วันฝนพรำ ที่อัมพวา (ตอนจบ)



วันฝนพรำ ที่อัมพวา
(ตอนจบ)




อ่าตอนที่ 1 : คลิ๊กที่นี่
อ่าตอนที่ 2 : คลิ๊กที่นี่
อ่าตอนที่ 3 : คลิ๊กที่นี่



....ตอนที่แล้ว เราพาท่านผู้อ่านไปไหว้พระตามวัดต่างๆ มาครับ ถึงตอนนี้เรามีวัดที่จะต้องไปเยี่ยมและไหว้พระกันอีก 2 วัดด้วยกัน พร้อมกับพาท่านนั่งเรือชมตลาดอัมพวา ตอนสายๆที่เงียบสงบ ในบรรยากาศตามหัวข้อเรื่องเลยล่ะ คือ "วันฝนพรำ ที่อัมพวา" คือตอนนี้ทั้งตอน ถ่ายภาพท่ามกลางสายฝนพรำเลยล่ะครับ.... แต่ก่อนอื่น เราจะพาท่านไปเที่ยวชม อุทยาน ร.2 ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆสถานที่สำคัญที่ท่านไม่ควรพลาด เมื่อมาเยือนอัมพวา...




เรือตกกุ้ง




อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
( อุทยาน ร.2 )


อุทยานนี้เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานศิลปะอันงดงามไว้ เป็นมรดกแก่ชาติและได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดป้ายอุทยานเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2522 และเปิดให้ประชาชนเข้าชมภายในอุทยานได้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530




ต้นลำพู




ชาละวัน และไกรทองที่อุทยาน ร.2




อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้




ในอุทยานฯ




ส่วนที่หนึ่ง
ลานจอดรถหน้าอุทยาน ปัจจุบันมีที่ขายสินค้าพื้นเมืองและผลไม้ และอาศรมศึกษาซึ่งเป็นเรือนไทยโบราณ

ส่วนที่สอง
เป็นโรงละครกลางแจ้ง มีเนินลดหลั่นสำหรับชมการแสดง และปลูกพันธุ์ไม้ต่างๆ

ส่วนที่สาม
อาคารทรงไทย 5 หลัง จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ 4 หลัง และอาคารซ้อมโขน ละครและเก็บเครื่องดนตรีไทย 1หลัง

ส่วนที่สี่
สวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิด เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์ไม้ มีหุ่นจำลองเรื่องในวรรณคดี สังข์ทอง ไกรทอง

ส่วนที่ห้า
พื้นที่ติดแม่น้ำ มีศาลาเอนกประสงค์สำหรับนั่งพักผ่อน มีร้านจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่มและสินค้าพื้นเมือง มีเรือประพาสอุทยาน ประชาชนขึ้นชมได้

ส่วนที่หก
พื้นที่ประมาณ 11 ไร่ ซึ่งจะดำเนินการจัดทำสวนและทำสวนเกษตรตามพระราชดำริในองค์ประธาน

พิพิธภัณฑ์พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เป็นอาคารทรงไทย จำนวน 4 หลัง พื้นที่รวม 600 ตารางเมตร จัดพิพิธภัณธ์แบบชาติพันธุ์วิทยา แสดงศิลปวัตถุในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่จะสะท้อนให้เห็นลักษณะศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิตของชาวไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยแบ่งเป็นส่วนดังนี้



พิพิทธภัณฑ์ ร.2




หอกลาง
ภายในประดิษฐ์พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และจัดศิลปโบราณวัตถุสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นต้นว่า เครื่องเบญจงรค์ เครื่องถ้วย หัวโขน ซึ่งเป็นอุปกรณ์การแสดงนาฏกรรมตามบทวรรณคดีพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หุ่นวรรณคดีเรื่องสังข์ทองและอิเหนา หนังใหญ่

ห้องชาย
ทางปีกขวา จัดตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชายไทยที่มีความกล้าหาญ พร้อมในการอาสาปกป้องผืนแผ่นดินตามลักษณะสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพระพุทธรูปสำหรับบูชา สมุดไทย เสื้อขุนนางไทยโบราณ ดาบ โล่ รวมทั้งพระแท่นบรรทมซึ่งเชื่อว่าเป็นของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ห้องหญิง
ตกแต่งให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงไทยโบราณ มีเตียงนอน แบบไทย โต๊ะเครื่องแป้ง คันฉ่อง ฉากปัก เป็นต้น




ชานเรือน





ประตูที่ชานเรือน





ชานเรือน : จัดตามแบบไทยโบราณ ตกแต่งด้วยกระถางไม้ดัด ไม้ประดับ อ่างบัว
ห้องครัวและห้องน้ำ : จัดไว้ที่ชั้นล่างอาคารปีกซ้าย แสดงลักษณะครัวไทยและห้องน้ำของคนชั้นกลาง มีเครื่องหุงต้ม ถ้วยชาม สำหรับอาหาร เป็นต้น
ตำแหน่งศิลาฤกษ์ :แสดงให้เห็นแบบจำลองศิลาฤกษ์ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธี




เรือนไทย




ทางเดินระหว่างเรือน




ทางเดินระหว่างเรือน




ทางเดินระหว่างเรือน




อุทยาน ร.2 ริมแม่น้ำแม่กลอง ด้านหน้าคือต้นลำพู




ผล และดอกลำพู





บ้านริมคลองอัมพวา





เราออกจากอุทยาน ร.2 เพื่อนั่งเรือไปวัดจุฬามณี เรือต้องวกเข้าที่คลองอัมพวาอีกครั้ง ณ เวลานี้ตอนสายประมาณ 10 - 11 โมงเช้าแบบนี้ อัมพวายังไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนมากนัก ส่วนมากจะหนาตาเอาตอนเย็นๆ คือเลย 16.30 น ขึ้นไป บ้านเรือนริมคลองจึงดูสงบเงียบ สมะถะ และใช้ชีวิตแบบอัมพวาจริงๆ




บ้านริมคลองอัมพวา





บ้านริมคลองอัมพวา



บ้านริมคลองอัมพวา





ริมคลองอัมพวาเช้านี้เงียบ สงบ และมีฝนตกตลอดเช้า ผู้คนเลยยังไม่ออกมาเดิน แม้แต่นักท่องเที่ยวก็ยังมองหาไม่ค่อยเห็น อาจเป็นเพราะฝนตกกระมัง แม้แต่ที่ร้านอัมพวา ชัยพัฒนาฯเอง ก็เงียบเหงาเช่นกัน อีกประการหนึ่งนักท่องเที่ยวส่วนมากจะจัดโปรแกรมในวันที่สองให้กับหมู่คณะ หรือส่วนตัวโดยการออกไปชมวัด ซึ่งที่สมุทรสงครามนี้ มีวัดมากมาย ส่วนใหญ่อายุมากกว่าร้อยปี มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ แตกต่างกันไป





บ้านริมคลองอัมพวา





บ้านริมคลองอัมพวา





บ้านริมคลองอัมพวา 7






วัดจุฬามณี

ตั้งอยู่ริมฝั่งคลองอัมพวาห่างจากตัวอำเภออัมพวาเพียง 2 กิโลเมตร เดิมเรียกว่า "วัดแม่ย่าทิพย์" สร้างมาแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติเล่าว่าท้าวแก้วผลึก (น้อย) ซึ่งเป็นนายตลาดบางช้างเป็นผู้สร้างวัดจุฬามณีขึ้น บริเวณด้านหลังวัดห่างไป 5 เส้น เป็นนิวาสถานเดิมของท่านทองและท่านสั้น พระชนกและพระชนนีของสมเด็จพระอัมรินทร์ทรามาตย์ (นาก) พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 ซึ่งภายหลังถูกไฟไหม้ ครอบครัวของท่านจึงย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณวัดอัมพวันเจติยาราม อุโบสถวัดจุฬามณีเดิมสร้างจากไม้สักและไม้เนื้อแข็ง จนถึง พ.ศ. 2511 พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท) ได้เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม หลังจากหลวงพ่อเนื่องมรณภาพในปี พ.ศ.2530 พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (อิฏฐ ภททฺจาโร) ศิษย์เอกของหลวงพ่อเนื่อง ได้ดำเนินการสืบต่อจนแล้วเสร็จ




กราบหลวงปู่เนื่อง




สิ่งที่น่าสนใจ

อุโบสถจตุรมุขหินอ่อน : เป็นอุโบสถจตุรมุขหินอ่อน กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ปูพื้นด้วยหินหยกสีเขียวจากเมืองการาจี ประเทศปากีสถาน ภายในประดิษฐานพระประธานบนฐานสูง ประดับประดาด้วยโคมไฟ บานหน้าต่างด้านนอกลงรักฝังมุกเป็นภาพตราพระราชลัญจกร ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลปัจจุบัน พระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ และะรับรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนภาพเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่าง ๆ บานหน้าต่างด้านในแกะสลักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาดก นอกจากนี้บริเวณฝาผนังโดยรอบพระอุโบสถ ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและนิทานชาดกที่ประณีตงดงาม ฝีมือของจิตรกรหญิงนิตยา ศักดิ์เจริญ ซึ่งใช้เวลาในการวาดนานถึง 6 ปี




ภายในศาลาวัดจุฬามณี




ขนมทองม้วนสูตรโบราณ : บริเวณถนนทางเข้าวัดจุฬามณี จะมีร้านขายขนมทองม้วน ซึ่งผลิตจากสูตรการทำดั้งเดิมที่สืบทอดกันมา มีรสชาติอร่อย และมีชื่อเสียงของอำเภออัมพวา



การเดินทาง
ทางรถยนต์ : จากตัวเมืองสมุทรสงคราม ไปตามทางหลวงหมายเลข 35 (บางแพ-สมุทรสงคราม) เลยทางแยกเข้าอำเภอัมพวาไปประมาณ 200 เมตร ข้ามสะพานข้ามคลองอัมพวา เลี้ยวขวาตรงไปอีก 1 กิโลเมตร ถึงวัด

รถประจำทาง : จากตัวเมืองสมุทรสงคราม นั่งรถสองแถวสายแม่กลอง-วัดจุฬา คิวรถอยู่บริเวณตลาดธนวัท ซึ่งห่างจากสถานีขนส่งสมุทรสงครามไปประมาณ 100 เมตร รถเข้าถึงวัด





แม่ค้าเริ่มมาตลาดอัมพวา





ขากลับออกมาจากวัดจุฬามณี โดยย้อนออกมาทางเดิม เพื่อจะไปต่อที่วัดกุฏีทอง ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำแม่กลอง ตรงข้ามกับอุทยาน ร.2 เราเริ่มเห็นแม่ค้าขับเรือมาจอดแถวๆท่าเรือเทศบาลอัมพวากันบ้างแล้ว... อีกไม่กี่ ชั่วโมงตลาดน้ำยามเย็นอัพมวาคงคึกคักขึ้นมาอีก..




