คารวาลัย...อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี (๒)







บทกวีของคุณก๋า จากบล็อก สิ้นแล้ว





'เฉลิมชัย' อาลัย 'ถวัลย์ ดัชนี' ยกบุคคลโลก


ที่บ้านดำของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ หมู่ ๑๓ บ้านแม่ปูคา ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย หลังจากที่อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ได้เสียชีวิตลง เมื่อเวลาประมาณ o๓.oo น.ที่ผ่านมา ซึ่งบรรยกาศที่บ้านดำยังคงเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมตามปกติ แม้ว่าจะมีฝนตกลงมาบ้าน ซึ่งอาจารย์ถวัลย์ ได้เสียชีวิตลงหลังจากอาการป่วยตับอักเสบเมื่อช่วง ๓ เดือนที่ผ่านมา ก่อนจะเสียชีวิตลงด้วยอายุ ๗๔ ปี โดยจะประกอบพิธีทางศาสนาที่กรุงเทพฯ

อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ และผู้สร้างวัดร่องขุ่น จ.เชียงราย กล่าวว่า การจากไปของอาจารย์ถวัลย์ ซึ่งเป็นศิลปินส์แห่งชาติผู้ที่มีฝีมืออันดับหนึ่งและเป็นแบบอย่างของศิลปินหลาย ๆ คน แม่กระทั่งตนที่นับถือว่าเป็นไอดอล การสุญเสียอาจารญ์ถวัลย์ หรือพี่หวัน ไปนั้นถือว่าเป็นการสูญเสียสิ่งที่มีค่ายิ่งของประเทศไทยและโลกเลยก็ว่าได้ พี่ถวัลย์ เป็นศิลปินที่มีความสามารถทำให้ศิลปะของไทยไปโดงดังอยู่ในทุกมุมโลก ทำให้ทั่วโลกได้รู้จักกับประเทศไทย

"ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าบ้านดำที่พี่ถวัลย์ได้ก่อตั้งขึ้นมามีความยิ่งใหญ่มากซึ่งผมไม่สามารถเทียบได้เลย เมื่อไม่มีพี่ถวัลย์ ศิลปินทุกท่านก็พร้อมที่ให้การช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ หากทางลูกชายและภรรยาของอาจารย์ถวัลย์ ขอความช่วยเหลือมา สำหรับพี่ถวัลย์ ถือเป็นแบบอย่างของศิลปินในรุ่นหลังเป็นอย่างมากอยากให้น้อง ๆ ศิลปินได้เอาพี่ถวัลย์เป็นแบบอย่างต่อไป"อาจารย์เฉลิมชัย กล่าว

ด้านนายปั๋น ตุ่นแก้ว อดีตผู้ใหญ่บ้านและผู้ที่เคยร่วมก่อสร้างบ้านดำกับอาจารย์ถวัลย์ กล่าวว่า รู้สึกเสียใจอย่างมากที่อาจารย์ได้เสียชีวิตลง ที่ผ่านอาอาจารย์เป็นที่รักของประชาชนภายในหมู่บ้าน อาจารย์มีอัธยาศรัยดี กับทุกคน ซึ่งตอนที่สร้างบ้านดำในช่วงแรก ๆ ประมาณปี ๒๕๓๗-๒๕๓๘ เคยทำงานร่วมกันมาประมาณ ๕-๖ ปี อาจารย์เป็นกันเองกับผู้ที่ร่วมก่อสร้าง มีจิตใจ โอบอ้อมอารีกับทุกคน

สำหรับอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี ๒๕๔๔ เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ ก.ย. ๒๔๘๒ ที่จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรของนายศรี และนางบัวคำ (พรหมสา) ดัชนี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง ๔ คน ได้แก่ พ.ต.สว่าง ดัชนี (ถึงแก่กรรม) นายสมจิตต์ ดัชนี (ถึงแก่กรรม) และนายวสันต์ ดัชนี (ถึงแก่กรรม) สมรสกับนางมากาเร็ต ฟันเดอร์ฮุ๊ค มีบุตร ๑ คน คือ นายดอยธิเบศร์ ดัชนี ด้านการศึกษา สำเร็จชั้นมัธยมที่จังหวัดเชียงราย ก่อนเข้าเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่าง ด้วยทุนการศึกษาของจังหวัดเชียงรายและเป็นนักเรียนเพาะช่างดีเด่น ด้วยฝีมือการวาดรูปเหมือนจริง โดยภาพวัดเบญจมบพิตรได้รับเลือกให้แสดงในหอศิลปแห่งชาติ นครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และแสดงในนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยแห่งชาติ ประเทศไทย

เมื่อจบจากโรงเรียนเพาะช่างในปี ๒๕oo สอบเข้าเรียนที่คณะจิตรกรรม ประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้การอำนวยการสอนของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และสถาบันแห่งนี้ได้หล่อหลอมให้เขาได้พัฒนางานจากภาพวาดเหมือนจริง สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับทุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมและการศึกษา ของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ไปศึกษาต่อ ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เป็นเวลา ๕ ปี ที่ราชวิทยาลัยศิลปแห่งชาติ อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์


ข้อมูลจาก
bangkokbiznews.com










สิ้นจิตรกรเอก ‘ถวัลย์ ดัชนี’


มะเร็งต่อมลูกหมาก ไตวาย คร่าชีวิตศิลปินคนสำคัญของประเทศ "ถวัลย์ ดัชนี" สิ้นลมแล้ว ด้วยวัย ๗๔ ปี ๑๑ เดือน "สมเด็จพระเทพฯ" เสด็จฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ วัดเทพศิรินทร์ฯ "ปรีชา เถาทอง" หวั่นศิลปะไทยร่วมสมัยแนวถวัลย์อาจหมดสิ้น กระตุ้นคนรุ่นหลังสืบสานองค์ความรู้

นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) แจ้งว่า ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช ๒๕๔๔ ได้ถึงแก่กรรมแล้ว เมื่อวันพุธที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๗ เวลาประมาณ o๒.๑๕ น. ด้วยโรคไตวาย ณ โรงพยาบาลรามคำแหง สิริรวมอายุ ๗๔ ปี ๑๑ เดือน

ถวัลย์ ดัชนี มีโรคประจำตัวคือ เบาหวาน และความดัน เมื่อประมาณปี ๒๕๕๕ ได้เข้ารับการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต ซึ่งมีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง ต่อมาเมื่อต้นปี ๒๕๕๗ ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย และในช่วงปลายเดือนมิถุนายนจึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างจริงจัง จนกระทั่งพบว่าเชื้อมะเร็งลุกลามไปที่ตับและปอด มีอาการไตวาย จากนั้นอาการทรุดหนักจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

กำหนดการ ในวันที่ ๔ ก.ย. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ ศาลา ๑ วัดเทพศิรินทราวาชราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร กำหนดจัดพิธีสวดพระอภิธรรม ในระหว่างวันที่ ๔-๑o ก.ย. เวลา ๑๙.oo น.

นายชายเผยว่า รู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่สูญเสียศิลปินแห่งชาติผู้มีคุณูปการต่อแผ่นดิน ซึ่งได้สร้างผลงานที่มีเอกลักษณ์ ทรงคุณค่า และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ อีกทั้งยังอุทิศตนส่งเสริมงานด้านศิลปะอย่างมากมาย โดยเฉพาะโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ และโครงการศิลปินแห่งชาติสัญจรของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ที่มุ่งถ่ายทอดประสบการณ์การสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ให้แรงบันดาลใจ รวมถึงเป็นต้นแบบให้แก่เด็ก เยาวชน ครูอาจารย์ และบุคลากรด้านศิลปะมาโดยตลอด ทำให้วงการศิลปะของไทยเกิดการพัฒนาและก้าวสู่สากลยิ่งขึ้น อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี จึงเป็นศิลปินที่ยิ่งใหญ่และเป็นที่รักของทุกคน

ด้าน ศ.ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ ปี ๒๕๕๒ กล่าวว่า การจากไปของถวัลย์ ดัชนี ถือเป็นการสูญเสียกำลังคนในการขับเคลื่อนงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่เกิดจากฐานภูมิปัญญาไทย ศิลปะไทยร่วมสมัยแนวถวัลย์ ดัชนี อาจจะหมดไปพร้อมกับศิลปินผู้นี้ แต่ก็ไม่ถึงกับหมดหวัง หากมีการสืบสานองค์ความรู้ ทั้งคติความคิด แผนแม่บท วิสัยทัศน์ในการทำงาน รูปแบบผลงานของศิลปิน กระทั่งปรัชญาเป้าหมายของท่านให้กับนักเรียน นักศึกษา และศิลปินรุ่นใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานศิลปะที่มีความชัดเจนเหมือนศิลปินชื่อ ถวัลย์ ดัชนี

นอกจากนี้ พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่บ้านดำ ต.นางแล จ.เชียงราย ที่ศิลปินทิ้งไว้เป็นมรดกของแผ่นดิน เป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ที่ท่านวางไว้อย่างเข้มแข็ง ในวันที่ท่านไม่อยู่ ผู้สืบทอดจะดำเนินการให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตต่อไป หรือเป็นพิพิธภัณฑ์แห้ง ๆ ปิดตาย เก็บภาพจิตรกรรม กระดูกสัตว์ ที่นี่ไม่ใช่สถานที่เก็บวัตถุ อยากให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เข้ามาเป็นตัวกลางประสานให้เกิดการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์อย่างเหมาะสม รวมถึงป้องกันการขายทอดตลาดทั้งทรัพย์สินและงานศิลปะของท่านที่จัดเก็บภายในบ้านดำ

ถวัลย์ ดัชนี เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๘๒ ที่จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรของนายศรี และนางบัวคำ (พรหมสา) ดัชนี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง ๔ คน ได้แก่ พ.ต.สว่าง ดัชนี (ถึงแก่กรรม) นายสมจิตต์ ดัชนี (ถึงแก่กรรม) และนายวสันต์ ดัชนี (ถึงแก่กรรม) สมรสกับนางมากาเร็ต ฟันเดอร์ฮุค มีบุตร ๑ คน คือ นายดอยธิเบศร์ ดัชนี

ด้านการศึกษา สำเร็จปริญญาตรีบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม
มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้การสอนของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี สำเร็จปริญญาโท ด้านจิตรกรรมฝาผนัง อนุสาวรีย์และผังเมือง ปริญญาเอก ด้านอภิปรัชญา และสุนทรียศาสตร์ราชวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์

ผลงานของ ถวัลย์ ดัชนี ผู้ที่มีพุทธิปัญญาสามารถนำแนวปรัชญาพุทธศิลป์มาสร้างงานศิลปะไทยร่วมสมัยที่ทรงพลัง ลุ่มลึกและแกร่งกร้าว มีเนื้อหาสาระ และท่วงทีที่มีชีวิตวิญญาณของความเป็นไทย ผสมผสานระหว่างแนวปรัชญาตะวันออกและตะวันตก เป็นผู้มีบทบาทยิ่งในการเผยแพร่ผลงานศิลปะไทยโดยมีผลงานแสดงเดี่ยว และกลุ่มมากมายหลายครั้งทั้งในประเทศและต่างประเทศแถบเอเชีย ยุโรปและอเมริกา จนสื่อมวลชนต่างประเทศสนใจชีวิต และงานของถวัลย์ ดัชนี จัดทำเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ สื่อภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์เผยแพร่ไปทั่วโลกมากมาย ท่านเป็นจิตรกรคนแรกที่ได้รับรางวัล วัฒนธรรมแห่งเอเชีย เมืองฟุกุโอกะ ครั้งที่ ๑๒ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๔

