εїз ต้นธรรม εїз เติบโตงดงามด้วยคุณธรรม
แหงนหน้ามองขึ้นใปจากโคนต้น เห็นรูปทรงแผ่ระย้ากิ่งสาขา จากร่มเงาแต่ละใบที่ได้มา เกิดจากว่าผู้มีใจไฝ่ในบุญ
Group Blog
 
All blogs
 

การเดินจงกรม / พระอรหันต์ย่อมไม่ฆ่าตัวตาย 491202

Chatธรรมวันเสาร์ เรื่องการเดินจงกรม
พระอรหันต์ย่อมไม่ฆ่าตัวตาย
(เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๙)


ดวงดารามากมาย แต่หาทนอยู่ได้ตลอดไปสั says:
นมัสการท่านเอกเจ้าค่ะ

พระฐานจาโร says:
นมัสการพระอาจารย์ครับ

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
นมัสการท่านเอกชัยครับ

@.....Aor.....@ says:
นมัสการเจ้าค่ะ

S i e w says:
นมัสการหลวงพี่ครับ และสวัสดีทุกคนครับ นมัสการหลวงพี่เอกชัยครับ
P*^~ I +N~^* K :กินอาหารหลากหลายมีผักผลไม้ 5 ชนิดต่อวัน says:
กราบนมัสการพระคุณเจ้าทั้ง 2 ท่านค่ะ สวัสดีเพื่อนๆ ที่ร่วมสนทนาธรรมทุกคนค่ะ วันนี้หัวข้ออะไรคะ

สวัสดีค่ะทุกๆคน กราบนมัสการท่านปิยะลักษณ์ และท่านเอกชัยเจ้าค่ะ
วันนี้มีหัวข้อธรรมอะไรที่อยากจะพูดคุยกันบ้างหรือเปล่าจ๊ะ
nuuniie (นูนี่) พระสิริมิตรสัพพัญญู ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ (?`?.•?•.* - วัฏฏภิรต - (สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ) says:
นมัสการหลวงพี่ค่ะ แล้วแต่ค่ะสนทนาอะไรก็ได้

ถ้าอย่างนั้น อาตมาอยากจะขอตั้งคำถามสักข้อหนึ่งนะว่า
- เดินจงกมคืออะไร
- เดินจงกมเดินเพื่ออะไร
- เดินจงกมควรเดินอย่างไร
- และทำไมต้องเดินจงกม

คือเดินอย่างมีสติ เดินย่างก้าวเหมือนที่เราเดินธรรมดา
สำหรับผู้ที่นั่งแล้วง่วงง่ายหรือเปล่า อย่างเช่นเป้เป็นต้น

๑. เดินจงกมคืออะไร
๒. ทำไมต้องเดินจงกม
๓. เดินจงกมเดินเพื่ออะไร
๔. เดินจงกมควรเดินอย่างไร

การดูจิตในขณะเดิน เป็นหนึ่งในการเจริญวิปัสสนาแนวสติปัฏฐาน 4 (มียืน เดิน นั่ง นอน) ค่ะ เดินเพื่อเปลี่ยนอิริยาบท หลังจากนั่งสมาธิค่ะ (อาจจะไม่ถูกนะคะ)
เดินจงกม ควรเดิน ก้าวไม่สั้นไม่ยาว เดินไปข้างหน้าไม่เกิน 10 ก้าว แล้วหันหลังกลับ เท่าที่ปฏิบัติอยู่ ทำแบบนี้ค่ะ

๑. เดินจงกมคืออะไร คุณเป้ ตอบว่า คือเดินอย่างมีสติ อันนี้ถูกต้องนะ
ทำไมเวลาที่กำหนดเราเดินจงกม จิตใจถึงมีเรื่องเข้ามาในหัวสมองมากมาย ผิดกับตอนที่เราเดินปกติคะ
เพราะเดินปกติเราก็มีเรื่องเข้ามาในหัว แต่เราไม่รู้ตัว พอเราเริ่มตั้งใจเดิน ก็เลยมองเห็นเรื่องที่เข้ามาในหัว
คุณพิ้งรู้ไหมว่า จงกม แปลว่าอะไร ใครรู้บ้าง
คำศัพท์ไม่ทราบค่ะ ถ้าคิดตอนนี้ขอตอบว่า เดินกลับไปมา
จ๊ะ เดินกลับไปกลับมา เป็นวิธีการเดินที่นิยมกันนะ
เย้ ถูกนะคะ ตอบเป็นครั้งแรก
เฉลย เริ่มจากคำว่า “จงกม” นะ จงกม เป็นภาษาบาลี แปลว่า เดิน (walk) เฉยๆ ภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า เดินจงกรม
แล้วการเดินเป็นวนกลมล่ะเจ้าคะ วนๆ เป็นวงกลม
ที่เดินกลับไปกลับมา วนเวียน
การเดินกลับไปกลับมา หรือเป็นวงกลมนั้น ยังไม่ถือเป็นหลักในการเดินจงกรมนะ มีอีกอันหนึ่ง
ตอนนี้ใครรู้บ้าง การเดิน(จงกรม) นั้น มีหลักการในการเดินอย่างไร

ย่างก้าวธรรมดาแบบที่เคยเดิน แต่มีสติกำกับ
การเดินจงกรมนะคะ จะปล่อยมือไว้ข้างๆลำตัวหรือว่าจะจับข้อมือของอีกมือหนึ่งไว้ข้างหลังก็ได้ เวลาเดินนะคะ สมมติก้าวเท้าขวาจะพูดหรือกำหนดว่า ขวายกหนอ ขวาย่างหนอ ขวาเหยียบหนอ จงกรมค่ะ ซ้ายก็เช่นกันพอเดินได้ระยะทางระดับหนึ่งเมื่อจะหยุดก็กำหนดว่าหยุดหนอ 3 ที แล้วก็กำหนดเวลาจะหันหลังเดินกลับนะคะเดินประมาณ 15-30 นาทีก็พอค่ะ
หรือ ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ
จงกม จงกลม หรือจงกรม อ่ะ
เดินจงกรม หรือ เดินจงกม เจ้าคะ
ภาษาไทยว่าจงกรม บาลีว่าจงกม , ภาษาวิบัติว่าจงกลม
ทำไมจึงมีหนอคะ
มีหนอเพราะว่า เป็นคำบริกรรมอย่างนึงนะคะ เพื่อเวลาที่กำหนดนั้นพอกับการก้าวเดินเท่านั้นเองค่ะ
//gotoknow.org/planet/vacanet says:
กราบนมัสการเจ้าค่า

เคยคิดว่าการทำอะไร จะหยิบจำอะไร มาหนอ หนอ หนอ ทำให้เราทำอะไรไม่คล่องตัวค่ะ
เป็นอุปสรรคในการบริกรรมอย่างหนึ่งน่ะค่ะ
ใช่แล้ว เมื่อสักครู่คุณเป้ตอบถูกต้องว่า การจงกม นั้น ในอรรถกถาท่านว่า ได้แก่ การเดินอย่างมีสติกำกับนั่นเอง นี่เป็นหลักการสำคัญของการเดินจงกรม ต่อไป
ข้อที่ ๒. ทำไมต้องเดินจงกม

เพื่อให้หายง่วง การเดินจะทำให้ตื่นตัวมากขึ้น
กำหนดจิตให้รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่
ในการปฏิบัติจะนั่งอย่างเดียวไม่ได้หรือ
ไม่ไหวค่ะเมื่อย
ไม่ได้, ควรจะเจริญสติในชีวิตประจำวันนะคะ ใช้สติปัฎฐาน 4
ถูกต้องแล้ว คุณพิ้งตอบถูก นั่งอย่างเดียวไม่ได้จะทำให้เมื่อยก็เลยต้องเดิน
ตัวการปฏิบัติธรรมนั้น มีหลักการอยู่ประการหนึ่งก็คือ จะต้องพยายามมีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น เมื่อนั่งก็ต้องนั่งอย่างมีสติ แม้เดินก็ต้องเดินอย่างมีสติ แม้ยืนก็ต้องยืนอย่างมีสติ และแม้นอนก็ต้องนอนอย่างมีสติ นั่นเอง
ฉะนั้น สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องพยายามประคับประคองการมีสติอยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม นี่ล่ะคือเหตุที่ต้องมีการเดินจงกรม ซึ่งหมายถึง การเดินอย่างมีสติกำกับนั่นเอง

สาธุ
มีสติทุกอิริยาบท
การนั่งอย่างมีสติ เขาเรียกว่าอะไร ใครรู้บ้าง
นั่งจงกรม ใช่ไหมเจ้าคะ
ไม่ใช่
วิปัสสนากรรมฐาน? เพราะมีสติกำกับตลอด
นั่งจงกรม ได้ยังไงล่ะ งง! ก็จงกรม แปลว่า เดิน นะ ไม่เชื่อลองแปลดูสิ นั่งจงกรม (นั่ง+เดิน)
เรียกว่า นั่งวิปัสสนาค่ะ
ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง says:
นั่งสมาธิ??

ถูกต้องแล้วจ๊ะ คุณส้มตอบถูก ก็ “นั่งสมาธิ” นั่นเองล่ะ คำพื้นๆ นะ, นั่งอย่างมีสติ ก็เรียกว่า นั่งสมาธิ เดินอย่างมีสติ ก็เรียกว่า เดินจงกรม
แล้วยืนอย่างมีสติล่ะ เรียกว่าอะไร

ยืนสมาธิ??
จ๊ะ ส่วนการยืนอย่างมีสตินั้น ไม่มีศัพท์จำเพาะลงไป แต่นิยมเรียกกันว่า ยืนทำสมาธิบ้าง ยืนอย่างมีสติรู้ตัวบ้าง ยืนกำหนดอารมณ์ บ้างจ๊ะ
2 แต้มแหละ
ในส่วนการการนอนอย่างมีสติก็เช่นเดียวกัน แม้จะไม่มีคำเฉพาะ แต่ก็มีคำที่นิยมใช้กันนะ ใครรู้บ้าง เขานิยมเรียกอย่างไร
เป็นกายานุปัสสนาหรือป่าวครับ
จ๊ะ เป็นส่วนหนึ่งของกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
มีสติคือสมาธิหรือคะ สมาธิกับสติมันคนละอย่างไม่ใช่หรือคะ
การใช้คำว่า นั่งสมาธิ นั้น เป็นคำพื้นๆ ที่ใช้เรียกภาวะจิตที่มีสติกำกับอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเฉพาะหน้านะ
เช่นว่า อานาปานสติ ก็หมายถึง การเจริญสติโดยกำกับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกยังไงล่ะ

อ๋ออ สติที่มีอย่างต่อเนื่องในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ก็คือสมาธินี่เอง
บางครั้ง พระพุทธองค์จะทรงใช้ว่า การเจริญ "สมาธิภาวนา" ซึ่งหมายถึง การเจริญสติในทุกอิริยาบถ เพื่อให้จิตตั้งมั่นในสมาธิอยู่กับอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นอยู่เฉพาะหน้านั่นเอง
Chitti says:
ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลหรือครับท่าน อย่างที่ผมเห็นพ่อผม ขณะที่เค้าตกปลาอะครับ

ถ้าเป็นการอยู่ด้วยอิริยาบถใดๆ ก็ตามอย่างมีสติกำกับอยู่ นั่นย่อมทำให้จิตเป็นกุศลเสมอในขณะกระทำนะ
แต่ทว่า สำหรับคนที่กำลังประกอบอกุศลกรรมอยู่นั้น เราไม่อาจกล่าวได้ว่า เขากระทำอยู่ด้วยความมีสติสัมปชัญญะ
แต่กล่าวว่า เขากระทำไปด้วยอำนาจของโลภะ โทสะ หรือโมหะ ซึ่งเป็นลักษณะอาการของการขาดสติอย่างหนึ่ง มิใช่การกระทำที่มีสติเข้าไปควบคุมดูแล จึงไม่สามารถระลึกรู้ถึงความเป็นบุญ-บาป ดี-ชั่ว กุศล-อกุศลในขณะที่ทำนั้นได้
ไม่เหมือนอย่างในขณะที่ทำความดี ย่อมมีสติเข้าไประลึกรู้ควบคุมการแสดงออกมิให้เกิดโทษ แต่กลับจะให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติอย่างเดียวเท่านั้น
สรุปว่า เข้าใจแล้วนะว่าทำไมจึงต้องมีการเดินจงกรมสำหรับผู้ปฏิบัติ เหตุก็เพราะต้องการแก้ทุกข์เนื่องจากอิริยาบถนั่นเอง

เมื่อใดก็ตามที่จิตไม่มีโลภโกรธหลง เมื่อนั้นจิตเป็นกุศล
……………………………..................……………

ขอถามนอกเรื่องหน่อยค่ะว่า พระห้ามรับบาตรเกิน 3 บาตรหรือคะ
จ๊ะ วินัยของพระ ท่านว่าห้ามรับบาตรเกินกว่า ๓ บาตร เพราะเกรงภิกษุเป็นผู้โลภเห็นแก่ลาภจ๊ะ จึงห้ามไว้
แต่ว่าพระทุกวันนี้ก็รับเกิน 3 บาตรนี่คะ
แต่เดี๋ยวนี้เพียบเลย เป็นอาบัติหรือเปล่า
เป็นปาจิตตย์นี่คะ แต่ทำไมท่านรับเกิน 3 บาตร
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๔ เรื่องอุบาสิกาชื่อกาณตา เรื่องพ่อค้า

