เมื่อครั้งไทยโดนพม่า Shutdown กรุงศรี ใครหนี ใครสู้? ![]() สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ บ้านเมืองถึงคราววิบัติ ล่มสลาย บ้านแตกสาแหรกขาด ภาพนี้เป็นจิตรกรรมฝาผนังจัดแสดงภายในอาคารภาพปริทัศน์ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ * สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เป็นบทเรียนสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่ให้แง่คิดมุมมองมากมายหลายด้าน ไม่เพียงแต่ด้านการเมือง การสงครามเท่านั้น ยังทำให้เราเห็นว่า เมื่อครั้งที่บ้านเมืองมีศึกติดพัน ถึงคราววิบัติบ้านแตกสาแหรกขาดชนิด ล่มสลาย จริงๆ นั้น ใครมีบทบาทอย่างไร ใครคิดสู้ปกป้องบ้านเมือง ท้องถิ่น ใครถอดใจหนีเอาตัวรอด ใครรักษาหน้าที่ของตนจนถึงที่สุดในยามวิกฤต ในปีวอก ฉศกนั้น ฝ่ายพุกามประเทศ พระเจ้าอังวะมังระ ให้เกณฑ์พลฉกรรจ์ลำเครื่องสองหมื่นห้าพัน สรรพด้วยช้างม้าเครื่องสรรพศัตราวุธให้พร้อมไว้ คิดจะยกมาตีพระนครศรีอยุธยาอีก ๑ สงครามเสียกรุงคราวนี้ เริ่มต้นที่เมืองทวาย เพียงแค่เดือนเดียว กองทัพพม่าก็บุกทะลุถึงเมืองเพชรบุรี แต่ยั้งทัพรอต่อเรือรบจนเข้าปีระกา ก่อนจะบุกเข้าประชิดกรุงในเวลาต่อมา ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาก็ระดมพลหัวเมือง ใช้ยุทธวิธี ตั้งรับ รอบๆ เมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำรัสสั่งเสนาบดีให้จัดแจงเกณฑ์กองทัพหัวเมืองปากใต้ ทั้งปวง และให้ทัพบกยกไปตั้งค่ายรับข้าศึกอยู่ตำบลบำหรุใต้เมืองราชบุรี ให้ทัพเรือไปตั้งอยู่หัวเมืองตำบลบางกุ้ง และให้เกณฑ์ทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือ ตะวันออก ตะวันตก เข้ามาช่วยการสงครามป้องกันพระนคร ให้ทัพเมืองพระพิษณุโลกมาตั้งค่ายอยู่ใกล้วัดภูเขาทอง ให้ทัพเมืองนครราชสีมาตั้งค่ายอยู่ใกล้วัดพระเจดีย์แดง แล้วให้พระยารัตนาธิเบศคุมกองทัพเมืองนครราชสีมา ยกมาตั้งรักษาเมืองธนบุรี ให้พระยายมราชเกณฑ์กองทัพหัวเมืองอื่นยกลงมาตั้งรักษาเมืองนนทบุรี และทัพหัวเมืองนอกกว่านั้นให้เกณฑ์เข้ามาบรรจบกับพลชาวพระนคร ขึ้นประจำรักษาหน้าที่เชิงเทินกำแพงเมืองโดยรอบ สรรพด้วยปืนใหญ่น้อยเครื่องสรรพาวุธพร้อม แล้วให้กวาดครอบครัวพลเมืองชาวเมืองและเสบียงอาหารเข้าไว้ในพระนคร ๒ แต่ตลอดรายทางก่อนจะปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้นั้น มีรายงานชัดเจนว่า หัวเมืองต่างๆ ยอมแพ้ต่อกองทัพพม่า ทั้งแบบต่อต้านเพียงเล็กน้อย จนถึงขั้นทิ้งเมืองหนีเลยก็มี ทำให้กองทัพพม่าสามารถปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาได้แบบไม่ยากเย็นนัก ก่อนจะทำสงครามขั้นสุดท้ายปิดบัญชีกรุงศรีอยุธยา * * เชิญคลิกชมภาพและอ่านต่อที่ ต้นฉบับ..... |
บทความทั้งหมด
|