นอกจากนี้ ยังได้ก่อตั้งมูลนิธิถวัลย์ ดัชนี เพื่อสนับสนุนการศึกษาโดยศิลปะเฉพาะด้านทัศนศิลป์ รวมทั้ง ได้ใช้เวลานานกว่า ๒๕ ปี สร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านในเนื้อที่กว่า ๑oo ไร่ ที่บ้านดำ ตำบลนางแล จังหวัดเชียงราย.


ภาพและข้อมูลจากเวบ
thaipost.net/











ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่


วงการจิตรกรรมถึงคราวสูญสิ้นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่อีกครา โดย นายดอยธิเบศร์ ดัชนี บุตรชายของ ดร.ถวัลย์ ดัชนี ได้แจ้งข่าวการเสียชีวิตของผู้เป็นบิดาลงในเฟซบุ๊ก หลังจากล้มป่วยจากอาการตับอักเสบ เมื่อวันที่ ๓ ก.ย. ๕๗ เวลาประมาณ o๒.oo น. ณ โรงพยาบาลรามคำแหง สิริอายุ ๗๔ ปี ๑๑ เดือน

ถวัลย์ ดัชนี เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ ก.ย. ๒๔๘๒ ที่ จ.เชียงราย เป็นบุตรของนายศรี และนางบัวคำ (พรหมสา) ดัชนี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง ๔ คน ถวัลย์ มีแววด้านการวาดรูปมาตั้งแต่ชั้นมูลและชั้นประถม สามารถวาดตัวละครรามเกียรติ์ได้เกือบทุกตัว นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นเลิศ ได้รับทุนมาเรียนต่อที่โรงเรียนเพาะช่าง และได้เป็นนักเรียนดีเด่นด้วยฝีมือการวาดรูป จึงเข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้เป็นศิษย์ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

ขณะเรียนอยู่ชั้นปีที่ ๑ ถวัลย์ ทำคะแนนการวาดรูปได้ถึง ๑oo+ แต่เมื่อขึ้นปี ๒ เขากลับทำได้แค่ ๑๕ คะแนน เพราะเหตุผลที่ อ.ศิลป์ให้ไว้ว่า "ปลาของนายไม่มีกลิ่นคาว นกของนายแหวกว่ายไปในอากาศไม่ได้ ม้าของนายไม่สามารถที่จะควบหรือวิ่งทะยานออกไปได้ นายเป็นเพียงแค่นักลอกรูป มันไม่ใช่งานศิลปะ"

คำวิจารณ์ดังกล่าวทำให้ ถวัลย์ เปลี่ยนแปลงการทำ งานทุกอย่างใหม่หมด ได้รับการสนับสนุนจาก อ.ศิลป์ ให้สอบชิงทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านสาขาจิตรกรรมฝาผนัง อนุสาวรีย์ ผังเมือง และในระดับปริญญาเอก สาขาอภิปรัชญา และสุนทรียศาสตร์ ที่ราชวิทยาลัย

ผลงาน อ.ถวัลย์ สามารถนำแนวปรัชญาพุทธศิลป์มาสร้างงานศิลปะไทยร่วมสมัยที่ทรงพลัง ผสมผสานระหว่างแนวปรัชญาตะวันออกและตะวันตก เป็นผู้มีบทบาทยิ่งในการเผยแพร่ผลงานศิลปะไทย โดยมีผลงานแสดงเดี่ยวและกลุ่มมากมายหลายครั้งทั้งในประเทศและต่างประเทศ แถบเอเชีย ยุโรปและอเมริกา เป็นจิตรกรคนแรกที่ได้รับรางวัลวัฒนธรรมแห่งเอเชีย เมืองฟุกุโอกะ ครั้งที่ ๑๒ ประจำปี ๒๕๔๔

ได้ก่อตั้ง "มูลนิธิถวัลย์ ดัชนี" เพื่อสนับสนุนการศึกษาโดยเฉพาะศิลปะด้านทัศนศิลป์ รวมทั้งได้ใช้เวลากว่า ๒๕ ปี สร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านในเนื้อที่กว่า ๑oo ไร่ ที่บ้านดำ ต.นางแล อ.เมืองเชียงราย และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ๒๕๔๔

อ.ถวัลย์ ได้อุทิศตนถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์การสร้าง สรรค์งานศิลปะแก่นักเรียน นักศึกษา ศิลปินรุ่นใหม่ นับเป็นประ โยชน์อย่างมากต่อการบ่มเพาะศิลปินรุ่นใหม่ให้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้ทรงคุณค่าเป็นมรดกของแผ่นดินสืบไป.


