Group Blog
 
 
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
28 มิถุนายน 2550
 
All Blogs
 
แนวคิด Moral Hazard and Adverse selection

จากการศึกษาการประกันเงินฝากของสถาบันการเงินที่ทำให้เกิดการบิดเบือน พฤติกรรมแบบนี้ตั้งอยู่บนปรากฏการณ์ที่เรียกว่า moral hazard ทฤษฎีดังกล่าวปรากฏในงานของ McKinnon and Pill (1996) ซึ่งเขียนขึ้นก่อนเกิดวิกฤตในเอเชีย งานนี้ได้รับการอ้างใน Krugman (1998a) ซึ่งเป็นที่รู้จักกว้างขวางกว่า ปรากฏการณ์ moral hazard เกิดขึ้นจากเหตุผลดังต่อไปนี้คือ ในการใช้สินเชื่อเพื่อการลงทุนนั้น ฝ่ายผู้ประกอบการจะมีข้อมูลเกี่ยวกับโครงการเหนือกว่าฝ่ายที่ให้สินเชื่อ เป็นที่ทราบกันมาอย่างน้อยตั้งแต่งานของ Stiglitz and Weiss (1981) แล้วว่า ปัญหาข้อมูลที่ไม่ทัดเทียมกัน (asymmetric information) ดังกล่าวนี้ทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมา ที่เรียกกันว่า adverse selection (คือ ณ อัตราดอกเบี้ยระดับใดระดับหนึ่ง จะมีแต่ผู้ประกอบการที่ให้ผลตอบแทนที่มีการเสี่ยงสูงเท่านั้นที่จะมาขอกู้) และ moral hazard (ผู้ที่ได้สินเชื่อแต่ละรายจะเลือกลงทุนในโครงการ ที่มีความเสี่ยงสูงกว่า) McKinnon and Pill เริ่มต้นจากข้อสังเกตที่ว่า การเปิดตลาดสินเชื่อ (ทั้งในและนอกประเทศ) ให้เสรี มักจะตามมาด้วยภาวะ “สุขนิยม” (optimism) การคาดคะเนผลกำไรจากการลงทุนจะอยู่ในเกณฑ์สูง เพราะนักลงทุนจะคิดว่า การเปิดตลาดให้เสรีในตัวมันเองจะทำให้โครงการ ต่างๆ ดีขึ้นเพราะเศรษฐกิจจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภาวะสุขนิยมเช่นว่านี้ อาจสะท้อนความจริงเพราะเศรษฐกิจอาจดีขึ้นจริงจากการผ่อนคลาย ก็ได้ ถ้าเป็นเช่นนั้น ภาวะสุขนิยมที่ว่านี้ก็จะไม่เสียหายอะไร ถึงแม้ว่า จะมีการกู้เงินจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากในตอนต้น แต่ถ้าหากระบบสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อนั้นได้รับการประกันเงินฝาก ก็จะเกิดปรากฏการณ์ moral hazard ขึ้น ถ้าเรายอมรับว่า อัตราผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้ไม่เป็นตัวแปรที่มีความแน่นอน แต่เป็น random variable ที่มี probability density function (p.d.f.) ในสภาพการณ์ เช่นนี้ สถาบันการเงินที่ได้รับการประกันเงินฝากจะไม่พิจารณาส่วนของ p.d.f. ที่อยู่ทางด้านซ้ายๆ คือช่วงที่จะขาดทุนมากๆ เพราะเหตุว่าถ้าขาดทุน รัฐก็จำต้องมาอุ้ม ดังนั้นนักลงทุนและสถาบันการเงินไม่จำเป็นต้องกังวลถึงช่วงดังกล่าว ในสายตาของสถาบันการเงินเหล่านี้ การหาค่าเฉลี่ยของผลตอบแทนก็จะสูงกว่าที่แท้จริง เพราะได้ตัดปลายด้านซ้ายของ p.d.f. ออกไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ การลงทุนในระบบที่มีการประกันเงินฝาก จะมีการลงทุนมากกว่าที่ควร และจะมีการกู้เงินมากกว่าที่ควร นอกจากนี้ จะเป็นการลงทุนที่เสี่ยงเกินควรอีกด้วย ตามที่อธิบายข้างต้นนี้ พฤติกรรมที่มี moral hazard แฝงอยู่จะก่อให้เกิดการลงทุนเกินควรในเชิงปริมาณแต่อย่างเดียว เพราะมีข้อสมมุติ แฝงอยู่ด้วยว่าอุปทานของสินค้าประเภททุนนั้นมีความยืดหยุ่นที่สมบูรณ์ Krugman (1998a) ชี้ให้เห็นว่า หากความยืดหยุ่นในอุปทานนี้มีค่าจำกัด (เช่นเท่ากับศูนย์ในกรณีที่ดิน) พฤติกรรมการลงทุนที่มี moral hazard แฝงอยู่ก็จะช่วยกระตุ้นให้ราคาทรัพย์สินที่เป็นสินค้าประเภททุน พุ่งสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็วทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ทางราคาอย่างรวดเร็วในตลาดอย่างเช่นตลาดอสังหาริมทรัพย์

