นทันทีเมื่อเราปรารถนาให้เขาเป็นสุข แต่ถ้าเป็นความรักแบบสเน่หา เราจะเป็นสุขได้ ต้องรอให้เขามาทำให้เราเป็นสุขก่อน ฉะนั้น จึงต้องรอคอยและเป็นทุกข์ใจทุกครั้งที่รู้สึกว่าอาจจะไม่ได้รับความรักนั้นตอบแทน

ความรักแบบอัปปมัญญา คือ รักแบบไม่มีประมาณแก่คนทุกคน ใช่ไหมครับ
ใช่จ๊ะ
อัปปมัญญาคือไม่มีเงื่อนไข งั้นต้องละกิเลส ละตัวละตน ความรักตามธรรมชาติ จะวิ่งไปหากิเลสได้โดยง่ายหรือเปล่าเจ้าคะ
ความรักของโลกียมหาชน (ปุถุชน) แม้จะเป็นความรักแบบเมตตาที่เย็นใจ แต่ก็จะเป็นความรักแบบเมตตา(ในพรหมวิหาร)โดยมาก คือยังจำกัดเฉพาะอยู่ ไม่เป็นอิสระ
คุณส้ม says:
คนเราส่วนใหญ่ รักตัวกลัวตาย รักใคร่ปรารถนาแต่รักแบบเมตตา และรักแบบมีแต่ให้ ต้องฝึกฝนค่ะ
แต่ความรักของผู้ที่มีปัญญามากแล้ว จะเป็นความรักแบบอัปปมัญญาโดยมาก ซึ่งกว้างขวางและประณีตกว่า มีความสุขกับทุกผู้คนเมื่อเห็นใครก็ตามมีความสุขซึ่งทำให้มีความสุขได้อยู่เสมอ โดยมีมหาชนทั้งหลายเป็นอารมณ์ ฉะนั้น จึงสามารถมีความสุขได้ทุกที่ทุกเวลาเมื่อคิดให้ทุกคนเป็นสุข
ดังนั้นถ้าจะให้เข้าใจง่ายขึ้นผมขอจำไว้ว่า เมตตามีสองระดับคือ ความรักที่มีเงื่อนไข ความรักที่ไม่มีเงื่อนไข (แต่ทั้งสองต้องเป็นไปด้วยปัญญา)
ทำอย่างไรจึงมองเห็นได้แบบนั้นเจ้าคะ มีคติอะไรในใจจึงมองเห็นได้แบบนั้น
ความรักที่เป็นอัปปมัญญาเกิดขึ้นได้ เมื่อเราเห็นความจริงของชีวิตว่าทุกชีวิตล้วนต้องการแสวงหาความสุข และเกรงกลัวต่อความทุกข์ ดังนี้ เราจะเห็นใจทุกคน มีเมตตากรุณากับทุกคน เหมือนๆ กับที่เรามีความเมตตาตัวเราเอง
กรณีถ้าหากผู้อื่นต้องการทำร้ายเรา ต้องการเบียดเบียนเรา ต้องการให้เราเกิดความเสียหาย เราควรต้องทำอย่างไรครับ ควรต้องมีเมตตากับเขาอีกไหม หรือว่าควรจะโต้ตอบแบบไหนดี หรือว่า ให้เขาทำร้ายได้อย่างใจชอบครับ
คนมีปัญญา ย่อมเห็นสรรพชีวิตว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ เพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย ต่างก็พยายามรักษาตนไว้ให้ดี แม้เขาจะทำผิดไปแต่ก็เพราะเขาเกรงกลัวต่อความทุกข์นั่นเอง ซึ่งเราควรเข้าใจเขา และพยายามเห็นใจเขา เหมือนๆ กับที่เราพยายามเข้าใจตนเองอยู่เสมอ ความรักที่แท้จริง หรือความรักที่บริสุทธิ์ตามที่ได้ตั้งหัวข้อไว้แต่ต้นนั้น จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก หากแม้เรายังเห็นแก่ตนอยู่
ถ้าเราเห็นแก่ตน ก็ต้องมีตัวตนค่ะ............ยากค่ะ
ความรักที่บริสุทธิ์นั้น จะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงนั้น จึงจำต้องหมดตัวตนเสียก่อน การมนสิการอยู่เสมอว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ร่วมแก่ เจ็บ ตายนั้น จะเป็นบันไดขั้นแรกที่นำไปสู่ความรักที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นอัปปมัญญา และจะทำให้เรายิ้มได้ทุกครั้งที่เห็นผู้อื่นเป็นสุข
งั้นก็สรุป ได้ว่า ถ้าหากมีใครจะทำร้ายเรา เราก็ไม่ควรโต้ตอบ ให้เขาทำร้ายได้อย่างใจชอบ เหมือน โจรที่ภาคใต้ เราก็ไม่ควรไปทำอะไร ปล่อยให้เขาทำไป อย่างที่เขาต้องการ
คุณเข้าใจผิดแล้ว มิใช่ปล่อยให้เขาทำร้าย แต่กลับต้องป้องกันตนเอง โดยถือว่าการป้องกันตนเองนั้นเป็นการป้องกันเขาจากความเสื่อมด้วยเช่นเดียวกัน เพราะหากเขาทำร้ายเราได้สำเร็จครั้งใด เขาย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้ทำบาปร้ายแรงก็ฉันนั้น
การปล่อยให้ผู้อื่นทำร้ายเรา นั่นหมายถึง การที่เราดำรงอยู่ด้วยความประมาท เป็นการสร้างอกุศลกรรมอย่างหนึ่ง เพราะอาศัยเจตนาที่เราตั้งไว้โดยการเพิกเฉยต่อหน้าที่ๆ มีแก่ตนเอง

อืม ครับ
คุณชินา says: yes
เมื่อสังคมถึงจุดต่ำสุด พุทธศาสนาจะกลับค่ะ
คุณส้ม ไม่ต้องให้ถึงจุดต่ำสุดหรอกนะ เรานั่นแหละจะเป็นผู้รักษาพระธรรมไว้ให้แก่สังคมด้วยการปฏิบัติธรรมอยู่ที่ตัวเรา ชีวิตของเรามีอยู่ตราบใด ตราบนั้นพระธรรมก็ยังคงอยู่
สมเด็จฯท่านตรัสไว้ว่า คนดีคนเดียวก็เพียงพอที่จะทำให้สังคมหนึ่ง เป็นสังคมที่น่าอยู่ และถ้ายิ่งมีคนดีมากๆ เข้า สังคมก็จะยิ่งเจริญรุ่งเรื่องขึ้นไปเรื่อยๆ
ฉะนั้น จะขอสรุปไว้ในที่นี้ก่อนว่า ความรักที่ดีแท้จริง จะต้องไม่สร้างทุกข์แก่ตนเอง แต่จะเป็นรักที่เอิบอิ่มอยู่ภายในจิตใจ ที่ได้เห็นใครต่อใครเขามีความสุข
ยินดีที่เขามีความสุข
แต่ไม่ต้องกลัวนะ ว่าเราจะไม่ได้รับความรัก เพราะถ้าเราแสดงออกด้วยความหวังดีและจริงใจ ใครต่อใครก็จะมารุมรักเรา
ใครต่อใครมารุมรักเรา
กระจ่างมากเลยครับ พระอาจารย์
ความรักแบบอัปปมัญญานี่นะ ไม่อาศัยตัวตนเป็นเหตุตั้งต้นแห่งความรัก แต่อาศัยความเข้าใจต่อชีวิตและต่อบุคคลทั้งหลายต่างหาก ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยปัญญาที่รู้และเข้าใจ
แต่เรื่องการแยกความเมตตา ผมรู้สึกขัด ๆ ในใจจังเลยครับ รู้สึกว่า เราจะแยกเพื่ออะไรอ่ะครับ หรือที่เขาแยกกัน เพื่อบอกว่าเมตตามีหลายระดับ ให้พัฒนาตัวเองขึ้นไปเป็นขั้น ๆ
คุณจิรวัฒน์ เรากำลังแยกให้เห็นว่า เมตตาที่จำกัดขอบเขตไว้นั้น ความจริงแล้วก็เพราะบุคคลนั้นยังมีความเห็นแก่ตัวนั่นเอง แต่อัปปมัญญาจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าบุคคลอาศัยความเห็นแก่ตัวสร้างความรักนั้นขึ้น
งั้นบุคคลต้องปราศจากความเห็นแก่ตัวโดยสิ้นเชิง จึงสามารถมีเมตตาแบบอัปปมัญญาได้
อาตมาอยากให้พวกเราลองพิจารณาถึงความรักที่เป็นอัปปมัญญาว่า ดีกว่า ประณีตกว่า และให้ความสุขที่มากกว่าการจำกัดขอบเขตของความรักนั้นไว้
อาตมาอยากจะย้อนกลับมากล่าวถึงความรักที่เป็นความรักแบบเมตตาว่า เป็นความรักของปุถุชนที่มีกันโดยมาก เช่น พ่อแม่รักลูก พี่รักน้อง เพื่อนรักเพื่อน ครูรักศิษย์ หรือแม้แต่สามีภรรยารักกัน (ถ้าบุคคลทั้งหลายเหล่านี้ ตั้งเป้าเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นสุขนะ) ซึ่งแม้จะดี แต่ก็ยังกีดกั้นไว้ด้วยความเป็นของๆ ตนอยู่นั่นเอง ซึ่งเราปรารถนาให้บุคคลทั้งหลายข้ามพ้นจากการยึดมั่น เฉพาะอยู่ด้วยความสัมพันธ์ส่วนตัวเท่านั้น มาเป็นความรักความเมตตาที่มีต่อกันเป็นอัปปมัญญาให้มากที่สุด เพื่อให้สังคมนี้น่าอยู่ขึ้น และไม่เบียดเบียนกัน

เจ้าค่ะ
สาธุ ครับ วันนี้ รู้สึกดีใจเหลือเกินครับ กระจ่างในหัวข้อธรรมหลายข้อเลย
สรุป ท่านพยายามจะบอกว่าพ่อแม่ควรรักลูกแบบที่ไม่มีเงื่อนไขโดยใช้ปัญญาเป็นตัวตั้ง หรือมากกว่านั้นก์คือ ความรักแบบไม่มีเงื่อนไขโดยใช้ปัญญาเป็นตัวตั้งทั้งในความสัมพันธ์แบบพ่อแม่ พี่น้อง สามีภรรยาและเพื่อนๆ
ตัวอย่างนะ อยากจะชี้ให้เห็นถึงโทษของความรักอย่างเมตตา(ในพรหมวิหาร) ที่ยังจำกัดขอบเขตไว้ เช่น พ่อแม่รักลูกด้วยเมตตา แต่เพราะลูกชาวบ้านมาแกล้งลูกเรา เราก็เลยพลอยเกลียดเด็กคนนั้นเสียเลย เพราะมาทำคนของเรา อย่างนี้เป็นต้น เรียกว่า มีโทสะเพราะเมตตาคนของเรา
แต่ถ้าเป็นความรักแบบไม่มีประมาณนะ แม้ลูกเขาจะมาตีลูกเรา เราก็จะไม่เกลียดลูกเขา เพราะเราก็รักเขาเหมือนๆ กับรักลูกเรานั่นแหละ เพราะเราเข้าใจว่า ถ้าเราเป็นพ่อเป็นแม่ของเขา เราก็คงพร้อมที่จะให้อภัยเขาเช่นเดียวกัน อย่างที่พ่อแม่เขาควรทำต่อลูกเขา

อิอิ รู้สึกดีจังเลยครับวันนี้
ยากกกกกก
แล้วควรทำอย่างไรครับ ถ้าเขามาแกล้งลูกเราครับ หรือควรคิดอย่าง หรือควรปล่อยให้เขาแกล้งไปเรื่อยๆ
อิอิ คุณเทิดเกียรติ คำถามแนวผมเลย กับการก่อการร้าย แต่เราก็ต้องมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดการทำร้ายกันอีกใช่ไหมครับ พระอาจารย์
การป้องกันและแก้ไขปัญหานั้น เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่เราจะต้องแก้ไขปรับปรุงด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบและเป็นธรรม เพียงแต่เราต้องไม่ไปโกรธ หรือเกลียดชังให้จิตใจของเรานั้นเศร้าหมองไป
อืมม เพื่อไม่ให้จิตเศร้าหมอง
ถูกต้องครับ ต้องดูที่เหตุปัจจัยแล้วแก้ไขไปตามนั้นไม่ควรใช้อารมณ์เป็นใหญ่
วันนี้คงพอได้เค้าบ้างแล้วนะ เอาล่ะ เวลาก็ล่วงเลยมาพอสมควรแล้ว คุณๆ ว่าอย่างไรล่ะ จะไปนอนกันดีไหมคืนนี้ แล้วสัปดาห์หน้าค่อยมาว่ากันใหม่
namasikara ka. bye everyone. Anumodana.
ขอบพระคุณมากเลยเจ้าค่ะ คืนนี้ กราบนมัสการลาเจ้าค่ะ
กราบขอบพระคุณท่านครับที่กรุณาให้ความกระจ่างในหลายเรื่อง และขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันไขปัญหาต่างๆ
ขอบพระคุณครับพระอาจารย์
ถ้าอย่างนั้น คืนนี้ขออำนวยพรให้ทุกท่านได้มีความเบิกบานผ่องใสในจิตใจ ด้วยการเริ่มต้นปลูกฝังความรักแบบอัปปมัญญาให้เกิดมีขึ้น และเจริญงอกงามในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยกันทุกท่าน ขอเจริญพร
วันนี้ได้สองอย่าง เมตตาแบบพรหมวิหาร ๔ และ เมตตาแบบอัปปมัญญา
ขอบพระคุณค่ะพระอาจารย์
สาธุ

