ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
1 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
"กองทุนเหมืองแร่" อีกหนึ่งทางเลือกของการลงทุน

มารู้จักกับ"กองทุนเหมืองแร่"อีกหนึ่งทางเลือกของการลงทุน



ตอนนี้นักวิเคราะห์หลายคนเริ่มให้ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น โดยได้อานิสงค์ผลพวงจากประเทศจีน ประเทศอินเดีย หรือกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets) ที่เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นนั้นเอง นอกจากกลุ่มประเทศเกิดใหม่เเล้ว ยังมีนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลทั่วโลกใช้กัน

โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า น้ำปะปา รถไฟ หรือแม้กระทั่งการก่อสร้างทางด่วน ซึ่งโครงการเหล่านี้เป็นโครงการเมกะโปรเจคทั้งสิ้น หากมองในแง่เม็ดเงินเเล้วแน่นอนว่าโครงการดังกล่าวจะต้องมีเงินลงทุนจากหลากหลายภาคส่วนเฮโลเข้ามา แต่ในด้านทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยในการผลิตที่สำคัญ นั้นมีอยู่จำกัดและมีความต้องการสูงอีกด้วย

โดย สุทยุต เชื้อพานิช ผู้จัดการ ฝ่ายลงทุน - ตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีมุมมองเกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ในอนาคตว่า สินค้าโภคภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ที่ไม่จำกัดอยู่แต่ในจีนเท่านั้น

ซึ่งการเติบโตอย่างรวดเร็วของประชากรโลก ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นสิ่งที่ทำให้สินค้าโภคภัณฑ์มีความต้องการสูง 3
แต่ ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นได้อย่างช้าๆ เนื่องจากการขาดการลงทุนระยะยาว ใช้เวลายาวนานระหว่างการวางแผนและการผลิต แร่คุณภาพต่ำลง และที่สำคัญมีปัญหาการพัฒนาแหล่งแร่ใหม่ๆ จึงส่งผลให้สินค้าโภคภัณฑ์มีราคาสูงขึ้น

ทั้งนี้การขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐาน หรือ อินฟราสตรั๊คเจอร์ ที่หลายรัฐบาลหลายประเทศทั่้วโลกพยายามผลักดันเป็นนโยบายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ เช่น
Merrill Lynch ประมาณการใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่สูงถึง 22 ล้านล้าน

โดย ประเทศจีน มีงบประมาณ 585,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน 2 ปี เทียบเท่ากับ 14% ของ GDP ซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเหรียญสหรัฐฯ ในอีก 10 ปีข้างหน้า

บราซิล กำลังจะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2014 และเจ้าภาพโอลิมปิคในปี 2016 ซึ่งบราซิลมีแผนที่จะลงทุนมากกว่า 250,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯในโครงสร้างพื้นฐาน และด้านพลังงาน

อินเดีย มีแผนที่จะเพิ่มงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นสองเท่า ประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯในอีก 5 ปี

ส่งผลให้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ได้แก่ ทองแดง, อลูมีเนียม, สังกะสี, นิกเกิล และแร่เหล็ก มีสูงมาก แน่นอนว่าความต้องการนั้นตรงกันข้ามกับการผลิตสินค้าโดยสินเชิง ไม่เว้นแม่แต่สินค้าหรือการผลิตที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งการลงทุนในพลังงานหมุนเวียน โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน และใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องใช้ทองแดงเป็นส่วนประกอบ

โดยการสร้างโรงไฟฟ้า 800 เมกะวัตต์จะต้องใช้ทองแดง 100 ตัน เมื่อเทียบกับ การติดตั้งกังหันลมที่ผลิตไฟฟ้าได้ในปริมาณ ใกล้เคียงกันจะต้องใช้ทองแดง 1,200 ตัน

ส่วนรถยนต์ธรรมดาใช้ทองแดง 8 ถึง 33 กิโลกรัมในการผลิต เมื่อเทียบกับ รถยนต์ไฮบริดจะใช้ทองแดงเพิ่มขึ้นอีก33 กิโลกรัม

สำหรับตึกสำนักงานจะใช้ทองแดงเกือบ 3กิโลกรัม ต่อตารางเมตร เมื่อเทียบกับ อาคารเพื่อสิ่งแวดล้อม (green office building)ใช้ทองแดงถึง 6 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร


สุทยุต กล่าวอีกว่า ในด้านการผลิต ยกตัวอย่างเช่นการผลิตทองแดงนั้น พบว่า Escondida เหมืองทองแดงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกรายงานถึงคุณภาพที่ลดลงของสินแร่ทองแดง BHP Billiton รายงานว่าผลผลิตโดยรวมของเหมืองลดลง 20% ในปี 2552 จากคุณภาพที่ลดลงของสินแร่และปัญหาทางเทคนิค

ส่วนผลผลิตทองแดงทั่วโลกเพิ่มขึ้น 66% ตั้งแต่ปี 2545 โดยครึ่งหนึ่งมาจากปริมาณการผลิตที่มาจากการพัฒนาเหมืองแห่งใหม่ๆ ทั้งนี้ กว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากแหล่ง brownfield มาจาก Escondida, Grasberg, Chuqui, El Teniente และ Morenci อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมา เหมืองทั้ง 5 แห่งนี้ได้รับผลกระทบจากผลผลิตที่น้อยลงอย่างมาก แสดงถึงการขยายตัวที่เต็มที่แล้ว