พระท่านบางครั้งก็ยอมละเมิดพระพุทธบัญญัติบ้างเหมือนกันนะ เพื่ออนุเคราะห์แก่ญาติโยมที่ต้องการทำบุญ เพราะปัจจุบันบางครั้งในบางถิ่นก็หาพระสงฆ์ยาก เพราะมีพระสงฆ์มารับบาตรไม่พอกับที่ญาติโยมต้องการ
หนูก็คิดแบบนั้นค่ะ
อย่างบางครั้ง มีพระเดินบิณฑบาตเพียงรูปเดียว แต่มีบ้านเรือนที่ต้องรับบาตรถึง ๒๐ หลังคาเรือน อย่างนี้นะ จะปฏิเสธบ้านหลังๆ ว่าไม่รับแล้ว ก็เกรงว่าโยมจะเสียศรัทธานะ
แล้วทำไมพระไม่ใส่ กกน ล่ะคะ
จะได้ไม่ต้องซักไงคะ
แหม คุณนูนี่ ถามลึกจังนะ
อยากทราบน่ะค่ะ พอจะบอกได้ไหมคะ
๕๕๕๕
ได้สิ เพียงเพราะว่าในพระวินัยพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ไม่อนุญาตให้ภิกษุแต่งกาย หรือใช้เครื่องประทับเช่นคฤหัสถ์เขาใช้กันน่ะ
เช่นว่า พระจะไม่ใช้นาฬิกาข้อมืออย่างคฤหัสถ์ เป็นต้น แม้จะต้องการ ก็พึงใช้โดยเป็นส่วนจำเพาะตน ไม่แสดงเช่นคฤหัสถ์ เช่นใช้นาฬิกาปลุกเรือนเล็กๆ เก็บไว้ในย่ามแทน

แค่นั้นเองหรือคะ
……………………………..................……………

Chitti says:
ท่านครับ ฆ่าตัวตายไม่ตกนรกมีด้วยเหรอครับในพระไตรปิฎก ผมเห็นว่าในพระไตรปิฏกมีอะครับ เลยสงสัย ท่านครับ พระวักกลิอะครับ ที่ฆ่าตัวตายแล้วไม่ตกนรกครับ ผมสงสัยที่ว่า พระวักกลิ ฆ่าตัวตายแต่ไม่ตกนรกอะครับท่าน

พระวักกลิ ภายหลังท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์นะ ฉะนั้น
ท่านจึงไม่ตกนรก แม้ว่าท่านจะฆ่าตัวตายก็ตาม

อรหันต์ตอนที่กำลังจะฆ่าตัวตาย?
ตอนที่กำลังฆ่าตัวตาย นี่จิตตกไม่ใช่เหรอ

ตามประวัติของท่าน กล่าวว่า ในขณะที่ท่านจะถึงแก่ความตาย ท่านได้ยกเอาทุกขเวทนานั้นขึ้นมาพิจารณาจนเกิดวิปัสสนาและบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้ในที่สุดก่อนที่ท่านจะถึงแก่ความตาย (อันนี้โดยนัยแห่งพระบาลี มิใช่โดยนัยแห่งอรรถกถานะ เพราะเรื่องราวใน ๒ ที่ไม่ตรงกัน)
บางทีพระอรหันต์ก็ฆ่าตัวตายนะคะ พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้ตำหนิอะไร เพราะว่าท่านฆ่าตัวตายโดยที่ไม่ได้มีกิเลสแล้วอะไรประมาณนี้ จำเรื่องไม่ค่อยได้เหมือนกัน
พระวักกลิเถระ เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ

น่าจะบอกว่า ละสังขารมากกว่า
คำว่าฆ่าตัวตายที่เราใช้ๆกัน นี่คือจิตตกนะ น่าจะใช้คำอื่นเพื่อให้เข้าใจได้ถูกกัน

คือ ในแง่ของพระวักกลินั้นต้องเข้าใจว่า มิใช่ว่าท่านเป็นพระอรหันต์แล้วจะคิดฆ่าตัวตายนะ เพราะธรรมดาพระอรหันต์ท่านเป็นผู้ไกลจากกิเลสแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงไม่มีโลภะ โทสะ หรือโมหะ เป็นเหตุให้ต้องทำร้ายตนเองด้วยการฆ่าตัวตาย
ในอรรถกาจารย์ท่านได้อธิบายไว้ว่า เพราะความที่ท่านยังมิได้บรรลุธรรม แต่ด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าตนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว ฉะนั้น เมื่อโทสจิตเกิดขึ้นเป็นเหตุให้ต้องการฆ่าตัวตายเกิดขึ้น ท่านก็ยังไม่รู้ว่านั่นคือกิเลสที่ฟุ้งขึ้น ปรุงแต่งทำให้ท่านคิดฆ่าตัวตาย
แต่เมื่อท่านได้กระทำการฆ่าตัวตายแล้ว ภายหลังท่านจึงสำนึกได้ว่า ท่านมิใช่พระอรหันต์ จนเกิดความสลดสังเวชแล้วรีบน้อมจิตไปเพื่อการเจริญวิปัสสนาโดยทันทีในขณะนั้น เรียกว่า เกือบจะไม่ทันเสียแล้วด้วยซ้ำไป (ถ้าพลาดเจริญวิปัสสนาไม่สำเร็จขึ้นมาล่ะก็ ท่านแย่แน่ล่ะคราวนี้ อาจต้องไปเกิดในอบายภูมิ)

การฆ่าตัวตายไม่เป็นปาณาติบาตนะคะ อ้างจากอภิธรรมค่ะ
แต่เป็นกรรมหนักนะ ลองอ่านสนทนาธรรมครั้งล่าสุดในต้นธรรมกันดูนะคะ
จริงอยู่ การฆ่าตัวตาย ไม่ถือเป็นปาณาติบาตกรรม เพราะเหตุว่า ปาณาติบาตนั้น มีสัตว์อื่นเป็นอารมณ์ แต่ก็ถือเป็นกรรมหนัก ที่เรียกว่า เป็นอัตตวินิบาตกรรมนะ
ค่ะ
การฆ่าตัวตาย หรืออัตตวินิบาตกรรมนั้นจะเกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยโทสเหตุเป็นมูลแห่งการทำลายชีวิตของตน เช่นว่า มีความน้อยเนื้อต่ำใจอะไรบางประการ แล้วฆ่าตัวตาย หรือโกรธใครบางคนแล้วฆ่าตัวตายเป็นต้น
อริยุปวาทะ ได้แก่ การกล่าวร้ายจาบจ้วงพระอริยบุคคล คือ มุ่งประทุษร้ายด้วยวาจาให้เสื่อมเสียก็ตาม หรือทำกิริยาอาการด้วยกาย (ภาษากาย)
มุ่งให้ท่านเสื่อมเสียก็ตามชื่อว่า อริยุปวาทะ
ก็อริยุปวาทะ นี้มีโทษเท่ากับอนันตริยกรรม
(อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค วินัยปิฏก 1/300)
วิธีแก้ไขคือ ต้องไปขอขมาโทษ ต่อผู้ที่ได้กล่าวจาบจ้วงล่วงเกินไป ถ้าท่านหาชีวิตไม่แล้วก็ขอขมาต่อหน้าอัฏฐิหรือหลุมศพของท่าน อริยุปวาทะจัดเป็นอนันตริยกรรม

……………………………..................……………

ออกไปนอกเรื่องไกลเลยนะ เราจะต่อกันไหมว่า การเดินจงกมเดินเพื่ออะไร ใครรู้บ้าง
ข้อที่ ๓. เดินจงกมเดินเพื่ออะไร ใครรู้บ้าง

เดินจงกมเพื่อฝึกสติ ให้จิตจดจ่ออยู่กับการเคลื่อนไหว
น่าจะเป็นกุศโลบายหลังนั่งสมาธินานๆ หรือเปล่าครับท่าน
.......ไม่มีคนตอบ .........
ถามเองตอบเองก็ได้
การเดินจงกรมนั้น เป็นอุบายวิธี(ซึ่งเป็นอิริยาบถ)อย่างหนึ่ง ในการเจริญสติให้มีอยู่กับตัวในชีวิตประจำวัน
ความจริง หากเราเข้าใจว่า การเจริญสตินั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการปฏิบัติธรรม เราก็จะรู้ได้ว่า เราต้องพยายามมีสติอยู่ในทุกอิริยาบถนั่นเอง

ค่ะ
การเดินจงกรมนั้นจึงเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติธรรม เพราะธรรมชาติของคนเรานั้น จำต้องมีการเปลี่ยนอิริยาบถตลอดทั้งวัน ฉะนั้น การจงกรมจึงขาดไม่ได้ เหมือนๆ กับการยืนอย่างมีสติ การนอนอย่างมีสติ นั่นเอง
แล้วการเข้าฌานล่ะเจ้าคะ ที่นั่งกันเป็นวันๆ
ถ้าใครไม่เกิดทุกขเวทนาขึ้นในขณะที่นั่งนานๆ จะไม่เปลี่ยนอิริยาบถไปก็ได้
ตอนนี้ในส่วนที่ว่า เราเดินจงกรมเพื่ออะไรนั้น จึงได้คำตอบในตัวเองอยู่เองว่า เพื่อเป็นการเจริญสติอย่างต่อเนื่องไม่ขาดระยะ แม้จะต้องเปลี่ยนอิริยาบถไปเป็นการยืน หรือแม้ในการเดินก็ตาม

เดินจงกมเพื่อฝึกสติ ให้จิตจดจ่ออยู่กับการเคลื่อนไหว
ตอนนี้ในระหว่างการเดินจงกรมนั้น เราพึงเข้าใจว่า หลักการสำคัญในการเดินจงกรมก็คือ การพยายามมีสติระลึกรู้ตัวอยู่เสมอว่าเรากำลังเดินอยู่นั่นเอง ไม่ใจลอยไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ในขณะที่กำลังเดินอยู่ แต่ให้มีสติระลึกรู้ตัวอยู่เสมอว่า กำลังเดินอยู่นะ กำลังเดินอยู่นะ เป็นต้น
เดินอยู่นะ เดินอยู่นะ ๆ ๆ ๆ
ในส่วนที่ว่า เราเดินจงกรมเพื่ออะไรนั้น หากต้องการคำตอบที่แท้จริงตรงตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ก็ต้องไปศึกษาก่อนว่า เราต้องการการมีสตินั้นเพื่ออะไร
ยก... ก้าว... วาง... แตะ ถูกพื้น แข็ง(อ่อน) วาง.... ปล่อย.... กด.... โน้ม กด ..... บัญญัติทั้งนั้นเลย
การมีสตินั้น เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้จิตเกิดกุศลธรรมขึ้น คือ ไม่เผลอตัว ในการไปปรุงแต่งคิดนึกสิ่งต่างๆ ที่จะเป็นเหตุให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะขึ้น
ขณะที่เดิน ถ้าเราสามารถรู้ได้ยิ่งละเอียดเท่าไหร่ยิ่งดีหรือเปล่าเจ้าคะ เพราะเมื่อเราเผลอตัว(โมหะ) ก็เป็นที่แน่นอนว่า โลภะ หรือโทสะ ย่อมเข้าแทรก
เรียกว่า มีสติระลึกรู้อยู่ไม่เผลอ ที่จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมเข้าปรุงแต่งและครอบงำจิตใจเรา แต่กลับให้มีความรู้ตัวตื่นอยู่เสมอว่า ขณะนี้เรากำลังทำอะไรอยู่กันแน่ เช่น เดินอยู่ หรือยืนอยู่ เป็นต้น ไม่คิดใจลอยไปโดยไม่รู้ตัว
แต่จิตเร็วมาก
อยู่ที่ชม.บิน
กลัวความสูงค่ะ
สติ กะ ตัว ไม่ไปพร้อมกัน จะฟุ้งที่สุด ก้อตอนที่เราสงบที่สุด
ที่จริงก็เป็นธรรมชาติของจิตนิค่ะ ที่ฟุ้งไปตลอด
จิตมีคุณสมบัติสามารถฟุ้งไปได้เรื่อย แต่ก็เป็นแค่คุณสมบัติอย่างนึง เราจะเอามาใช้หรือเปล่าเท่านั้น
เรียกว่า ฝีกให้เรานั่นอยู่กับปัจจุบัน คือ ความจริงที่กำลังกระทำอยู่ ที่กำลังปรากฏอยู่เฉพาะหน้า เป็นเหตุให้กิจหน้าที่ที่กำลังกระทำอยู่นั้น เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ไม่ปล่อยให้อารมณ์อื่นเข้ามาแทรกแซงได้มากเกินไป
การศึกษาธรรมะ ก็คือศึกษาธรรมชาติของจิตนิค่ะ
คนที่มีสติอยู่กับสิ่งที่ทำ คำที่พูด เรื่องที่คิดอยู่เฉพาะหน้าได้เสมอนั้น ย่อมสามารถป้องกันความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกว่า สามารถป้องกันความทุกข์ไม่ให้เกิดขึ้นแก่จิตใจได้นั่นเอง
เจ้าค่ะ
คงต้องฝึก.. เพราะเวลาที่เราตั้งใจจะทำสมาธิทีไร เรื่องต่างๆ จะมารุมเราโดยมิได้นัดหมาย
ฉะนั้น บางครั้งในการสังเกตสภาพของจิตที่มีสมาธิหรือมีสติกำกับอยู่ในการกระทำสิ่งทั้งหลายนั้น อาจสังเกตได้จาก สภาพความทุกข์ที่มีในใจว่าได้หายไปหรือไม่ หรือปรากฏตัวขึ้นหรือไม่ นั่นเอง
ขณะใดระหว่างการปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ยืน นั่ง นอน หรือแม้อยู่ในอิริยาบถย่อยใดๆ ก็ตาม หากแม้นสังเกตได้ว่า เรากำลังเป็นทุกข์อยู่ เพราะอำนาจการปรุงแต่งใดๆ ก็ตาม ก็ให้รู้ได้ว่า ขณะนั้นเราไม่มีสติเสียแล้ว
สภาพของจิตที่มีสตินั้น จะทำให้จิตใจมีสภาพที่เป็นกุศลธรรมอยู่เสมอ นั่นหมายถึง สภาพการคิดปรุงแต่งที่เป็นเหตุให้สภาพความทุกข์เกิดขึ้นนั้น ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้
เมื่อไรที่สภาพความทุกข์เกิดขึ้นในจิตใจของเรา ขอให้รู้ไว้ว่า เมื่อนั้น เรากำลังขาดสติอยู่ นั่นเอง
ฉะนั้น บางครั้งเราจึงอาจกล่าวได้โดยพิจารณาถึงผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ เพื่อตอบคำถามที่ว่า เราเดินจงกมเดินเพื่ออะไร ด้วยคำตอบพื้นๆ ว่า เดินเพื่อไม่ให้ความทุกข์ปรากฏขึ้นนั่นเอง
เราอาจกล่าวได้ว่า เมื่อใดความทุกข์ปรากฏขึ้นในขณะที่เดิน เมื่อนั้น เราไม่ได้เดินจงกรมอยู่ก็ว่าได้