๑ อภิ.สํ.อ.๗๖ หน้า ๔๐๐
[ตัณหาสันถวะ คือ ความเกี่ยวข้องหรือสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา. ที่ชื่อว่า สิเนโห (ความเยื่อใย) ด้วยอำนาจความเสน่หา]
๒ ขุ.อิติ.อ.๔๕ หน้า ๑๔๖ พึงเทียบกับ “เมตตามโนกรรม” ที.ม.อ.๑๓ หน้า ๓๕๘-๙, ม.มู.๑๙/๔๒๕-๗
[ชื่อว่า เมตตา เพราะอรรถว่า รักใคร่ อธิบายว่า ผูกเยื่อใย. ชื่อว่า เมตตา เพราะความเจริญเป็นไปในมิตร หรือความเจริญนั่นเป็นไปต่อมิตร... เมตตามีอันเป็นไปในอาการให้ประโยชน์เกื้อกูลเป็นลักษณะ มีการนำสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลเป็นรส มีการปลดเปลื้องความอาฆาตเป็นเครื่องปรากฏ มีการแสดงความพอใจของสัตว์ทั้งหลายเป็นปทัฏฐาน. ความสงบพยาบาทเป็นสมบัติของเมตตานั่น ความมีเสน่หาเป็นวิบัติของเมตตา]
๓ อภิ.สํ.อ.๗๖ หน้า ๓๙๖
[สภาวะที่ชื่อว่า ราคะ (ความกำหนัด) ด้วยสามารถความยินดี. ที่ชื่อว่าสาราคะ (ความกำหนัดนัก) ด้วยอรรถว่าความยินดีมีกำลัง. ที่ชื่อว่า นนฺที (ความเพลิดเพลิน) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้สัตว์เพลิดเพลินในภพใดภพหนึ่ง หรือตัวเองย่อมเพลิดเพลิน. ความเพลิดเพลินนั้นด้วย ความกำหนัดด้วยอรรถว่าความยินดีนั้นด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นนฺทีราโค (ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน) ในนันทีราคะนั้น ตัณหาเกิดขึ้นครั้งเดียวในอารมณ์หนึ่ง ชื่อว่า นันที (ความเพลิดเพลิน) เมื่อเกิดขึ้นบ่อยๆ จึงตรัสเรียกว่า นันทีราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน).
๔ ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๑๖๖ องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๗๗/๓๙๘ อภิ.วิ.๓๕/๙๓๓-๙๓๕/๔๔๕-๔๔๗
๕ ในชื่อว่า เมตตาพรหมวิหาร ที.สี.๙/๓๘๓-๔/๓๘๑ องฺ.ปญฺจ.๒๒/๑๙๒/๒๐๒
ในชื่อว่า เมตตาอัปปมัญญา ที.ปา.๑๑/๒๓๔/๑๗๘ ม.ม.๑๓/๒๑/๑๖ อภิ.วิ.๓๕/๗๔๑/๓๒๐
อภิ.สํ.อ.๗๕ หน้า ๕๓๓
[ในอธิการว่าด้วยพรหมวิหารนั้น มีลำดับแห่งการขยายอารมณ์ ดังต่อไปนี้. พระโยคาวจรพึงกำหนดอาวาสหนึ่งก่อนทีเดียวแล้ว พึงเจริญเมตตาไปในสัตว์ทั้งหลายในอาวาสนี้นั้น โดยนัยว่า สตฺตา อเวรา โหนฺตุ ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีเวรเถิด ดังนี้เป็นต้น เหมือนชาวนาผู้ฉลาดกำหนดสถานที่ตนพึงไถแล้วจึงไถ ฉะนั้น พระโยคาวจรพึงทำจิตให้อ่อนและควรแก่การงานในอาวาสนั้น แล้วพึงกำหนดอาวาส ๒ แห่ง จากนั้นก็กำหนดอาวาส ๓ แห่ง ๔ แห่ง ๕ แห่ง ๖ แห่ง ๗ แห่ง ๘ แห่ง ๙ แห่ง ตรอกหนึ่ง กึ่งหมู่บ้าน หนึ่งหมู่บ้าน ชนบทหนึ่ง รัฐหนึ่ง ทิศหนึ่ง จนกระทั่งจักรวาลหนึ่ง หรือยิ่งกว่านั้น แล้วเจริญเมตตาไปในสัตว์นั้นๆ กรุณาพรหมวิหารเป็นต้นก็เหมือนกัน นี้เป็นลำดับแห่งการขยายอารมณ์ในพรหมวิหาร ๔ ดังนี้.
ก็ในพรหมวิหารเหล่านั้น หากจะมีคำถามว่า เพราะเหตุไร เมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา จึงตรัสเรียกว่า พรหมวิหาร ? เพราะเหตุไร ในวิภังค์ จึงตรัสเรียกว่า เป็นอัปปมัญญาเล่า ?
ตอบว่า ความเป็นพรหมวิหารในธรรมมีเมตตาเป็นต้นเหล่านี้ พึงทราบด้วยอรรถว่าประเสริฐ และความเป็นธรรมไม่มีโทษก่อน... ก็อัปปมัญญาเหล่านี้ทั้งหมดย่อมเป็นไปในอารมณ์ไม่มีประมาณ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า จริงอยู่ สัตว์ไม่มีประมาณเป็นอารมณ์ของอัปปมัญญาเหล่านี้ และพึงเจริญเมตตาเป็นต้นไปในประเทศเท่านี้ต่อสัตว์หนึ่ง ดังนี้แล้ว - ไม่ถือเอาประมาณอย่างนี้ แล้วให้เป็นไปด้วยอำนาจแห่งการแผ่ไปทั้งสิ้นนั่นแหละ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อัปปมัญญา ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า
“พรหมวิหาร ชื่อว่ามี ๔ เพราะเป็นทางหมดจดเป็นต้น อนึ่ง ลำดับแห่งพรหมวิหารเหล่านั้นย่อมมี เพราะอาการมีประโยชน์เกื้อกูลเป็นต้น และพรหมวิหารเหล่านั้น ย่อมเป็นไปในอารมณ์ไม่มีประมาณ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อัปปมัญญา ดังนี้”.]




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2549    
Last Update : 6 ตุลาคม 2550 19:36:46 น.
Counter : 560 Pageviews.  

WHITE LIE 491014

ธรรมะออนไลน์ เสาร์นี้เราจะคุยเรื่องอะไรกันดีเอ่ย

ให้เพื่อนๆ ช่วยกันตั้งคำถามนะคะ แล้วใส่ลงไว้ ในคอมเม้นท์ข้างล่าง

เขียนที่มาที่ไปของความสงสัยที่เกิดขึ้น ก็ดี เพื่อให้คะแนนเสียงดีขึ้น

เอ้ย เพื่อให้รู้วัตถุประสงค์ว่าทำไมถึงได้สงสัยในเรื่องนี้

ถ้าเห็นของใครเข้าท่า ก็โหวดได้เลยนะคะ

พอถึงวันสนทนาจริง เราก็จะได้หยิบเอาหัวข้อที่สนใจ ให้พระท่านตอบเลย

และขอนมัสการพระท่าน แสดงความคิดตามที่ท่านเห็นสมควรได้ด้วยเลยเจ้าค่ะ


ธรรมะออนไลน์ จะมีทุกๆ คืนวันเสาร์ เริ่มเวลา 20.30น.
โดยได้นิมนต์พระท่านเป็นวิทยากร
ถ้าใครสนใจมาสนทนาธรรมเพื่อให้เกิดปัญญา แอ๊ดเมล์นี้ไว้ได้เลยค่ะ mytimeline@hotmail.com


การสนทนาที่ผ่านมา จะเอาลงไว้ที่นี่เลยนะคะ

Chatธรรมวันเสาร์ เรื่อง WHITE LIE
(เมื่อวันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๔๙)
พระเอกชัย ฐานจาโร says:
เจริญพรทุกๆท่าน
ถ้าคิดผิดทาง การวางตัวต่อกันก็จะผิด says:
กราบนมัสการท่านปิ ท่านเอกเจ้าค่ะ

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
เจริญพรจ๊ะทุกคน ตกลงว่าได้หัวข้อสนทนากันหรือยังล่ะ

รู้จัก, เชื่อ, บังคับ, พอใจ, เคารพ says:
1) คุณธรรมทีจำเป็นในการเสริมสร้างสติปัญญามีอะไรบ้าง <==== อันนี้คุณ T เสนอครับ
2) อริยสัจจ์ข้อที่2 ความอยากซึ่งเป็นตัวต้นเหตุของความทุกข์ใจ <=== อันนี้ คุณส้ม ครับ
3) white lie จำเป็นสำหรับชีวิตหรือไม่? อย่างไร? < === อันนี้ คุณ อ้อ ครับ
4) How to reduce EGO ? < === อันนี้ คุณ hee hee
5) ผีมีจริงหรือไม่ เทิด <==== อันนี้คุณเทิดเสนอครับ

เอางี้ ใครโหวดเรื่องนั้นๆ ช่วยบอกด้วย โหวดเพราะอะไร
Could I?? says:
แก้วขอโหวตหัวข้อนี้ค่ะwhite lie จำเป็นสำหรับชีวิตหรือไม่? อย่างไร? ที่โหวตเรื่อง white lie จำเป็นสำหรับชีวิตหรือไม่? อย่างไร? เพราะในชีวิตประจำวันบางครั้งการโกหกในบางโอกาสก็อาจจำเป็นและดีกว่าการพูดความจริง ดังที่เรียกว่า white lie

ผมโหวต คุณธรรม ที่จำเป็นในการสร้างปัญญาครับ ที่โหวต ข้อ 1 เพราะปัญญา เป็นสิ่งที่สำคัญในการบรรลุมรรคผล ครับ
เทิด says:
ผมเลือก ๒ ข้อครับ คือ ข้อ ๑ กับ ข้อ ๕
jaidee.jaidee@hotmail.com says:
นมัสการพระคุณเจ้า และสวัสดีทุกท่านค่ะ

LET GOooooooo ! says:
Namasikara Phra Khun Chao and Howdy everyone.

พี่อ้อ-narunaka@hotmail.com says:
ผมเลือก ข้อ 3 นะครับ white lie เหตุผลก็ทำนองเดียวกับน้องแก้ว

อาตมามีธุระด่วน คุยกันไปก่อนนะ เดี๋ยวสักครู่มา นิมนต์ท่านเอกชัยก่อนครับ
ข้อ 3 คะแนนสูงสุดเลย
4
ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง says:
3 และ 4

แก้วเลือก 1 กับ 3 ค่ะ เหตุผลที่เลือกข้อ 3 บอกไปแล้ว ส่วนที่เลือกข้อ 1 เพราะว่า การดำเนินชีวิตควรมีสติกำกับ
ตกลงวันนี้ เป็นเรื่อง white lie นะคะ ว่าแต่ว่า มีใครคิดว่า สามารถโกหกได้
ครับ white lie
สรุป White Lie
เริ่มกันเลยค่ะ
การโกหกขาว คืออะไรครับ
ลองคุยกันก่อนสักนิด ว่ามองจากคำนี้ เข้าใจว่ายังไงกันบ้าง
ขอที่มาที่ไปของคำถาม White Lie ค่ะ มี back ground ยังไงค่ะ
ตา White Lie เนี๊ยะ

โกหกเพื่อให้คนอื่นสบายใจครับ
ผมนะครับ จะขออธิบาย ฟังผมแปบหนึ่งก่อนนะครับ คือ เราทุกคนต่างรู้ว่าการโกหกเป็นบาป และผิดศีล แต่บางครั้งเราจำเป็นต้องโกหกเพื่อความสบายใจของผู้ฟัง ทั้งที่ผู้พุดอาจจะไม่อยากจะพูด แต่ก็เกรงว่า ผู้ฟังอาจจะยังไม่พร้อมยอมรับความจริง หรือถ้ารู้ความจริง แล้วอาจจะเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ตามมา ซึ่งตรงนี้จะสอดคล้องกับหลักการให้พูดถูกกาลเทศะ แต่ว่าการพูดให้ถูกกาลเทศะก็ไม่ใช่จะให้เราโกหก ผมเลยสงสัยว่า แล้วจริงๆ เราควรจะทำอย่างไร ...
สำหรับแก้ว แก้วมองที่เจตนาเป็นตัวตัดสินค่ะ
กราบเรียนพระคุณเจ้าตัดสินให้ทีนะครับ
ผมว่าท่านพระปิน่าจะใช้แนวทางการตรัสของพระพุทธเจ้ามาชี้แจงในเรื่องนี้ได้
อยากจะขอยกตัวอย่าง เรื่องหนึ่งนะครับ ทุกคนก็ทราบดีอีกเช่นกันว่าตอนนี้เมืองไทย ยอมรับในการคงอยู่ของบุคคลที่รักร่วมเพศมากกว่าแต่ก่อน ถามใครๆ ก็บอกว่าเข้าใจ สามารถดำรงอยู่ด้วยได้ แต่เมื่อคราใดที่เราอ่านบทสัมภาษณ์ของดารานักร้องที่เราก็รู้อยู่ว่าเขาก็เป็นบุคคลรักร่วมเพศ เขาจะต้องปฏิเสธทุกครั้งไปว่าเขาไม่ใช่ แม้ว่าจะมีหลักฐานชัดเจน เพราะว่านั่นเขากลัวจะมีผลกระทบต่อการงานของเขา เขาพูดเพื่อให้ทุกคนสบายใจ แม้อันที่จริงแล้วไม่มีใครที่จะต้องเดือดร้อนกับลักษณะทางเพศของเขาเลยก็ตาม ไม่ว่าเขาจะเป็นบุคคลที่ยินดีในเรื่องทางเพศเช่นไร เท่านี้ล่ะครับ.... นมัสการพระคุณเจ้าครับ น้องแก้วคิดว่าไงครับ
ตัวอย่างที่พี่อ้อยกมา มีใครคิดว่าเป็น white lie อย่างไรบ้างมั้ยคะ อย่างที่บอก โดยส่วนตัวแล้ว แก้วตัดสินที่เจตนาน่ะค่ะ
ลองอ่านกระทู้ที่ส่งให้กันหรือยังคะ ดูเหมือนว่าอยู่ที่เจตนาที่ไม่ดี ที่มีต่อผู้อื่น
พิ้ง-พิ้งP^ i +n *K He is a Hero says:
กราบนมัสการพระคุณเจ้า และเพื่อนๆทุกท่านค่ะ มาแล้วค่ะ ขออนุญาตอ่านก่อนนะคะ

แล้วถ้าเราไม่มีเจตนาก็จะไม่บาป แต่ถ้าคนอื่นมาทราบภายหลังอะครับ บาปจะย้อนมาหาเราได้ไหมครับ?
นมัสการพระคุณเจ้าตอบด้วยค่ะ
ว่าไปแล้ว อย่างดาราเกย์ เป็นการล่อลวงให้เขาชอบนะ
แต่ก็เพราะว่า สังคมปากว่าตาขยิบอะครับ ทำเหมือนว่าจะยอมรับได้ แต่จริงๆ แล้วก็ ... เขาก็อาจจะกลัวว่าไม่มีงานทำ
คนอื่นๆเห็นว่าไงคะ
อืม คำโกหกก็คือคำไม่จริงนะครับ ที่ดาราเขาพูด ก็เพื่อตัวเขาอ่ะครับ แต่โดยความเป็นจริง เราก็มีหลายวิธี ที่จะอธิบายให้คนฟังเข้าใจได้นะครับ ไม่จำเป็นต้องโกหกนะครับ เพียงแต่ว่า ณ ขณะนั้น วิธีโกหก มันง่ายเท่านั้นเอง
อืม ... แล้วถ้าการโกหกผู้ป่วยของหมออะครับ อย่างบางกรณี หมอก็จะห้ามว่า อย่าบอกผู้ป่วยว่าเป็นไอ้นั่น ไอ้นี่ เพราะว่ากลัวอาการทรุด
ดูที่เจตนา
ก็ไม่จำเป็นครับ การไม่พูด กับการโกหก ไม่เหมือนกันนะครับ และก่อนที่จะบอกความจริง เราก็ต้องเตรียมใจของผู้ป่วยก่อนครับ เมื่อเขาพร้อมรับฟังเมื่อไหร่ นั่นแหละเราถึงจะบอกได้ครับ ไม่จำเป็นต้องโกหกตั้งแต่แรกครับ ทุกเรื่องนะครับ
อืมมม งั้นก็แสดงว่า white lie ไม่จำเป็น
ไม่จำเป็นครับ เพียงแต่เราต้องเตรียมผู้ฟังให้พร้อมก่อนนะครับ
เมื่อเขาเข้าใจชีวิตดีแล้ว ไม่ว่าเรื่องไหน เลวร้ายแค่ไหน เขาก็รับได้ครับ