แม่ค้าเริ่มมาตลาด





วัดภุมรินทร์กุฎีทอง

ประวัติกุฏีทอง : มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าวัดบางลี่นั้นมีสมภารอยู่องค์หนึ่งเชี่ยวชาญสมถวิปัสสนาญาณแก่กล้าสามารถนั่งทางในเห็นหตุการณ์ในอดีตและอนาคตได้แม่นยำทำให้มีคนนับถือมากมีเศรษฐีตระกูลหนึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่แขวงบางช้างคืออำเภออัมพวาในปัจจุบัน โดยเรียกว่าเศรษฐีบางช้างเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว บุคคลในตระกูลนี้รับราชการเป็นเจ้าเมืองเช่นพระแม่กลองบุรี(เสม)ต้นตระกูลวงศ์ศาโรจน์พระแม่กลองบุรี(ศร) ต้นตระกูลณบางช้างมีฐานะมั่นคงกว่าตระกูลอื่นในลุ่มน้ำแม่กลองเศรษฐีทองและเศรษฐีสั้นตั้งเรือนอยู่แขวงบางช้างบริเวณวัดจุฬามณีมีบุตรธิดาหลายคนธิดานางหนึ่งชื่อว่านางนาคเป็นกุลสตรีที่มีความงามเป็นที่เลื่องลือสมัยนั้นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยามีพระทัยหมกมุ่นอยู่ในกามคุณแสวงหาสตรีรูปงามไปเป็นนางสนมนางบำเรอจึงโปรดให้มหาดเล็กคอยสืบเสาะหาสตรีรูปงามไปถวายครั้งหนึ่งมหาดเล็กคนสนิทกราบทูลว่ามีสตรีรูปงามในแขวงบางช้างนางหนึ่งเป็นบุตรเศรษฐีบางช้างจึงโปรดให้เจ้าเมืองราชบุรีไป สู่่ขอต่อบิดามารดาด้วยสมัยนั้นเมืองสมุทรสงครามเป็นหัวเมืองขึ้นต่อเมืองราชบุรี ส่วนเมืองราชบุรีเป็นหัวเมืองชั้นโทท่านเศรษฐีทองและภรรยาได้บ่ายเบี่ยงว่าขอถามความสมัครใจของธิดาก่อนจึงนำความไปปรึกษาพระแม่กลองบุรี(เสม)เจ้าเมืองแม่กลองซึ่งเป็นญาติก่อนธิดาเศรษฐีทองไม่สมัครใจเป็นนางสนมในวังเศรษฐีทองสงสารธิดาจึงพร้อมด้วยเจ้าเมืองสมุทรสงครามนำความเข้าหารือกับหลวงพินิจอัษร(ทองดี)เสมียนตรามหาดไทยหลวงพินิจอักษรได้เกิดปัญญาว่านายทองด้วงบุตรชายได้บวชเรียนแล้วยังไม่มีคู่ครองหากได้ธิดาเศรษฐีทองมาเป็นภรรยาก็นับว่าเหมาะสมกันยิ่งนักเพราะเป็นหญิงอุดมไปด้วยทรัพสมบัติและรูปสมบัติฝ่ายชายแลก็รูปงามมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดรับราชการในวังนับว่าเหมาะสมกันดียิ่งนักทั้งยังเป็นเกหราะป้องกันมิให้ธิดาตกเป็นสนมในวังเมื่อคิดอุบายได้ทั้งสองจึงเห็นดีด้วยจึงได้ทำฎีกาเข้ากราบทูลว่าธิดาของท่านเศรษฐีบางช้างตนได้สู่ขอให้นายทองด้วงบุตรชายแล้วขอพระราชทานให้แก่บุตรของตนเสียเถิด พระเจ้าแผ่นดินได้ทราบเพียงกิตติศัพท์ความงามของนางนาคแต่ยังมิเคยได้ทอดพระเนตรรูปร่างหน้าตาจึงมิได้อาลัยและพระราชทานอนุญาติให้วิวาห์ได้ตามประสงค์ ครั้นถึงเมืองสมุทรสงครามเศรษฐีทองจึงชวนภรรยาและธิดาไปทำบุญที่วัดบางลี่บนและขอให้สมภารตรวจโชคชะตาราศีและกำหนดวันวิวาห์มงคลสมภารตรวจดูแล้วจึงได้กล่าวกับเศรษฐีทั้งสองว่าธิดาของท่านจะมีบุญวาสนามากจะได้เป็นนางพญามหากษัตริย์ยกวงศ์ตระกูลให้เป็นสุขเป็นที่พึ่งแก่คนทั้งหลายเศรษฐีทองกล่าวว่าถ้าเป็นจริงจะสร้างกุฎีทองถวายต่อมาธิดาท่านเศรษฐีทองได้วิวาห์มงคลกับนายทองด้วงมหาดเล็ก ต่อมาดำรงตำแหน่งหลวงอร่ามฤทธิ์หลวงยกบัตรราชบุรีและสมุทรสงครามรับราชการในกรุงธนบุรีได้เลื่อนเป็นพระราชวรินทร์เจ้ากรมพระตรวจซ้ายพระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยามหาราช พระยาจักรีสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเมื่อหมดบุญพระเจ้าตากสินมหาราชได้ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์จึงได้เป็นอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินเศรษฐีทั้งสองจึงระลึกถึงคำทำนายของสมภารวัดบางลี่บนจึงได้สร้างกุฎีทองถวายวัดบางลี่บนจึงได้ชื่อว่าวัดบางลี่กุฎีทองเมื่อวัดนี้ถูกน้ำกัดเซาะสูญสิ้นจึงได้ย้ายกุฎีทองมาอยู่วัดภุมรินทร์....







