เสียงจากปกากะญออุ้มผางกับการท่องเที่ยว
ประชา แม่จัน
pracha_meachun@yahoo.com

พวกเรายินดีต้อนรับทุกท่านที่มาเยือน แต่ไม่เอาการท่องเที่ยว

อุ้มผางในปี 2549 นี้ เป็นปีที่ฝนตกมากที่สุดในรอบ 15 ปีนับตั้งแต่ปี 2534 เชื่อว่าจะทำให้ทีล่อซูเป็นน้ำตกที่สวยงามด้วยนำปริมาณมหาศาล นอกจากน้ำตกทีหล่อชูแล้ว หุบเขาในอุ้มผางยังมีสถานที่สวยงามมากมาย หลายสถานที่มีชื่อเสียงแต่ไปถึงลำบาก เช่น บึงลากะโต ที่ต้องเดินเท้าจากบ้านเซปะละเป็นระยะทาง 1 วันครึ่งของกะเหรี่ยง แม่น้ำแม่กลองรอดเขาถัดจากบ้านเซปะละประมาณ 3 ชั่วโมงกะเหรี่ยง ทุ่งมอละโกะปรอส่วนหนึ่งของทุ่งใหญ่นเรศวรที่มีสัตว์ป่ามากมาย เขามอโกตู ยอดเขาสูงชายแดนไทยพม่ากับแหล่งน้ำตกที่ท้าทายหลายแห่ง ใกล้บ้านทิจอชีและกุยเลอตอ

ชาวปกากะญอกับป่า

ผืนป่าเขาแหล่งสุดท้ายของประเทศส่วนใหญ่อยู่ตามแนวชายแดนไทยพม่าและที่อาศัยของชาวปกากะญอ แน่นอนด้วยวิถีชีวิตของพวกเขาในฐานะผู้รักษาป่าเขาเหล่านี้ แต่กลับถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ตลอดเวลา

พื้นที่เขตป่าเขาของอุ้มผางที่ส่วนหนึ่งแนวป่าผืนนี้เป็นที่อาศัยของชาวปกากะญอ (กะเหรี่ยง) ผู้นิสัยใจคอและวิถีชีวิตคล้ายกับคนไทยในอดีต พวกเขามีการต้อนรับผู้เยือนดีมาก หลายครั้งที่เมื่อมีแขกมาถึงบ้านทั้งที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน พวกเขาจะทำอาหารเลี้ยงต้อนรับอย่างดีด้วยการฆ่าไก่ ออกหาปลา แม้กระทั่งซื้อปลากระป๋องทั้งที่พวกเขายากจน (รายได้เฉลี่ยปีละ 3,000 บาทต่อครัวเรือน)

พวกเขารู้จักคุณค่าของธรรมชาติและใช้ทรัพยากรเหล่านี้อย่างระมัดระวัง ไม่มีการไร่ที่ขุนห้วย ทำไร่แบบหมุนเวียนที่ทำให้ป่ามีการฟื้นตัว วิถีชีวิตของพวกเขาทำให้ป่าแถบนี้เป็นมรดกของประเทศไทย

การท่องเที่ยวกับชาวปกากะญอในอุ้มผาง

ในแต่ละปี ทีหล่อชูเป็นแหล่งดึงดูดใจให้คนมาเยือนอุ้มผางปีละหลายหมื่นคน ในช่วงวันหยุดยาว น้ำตกทีลอซูมีนักเที่ยวมากางเต็นท์ค้างแรมจำนวนมาก บางครั้งประมาณ 2,000 คน แต่รายได้จากการท่องเที่ยวไม่เคยถึงท้องถิ่น ส่วนใหญ่อยู่ในอุ้มผาง โดยเฉพาะผู้ประกอบการท่องเที่ยว

การแสวงหากำไรสูงสุดเป็นเป้าหมายของผู้ประกอบการธุรกิจ รวมถึงผู้ประกอบการท่องเที่ยว ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาที่คนกลุ่มนี้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ชาวปกากะญอรักษาไว้มาสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเอง

ตัวอย่างบ้านโคะทะ ผู้ประกอบการท่องจัดการท่องเที่ยวแบบโฮมเสตย์ โดยการสร้างบ้านของตัวเองไว้และให้นักท่องเที่ยวเข้าพัก หรือบางชุดพานักท่องเที่ยวค้างแรมใกล้บ้าน ผู้ประกอบการเหล่านี้ใช้ป่าเขาธรรมชาติ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม และประเพณีของเขามาแสวงหาผลประโยชน์ โดยไม่มีจัดสรรแบ่งคืนกลับไปสู่ผู้รักษาธรรมชาติและในฐานะวัตถุของแหล่งรายได้แม้แต่น้อย
ชาวบ้านโคะทะนอกจากเป็นแหล่งรายได้ให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวแล้ว พวกเขามีหน้าที่เก็บขยะที่นักท่องเที่ยวคณะแล้ว คณะเล่าที่ผ่านไปได้ทิ้งไว้