ถ้าเราพูดอะไรออกไป เราก็คงต้องยอมรับในผลที่จะกลับมา แม้ว่าผลที่จะเกิดกับเรานั้นไม่ใช่สิ่งที่เราเป็นคนทำให้เกิดขึ้นเลยก็ตาม
ท่านอื่น ๆ ว่ายังไงครับ
เห็นว่าต่อไปเรื่องอะไร ที่จำได้ก็เหลือ 1) How to reduce Ego และ 2) คุณธรรมเพื่อเจริญสติปัญญา
ขอทุกท่านโหวตอีกครั้งดีไหมครับ เดี่ยวผมจะนับให้เพื่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือจะให้ท่านพระปิตัดสินเลยก็ได้
เอ อ้างขนาดนั้นเลยเหรอคะคุณเทิด
พูดไว้ครับจะได้ติดเป็นนิสัย เวลาพูดจะได้ระมัดระวังตัวมิให้คนพาลนำคำพูดเราไปใช้ประโยชน์ได้
มาแล้วจ๊ะ ขออภัยนะ คุยกันถึงไหนแล้ว
ขอคุณเป้สรุปให้ด้วยครับ
คิดว่า ควรให้ท่านพูดเรื่อง white lie ค่ะ เพราะจะได้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง
การโกหกน่ะหรือ
White lie คือ การพูดเท็จโดยที่มีเจตนาดี หรือจำเป็นต้องพูดเพื่อหวังประโยชน์ ใช่หรือไม่

เพื่อประโยชน์ในด้านดีครับ
การพูดเท็จนั้น เป็นสิ่งที่มีโทษและไม่ถูกต้องนะ ไม่ว่าจะมีเจตนาใดอยู่เบื้องหลังก็ตาม
กระผมว่าจริงๆ แล้วต้องขึ้นอยู่กับสถานะภาพของผู้พูดนะและก็เหตุปัจจัยด้วย โดยที่ต้องดูเจตนาเป็นหลัก เช่น เวลาอยู่ต่อหน้าโจรบ้ากาม ก็ต้อง White Lie แน่นอนเพื่อเอาตัวรอด
เพียงแต่ว่า ท่านจำแนกไว้ว่า ถ้าบุคคลพูดเท็จด้วยกิเลส คือ ด้วยอำนาจของโลภะ โทสะ โมหะ ก็จะเป็นบาปมาก แต่ถ้าหากว่า เราพูดเท็จเพราะมีเหตุจำเป็น หรือเป็นการพูดเล่นเพียงเพื่อสนุก มิได้มีเจตนาร้ายก็บาปน้อยนะ
แต่ก็บาปอยู่ดี?
โดยเกณฑ์ตัดสินใหญ่ที่สำคัญ ก็คือ ถ้าการพูดเท็จนั้นทำลายประโยชน์อันจะเกิดขึ้นได้มาก ก็บาปมาก, ถ้าการพูดเท็จนั้นทำลายประโยชน์น้อย ก็บาปน้อย
แต่เพื่อช่วยเหลือล่ะเจ้าคะ และไม่เกิดโทษต่อใครเลย
เช่นหมอโกหกคนไข้ เป็นต้น
ผมว่าจริงๆ แล้วพระพุทธเจ้าท่านสอนว่า เรื่องการพูดนั้น ก็คือ วจีสุจริต ตรงนี้หมอต้องมีสติปัญญาในการพูดพอสมควร
แบบนี้หมอโกหกคนไข้ก็ไม่ดีซิค่ะ
ฉะนั้น เราจะต้องแยกออกจากกันระหว่างความดีความถูกต้อง และความผิดความไม่ถูกต้อง ว่าต่างก็ให้ผลในแนวทางของตนๆ ซึ่งมีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย
เกี๊ยก-Kiak.. There is no phychiatrist in the world like a puppy licking says:
ผมว่าโกหกก็คือผิดศีล ผิดศีลก็คือบาป ไม่ต่างจากการฆ่าสัตว์ หรือ ลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเจตนาดียังไงก็บาปอยู่ดี

หมอโกหกคนไข้บางครั้งก็ทำเพราะหวังดี แต่ทว่า มันเป็นการทำลายความจริงที่เขาพึงรับรู้ และมีสิทธิ์ที่จะรับรู้ความจริง เช่นว่า หมอบอกว่า เขาจะต้องหายจากโรค หรือยังมีชีวิตอยู่อีกนาน บางครั้ง กลับทำให้เขาประมาทในการใช้ชีวิต ความจริงนั้น เป็นสิ่งที่ย่อมจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่ได้รับรู้ความจริงนั้น เพราะจะเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ทำให้บุคคลนั้นปฏิบัติต่อชีวิตของตนและสิ่งทั้งหลายได้อย่างรู้เท่าทัน
ถึงแม้เป็นเรื่องจริง ถูกต้อง เกิดประโยชน์และเป็นที่รักของคนอื่น พระพุทธเจ้ายังต้องเลือกกาลตรัสเลยครับ
ถ้าผมเป็นหมอ แล้วเจอเหตุการณ์แบบนี้ ถ้าผมโกหก เพื่อให้คนไข้สบายใจ ผมก็อาจจะทำ เพียงแต่ว่าผมก็พร้อมจะรับบาปนั้นเอาไว้
เช่นว่า ถ้าครูอาจารย์ไม่สอนความจริงแก่ศิษย์ ไม่พูดความจริงซึ่งเป็นลักษณะของสังคมและชีวิตของแต่ละบุคคลที่ต้องต่อสู้และมีความยากลำบาก เพราะกลัวศิษย์จะเสียกำลังใจหรือเกรงกลัว อะไรจะเกิดขึ้น หรือถ้าเกรงใจศิษย์ว่าถ้าหากตำหนิตามความผิดถูกแล้วศิษย์จะเสียใจ อะไรจะเกิดขึ้น
คนไข้รู้ความจริง.. อาจทรุดได้
พิ้งมองอีกมุมค่ะ ถ้าสมมติคนไข้เป็นมะเร็งหรือโรคอะไรก็แล้วแต่ ที่ไม่มีทางรักษาหาย ถ้ามีโอกาสได้รู้ความจริงและสามารถยอมรับว่าร่างกายนี้เน่าแล้ว เรายืมเค้ามา ต้องสละร่างกายคืน และใช้เวลาระยะสุดท้ายให้มองเห็นธรรมชาติของขีวิต น่าจะไม่ต้องมาโกหกกันค่ะ
การที่คนไข้ ไม่มีโอกาสได้รับรู้ความจริงซึ่งเป็นข้อมูลข่าวสาวที่เขามีสิทธิ์ได้รับรู้นั้น ถือเป็นการจำกัดสิทธิ์ที่เขาพึงมีพึงได้รับ เราไม่อาจรู้ได้ว่า การหลีกเลี่ยงความจริงโดยการกล่าวเท็จนั้น จะเกิดผลร้ายใดที่จะต้องติดตามมาบ้าง แล้วเมื่อเกิดผลนั้นขึ้น เราจะรับผิดชอบได้อย่างไร
นั่งฟังอย่างตั้งใจครับ
ส่วนความจริงนั้น เราต้องรู้ว่า เรามีสิทธิ์ที่จะตอบคำถามนั้นหรือไม่ก็ได้ หรืออาจตอบไม่ตรงกับสิ่งที่เขาต้องการรู้แท้จริงก็ได้ บางครั้งอาจเพื่อการรักษาน้ำใจของเขา แต่ทว่า จะต้องไม่พูดโกหก การพูดโกหกในกรณีนี้ ย่อมทำให้เขาไม่มีโอกาสได้ตั้งตัวหรือเผชิญต่อความจริงที่กำลังปรากฏตัวขึ้น สุดท้ายเขาอาจตำหนิเราที่ไม่ให้โอกาสแก่เขากระทำในสิ่งที่ดี ในเมื่อโอกาสนั้นยังคงมีอยู่ เพียงแต่ว่า บางครั้ง เราก็ไม่ควรพูดถึงความจริงนั้นทั้งหมดเท่านั้น เช่นว่า อาการของโรคจะทรุดลงอย่างไร เจ็บปวดอย่างไร เป็นต้น
ใช่ค่ะท่าน
ถ้ายึดตามหลักพุทธศาสนาแล้ว คนเราต้องกล้าเผชิญหน้ากับความจริง ปัญหาทำให้เกิดปัญญา แต่ว่าก็ต้องดูความรู้ความสามารถ ความแข็งแรงของจิตใจผู้ฟังรวมไปถึงระดับสติปัญญาด้วย
พูดอ้อม
หมอย่อมมีหน้าที่หลักในการรักษาคนไข้ให้ดีที่สุดตามกำลังความสามารถของตน แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องตระหนักถึงหน้าที่ในชีวิตของแต่ละบุคคลที่ต้องบริหารจัดการชีวิตของตนอย่างดีงาม ถูกต้องที่สุดเท่าที่เขายังคงมีโอกาสนั้นอยู่
อืม ถ้าหากเราคุยกันหมดเรื่องของคำโกหก แล้ว ผมอยากจะนมัสการพระอาจารย์ อธิบายเรื่องเกี่ยวกับคำพูดนะครับ ทุกท่าน (เพราะจะได้เกี่ยวเนื่องกันกับหัวข้อวันนี้นะครับ) ดีไหมครับ
อืมม ดีเหมือนกันค่ะคุณวัฒน์
ตามที่ผมเขาใจ ว่าถ้าเรามีสติปัญญาและฝึกฝนตนได้ในระดับหนึ่ง เราจะรู้วิธีควบคุมความเจ็บปวดโดยอาศัย กองลม ตามที่ผมได้คุยกับคุณหมอคนหนึ่ง ท่านบอกว่า ผู้ที่ควบคุมลมหายใจได้นั้น คือ เชี่ยวชาญอานาปานสติก็สามารถช่วยทำให้อาการเจ็บป่วยต่างๆ ทุเลาได้
โอกาสในชีวิตและการเตรียมตัวต่อสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นในชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก มิฉะนั้น เราจะไม่ขวนขวายทำการวินิจฉัยโรค เอ็กซเรย์ หรืออะไรก็ตาม เพื่อให้ผู้รักษาได้รู้ถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด และคนไข้ได้เข้าใจร่างกายของตนเองให้มากที่สุด และตั้งต้นในการปฏิบัติต่อชีวิตของตนอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่นว่า เขาอาจเริ่มต้นทำความดีอย่างที่เขาไม่เคยทำหรือให้ความสนใจมาก่อนเลยก็ได้
ซึ่งเป็นการที่จะต้องใช้ปัญญาให้มากขึ้น ทั้งคนไข้และหมอ
ถ้าไม่เจ็บป่วยก็ไม่สนพระธรรม อันนี้ตรงมาก
ลองคิดถึงท่าน พุทธทาสหรือสมเด็จฯ แล้วน่าจะเป็นจริงได้
ที่ท่านปิพูดถึง เพราะตรวจทุกอย่างแล้ว และพิ้งคิดว่าเป็นเรื่องของกรรมเก่า ค่ะ ขอฟังต่อค่ะ
กลับมาที่ White Lie ท่านปิอธิบายให้ฟังว่า
ก็คือ เราไม่สมควรโกหกในทุกกรณี
เราจะต้องไม่พูดโกหก เราจะต้องพูดจริง แต่ไม่จำต้องพูดทุกอย่างของความเป็นจริง
ค่ะ เข้าใจแล้วค่ะ
พูดไม่ครบ.. อิ อิ
ถือว่าเป็นการเจตนาที่จะปิดบังหรือเปล่าเจ้าคะ มันต้องมีอารมณ์ไม่อยากบอกด้วยล่ะ
อุปมาเหมือนกองดอกไม้ มิใช่ว่า เราจะต้องหยิบมาร้อยเป็นพวงมาลัยเสียทุกดอก เราจะต้องเลือกใช้ดอกที่เข้ากับสถานการณ์นั้นๆ และควรเลือกใช้ด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้มาลัยนั้นมีความงดงามเหมาะสม และแม้ดอกใดที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ เราก็เก็บไว้ก่อน อย่าไปทำลายมันหรืออย่าเพิ่งโยนมันทิ้งไป
จะเข้าในเรื่องการพูด เพื่อถูกใจ หรือเพื่อให้เกิดประโยชน์ ด้วยหรือเปล่าเจ้าคะ
เหมือนกับความจริงในสิ่งนั้นๆ มีอยู่ เมื่อเราเห็นว่า ขณะใดยังไม่ควรกล่าวก็ไม่จำต้องกล่าว แต่ก็เก็บความจริงนั้นไว้ก่อน อย่าไปทำลายความจริงนั้น เพราะบางครั้ง เราหรือเขาอาจต้องการใช้มันอีกเมื่อใดก็ได้ แต่ถ้าเราทำลายความจริงเสียแล้ว เราจะไม่อาจนำประโยชน์กลับคืนมาสู่บุคคลนั้นได้อีก เพราะเมื่ออะไรๆ เปลี่ยนไป บางครั้งความจริงนั้นอาจจะมีค่าที่สุด ที่จะได้รับการเฉลยในภายหลังไม่ว่าจะจากตัวเราหรือธรรมชาติที่จะปรากฏตัวขึ้นเองก็ตาม
ผมขออนุญาตนิดนึงครับ กรณีคนไข้กับหมอ ที่อธิบายมา เหมือนกับเป็นการโกหกในการให้ข้อมูล เรายึดติดตรงนี้เกินไปรึเปล่าครับ ลองสมมติเป็นอย่างนี้มั้ยครับ เปลี่ยนเป็น คนไข้ กับ ญาติคนไข้ คนไข้ที่รู้แน่ชัดแล้วว่าจะตายวันนี้ ก่อนตายสั่งเสียอะไรแปลกๆ ให้ลูกหลานรับปาก เช่นอะไรก็แล้วแต่นะครับ ซึ่งสมมติอีกว่า เรารับปากไม่ได้ ก็มีอยู่ 2 ทางครับ คือ โกหก โดยการรับปาก กับทางที่สองไม่รับปาก เลือกปฏิบัติตามหลักธรรม ให้เราต้องชั่งน้ำหนักกัน
ปฏิสสวะ ได้แก่ เดิมรับคำของคนอื่นด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ภายหลังกลับใจ ไม่ทำตามที่รับปากนั้น แม้ไม่เป็นการพูดเท็จโดยตรง แต่ก็เป็นการทำลายประโยชน์ของคนอื่นได้ มี ๓ ประเภท คือ
๑. ผิดสัญญา ได้แก่ สองฝ่ายทำสัญญากันว่าจะทำอย่างนั้นๆ แต่ภายหลังไม่ทำอย่างนั้น เช่น ทำสัญญาจ้าง เป็นต้น
๒. เสียสัตย์ ได้แก่ ให้สัตย์แก่ท่านฝ่ายเดียวว่าตนจะทำหรือไม่ทำเช่นนั้นๆ แต่ภายหลังไม่ทำตามนั้น เช่น ข้าราชการผู้ถวายสัตย์สาบานแล้ว ไม่ทำตามนั้น
๓. คืนคำ ได้แก่ รับว่าจะทำสิ่งนั้นๆ แล้วภายหลังไม่ทำ เช่น รับว่าให้สิ่งนั้นๆ แล้วไม่ให้
โทษของปฏิสสวะ คือ ทำให้เสียชื่อเสียง ตามฐานที่ไม่ตั้งอยู่ในสัตย์, คัดลอกมาจากเวปเมื่อกิ๊ครับ
นั่นเป็นสิทธิของผู้ป่วยที่จะพูดอย่างนั้น ต้องการอย่างนั้น และเป็นสิทธิ์ของญาติผู้ป่วยเช่นกัน ในการตัดสินใจเลือกในการปฏิบัติอย่างที่ควรจะเป็น ความเป็นจริง ความเป็นเหตุเป็นผล และการให้แต่ละฝ่ายทบทวนให้ดีในคำขอร้องหรือข้อเสนอของตนนั้น จะทำให้แต่ละฝ่ายจำต้องเรียนรุ้และพัฒนา มิฉะนั้น แต่ละฝ่ายอาจไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นที่ผิดพลาดได้เลย
เมื่อยังมีโอกาสอยู่