วัดภุมรินทร์นี้สร้างขึ้นในปีพ.ศ.๒๔๓๑โดยนางภู่เถ้าแก่โรงหีบอ้อย ได้บริจาคทรัพย์ร่วมกับลูกหลานซื้อที่ดินสร้างวัด และจึงได้ตั้งชื่อว่า"วัดภุมรินทร์"หลังจากกุฎีทองจากวัดบางลี่บนมา ไว้ที่วัดนี้จึงเรียกชื่อรวมกันว่า "วัดภุมรินทร์กุฎีทอง"

ภายในมีอาคารคอนกรีตสองชั้น สำหรับจัดแสดง โบราณวัตถุนอกจากนี้ยังมี บ้านดนตรี ไทย ซึ่งใช้อาคารโรงเรียนวัดภุมรินทร์กุฎีทองเป็น ที่สอนดนตรีไทยและศิลปะการแสดงพื้นบ้าน และการเชิดหุ่นกระบอกเพื่อฟื้นฟูส่งเสริมมรดก วัฒนธรรมท้องถิ่นของชุ่มชนตำบลสวนหลวงและในจังหวัด

ภายในวัดภุมรินทร์กุฎีทองมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่มากมายล้วนแล้วแต่เป็น ของเก่าที่มีอายุหลายสิบปีจนถึงหลายร้อยปีมีทั้งโบราณสถานและโบราณ
วัตถุ เช่น กุฎีทอง หรือ รอยพระพุทธบาทจำลอง เป็นต้น

(ขอบคุณข้อมูลจาก : //www.phummarin.com)





กุฏีทองสร้างสมัย ร.1




เสาไม้ตะเคียนดั้งเดิมเสาเดียวที่เหลืออยู่





ตอนที่เราขึ้นไปชมกุฏีทอง มีน้องผู้หญิงตามเราขึ้นไป และช่วยอธิบายความเป็นมา ตลอดจนสภาพของเก่าแก่ที่หลงเหลืออยู่ในกุฏีทองให้เราฟัง เหมือนนักเรียนท่องจำให้คุณครูฟัง เราพยามถามเธอหลายอย่าง เธอก็กลับไปท่องจำให้เราฟังอีก พอดีเจ้าพี่ชายที่รู้มากกว่ามาสมทบ และบอกว่าน้องสาวเขาอยากเป็นมัคคุเทศก์ พ่อที่นั่งเฝ้าอยู่ด้านล่างเลยให้ฝึก.... ก็นึกชมน้องเขาอยู่ตลอด ว่าถารสืบทอดความรู้ และช่วยบริการนักท่องเที่ยวนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจวัฒนธรรม ตลอดจนการสรรสร้างภูมิปัญญาอันล้ำค่าของคนรุ่นก่อนๆที่ตกทอดมา และสื่อความหมายต่อไปถึงผู้เข้าชมอย่างเข้าใจ อยากเห็นหลายๆที่ หลายๆแห่งพัฒนาการไปเหมือนน้องสองคนนี้ .... เราให้ค่าขนมและบอกให้พวกเขาหมั่นฝึกฝน อ่าน ถามเกล็ดต่างๆจากผู้ใหญ่ให้มากๆ เผื่อวันข้างหน้าจะได้เป็นมัคคุเทศก์สมใจ





ยุวมัคคุเทศก์ของเรา




รอยพระพุทธบาทจำลองอายุกว่า 200 ปีที่พระอุโบสถวัดกุฏีทอง



ออกจากวัดกุฏีทองเป็นเวลาเลยเที่ยงไปแล้ว เรือพาเราไปส่งที่พักเพื่อไปรับรถจากที่นั่น เมื่อเรามาถึงทางที่พักก็หาน้ำท่า และเชิญชวนให้เราทำธุรกิจส่วนตัว ได้เวลาพอสมควรเราก็จากกันตรงนั้นด้วยมิตรภาพ