วัฒนธรรมของเราไม่มีไว้ขาย

จอวาโพ บ้านกุยต๊ะ หมู่ 6 ตำบลแม่จัน ในปี 2547 ได้นำชาวบ้านประมาณ 100 คน อดข้าวประท้วงเจ้าหน้าที่อุทยานที่จำกัดพื้นที่เพาะปลุกของชาวบ้าน ในครั้งนั้นเขาได้ทำสิ่งทอ เครื่องจักรสาน เครื่องดนตรี เครื่องมือในการดำรงอื่นๆขึ้นมา ในการอดข้าวครั้งนั้น เจ้าหน้าที่จากจังหวัดได้กล่าวกับเขาว่า “พวกเขาลดการเพาะปลูกและทำเครื่องจักรสานออกจำหน่ายจะดีกว่า” เขาตอบว่า “ถ้าเครื่องจักรสานขายดี เราก็ต้องไปตัดไม้ทำลายป่าของพวกคุณมาทำเครื่องจักรสาน” เจ้าหน้าที่ผู้นั้นได้ขอซื้อเครื่องจักรสาน เขาตอบว่า “สิ่งของเครื่องใช้ที่พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย สืบทอดมานี้ไม่ได้มีไว้ขาย ถ้าอยากได้ให้เอาไปเลย ไม่ต้องซื้อ” เมื่อการอดข้าวยุติลง เขาได้นำสิ่งที่เขาทำขึ้นมาจัดทำเป็นพิพิทธภัณฑ์วัฒนธรรม เมื่อมีผู้ขอซื้อ เขายืนยันว่า วัฒนธรรมของเขาไม่มีไว้ขาย

ยินดีต้อนรับทุกแต่ไม่เอาการท่องเที่ยว

ในตำบลแม่จันมีบางหมู่บ้านที่ต้องการให้นักท่องเที่ยวเข้าไปโดยหวังว่าพวกเขาจะได้ค่าจ้างการเป็นลูกหาบหรือนำทาง แต่มีบางหมู่บ้าน เช่น บ้านกรูโบ หมู่ 8 ที่มีแหล่งอาศัยของนกเงือก จากการเปิดเผยของครูเจี๊ยบ (ครูนฤมล แก้วสัมฤทธิ์) บอกว่า ชาวบ้านมีความเห็นว่าไม่ควรเปิดเป็นแหล่งเที่ยว เพราะพวกเขาคงไม่ได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวและต้องค่อยเก็บขยะเหมือนชาวบ้านโคะทะ

จอวาเอหรืออดีตสหายจริงจัง สมาชิก อบต. หมู่บ้านทิจอชี หมู่ 11 ตำบล แม่จัน ได้กล่าวว่า เขาได้ห้ามเจ้าหน้าที่อุทยานมาสำรวจน้ำตกในเขตหมู่บ้านและนำไปเปิดสถานที่ท่องเที่ยว เพราะการท่องเที่ยวจะนำการเสื่อมเสียทางวัฒนธรรม การแต่งตัวโป๊ แสดงความรักเปิดเผย และอีกหลายที่ขัดกับวัฒนธรรมของเขา รายได้การท่องเที่ยวส่วนใหญ่ตกอยู่ในอุ้มผาง ไม่บ้านถึงบ้านของพวกเรา

สำหรับพวกเรายินดีต้อนรับทุกท่านที่มาเยือน แต่ไม่เอาการท่องเที่ยว

ที่มา
ประชา แม่จัน. “เสียงจากปกากะญอ อุ้มผางกับการท่องเที่ยว”, สยามปริทัศน์ (1 ธค.2549-1 มค.2550) :36-37

ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย

ประชา แม่จัน ผู้เขียน "อุ้มผางเบื้องหลังธรรมชาติ", จุลภาค, 2551



Create Date : 03 กรกฎาคม 2552
Last Update : 26 กรกฎาคม 2552 23:26:39 น.
Counter : 1347 Pageviews.

5 comments
Bali Sightseeing Tour Deals: How to Find the Best Ones Without Breaking a Sweat สมาชิกหมายเลข 7911596
(23 พ.ย. 2567 10:41:41 น.)
»FFF#101« เผ็ด เปรี้ยว แซ่บ ◆ตำลาวรวมมิตร◆ nonnoiGiwGiw
(20 พ.ย. 2567 15:26:07 น.)
ทนายอ้วนชวนเที่ยวใกล้ๆบ้าน - วัดแสงสิริธรรม นนทบุรี ทนายอ้วน
(18 พ.ย. 2567 12:18:32 น.)
เดินทางวันแรก, Just Sleep Ximending สายหมอกและก้อนเมฆ
(18 พ.ย. 2567 15:26:29 น.)
  
Love Gm O
โดย: Lovevill IP: 182.52.123.77 วันที่: 16 กันยายน 2553 เวลา:10:55:09 น.
  