ครับ
เมื่อผู้ป่วยได้รู้ถึงความจริงบางประการที่อาจยังไม่เคยได้รู้ได้เข้าใจ เหตุผลบางประการที่แต่ละฝ่ายควรที่จะได้หันหน้าเข้าหากัน ปรับความคิดเห็นให้ตรงกัน เมื่อนั้น แต่ละฝ่ายจะไม่ต้องมีความเสียใจในภายหลังว่า "เราได้ทรยศต่อความจริง หรือได้โป้ปดมดเท็จแม้แต่ผู้มีพระคุณที่กำลังจะจากไป" ซึ่งหากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น เราอาจไม่สามารถยกโทษให้ตนเองได้
เจ้าค่ะ การไม่ยอมโกหก มีผลต่อการพัฒนาตนเองอย่างมาก
ถูกต้องครับ การไม่โกหกจะทำให้เราพัฒนาทั้งวุฒิภาวะและสติปัญญา เพราะว่าเราจะค้นหาความจริงทำให้เรารู้แจ้งเห็นจริง
ตรงต่อความจริง ไม่บิดเบือน โอเค เมื่อมีการทำเพื่อคนอื่นด้วย แต่ถ้าเราไม่โกหก เราก็ต้องหาวิธีแก้ไขด้วยปัญญาให้ได้
ครับ ผมเพียงแค่อยากให้เราไม่ยึดติดกับตัวอย่างเกินไป ไม่งั้นเดี๋ยวไปเจอกรณีอื่นๆ ก็จะสงสัยอีก เพราะว่าเหตุแห่งการโกหกไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนหลักธรรม ผมก็เข้าใจตรงกับทุกท่านละครับ
ใช่แล้วค่ะ อันนี้เป็นแค่ตัวอย่าง
น.น้ำใจดี (FM89.25Mhz) says:
เห็นด้วยครับ

ใช่ครับ ทุกปัญหามีปัญญาตามมาเสมอ ถ้ารู้จักคิดแยกแยะให้ออกว่าอะไรเป็นคุณค่าแท้คุณค่าเทียม อะไรเป็นคุณเป็นโทษและทางออก อะไรเป็นอดีตที่แก้ไขไม่ได้ อะไรเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ ณ ปัจจุบัน อะไรเป็นไปได้ในอนาคตตามพื่นฐานที่เรามี อะไรเป็นสาเหตุหลักสาเหตุรอง อะไรเป็นปัจจัยภายในภายนอก ปัจจัยหลักปัจจัยรอง อะไรเป็นหลักการและความมุ่งหมาย อะไรเป็นข้อเท็จจริงและความคิดเห็น อะไรเป็นความเป็นจริงตามเหตุปัจจัย จริงๆแล้วก็หลัก อริยสัจ ๔
หัวข้อที่ 2 ค่ะ คุณธรรมทีจำเป็นในการเสริมสร้างสติปัญญามีอะไรบ้าง
พระพุทธองค์ตรัสถึงธรรมที่เป็นเหตุแห่งการพัฒนาปัญญาไว้หมวดหนึ่ง เรียกว่า ปัญญาวุฒิธรรม มี ๔ ประการ คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ คือ สมาคมกับคนดี
๒.สัทธัมมัสสวนะ คือ รับฟังคำสอนจากท่าน
๓.โยนิโสมนสิการ คือ พิจารณาใคร่ครวญด้วยตนเอง
๔. ธัมมานุธัมมปฏิบัติ คือ นำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้เห็นจริงได้ตามนั้น

รับฟังคำสอนจากท่าน?? อ้าว คนโหวด คุณวัตน์ และน้องแก้วไปไหนหมดแล้ว
ยังอยู่ครับ นั่งฟังอย่างตั้งใจ
อิ อิ.. นึกว่าหายตัวไปแล้ว นั่งดู.. อย่างตั้งใจค่ะ
คุณส้มคอยเชคชื่อ
อ๋อ ให้คะแนนจิตพิสัยคะ.. อิ อิ ( นอกเรื่องนิดนึง)
ตรงนี้ผมคิดว่าเป็นคุณธรรมที่มาจากปัจจัยภายนอก มีคุณธรรมที่เกิดจากปัจจัยภายในไหมครับ
โยนิโสมนสิการ คือ ปัจจัยภายใน จ๊ะ
เช่น อิทธิบาท ๔ น่าจะใช่ไหม หรือว่า อิทธิบาท เป็นส่วนของการเสริมสร้าง สติ
ก็คือคบกัลยาณมิตร รับฟังธรรมมะ นำไปพิจารณาอย่างแยบคาย และสุดท้ายนำไปปฎิบัติจริงใช่เปล่าค่ะ
แล้วส่วนที่จะทำให้เกิดปัญญาของตนเองล่ะครับ ในกรณีที่เราต้องการสร้างองค์ความรู้จากประสบการณ์ของเราเอง
พระพุทธองค์ตรัสโดยย่อว่า ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ)นั้น มี ๒ ประการประกอบกันซึ่งสนับสนุนซึ่งกันและกัน คือ
๑. ปรโตโฆสะ คือ เสียงจากภายนอก ได้แก่ สื่อต่างๆ รวมถึงกัลยาณมิตรทั้งหลาย และ
๒.โยนิโสมนสิการ คือ การพิจารณาใตร่ตรองด้วยตนเอง

โยนิโสมนสิการ น่าจะเป็นวิธีการคิดในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงาม แต่ว่าการอาศัยอยู่ในสังคม จำเป็นต้องใช้ปัจจัยด้านเงินทอง มีธรรมส่วนไหนที่จะทำให้ช่วยตรงนี้ได้ไหม เช่นว่า การค้นหากัลยาณมิตร ก็เป็นธรรมข้อหนึ่ง มีข้ออื่นอีกไหมครับท่านอาจารย์ หรือว่าเราจะต้องยึดหลักสันโดษและสมถะ ตามหลักปรัชญาของในหลวงหรือเปล่าครับ
สำหรับในทางธรรม(ในด้านสัจธรรม) นั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า เว้นจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ในขั้นของสาวกทั้งหลาย ต้องอาศัยปรโตโฆสะ คือ เสียงจากภายนอก เป็นจุดเริ่มต้นให้ก่อนทั้งสิ้น, พระพุทธองค์ตรัสว่า "อาศัยเรา (ตถาคต) เป็นกัลยาณมิตร สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตายนั้นเสียได้
เข้าใจแล้วครับ ถ้าเรายังไม่สามารถฝึกฝนสติปัญญาของเราจนถึงขั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ก็ต้องศึกษาจากท่านอาจารย์ต่างๆ ก่อน
ต้องหมั่นฟังธรรมะบ่อยๆ แล้วพิจารณาแง่ธรรมตามด้วยการเฝ้าดูภายใน
สรุปก็คือ หาผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษามาช่วยในการทำงานเพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
แล้วเราจะรู้ได้ไงคะว่าสิ่งที่ท่านสอนนั้นถูกแล้ว
โยนิโสมนสิการ ไงจ๊ะ คุณเป้ สิ่งใดเป็นธรรม เราย่อมรู้ได้ด้วยใจเรา (จากประสบการณ์ในชีวิตที่ผ่านมา) เมื่อเราใคร่ครวญดูโดยรอบคอบแล้ว
ระหว่างนั้นก็ทำวิจัยด้วยตนเองว่า ทางไหนเป็นทางที่เราถนัดและน่าจะเป็นทางที่ถูกต้อง แล้วนำมาเขียนเพื่อให้ผู้อื่นได้ทดสอบดู แล้วกลับมาทบทวนอีกครั้งจากเสียงสะท้อน ใช่ไหมครับ
ก็ต้องคิดใคร่ครวญโดยใช้ปัญญาทีตนมีอยู่ให้ดีที่สุด
สำคัญที่เราต้องเรียนรู้ เฝ้าดูภายในของเราถึงจะเกิดปัญญาใช่เปล่าค่ะ
จ๊ะ ดูที่ใจเรา สังเกตที่ใจเรา การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงนั้นสำคัญมาก แต่ไม่ใช่คิดปรุงแต่งไปเองนะ ต้องรู้ด้วยตัวเราเองเท่านั้น
มันก็ยากเหมือนกันนะเจ้าคะ ที่เราจะมีปัญญาได้ขนาดที่จะรู้ว่าสิ่งนั้นถูกหรือไม่
หยุดคิดปรุงแต่ง ว่างจากความคิด
ผมว่าถูกผิดนี้พระพุทธเจ้าน่าจะมีหลักให้เราพิจารณานะครับ เท่าที่อ่านจากหนังสือของพระธรรมปิฏก ก็รู้แต่อะไรเป็นหลักในการตัดสินว่า อะไรเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
ในเกสปุตตสูตร (พระสูตรซึ่งแสดงแก่ชนกาลามโคตร) พระพุทธองค์ตรัสว่า "จริงของท่านฯ (สำหรับปุถุชน) ยากจะตัดสินได้ว่า ใครพูดจริงใครพูดเท็จ แล้วตรัสว่า "อย่าปลงใจเชื่อ...." ทั้ง ๑๐ ประการ จึงทรงให้หลักไว้ดังนี้ว่า
เจ้าค่ะ ในชั้นแรก อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ
เธอพึงรู้ด้วยตนเองว่า
๑. สิ่งใดเป็นกุศล
๒. สิ่งใดผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญ
๓. สิ่งใดไม่มีโทษตามมาในภายหลัง
๔. สิ่งใดเมื่อสมาทาน (คือรับไปปฏิบัติ) อย่างถึงที่สุดแล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขที่แท้จริง เธอจงรู้ในสิ่งนั้นว่า ควรสมาทาน ควรเชื่อถือได้ ล้วนแต่ประกอบด้วยคุณประโยชน์และไม่มีโทษเลย, แต่ทว่า ในทางตรงข้ามจากธรรม ๔ ประการนี้ ก็ตรัสไว้ด้วยโทษอันตรงกันข้ามเช่นเดียวกันว่า "เธอไม่พึงสมาทาน ไม่ควรเชื่อ ไม่พึงถือเอา เพราะไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย คือ
๑.สิ่งใดเป็นอกุศล (เป็นเหตุให้กุศลจิตเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นจากอำนาจแห่งอกุศลจิต)
๒.สิ่งใดผู้รู้ (นักปราชญ์และบัณฑิต) ทั้งหลายติเตียน
๓.สิ่งใดย่อมมีโทษตามมาในภายหลัง
๔.สิ่งใดเมื่อสมาทานถึงที่สุดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน "เธอจงรู้ในสิ่งนั้นด้วยตนเอง และไม่พึงถือเอาเลย" เอาแล้วกระมัง วันนี้

มีใครอยากถามอะไรเพิ่มเติมบ้างหรือเปล่าคะ
ถ้าไม่มีอะไร อาตมาจะขอตัวแล้วนะ
ขอบพระคุณท่านพระอาจารย์มากครับ และทุกท่านที่ช่วยกันออกความคิดครับ
พิ้งไม่มีค่ะ กราบขอบพระคุณท่านค่ะ
กราบลาครับ
นมัสการครับ
กราบลาครับ
วันนี้ได้ความรู้หลายเรื่องเลย ราตรีสวัสดิ์ครับทุกท่าน
ถ้าอย่างนั้น คืนนี้ ขอลาทุกท่านล่ะนะ ขอให้ทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรง มีจิตใจที่เบิกบานด้วยกันทุกคน
สาธุค่ะ
กราบลาครับ พระอาจารย์ กราบลาครับ ท่านฐานจาโร ราตรีสวัสดิ์ครับทุกท่าน
ขอฝากข้อความสั้นๆ ไว้ว่า "ดูแลกาย รักษาใจให้ดี" ด้วยกันทุกคนนะ ขออนุโมทนาบุญกับทุกคนด้วย
ว้าว วันนี้ได้พรพระกันก่อนนอนแล้ว
ราตรีสวัสดิ์ค่ะ สาธุ
สาธุ กราบลาครับ
สวัสดีทุกคนนะคะ ถ้ามีคำถาม เอามาใส่บล็อกได้เลย
//dhammatree.bloggang.com/

ค่ะ




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2549    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 21:41:32 น.
Counter : 255 Pageviews.  

การอุทิศส่วนบุญ 490930

รู้จัก, เชื่อ, บังคับ, พอใจ, เคารพ says:
วันนี้เรามาตั้งหัวข้อกันเหอะครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรายังเหลือเวลา แค่สองชั่วโมงนะครับ ห้าทุ่มคือ กำหนดเลิก

ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง says:
หัวข้ออะไรดีเอ่ย
บุญ บาป และ กรรม คือ อะไร
ทำบุญ กับทำทานเหมือนกันเปล่าค่ะ
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
ทานเป็นส่วนหนึ่งของการทำบุญ

การนั่งสมาธิคือการทำบุญเปล่าค่ะ
ใช่จ๊ะ เป็นวิธีหนึ่งในการทำบุญ วิธีการทำบุญมี ๑๐ อย่าง
เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