เราขับรถย้อนออกมาทางพระราม 2 และวนข้ามสะพานเพื่อไปลอดอีกด้านของสะพาน และวนใต้สะพานแล้วเลี้ยวซ้ายขนานกับพระราม 2 ทางทิศใต้ และเลี้ยวขวาเพื่อไปทานมื้อเที่ยงที่ดอนหอยหลอด



ดอนหอยหลอด

เป็นสันดอนที่เกิดขั้นบริเวณปากแม่น้ำแม่กลองชายฝั่งทะเลของจังหวัดสมุทรสงคราม มีลักษณะเป็นสันดอนใหญ่ตลอดชายฝั่งทะเล อยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 50 เมตร 2,000 เมตรมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 22,000 ไร่ จำนวนดอนที่เกิดขึ้นในขณะนี้มีทั้งหมด 7 ดอน แต่ละดอนแยกจากกันด้วยร่องน้ำเล็ก ๆ ลึกบ้าง ตื้นบ้างดอนที่มีหอยหลอดชุกชุมมากมีจำนวน 5 ดอน ซึ่งเป็นดอนที่เกิดขึ้นนานแล้ว ความหนาแน่นของหอยหลอดบนพื้นที่ประมาณ 15,056.25 ไร่ลักษณะพื้นที่ของดอนหอยหลอดเป็น ลักษณะดินปนทราย ชาวบ้านเรียกว่า "ทรายขี้เป็ด" ซึ่งอาจนำไปใช้ถมที่ได้ แต่ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างไม่ได้หอยหลอดจะอยู่หนาแน่นบริเวณที่มีทรายประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ความหนาแน่นของหอยหลอดขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมในแต่ละปีที่เปลี่ยนแปลงไป

หอยหลอดเป็นสัตว์น้ำทะเลชนิหนึ่ง มีชื่อสามัญว่า Rozor clam และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Solen Strictus Gould 1861จัดเป็นหอยสองฝาที่มีตัวอาศัยอยู่ในฝาที่ประกบทั้งสองข้าง มีลักษณะคล้ายหลอดกาแฟ กลมยาวประมาณ 7-8 เซนติเมตร สีน้ำตาลอ่อน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1เซนติเมตร เป็น ขนาดของหอยที่โตเต็มที่ มีสภาพความเป็นอยู่โดยการฝังตัวตั้งเป็นแนวดิ่งอยู่ใต้พื้นทราย ยามน้ำแห้งซึ่งเป็นช่วงโอกาสที่ชาวประมงจะทำการจับหอยหลอดได้หอยจะเปิดฝาอยู่เรี่ยพื้น และยึดตัวยื่นออกมาจับแพลงตอนเป็นอาหารหรือการเคลื่อนตัวออกไปหาพื้นที่อยู่ใหม่

ดอนหอยหลอด
เนื่องจากดอนหอยหลอดมีหอยหลอดชุกชุมมาก และมีทัศนียภาพที่สวยงาม แปลก และมีเอกลักษณ์ ยามปกติเวลาน้ำขึ้นน้ำทะเลจะท่วม ดอนจะจมหายไปในน้ำไม่มีร่องรอยของดอนหอยหลอดอยู่เลยแต่พอน้ำลงจะปรากฏพื้นที่ดอนหอยหลอดค่อย ๆ โผล่ขึ้นทีละน้อย เป็นพื้นที่กล้างไกลหลายร้อยไร่ จึงทำให้ดอนหอยหลอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง สิ่งที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว คือ หอยหลอด กล่าวกันว่าเป็นแหล่งที่มีหอยหลอดชุกชุมมากที่สุดแห่งเดียวในประเทศไทย หรือแห่งเดียวในโลก นักท่องเที่ยวนิยมลงไปจับหอยหลอดกันอย่างสนุกสนาน วิธีจับก็ใช้มือกดบงบนพื้นทราย จะปรากฏฟองอากาศ และเห็นรูปรากฏเอาไม้จิ้มปูนขาวแหย่ลงไป หอยหลอดจะโผล่ขึ้นมาให้จับ ต้องรีบเก็บใส่ภาชนะไว้มิฉะนั้นจะมุดดินหนีอยู่ลึกลงไปกว่าเดิมอีก

ไม่ควรสาดปูนขาวลงบนสันดอน เพราะจะทำให้หอยที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นตายหมด ช่วงเวลาเหมาะสมที่จะท่องเที่ยวดอนหอยหลอด คือ ประมาณเดือนมีนาคม - พฤษภาคมเพราะน้ำทะเลจะลดลงนานกว่าช่วงเวลาอื่น และสามารถมองเห็นสันดอนโผล่ขึ้นมา นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือบริเวณศาลาอาภร (ใกล้ศาลกรมหลวงชุมพรเขตตอุดมศักดิ์) เพื่อนั่งเรือไปชมดอนหอยหลอด นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามรายละเอียดเวลาน้ำขึ้น - น้ำลง ได้ที่ อบต. บางจะเกร็งโทร 034-723749