โดยโครงการผลิตทองแดงในอนาคตนั้น ต้องใช้ระยะเวลานานในการพัฒนาโครงการใหม่ๆเพื่อให้ได้ผลผลิต โดยสูงสุดใช้เวลาถึง 10 ปี โครงการเหมืองใหม่ๆต้องการเงินลงทุนเป็นจำนวนมหาศาล

- โครงการใหม่หลายแห่งอยู่ในประเทศที่ไม่มีความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ (ได้แก่ สาธารณรัฐคองโก และปากีสถาน)

- โครงการในประเทศที่พัฒนาแล้วก็เผชิญปัญหาใหญ่ได้เช่นกันกรณีเหมือง Pebble และเหมือง Resolution ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความอ่อนไหวด้านนิเวศวิทยาในอลาสก้า เป็นเหตุให้ถูกต่อต้านอย่างหนักจากภาคประชาชน

- โครงการหลายแห่งที่ถูกวางแผนไว้แล้วเริ่มเผชิญความไม่แน่นอนในการดำเนินการ เนื่องจากประสบปัญหา เช่น ปัญหาสภาพแวดล้อม ความเสี่ยงทางการเมือง ความเสี่ยงทางเทคโนโลยีและการหาแหล่งเงินทุน

สรุปเเล้ว บทบาทระหว่างปริมาณการผลิตและปริมาณความต้องการยังคงมีความน่าสนใจมากทั้งในระยะกลางและระยะยาว


-ในการใช้งานของสินค้าโภคภัณฑ์บางประเภทนั้น ไม่สามารถใช้สิ่งอื่นมาทดแทนได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างพื้นฐาน)

-รัฐบาลได้กันเงินไว้เป็นปริมาณมากเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
-สินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดมีปริมาณจำกัดอยู่แล้ว

อุตสาหกรรมเหล็กและเหมืองแร่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจที่สุดในตลาดด้านทรัพยากรโลก
- ในทางตรงข้ามกับอุตสาหกรรมพลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์ไม่สามารถใช้สิ่งอื่นมา ทดแทนได้

- ในทางตรงข้ามกับอุตสาหกรรมด้านเกษตรกรรม การตอบสนองทางการผลิตเป็นไปได้อย่างช้ามาก

การลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ทำกำไรในอุตสาหกรรมเหล็กและเหมืองแร่ ขณะนี้มีความน่าสนใจกว่าการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์โดยตรง
-ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ไม่จำเป็นต้องพุ่งขึ้นอีกเพื่อดึงราคาหุ้น ระดับราคาหุ้นปัจจุบันยังไม่ได้ปรับเข้ากับสถานการณ์จริง

- นักลงทุนมีผลพลอยได้จากปริมาณหุ้นที่สูงขึ้น ซึ่งเปน็ ไปไม่ได้ถ้าลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์โดยตรง

- การลงทุนในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจอย่างแร่เหล็กและถ่านหินมีเพียงทางเดียวคือการซื้อหุ้นของบริษัท

สำหรับกองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ เมทัล แอนด์ ไมน์นิ่ง ฟันด์ (KTAM World Metals and Mining Fund: KT-MINING) นั้นเป็นกองทุนรวมอุตสาหกรรมอีกกองทุนหนึ่ง มีทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท โดยลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิในกองทุนรวมหลัก ซึ่งได้แก่ Allianz RCM Rohstoffonds บริหารโดย RCM หนึ่งในกลุ่มบริษัทจัดการลงทุน Allianz Global Investors และ Allianz Group หนึ่งในผู้ให้บริการด้านการเงินระดับโลก โดยกองทุนจะไม่ใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ทั้งนี้กองทุนรวมหลักมีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนชั้นนำทั่วโลกซึ่งดำเนินธุรกิจด้านเหมืองแร่ และการผลิต ได้แก่ โลหะที่ไม่มีส่วนประกอบของเหล็ก เช่น นิกเกิล ทองแดง อลูมิเนียม รวมถึงเหล็ก และแร่อื่น ๆ เหล็กกล้า ถ่านหิน โลหะมีค่า เช่น ทอง แพลทินัม เพชร เกลือ และแร่อุตสาหกรรม เช่น กำมะถัน เป็นต้น กองทุนนี้มุ่งที่จะให้โอกาสในการรับผลตอบแทนจากกำไรส่วนเกินของหุ้นในระยะยาว โดยขนาดมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมหลัก ณ วันที่ 3 มีนาคม 2553 อยู่ที่ 1,134.94 ล้านยูโร หรือประมาณ 49,680 ล้านบาท และได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ AA- โดย สแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส นับตั้งแต่ปี 2007 ปัจจุบันกองทุนรวมหลักให้อัตราผลตอบแทนย้อนหลังเฉลี่ย 17.80% ต่อปี ในช่วง 5 ปี และ 15.21% ต่อปี ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

โดยกองทุนรวมหลักบริหารโดยทีมงานที่แข็งแกร่ง และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมสินแร่และโลหะมากว่า 20 ปี ถือเป็นหนึ่งในผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์มากที่สุดคนหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ นอกจากทีมจัดการลงทุนที่มีความสามารถแล้ว RCMยังมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการประมาณ 141.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552) และบริษัทยังได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย รวมถึง Lipper Award 4 รางวัลในประเภท Asia Asset Management Awards และ 2 รางวัลในประเภท Asian Investors Investment Performance Awards 2009 อีกด้วย


ที่มา
//www.manager.co.th/MutualFund/ViewNews.aspx?NewsID=9530000059222


Create Date : 01 พฤษภาคม 2553
Last Update : 1 พฤษภาคม 2553 16:47:44 น. 1 comments
Counter : 1134 Pageviews.

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 1 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:26:12 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.