ฤๅษีเลตอคุองค์ที่ 9 จากไปแล้ว แต่ความเชื่อฤๅษียังคงอยู่ ประชา แม่จัน, pracha_meachun@yahoo.com, 1 กุมภาพันธ์ 2559 ปี 2555 ผมไปลุ่มแม่จัน อุ้มผาง เมื่อไปถึงม่งคั๋วะ เพื่อนของผมเล่าให้ผมฟังว่า ฤๅษีได้ออกจากเลตอคุ เดินทางเข้าไปในฝั่งพม่า ทำให้ผมคิดว่า ในที่สุดตำนานเลตอคุจะมีฤๅษี 9 องค์น่าจะส่อเค้าเป็นจริง ถ้าฤๅษีองค์ที่ 9 จากไปและไม่หวนกลับมาเลตอคุอีกแล้ว นี่จะเป็นการสิ้นสุดของความเชื่อฤๅษีหรือไม่? ความเชื่อฤๅษีนั้น จะมีพิธีกรรมทางความเชื่อที่ดูเหมือนว่าอยู่บนพื้นฐานวิถีชีวิตและประเพณีของชาวกะเหรี่ยง ข้อห้ามก็อยู่บนข้อห้ามทางสังคมของชุมชนชาวกะเหรี่ยงเช่นกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ ชาวกะเหรี่ยงแม่จันทะที่กลับมานับถือฤๅษี ก็นำโดยทิเล่าเอง ชาวกะเหรี่ยงโพล่งจากสุพรรณบุรี ไม่ใช่ฤๅษีเลตอคุ การสัมภาษณ์ชาวกะเหรี่ยงโพล่ง ด่านช้างสุพรรณบุรี บนเว็บไซต์ต่างๆ เมื่อกล่าวถึงความเชื่อ พวกเขาจะบอกว่า พวกเขาผูกด้ายเหลือง และยึดถือความเชื่อดั้งเดิม ชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ ลุ่มแม่จัน นับถือฤๅษี ที่ตีความคำสอนฤๅษีเลตอคุใหม่โดยลุงพินิจ ส่วนชาวกะเหรี่ยงฝั่งพม่าที่นับถือฤๅษี ยังควรจะแสดงออกความเป็นฤๅษีต่อไป สิ่งที่เป็นไปได้ เนื่องจากกะเหรี่ยงในพม่ามีทั้งคริสต์ และพุทธ จึงไม่น่าจะมีการกดทับต่อความเชื่อดั้งเดิม การแสดงออกความเป็นฤๅษีในช่วงเวลาต่อในฝั่งไทย อาจจะถูกกดทับ เหมือนชาวกะเหรี่ยงในสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ที่ไม่ได้แสดงตัวความเชื่อของตัวเองอย่างเปิดเผย เพราะมีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดด้วยการคมนาคมที่ดีมาก ต่างจากอดีต ลุ่มแม่จันอุ้มผาง หลังจากการโจมตีค่าย ตชด.ในปี 2535 หลายหมู่บ้านมีการตั้งสำนักสงฆ์ และนิมนต์พระมาประจำในช่วงเข้าพรรษา นี่จะแสดงว่า พวกเขาได้เปลี่ยนไปเป็นชาวพุทธแล้วหรือ? คำตอบ อาจจะไม่ ครั้งหนึ่ง ลุงเลาเลาหรือพะหม่อลา เล่าให้ฟัง มีอดีตสหายคนหนึ่งมาเผยแพร่ศาสนาอิสลาม เขาตอบอดีตสหายคนนั้นว่า พวกเขานับถือศาสนาตามรัฐบาล ถ้าตีความว่า ความเชื่อฤๅษี หมายถึงความเชื่อดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง ความเชื่อที่ยึดถือธรรมชาติ โดยไม่ยึดถือฤๅษีเลตอคุ แล้วความเชื่อนี้จะคงอยู่ต่อไป เช่น การแสดงออกด้วยพิธีผูกมือเรียกขวัญ หมายเหตุ ขอพักการเขียนเกี่ยวกับชาวกะเหรี่ยงอุ้มผางและทุ่งใหญ่ สักระยะหนึ่ง แล้วจะกลับมาพบกันอีก thx u crab
โดย: Kavanich96 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:3:31:36 น.
|
บทความทั้งหมด
|