หลายคนเข้าใจว่า "หอยหลอด" มีเพียงที่ดอนหอยหลอดที่เดียวในโลก แต่ความจริงแล้วยังมีหอยหลอดในบริเวณอื่นอีก เช่น จ.สมุทรปราการ และ จ.ตราด และในต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย แต่มีในปริมาณน้อย ไม่มากพอที่จะจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดอนหอยหลอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2543

ศาลกรมหลวชุมพรเขตอุดมศักดิ์
บริเวณดอนหอยหลอดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลกรมหลวงชุมพรเขตตอุดมศักดิ์ มีการแสดงดนตรีไทยทุกวันอาทิตย์ที่ 1 และ 3 ของเดือน เวลา 17.00-18.30 น. ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์




ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์





แหล่งรวมร้านอาหารทะเล และสินค้าต่างๆ
ตลอดเส้นทางการเดินไปที่ดอนหอยหลอดจะมีร้านอาหารทะเลมากมาย เรียงรายทั้งสองด้านของถนนจนถึงดอนหอยหลอด จะเรียกว่าเป็นแหล่งรวมร้านอาหารทะเลของสมุทรสงครามก็ว่าได้ นอกจากนี้ยังมีร้านขายสินค้าของที่ระลึก ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งอาหารทะเลสด-แห้ง กะปิคลองโคน น้ำตาลสด ฯลฯ




ร้านขายอาหารทะเลที่ดอนหอยหลอด





การเดินทาง
รถยนต์ :
1. ไปยังหมู่บ้านบางบ่อ ตำบลบางแก้ว ไปตามถนนธนบุรี-ปากท่อ (พระราม2) ก่อนถึงหลักกิโลเมตรที่ 62 มีป้ายซ้ายบอกทางเข้าดอนหอยหลอด ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
2. ไปยังหมู่บ้านฉู่ฉี่ ตำบลบางจะเกร็ง ไปตามถนนธนบุรี-ปากท่อ (พระราม2) ประมาณกิโลเมตรที่ 64 ก่อนข้ามสะพานพุทธเลิศหล้านภาลัย เชิงสะพานมีป้ายบอกทางเข้าดอนหอยหลอดระยะ
ทางประมาณ 5 กิโลเมตร

รถโดยสาร : สามารถเดินทางโดยรถสองแถว มีรถออกตลอดทั้งวันจากตัวตลาดในอำเภอเมืองสมุทรสงคราม ไป ยังบ้านฉู่ฉี่ ดอนหอยหลอด

เรือ : การเดินทางไปยังดอนหอยหลอดนอก จากมีเรือขนาดต่าง ๆ บริการที่ท่าริมน้ำแม่กลอง ถ้าเป็นหมู่คณะใหญ่ประมาณ 40 คนขึ้นไป ติดต่อสอบถามล่วงหน้า ที่โรงเลื่อยจักรซุ่นฮวดเฮง คุณพรทิพย์ แสงวณิชโทร. 034-711466, 034-712558, 034-712451




กังหันลม กับ นาเกลือ





กังหันลม กับ นาเกลือ



บทส่งท้าย

เราเดินทางออกจากเมืองสมุทรสงคราม หรือแม่กลองประมาณ 15.30 น โดยมีเป้าหมายที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยจะพักค้างแรมกันที่นั่นในคืนนี้...

การมาเยือนอัมพวาในครั้งนี้ได้ทั้งบรรยากาศแบบชุมชนชาวคลอง ได้ทั้งความประทับใจจากการต้อนรับขับสู้ของชาวอัมพวาทุกคน อาหารการกินไม่แพงอย่างที่เราคาดการว่าเมื่ออัมพวาได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวค่าใช้จ่ายต่างๆคงแพงขึ้นตามไปด้วย เหมือนเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ หลายครั้งเราควักสะตังค์ออกมาเตรียมจ่ายสำหรับเข้าชมสถานที่ต่างๆด้วยความเคยชิน แต่ที่นี่ไม่คิดค่าใช้จ่ายจากเรา ความพร้อมหลายอย่างของอัมพวา กำลังได้รับการพัฒนา แต่สิ่งที่ผู้เขียนอยากเห็นต่อไปในอนาคต คือ "ความเป็นชุมชนริมคลองอัมพวา" และมีอัทธยาศัยต่อผู้มาเยือนดีเยี่ยมอย่างวันนี้

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการเรียบเรียง "วันฝนพรำ ที่อัมพวา" ในครั้งนี้ทุกแหล่ง ตลอดจนน้ำใจไมตรีของชาวอัมพวา ขออภัยแหล่งข้อมูลบางแหล่งที่ไม่ได้นำมากล่าวถึงในที่นี้ หากมีข้อผิดพลาดอันใด ผู้เขียนยินดีน้อมรับ และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ...

เราขับออกจากนาเกลือ ซึ่งเป็นสถานที่สุดท้าย ที่เราจอดถ่ายภาพ พร้อมเปิดเพลง "ลาสาวแม่กลอง" ของพนม นพพร ฟังไปด้วยความคิดถึง



"สิ้นแสงดาวดุเหว่าเร่าร้อง
จากสุทุมลุ้มน้ำแม่กลองพี่จำจากน้องคนงาม
แว่วหวูดรถไฟพี่แสนอาลัยสมุทรสงคราม
คงละเมอเพ้อพร่ำคิดถึงคนงามที่อยู่แม่กลอง

ราชการทหารเรียกใช้ลูกน้ำเค็มโอ้ทัพเรือไทย
ฝึกเตรียมเอาไว้ทุกกอง
พี่ต้องขอลาจากแล้วกานดาลาถิ่นแม่กลอง
คงหวลมาหาน้องคนสวยแม่กลองคอยพี่กลับมา

เมื่อสงกรานต์งานวัดบ้านแหลม
เคยเที่ยวชมกับโฉมแฉล่ม
เมื่อคืนข้างแรมเมษา
สรงน้ำรวมน้องปิดทองพระปฎิมา
อธิษฐานรักอยู่คู่ฟ้าหวังเกิดมาร่วมใจ

ป้อมพระจุลฯไกลบ้านห่างน้อง
เมื่อฝนมาฟากฟ้าคนองได้ยิยถึงน้องหรือไม่
พี่ส่งสัญญาฝากฟ้าครวญมาจากห้วงหัวใจ
คือเสียงครวญหวนให้ทหารเรือไทยยังห่วงแม่กลอง"



ลาก่อนอัมพวา และแม่กลอง ไม่นานนักเราจะกลับมาเยี่ยมเธออีก และหวังว่า เธอยังเป็นอัมพวาเฉกเช่นวันนี้.






(ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : Meaklongtoday.com , Maeklongcenter.com)




_______จบทริบ______








Create Date : 29 ตุลาคม 2551
Last Update : 9 ตุลาคม 2554 7:56:27 น.
Counter : 13481 Pageviews.

21 comments
29 มิย 68 ทริปชมซากุระ 2025 -8 Lunch @ Mokushundo mcayenne94
(29 มิ.ย. 2568 22:23:02 น.)
Kobe ไร้นาม
(29 มิ.ย. 2568 00:27:44 น.)
แชงกรีล่า - ย่าติง สายหมอกและก้อนเมฆ
(24 มิ.ย. 2568 18:55:31 น.)
ไหว้ท้าวเวสสุวรรณปลดหนี้ ขอพรที่วัดเถรพลาย สุพรรณบุรี นายแว่นขยันเที่ยว
(23 มิ.ย. 2568 00:14:55 น.)
  
รูปสวยมากค่ะ โดยเฉพาะภาพสุดท้ายกับรูปพิพิธภัณฑ์ ร.2 จำ มเษหีขี้หึง เหมือนหนึ่งเสือได้ไหมคะ เรือนนี้แหละค่ะ
โดย: บี่บี๋ IP: 124.121.32.236 วันที่: 29 ตุลาคม 2551 เวลา:18:18:37 น.
  
รูปสวยมากค่ะ โดยเฉพาะรูปสุดท้าย และในพิพิธภัณฑ์ค่ะ
โดย: บีบี๋ IP: 124.121.32.236 วันที่: 29 ตุลาคม 2551 เวลา:18:20:30 น.
  
ขอบคุณมากครับ... อิ่มบุญไหมเอ่ย??
โดย: wicsir วันที่: 29 ตุลาคม 2551 เวลา:18:32:17 น.
  
ที่โรงละครกลางแจ้ง ทุกคราที่สมเด็จพระเทพรัตน์ฯ เสด็จฯ จะมีละครจากตำหนักปลายเนินวัง คลองเตยแสดง ได้ชมโดยเสด็จฯ หลายครั้ง รำได้งดงามมาก สมกับเป็นละครของชาววังจริงๆค่ะ

ยิ่งค่ำยิ่งสบายเพราะลมโชย  ผู้แสดงแต่งตัวงดงาม  ลากพระราชยานทอง   แสงจากสปอร์ตไลท์ สาดแสงจับไปยังชุดอันเพริศแพร้วพรรณราย งามวิบวับจับตา  คุณน่าจะมาเที่ยวซ้ำอีก วันที่ระลึก ร.2 จำได้เลาๆว่า  24 ก.พ.ค่ะ
โดย: บี่บี๋ IP: 124.121.32.236 วันที่: 29 ตุลาคม 2551 เวลา:18:39:58 น.
  
อิ่มบุญมากค่ะ ทำเผื่อคุณและครอบครัว ญาติพี่น้องด้วยค่ะ โปรดรับบุญไปด้วยนะคะ
โดย: บี่บี๋ IP: 124.121.32.236 วันที่: 29 ตุลาคม 2551 เวลา:18:42:01 น.
  
เคยดูแต่ในทีวีครับ ลานที่แสดงอยู่ค่อนไปทางฝั่งแม่น้ำแม่กลอง การแสดงดี บรรยากาศให้ ทุกอย่างจึงดีดังที่เห็นน่ะครับ

ขอบคุณมากครับ สำหรับบุญที่ทำเผื่อ...
โดย: wicsir วันที่: 29 ตุลาคม 2551 เวลา:18:47:48 น.
  
แวะผ่านมาเที่ยวด้วยคนนึง ขอบคุณครับ
โดย: Zantha วันที่: 29 ตุลาคม 2551 เวลา:19:24:55 น.
  