ข้อมูลจากคอลัมน์ "ฅนปนข่าว" นสพ.แนวหน้า ๔ ก.ย. ๒๕๕๗
komchadluek.net
เฟซบุคถวัลย์ ดัชนี











ไทยสูญเสียบุคคลสำคัญ‘ถวัลย์ ดัชนี’สิ้นลมแล้วศิลปินแห่งชาติชื่อก้องโลก


เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้เสียชีวิตลงแล้ว ด้วยอาการตับอักเสบ โดยนายดอยธิเบศร์ ดัชนี บุตรชาย ได้โพสต์ในเฟซบุ๊ก Doytibet Duchanee ระบุว่า “พ่อไม่ต้องกังวล เพราะพ่อจะไม่ไปไหน พ่อจากไปแต่เพียงร่างกายแต่ผลงานศิลปะที่มาจากหัวใจ จิตวิญญาณ และลมหายใจที่พ่อสร้างทิ้งไว้จะเป็นอมตะตลอดกาล พ่อคือผู้สร้างและลูกคือผู้รักษา หลับให้สบายนะพ่อ เลือดของพ่อยังไหลเวียนในกายลูกเสมอ และเราจะพบกัน...รักพ่อสุดหัวใจ กราบเท้าพ่อเป็นครั้งสุดท้าย”

นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) แจ้งว่า นายถวัลย์ ได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันพุธที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๗ เวลาประมาณ o๒.๑๕ น.ด้วยอาการตับอักเสบ ที่โรงพยาบาลรามคำแหง สิริรวมอายุ ๗๔ ปี ๑๑ เดือน ทั้งนี้ นายถวัลย์ มีโรคประจำตัวคือ เบาหวานและความดัน โดยปี ๒๕๕๕ ได้เข้ารับการรักษาโรคต่อมลูกหมากโตซึ่งมีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง ต่อมาต้นปี ๒๕๕๗ ตรวจพบเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้ายและช่วงปลายเดือนมิถุนายน ได้เข้ารับการรักษาอย่างจริงจังพบว่า เชื้อมะเร็งลุกลามไปที่ตับและปอด มีอาการไตวาย จากนั้นอาการก็ทรุดหนักจนกระทั่งเสียชีวิต โดยจะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพวันที่ ๔ กันยายน เวลา ๑๓.oo น. ณ ศาลา ๑ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร จากนั้นกำหนดจัดพิธีสวดพระอภิธรรมศพ ระหว่างวันที่ ๔-๑o กันยายน เวลา ๑๙.oo น.และจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ กันยายน เวลา ๑๗.oo น.

ด้าน นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ และผู้สร้างวัดร่องขุ่น จ.เชียงราย กล่าวว่า นายถวัลย์ เป็นศิลปินแห่งชาติผู้ที่มีฝีมืออันดับหนึ่งและเป็นแบบอย่างของศิลปินหลาย ๆ คน แม้กระทั่งตนที่นับถือเป็นไอดอล การสูญเสียนายถวัลย์ไปนั้นถือว่าเป็นการสูญเสียสิ่งที่มีค่ายิ่งของประเทศไทยและโลกเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นศิลปินที่มีความสามารถทำให้ศิลปะของไทยไปโด่งดังอยู่ในทุกมุมโลก ทำให้ทั่วโลกได้รู้จักกับประเทศไทย

“จะเห็นได้ว่าบ้านดำที่พี่ถวัลย์ได้ก่อตั้งขึ้นมามีความยิ่งใหญ่มาก ซึ่งผมไม่สามารถเทียบได้เลย เมื่อไม่มีพี่ถวัลย์ ศิลปินทุกท่านก็พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ หากทางลูกชายและภรรยาของพี่ถวัลย์ขอความช่วยเหลือมา สำหรับพี่ถวัลย์ ถือเป็นแบบอย่างศิลปินในรุ่นหลังเป็นอย่างมากอยากให้น้อง ๆ ศิลปินได้เอาพี่ถวัลย์เป็นแบบอย่างต่อไป” นายเฉลิมชัย กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่ “บ้านดำ” เลขที่ ๔๑๔ บ้านแม่ปูคา หมู่ ๑๓ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของ จ.เชียงราย มี ๔๒ หลัง ในพื้นที่ประมาณ ๑oo ไร่ มีวิหารดำหลังใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ด้านหน้า เปิดตั้งแต่เวลา o๙.oo-๑๗.oo น. ทุกวันว่า ยังคงเปิดให้ตามปกติและมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนตั้งแต่เช้า แต่เจ้าหน้าที่ภายในบ้านดำอยู่ในอาการโศกเศร้า ภายหลังทราบข่าวการเสียชีวิตของนายถวัลย์

น.ส.อรทัย ขุนพิลึก เจ้าหน้าที่ดูแลบ้านดำ กล่าวว่า หลังทราบข่าวการจากไปของนายถวัลย์ ทุกคนตกใจอย่างมากและทำอะไรไม่ถูก จากนั้นผู้ใหญ่หลายคนรวมทั้งญาติ ๆ และผู้จัดการได้พากันเดินทางไปยังกรุงเทพฯ เพื่อร่วมพิธีศพ โดยบอกเจ้าหน้าที่ว่า จะเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวตามวันและเวลาปกติเหมือนเดิม ส่วนภาพที่อาจารย์ถวัลย์วาดและนำมาจัดแสดงที่อาคารจัดแสดงด้านหน้าวิหารดำ คือ ภาพมารผจญทั้ง ๒ ใบ มีความยาวประมาณ ๓ เมตรนั้น แม้ว่าจะมีผู้สั่งจองเอาไว้ คือ นายบุญชัย เบญจรงคกุล นักธุรกิจและนักสะสมงานศิลปะชั้นนำ เจ้าของพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย แต่ก็ยังไม่ได้มีการส่งมอบกัน ซึ่งตามปกติจะไม่มีการวางเงินมัดจำใด ๆ ถ้าอาจารย์จะให้ก็ให้เลย กระทั่งท่านมาเสียชีวิตเสียก่อนจึงเก็บภาพดังกล่าวเอาไว้ต่อไป