จากที่มาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการมีข้อมูลไม่เท่าเทียมกันทำให้การปรับตัวทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคทำได้ไม่สมบูรณ์ ผลคือเกิดกำไรส่วนเกินหรือผลประโยชน์ส่วนเกินในการผลิตหรือการบริโภคเกิดขึ้น ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นได้จาก ปัญหาข้อมูลไม่สมบูรณ์ ทั้งล่าช้าและไม่มีข้อมูล ส่งผลให้การเคลื่อนย้ายทรัพยากรทำได้ไม่สมบูรณ์ อาจเป็นระดับสถาบันหรือปัจเจกบุคคล ข้อมูลไม่สมบูรณ์ก่อให้เกิดปัญหาสำคัญ 2 ประการ

Adverse Selection (Hidden Information) การปกปิดข้อมูล สามารถเกิดทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ความหมายคือเป็นกรณีที่มีการซ่อนข้อมูล เพื่อหวังผลประโยชน์บางประการนั่นคือคนที่จะเข้ามาอยู่ในโครงการจะประเมินแล้วว่ามีผลประโยชน์หรือจะได้รับผลประโยชน์ ปัญหานี้เกิดขึ้นก่อนการตัดสินใจดำเนินการทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการได้รับข่าวสารไม่สมบูรณ์และไม่เท่าเทียมกันของบุคคลในระบบเศรษฐกิจ เช่น กรณีของตลาดการขายรถยนต์มือสอง (Lemon Market) ซึ่งผู้ซื้อไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ที่ตนจะซื้อได้ดีเท่ากับผู้ขายทั้งที่รถยนต์คันนั้นมีสภาพสมบูรณ์ไม่ผ่านการชนหรือซ่อมหนัก กรณีดังกล่าวผู้ซื้อไม่แน่ใจและอาจตัดสินใจไม่ซื้อรถยนต์เลย หรือกรณีของการประกันสุขภาพของบริษัทประกัน ถ้าบริษัทไม่มีการกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เอาประกัน เช่น อายุความเสี่ยงที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภครวมทั้งไม่ผ่านการตรวจสุขภาพกิจการประกันสุขภาพนั้นอาจต้องปิดกิจการ เนื่องจากกลุ่มผู้เอาประกันส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่คิดว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยโดยผู้ที่มีสุขภาพที่ดีไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงกลับไม่ทำประกันสุขภาพ หรือธนาคารจะมีลูกค้ามาขอกู้เงิน ก็อาจจะมีลูกค้าบางคนปิดบังข้อมูลหนี้ หรือเอาสินทรัพย์ที่ธนาคารไม่สามารถขายทอดตลาดได้เมื่อลูกค้าไม่สามารถคืนเงินกู้นั้นได้ก็จะทำให้ธนาคาร เช่นโฉนดที่ดินบุกรุกป่าสงวนที่ออกโดยไม่ถูกต้อง กรณีปกปิดข้อมูลนี้ภาครัฐจะจัดการควบคุมได้ดีกว่าภาคเอกชน