อืมมม เราเผลอคิด
และนี่คือเป้าหมายหลักที่พระพุทธศาสนามุ่งเน้นให้เรามีความเข้าใจและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง คือ การป้องกันความทุกข์มิให้เกิดขึ้นได้นั่นเอง ด้วยการมีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
สมดั่งพุทธภาษิตที่ว่า
"นับแต่อดีตจนถึงบัดนี้ เราสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น”
ในขณะที่เราปฏิบัติด้วยการเดินจงกรมอยู่นั้น นั่นหมายความว่า เรากำลังกระทำความสิ้นทุกข์ให้ปรากฏขึ้นทุกขณะ และนั่นก็เป็นบาทฐานแห่งการปฏิบัติที่ยิ่งขึ้นไปในระดับสูงด้วยเช่นกัน
ที่ว่า การสามารถป้องกันสภาพทุกข์มิให้ก่อตัวขึ้นได้นั้น ก็เป็นโอกาสแก่สติที่กำลังก่อตัวเพิ่มพูนยิ่งขึ้นทุกขณะด้วยเช่นกัน โดยที่เมื่อความทุกข์ไม่อาจปรากฏตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่องขณะใด ขณะนั้นจิตย่อมเป็นสมาธิและทรงอานุภาพยิ่งขึ้นทุกขณะ เปิดโอกาสแก่ปัญญาในการเห็นแจ้งความเป็นจริงในธรรมชาติที่เราไม่เคยใส่ใจ หรือให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องเช่นนี้มาก่อน
ความจริงในธรรมชาติที่ซ่อนตัวอยู่นี้ โดยแท้แล้ว ธรรมชาติก็มิได้ปิดบังตัวเอง แต่ทว่า เพราะการที่จิตใจของมนุษย์เรานี้เศร้าหมอง คือ มีสภาพความเป็นทุกข์อยู่เสมอ จึงเกินกว่าที่จะสามารถเห็นแจ้งความเป็นจริงในธรรมชาติที่กำลังปรากฏตัวอยู่ได้

แบบนี้ก็กำหนดสติกับอิริยาบทก่อนซิเป็นสิ่งแรกเริ่ม ในการฝึกเหรอ (กายา) หรือฝึกอะไรเลยก็ได้ แล้วแต่เรา (เวทนา จิตตา )?? หรือ นอนดีกว่า
ฉะนั้น หากจะถามว่า การเดินจงกมควรเดินอย่างไร ก็อาจตอบได้สั้นๆ ว่า
"เดินอย่างไรก็ได้ อย่าให้ความทุกข์ปรากฏขึ้นได้ก็แล้วกัน"
จะเดินเร็ว จะเดินช้า จะเดินธรรมดาๆ หรือค่อยๆ ย่างไป ก็ตาม ถ้าสามารถป้องกันความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการปรุงแต่งคิดนึกได้ นั่นถือว่า เป็นการเดินที่ทรงประสิทธิภาพแห่งการจงกรมที่สุดแล้ว
บางครั้ง เรามักมองข้ามความจริงนี้ไปว่า การปฏิบัติธรรมที่แท้แล้ว มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการดับความทุกข์ทันทีที่กำลังปรากฏขึ้นในปัจจุบัน

งั้นก็อยู่กับปัจจุบันขณะ แล้วจิตไม่ปรุงแต่งให้เกิดทุกข์ ก็พอแล้วซิค่ะ??
เพราะการที่สามารถป้องกันความทุกข์ไม่ให้เกิดขึ้นได้ในปัจจุบันนั้นเอง เรียกว่า นิโรธ ได้แก่ สภาพที่ความทุกข์ไม่อาจเกิดขึ้นได้นั่นเอง
คือการไม่ให้เกิดตัญหา?
การเดินจงกรมที่กำลังมีอยู่หรือสร้างขึ้นในปัจจุบันนั้น จึงเป็นเพียงรูปแบบเท่านั้น ซึ่งแต่เดิมก็มิได้มีมาในพระไตรปิฎกเลย ไม่ว่าจะเป็น “ยกหนอ” อะไรต่างๆ เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นรูปแบบที่สร้างขึ้นภายหลัง แต่โดยสาระสำคัญก็คือ การมีสติระลึกรู้ตัวอยู่เสมอในขณะที่เดิน และสามารถป้องกันความทุกข์มิให้ก่อตัวขึ้นในขณะที่เดินจงกรม
ฉะนั้น จะขอสรุปลงก่อนสักครั้งหนึ่งว่า
๑. เดินจงกรมคืออะไร
ตอบว่า คือ การเดินอย่างมีสติระลึกรู้ตัวอยู่ ไม่เผลอนั่นเอง
๒. ทำไมจึงต้องเดินจงกรม
ตอบว่า เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่อาจตั้งอยู่ได้ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งอย่างต่อเนื่องได้นานๆ นั่นเอง
๓. การเดินจงกรมเดินเพื่ออะไร
ตอบว่า เดินเพื่อให้จิตใจได้มีสติเกิดขึ้น ไม่เผลอ ไม่หลง แต่มีความรู้ตัวอยู่ในขณะปัจจุบันที่กำลังดำเนินอยู่อย่างรู้เท่าทัน เพื่อป้องกันความทุกข์มิให้เกิดขึ้นอยู่ทุกขณะ และเปิดโอกาสให้แก่ปัญญาได้พิจารณาธรรมชาติ จนเกิดความรู้แจ้ง เพราะอาศัยจิตที่สงบ(จากความเศร้าหมอง)นี่เองเป็นปัจจัย
และสุดท้าย
๔. เดินจงกรมควรเดินอย่างไร
ตอบว่า เดินอย่างไรก็เอาเถิด ขอให้สามารถคุ้มครองจิตของตนไม่ให้เกิดความเศร้าหมองหรือเกิดความทุกข์ขึ้นได้ก็แล้วกัน
นี่ล่ะ เทคนิคที่เยื่ยมยอดที่สุดเลยล่ะ (สามารถป้องกันความทุกข์ไม่ให้เกิดขึ้นได้)
ให้ระลึกอยู่เสมอว่า ถ้าเดินอยู่แล้วทุกข์ใจ ไม่สงบ เกิดความเครียด เกิดความเศร้าหมองในจิตใจในขณะใด ขณะนั้น ไม่ได้เดินจงกรม เป็นแต่เดิน "จงกลม" เท่านั้น คือ จงใจเดินเป็นวงกลม แต่กลับไม่มีสติเลย
[ตามศัพท์เรียกว่า เกิดโทมนัส(ความทุกข์ใจ) ไม่มีสภาพกุศลธรรม อาทิ ตัตตรมัชฌัตตตา(จิตเดินเรียบสงบ) ปัสสัทธิ(ความไม่เครียด) และลหุตา(ความรู้สึกโปร่งเบา) เป็นต้น]
จำไว้นะ เวลาเดินอย่าให้ใจเป็นทุกข์ ถ้าเดินแล้วเป็นทุกข์ ก็คงได้แต่ “เดินจงกลม” แต่ถ้าเดินแล้วไม่มีทุกข์ใจ อย่างนี้สิจึงจะเรียกว่า “เดินจงกรม” ที่แท้จริง

อ่ะนะ
เอาล่ะมั๊งจ๊ะ คืนนี้ คิดว่า คงพอจะอิ่มกันบ้างล่ะนะ
รวมถึงการเดินทั่วไปด้วยใช่ไม๊เจ้าคะ
ก็เดินทั่วไปนั่นล่ะ ถ้าไม่เป็นทุกข์ มีสติรู้อยู่ ก็เป็นจงกรมทั้งนั้นล่ะ
อืมมม เนอะ เดินไปด้วย แล้วแบกความทุกข์ไปด้วย ทำไมกัน
โถ เราก็นึกว่าเข้าใจ ว้า แย่จัง
แป่ว
ย้ำว่า เดินอย่างไร เดินที่ไหน กำหนดหรือไม่ ถ้าไม่ทุกข์ มีจิตใจที่ผ่องใสเบิกบาน เป็นอันใช้ได้
เอาแล้วเน๊าะ ขอฝากพุทธภาษิตสำหรับสัปดาห์นี้ไว้ว่า
"โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ โย มํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ"
ผุ้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา(ตถาคต)
ผู้ใดเห็นเรา(ตถาคต) ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม
ขอนมัสการท่านเอกชัย ฐานจาโร ด้วยขอรับ
ขอเจริญพร ญาติโยมทุกๆ คนด้วยนะ

นมัสการครับ
อืม เกือบลืมไป
- สัปดาห์หน้า วันที่ ๙ ของดนะ เพราะว่า อาตมาจะมีสอบพระอภิธรรมนะ ต้องขออภัยในความไม่สะดวกด้วย
- วันที่ ๑๖ มีสนทนาธรรมเหมือนเดิมนะ
- แล้วงดอีกครั้งหนึ่ง วันที่ ๒๓ ธันวา เพราะมีสอบเหมือนกัน
ขอให้ทุกคนหลับสนิทนะ ขอคุณพระธรรมคุ้มครอง

ครับท่าน แล้วก็คนอื่นด้วยครับ
ขอย้ำว่าสัปดาห์หน้างดนะ
ดีจัง




 

Create Date : 09 ธันวาคม 2549    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 21:15:51 น.
Counter : 511 Pageviews.  

จะปฏิบัติธรรมอย่าให้หลงออกนอกทางได้โดยไม่รู้ตัว 491204

Chatสากัจฉาธรรม เรื่องจะปฏิบัติธรรมอย่าให้หลงออกนอกทางได้โดยไม่รู้ตัว
(เมื่อวันที่ ๔ ธ.ค. ๒๕๔๙)

คำถาม :
อยากไปปฎิบัติธรรมให้เห็นจิตตัวเองจังเลย เบื่อทางโลกแล้ว (ไม่รู้สึกสนุกเลย)

พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร :
คุณรู้ไหม การปฏิบัติธรรมในชั้นสูงนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนะ และการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ในการที่จะมีฉันทะที่จะปฏิบัติได้ตลอดรอดฝั่งนะ
บางครั้งบางคน ก็ตั้งใจจะปฏิบัติธรรม แต่ไปๆ เป้าหมายก็เปลี่ยน นั่นหมายถึง ไม่ตั้งใจจริงแล้ว มักจะเปลี่ยนไปเป็นการแข่งขันกันเองในหมู่ผู้ปฏิบัติบ้าง แบ่งพรรคแบ่งพวกบ้าง แข่งกันเรียนบ้าง อยากให้อาจารย์รัก อยากจัดกิจกรรมอย่างนั้นอย่างนี้เรื่อยไปบ้าง เพ่งโทษผู้อื่นบ้าง โดยลืมมองกลับมาที่ตนเองว่า เป้าหมายที่แท้จริงของตนในการเข้ามาสู่วัดวาศาสนานั้นเพื่ออะไร ตนเองมีจิตใจที่ได้รับการพัฒนาขึ้นบ้างหรือยัง นั่นต่างหากล่ะที่สำคัญ
จิตใจเราสะอาดผ่องใสเบิกบานได้ด้วยตนเองขึ้นแล้วหรือยัง หรือบางครั้งก็ปรารถนาจะเป็นที่รักของคนนั้นคนนี้บ้าง ถ้าแย่ไปกว่านั้น ก็ต้องการลาภสักการะ เสียงสรรเสริญเสียเลย เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอุปสรรคขัดขวาง หลอกลวงให้เราหลงออกนอกทางไปโดยไม่รู้ตัวทั้งนั้น
ฉะนั้น สำหรับผู้ปรารถนาความสงบในทางธรรม จะต้องพยายามเตือนตนเอง “เสมอฝึกตัวเรานะ ไม่ใช่ฝึกผู้อื่น” “มองตัวเรานะ ไม่ใช่มองผู้อื่น”
แล้วถามตัวเองด้วยคำถามง่ายๆ อยู่เสมอว่า เรามาที่นี่เพื่ออะไรกันแน่ เรากำลังทำสิ่งนี้เพื่ออะไรกัน
นี่เป็นคำถามเริ่มต้นที่อยากให้ถามตนเองก่อนในการปฏิบัติธรรม ว่าเพื่อเพิ่มพูนตน หรือลดละตน กันแน่ แล้วเรายิ่งปฏิบัติเข้าใกล้ศาสนา เรายิ่งยึดมั่น หรือเรายิ่งปล่อยวางได้มากขึ้น
นี่คือสิ่งที่พึงระวัง อย่าให้หลงออกนอกทางได้โดยไม่รู้ตัว

..............................................




 

Create Date : 05 ธันวาคม 2549    
Last Update : 20 ธันวาคม 2549 9:10:25 น.
Counter : 270 Pageviews.  