บุญ(กรรม)หนักสุดคือการนั่งสมาธิ วิปัสสนาหรือเปล่าค่ะ
ใช่จ๊ะ บุญสูงสุด คือ การเจริญวิปัสสนา
ถ้าเคยทำกรรมไว้ที่เป็นมโนกรรม ถือว่าบาปเปล่าค่ะ
กรรมนั้นมี ๓ ทางด้วยกัน คือกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ซึ่งถือเป็นบุญหรือบาปได้ทั้ง ๓ ทาง
แค่คิดไม่ดีกับคนอื่น ก็บาปเหรอค่ะ
ใช่
การกระทำทุกอย่างเป็นกรรมใช่ไหมครับ ไม่ว่าทำอะไรก็ตามนั่นก็ถือว่าเป็นกรรมใช่ไหมครับ แล้วกรรมก็มีทั้งกรรมที่มีบาป กับ กรรมที่ไม่เป็นบาป ใช่ไหมครับ
จะเป็นกรรมได้ จะต้องมีเจตนา(ความตั้งใจ) ในการกระทำกรรมนั้นก่อน จึงจะเป็นกรรม
แบบนี้ถ้าไม่เจตนาก็ไม่เป็นกรรม??
เช่น เราเดินไป ไม่เห็นมด แต่เหยียบมดตาย อย่างนี้ไม่ใช่กรรม คือ เราไม่ได้ทำกรรมนั่นเอง แต่มดตายด้วย อำนาจวิบากกรรมของเขาเอง
งั้นแสดงว่าถึงมดตายแต่เราไม่เจตนา ก็ไม่เป็นบาป ใช่ไหมครับ
ใช่ ไม่บาป
กรรมนั้นต้องมีเจตนาถึงจะเป็นบุญหรือบาปใช่ไหมครับ เจตนานั้นเกิดขึ้นกับใจ แสดงว่าบุญหรือบาปท่านก็ยึดถือว่าขึ้นอยู่กับใจเช่นกันใช่ไหมครับ ถ้าเราทำให้พ่อแม่เป็นห่วงนี่ถือว่าเป็นบาปหรือเปล่าครับ ถ้าเราทำไม่ผิด แต่พ่อแม่เป็นห่วง เป็นกรรมหรือเปล่าครับ แต่ผลของการกระทำนี้ทำให้พ่อแม่ไม่สบายใจนะครับ และอาจมีผลต่อการดำเนินชีวิตของพ่อแม่เช่นกัน เพราะมัวแต่ห่วงครับ
ขึ้นกับเจตนาว่าเราต้องการให้ท่านเป็นห่วงหรือไม่ หรือว่าเรารู้ว่าท่านจะเป็นห่วงแต่ก็ยังทำ อย่างนี้ก็เป็นกรรมนะ เพียงแต่ว่าถ้าเราทำดีแล้วท่านเป็นห่วง แม้เราจะรู้ แต่นั่นก็เป็นบุญ แต่ถ้าเราทำบาป แม้ท่านจะเป็นห่วงหรือไม่ก็ตาม นั่นก็เป็นบาป ในส่วนที่ว่าถ้าเราทำดีแล้วท่านเป็นห่วง เราก็รู้ว่าท่านเป็นห่วงแต่ก็ยังทำ นั่นถือว่า เราก็ยังเป็นบุญอยู่นั่นเอง แต่ทว่า การที่ท่านเป็นห่วงหรือเสียใจนั้น เป็นวิบากกรรมที่ไม่ดีของท่านเอง อาจเพราะท่านยังไม่มีปัญญาเพียงพอ แต่ในส่วนของเรา เมื่อเรารู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นดี ไม่ผิดอะไร ก็ควรจะทำได้ มิฉะนั้น เราจะทำความดีนั้นได้อย่างไร บุญกุศลจะเกิดได้อย่างไร ถ้าเรามัวแต่กังวลใจว่าท่านจะชอบหรือไม่ชอบ
ดังนั้นเราต้องทำให้ท่านมีปัญญาใช่ไหมครับ ต้องพยายามทำให้ท่านเข้าใจอย่างที่เราเข้าใจใช่ไหมครับว่าเป็นสิ่งที่ดี และทำให้ท่านเห็นว่ามันดีจริง ๆ
แต่ความจริงแล้ว การที่เราทำดีทั้งที่รู้ว่าท่านจะไม่สบายใจนั้น ก็ถือเป็นกรรมเหมือนกันนะ เรียกว่า กตัตตาวาปนกรรม, คำว่า กตัตตาวาปนกรรม คือ กรรมที่กระทำลงไป โดยไม่ได้มีเจตนาให้เกิดผลอย่างนั้นขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นบุญหรือบาปเกิดขึ้นเช่นกัน แต่ในที่นี้ มักเกิดขึ้นเนื่องจากจิตใจของเราหวั่นไหวไปตามผลที่เกิดขึ้นตามมา แม้ว่าเราจะไม่ตั้งใจให้เกิดก็ตาม, ซึ่งการที่เรามีจิตใจหวั่นไหวในตามทุกข์-สุขของผู้อื่นนั้น ถือว่า เป็น กรุณาจิต ซึ่งเป็นบุญอย่างหนึ่ง แต่ทว่า ขณะเดียวกัน เราก็อาจเกิดความเศร้าหมองในใจขึ้นมาด้วยเช่นเดียวกัน เพราะเราสงสารเขา เห็นใจเขา จนบางครั้งถึงกับอาจทำให้เราร้องไห้ออกมาก็ได้ นี่ก็เริ่มเป็นบาปแล้ว คือ บาปในใจเรา เพราะใจของเราเศร้าหมองไป
บุญ คือ ความสดชื่นของใจ บาป คือความเศร้าหมองของใจอย่างนั้นใช่ไหมครับ ถ้าหากทำอะไรแล้วใจเรารู้สึกดี สดชื่น ก็แสดงว่าเป็นบุญใช่ไหมครับ
ฉะนั้น ในขณะที่ทำอะไรอย่างหนึ่งลงไป ก็อาจจะมีทั้งส่วนบุญและบาปปะปนกันไปมากมาย ในขณะใดจิตของเราผ่องใสเบิกบานก็เป็นบุญ ในขณะใดจิตของเราเศร้าหมองก็เป็นบาปขึ้นมา ซึ่งสิ่งที่จะเป็นปัจจัยอันสำคัญที่จะทำให้จิตของเราไม่ต้องหวั่นไหวเป็นทุกข์ใจในตามความทุกข์ของผู้อื่น ก็คือตัวปัญญานี่เอง
ปัญญาจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นเตือนและตักเตือนเรา ให้เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ในแง่ที่ว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมมีกรรมเป็นของๆ ตน บุคคลกระทำความดี ย่อมได้ผลดี กระทำความชั่ว ย่อมเกิดผลชั่วตามมา
ในส่วนของเรานั้น เราย่อมสามารถกระทำหรือช่วยเหลือเขาได้มากที่สุดตราบเท่าที่จะไม่กระทบถึงธรรม คือ ความดีงาม ความถูกต้องทั้งหลาย ซึ่งเขาจะชอบใจหรือไม่ชอบใจนั้น เราก็จะต้องยอมรับ เรียกว่า วางจิตเป็นอุเบกขา เมื่อสิ่งทั้งหลายนั้นถูกต้อง เป็นไปตามธรรมแล้ว

ร่วมไว้อาลัย says:
หลวงพี่ค่ะ...ยกตัวอย่างว่า.....มีเพื่อนคนหนึ่งที่เค้ามีจิตใจริษหา อยากจะดึงเค้าให้รู้ถึงสิ่งที่ดี-ไม่ดี เราจะทำยังงัยดีค่ะ ในเมื่อชวนเค้าเข้าวัดแต่เค้าไม่สนใจเลย กลับมาว่าเราด้วยซ้ำ ......

การจะชักชวนผู้อื่นในสิ่งที่ดีนั้น เราจะต้องรู้ความต้องการของเขาก่อน เรียกว่า เราต้องเข้าใจเขาให้มากขึ้น เข้าไปยืนอยู่ข้างเดียวกับเขาก่อน แล้วจึงค่อยชักชวนเขาให้เขามายืนข้างเราภายหลัง
หลายครั้งที่เราดีกับเค้า แต่สุดท้ายที่ได้มา เค้าก็ทำให้เราเสียใจทุกครั้ง จนปัญญาแล้วคะ
ในกรณีที่เรารู้สึกว่า เราทำดีกับเขาแล้ว แต่เขากลับทำร้ายเรา ในกรณีนี้ พระพุทธองค์ทรงให้หลักไว้ว่า เราจะช่วยเหลือเขาได้ ในฐานะที่เราจะยังคงไม่เดือดร้อนหรือเกิดอกุศลจิตตามมา, หากเรารู้ว่า เราเข้าไปช่วยเหลือหรือชักจูงแล้ว จะเป็นเหตุให้เราเกิดอกุศลจิตขึ้น เราจะต้องรู้จักประคับประคองใจของเราให้ดี หรือถ้าทำไม่ได้ก็ต้องเลี่ยงออกมาก่อนจะดีกว่า
ถ้าคิดผิดทาง การวางตัวต่อกันก็จะผิด says:
นิมนต์ท่านเอกชัยเจ้าค่ะ

TANAJARO says:
นมัสการครับพระอาจารย์ ขอร่วมวงด้วยคน
นมัสการครับ นิมนต์
ขอเรื่องบุญต่อนะครับ คือว่า เวลาทำบุญนี้ เรามีการอุทิศบุญให้แก่ผู้อื่นได้ใช่ไหมครับ ทีนี้ในทางบาป เราสามารถอุทิศให้ผู้อื่นได้ด้วยหรือไม่ครับ
ใช่จ๊ะ การอุทิศบุญให้ผู้อื่นนั้นทำได้ แต่เขาจะได้รับบุญนั้นก็ต่อเมื่อ เขาต้องร่วมอนุโมทนาบุญด้วยเท่านั้น
อนุโมทนาคือ การยินดีในบุญนั้นใช่ไหมครับพระอาจารย์ การอนุโมทนาบุญ คือการรับบุญนั้นไปใช่ไหมครับ ถ้าหากอุทิศแล้วเขาไม่อนุโมทนาก็แสดงว่าเขาไม่รับใช่ไหมครับ แล้วถ้าผู้ที่อุทิศให้ไม่รู้ เขาก็ไม่ได้รับบุญใช่ไหมครับ
การอนุโมทนาบุญ คือ การยินดีในความดีหรือความสำเร็จที่ผู้อื่นได้กระทำไป ซึ่งตามหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุญนั้นจะต้องกระทำเอง ทำแทนกันไม่ได้ ในส่วนของบุญที่เรากระทำด้วยการให้ทานนั้น เป็นบุญของเรา การอุทิศส่วนบุญให้ผู้อื่น ก็เป็นบุญของเรา แต่ทว่า ในส่วนของผู้อื่นเขาจะได้บุญที่เราอุทิศไปให้ ก็ต่อเมื่อ เขาจะต้องกระทำบุญนั้นเอง ด้วยการอนุโมทนาบุญที่เราได้กระทำไป
อย่างเราตักบาตรแทนเค้าก็แสดงว่าเค้าก็ไม่ได้รับบุญนั้นใช่มั้ยค่ะ
ถ้าเราตักบาตรแทนเขา เขาจะต้องรับรู้ด้วย และอนุโมทนาบุญนั้นด้วยจึงจะเป็นบุญ
แล้วการแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์อย่างนี้ละครับ แสดงว่าพวกสัตว์ก็ไม่ได้บุญใช่ไหมครับ เพราะว่าพวกสัตว์ไม่รับรู้บุญที่เราได้ทำ และไม่ได้อนุโมทนาครับ หรือว่าพวกสัตว์อนุโมทนาบุญกับเราได้เช่นกันครับ
การแผ่เมตตา ถือเป็นการกระทำบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า เป็นบุญที่เกิดขึ้นจากการเจริญภาวนาให้จิตของเราเป็นกุศล เพราะมีเมตตาจิตต่อสัตว์ทั้งหลาย, เมื่อสัตว์ทั้งหลายหรือใครก็ตามรับรู้การแผ่เมตตาจิตของเรา แล้วถ้าเขายินดีในความดีที่เรากระทำ ก็เรียกว่า เขาร่วมอนุโมทนาบุญด้วย ก็จะเกิดบุญแก่เขาด้วยเช่นเดียวกัน
ที่นี้จะขอกล่าวถึงวิธีการทำบุญบ้างล่ะนะ เพื่อเป็นการทบทวนความทรงจำ เพราะบางท่านก็อาจลืมไปแล้วก็ได้
วิธีการทำบุญ (บุญกิริยาวัตถุ) มี ๑๐ ประการ คือ
๑. ทานมัย การให้ทาน
๒. สีลมัย การรักษาศีล
๓. ภาวนามัย การเจริญจิตตภาวนา(ทำสมาธิ)
๔. อปจายนมัย การอ่อนน้อมถ่อมตน เช่น การไหว้พระ หรือการไหว้ผู้ใหญ่
๕ เวยยาวัจจมัย การช่วยเหลือกิจการงานของผู้อื่น
๖ ปัตติทานมัย การอุทิศส่วนบุญให้ผู้อื่น
๗ ปัตตานุโมทนามัย การอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นได้กระทำ
๘ ธัมมัสสวนมัย การฟังธรรม
๙ ธัมมเทสนามัย การแสดงธรรม
๑๐ ทิฏฐุชุกรรม การศึกษาให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ

ถ้าเราทำบุญไปแล้วค่อยมาบอกเค้าว่าเราทำบุญแทนเค้าหล่ะคะ ได้มั้ยค่ะ
ได้จ๊ะ
เวลาเราทำบุญต้องตั้งเจตนาแน่วแน่ใช่เปล่าค่ะ
เจตนาที่ตั้งในขณะทำบุญนั้นหมายถึง มีความตั้งใจในการกระทำนั้นนั่นเอง
ถ้าไม่ตั้งใจมาก ก็ไม่ค่อยได้บุญหรือค่ะ
ท่านกล่าวว่า เจตนาในการกระทำบุญนั้น จะมีผลมากมีอานิสงส์มากขึ้นต่อเจตนาที่บริบูรณ์ใน ๓ กาล
๑. ปุพเพเจตนา เจตนาก่อนการให้
๒. มุญจนเจตนา เจตนาระหว่างการให้
๓. อปราปรเจตนา เจตนาหลังการให้

ต้องสมบูรณ์ทั้ง ๓ กาล
อาจกล่าวย่อๆ ว่า ก่อนให้ก็มีความยินดี ระลึกถึงประโยชน์ในการให้นั้น ระหว่างให้ก็มีความตั้งใจ มีจิตสงบเป็นสมาธิ หลังให้ก็มีจิตยินดี มีความชื่นชม ไม่มีความเสียดาย
Kunrapat P. Spirit of Mercy, Forgive, Truth and Love says:
ผมชื่อเบียร์ครับ เผอิญน้องฝ้ายเขาแนะนำมา เลยขอเข้าร่วมฟังด้วยนะครับ ^^

กรุณาอธิบายถึง การอุทิศส่วนกุศลด้วยครับ เปรียบกับปัตติทานมัย
การอุทิศส่วนกุศลนั่นล่ะ คือ ปัตติทานมัย, คำว่า ปัตติทานมัย นั้น คือ การอุทิศส่วนบุญหรือผลแห่งความดีนั้นให้แก่บุคคลอื่น ปรารถนาที่จะให้บุคคลอื่นได้รับบุญหรือความสุขนั้นร่วมกันไปด้วย ซึ่งการอุทิศส่วนบุญนั้น สามารถอุทิศให้ได้ทั้งกับผู้ที่มีชีวิตและผู้ที่ตายไปแล้ว
การอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่มีชีวิตนั้น คือ การที่เราไปบอกแก่เขา ให้เขารู้ว่าบุญที่เรากระทำนี้เราขออุทิศให้แก่เขาด้วย อย่างนี้เป็นต้น
ถ้าเขายินดีในการกระทำบุญที่เราได้กระทำแล้ว ด้วยจิตที่ยินดีในการอุทิศส่วนบุญนั้น ไม่ว่าเขาจะกล่าวออกมาว่า “ขออนุโมทนาบุญ” หรือไม่ก็ตาม นั่นก็ถือเป็นการอนุโมทนาบุญแล้ว เรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย บุญที่เกิดจากการอนุโมทนาบุญ
ส่วนการอุทิศส่วนบุญให้กับผู้ที่ล่วงลับไปนั้น เราจะต้องตั้งเจตนาว่าความดีที่เรากระทำนี้ เราขออุทิศให้แก่ท่านผู้นี้ผู้นี้ที่ล่วงลับไปแล้ว แล้วหากท่านผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ท่านสามารถรับรู้ถึงบุญที่เรากระทำนี้ได้ แล้วท่านเกิดจิตยินดีอนุโมทนาบุญร่วมกับเราไปด้วย ท่านก็จะได้รับบุญ