Moral Hazard (Hidden Action) เป็นปัญหาเรื่องคนที่เข้ามาอยู่ในโครงการแล้วมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป ไม่เหมือนกับคนที่ไม่อยู่ในโครงการ เป็นการรู้ข้อมูลแต่ใช้ไปในทางที่ผิดหรือมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน หรือเป็นปัญหานี้เกิดขึ้นภายหลังการตัดสินใจดำเนินการทางเศรษฐกิจแล้วโดยพฤติกรรมภายหลังได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดีหรือมีความเสี่ยงจากการดำเนินการมากขึ้นกว่าเดิม เช่น กรณีที่ผู้ทำประกันภัยรถยนต์มีพฤติกรรมหลังจากการประกันรถยนต์แล้วด้วยการขับรถยนต์ประมาณใช้ความเร็วสูง เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากเมื่อเกิดความเสียหายแล้วบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายแทนตนเองหรือในกรณีของผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยสินเชื่อโดยการหลักค้ำประกันของลูกค้าที่ดี เนื่องจากคิดว่าลูกค้าเสนอให้คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในกิจการนั้นสูงกว่าปกติ การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศดอกเบี้ยต่ำที่ให้กู้ยืมระยะสั้นมาปล่อยกู้โดยคิดดอกเบี้ยอัตราที่สูงภายในประเทศระยะยาวโดยคิดว่าหากเกิดความเสียหายก็อาจขอความช่วยเหลือจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้



Create Date : 28 มิถุนายน 2550
Last Update : 28 มิถุนายน 2550 12:09:53 น. 2 comments
Counter : 36410 Pageviews.

 

น่าสนใจแนวคิด-แนวนโยบายของ ผู้บริหารบอร์ด ปตท.
ที่ประกาศซื้อ-ควบรวมกิจการปั๊มน้ำมัน Jet 146 แห่งทั่วประเทศ วงเงิน 9,600 ล้านบาท ภายใต้..แบรนด์ ปตท.
และอาจเปลี่ยนชื่อใหม่ภายใน 2 ปี ข้างหน้ามีข้อสังเกตุ

บริษัทแม่เจ้าของกิจการ Jet ทั่วโลก คือ ConocoPhillip
ของสหรัฐฯ นั้นได้ขายกิจการปั๊มน้ำมัน Jet ให้กับบริษัท LUKoil เป็นจำนวน 376 แห่ง ในฟินแลนด์ โปแลนด์ และ
ฮังการี ด้วยเช่นเดียวกัน โดยที่ ConocoPhillip ยังคงปั๊ม
Jet ที่เหลืออยู่อีก 500 แห่งในยุโรปเก็บไว้(RIA NOvosit)

ถ้ามองภาพกว้างโดยรวมอาจกล่าวได้ว่ากำลังมีการถ่าย
โอนขายหุ้นกิจการเกี่ยวข้องกับหุ้นพลังานน้ำมันเป็นเงิน
ทำให้เข้าใจแนวคิด-ยุทธศาสตร์ ของ ปตท.ตามไปด้วย
เป็นไปตามกลไกตลาดค้าหุ้น ตลาดน้ำมันก๊าซธรรมชาติ

ไม่เกี่ยวกับการค่อยๆ ถอยออกไปของ"แฟรงค์ สินาตร้า"
หนึ่งในผู้มีส่วนร่วมผลักดัน หุ้น ปตท. จนพุ่งกระฉูดติดลม


โดย: อ.อ่าง IP: 58.8.116.160 วันที่: 29 มิถุนายน 2550 เวลา:10:28:11 น.  

 
ขอบคุณครับ

ให้ความรู้ดีมาก

ปล.ถ้าลองproveให้ดูด้วยจะดีมากครับ


โดย: จ่ายิ้ม IP: 203.131.217.33 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:14:36:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.