ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
10 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
ไข้สมองอักเสบ JE (Japanese encephalitis : JE)

เป็น ข่าวดงขึ้นมาเพราะข่าวทางช่องสามที่คุณสรยุทธนำมาเสนอเกี่ยวกับเด็กหญิง น้ำตาลที่ป่วยเป็นโรคไข้สมองอักเสบ ซึ่งในข่าวของไทยรัฐฉบับบวันที่ 9 กันยายน 2553 ได้ลงข่าวไว้ว่า


"น้องน้ำตาล" ป่วยโรคไข้สมองอักเสบเจอี เดินทางเข้ากรุงเทพแล้ว โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี รับตัวรักษาต่อ แต่ยังต้องดูอาการใกล้ชิด....




เมื่อวันที่ 8 ก.ย.ที่บ้านเลขที่ 38 หมู่ 1 ต.ราชคราม อ.บางไทรจ.อยุธยา นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยภายหลังเดินทางเข้าเยี่ยมด.ญ.จรินทร์นุช ภิรา พิล หรือน้องน้ำตาล อายุ 10 ปี ที่ป่วยแขนขาลีบจากโรคไข้สมองอักเสบเจอี (Japanese E Encephaliti) ว่า กรมการแพทย์ได้รับมอบหมายจาก รมว.สาธารณสุขให้ดูแลรักษาน้องน้ำตาล เนื่องจากมีความเป็นห่วงในอาการของผู้ป่วยรายนี้จึงได้นำคณะแพทย์และพยาบาล จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ให้ความช่วยเหลือ ในการรักษาพยาบาล


จาก การรายงานการรักษาของแพทย์โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา พบว่า ผลการตรวจน้ำไขสันหลัง พบเชื้อไข้สมองอักเสบเจอีซึ่งกรมการแพทย์ จึงได้ประเมินอาการและรับน้องน้ำตาลเพื่อนำตัวมารักษาตัวต่อที่สถาบันสุขภาพ เด็กแห่งชาต มหาราชินีเนื่องจากขณะนี้ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องโภชนาการ การกายภาพบำบัด ระบบทางเดินหายใจ และแผลกดทับ ซึ่งคณะแพทย์ได้วางแผนการดูแลรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น


ต่อ มาเวลา 15.45 น. รถพยาบาลของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้นำตัวน้องน้ำตาลมาถึงที่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โดยมี นางทูล ผู้เป็นย่า และ นางหนึ่ง ผู้เป็นป้า เดินทางมาด้วยโดยมีนพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ และพญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีอำนวยความสะดวก แพทย์ได้นำตัวน้องน้ำตาลเข้าพักที่ หออภิบาลผู้ป่วยระบบประสาท ชั้น 8 เพื่อดูอาการและวางแผนการรักษาต่อไป.


เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันอย่างชัดเจนดีกว่า เราจะป้องกันได้อย่างไรบ้าง กันไว้ดีกว่าแก้นะ


ไข้สมองอักเสบ (Japanese encephalitis : JE)


เป็น โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเจอีที่สมอง โดยมีพาหะสำคัญคือ ยุงรำคาญ ชนิด Culex tritaeniorrhynchus ซึ่งมักแพร่พันธุ์ในนาข้าว โรคนี้เป็นโรคสมองอักเสบ ชนิดที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย


การติดต่อ


โรค นี้มีหมูเป็นรังโรค เชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนในหมูอย่างรวดเร็วโดยไม่มีอาการป่วย เมื่อยุงรำคาญชนิดที่เป็นพาหะ มากัดและดูดเลือด ไวรัสจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในตัวยุง ซึ่งจะสามารถแพร่โรคไปให้คนหรือสัตว์ที่ถูกกัดได้ เช่น ม้า วัว ควาย แพะ แกะ และนก เป็นต้น


แหล่งระบาด


โรค นี้มีรายงานครั้งแรกจากประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันพบโรคนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ ในประเทศไทยพบโรคนี้ได้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการทำนาร่วมกับการเลี้ยงหมู พบผู้ป่วยมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มุกดาหาร กำแพงเพชร สมุทรสาคร และน่าน


อาการ


ผู้ ที่ได้รับเชื้ออาจมี หรือไม่มีอาการป่วยก็ได้ ประมาณว่าผู้ติดเชื้อ 300 คน อาจป่วยเป็นโรคนี้ได้ 1 คน ผู้ป่วยมักแสดงอาการหลังได้รับเชื้อ 5-15 วัน ในระยะแรกจะมีไข้สูง อาเจียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ซึ่งจะกินเวลา 1-7 วัน (ส่วนใหญ่ 2-3 วัน) หลังจากนั้น จะมีอาการทางสมอง เช่น คอแข็ง สติสัมปชัญญะเลวลง ซึม เพ้อคลั่ง ชักหมดสติ หรือมือสั่น อัมพาต ระยะนี้กินเวลา 3-6 วัน ผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจถึงตายได้ในระยะนี้ (อัตราการตายร้อยละ 15-30 ของผู้ป่วย) หลังจากนั้นไข้จะค่อยๆลดลงสู่ปกติ และอาการทางสมองจะค่อยๆดีขึ้น แต่ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจะยังมีความผิดปกติทางสมองเหลือ อยู่ เช่น เกร็ง อัมพาต ชัก ปัญญาอ่อน หงุดหงิดง่าย พูดไม่ชัด เป็นต้น


การวินิจฉัย


วินิจฉัย จากประวัติการอยู่อาศัย หรือเข้าไปในแหล่งระบาดของโรค อาการและการตรวจร่างกายผู้ป่วย การวินิจฉัยที่แน่นอนทำได้โดยการเจาะเลือดและน้ำไขสันหลัง เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสและภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสเจอี


การรักษา


เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้โดยเฉพาะ ดังนั้นจึงมุ่งรักษาตามอาการ และป้องกันโรคแทรกซ้อนในระยะที่มีอาการทางสมอง


การป้องกัน


หลัง จากที่ประเทศญี่ปุ่น จีน เกาหลี ได้ใช้วัคซีนป้องกันโรคนี้ พบว่าผู้ป่วยในประเทศดังกล่าวลดลงอย่างมาก วัคซีนป้องกันโรคที่มีใช้ในประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นวัคซีนที่ผลิตจากไวรัสที่ทำให้ตาย แล้วใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

รวม 3 ครั้ง โดย 2 ครั้งแรกฉีดห่างกัน 1 สัปดาห์ และครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่ 2 นาน 1 ปี

ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรมสามารถผลิตวัคซีนได้ และกระทรวงสาธารณะสุขมีโครงการที่จะฉีดให้เด็กตั้แต่อายุ 1 ปีขึ้นไปทุกคน


สำหรับ การป้องกันอื่นๆ เช่น กำจัดยุง ป้องกันไม่ให้ยุงกัด และควบคุมการเลี้ยงหมูเป็นไปได้ยาก เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม มีการทำนา และเลี้ยงหมูอยู่ทั่วไป


ผู้ ที่จะเข้าไปในแหล่งระบาดของโรค และไม่เคยได้รับวัคซีน ควรได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2 ครั้ง โดยครั้งหลังควรได้รับก่อนเข้าไปแหล่งระบาด 2 สัปดาห์


ที่มา

//www.tm.mahidol.ac.th/tmho/japanese_encephalitis.htm


Create Date : 10 กันยายน 2553
Last Update : 10 กันยายน 2553 11:16:18 น. 1 comments
Counter : 1048 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ


โดย: ชมชล วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:11:57:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.