ด้วยการกรวดน้ำ?
ครับ ด้วยการกรวดน้ำ
การกรวดน้ำนั้น เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที่ช่วยรวมจิตของผู้ที่ต้องการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้อื่นให้เป็นสมาธิ เพื่อให้อานุภาพแห่งบุญนั้นมากขึ้นตามกำลังของสมาธินั้นไปด้วย แต่ทว่า โดยสาระที่แท้จริงนั้น การกรวดน้ำจะกระทำหรือไม่ก็ได้ เพราะโดยที่แท้ขึ้นกับเจตนาของเรา คือ การอธิษฐานจิตของเราที่ต้องการอุทิศส่วนบุญนี้ไปให้
ฉะนั้น กับบางกรณีที่ไม่มีน้ำสำหรับกรวด ก็ให้ผู้อุทิศส่วนบุญนั้นตั้งจิตอธิษฐานเพื่ออุทิศส่วนบุญให้แก่เขานั่นเอง นั่นก็เป็นอันสำเร็จการอุทิศส่วนบุญนั้นทันที

หากเราจะร่วมอนุโมทนา จำเป็นต้องเกาะหรือแตะต่อๆกันหรือไม่
การแตะกันหรือการเกาะต่อๆ กันนั้น เป็นภูมิปัญญาของคนในสมัยโบราณที่ต้องการสอนให้เด็กหรือผู้ที่ใหม่ต่อพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งได้ร่วมในพิธีนั้น เกิดความรู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมในพิธีกรรม เพื่อให้เกิดกุศลจิตร่วมกันในการกระทำบุญ
ค่ะ เป็นกุศโลบาย
ซึ่งโดยแท้แล้ว จะเกาะกันหรือไม่ก็ได้ ถ้าแต่ละคนต่างก็ตั้งจิตอธิษฐานมุ่งตรงไปยังสิ่งเดียวกัน ในภาษาไทยเรา จึงมีคำล้อว่า “กรวดน้ำและการกรวดแห้ง” นั่นเอง
การกรวดแห้ง เป็นคำล้อไม่มีความหมายใช่มั้ยค่ะ (ไม่เคยได้ยินอ่ะคะ)
อืม ไม่เคยได้ยินเหมือนกันครับ
มีจริงค่ะ กรวดแห้ง
กรวดโดยไม่ใช้น้ำค่ะ
โถ เขาใช้กันบ่อยไป เป็นคำวัด “กรวดแห้ง” น่ะ ไม่เคยได้ยินกระมัง คนรุ่นใหม่
ทำเหมือนกรวดน้ำหรือป่าวค่ะ แต่ไม่มีน้ำ
อ๋อ ค่ะ. คนรุ่นใหม่
สาระสำคัญของการกรวดน้ำนั้น อยู่ที่การรินน้ำหรือการเทน้ำในขณะนั้นว่า เราตั้งจิตให้เป็นสมาธิโดยระลึกอุทิศถึงผู้ตายได้หรือไม่และชัดเจนหรือไม่นั่นเอง ถ้าจิตมีสมาธิมาก กำลังแห่งการอธิษฐานให้เขารับรู้ก็มากตามไปด้วย และอำนาจสมาธินั้นก็ช่วยให้บุญกุศลนั้นเพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง
ขณะที่กรวดน้ำนั้น จึงเป็น ปัตติทานมัยกุศล คือ บุญที่เกิดจากการอุทิศ คือ ให้ความสุขหรือความดีแก่ผู้อื่น ซึ่งเป็นบุญที่เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง มิได้ทำให้บุญของการให้ทานของเรานั้นลดลง
อุปมาว่า การให้ทานนั้น เราได้บุญแล้ว ๑
การอุทิศส่วนบุญแก่ผู้อื่น ก็ได้บุญเพิ่มอีก ๑
รวมเป็น ๒ ส่วนแห่งบุญ อย่างนี้เป็นต้น
บางท่านเข้าใจผิดว่า การให้บุญแก่ผู้อื่นนั้นเราจะไม่ได้บุญ หรือได้บุญลดลงนั้นเป็นความเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา อย่างเช่น คัมภีร์มิลินทปัญหา นั้น ได้แสดงถึงอานิสงส์แห่งการอุทิศส่วนบุญไว้ว่า อานิสงส์ของผู้อุทิศบุญให้ผู้อื่นนั้น บุญที่กระทำจะมิได้ลดลง มีแต่จะเพิ่มขึ้น เปรียบดั่งแสงประทีปที่เราจุดต่อกันไป มีแต่จะสว่างไสวมากขึ้น

เท่าที่ผมเข้าใจ คำว่าอธิษฐาน คือ การตั้งใจนะครับ ใช่ไหมครับพระอาจารย์
ใช่ คำว่าอธิษฐาน แปลว่า ตั้งใจมั่นที่จะกระทำ
Kiak.. There is no phychiatrist in the world like a puppy licking your face. says:
สวัสดีครับ ผมชื่อเกี๊ยกครับ คุณวัฒน์แนะนำเข้ามา ขอฟังด้วยครับ

ถ้าเวลาอธิษฐานจิตจำเป็นต้องบอกทั้งชื่อทั้งนามสกุลหรือป่าวค่ะ บอกแต่ชื่อได้มั้ยค่ะ หรือว่าตอนเราทำบุญเราอธิษฐานจิตเป็นหน้าเค้าแทนได้มั้ยค่ะ (ถ้าเราไม่รู้จักชื่อ)
จริงๆแล้วการอธิฐานนั้น จะให้เรานึกถึงคนที่เราจะให้แก่เขา ไม่จำเป็นต้องบอกชื่อไม่ใช่หรือครับ ตามที่ผมเคยได้ยินมา
การอุทิศส่วนบุญนั้น โดยหลักคือเราระลึกถึงผู้นั้นเท่านั้น จะกล่าวออกมาหรือไม่ก็ได้ แต่ตามธรรมดาเมื่อบุคคลมีเจตนาอย่างไร ก็ย่อมจะแสดงออกซึ่งเจตนานั้นให้ปรากฏเป็นธรรมดา ซึ่งการเปล่งวาจาออกมานั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งแห่งเจตนาที่ได้ตั้งไว้ด้วยเช่นเดียวกัน ว่าเป็นเจตนาที่มีกำลัง เรียกว่า มิใช่เพียงแต่มโนกรรมเท่านั้น แต่ยังกระทำคือแสดงออกด้วยวจีกรรมด้วย เป็นเหตุให้กุศลจิตนั้นมีกำลังเพิ่มขึ้น ด้วยอำนาจแห่งวจีกรรมอีกทางหนึ่ง รวมถึงกายกรรมที่แสดงออกซึ่งเจตนานั้นด้วย ด้วยการกรวดน้ำ เป็นต้น
ขอถามหน่อยครับ "การทำทานนั้นเราได้บุญ แล้ว1 อุทิศ ได้เพิ่มอีก 1 เป็น 2" งั้นถ้าเราไม่ทำบุญ แต่เรามีใจที่จะอุทิศ เราจะได้ 1 จากการอุทิศไหมครับ
ก็ได้เหมือนกัน แต่ท่านไม่เรียกว่า “อุทิศส่วนบุญ” ล่ะทีนี้ เพราะไม่มีวัตถุคือบุญหรือความดีจะมอบให้ ก็จะได้แต่เพียงเป็นการแผ่เมตตาจิตเท่านั้น เพราะไม่มีความดีจะมอบให้
แล้วถ้าเราทำบุญ และมีเจตนาอุทิศส่วนกุศลให้กับคนๆหนึ่ง แต่ไม่ประสงค์จะให้คนๆ นั้นรับรู้ คนๆ นั้นก็ไม่ได้รับรู้ จึงไม่มีโอกาสที่จะอนุโมทนา ก็จะไม่ได้ส่วนกุศลนั้นหรือเปล่าครับ
ถ้าเขาไม่รับรู้การกระทำบุญนั้น เขาก็จะร่วมอนุโมทนาบุญที่เราทำไม่ได้ เขาก็จะไม่ได้บุญ เว้นเสียแต่ว่า เจตนาในการกระทำบุญนั้นรุนแรง คือ มีกำลังมากที่จะอุทิศแก่เขา แม้เราไม่บอกเขา แต่เขาก็อาจที่จะรับรู้ได้ ด้วยการระลึกถึงเรา ด้วยกระแสจิตที่เราตั้งใจจะทำให้ โดยลักษณะที่เรียกว่า เขาอาจรู้สึกได้ว่ามีใครสักคนระลึกถึงเขา เป็นห่วงเขา หรือกำลังมีเมตตาจิตแก่เขา
เป็นต้น

S i e w says:
ขอตัวก่อนนะครัย นมัสการลาพระอาจารย์ครับ สวัสดีครับทุกๆคน ขอโทษที่แทรกนะครับ
บายค่ะคุณสิ่ว
สวัสดีจ๊ะ สิ๋ว
การอุทิศส่วนกุศล ต่างจากการแผ่เมตตาอย่างไรครับ เมื่อเราแผ่เมตตาให้สัตว์โลก เราก็ไม่ได้บอก หรือสัตว์เองก็ไม่สามารถรับรู้ และอนุโมทนา สัตว์จะได้ส่วนบุญจากการแผ่เมตตาของเราได้อย่างไรครับ
การอุทิศส่วนบุญ เป็นการระลึกถึงบุญที่เราได้กระทำ แล้วอุทิศให้ผู้อื่น, ส่วนการแผ่เมตตานั้น ไม่มีวัตถุที่ตั้งแห่งการอุทิศ เป็นแต่การระลึกถึงผู้อื่นสัตว์อื่นด้วยเมตตาจิต, การอุทิศส่วนบุญกับการแผ่เมตตานั้น มีข้อเหมือนกันประการหนึ่งก็คือ ผู้ที่รับรู้การกระทำนั้น สามารถร่วมอนุโมทนาบุญได้ด้วยเช่นเดียวกัน แต่อำนาจแห่งกุศลกรรมนั้นไม่เสมอกัน เพราะสิ่งหนึ่งมีวัตถุ อีกสิ่งหนึ่งไม่มี
ยกตัวอย่างว่า เรากลับมาบ้าน เอาขนมกลับมาฝากคุณแม่ แล้วบอกแม่ว่า “ขอให้คุณแม่มีความสุขนะ” กับเรากลับบ้านมามือเปล่า แล้วเราก็มาบอกแม่เฉยๆ ว่า “ขอให้คุณแม่มีความสุข” อย่างนี้นะ ความรู้สึกต่อสิ่งที่เราได้กระทำนั้น คุณแม่ย่อมรู้สึกแตกต่างกันในด้านของความยินดี

แล้วการแผ่อุทิศส่วนกุศลนั้น สามารถที่จะแผ่ให้กับเหล่าสัมภเวสีต่างๆได้หรือไม่ ถึงแม้นว่าเขาไม่ได้มาขอกับเรา
การอุทิศบุญนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ย่อมสำเร็จด้วยองค์ประกอบ ๓ ประการ
ในประการที่๑ คือ เจตนาของผู้ให้ย่อมให้แก่ผู้นั้น ซึ่งหมายถึง ต้องมีเจตนาอุทิศแก่ผู้ใดผู้หนี่ง ไม่ว่าจะอ้างฐานะใดก็ตาม เช่น อ้างโดยความเป็นญาติ เป็นบิดามารดา หรือบุคคลผู้นั้นผู้นี้ ไม่อาจกล่าวส่งไปได้ว่า ให้แก่สัมภเวสี หรือเจ้ากรรมนายเวร อะไรทำนองนี้ เพราะกรรมย่อมสำเร็จด้วยอำนาจแห่งเจตนา เมื่อเราต้องการอุทิศให้ เราต้องระบุได้ว่า ให้กับใคร เขาผู้นั้นเป็นใคร หรืออยู่ที่ไหน สัมพันธ์กับเราอย่างไร เป็นต้น ส่วนคำว่า สัมภเวสี นั้น พึงเข้าใจว่า โดยแท้จริงแล้ว หมายถึง เราทุกคนผู้ที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์นะ

โอ้ ความรู้ใหม่ ครับ เก็บ ๆๆๆ
ท่านกล่าวว่า สัมภเวสี นั้น หมายถึงสัตว์ทั้งหลายที่ยังคงต้องมีภพอยู่ หรือยังคงต้องแสวงหาภพเกิดอยู่ เรียกว่า สัมภเวสี ทั้งนั้น
แปลว่าผู้ท่องไปได้ไม๊คะ
ต้องเกิดไปเรื่อย
ซึ่งในความหมายที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้น สัมภเวสี อาจหมายถึง ไก่ที่ยังอยู่ในไข่ หรือเทวดาที่อุบัติขึ้นในขณะเป็นปฏิสนธิจิต หรือปุถุชนทั้งหลาย หรือแม้พระเสขบุคคล(อริยบุคคล)ทั้งหลาย เว้นแต่พระอรหันต์
ที่ว่า ไก่ที่ยังอยู่ในไข่ นั้น หมายถึง ยังไม่เต็มตัวนั่นเอง หรือยังไม่บริบูรณ์พร้อมนั่นเอง ซึ่งในคำนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราเป็นไก่ตัวแรกที่ฟักออกมาจากเปลือกไข่ โดยไม่มีผู้ใดกระเทาะเปลีอกให้
โดยการกระทำบุญนี่นะ มีข้อแปลกอยู่นิดหนึ่งนะว่า อย่างในคัมภีร์ในชั้นพระบาลี อย่างเช่น ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ หรืออย่างในอรรถกถา เช่นในธรรมบทนั้น ได้แสดงไว้ตรงกันว่า เมื่อบุคคลกระทำบุญด้วยตนเองไว้ ย่อมเกิดเป็นทิพยสมบัติขึ้นในเทวโลก (รวมทั้งนางอัปสรทั้งหลาย) ไว้คอยท่าผู้ที่มีบุญอันได้กระทำไว้แล้ว รอเวลาเขาจะไปเกิดเพื่อเสวยผลบุญนั้น

เหมือนที่วัดๆ หนึ่งเคยมากล่อมที่บ้านเลย ทำบุญมากก็ยิ่งได้มาก ----> วัดนั้นเค้าสอนแบบนี้อ่ะ
แต่เราเป็นคนธรรมดาไม่สามารถออกความเห็นได้ เดี๋ยวบาปอ่ะ

อ๋อ คุ้นนะวัดนี้
อย่างเช่น พระโมคคัลลานะขึ้นไปบนสวรรค์พบวิมานทองทั้งทิพยสมบัติทั้งนางอัปสรบริวาร แล้วถามหาเจ้าของทิพยสมบัตินั้น นางฟ้ากลับตอบว่า "เป็นของนางวิสาขาเจ้าค่ะ" แต่นางยังไม่ได้อุบัติขึ้นในเทวโลก นางยังคงอยู่ในโลกมนุษย์(เพราะยังไม่ตาย) พวกนางอัปสรต่างมารอท่านางอยู่ ณ วิมารนี้
โอ ขนาดนั้นเลย
ที่คุณสงสัยว่า ทำบุญมากยิ่งได้มากนั้น ต้องพิจารณาเป็นประเด็นๆ ไปนะ ไม่เช่นนั้น อาจเข้าใจผิดได้ พระพุทธเจ้าตรัสถึง การกระทำบุญไว้ว่า ขึ้นกับเจตนาของผู้ให้ (เจตนา ๓ กาล) ความสม่ำเสมอของการให้ (อาจิณณกรรม) สิ่งของที่ให้ (ได้มาโดยบริสุทธิ์และประกอบด้วยประโยชน์) และคุณธรรมของผู้รับ แต่มิได้ตรัสถึง จำนวนทรัพย์ที่บริจาคนะ ว่าต้องมีปริมาณมาก
หรืออย่างที่บางท่านเข้าใจว่า ยิ่งให้มาก ยิ่งได้บุญมาก ส่วนนี้ยังไม่ถูกต้องทีเดียวนัก

พิ้ง-พิ้งP^ i +n *K He is a Hero says:
กราบพระคุณเจ้า แลเพิ่อนทุกคนค่ะ มาสาย

พระพุทธองค์ทรงอุปมาการทำบุญของเศรษฐีผู้หนึ่ง ซึ่งให้ทรัพย์วันละแสนกหาปนะ เป็นเวลา ๗ ปี แต่กลับได้บุญน้อยกว่า สาวใช้ของตนที่มิได้ออกทรัพย์เลย แต่เป็นผู้ที่ให้ทานแทนเศรษฐี ซึ่งไม่ใส่ใจ สาวใช้เพียงออกแรงกาย แต่ด้วยเจตนาที่เคารพในทาน กลับได้บุญมากกว่า
ขึ้นกับเจตนา
แล้วอย่างนี้คนรวยจะทำบุญยังไงให้ได้บุญเยอะกว่ากำลังทรัพย์ที่ทำไปล่ะเจ้าคะ
ถ้าคนรวยมีเจตนาจะทำบุญ ก็ต้องมีเจตนาเสมอกันกับคนจนในขณะที่ทำบุญ ก็จะได้บุญเสมอกัน เช่น คนรวยมีร้อย แต่ทำสิบ คนจนมีสิบ แต่ทำหนึ่งบาท อย่างนี้เสมอกันนะ
ชินา-LET GOooooooo ! says:
tired already.. Namasikara Ka. Thankyou for your teaching today. Bye everyone take care. May the Triple Gem bring you happiness and peace.

ใครยังมีคำถามอื่นอีกไหม ถ้าไม่มีอาตมาจะขอตัวล่ะนะ
ส่วนมากติดอยู่ที่ กลัวถูกกล่าวหาว่ารวยแล้วแต่ทำบุญเท่านี้เองหรือ
แต่ถ้าทำไปงั้นๆ ก้ไม่เสมอกันอีก??
กุศลกรรมก็ตาม อกุศลกรรมก็ตาม ย่อมมีกำลังขึ้นต่อเจตนา คือ ความตั้งใจของการกระทำ มิได้ขึ้นกับทรัพย์สินเงินทองเลยแม้แต่น้อยนะ ไม่อย่างนั้น คนจนก็ตกนรกหมดสิ ไปสวรรค์ไม่ได้ เพราะไม่มีสตางค์จะบริจาค
แล้วถ้าการทำบุญแล้วยึดผลตอบแทน อย่างงี้จะได้บุญหรือครับ? อย่างเช่นถ้ารู้ว่าทำบุญแล้วพอตายลงแล้วไปเกิดบนเทวโลกแล้วจะได้ทรัพย์บนนั้น มันจะไม่เป็นการทำบุญหวังผลไปหรือครับ
การทำบุญหวังผลตอบแทนนั้น ย่อมได้ผลน้อยกว่าการทำบุญเพราะต้องการลดละความตระหนี่หรือกิเลสในใจเรา เอาล่ะนะ คิดว่าวันนี้คงพอสมควรแล้ว
ครับพระอาจารย์ กราบลาครับ
ครับพระอาจารย์
กราบลาครับ
นมัสการลาพระอาจารย์
ขอฝากพุทธภาษิตไว้ประโยคหนึ่งว่า
"กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ..ยทิทํ หีนปฺปนีตตาย"
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลาย ให้เลวและประณีตแตกต่างกันไป
ขออนุโมทนาบุญกับทุกคนด้วยนะ และขอนมัสการพระคุณเจ้าด้วยความเคารพ ที่ได้เข้ามาร่วมสนทนากันในวันนี้

ขอกราบขอบพระคุณพระอาจารย์ครับ
กราบนมัสการลาเจ้าค่ะ
ขอบพระคุณทุกท่านค่ะ
ขอให้พระธรรมปกปักรักษาทุกท่าน เจริญพร
กราบนมัสการลาครับ
ราตรีสวัสดิ์ครับทุกท่าน เจอกันเสาร์หน้าครับ บายครับ
เจอกันเสาร์หน้า เน้อ
บ๊ายบายค่ะ




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2549    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 21:25:17 น.
Counter : 312 Pageviews.  

ธรรมเบื้องต้นเพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ขันติ และโสรัจจะ 490923

Chatธรรมวันเสาร์ เรื่องธรรมอันทำให้งาม
(เมื่อวันที่ ๒๓ ก.ย. ๒๕๔๙)
รดา says:
well .. yes i'm interest ka many thk so can talk about love?
how to learn about love ?

ถ้าคิดผิดทาง การวางตัวต่อกันก็จะผิด says:
หรือรักอย่างไรถึงจะดี

umm good topic
คุณรดาเขากำลังอินเลิฟ เอาว่า รักยังไงไม่ให้เกิดทุกข์ภายหลัง อยากได้แบบนี้ไม๊คะ
ว่าแต่ว่า วันนี้อยากคุยเรื่องอะไรกัน ตะกี้ถามคุณรดา เป็นเรื่องสุดฮิต ความรัก แต่จะรักยังไงไม่ให้ทุกข์ดี

วัฒน์-รู้จัก, เชื่อ, บังคับ, พอใจ, เคารพ says:
ผมขอเสนออีกหัวข้อครับ ธรรมอะไรบ้างที่ทุกคนควรรู้และเข้าใจ เอาขอบเขตเฉพาะชาวบ้านนะครับ ขอหลักเบื้องต้นก่อนก็ได้ครับ ที่สำคัญ เพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีงาม และสังคมสงบสุข

ค่ะ ท่านอื่นๆล่ะคะ ตอนนี้มีสองหัวข้อแล้ว
เทิดเกียรติ์-เทิด says:
ผมว่าเอาเรื่องธรรมที่จำเป็นก็ดีครับ จะได้เตือนสติพวกเราทุกคนอีกครั้ง
เรื่องความรักจริงแล้วเราพูดไปหลายครั้งแล้ว ผมคิดว่าคุณเป้น่าจะมี Copy อยู่
ใช่ค่ะ แต่มุมมองก็เปลี่ยนกันไปได้ แต่ตอนนี้เรื่องธรรมะที่ควรรู้ มีสองเสียงแล้วค่ะ คุณชินาล่ะคะ
ชินา-LET GOooooooo ! says:
I am here to just look at what PKC Piyalak's teaching.

วันนี้ตกลงเราจะคุยกันเรื่องอะไรดีล่ะ?
คุณวัฒน์ให้หัวข้อแล้วค่ะ
ธรรมเบื้องต้นเพื่อการดำเนินชีวิตที่ดีงามหรือ
ใครรู้บ้าง มีหลักธรรมอยู่หมวดหนึ่ง ที่ท่านเรียกว่า "ธรรมอันทำให้งาม"
(๑)คืออะไรบ้าง มี ๒ ข้อ
หิริ-โอตตัปปะครับ ใช่ไหมครับพระอาจารย์
หิริ-โอตตัปปะ ไม่ถูกจ๊ะ อันนั้น ท่านเรียกว่า "ธรรมที่คุ้มครองโลก" (๒)
อ้าวหรือครับ อืม เอ้ งั้นอะไรน้า ติ๊ก ต๊อก ๆๆ
ใครถ้าเคยบวชแล้วน่าจะรู้ เพราะเป็นธรรมะพื้นฐานของพระบวชใหม่
มะงู้อ่ะ
อ๋อ ขันติ กับโสรัจจะ
ถูกต้องๆ คุณวัฒน์ตอบถูกแล้ว
ผมไปค้นมานะครับพระอาจารย์ อิอิ ต้องใช้เครื่องมือ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ขันติ” ความอดทนย่อมทำให้ผู้ปฏิบัติมีความงดงามในสายตาผู้อื่น ,ส่วน “โสรัจจะ” ล่ะ ใครรู้บ้าง แปลว่าอะไร
หญิง- สวัสดีค่ะ เราหญิง เองนะค่ะ จาปิด เทอมแว้ว ดีจัย จังเลย เย้ๆๆ says:
ไม่ทราบอะค่ะ
ความเสงี่ยม, อัธยาศัยงาม รักความประณีตหมดจดเรียบร้อยงดงาม ก๊อป มาทั้งดุ้นเลยครับ อิอิ
โห.....
โสรัจจะ มีความหมายแปลง่ายๆ ว่า การแสดงออกด้วยความละเมียดละไม ด้วยความนุ่มนวลจ๊ะ (๓) ตอนนี้ ใครรู้บ้างว่าขันติ ความอดทนนั้นมีกี่ลักษณะ
กำลังจะถามเลย
โอ้โห สุดยอดเลยครับพระอาจารย์ ขันติ แทรกอยู่ในหมวดธรรมเยอะมาก แต่ไม่มีบอกอ่ะครับว่าขันติมีกี่แบบ
เปิดหนังสือก็ยังหาไม่เจอ
พระปิยะลักษณ์ค่ะ หญิงใกล้จะสอบแล้วอ่ะค่ะ ขอพรหน่อยได้ไหมค่ะ
ขอให้ตั้งใจทำให้ดีที่สุดนะ ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้นนะ อย่าไปเคร่งเครียดกับมัน เพราะสิ่งทั้งหลายย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
ค่ะๆ ขอบคุณเจ้าค่ะ
ขันตินั้นสามารถจำแนกได้ ๓ ลักษณะ คือ
๑. ขันติ อดทนต่อความลำบากตราตรำในการทำงาน
๒. ขันติ อดทนต่อความเจ็บไข้ได้ป่วย และ
๓. ขันติ อดทนต่อความเจ็บใจ และความกระทบกระทั่งทางใจ

เก็บ ๆๆๆๆๆๆ ความรู้ทั้งนั้น
ขันติ ความอดทน คือ ทนลำบาก ทนตรากตรำ ทนเจ็บใจ, ความหนักเอาเบาสู้ เพื่อบรรลุจุดหมายที่ดีงาม (ข้อ ๓ ในฆราวาสธรรม ๔, ข้อ ๑ ในธรรมที่ทำให้งาม ๒, ข้อ ๖ ในบารมี ๑๐) ค้นมาเหมือนกันอ่ะ
ตอนนี้ใครรู้บ้างว่าในพระพุทธศาสนา ท่านสอนความอดทนในข้อไหน ...
.....................
ไม่มีใครตอบได้เลย ตอบเองก็ได้
ความอดทนที่เป็นธรรมะในพระพุทธศาสนานั้น ท่านหมายเอา ข้อ ๓ นะ คือ ความสามารถอดทนต่อความเจ็บใจ และความกระทบกระทั่งทางใจ ซึ่งท่านให้ชื่อว่า “อธิวาสนขันติ”
(๔)
งั้นความอดทน จะหมายถึงทางใจ(เท่านั้น) เป็นขันติที่เกี่ยวกับจิตใจ
ไม่ใช่หรอกจ๊ะ ความอดทนนั้นมีทั้งทางกายและทางใจ เพียงแต่ว่า ความอดทนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนั้น จะต้องเป็นความอดทนที่เกิดจากการควบคุมกิเลสในใจเราได้ด้วย
Tricky says:
ขออนุญาติฟังสนทนาธรรมด้วยค่ะ

คำว่า “อธิวาสนขันติ” นั้น หมายถึง อดทนต่อสิ่งที่มากระทบกระทั่งจิตใจของเรา เรียกว่า ห้ามใจจากกิเลสที่ปรุงแต่งขึ้นเพราะการกระทบกระทั่งต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้นได้นั่นเอง
ที่ว่า ความอดทนต่ออารมณ์ที่มากระทบนั้น หมายถึง ไม่ว่าอารมณ์ ดี-ร้าย เข้ามากระทบก็ต้องสามารถอดทนได้
เข้าใจไหมล่ะ?
ปกติคนเราเวลาเจออารมณ์ที่เข้ามากระทบแล้ว ก็ย่อมมีใจหวั่นไหวในตามกระแสกิเลสได้ ฉะนั้น เราจะต้องควบคุมจิตใจของเรา ไม่ให้กิเลสสามารถเพิ่มกำลังปรุงแต่งขึ้นได้ในใจของเรา
เอาล่ะ ใครรู้บ้างว่า อารมณ์ที่เข้ามากระทบมีกี่ลักษณะ

6 หรือเปล่าเจ้าคะ 6 ทางสิ?? ผิด
3
พิ้ง-พิ้งP^ i +n *K He is a Hero says:
4

wrong โอ้โหแย่จังค่ะ
๑๖ 4 ไม่ใช่หรอคะ 12 false ๕ 3 mur 12 14 16 ด้วยคน
mur ภาษาอะไรอ่ะ
มั่วไง ๕๕๕๕๕๕๕๕
2

จ๊ะ มี ๒ ลักษณะ , อารมณ์ที่เข้ามากระทบจิตใจของเราที่เป็นเหตุให้จิตใจของเราหวั่นไหวนั้น มี ๒ ลักษณะด้วยกันคืออะไร ทายซิ
good and bad
สุข ทุกข์
แล้ว อทุกขมสุข อ่ะ

ดี และไม่ดี
จ๊ะ คุณพิ้ง ตอบถูก
อารมณ์ที่เข้ามากระทบจิตใจของเรา มี ๒ ลักษณะ คือ
(๕)
๑.อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา (เป็นเหตุให้จิตใจเราหวั่นไหว) เรียกว่า อนิษฐารมณ์
เช่น เราเจอสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา เช่น เสียของรัก หรือถูกเขานินทาว่าร้าย อย่างนี้เราจะต้องมีขันติ ความอดทน ในการที่จะต้องไม่โกรธ หรือพยายามอดกลั้นไม่เสียใจจนเกินไป

hard to do..man OHHI
๒. อารมณ์ที่น่าปรารถนา (เป็นเหตุให้จิตใจเราหวั่นไหว) เรียกว่า อิษฐารมณ์
อย่างเช่น เราเจอในสิ่งที่เราปรารถนา เช่น เราเจอคนที่เราถูกใจ หรือเราได้ในสิ่งที่เราอยากได้มานาน อย่างนี้ เราก็ต้องอดทนเหมือนกันนะ