ดีคับ แวะมาเก็บข้อมูลน่ะคับ
โดย: www.24hotcasino.com IP: 110.164.235.50 วันที่: 4 ธันวาคม 2553 เวลา:12:19:53 น.
  
ถูกต้องสฃท่ีสุด วัฒนธรรมไม่ได้มีไว้ขาย
การท่องเที่ยว(ท่ีถูกทางการส่งเสริม)คือตัวร้ายท่ีนำความเสือมมาสู่หมู่บ้าน มาสู่ชาวบ้านป่าท่ีใสบริสุทธิ์
ขอแสดงความเคารพในมุมมองหรือสายตา(ไม่ชอบใช้คำว่าวิสัยทัศน์)ของชาวบ้านและผู้นำหมู่บ้านท่ีตัดไฟแต่ต้นลมป้องกันไว้ก่อน แต่ไม่รู้ว่าจะต้านทานการไหลบ่าของอารยธรรมใหม่ท่ีเป็นท่ีกระหายของคนรุ่นใหม่ได้หรือเปล่า
ผมอ่านสารคดี เรื่องหมู่บ้านฤาษี เลตองคุแล้วก็รู้สึกใจหายเมื่อผู้เขียนลงท้ายว่า ขากลับเดินสวนกับผัวเมียคู่หนึ่งกำลังแบกหามหอบหิ้วอุปกรณ์จานรับสัญญาณดาวเทียมเข้าไปในหมู่บ้านแล้ว ไม่แน่เขาอาจจะรับสัญญาณจากช่องพม่าก็ได้
แต่ว่าท่ีช่องพม่าก็กำลังเห่อเทรนเกาหลีเช่นเดียวกับไทยนี่แหละ
โดย: หนานเตอะ akkapunyo58@gmail.com IP: 58.9.215.3 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:21:41:39 น.
  
สวัสดี คุณหนานเตอะ

จานดาวเทียมที่ชาวบ้านหิ้วมาเป็นจานรับสัญญาณจากทีวีไทย ผมไม่เคยได้ดูทีวีพม่า

ถึงแม้ว่า ผมไม่ชอบการไหลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตก เพราะเข้ามาแบบครอบงำ มิใช่การดูดกลืนจากเจ้าของวัฒนธรรม แต่ว่าทุกคนควรมีสิทธิในการเลือก ซึ่งเราจะสร้างอัตลักษณ์และความภาคภูมิของคนเหล่านี้อย่างไร ที่ทำให้การรับเข้ามาเป็นแบบการปรับเข้าสู่รากฐานดั้งเดิมได้ เพื่อรักษาความเป็นตัวของตัวเองท่ามกลางโลกของการเปลี่ยนแปลง
โดย: ประชา แม่จัน (wideteam ) วันที่: 14 กรกฎาคม 2555 เวลา:15:13:29 น.
  
เรียน คุณประชา แม่จัน ผมเห็นด้วยกับอุดมการณ์และแนวคิดของคุณครับ วิถีปากะญอเป็นวิถีแห่งป่าโดยแท้จริง มันเป็นบทพิสูจน์อย่างหนึ่งของคนกับป่าที่อาศัยและเกื้อกูลกันได้อย่างเหมาะสม ระบบไร่หมุนเวียนเป็นระบบการทำการเกษตรผสมผสานที่มีความยั่งยืนคู่กับป่าอุ้มผางมาช้านาน แต่ปัจจุบันไร่หมุนเวียนซึ่งเปรียบเสมือนความอยู่รอดของชาวปากะญอได้ถูกคุกคามจากพืชเชิงเดี่ยว ได้แก่ ข้าวโพด ยางพารา มันสำปะหลัง เป็นต้น พืชเหล่านี้ช่วยให้ชาวบ้านมีรถยนต์ รถอีต๊อก รถมอเตอร์ไซค์ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ก็จริงอยู่แต่ทำให้ชาวบ้านหลายคน หลายหมู่บ้าน มีหนีสินเพิ่มขึ้นเพราะความหลงในความเจริญทางด้านวัตถุนิยม ทำให้ลืมวิถีปากะญอซึ่งเป็นวิถีแห่งความพอเพียงของบรรพบรุษที่สืบทอดกันมา ดังนั้นการที่จะดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามของชาวปากะญอซึ่งมีผลเกี่ยวเนื่องถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าอุ้มผาง มีน้ำตกทีลอซูที่สวยงามตลอดทั้งปี เราต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับแขกผู้มาเยือน และผู้ประกอบการทุกคนให้เข้าใจถึงวิถีปากะญอ ความเกื้อกูลกันอย่างยั่งยืนระหว่างคนกับป่า และรับมือกับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นอย่างรู้เท่าทันครับ
โดย: เขยเดลอคี IP: 182.53.0.241 วันที่: 22 ธันวาคม 2555 เวลา:16:19:24 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Wide.BlogGang.com

wideteam
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด