Bancha
Group Blog
 
All blogs
 
I.O.U.S.A. 'ความจริงที่ไม่น่าอภิรมย์'...

I.O.U.S.A. 'ความจริงที่ไม่น่าอภิรมย์'...


:เป็นชื่อของภาพยนตร์สารคดีที่ฉายในสหรัฐอเมริกาและได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างมากในแวดวงการเงินอยู่ในขณะนี้

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : โดยเป็นภาพยนตร์ที่มาในแนวทางเดียวกันกับ “ความจริงที่ไม่น่าอภิรมย์” (An inconvenient truth) ที่กล่าวถึงความน่ากลัวของโลกร้อน จนสร้างกระแสความตื่นตัวไปทั่วโลก

I.O.U.S.A. ได้แสดงถึงความจริงที่น่าตกใจของสถานภาพทางการเงินของสหรัฐ ด้วยภาษาที่ไม่ยากต่อความเข้าถึงและเข้าใจของผู้คนทั่วไป

โดยมีนายเดวิด เอ็ม วอกเกอร์ อดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง ซึ่งรับตำแหน่งต่อเนื่องยาวนานถึง 10 ปี นับตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีคลินตัน ก่อนที่จะเพิ่งลาออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคม ที่ผ่านมาเป็นผู้เดินเรื่อง ร่วมด้วยผู้ที่ได้รับการยอมรับในแวดวงการเงิน และการลงทุนอย่าง อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ และวอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ของโลก

ภาพยนตร์ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของปัญหาที่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐกำลังประสบ ซึ่งเกิดขึ้นทั้งจากโครงสร้างระดับนโยบาย จนกระทั่งถึงระดับผู้คนทั่วไป ที่มีวิสัยการใช้จ่ายมากกว่าที่สามารถหามาได้

ความจริงที่น่าพรั่นพรึง คือ ในปี 2550 ประเทศจีนมีดุลการค้าเกินดุลสูงที่สุดในโลกถึง 262,000 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่สหรัฐฯขาดดุลการค้าสูงที่สุดในโลกถึง 847,000 ล้านดอลลาร์ โดยในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เจ้าหนี้ของหนี้ภาครัฐเหล่านี้ คือ คนอเมริกัน

แต่ ณ สิ้นปีที่แล้ว 45% ของเจ้าหนี้เหล่านี้กลับกลายเป็นรัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ในปี 2583 หรืออีก 30 ปีข้างหน้า หนี้ภาครัฐของสหรัฐจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 250% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 63%

โดยอัตราการออมของคนอเมริกันยังติดลบในปี 2548 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 71 ปีของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสหรัฐ (ที่มา: Kiplinger.com)

วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจในภาพยนตร์ว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสหรัฐฯได้เริ่มบริโภคมากกว่าที่ผลิตได้ และต้องพึ่งพาแรงงานของประเทศอื่นให้ผลิตสินค้าเพื่อบริโภคในแต่ละวัน และด้วยสหรัฐฯเป็นประเทศที่ร่ำรวยจึงสามารถทำเช่นนี้ได้เป็นระยะเวลายาวนาน และเป็นจำนวนมหาศาล

แต่ที่สุดแล้วก็ไม่อาจทำเช่นนั้นได้ตลอดไป ไม่ต่างกับการใช้บัตรเครดิต ที่เมื่อเราลาออกจากงานและไม่มีรายได้ แต่ยังคงต้องการใช้จ่ายเหมือนเดิม ก็ต้องขายสินทรัพย์ที่มีอยู่ จากนั้นใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้อีกระยะหนึ่ง (เพราะยังคงมีเครดิตอยู่ในสายตาของแบงก์) ที่สุดก็ไม่มีทางอื่นนอกจากต้องผลิตมากยิ่งขึ้นไปอีกเพื่อล้างหนี้ที่มีอยู่

สรุปแล้วเศรษฐกิจของสหรัฐในปัจจุบันอาจเรียกเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่าอยู่ในภาวะ “ถังแตก” ทั้งในระดับรัฐบาลและภาคประชาชน ซึ่งแม้ว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นในประเทศอื่น

แต่อาจถือเป็นบทเรียนในชีวิตจริงได้เป็นอย่างดี ว่าขนาดประเทศมหาอำนาจซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ทั้งด้านเศรษฐกิจ และการเมือง ยามเมื่อใช้เงินเกินตัวต่อเนื่องยาวนานก็เกิดปัญหาที่รุนแรงกระทบกระเทือนความเป็นอยู่ของประชาชนทุกระดับชั้นได้เช่นกัน

สุดท้ายก็มาถึงคำถามที่หลายคนต้องการคำตอบว่า เราในฐานะประชาชนคนธรรมดา ควรจะต้องทำอย่างไรเพื่อเตรียมตัวให้รอดพ้นจากความไม่มั่นคงทางการเงินที่ว่านี้ คงต้องยกเอาคำกล่าวของนายอลัน กรีนสแปน ที่ทิ้งท้ายไว้ในภาพยนตร์ว่า “มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ หากปราศจากทุนสำรองเพื่ออนาคต” (Human being cannot survive unless they create provision for the future.)

แล้วคุณล่ะเตรียมทุนสำรองสำหรับอนาคตแล้วหรือยัง? (ดูตัวอย่างภาพยนตร์ได้ที่ https://www.youtube.com

เรื่อง : ดารบุษป์ ปภาพจน์ : darabusp@ktam.co.th


ที่มา
//www.bangkokbiznews.com/2008/09/01/news_290049.php


Create Date : 02 กันยายน 2551
Last Update : 2 กันยายน 2551 0:36:04 น. 1 comments
Counter : 439 Pageviews.

 
อ่านแล้วห่วงสถานภาพทางการเงินบ้านเราจังเลยค่ะ

ยิ่งการเงินชอบผันผวนตามภาวะการเมืองเสียด้วย

ขอบคุณที่นำมาฝากกันนะคะ


โดย: แค่คนหนึ่งคน วันที่: 2 กันยายน 2551 เวลา:12:22:47 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

rajasit
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Friends' blogs
[Add rajasit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.