อันนี้ก็ขอหวั่นไหวแต่พองามได้มั๊ยคะ
อารมณ์เหล่านี้ เกิดขึ้นหลังถูกกระทบ (ผัสสะ) เป็นอันเดียวกับเวทนาหรือเปล่าเจ้าคะ
ใช่จ๊ะ หลังการผัสสะ(การกระทบกับอารมณ์) ย่อมเกิดเวทนา(ความรู้สึกสุข-ทุกข์)ตามมา นี่ล่ะสำคัญ เป็นเหตุที่ทำให้จิตใจของเรานั้นหวั่นไหวไปจนเกินงาม
ใจสั่นไปตามอารณ์
พิ้งทำไม่เคยได้เลยค่ะ
ลองฝึกนับลมหายใจดูครับเวลามีอะไรมากระทบก็ให้นับลมหายใจเข้าออกนะ
อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญนะ คนเราเวลาเจอสิ่งที่ปรารถนา มักจะไม่มีความอดทนต่ออารมณ์นั้น เช่น ปล่อยให้ความอยากความปรารถนานั้นเข้าครอบงำจิตใจของเรา จนเป็นเหตุที่ทำให้เรานั้นต้องแสดงอะไรบางอย่างที่ไม่เหมาะสมออกมา เช่น เราได้รับในสิ่งที่ดีมากๆ อย่างที่คนอื่นยากที่จะได้รับ แต่เมื่อสิ่งนั้นได้มาโดยไม่สุจริต เราก็ต้องอดทนที่จะสละมันไป ไม่รับเอามาเป็นของเรา อย่างนี้เป็นต้น
อ๋ออ แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่พอใจเรา แต่ถ้ามันไม่ดี ก็ควรที่จะไม่เอาไว้ แต่ไม่ต้องถึงขนาดทิ้งปล่อยทุกอย่าง
ร่วมไว้อาลัยน้องเต้ EE4802......หลับให้สบายนะ......จากพี่ๆEE4601 says:
แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่พอใจเรา แต่ถ้ามันไม่ดี ก็ควรที่จะไม่เอาไว้ แม้ว่ามันจะต้องเสียใจมากแค่ไหนก็ตามใช่มั้ยค่ะ

จ๊ะ ยิ่งถ้ารู้ว่า สิ่งที่ได้มานั้นไม่ชอบธรรมด้วยแล้ว ก็ต้องยิ่งอดทนที่จะต้องเสียสละมันไปด้วยความกล้าหาญ
อย่างนี้คือต้องรู้ผิดถูกด้วย การจะรู้ผิดถูกได้จะต้องมีคุณธรรมข้อไหนอ่ะ บางคนเหมือนว่าไม่รู้เลยเหมือนไร้เดียงสา
ความอดทนนี่นะ เป็นคุณธรรมสำคัญที่เรานั้นควรศึกษาและฝึกหัดจิตใจของเรา ไม่ให้อารมณ์ไม่ว่าดี-ร้าย เข้าครอบงำจิตใจของเราได้ง่ายเกินไปนะ
hard to do like hell
แล้วอย่างไร ที่จะทำให้เราไม่ยินดีถ้ารู้ว่ามันไม่ดีตั้งแต่เริ่มต้นที่ได้มันมาล่ะเจ้าคะ
ซึ่งถ้าเราไม่ฝึกความอดทนต่ออารมณ์ความรู้สึกของเรานะ เวลาเราไปเจออารมณ์ หรืออะไรที่ไม่ดีขึ้นมา เราก็จะทนไม่ไหวหรืออดทนได้ยากนะ เพราะเราไม่เคยฝึกฝนความอดทนต่ออารมณ์ที่มากระทบนั้นไว้ก่อน
วิธีง่ายๆในการสร้างความอดทนครับ นับ ๑ ถึง ๑๐ ครับ
พิ้งทำอยู่ค่ะ นับถึงบ้างไม่ถึงบ้าง ฝึกอยู่ค่ะ
พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ที่สามารถอดทนต่ออารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าพึงพอใจได้นั้นเป็นผู้ประเสริฐ แต่ผู้ที่สามารถอดทนต่ออารมณ์ที่น่าปรารถนาได้ กลับเป็นผู้ที่ประเสริฐยิ่งกว่า
ยากกกกมากกกก เพราะบางทีเราก็ไม่รู้ตัว ในอารมณ์ที่ชอบใจ เรามักปล่อยให้ถลำลึกไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ
ยกตัวอย่างใครชมว่า แก่ยังสวยไม่สร่าง หน้าบานทั้งวัน พระคุณเจ้าจะให้นิ่งเฉยหรอคะ
ประโยชน์อะไรคะต่อการนิ่งเฉย
คนเราส่วนมาก ถูกสอนให้รู้จักแต่การอดทนต่อความกระทบกระทั่งทางจิตใจที่ไม่ดี เช่น สอนว่าใครเขาทำไม่ดีกับเราก็อย่าไปโกรธ หรือดุด่าว่ากล่าวเขานะ แต่ไม่ค่อยเคยได้ยินคำสอนที่สอนว่า “ถ้าใครเขามาชมเรา หรือมาให้สิ่งดีๆ กับเรา ก็อย่าได้ไปพอใจ อย่าได้ไปหลงรัก หรืออย่าได้ไปแสดงออกจนเกินงามนะ รู้จักอดทน ทำจิตใจให้เข้มแข็ง อย่าได้หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่น่าปรารถนานั้น อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งไม่ค่อยได้พบเจอเท่าไหร่
โห ยาก ชอบหลงซะด้วย
นั่นล่ะ เป็นเหตุให้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ที่อดทนต่ออารมณ์(หรือสิ่ง)ที่น่าปรารถนาได้นั้น ยอดกว่า
เพราะทำยากกว่า
มันมีผลต่อจิตเรายังงัยหรอคะ ขอทราบเหตุผลที่ต้องฝึกค่ะ
เมื่อเรารักง่าย เราก็โกรธง่ายนะ เมื่อเรารักมาก หากเสียไป เราก็เสียใจมากนะ
ใช่เลย
ใช่ๆๆๆๆๆ
โอ. เห็นด้วยกันใหญ่เลย
ถูกต้องเลยค่ะ
ถ้าเราค่อยๆ รัก เราดูนานๆ ระวังใจของเรา เวลาเสียไป เราจะยั้งใจไว้ได้ทันท่วงที
อ๋อค่ะ รักนิดหน่อย ค่อยๆ รัก
ค่อยๆ รัก นี่มันยิ่งลึกกว่าอีกนะ
ยิ่งนานวันก็ยิ่งรักมากนี่สิ ยิ่งนานวันก็ยิ่งรักมาก ยิ่งตัดใจได้ยาก
ท่านว่าอย่าทุ่มเททุ่มทุนค่ะ
ยิ่งละเมียดละไม ยิ่งหาข้อหลุดออกมายาก ต้องหาเหตุเอาข้อเสียมาถ่วง
คนเรามักปล่อยใจของเราให้กระแสของความรู้สึกชอบใจไม่ชอบใจ พัดพาเราไปง่ายๆ เสมอ เพราะเรานั้นขาดการฝึกฝนความอดทนต่ออารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง
ที่ว่าค่อยๆ รักน่ะ หมายถึง ให้ค่อยๆ ดูไปนะ ไม่ใช่ให้รักนานๆ รักลึกๆ อะไรทำนองนี้นะ

อิอิ
ค่ะ
ไม่ใช่อย่างนั้นนะคะ พิ้งว่าหมายถึง ให้เราค่อยๆใส่อารมณ์นิดๆ อย่าไปใส่เอฟเฟคมาก ( ภาษาวัยรุ่นหน่อยค่ะ)
คือ ให้ความรักแต่ไม่ให้ความหลง ให้ความเมตตา ไม่ใช่ให้เสน่หา
ฉะนั้น ความอดทนในพระพุทธศาสนา ท่านมุ่งเน้นให้เรามีความอดทนต่ออารมณ์ที่เข้ามากระทบทั้งดีและไม่ดี ไม่ให้เผลอใจไป ปล่อยใจไปตามอารมณ์ความรู้สึก เพราะคนเราส่วนมากไม่ค่อยได้ดูแลใจของตนเอง ฉะนั้น จึงวิ่งไป-วิ่งมา กับความรู้สึกสุขบ้าง-ทุกข์บ้าง โดยที่ควบคุมจิตใจของตนไม่ได้ นี่คือความหมายของขันติที่แท้จริงนะ อย่างที่เรียกว่า อธิวาสนขันติ คือ อดทนได้ต่ออารมณ์ที่เข้ามากระทบจิตใจของเราให้หวั่นไหว
ค่ะ เจ้าค่ะ
ka ค่ะ
โดยเฉพาะในสิ่งที่ไม่ดีนี่นะ ยิ่งต้องอดทนมาก เช่นว่า พรุ่งนี้จะสอบ แต่อยากเข้า msn มาเล่นกับเพื่อนๆ ก็ต้องอดทนนะ คืออดทนต่อความรู้สึกที่อยากเข้ามาเล่น ต้องห้ามใจไม่เข้ามา อย่างนี้เป็นต้น
อิอิ สอนใครหว่า ติ๊กต๊อก
คือ พยายามเอาชนะความรู้สึกของตน เมื่อรู้ว่าสิ่งใดไม่ดีก็ต้องพยายามหักห้ามใจไม่กระทำ โดยท่านอาจารย์พุทธทาสให้คำจำกัดความของ อธิวาสนขันติ ไว้ว่า "อดทนต่ออำนาจของกิเลส ที่กำลังเข้ามาครอบงำ บีบคั้นจิตใจของเรา" นี่ล่ะ เป็นยอดมนุษย์ล่ะ จะบอกให้
เอาชนะสิ่งที่เอาชนะได้ยาก
แล้วถ้ารู้ว่าไม่ดีแต่ก็ยังทำละครับ ทำยังไงดีครับ ใจพ่ายต่อกิเลส
อย่างพ่อบ้าน ถ้าอยากไปกินเหล้ากับเพื่อนๆ เพื่อนโทรมาชวนแต่ก็ยังไม่ยอมไป ข่มใจไว้ อดทนไว้อย่างนี้เป็นต้น
กิเลส นี่หมายถึงทั้งสิ่งที่เราชอบใจและไม่ชอบใจด้วยเหรอค่ะ
อิอิ นอนไม่หลับกระสับกรส่ายทั้งคืน ต่อสู้กับกิเลส
กิเลสรวมถึงการอยากได้ของด้วยใช่มะคะ เช่น ไปช้อปปิ้ง

ใช่จ๊ะ ทั้ง ๒ อย่าง ทั้งชอบใจและไม่ชอบใจ
เอาล่ะนะ ต่อไปคำที่ ๒ คือ โสรัจจะ คู่กันกับ ขันติ
โสรัจจะ แปลว่า การแสดงออกด้วยความสงบ เรียบร้อย โดยอาศัยขันติที่มีอยู่ภายใน เป็นเหตุให้แสดงออกด้วยความงดงาม อย่างเช่น ดีใจสอบผ่าน ก็ไม่ใช่กระโดดขึ้นมา อย่างนี้เป็นต้น เสียใจ เสียของรักไป ก็ไม่ใช่ร้องไห้ฟูมฟาย หรือเอามีดมาฉีกเนื้อตัวเอง ( อู้ย น่าเสียวไส้)

อืมมม การแสดงออกที่มีผลมาจากความอดทนอดกลั้นขันติ
เข้าใจค่ะ
ค่ะๆๆๆๆๆๆๆ
คับ
ผมว่าท่านปิฯ ยกตัวอย่างได้ดีครับ
เรียกว่า คนเราจะงามหรือเป็นผู้ที่บุคคลอื่นเห็นว่ามีความงดงาม ก็ด้วยคุณธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ คือ ขันติ และโสรัจจะ
สำรวมจะดีที่สุดในทุกสถานการณ์
งามแต้น่อ
ขำ---> อุ้ยเสียวไส้อะครับ อิอิ
เสียใจ อกหักโดดตึกวันก่อนที่เป็นข่าวงัยคะ เสียวกว่า
อย่างเดี๋ยวนี้นะ ตลกมาก (อย่าว่า แซว ผู้หญิงนะ) วัยรุ่นสมัยนี้ได้ยินว่า ผู้หญิงเวลาเห็นผู้ชายที่ตนชอบ ก็ร้องบอกเพื่อนๆ ว่า ของกูนะ ของกู อย่างนี้เป็นต้น ไม่ไหวเลย
ถึงขนาดนั้นแล้วเหรอครับ แน่หวาดเสียวจัง
อย่างนี้ไม่มีทั้งขันติและโสรัจจะ
เลียนแบบผู้ชาย ของอั๊วะๆ
ใช่เลยค่ะ สมัยนี้ผู้หญิงไม่อายค่ะ โดยเฉพาะเรื่องผู้ชาย แถมแลกแฟนกันอีกด้วย เม้าท์กันแบบผู้ชายอายเลยค่ะ ขอบอก
ของอั๊วะหรือไม่
อื่ม................
เอาล่ะนะ คืนนี้คิดว่าพอสมควรแก่เวลาแล้ว
ค่ะท่าน
อาตมาก็ต้องเริ่มใช้ ขันติและโสรัจจะ บ้างแล้ว แม้อยากจะ chat ต่อ แต่ก็ต้องใช้ โสรัจจะ บ้างซะแล้วล่ะ
คับ
ค่ะท่าน ขอกราบลาพระคุณเจ้าที่กรุณาให้ความรู้ค่ะ
ขอให้ทุกคน หลับสนิท มีความสุข ไม่ฝันนะ
สาธุ
สาธุ.....
กราบลาพระอาจารย์ ครับ
ราตรีสวัสดิ์ค่ะทุกคน
ขอเจริญพร ทุกคนนะ แล้วสัปดาห์หน้า ๒๐.๓๐ น. พบกันใหม่จ๊ะ
หลับฝันดีครับทุกท่าน
กราบลาพระอาจารย์ ด้วยคนค่ะ
ค่ะ ไปก่อนคะ ทุกท่าน เจอกันครั้งหน้าค่ะ
ครับผม
ขอบพระคุณมากครับสำหรับธรรมวันนี้เรื่อง ธรรมทำให้งามซึ่งก็คือ ขันติกับโสรัจจะ
...................................................................


๑ วินย.๕/๒๔๔/๒๖๒ (เรื่องทีฆาวุกุมาร),
๒ อง.ทุก.๒๐/๒๕๕/๔๙ [ขยาย องฺ.ทุก.๓๓ หน้า ๓๐๔ อรรถกถา]
๓ อภิ.สํ.๓๔/๘๖๐/๒๙๕ [ขยาย อภิ.สํ.๗๕ หน้า ๒๐๘ อภิ.สํ.๗๖ หน้า ๕๒๖ อรรถกถา]
๔ องฺ.ทุก.๓๓ หน้า ๔๙๕ อรรถกถา
๕ องฺ.ปญฺจ.๒๒/๓๒๖/๓๔๒ ขุ.ม.๒๙/๑๘๐/๑๐๗




 

Create Date : 10 ตุลาคม 2549    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 21:26:36 น.
Counter : 411 Pageviews.  

1  2  3  4  

กลุ่มต้นธรรม
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




* * * * * * * * * * * * * * * * * * *

อันเวลาอันนับไม่ได้ที่เราหมักหมมมานานแสนนานแล้วนั้นถ้าเราไม่เริ่มรู้เราก็ไม่เริ่มตัด ถ้าไม่ตัดก็ไม่เห็นปลาย และเวลาอันนับไม่ได้นั้นก็เป็นปลายที่ยังอยู่
web site hit counter
We keep fighting fires because we keep adding fuel.
We truly putout fires only when we remove their fuel.

ถึงโลกกว้างไกล ใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
มองโลกภายนอก มองออกไป
มองโลกภายใน คือใจเรา

Friends' blogs
[Add กลุ่มต้นธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.