นายอภิรักษ์ ปันมูลศิลป์ ศิลปินชาวเชียงราย กล่าวว่า อาจารย์ถวัลย์ ถือเป็นปูชนียบุคคลของศิลปินชาวเชียงราย เพราะท่านเป็นศิลปินที่มีผลงานศิลปะระดับโลกและทำสิ่งดีงามเอาไว้มาก รวมทั้งเป็นผู้ วางรากฐานของงานศิลปะและมีคำสั่งสอนสำหรับศิลปินชาวเชียงรายทุกคน จนถือเป็นต้นแบบหรือเสมือนพ่อด้านศิลปะของพวกเรา

สำหรับประวัติของ อาจารย์ถวัลย์ เป็นผู้มีพรสวรรค์ด้านการวาดรูปมาตั้งแต่ชั้นมูลและชั้นประถม สามารถวาดตัวละครรามเกียรติ์ได้เกือบทุกตัว มีความจำเป็นเลิศและมีความคิดและจินตนาการที่แหวกแนวกว่าเด็กทั่วไป เมื่อจบชั้นมัธยม ๖ ที่เชียงราย ได้รับทุนมาเรียนต่อที่ โรงเรียนเพาะช่าง และได้เป็นนักเรียนดีเด่นด้านจิตรกรรม ที่ผลงานได้รับการคัดเลือกไปแสดงในหอศิลป์แห่งชาติ นครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้น ได้เข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้เป็นศิษย์รุ่นท้าย ๆ ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บรมครูของงานศิลปกรรมร่วมสมัยในประเทศไทย

ต่อมา อาจารย์ถวัลย์ได้รับการสนับสนุนจากศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ให้สอบชิงทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านสาขาจิตรกรรมฝาผนัง อนุสาวรีย์ ผังเมือง และในระดับปริญญาเอก สาขาอภิปรัชญา และสุนทรียศาสตร์ ที่ราชวิทยาลัยศิลปะอัมสเตอร์ดัม เมื่อกลับมาถึงประเทศไทย ได้เขียนรูปขนาดใหญ่ของเขาหลายรูป ต่อถูกต่อต้าน ด้วยเหตุที่ว่าผลงานเหล่านั้น หมิ่นเหม่ และดูหมิ่นพระพุทธศาสนา จนทำให้เลิกแสดงผลงานในประเทศไทยไปนานหลายปี กว่าคนไทยจะยอมรับได้ ก็กินเวลากว่า ๓o ปี กระทั่งในปัจจุบันผลงานของเขาได้รับการยอมรับ และได้รับการยกย่องชื่นชมว่าเป็นงานศิลปะชั้นเลิศ อีกทั้งเป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมงานศิลปะ และยังมีผลงานศิลปะฝากไว้ในหลาย ๆ แห่งในโลกอีกมากมาย


ภาพและข้อมูลจากเวบ
naewna.com
เฟซบุคถวัลย์ ดัชนี











๑o ข้อน่ารู้ พร้อมผลงานระดับเทพ! ย้อนรำลึกจิตรกรมือเอก "ถวัลย์ ดัชนี"


สร้างความตกใจและเสียใจให้แฟน ๆ อย่างที่สุด เมื่อ "ถวัลย์ ดัชนี" หนึ่งในจิตรกรมือเอกของไทยและเป็นศิลปินแห่งชาติด้านจิตรกรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ได้จากไปอย่างสงบแล้วเมื่อเช้ามืดวันนี้ ...

"ไทยรัฐออนไลน์" ขอย้อนประวัติคร่าว ๆ เพื่อทำความรู้จักจิตรกรคนเก่งให้มากขึ้น พร้อมรวบรวมผลงานจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยที่อาจารย์ถวัลย์สร้างสรรค์มาจากหัวใจ มาให้แฟน ๆ ได้ชมกัน

ไทยรัฐออนไลน์จะพาไปชื่นชมวิสัยทัศน์และสุดยอดผลงานของอาจารย์กัน...

อาจารย์ถวัลย์มีบทบาทอย่างมากในการเผยแพร่ผลงานศิลปะไทย โดยมีผลงานแสดงเดี่ยวและกลุ่มมากมายหลายครั้ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศแถบเอเชีย ยุโรป และอเมริกา จนสื่อมวลชนต่างประเทศให้ความสนใจชีวิตและผลงานของ ดร.ถวัลย์ ดัชนี จัดทำเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ สื่อภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์เผยแพร่ไปทั่วโลกมากมาย

๑o ข้อน่ารู้เกี่ยวกับ อ.ถวัลย์ ดัชนี

๑. อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ที่จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรของนายศรี และนางบัวคำ (พรหมสา) ดัชนี และเป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง ๔ คน

๒. อาจารย์ถวัลย์ได้สมรสกับนางคำเอ้ย และมีบุตรชายหนึ่งคน ชื่อ นายดอยธิเบศร์ ดัชนี

๓. อาจารย์ถวัลย์เป็นจิตรกร ช่างเขียนรูป แห่งดอยสูงเชียงราย และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) เมื่อพ.ศ. ๒๕๔๔

๔. อาจารย์ได้เข้าเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่างด้วยทุนการศึกษาของจังหวัดเชียงราย และเป็นนักเรียนเพาะช่างดีเด่นด้วยฝีมือการวาดรูปเหมือนจริงที่แม่นยำฉับไว

๕. อาจารย์ถวัลย์ได้เป็นศิษย์รุ่นท้าย ๆ ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทย ผู้สร้างคุณูปการในทางศิลปะจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งและครูสอนศิลปะในมหาวิทยาลัยศิลปากร

