AZURE
Group Blog
 
All Blogs
 

ordinal data

หาความสัมพันธ์ของข้อมูลประเภทอันดับ (Ordinal Data)
ก่อนทำการวิเคราะห์และแปลความหมาย

ข้อมูลเชิงอันดับส่วนใหญ่เวลานำมาวิเคราะห์และอ่านค่าจะทำเป็นตาราง 2 ทาง (Crosstabulation) วิธีนี้เหมาะที่จะใช้ในการพิจารณาค่าของตัวแปรต่างๆ ที่ต้องการทำการวิเคราะห์ต่อไปในอนาคตว่า ตัวแปรใดมีความสำคัญและน่าสนใจในการนำมาวิเคราะห์ เช่น อันดับความสุข กับ การจ้างงาน หาก อันดับความสุข แบ่งได้เป็น สุขมาก เฉยๆ ไม่สุข การจ้างงาน แบ่งเป็น ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างรายวัน หากค่าที่ได้ออกมาเป็นคนส่วนใหญ่ที่เป็นลูกจ้างประจำจะตอบว่า มีระดับความสุขอยู่ที่สุขมาก เป็นต้น
ทั้งนี้ ก่อนที่จะอ่านผลนี้ ควรที่จะดูความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรก่อนว่าสามารถทำนายได้หรือไม่ว่า ถ้าคนที่มีสถานภาพการจ้างงานประจำแล้วเค้าจะมีความสุขมาก หากความสัมพันธ์ต่ำ ก็ไม่ควรนำเสนอตาราง 2 ทางนี้ในการเขียนค่า เพราะอาจทำให้สังคมเข้าใจคลาดเคลื่อนได้

วิธีการหาค่าความสัมพันธ์ มี 2 วิธี คือ 1) คำนวณเอง 2) ใช้โปรแกรมทางสถิติ เช่น SPSS คำนวณค่าให้

ในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงวิธีคำนวณเอง หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ George Argyrous.Statistics for Social & Health Research with a Guide to SPSS ใน บทที่ 9 เรื่อง Numerical Description of Ordinal Data

คำสั่งที่ใช้ในการคำนวณหาค่าความสัมพันธ์สำหรับข้อมูลเชิงอันดับ มี 4 คำสั่ง ได้แก่
1. Gamma
2. Somers’ d
3. Kendal’s tau-b
4. Kendal’s tau-c

1. Gamma
เป็นการหาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว ประเภท Symmetric ที่ไม่จำเป็นต้องระบุว่าตัวแปรใดคือตัวแปรตามหรือตัวแปรอิสระ ดังนั้น จึงยังคงเป็นข้อด้อยของการใช้คำสั่งนี้ ค่าที่ได้จากคำสั่งนี้ มีค่าอยู่ระหว่าง -1 ถึง 1
-1 คือ ตัวแปร 2 ตัวนี้ มีความสัมพันธ์เชิงลบ เช่น คนที่มีความสุขมาก อาจเป็นคนที่มีสถานภาพรายวันก็ได้
+1 คือ ความสัมพันธ์เชิงบวก เช่น คนที่มีความสุขมาก ก็ มีสถานภาพการจ้างงานประจำ และ 0 คือ ไม่มีความสัมพันธ์กัน
Gamma ค่อนข้างถูกใช้งานบ่อย เนื่องจากวิธีการคำนวณที่ง่าย แต่ข้อจำกัดของการเลือกใช้คำสั่งนี้ คือ เป็นการวัดค่าความสัมพันธ์แบบ Symmetric และค่าที่ได้เป็นแค่การบอกทิศทางความสัมพันธ์เท่านั้น

2. Somers’d
วัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแบบ asymmetric และต้องทรบว่าตัวแปรใดคือตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ ดังนั้นเมื่อตัวแปรตามเปลี่ยนเป็นตัวแปรอิสระ ค่า Somers’d ก็จะมีค่าเปลี่ยนไป ไม่เหมือนกับ Gamma ที่ไม่ว่าค่าใดจะเป็นตัวแปรตามหรือตัวแปรอิสระ ก็ได้ค่าคำนวณเดิมไม่เปลี่ยนแปลง คำสั่งนี้มีการนำค่า tied cases มาคำนวณเพิ่มด้วย โดยใช้ Cased tied on the dependent variable (Ty) คือ จำนวนตัวแปรตามระดับเดียวกันที่มีตัวแปรอิสระแต่ละระดับ เช่น จำนวนตัวอย่างที่มีระดับความสุขเดียวกัน แต่มีสถานภาพการจ้างงานต่างกัน เป็นต้น

3. Kendall’s tau-b
เป็นการหาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร ประเภท Symmetric แต่ต้องทราบตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ นอกจากนี้มีการนำค่า Ty และ Tx มาใช้ในการคำนวณหาค่าด้วย ค่า Tx คือ จำนวนตัวอย่างที่มีระดับของตัวแปรอิสระเดียวกัน แต่มีค่าตัวแปรตามในระดับต่างกัน โดยปกติตารางแสดงจะมี คอลัมภ์เดียวและถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม และแบ่งเป็นหลายๆ แถว

4. Kendall’s tau-c
เป็นการหาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร ประเภท Symmetric แต่จำนวนแถวและจำนวนคอลัมภ์ของแต่ละตัวแปร




 

Create Date : 03 มิถุนายน 2551    
Last Update : 3 มิถุนายน 2551 16:38:07 น.
Counter : 1473 Pageviews.  


chocomania
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ได้เกิดเป็นคนทั้งที ใช้ชีวิตให้เต็มที่หน่อยดีมั๊ย

แต่ถ้ากระเป๋าตุง ก็คงทำได้อย่างใจอยากแล้วอะนะ
Friends' blogs
[Add chocomania's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.