เรื่องความเชื่อเกี่ยวกับชาติหน้า 491125

ก่อนที่จะอ่าน blogนี้ มี blog ใหม่ให้อ่านกันก่อนค่ะ
เกี่ยวกับความสงสัยในเรื่อง แอบก๊อบไฟล์รูปที่เขาไม่ได้ให้อนุญาติไป

"ก็ไฟล์มันยังไม่ไปไหนนี่ จะเป็นการขโมยได้ไง"


คำว่า ไถยจิต นี่เป็นไงน้อ

อย่างนี้ก็ไม่ใช่รูปอย่างเดียวสิ รวมถึงไฟล์ต่างๆ ด้วย

ไปลองอ่านกันที่ " อทินนาทาน ลิขสิทธิ์ และอาชีพค้าขายที่ชาวพุทธไม่ควรทำ 490916 "

......................................................


Chatธรรมวันเสาร์ เรื่องความเชื่อเกี่ยวกับชาติหน้า
(เมื่อวันที่ ๒๕ พ.ย. ๒๕๔๙)


พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
คุณสบายดีนะ

ถ้าคิดผิดทาง การวางตัวต่อกันก็จะผิด says:
ท่านมีประเด็นอะไรอยากสอนหรือเปล่าเจ้าคะ

ไม่มีหรอก แล้วแต่ก็แล้วกันนะ สบายๆ ไปอบรมกรรมฐานมา ๑๖ วัน ตอนนี้เสียงหมด
ใช้มือนะไม่ใช่ใช้เสียง จะเริ่มดึงนะเจ้าคะ
ได้เลย
นมัสการท่านเอกเจ้าค่ะ
พระเอกชัย ฐานจาโร says:
เจริญพร

นมัสการท่านเอกชัยครับ
Chitti says:
นมัสการครับ

นมัสการพระอาจารย์ครับ
theewin@hotmail.com says:
นมัสการพระคุณเจ้า และสวัสดีเพื่อนร่วมสนทนาธรรมทุกท่านครับ

beyond thought says:
สวัสดี

เชิญน้องบัคค่ะ (สมาชิกใหม่ ขาเก๋า)
พิ้งP^ i +n *K He is a Hero says:
นมัสการพระคุณเจ้าปิค่ะ ท่านคะ ไปสอนวิปัสสนาแนวไหนคะ

จริงๆแล้วก้ออยากฟังเรื่องแนววิปัสสนาเหมือนกันนะครับ ว่าแนวไหนดี
อาตมาไปแนะนำวิปัสสนาในแนว “สุกขวิปัสสกะ”
อย่างไรขอรับ พระคุณเจ้า
ก็หมายถึง การเจริญวิปัสสนาล้วนๆ น่ะ
ปกติไม่ล้วนครับ แหะๆ งง
หมายถึง การมุ่งเน้นด้านปัญญาโดยเฉพาะ โดยการกำหนดสภาวธรรมล้วนๆ
เป็นอารมณ์ คือ เพ่งมองไปที่สภาพของนามธรรม-รูปธรรม โดยไม่อาศัยคำบริกรรมเข้าประกอบ
เช่น พุท-โธ หรือ พอง-ยุบ เป็นต้น เรียกว่า พยายามปลดบัญญัติออกไปให้ได้มากที่สุดก็ว่าได้
บางครั้งจะเรียกว่า ไม่อาศัยการเจริญสมาธิมากนัก

ไม่เข้าใจแนวนี้ค่ะ อ๋อ แนวดูจิตหรอคะ
จ๊ะ ดูกายกับดูจิตนั่นหล่ะประกอบกัน โดยไม่เน้นหนักในด้านการทำจิตให้เป็นสมาธิ
…………………………………………………………….

ถามท่านปิดีกว่า ถ้ามีน้องที่รู้จักที่ทำงาน มีความคิดเห็นว่าไม่มีชาติหน้า
เพราะเขาพิสูจน์ไม่ได้ คือไม่เคยเห็นผี เขาเชื่อว่าตายแล้วสูญ และเขาก็เห็นว่า
การที่พระไม่ทำอาหารทานเอง เป็นการขอเขากิน (เป้ล่ะอึ้งเลย) เราจะอธิบายได้อย่างไร

การมีความเห็นว่าไม่มีชาติหน้า นั่นก็เป็นเพียงแต่ความคิดนะ
ใครจะรู้ได้ล่ะ

อย่างไรเป็นการคิดในทางที่ถูกเจ้าคะ
การที่พิสูจน์ในเรื่องภพชาติไม่ได้นั้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่เราจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่ามีหรือไม่ แล้วถ้าเรามีความเห็นว่าไม่มีเพราะพิสูจน์ไม่ได้ แล้วในโลกนี้คนส่วนใหญ่พิสูจน์อะไรได้บ้างล่ะ หลายอย่างแม้เราพิสูจน์ไม่ได้ด้วยตัวเราเอง แต่เราก็อาจเชื่อเพียงเพราะผู้พูดน่าเชื่อถือหรือเพราะคนส่วนใหญ่เชื่อกันมาอย่างนั้น
ยกตัวอย่างเช่น เราอาจเชื่อในหลายสิ่งหลายอย่างที่นักวิทยาศาสตร์พูดหรือให้ข้อมูลแก่เรา ทั้งที่บางครั้งก็เป็นจริงบ้าง-เท็จบ้าง เพราะเมื่อความรู้มีมากขึ้น หลายสิ่งหลายอย่างที่เราเคยเชื่อหรือตั้งสมมติฐานเอาไว้ แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปเราก็อาจรู้ได้ว่าเขาเข้าใจผิดมาตลอด
เช่น ในอดีตนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลกแบน พระอาทิตย์หมุนรอบโลก โลกเป็นสะเก็ดที่เกิดจากพระอาทิตย์ คนมีวิวัฒนาการมาจากลิง ยานออลโพโลขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์? หรือแม้แต่นมไม่เหมาะกับคนเอเชียหรือเป็นพิษต่อร่างกายหรือไม่ การกินวิตามินครั้งละมากๆ ไม่มีผลเสียต่อร่างกาย
แม้แต่ความเชื่อของคนโบราณก็อาจถูกเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกันเมื่อคนเรามีสติปัญญายิ่งขึ้น เข้าถึงความจริงได้มากขึ้น เช่น เรื่องเทวดาทำให้เกิดฝน สุนัขหอนเพราะเห็นผี ราหูอมจันทร์ เป็นต้น ซึ่งต่างก็เป็นสิ่งที่เราไม่อาจพิสูจน์ให้เห็นจริงแก่อายตนะของเราได้เช่นเดียวกัน

ก็เพราะว่าพิสูจน์ไม่ได้ เขาก็เลยไม่เชื่อ และง่ายๆ ตายแล้วก็ไม่มีอะไรต่อ
ท่านเอกชัย คิดอย่างไรครับ
แบบเดียวกันนั่นแหละครับในเมื่อพิสูจน์ให้แน่ชัดไม่ได้ก็ไม่ควรด่วนสรุป
สงสัยครับ เป็นสาระหรือเปล่าครับ การที่ว่ามีหรือไม่มีอะครับ
มันจะต่างกันไหมครับ กับการเชื่อว่ามีชาติหน้า กับเชื่อว่าไม่มีชาติหน้า
ถ้ามี จะเป็นอย่างไรและถ้าไม่มีล่ะจะคิดกันอย่างไร
ค่ะ ควรคิดอย่างไรถึงดีที่สุด
การเชื่อว่ามีนั้น บางครั้งจะช่วยให้เราระมัดระวังในการกระทำกรรมเหมือนกันนะ
อย่างน้อยก็ไม่ควรมุ่งเอาชนะกันด้วยเรื่องว่ามีหรือไม่ เปิดใจรับความคิดคนอื่นบ้าง สักนิดก็ยังดี
แต่ทิฐิ ใครๆก็ถือไว้
กลัวกรรมจะตามไปชาติหน้า ยังงี้ใช่มั๊ยคะ เลยต้องระวังการกระทำของเราให้ดี
เป็นไปได้ไหมครับที่เราจะเป็นอิสระจากความเชื่อทั้งปวง
หรือจริงๆ แล้วควรเชื่อเรื่องกรรม
พิ้งเชื่อค่ะ
ชาติหน้าหรือชีวิตหน้าสำหรับบางความเชื่อก็มี แต่ด้วยเงื่อนไขที่ต่างไป เขาอาจทำไม่ดีก็ได้
พี่เป้ครับ ผมกำลังสงสัยว่า ความรู้สึกที่บอกว่าเราควรเชื่อเรื่องกรรมเนี่ย มันมาจากความกลัวหรืออะไรบางอย่างที่มาจาก "เรา" หรือปล่าวครับ
นิมนต์ท่านเอกชัยแสดงความเห็นด้วยครับ
อืมม เป็นไปได้ เชื่อว่ามีชาติหน้าเพราะความรู้สึกของการมีตัวตน
ผมเชื่อในผลของการกระทำครับ Action = Reaction เสมอ
ฉะนั้น ผลตอนนี้ก็เกิดจากอดีต
ผมขอเรียนถามทุกๆ ท่านเลยนะครับว่า เป็นไปได้ไหมที่ความเชื่อใดๆ ก็แล้วแต่ หรือแม้กระทั่งการเชื่อในความคิดของตัวเองจะบิดเบือนความจริง
เชื่อ มาจากปรุง? จริงๆ ทุกอย่างมาจากปรุง เพราะเกิดจากปัจจัยต่างๆ?
ปรุงเพื่อเป็นกุศโลบาย
การกระทำในวันนี้ จะเป็นตัวขี้วันพรุ่งนี้ใด้ อย่างงั้นใช่ป่าวคะ
มันคือทวิลักษณ์หรือเปล่าครับ
ทวิลักษณ์ เหมือนคุ้น คืออะไรเหรอคะคุณเปิ้ล
คือลักษณะของที่คู่กันอะครับ เช่นดำขาว กลางวันกลางคืน อย่างงี้อะครับ
งั้น ทวิลักษณ์ มี ดี-เลว ใช่ไหมคะ
ชาตนี้ - ชาติหน้า
ใช่ครับ สงสัยนานแล้วครับ ว่าจะหาจุดกึ่งกลางยังไง น่าจะเป็นชาตินี้ กะไม่ใช่ชาตินี้เนอะ เพราะยังมีอดีตเข้าอีกอะ
PA says:
สวัสดีทุกคนค่ะ ขออนุญาตเป็นคนฟังก่อนนะคะ

ท่านเอกว่าอย่างไรบ้างเจ้าคะ เรื่อง ทวิภพ เอ้ย ทวิลักษณ์ ใครเป็นผู้บอกว่าสิ่งนั้นดี สิ่งนั้นเลว?
ทวิ น้อยไป น่าจะดูที่ไตรลักษณ์ คือสามัญลักษณะ
ยังไงเหรอครับ
เราพูดกันถึงเรื่องชาติภพ ก็หนีไม่พ้นไตรลักษณ์ ยิ่งห่วงกังวลว่ามีหรือไม่ ถ้ามีแล้วจะเป็นอย่างไร บางทีก็จะตกเป็นเครื่องมือของผู้หวังผลประโยชน์ ใช้อานิสงค์ของการทำบุญเป็นเครื่องมือ ปล่อยวางเสียบ้าง จะมีหรือไม่ก็ทำวันนี้ให้ดี เพราะถ้ามี ก็จะเป็นการดีที่ได้ทำดีเอาไว้ ถ้าไม่มีก็ไม่เสียหายอะไร
จริงอย่างท่านว่าครับ
ตอนนี้ก็คิดอย่างนี้ค่ะ
เห็นด้วยครับท่าน
คือ ในเรื่องความมีอยู่ของชาตินี้-ชาติหน้านี่นะ เป็นสิ่งที่คนทั้งหลายสงสัยกันมาตลอดนั่นล่ะ แม้พระพุทธเจ้าของเราก็ทรงต้องเจอกับคำถามเหล่านี้มาตลอดเช่นเดียวกัน แต่ก็มิได้ทรงตอบตรงๆ อย่างที่ผู้ถามต้องการคำตอบนั้นหรอกนะ
เช่น เมื่อมีคนถามว่า คนตายแล้วเกิดหรือไม่ พระพุทธเจ้าก็จะทรงตอบว่า ไม่ใช่อย่างนั้น หรือคนตายๆ แล้วไม่เกิด พระพุทธเจ้าก็จะทรงตอบว่า ไม่ใช่อย่างนั้น
แล้วพอคนคนนั้นฟังแล้วก็ถามต่อว่า คนตายแล้วทั้งเกิดทั้งไม่เกิดหรือ พระพุทธเจ้าก็ทรงตอบว่า ไม่ใช่อย่างนั้น อีกนั่นล่ะ เขาก็เลยถามว่า อย่างนั้นคนตายแล้วจะว่าเกิดก็ไม่ใช่ จะว่าไม่เกิดก็ไม่ใช่ อย่างนั้นหรือ พระพุทธเจ้าก็ทรงตอบอีกนั่นล่ะว่า ไม่ใช่อย่างนั้นอีกเหมือนเดิม คนฟังเลย งง เลย

งงจริงๆ ด้วย
Kiak.. There is no phychiatrist in the world like a puppy licking says:
ขอทราบเหตุผลการตอบลักษณะนี้ของพระพุทธเจ้าด้วยครับ

ท่านเอกชัยคิดอย่างไรกับคำตอบของพระพุทธเจ้าครับ ขอความคิดเห็นของท่านด้วย
ส่วนใหญ่วิธีการของพระองค์มักสอนด้วยวิธีตั้งคำถามกลับให้ผู้ถามต้องตอบเอง ในเรื่องนี้ผู้ถามคิดอย่างไรอยู่ก็ไม่แน่ ถ้าตอบออกไปแล้วก็ต้องหาข้อมายืนยันคำตอบอีก ถ้าปฏิเสธไม่ตอบก็จะถูกดูหมิ่นไม่เชื่อถือ
ขอถอยหลังนิดนึงนะครับ นี่เป็นความคิดเห็นของพวกเราใช่ไหมครับ แต่ไม่ใช่เหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงให้ไว้หลังจากตอบคำถาม แล้วพระพุทธเจ้าตอบเท่านั้นจริงๆ เหรอครับ ไม่ได้อธิบายต่อเหรอครับ เพราะถ้าอย่างคุณเอกชัยว่า ก็ควรจะแจงให้ทราบ อาจจะด้วยการยกตัวอย่าง
ความเห้นของผุ้ตอบเท่านั้นไม่ใช่ความห็นของพวกเรา บางคนอาจเห็นไม่ตรงกันก็ได้
ขอวิธีการคิดที่ควรคิดด้วยเจ้าค่ะ
คืออย่างนี้นะ ในเรื่องนี้มีความลึกซึ้งสักนิดหนึ่ง คือ คนส่วนใหญ่ (โดยเฉพาะผู้ถาม) มีความเห็นที่ผิดพลาดอยู่ในแง่ของความเข้าใจที่มีต่อชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นจากสภาพของสังคมและคำสอนหลักในศาสนาโบราณแต่เดิม เช่น ศาสนาพราหมณ์
เป็นต้น ซึ่งมีความเห็นที่ผิดพลาดเกี่ยวกับเรื่อง "ตัวตน"

แต่ถ้าพระพุทธเจ้าจะทรงตอบ ไม่ต้องอยู่บนความเข้าใจที่ผิดพลาดของแต่ละผู้ถาม ก็เหมือนกับสอน สามารถให้ความเข้าใจที่ถูกต้องได้ครับ แต่ตามที่พระอาจารย์เล่าให้ฟัง เหมือนกับเลี่ยงไม่อยากตอบ เพราะว่าไม่อธิบายเพิ่ม
หรือคิดว่าพระพุทธเจ้าตอบไม่ได้ เลยตอบเลี่ยงคะ
ผมไม่ได้คิดว่าพระองค์ตอบไม่ได้นะครับ แต่บางครั้งก็สงสัย บางเรื่องที่ชัดเจนได้ จะเป็นประโยชน์ แต่ พ.ไม่ให้คำตอบที่ชัดเจน ผลก็คือเราก็ต้องมาถกกันเอง โดยไม่มีข้อสรุป
ท่านเอกชัยคิดอย่างไรครับ
จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ ไม่ทราบ แต่น่าจะเป็นบันทึก สอนพระว่าเมื่อจะไปเผยแผ่ที่ไหนให้ระวังคำตอบ เพราะไม่ใช่สาระสำคัญที่ พ.ทรงเน้น ดูจากมหาปรินิพานสูตร ทรงย้ำว่าตลอดเวลาทรงสอนเรื่องของทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น
สิ่งที่พระองค์ทรงพบคือการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน เมื่อมันเกิดความทุกข์ขึ้นก็มีวิธีดับทุกข์ แต่คนสมัยนั้นยังนับถือสิ่งเหล่านี้ในแบบพราหมณ์ ก็จะไปขัดแย้งทำไม ถ้าเขาเชื่อว่ามี จะเถียงกันให้เกิดอะไรขึ้นมาในเมื่อก็พิสูจน์ไม่ได้ด้วยกันทั้งคู่

พราหมณ์เชื่อว่าอะไรนะครับ
ร้อยแปดความคิด
ขออนุญาตแสดงความเห็นนะคะ พอดีจำได้เลาๆ ถึงเรื่องที่ควรคิด ที่ดิฉันเคยอ่านเจอ ตรัสเรื่องที่ไม่ควรคิด(อจินไตย) ๔ อย่าง คือ วิสัยของพระพุทธเจ้า, วิสัยของฌาน(การทำจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่). ผลของกรรม, ความคิดเรื่องโลก(เช่น ใครสร้างโลก เป็นต้น ).
ขออภัยล่วงหน้านะคะถ้าล่วงเกินใคร เพียงแต่ฟังถึงข้อความที่พระอาจารย์สอน "เพราะใช่สาระสำคัญที่ พ.ทรงเน้น ดูจากมหาปรินิพานสูตร ทรงย้ำว่าตลอดเวลาทรงสอนเรื่องของทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น" แล้วนึกขึ้นได้น่ะค่ะ

งั้นสรุปไม่ได้ใช่ไหมคะว่ามีชาติหน้าหรือเปล่า
ไม่แน่ใจว่ามีใครที่ถามถึงวิธีคิด เราต้องดูโดยรวม จะตัดตอนเอามาใช้ไม่ได้เสียทั้งหมด หลายครั้งที่มักจะมีผู้นำคำพูดมาหักล้างกันโดยไม่เอาข้อความส่วนอื่นมาด้วย ก็อาจทำให้เข้าใจไขว้เขวกันไปได้ ถ้าใครมีโอกาสที่สามารถขยายข้อความหรือนำข้อความที่สมบูรณ์มาแบ่งปันกันได้ก็จะเป็นการดี
พระพุทธเจ้าสอนว่ามีเวียนว่ายตายเกิดไม่ใช่หรือครับ
วัฒน์-รู้จัก, เชื่อ, บังคับ, พอใจ, เคารพ says:
ใช่ครับ แต่ก็ไม่ใช่บอกแค่นั้น

แสดงให้เห็นว่าส่วนขยายที่พระองค์ทรงสอนไว้นั้น สรุปรวมแล้วก็ไม่พ้นเรื่องของความทุกข์ เหมือนต้นไม้ที่ขยายแตกกิ่งก้านสาขาออกไป เพราะยังมีคนที่กังวลเรื่องนี้กันอยู่ จึงมีสามัญลักษณ์
เท่าที่เข้าใจ ยังบอกถึงการหมดการเวียนว่ายตายเกิดด้วยครับ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยครับ เท่าที่จำได้และเข้าใจ ท่านจะเปรียบเหมือนกับเชื้อไฟ ถ้ายังมีเชื้อก็ยังมีการเกิด คนเราไม่ได้ตายแล้วสูญ หรือตายแล้วไม่เกิด หรือตายแล้วเกิด บอกเจาะจงไม่ได้ครับ ต้องขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยนะครับ
อาตมาอยากจะอธิบายถึงคำถามเมื่อสักครู่สักหน่อยนะ เรื่องที่มีพราหมณ์มาถามพระพุทธเจ้านะ
ดีครับพระอาจารย์ อิอิ ผมไม่ค่อยแม่นธรรมเท่าไร แป่วว
คือ คำถามเมื่อสักครู่ ผู้ถามเขาถามด้วยความเข้าใจว่ามีตัวตนอยู่เป็นพื้นฐาน เช่น ผู้ถามเข้าใจว่า เขามีตัวตนอยู่จริง ซึ่งเขาถามด้วยความรู้สึกว่า ตัวตนของเขา จะเกิดขึ้นอีกหรือไม่เกิดขึ้นอีกนั่นเอง
คือถามด้วยเข้าใจว่า ชาติหน้าจะเกิดเป็นนาย ก เหมือนเดิมรึเปล่า อย่างนี้เหรอครับ
แต่ความเป็นจริงแล้ว ที่พระพุทธเจ้าท่านไม่ทรงตอบ ก็เพราะว่า ผู้ถาม เขาเข้าใจผิดต่อคำถามนั้นตั้งแต่ต้น คือนึกว่า มีตัวตนผู้ไปเกิดไปตายนั่นเอง พระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงตอบ
การคิดอยู่ว่า ตนมีตัวตน หรือนามรูปที่มีอยู่นี้เป็นตัวตน นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด เพราะโดยแท้แล้ว ไม่มีอยู่ซึ่งความเป็นตัวตนเลย
ฉะนั้น จึงไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดของตัวตน หรือไม่มีแม้แต่ตัวตนที่กำลังจะดับสูญไป (ไม่มีชาติหน้า) นั่นเอง
การที่คิดว่า มีการเวียนว่ายตายเกิดของตัวตน จึงไม่ถูกต้อง และเป็นไปไม่ได้, และการกล่าวว่า ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด คือ มีแต่เพียงตัวตนในชาตินี้เท่านั้น ก็ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงตอบว่า มี(ตัวตน)เวียนว่ายตายเกิด หรือ ไม่มี(ตัวตนไป)เวียนว่ายตายเกิด เข้าใจไหมล่ะ

ก็ถ้าตอบแบบนี้ก็ไม่งงครับ
เพราะ ผู้ตั้งคำถาม ตั้งคำถาม ไม่ถูกต้องนั่นเอง จึงไม่อาจตอบได้
อืมครับ
พระพุทธเจ้า จึงกลับไปตอบเสียว่า "เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ฯลฯ" เป็นต้น เพื่อเลี่ยงการตอบปัญหา เรื่องตัวตนที่เขาเข้าใจผิด นั่นเอง
ฉะนั้น โดยแท้แล้ว พระพุทธเจ้าจึงมิได้ทรงตอบคำถามในเรื่องเวียนว่ายตายเกิดเลยในที่นี้ แต่กลับทรงแนะให้บุคคลมีความเห็นที่ถูกต้องเสียก่อนว่า ไม่มีตัวตน นั่นเอง จึงจะสามารถเข้าใจการอธิบายตามหลักของพระพุทธศาสนาได้ แต่ในข้อที่ว่ามีหรือไม่มีนั้น พระพุทธเจ้าทรงให้หลักไว้นะ

ยังไงครับท่าน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มิจฉาทิฏฐิ” มีพื้นฐานมาจากความคิดเห็นใน ๒ ลักษณะ คือ
๑. สัสสตทิฏฐิ คือ เชื่อว่าต้องมีการเวียนว่ายตายเกิดตลอดไป และ
๒.อุจเฉททิฏฐิ คือ เชื่อว่าไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด นั่นเอง
ทิฏฐิทั้ง ๒ ประการนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ถูกต้องทั้ง ๒ ฝ่าย เรียกว่า เป็นความเห็นสุดโต่ง ๒ ประการที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธเป็นสิ่งแรก ซึ่งทรงแสดงไว้ใน “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” นั่นเอง
ฉะนั้น ไม่ต้องสงสัยว่า การที่เชื่อว่าไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดนั้น สำหรับพระพุทธศาสนาแล้ว ถือเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างแน่นอน
พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึง “นิยตมิจฉาทิฏฐิ” ว่า เป็นความเห็นผิดที่ยิ่งใหญ่ ตามศัพท์เรียกว่า ปักดิ่งลงในอบายถ่ายเดียว ซึ่งมีด้วยกันอยู่ ๓ ประการ คือ
๑.อกิริยทิฏฐิ คือ เชื่อว่าการกระทำกรรมของคนไม่มีผลใดๆ ต่อความเจริญและความเสื่อมในชีวิตของคนเรา คือ คนเราทำอะไรก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา นั่นเอง
๒.อเหตุกทิฏฐิ คือ ความเห็นว่า คนเราจะเป็นอย่างไรนั้น ไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น การที่สิ่งใดเกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นลอยๆ เรียกว่า เป็นไปตามโชคบ้าง เป็นไปตามเคราะห์บ้าง เป็นไปอำนาจดวงดาวบนท้องฟ้าบ้าง เป็นต้น เรียกว่า เดี๋ยวมันจะดีก็ดีเอง เดี๋ยวมันจะร้ายก็ร้ายเอง เป็นต้น
๓. นัตถิกทิฏฐิ คือ ความเห็นที่เชื่อว่า ไม่มีอะไรทั้งนั้นในชีวิตของคนเรา ไม่มีทั้งชาตินี้ ไม่มีทั้งชาติหน้า ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีนรก ไม่มีสวรรค์ บุญคุณไม่มี พ่อแม่ไม่มี หรือกล่าวว่า ไม่มีอะไรทั้งนั้นที่สามารถยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมได้
ซึ่งในส่วนนี้ล่ะ ที่ตรงกับคำถามที่คุณถามมาว่า มีชาติหน้าหรือไม่ หากผู้ใดคิดว่าไม่มีชาติหน้าล่ะก็ ก็จะเข้ากลุ่มบุคคลผู้มีความเชื่อที่เป็น “นัตถิกทิฏฐิ” นั่นเอง คือ เชื่อว่าไม่มีชาตินี้ชาติหน้า ซึ่งถือเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดมากนะ ตามหลักของพระพุทธศาสนา

เจ้าค่ะ
อาจสรุปได้ในขั้นต้นว่า พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธต่อความเชื่อที่บุคคลเชื่อว่า ไม่มีชาติหน้า นั่นเอง
และทรงตรัสว่า เป็น "นิยตะ" นะคุณ ซึ่งคำว่า นิยตะ นี้ ไม่ใช่คำเล็กน้อยนะ แต่ท่านกล่าวว่า คำว่า “นิยตมิจฉาทิฏฐิ” นี้ ถือเป็นกรรมที่หนักมากและให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ ทั้งหมด ซึ่งคุณๆ อาจไม่ทราบก็ได้

ไม่ทราบจริงๆครับ
พระพุทธเจ้าตรัสถึงกรรมหนัก ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปเกิดในอบายไว้ โดยทรงลำดับความรุนแรงแห่งการให้ผลไว้ดังนี้ คือ
๑.นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม เป็นกรรมที่รุนแรงที่สุด และให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ ทั้งหมด
๒.อนันตริยกรรม ๕ ประการ โดยความรุนแรง รองจาก นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม โดยทรงตรัสว่า ในอนันตริยกรรม ๕ อย่างนี้ เริ่มต้นแต่ สังฆเภทกรรม ซึ่งเป็นกรรมที่หนักที่สุด ,รองมาคือ ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต ,รองมาคือ ฆ่าพระอรหันต์, รองมาคือ ฆ่ามารดา
และสุดท้ายคือ ฆ่าบิดา
๓.อัตตวินิบาตกรรม ได้แก่ การฆ่าตัวตาย ซึ่งมีผลรุนแรงมาก รองจาก อนันตริยกรรม
๕ เพราะมีผลต่อสภาพจิตใจของบุคคลนั้นโดยตรง จึงให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ เมื่อเว้นจาก
๒ ข้อแรกแล้ว
๔.อาสันนกรรม คือ กรรมที่กระทำก่อนตาย
๕.พหุลกรรมหรืออาจิณณกรรม คือ กรรมที่กระทำด้วยเจตนาที่รุนแรง หรือคือกรรมที่กระทำจนเคยชิน
๖.กตัตตาวาปนกรรม คือ กรรมที่กระทำลงไปโดยไม่มีเจตนาให้ผลนั้นๆ เกิดขึ้น เช่น ฆ่าสัตว์โดยความพลาดพลั้งหรือไม่ตั้งใจเป็นต้น
ทั้งหมดนี้คือลำดับแห่งการให้ผลของกรรมนะ โดยเริ่มจากข้อหนึ่งลงมาโดยลำดับ

ครับ
งั้นเราก็ควรทำ อาจิณณกรรม ที่ดีไว้ เพื่อเวลาจะตาย อาสันนกรรม จะได้ดีๆ คนที่ไม่เชื่อว่ามีชาติหน้า ส่วนมากเขาจะรู้สึกว่าอย่างไรน้อ? เมื่อใกล้ตาย ดีใจที่ตายๆ เสียที แสดงว่าไม่พอใจชีวิตของตน เสียใจที่จะตาย แสดงว่าหลงกับชีวิตของตน จะมีใครบ้างที่คิดดี ว่าทำความดีเต็มที่แล้ว ถึงคราวสิ้นสุดล่ะ
แต่ทว่า จะเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิได้นั้น มีหลักอยู่นิดหนึ่งนะ ไม่ใช่ว่าอะไรๆ ก็จะเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมไปหมด ก็คือ ผู้ที่เชื่ออย่างนั้น จะต้องมีความเชื่ออย่างเหนียวแน่นเช่นนั้นจริงๆ เช่น เชื่อว่าไม่มีชาติหน้า อย่างที่เรียกว่า ฝังหัวจริงๆ นั่นเอง เรียกว่า มีความเชื่ออย่างนั้นอย่างมั่นคง และอาจบอกสอนแก่ผู้อื่นตามความเชื่อนั้นด้วยเช่นเดียวกัน
กล่าวโดยสรุปว่า ตามหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนว่า ชาติหน้ามีจริง นั่นเอง

ผลที่ตามมาจากการเชื่อที่เป็น นิยตมิจฉาทิฏฐิ จะมีอะไรได้บ้างน้อ มันถึงได้หนักขนาดนั้น
ผู้ใดมีความเชื่อที่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ อรรถกถาท่านว่า ย่อมเป็นผู้ที่ห่างไกลจากพระสัทธรรม เพราะไม่ขวนขวายในการกระทำคุณงามความดี และไม่เกรงกลัวต่อผลของการกระทำกรรมชั่ว นั่นเอง
ทำอะไรก็ไม่คิดว่าจะมีผลถึงชาติหน้า แต่เขาก็เชื่อว่าทำแล้วมีผล(ในชีวิตนี้ของเขา) ฉะนั้นเขาจะทำสิ่งที่มีผลดีต่อเขาเท่าที่อยากทำ
ท่านว่า ย่อมลงสู่อบายภูมิ ถ่ายเดียว และย่อมห่างไกลต่อพระธรรมคำสอน คือ แม้ได้พบพระพุทธศาสนา ก็ไม่สามารถเข้าใจในพระธรรมคำสอนได้ เพราะจิตไม่น้อมไปในการพิจารณาธรรมอย่างลึกซึ้งตามที่เป็นจริง
เอ้ ต้องเพิ่มว่า ชาติหน้ามีจริง ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยด้วยหรือเปล่าครับพระอาจารย์
จ๊ะ ขึ้นกับเหตุปัจจัย คือ มีเหตุปัจจัยให้เกิดก็เกิดขึ้น หมดเหตุหมดปัจจัยให้เกิดก็ไม่เกิดนั่นเอง
แล้วการเชื่อที่ว่า ทุกคนท้ายสุดแล้ว จะบรรลุอรหัตผล นั้นเหมือนกับความเชื่อผิดที่เกี่ยวกับการคลายตัวของสิ่งต่างๆ เหมือนกลุ่มด้ายที่ขว้างไปหรือเปล่าเจ้าคะ
นั่นเป็นความเชื่อที่ผิดนะ เข้าหลัก อกิริยทิฏฐิ นั่นเอง คือ คนเราไม่ต้องทำอะไร เดี๋ยวมันก็จะเป็นไปเอง
เอาล่ะนะ คืนนี้ คิดว่าพอสมควรล่ะนะ แล้วสัปดาห์หน้าค่อยพบกันใหม่

ค่ะ ท่าน สาธุค่ะ
ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป
สาธุครับท่าน
ท่านรักษาสุขภาพด้วยนะคะ
นมัสการครับ
กราบขอบพระคุณพระคุณเจ้าทั้ง 2 ท่านค่ะ ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนค่ะ
ขอฝากพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า “ทุลฺลภํ ธมฺมเทสนํ”
การอุบัติขึ้นแห่งพระธรรมเป็นสิ่งที่ได้โดยยาก

ราตรีสวัสดิ์ครับ
ขอให้ทุกคนนอนหลับฝันดีนะ
ขอบคุณทุกๆ ท่านที่แบ่งปันครับ ขอบพระคุณครับพระอาจารย์ กราบลาครับ
........................................




 

Create Date : 01 ธันวาคม 2549    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 21:16:36 น.
Counter : 268 Pageviews.  

ศึกษาธรรมเพื่ออะไร 491104

สากัจฉาธรรม Online เรื่องศึกษาธรรมเพื่ออะไร
(เมื่อวันที่ ๔ พ.ย. ๒๕๔๙)


พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
การที่เราจะรู้ได้ว่าเราตั้งจิตในการประพฤติปฏิบัติธรรมไว้ถูกต้องหรือไม่ เราจะต้องรู้ด้วยตัวเราเองว่า เราปฏิบัติธรรมนี้ เพื่อลด ละ เลิกกิเลสที่มีในใจเราใช่หรือไม่
การพยายามในการเอาชนะจิตใจของเราเองนั้นเป็นเรื่องยาก และยากที่สุดในบรรดาธรรมทั้งปวง ซึ่งเป็นเหตุให้คนทั้งหลายนั้นมีเจตนาที่จะมองข้ามไป โดยมุ่งไปพัฒนาต่อสิ่งภายนอก ซึ่งมิใช่สาระที่แท้จริง
แม้แต่การศึกษาธรรม บุคคลโดยมากก็มุ่งไปที่สิ่งภายนอกมิได้น้อมกลับสู่ชีวิตที่แท้จริง หรือปัญหาที่แท้จริงในชีวิตของตน เช่นว่า ศึกษาธรรมเพื่อต้องการวุฒิการศึกษา เพื่อเป็นครูคน หรือเพื่อการโต้ตอบปัญหา เป็นต้น ซึ่งนั่นมิใช่สาระที่แท้จริงของการศึกษาธรรม
บางครั้งหากคุณรู้สึกว่าคุณมีความรู้มากแล้ว หรือคุณรู้สึกว่าคุณมีความรู้มากกว่าคนอื่นอีกหลายๆ คน หรือ คุณอาจรู้สึกว่าคุณอยากจะบอกจะสอนอะไรๆ กับใครอีกหลายๆ คนเกี่ยวกับเรื่องของพระธรรมที่ลึกซึ้ง นั่นก็ยังคงเป็นความร้อนที่ยังมิได้ดับซึ่งเกิดขึ้นภายในใจของเรา เพราะยังไม่ได้เห็นอะไรบางอย่างที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเพียงพอ

Nuuniie (นูนี่) says:
แค่ได้ช่วยทำนุบำรุงพุทธศาสนาก็มีความสุขแล้วค่ะ เห็นอะไรที่ดีก็อยากให้คนอื่นได้รู้ได้เห็นด้วยค่ะ แต่ตอนนี้หนูไม่ค่อยจะสนอะไรเหล่านั้นแล้ว เพราะหนูจดจ่อเรื่องวิปัสสนากกว่าในตอนนี้

นั่นล่ะสำคัญ เราจะต้องเริ่มต้นจากการศึกษาที่ใจของเรา ความยึดถือบางอย่างที่มีอยู่ในใจเรา ความปรารถนาบางประการที่ซ่อนอยู่ลึกๆ อาจทำให้แนวทางการปฏิบัติธรรมนั้นแตกต่างออกไปในหลายรูปแบบ ความเข้าใจต่อการปฏิบัติธรรมนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ฉะนั้น บางครั้งการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องอาจต้องใช้เวลาพิจารณาและสังเกตจิตใจของเราบ้างสักระยะหนึ่ง
คุณรู้ไหมในบางครั้ง คุณอาจกำลังตอบปัญหากับผู้ซึ่งมีความรู้มากในทางปริยัติธรรม แต่เขาก็อาจชวนคุณพูดคุยและตอบปัญหาไปเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดหย่อนก็ได้นะ ทว่า! การที่เป็นเช่นนั้น ใช่ว่าเขาไม่รู้คำตอบเชิงปริยัติธรรม แต่บางครั้งกลับเป็นว่า เขาก็มีความคิดเห็นและความเข้าใจของเขาเองอยู่แล้ว คุณพอรู้ไหม?
โดยแท้บางครั้งเราอาจไม่รู้เจตนาที่แท้จริงของคู่สนทนาธรรมเลย เราอาจเสียเวลาไปกับอะไรบางอย่างโดยที่ยังไม่รู้ว่า เขาอาจไม่ต้องการในสิ่งที่เรากำลังตอบไป แค่เขาอาจเพียงต้องการชวนเราคุยเท่านั้นโดยมีเป้าประสงค์บางประการ เพื่อคลายเหงา หรือแม้เพื่อสนองตอบความฟุ้งซ่านที่เขามีอยู่
ที่กล่าวนี้ บางครั้งอยากให้คุณลองสัมผัสกับความรู้สึกที่มีในใจคุณ ลองสัมผัสต่อความรู้สึกที่มีต่อคู่สนทนาโดยสังเกตที่ใจเราในการรับความรู้สึกนั้น คุณอาจจะได้รู้ว่าปัญหาที่แท้จริงของแต่ละคนมิใช่อยู่ที่การไม่รู้จักพระธรรม แต่ความจริง คือ การไม่น้อมไปสู่พระธรรมนั้นต่างหาก

การน้อม เอ ยังไงคะ
หมายถึง มิได้มุ่งไปสู่การแก้ไข ฝึกหัด พัฒนาตนจริงๆ น่ะคุณ ที่จะมุ่งเน้นไปสู่การแก้ไขความทุกข์บางอย่างที่มีในจิตใจ
แล้วจะรู้ไปทำไมล่ะคะอย่างนั่น เสียเวลาถ้าไม่ได้นำมาใช้หรือเพื่อพัฒนาตนเอง
เข้าใจยากนะคุณ จิตใจของคนเราน่ะ
เปลี่ยนแปลงตลอดล่ะค่ะ ท่านเคยไปสังเวชนียสถานไหมคะ
จ๊ะ เคยไป
อนุโมทนาด้วยค่ะ หนูอยากไปมาก
ทำไมถึงอยากไปล่ะ
เพราะว่าเป็นสถานที่ๆ เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าค่ะ เป็นชาวพุทธควรจะหาโอกาสไป
คุณรู้ไหม สังเวชนียะ แปลว่าอะไร
แปลตรงๆ เลยหรือเปล่าคะ ถ้าแปลตรงๆ คงจะหมายถึง สถานที่เพื่อปลงสังเวช ถ้าผิดช่วยบอกด้วยค่ะ
ถ้าปลงสังเวชอย่างความหมายที่คุณว่า ก็อย่าไปเลย เพราะจะทำให้จิตเกิดความเศร้าหมองหรือเกิดความเบื่อหน่าย เป็นอกุศลเปล่าๆ นะ
คำว่าสังเวชนียสถานนั้น สังเวช แปลว่า เตือนใจให้ระลึก(ถึงกุศล ถึงสิ่งที่ดีงาม หรือเพื่อให้เกิดกุศลจิต) นิย แปลว่า นำไปสู่หรือนำมาสู่ จ๊ะ
การไปสู่สังเวชนียสถานนั้น เพื่อให้เรานั้นระลึกถึงสถานที่นี้ว่า สถานที่นี้ คือ สถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงใช้สอยซึ่งเป็นประจักษ์พยานแห่งการมีอยู่จริงของพระพุทธองค์ และเตือนใจให้ระลึกถึงพระองค์ท่านและคำสั่งสอนของท่านว่ามิให้เราประมาทในการดำเนินชีวิต

สถานที่ที่รำลึกถึงพระพุทธเจ้า
เป็นเหตุให้เกิดความซาบซึ้งในการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีมาสู่เรา ตราบเท่าปัจจุบัน
ใช่ค่ะ
คืนนี้ อาตมาต้องขอตัวล่ะนะ ดึกมากแล้ว ขอเจริญพรคุณ
ค่ะ




 

Create Date : 03 พฤศจิกายน 2549    
Last Update : 16 มีนาคม 2550 12:51:05 น.
Counter : 387 Pageviews.  

ลำดับชั้นคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา / การเข้าใจต่อเรื่องผี 491028


มาอีกแล้ว ขอคำถาม นะ นะ

เพื่อนๆสมาชิกอย่าเพิ่งเบื่อกันนะ


ว่าแต่ว่า ตอนที่พระท่านเห็นคำถาม ท่านจะทำหน้าอย่างนี้หรือเปล่า

....................................................


Chatธรรมวันเสาร์ เรื่องลำดับชั้นคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา / การเข้าใจต่อเรื่องผี
(เมื่อวันที่ ๒๘ ต.ค. ๒๕๔๙)
พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
นมัสการท่านเอกชัยครับ และขอเจริญพรญาติโยมทุกคน

ถ้าคิดผิดทาง การวางตัวต่อกันก็จะผิด says:
กราบนมัสการท่านปิและท่านเอกเจ้าค่ะ ขอนิมนต์ท่านแสดงธรรมด้วยเจ้าค่ะ วันนี้มีหัวข้อคำถามใหม่จากต้นธรรมดังนี้นะคะ
๑. ตัวตน ๒. ประวัติพระพุทธเจ้า
คำถามเก่ามีตกค้างอยู่
1. อริยสัจจ์ข้อที่ 2 ความอยากซึ่งเป็นตัวต้นเหตุของความทุกข์ใจ
2. How to reduce "ego" or "self-delusion"
3. ตามรอยพระอรหันต์ เพื่อเป็นแบบอย่างและประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต
4. วิญญาณ ผี เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมีจริงหรือไม่

ตกลงวันนี้เราจะคุยกันเรื่องอะไรดีล่ะ เห็นว่าสัปดาห์นี้มีคำถามเพียง ๒ ข้อเท่านั้นเอง
เริ่มต้นด้วยคำถามง่ายๆ ของคุณวัฒน์ก่อนก็ได้นะ เพราะไม่ต้องวิเคราะห์อะไร คือ คำถามที่ถามเกี่ยวกับพุทธประวัติตอนออกมหาภิเนษกรมณ์ (ออกบวช)
ตอบว่า ในพระไตรปิฎกส่วนที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เองถึงเรื่องราวในครั้งออกมหาภิเนษกรมณ์นั้น ท่านตรัสว่า ท่านทรงออกบวชต่อหน้าพระราชบิดาที่มีพระเนตรเต็มด้วยอัสสุชล(น้ำตา) ซึ่งในส่วนนี้เป็นพุทธวจนะที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เอง
ส่วนในอรรถกถา กล่าวไว้อีกอย่างหนึ่ง อย่างที่เราคุ้นเคยกัน คือ กล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงหนีออกจากเมืองในเวลาค่ำคืนโดยม้ากัณฑกะ และมีเทวดาคอยช่วยเหลือในการหนีออกไป

ทำไมเราถึงรู้ในอรรถกถากันซะมากกว่า
ในเมืองไทยเรา โดยมากถือเอาตามนัยของอรรถกถานะ ซึ่งได้รจนา(เรียบเรียง)ไว้ เพราะเหตุว่า คำของพระอรรถกถาจารย์นั้น เป็นคำที่ทรงจำได้ง่าย น่าสนใจ น่าติดตาม น่าตื่นเต้นมากกว่า และแสดงถึงพระบุญญาธิการยิ่งกว่า
ซึ่งต้องเข้าใจลักษณะของเผยแพร่พระธรรมคำสอนว่า ในส่วนของพระประวัติของพระบรมศาสดานั้น สำหรับคนทั่วไป จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่พิเศษน่าจดจำ เพื่อให้เหมาะแก่การบอกเล่าต่อๆ กันไป ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และวรรณคดี

อย่างนี้เราก็ได้รู้เรื่องไม่จริงสิ แล้วเรื่องของม้ากัณฑกะเป็นความจริงหรือเปล่าเนี่ย แล้วจะเลือกเชื่ออย่างไรเจ้าคะ
ในเหตุการณ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติหลายอย่าง ก็มีข้อความซึ่งคล้ายจะขัดแย้งกันระหว่างพุทธพจน์กับอรรถกถาบ้างเหมือนกัน เช่นว่า บางเรื่องพระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสไว้แต่อรรถกถาจารย์ก็กล่าวไว้ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และโดยมากแม้ว่าจะดูขัดแย้งกัน ก็มีคำของท่านผู้รู้จำนวนมากซึ่งมากล่าวแก้ให้อรรถกถาอีกทีหนึ่ง
เพื่อให้คล้อยตามกันไปกับพุทธพจน์และไม่ถึงกับขัดแย้งกัน
เช่นว่า ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงมีศีรษะโล้น (ตามเรื่องในพระวินัยปิฏก) แต่ในเชิงอรรถกถากลับกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระเกสาม้วนขนดเป็นรูปก้นหอยเต็มพระเศียร เป็นต้น
พระพุทธเจ้าทรงมีพระสรีระเฉกเช่นคนธรรมดา เพียงแต่สูงกว่าเล็กน้อย แต่อรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้ามีพระสรีระสูงได้ ๑๘ ศอก (๙ เมตร) ยิ่งกว่าคนสามัญ ๓ เท่า
พุทธประวัติในตอนที่ว่าด้วยการเสด็จสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์แสดงพระอภิธรรมเพื่อโปรดพุทธมารดานั้น พระพุทธเจ้าก็มิได้ทรงกล่าวไว้เลย เป็นคำของอรรถกถาจารย์ทั้งสิ้น และมีเฉพาะในพระอภิธรรมปิฎกและอรรถกถา
หรือแม้แต่ประวัติของพุทธสาวกบางพระองค์ เช่น พระวักกลิเถระ ในพระไตรปิฎกกล่าวว่า ท่านกระทำอัตตวินิบาตกรรม(ฆ่าตัวตาย) แล้วเจริญวิปัสสนาในขณะนั้นจนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ แต่อรรถกาจารย์กลับกล่าวว่า ท่านบรรลุธรรมในขณะที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทกลางอากาศแล้วบรรลุธรรม เป็นต้น ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้ก็มีอยู่มากมายนะ เล่าไม่หมดหรอก แต่ก็พอจะเห็นได้ว่า มีลักษณะคล้ายจะขัดแย้งกันอยู่ในบางประเด็น
แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า อรรถกถานั้นผิดหรือกล่าวเท็จ เพราะโดยแท้แล้วเราไม่อาจรู้ได้ถึงเหตุการณ์ที่แท้จริงที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น

รู้จัก, เชื่อ, บังคับ, พอใจ, เคารพ says:
ความน่าเชื่อถือ เราควรจะถือพระไตรปิฎกเป็นอันดับหนึ่งใช่ไหมครับพระอาจารย์

เกณฑ์การตัดสินความถูกต้องของพระธรรมวินัยนั้น สามารถพิจารณาได้จากลำดับชั้นความสำคัญของคัมภีร์ ซึ่งเรียงลำดับดังนี้คือ
๑. พระไตรปิฎก (พุทธวจนะ) เป็นอันดับแรก
๒. คัมภีร์อรรถกถา (คำอธิบายขยายความพุทธวจนะ) เป็นอันดับที่ ๒
๓. คัมภีร์ฎีกา (คำอธิบายขยายความคำอรรถกถาจารย์) เป็นอันดับที่ ๓
๔. คัมภีร์อนุฎีกา (คำอธิบายขยายความคำของฎีกาจารย์) เป็นอันดับที่ ๔
๕. อัตตโนมติ (คัมภีร์ที่นิพนธ์ขึ้นภายหลังคัมภีร์อนุฎีกา) ซึ่งเป็นความเห็นและความเข้าใจของอาจารย์ผู้กล่าวพุทธวจนะนั้น
สงสัยจะ งง กันแล้ว

ง่ะ รู้ได้ไง
คุณเป้ สงสัยวันหลังเราต้องพากันไปที่วัดพระอาจารย์แล้วละ ให้พระอาจารย์ช่วยแนะนำหนังสือแต่ละประเภทอ่ะครับ
สนทนาธรรมกันนอกสถานที่เลย
พระเอกชัย ฐานจาโร says:
คือบันทึกสำหรับบัวเหล่าต่างๆ

ไหนๆ กล่าวแล้ว ก็จะขอขยายความอีกสักนิด เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น
๑.พระไตรปิฎกนั้น เกิดขึ้นจากการสังคายนาพระธรรมวินัย เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงแล้ว ๓ เดือน โดยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ซึ่งถือว่าเป็นการรวบรวมพุทธวจนะล้วนๆ ไม่ปะปนด้วยความเห็นของผู้ใดทั้งสิ้น
๒. คัมภีร์อรรถกถา เกิดขึ้นจากการรวมรวมมติ ความเชื่อ ความเข้าใจ ความเห็นที่เห็นว่าถูกต้องเชื่อถือได้ของคนตั้งแต่สมัยภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน จนถึงประมาณ ๙๕๐ ปี ที่ไม่ขัดแย้งต่อหลักการในพระพุทธศาสนาเข้าไว้ด้วยกัน
๓. คัมภีร์ฎีกา เกิดขึ้นจากการรวบรวมความเข้าใจที่เห็นว่าถูกต้องเช่นกัน เพื่อขยายความอรรถกถาบางส่วนที่เห็นว่ายังกล่าวไว้ใม่ชัดเจนเพียงพอ แล้วอธิบายเพิ่มเติมยิ่งขึ้นอีก เกิดขึ้นหลังพุทธปรินิพพานล่วงแล้วประมาณ ๙๕๐ ปี-๑๕๐๐ ปี
๔. คัมภีร์อนุฎีกา ก็เช่นเดียวกันกับคัมภีร์ข้างต้น เกิดขึ้นหลังพุทธปรินิพพานล่วงแล้วประมาณ ๑๕๐๐ ปี-๒๐๐๐ ปี
หลังจากนี้ ถือเป็นคัมภีร์รุ่นหลัง นับว่าเป็น อัตตโนมติ ทั้งสิ้น

เห็นจะเป็นบัวสี่เหล่าอย่างที่ท่านเอกว่า แล้วคนเจริญในธรรมน้อยลงหรือว่ามีคนรู้จักพุทธมากขึ้น
อืม ครับ
ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง says:
คัมภีร์เยอะจัง

อัตตโนมติ หมายความว่าอย่างไรเจ้าคะ
อัตตโนมติ มาจาก อัตตะ แปลว่า ตน, มติ แปลว่า ความเห็น, อัตตโนมติ จึงแปลว่า เป็นความเห็นของตน หรือเป็นความคิดเห็นของผู้พูดเอง
ขอให้ทุกๆ คนเจอหนังสือที่ถูกกับตนนะ
เอาล่ะ เข้าสู่เนื้อหาที่ต้องการถามได้แล้วจ๊ะ
นี่แค่เกริ่นนำ.. เหรอ อิ อิ ยาวจัง
…………………………………………….

คุณหนุ่ยมีคำถามหรือเปล่าคะ
NUI says:
อยากถามเกี่ยวกับการปฏิบัติน่ะค่ะ วิปัสสนากรรมฐานทำที่บ้าน ในห้องนอนได้ไหมคะ ต้องเดินจงกรมก่อนนั่งสมาธิทุกครั้งหรือไม่

วิปัสสนาทำที่ไหนก็ได้ การเดินจงกรมกับการนั่งสมาธินั้นไม่แตกต่างกัน ซึ่งต่างก็คือการเจริญภาวนา ต่างกันเพียงอิริยาบถที่เปลี่ยนไปเท่านั้น คนส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าการเดินจงกรมและนั่งสมาธินั้นแตกต่างกัน แต่ความจริงแล้วเหมือนกัน
แต่จิตชอบวอกแว่กค่ะ คิดไปเรื่องอื่นอยู่เรื่อย ต้องทำคู่กันหรือเปล่าคะ
คือ โดยธรรมชาติของคนเรา ไม่อาจอยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งได้นานๆ จึงต้องเปลี่ยนอิริยาบถไป เช่น จากนอนแล้วก็ลุกขึ้นนั่ง นั่งนานแล้วเมื่อยขบก็ลุกขึ้นยืน ยืนนานแล้วก็ต้องก้าวเดินไป อย่างนี้เป็นต้น แต่การปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสตินั้น ยังคงทำต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสาย
น.น้ำใจดี (FM89.25Mhz) says:
ขอโอกาสแสดงความเห็นนะครับ นั่งสมาธิและเดินจงกรม เวลาฝึกจะแตกต่างกันโดยวิธีการ และหลักการครับ จุดหมายเริ่มต้นจะดูแตกต่างกัน แต่เป้าหมายสุดท้าย คืออันเดียวกัน

ใครมีข้อสนทนาอีกบ้าง
................................................

เทิด says:
อยู่กันเยอะ เอาเรื่องผีดีกว่าครับ ผมสงสัยมานาน ตัวเองไม่เชื่อว่ามีผีจริง จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่เชื่อ เพราะตั่งแต่เกิดมา ๓๓ ปียังไม่เคยเห็นผีเลย เคยเห็นแต่ในหนัง
ขอโอกาสแสดงความคิดเห็นครับ วิญญาณ ผี เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะมีจริงหรือไม่ ไม่ควรกังวลไปครับ ควรเร่งปฏิบัติทำคุณงามความดีให้มากดีกว่าครับ
แต่ถ้าอยากทราบจริง ควรจะปฏิบัติให้มากๆ จะรู้กันไปเองครับ

เรื่องผีน่ะ ที่ยังไม่เคยเห็น เป็นเรื่องธรรมดานะ แล้วคุณเคยเห็นดาวอังคารไหมล่ะ
คนเราส่วนใหญ่อยากเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ และหาทางพิสูจน์สิ่งต่างๆ แต่ทว่า โดยมากเราไม่สามารถเห็นได้ด้วยตัวเราเองนะ อย่างเช่น ดาวพลูโต เป็นต้น เราเชื่อว่ามีจริง ทั้งที่เราก็ไม่เคยเห็นกับตา แม้จะเห็นในโทรทัศน์ แต่เราจะเชื่อได้อย่างไรว่าเขาไม่โกหกเรา หรือเข้าใจผิดล่ะ

ผมว่าตรรกะนี้ไม่น่าจะนำมาใช้ได้ ศาสนาพุทธน่าจะมีเหตุผลมากกว่าครับ น่าจะบอกว่าต้องฝึกถึงขั้นฌานจึงจะเห็นผี แต่ถ้าพวกเราไม่อยากฝึกฌาน เราก็คงไม่มีโอกาสได้เห็นผี
มีเรื่องอีกมากมายในจักรวาล ที่เราไม่รู้ โลกเป็นแค่ดาวดวงเล็กดวงหนึ่งในวงโคจรของจักรวาล
ผีมีจริงหรือไม่ อาจตอบยาก หากจะทำให้เชื่อถือสำหรับผู้ที่ไม่เคยประสบ แต่เอาเป็นว่า สำหรับในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า มี ก็แล้วกันนะ
การอธิบายนี้เพื่อให้สามารถ ตอบคำถามของผู้ที่ฝึกฌานยังไม่ได้หรือเปล่า ถ้าเช่นนั้นผมก็ยึดว่าผีมีจริงแต่ถ้าเราจะไม่มีทางเห็นเขาถ้าเราไม่มีฌาน ดังนั้น ผมไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องผี
เรื่องอจินไตย รู้ไปก็ไม่เกิดประโยชน์หรอกครับ รู้จักตัวตนให้มากๆ จะดีกว่าครับ
เอาเป็นว่า ผีมีจริง ในพระไตรปิฎก ก็แล้วกันนะ คนที่ต้องการเห็นผี ตามธรรมดาก็ต้องมีจักษุทิพย์นะ ซึ่งเกิดจากการเจริญฌานสมาบัติ จนถึงฌานขั้นสูงสุด (ฌาน๔) แล้วน้อมจิตไปเพื่อให้เกิดอภิญญาขึ้น คือ ให้มีฤทธิ์เกิดขึ้น
ถ้าผีมีจริง ขอถามว่าเขาจะทำอันตรายเราไหม เผื่อผมจะได้เอาไว้บอกน้องๆ ว่า ผีมีจริงแต่เขาจะไม่ทำอันตรายเรา
ผีมีหลายประเภทนะ ที่ทำร้ายเราได้ก็มี ไม่ได้ก็มี อย่างเช่น เปรต สัตว์นรก ทำร้ายเราไม่ได้ รากษส(ผีเสื้อสมุทร) ยักษ์ อย่างนี้ ทำร้ายเราได้
พิ้งP^ i +n *K He is a Hero says:
พิ้งเชื่อเรื่องวิญญาณและเคยเห็นด้วย และเป็นคนไวกะเรื่องพวกนี้ค่ะ ไปนอนโรงพยาบาลก็เจอ ไปนอนโรงแรมก็เจอ ย้ายห้องแทบไม่ทันค่ะ

PaNopอาสารับบริจาคของเล่นมือ 2 จ้า says:
อิอิ ขวัญเอ๋ย ขวัญมา อิอิ

ตามที่ท่านพระปิกล่าว รากษส(ผีเสื้อสมุทร) ยักษ์ อย่างนี้ ทำร้ายเราได้ อยากให้ท่านช่วยขยายความครับ
บางครั้ง เทวดาเนื่องจากยังมีกิเลส มีความโกรธอยู่ บางครั้งเทวดาเกิดความไม่พอใจ เนื่องจากเห็นมนุษย์เราทำไม่ถูกต้อง ก็อาจกระทำการต่างๆ ให้มีอันต้องเป็นไปได้ด้วยอำนาจแห่งตน
แต่หากว่ามนุษย์ทำความดีกับเขา เช่น ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เขา แผ่เมตตาให้เขา เทวดาท่านก็อำนวยอวยพร แถมบางทีถึงกับมาอารักขา ให้ปราศจากความเหตุเภทภัยได้

อืม งั้นนมัสการพระอาจารย์ อธิบายเกี่ยวกับวิญญาณในศาสนาพุทธ ดีไหมครับ คิดว่าบางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจ
จะได้หายกลัวค่ะ พิ้งกลัวมาก
วิญญาณ แปลว่า การรับรู้ มีอยู่ ๖ ทางจ๊ะ คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
แล้ววิญญาณ ที่พวกเราเข้าใจกันละครับ เช่นตายแล้วก็จะเหลือแต่วิญญาณ ไปเกิดเป็นสิ่งโน้นสิ่งนี้
คนตายหรือสัตว์ตายนั้นเหมือนกันนะ คือ ตายแล้วก็เกิดทันที แต่จะเกิดเป็นอะไรนั้นก็สุดแล้วแต่ แต่ถ้ามีเฉพาะวิญญาณอย่างเดียวไม่มีรูปธรรมเข้าประกอบร่วมด้วยนั้นจะอยู่ไม่ได้เลย เว้นแต่อรูปพรหมเท่านั้น จึงจะมีแต่นามธรรมล้วนๆ ได้
เช่นว่า พอคนเราตายปุ๊บ บุคคลนั้นๆ ก็ต้องเกิดทันที ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็ตาม อาจเกิดเป็น เด็กในครรภ์ของมารดาคนต่อไป เกิดเป็นลูกสัตว์เดรัจฉาน เกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ หรือแม้แต่ไปเกิดในนรกเป็นสัตว์นรกก็ได้ และอย่างที่เราๆ พบเจอกันที่เรียกว่า “ผี” นั้น ก็หมายถึงว่า เขานั้นไปเกิดแล้ว แต่กลับไปเกิดเป็นเปรต เป็นอสูรกาย เป็นยักษ์ เป็นปีศาจ หรือเป็นผีเสื้อสมุทร นั่นเอง ซึ่งบางคนก็อาจสามารถเห็นได้นะ ถ้าเขาอยากให้เราเห็น เช่น มาเยี่ยมเยียน หรือต้องการให้ทำบุญอุทิศให้ เป็นต้น

คำถามคำถามหนึ่งครับ สมมุติว่าเราเจอผีจริงแต่เรายืนนิ่งได้ไหม
ได้จ๊ะ ปกติเขาไม่ทำร้ายเราหรอกนะ แต่เขาอาจต้องการบอกอะไรเราบางอย่าง เช่น ขอให้เราอุทิศบุญไปให้ เป็นต้น
ถ้าเรายืนนิ่งแล้วดูจิตเราไปเรื่อยๆ แล้วเขาจะหายไปไหม แสดงว่าถ้าสมมุติ น้องๆ ถามว่าเจอผีทำอย่างไร ก็บอกว่าแผ่เมตตาเท่านั้น ไม่ต้องวิ่งหนีไม่ต้องตกใจ
เขาจะหายไปเองเมื่อเขาไป หรือไม่ต้องการให้เราเห็น การแผ่เมตตาให้เป็นวิธีที่ดีที่สุด
แต่จะแผ่ได้เต็มที่แค่ไหน ถ้าเขาทำร้ายเราอยู่ ต้องใช้ความเมตตามากๆ เลย มากๆ
ปกติเขาไม่ทำร้ายเราหรอกนะ เว้นแต่เราไปทำร้ายเขาก่อน
ถ้าเช่นนั้น อะไรคือหนทางที่ทำให้เราทำร้ายเขาได้ละครับ ซึ่งความจริงเราคงไม่อยากทำหรอก แต่ตามที่ผมเข้าใจบางครั้งก็ต้องใช้พระเดชบ้าง
ที่เขามาทำร้ายเอง สร้างกรรมใหม่ มีไม๊เจ้าคะ อย่างคนเราล่ะ ที่ทำกรรมต่อกัน ต้องมีเวรต่อกันเท่านั้นเหรอ หรือว่าเป็นการสร้างกรรมใหม่ได้ด้วย

ผีก็ไม่ต่างจากคนหรอกนะ ต้องการเมตตาจากเราเช่นเดียวกัน เพราะต่างก็เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกัน ต่างก็พยายามที่จะแสวงหาที่พึ่ง และความปลอดภัย
การที่ผีหรือเทวดาจะมาปรากฏให้ใครเห็น ผมเห็นว่า น่าจะเป็นเพราะกรรมที่มีความเกี่ยวพันธ์กันใช่ไหมครับ เพราะแม้แต่เราเป็นคนด้วยกัน ก็ยังไม่อยากตอแยกับใคร ยกเว้นว่ามีเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องผูกพัน หรือบางทีก็เกิดอาการหมั่นไส้ขึ้นมา ซึ่งผมว่า อาการหมั่นไส้คนๆ หนึ่งที่ไม่เคยเจอกันมาก่อน ก็แสดงว่าเขาเป็นคู่กรรมของเราเช่นกัน ใช่ไหมครับ
จ๊ะ ปกติจะต้องมีเวรต่อกันมาก่อน จึงจะได้มาพบกันหรือถึงขั้นเบียดเบียนกัน แต่โดยมากถ้าเขามาให้เราเห็น ก็เพราะเขาต้องการความช่วยเหลืออะไรบางอย่าง หรือไม่ หากเราต้องการเห็นเขาก็ต้องเจริญฌานสมาบัติจนเกิดทิพยจักษุขึ้น
สรุปคือ เราจะเจอผีก็ต่อเมื่อเขาต้องการให้เราเห็นหรือเราไปทำเวรกรรมกับเขาไว้ และ เราเจอแล้วเราก็ไม่ต้องตกใจหรือวิ่งหนี เพียงแต่แผ่เมตตาและขออโหสิกรรมเขาเท่านั้นก็คงจะเพียงพอ ร่วมทั้งหมั่นทำบุญทำกุศล กรวดน้ำให้กับเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายใช่ไหมครับ
ใช่จ๊ะ
ยังงั้นเราก็รีบไปใส่บาตรหรือถวายสังฆทานให้เค้าๆ ก็จะไม่มารบกวนเราอีกใช่มั๊ยคะ กรณีที่เราเห็นหรือได้กลิ่น หรือฝันน่ะค่ะท่าน
มีอีกเรื่องครับ เราควรจะดูหนังผีไหม ตามความเข้าใจผม คือ เราไม่ควรดูเพราะว่ามันจะเป็นสัญญาที่ติดเข้าไปในหัวสมองเรา ทำให้จิตเราหวั่นไหวได้ ถ้าหากไปเจอเหตุการณ์ที่คล้ายกับในหนัง ซึ่งอาจจะทำให้เราขาดสติ
หนังผีหนังตื่นเต้น ทำขึ้นมา และชอบดูกัน เพราะเพื่อเสพสารหลั่ง อะดรีนาลีน
เราไม่ควรดูหนังผีเลย ตลอดชั่วชีวิต เพราะมันจะเป็นการสั่งสมสัญญาความทรงจำที่ผิดพลาด(สัญญาวิปลาส) ให้เราเกิดความกลัวขึ้นโดยที่ไม่จำเป็น
ไม่ดูแน่นอนค่ะ
เข้าใจแล้วครับ เนื่องจากหนังผีเป็นแนวทางที่ทำให้คนหวาดกลัว โดยสร้างขึ้นจากคนพาล
ไม่ควรสะสมวิปลาส
ผมว่าทำให้ใจคนเราหยาบด้วยนะครับ เพราะว่ามีการฆ่า การทำร้ายกันอ่ะครับ
หากเรามีศีล 5 ครบ ไม่ด่างพร้อย ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องผีหรอกครับ ควรกังวลเรื่องจิตใจตัวเองจะดีกว่า
ถ้าอย่างนั้น คืนนี้ อาตมาขอลาไว้เท่านี้ก่อนนะ ขอฝากพุทธภาษิตไว้ว่า
"สุขา ยาว ชรา สีลํ" ศีลนำความสุขมาให้ตราบเท่าชรา
ขอให้ทุกๆ คนหลับสนิท และมีความเบิกบานในจิตใจ
ขอนมัสการท่านเอกชัยด้วยนะครับที่กรุณาเข้าร่วมวงสนทนา

นมัสการครับ
ขอนมัสการครับ พระอาจารย์
ค่ะ กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ และกราบลาพระอาจารย์ค่ะ
ครับ นมัสการ กราบลาครับพระอาจารย์ ขอบพระคุณมากครับ (ได้ความรู้ใหม่ด้วยคืนนี้ อิอิ)
ขอบพระคุณพระอาจารย์มากเจ้าค่ะ ห้าทุ่มแล้วล่ะ ให้ท่านพักผ่อน
ขอบพระคุณค่ะ กราบลาค่ะ ขอให้เพื่อนทุกคนนอนหลับสนิท ไม่ฝันค่ะ
กราบลาเช่นกันครับ และลาทุกท่านครับ ราตรีสวัสดิ์
ลากันหมดแล้วหรือคะ ป้านพก็ขอกราบมนัสการลาเช่นกันเจ้าค่ะ
....................................................




 

Create Date : 23 ตุลาคม 2549    
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2550 21:21:39 น.
Counter : 828 Pageviews.  

1  2  3  4  

กลุ่มต้นธรรม
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




* * * * * * * * * * * * * * * * * * *

อันเวลาอันนับไม่ได้ที่เราหมักหมมมานานแสนนานแล้วนั้นถ้าเราไม่เริ่มรู้เราก็ไม่เริ่มตัด ถ้าไม่ตัดก็ไม่เห็นปลาย และเวลาอันนับไม่ได้นั้นก็เป็นปลายที่ยังอยู่
web site hit counter
We keep fighting fires because we keep adding fuel.
We truly putout fires only when we remove their fuel.

ถึงโลกกว้างไกล ใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่ รู้บ้างไหม
มองโลกภายนอก มองออกไป
มองโลกภายใน คือใจเรา

Friends' blogs
[Add กลุ่มต้นธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.