ขอบคุณ Zantha ที่แวะมาเยี่ยมเยือนครับ..
โดย: wicsir วันที่: 29 ตุลาคม 2551 เวลา:19:47:45 น.
  


รูปสวยมากๆค่ะ หลงรักมานานแล้วอัมพวา
โดย: Sweety-around-the-world วันที่: 30 ตุลาคม 2551 เวลา:5:26:56 น.
  
ตามมาเที่ยวตอนจบ

ไปมา 2 รอบ ร้อนมากๆเลย ไม่มีแม้แต่เงาฝน

อยากกินหอยหลอดผัดฉ่าอีกจัง
โดย: chalawanman วันที่: 30 ตุลาคม 2551 เวลา:15:22:36 น.
  
ขอบคุณ sweety และ Chalawanman ครับที่ตามอ่านตลอด....หอยหลอดผัดฉ่าคือจานแนะนำครับ ทุกคนมาต้องสั่งรวมทั้งผมด้วย
โดย: wicsir วันที่: 30 ตุลาคม 2551 เวลา:17:24:24 น.
  
สวัสดีค่ะ

ภาพเรือนไทย.. เรือนเจ้านาย.. เรือนชาวบ้าน.. ต่างก็งดงามไปทั้งนั้น

เสียดาย "กี๋"รองกระถางต้นไม้ หลากแบบหลายขนาด ไม่ได้เข้าชุดกันเหมือนเดิม เมื่อแรกเปิดนั้น งดงามสวยสมไปหมดค่ะ
โดย: สมใจ IP: 203.144.187.19 วันที่: 6 ธันวาคม 2551 เวลา:13:40:04 น.
  
หน้าร้านอาหารที่ดอนหอยหลอด มีคนโบกต้อนลูกค้ายืนขึ้นมาบนถนน (ที่แคบอยู่แล้ว) ทำให้การสัญจรไม่สะดวดมากยิ่งขึ้น แต่ละคนดูเหมือนกุ๊ย นี่คือภาพแรกที่มองเห็นเมื่อเดินทางไปถึง
หน่วยงานที่รับผิดชอบ หรือเกี่ยวข้องในพื้นที่น่าจะแก้ไข เพื่อให้สถานที่นี้มีภาพพจน์ที่ดีในสายตาของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติตลอดไป
โดย: นายรำคาญ IP: 210.246.192.41 วันที่: 12 ตุลาคม 2552 เวลา:13:49:29 น.
  
น่าไปเที่ยวจัง น่าสนใจมากเลย
โดย: พื้นเมือง วันที่: 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา:16:34:46 น.
  
ชอบมากๆคับ
โดย: จุ๊บ IP: 117.47.1.127 วันที่: 20 ธันวาคม 2552 เวลา:23:26:28 น.
  
ไปแล้วก้ออยากไปอีกง่ะ ชอบจัง
โดย: หนูมุ่ย IP: 117.47.1.127 วันที่: 20 ธันวาคม 2552 เวลา:23:31:18 น.
  
ได้ยินเสียงเพลง เห็นภาพแล้วขนลุกครึ้มใจ ทำให้ต้องกลับมาเสพอีกหลายครั้ง ครั้งแล้วครั้งเล่า
โดย: ชนก หล้านามวงศ์ IP: 114.128.83.64 วันที่: 28 กรกฎาคม 2553 เวลา:19:09:07 น.
  

วัดจุฬามณี ไปมาแล้วเหมือนกันค่ะ ที่นี่เป็นวัดดัง มีคนไปทำบุญเยอะนะคะ

อุทยาน ร.๒ เจอฝน เลยถ่ายรูปไม่สนุกเลยเนาะ

เคยไปที่นี่ครั้งเดียวค่ะ หลังๆ มาไปอัมพวาก็ไม่ได้แวะอีก เห็นรูปที่บ้านคุณ wic แบบนี้อยากไปอีกเหมือนกันเนาะ

ขอบคุณค่ะ

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 19 พฤษภาคม 2554 เวลา:17:34:55 น.
  
ผมอยากเจอเขา ผมไม่รู้จักบ้านเขา ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาชื่ออะไร ผมเจอเขาที่ กทม ตอนเขามาช่วยญาติเขาขายน้ำผลไม้อยู่ที่ วัดสน ผมอยากรู้จักเขา แต่ก็สายไปแล้ว ผมรู้แค่ว่าบ้านเขา อยู่หลังวัดจุฬามณี ใครรู้ช่วย ตอบผมที่นะ
โดย: หนึ่ง IP: 101.109.186.94 วันที่: 8 ตุลาคม 2554 เวลา:17:51:28 น.
  
สู้ๆคับ ผมก็เหมือนกัน ตอนนี้มีลูกด้วยกัน2คนแล้วคับ
โดย: นพ IP: 61.90.68.38 วันที่: 21 พฤศจิกายน 2554 เวลา:2:39:39 น.
  
ภาพและเพลงทำไห้คิดถึงบ้านมากกกกกกกกก.......รักเมืองไทย....
โดย: คิดถึงบ้าน IP: 92.99.69.232 วันที่: 15 มกราคม 2556 เวลา:18:54:28 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Travelsomewhere.BlogGang.com

wicsir
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 75 คน [?]

บทความทั้งหมด