๖. ตอนอาจารย์ถวัลย์เรียนอยู่มหาวิทยาลัยศิลปากรชั้นปีที่ ๑ สามารถทำคะแนนการวาดรูปได้ถึง ๑oo+ แต่เมื่อขึ้นปี ๒ กลับทำได้เพียงแค่ ๑๕ คะแนน ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ให้เหตุผลไว้ว่า “ปลาของนายไม่มีกลิ่นคาว นกของนายแหวกว่ายไปในอากาศไม่ได้ ม้าของนายไม่สามารถที่จะควบหรือวิ่งทะยานออกไปได้ นายเป็นเพียงแค่นักลอกรูป มันไม่ใช่งานศิลปะ”

๗. อาจารย์ได้รับการสนับสนุนจากศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี สอบชิงทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านสาขาจิตรกรรมฝาผนัง อนุสาวรีย์ ผังเมือง และในระดับปริญญาเอก สาขาอภิปรัชญาและสุนทรียศาสตร์ ที่ราชวิทยาลัยศิลปะอัมสเตอร์ดัม

๘. ผลงานของอาจารย์ส่วนใหญ่ได้นำแรงบันดาลใจมาจากแนวปรัชญาทางพุทธศาสนาทั้งสิ้น !

๙. เมื่ออาจารย์กลับมาถึงเมืองไทย รูปเขียนขนาดใหญ่ของอาจารย์หลายรูปถูกนักเรียนกรีดทำลาย ด้วยเหตุผลที่ว่างานของอาจารย์นั้นดูหมิ่นพระพุทธศาสนา ทำให้อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี เลิกแสดงผลงานในประเทศไทยไปนานหลายปี

๑o. อาจารย์ถวัลย์ต้องเดินตากแดดตากฝนอยู่นานถึง ๓o กว่าปี กว่าคนไทยจะยอมรับศิลปะด้านนี้ได้ ปัจจุบันผลงานของเขาได้รับการยอมรับ และยกย่องชื่นชมว่าเป็นงานศิลปะชั้นเลิศ อีกทั้งเป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมงานศิลปะทั่วไปอีกด้วย


ผลงานจิตรกรรมสุดสร้างสรรค์

"ผลงานศิลปะที่มาจากหัวใจ จิตวิญญาณและลมหายใจ จะอยู่ในใจพวกเราตลอดไป"



อาจารย์ถวัลย์ได้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นเอกหลายชิ้นด้วยกัน ซึ่งแต่ละชิ้นก็ได้นำแนวปรัชญาพุทธศิลป์มาสร้างงานศิลปะไทยร่วมสมัยที่ทรงพลัง ลุ่มลึกและแกร่งกร้าว มีเนื้อหาสาระและมีชีวิตจิตวิญญาณของความเป็นไทยมาผสมผสานระหว่างแนวปรัชญาตะวันออกและตะวันตก

นอกจากผลงานศิลปะจะแสดงให้เห็นถึงปรัชญาธรรมในพุทธศาสนาแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติหลาย ๆ อย่างของมนุษยโลกด้วย โดยอาจารย์มองว่างานศิลปะที่ผ่านมาทุกยุคทุกสมัย ถือเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ถูกขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ กับกิจกรรมอื่น ๆ อย่างเช่น เศรษฐกิจ การเมือง ซึ่งงานศิลปะจะช่วยโลกให้คงอยู่ได้!


ภาพและข้อมูลจากเวบ
thairath.co.th











บ้านดำเงียบเหงา-พบภาพวาดสุดท้ายของ 'ถวัลย์ ดัชนี'


พิพิธภัณฑ์ ‘บ้านดำ’ ที่ทำงานและที่พักของ ‘อ.ถวัลย์ ดัชนี’ ที่ จ.เชียงรายเงียบเหงา ลูกน้อง ๑๕ คน ต่างโศกเศร้าอาลัยกับการจากไปของศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ พบภาพที่ยังเขียนไม่เสร็จ เป็นภาพสีน้ำมันขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในบ้านไม้ที่ใช้เป็นที่ทำงาน




เมื่อเวลา o๙.oo น. วันที่ ๓ ก.ย. ๕๗ ผู้สื่อข่าวได้ไปที่พิพิธภัณฑ์บ้านดำหรือ "บ้านดำ" เลขที่ ๔๑๔ หมู่ ๑๓ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย ซึ่งเป็นบ้านพักกินอยู่หลับนอน และที่ทำงานของ อ.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติที่เพิ่งเสียชีวิตลง ใช้เป็นสถานที่วาดภาพ เก็บงานศิลปะ ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะแบบล้านนา ไม้แกะสลักที่มีลวดลายงดงาม สิ่งของสะสม เช่น เขาควาย เขากวาง กระดูกสัตว์ เช่น กระดูกงูหลาม กระดูกช้าง เป็นต้น




พบว่า "บ้านดำ" ยังคงเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมตามปกติ แต่บรรยากาศเป็นไปอย่างเงียบเหงาและวังเวง พนักงานชายหญิงที่ดูแลบ้านและพิพิธภัณฑ์ต่างมีสีหน้าเศร้าสร้อย เสียใจกับการจากไปของเจ้านาย ศิลปินแห่งชาติผู้ยิ่งใหญ่ผู้นี้




นายสว่าง เรือนคำ อายุ ๖๓ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒๗o หมู่ ๑๓ ต.นางแล อ.เมือง ตำแหน่งคนขับรถ ซึ่งทำงานมาตั้งแต่ อ.ถวัลย์ เริ่มสร้างบ้าน เมื่อปี ๒๕๒๗ อยู่กันมากว่า ๓o ปี ได้เล่าให้ฟังว่า ปกติ อ.ถวัลย์ จะไปมาระหว่างเชียงราย-กรุงเทพฯ ถ้าอยู่เชียงรายจะวาดภาพอยู่ในบ้านหลังเล็ก กินนอนอยู่ในที่เดียวกัน โดยข้าง ๆ ภาพวาดจะมีเตียงนอน บนพื้นห้องและรอบห้องจะประดับไปด้วยหนังเสือ หนังงู หางตัวจามรีจากทิเบตมาแขวนไว้เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดจินตนาการในการวาดภาพ




ส่วนผลงานชุดสุดท้ายของ อ.ถวัลย์ มีการนำไปแสดงที่ สยามพารากอนเมื่อ ๓-๔ เดือนที่แล้ว และวาดค้างอยู่อีก ๑ รูป ตั้งไว้ในบ้านไม้ยกพื้นสูงทาสีดำ ข้างศาลาใหญ่ ภายในมีภาพวาดสีน้ำมันขนาดใหญ่ประมาณ ๓-๔ เมตร ที่ใช้เวลาวาดมากกว่า ๔-๕ เดือน ยังค้างอยู่ ยังไม่เสร็จ

ขณะที่ นายณรงค์ฤทธิ์ พันสุภะ อายุ ๒๘ ปี ลูกจ้างอีกคน กล่าวว่า มาอยู่ที่บ้านดำได้ ๑๒ ปี ได้รับใช้ อ.ถวัลย์ ขณะอยู่ที่เชียงรายอย่างใกล้ชิดก่อนที่จะเสียชีวิต ซึ่งพนักงาน ลูกน้องในบ้านทั้ง ๑๕ คน ต่างเสียใจ ไม่คิดว่าการไปกรุงเทพฯ ครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้าย จะไม่ได้กลับมาเชียงรายอีก ส่วนอนาคตข้างหน้าทุกคนก็คิดว่าลูกชายและครอบครัวของ อ.ถวัลย์ จะสืบสานดำเนินการบ้านดำต่อไปได้ และทุกคนก็ยังจะอยู่ช่วยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้อยู่ต่อไป





ภาพและข้อมูลจาก
thairath.co.th











วงการจิตรกรรมเศร้าสิ้น "ถวัลย์ ดัชนี"


เมื่อวันที่ ๓ ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายดอยธิเบศร์ ดัชนี บุตรชายของนายถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี ๒๕๔๔ วัย ๗๔ ปี และเจ้าของบ้านดำ แห่งดอยนางแล อ.เมือง จ.เชียงราย ได้แจ้งข่าวการเสียชีวิตของผู้เป็นพ่อลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวของเขา เพื่อบอกกล่าวให้ผู้ ซึ่งติดตามให้กำลังใจศิลปินแห่งชาติ ที่ล้มป่วยลงจากอาการตับอักเสบในช่วง ๓ เดือนที่ผ่านมาทราบ โดยก่อนหน้านี้เมื่อปลายปี ๕๖ ที่ผ่านมา ถวัลย์ เพิ่งจะจัดงานฉลองครบรอบ ๗๔ ปีของตัวเอง ขึ้นที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน โดยได้โชว์ฝีมือวาดภาพฝีแปรงแสดงผลงาน และเซ็นชื่อให้กับแฟนที่ชอบผลงาน

นายดอยธิเบศร์ ยังโพสต์ ข้อความว่า "พ่อไม่ต้องกังวล เพราะพ่อจะไม่ไปไหนพ่อจากไปแต่เพียงร่างกาย แต่ผลงานศิลปะที่มาจากหัวใจ จิตวิญญาณและลมหายใจที่พ่อสร้างทิ้งไว้จะเป็นอมตะตลอดกาล พ่อคือผู้สร้างและลูกคือผู้รักษาหลับให้สบายนะพ่อ เลือดของพ่อยังไหลเวียนในกายลูกเสมอและเราจะพบกัน...รักพ่อสุดหัวใจ กราบเท้าพ่อเป็นครั้งสุดท้าย"ทั้งนี้ จะมีการสวดพระอภิธรรมศพที่วัดเทพศิรินทราวาส เป็นเวลา ๗ วัน ก่อนจะทำการขอพระราชทานเพลิงศพต่อไป




สำหรับ ถวัลย์ ดัชนี นั้นเคยศึกษาชั้นมูลและระดับประถมที่โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ก่อนจะย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนบุญนิธิ จ.พะเยา และชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนพะเยาพิทยาคม เมื่อบิดาย้ายกลับเชียงรายจึงเข้าเรียนจนจบชั้นชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคมจนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖ ด้วยความที่เป็นผู้มีพรสวรรค์ด้าน การวาดรูปมาตั้งแต่ชั้นมูลและชั้นประถม สามารถวาดตัวละครรามเกียรติ์ได้เกือบทุกตัว มีความจำเป็นเลิศและมีความคิดและจินตนาการที่แหวกแนวกว่าเด็กทั่วไป เมื่อจบชั้นมัธยม ๖ ที่เชียงราย จึงได้รับทุนมาเรียนต่อที่ โรงเรียนเพาะช่าง และได้เป็นนักเรียนดีเด่น ด้วยฝีมือการวาดรูปที่หาใครเทียบยาก จึงเป็นหนึ่งในนักเรียนเพาะช่างดีเด่นด้านจิตรกรรม ที่ผลงานได้รับการคัดเลือกไปแสดงในหอศิลป์แห่งชาติ นครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้น ถวัลย์ ดัชนี จึงเข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้เป็น "ศิษย์รุ่นท้าย ๆ ของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี"




ขณะ เรียนอยู่ที่ศิลปากรในชั้นปีที่ ๑ ถวัลย์ ดัชนี ทำคะแนนการวาดรูปได้ถึง ๑oo+ แต่เมื่อขึ้นปี ๒ เขากลับทำได้แค่ ๑๕ คะแนน เพราะเหตุผลที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ให้ไว้ว่า "ปลาของนายไม่มีกลิ่นคาว นกของนายแหวกว่ายไปในอากาศไม่ได้ ม้าของนายไม่สามารถที่จะควบหรือวิ่งทะยานออกไปได้ นายเป็นเพียงแค่นักลอกรูป มันไม่ใช่งานศิลปะ" คำวิจารณ์ดังกล่าวนี้ทำให้ถวัลย์ ดัชนี เปลี่ยนแปลงการทำงานทุกอย่างใหม่หมด เขาจึงได้รับการสนับสนุนจากศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ให้สอบชิงทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านสาขาจิตรกรรมฝาผนัง อนุสาวรีย์ ผังเมือง และในระดับปริญญาเอก สาขาอภิปรัชญา และสุนทรียศาสตร์ ที่ราชวิทยาลัยศิลปะอัมสเตอร์ดัม เมื่อกลับมาถึงประเทศไทย เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น




รูปเขียนขนาดใหญ่ของเขาหลายรูปถูกนักเรียนกรีดทำลาย ด้วยเหตุที่ว่าผลงานของเขานั้น หมิ่นเหม่ และดูหมิ่นพระพุทธศาสนา ทำใหถวัลย์ ดัชนี เลิกแสดงผลงานในประเทศไทยไปนานหลายปี กว่าคนไทยจะยอมรับได้ เขาก็ต้องเดินตากแดดตากฝนนานอยู่ถึง สามสิบกว่าปี ในปัจจุบันผลงานของเขาได้รับการยอมรับ และได้รับการยกย่องชื่นชมว่าเป็นงานศิลปะชั้นเลิศ อีกทั้งเป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมงานศิลปะทั่วไปอีกด้วย นอกจากนั้น ถวัลย์ ยังฝากศิลปะไทยจิตวิญญาณตะวันออกของเขาไว้ในหลาย ๆ ที่ในโลก "ผลงานบางส่วนถูกเขียนขึ้นในปราสาท ๕oo ห้อง ในประเทศเยอรมนี ซึ่งมีชื่อว่าปราสาทกอททอฟ (Gottorf Castle) " แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ปราสาทนี้ไม่เปิดให้ใครได้เข้าชมแล้ว เพราะอากาศที่หนาวเย็นจะทำให้มีหยดน้ำมาเกาะบนกำแพง ทำให้ภาพเสียหาย .


ข้อมูลจาก
dailynews.co.th











"อยากให้เราพบกันในวันที่สวยงาม และเก็บความทรงจำดี ๆ นั้นไว้"
สิ้น "ถวัลย์ ดัชนี" เจ้าของ "บ้านดำ" แห่งดอยนางแล จ.เชียงราย
ศิลปินแห่งชาิต สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม) ปี ๔๔

เปลว สีเงิน


พ่อไม่ต้องกังวล เพราะพ่อจะไม่ไปไหน พ่อจากไปแต่เพียงร่างกายแต่ผลงานศิลปะที่มาจากหัวใจ จิตวิญญาณ และลมหายใจที่พ่อสร้างทิ้งไว้จะเป็นอมตะตลอดกาล พ่อคือผู้สร้างและลูกคือผู้รักษา หลับให้สบายนะพ่อ เลือดของพ่อยังไหลเวียนในกายลูกเสมอ และเราจะพบกัน...รักพ่อสุดหัวใจ

กราบเท้าพ่อเป็นครั้งสุดท้าย
๓/๙/๑๔
ดอยธิเบศร์ ดัชนี


ข้อความข้างต้นคือข้อความที่ ม่องต้อย - ดอยธิเบศร์ ดัชนี โพสต์ผ่าน Facebook ในช่วงเช้ามืดของวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เพื่อบอกกล่าวให้คนทั่วไปซึ่งติดตามให้กำลังใจ ได้ทราบถึงการเสียชีวิตของผู้เป็นพ่อ หลังจากที่ก่อนหน้านี้พกวเขาได้ทราบว่า ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์(จิตรรกรรม) เจ้าของ บ้านดำ แห่งดอยนางแล อ.เมือง จ.เชียงราย ได้ล้มป่วยลง

ขณะที่ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ม่องต้อย - ดอยธิเบศร์ ก็ได้โพสต์ข้อความให้กำลังใจผู้เป็นพ่อและตัวเอง รวมไปถึงเพื่อเป็นการชี้แจ้งรายละเอียดให้ทุกคนได้ทราบไปในคราวเดียวกันถึงอาการป่วยของผู้เป็นพ่อเช่นกันว่า

"อดทนนะพ่อ" มันคงไม่มีอะไรสะเทือนหัวใจและความรู้สึกได้มากเท่ากับ การได้เห็นคนที่เรารักทุกข์กายและใจ ตั้งแต่ผมจำความได้ ผมไม่เคยได้ยินพ่อบ่น หรืออ่อนแอให้เห็น พ่อเข้มแข็งมาก สองเดือนกว่าที่ผ่านมาพ่อค้นพบว่าตัวเองป่วยหนักแต่เราตัดสินใจปิดข่าว เพราะอยากให้พ่อได้รับการรักษาและพ่อเองก็ไม่อยากให้ใครมาเห็นสภาพยามที่เจ็บป่วย

พ่อเคยบอกว่า "อยากให้เราพบกันในวันที่สวยงามและเก็บความทรงจำดีๆนั้นไว้"

ตั้งแต่วินาทีที่รู้ว่าพ่อป่วยหนัก หัวใจผมแทบสลาย เหมือนฟ้าและแผ่นดินแยกออกจากกัน ตั้งแต่วันนั้นไม่มีคืนไหนที่จะได้หลับอย่างสนิทใจ มันเป็นช่วงวินาทีที่ทุกข์ทรมานที่สุด จนไม่อาจจะบรรยายออกมาเป็นคำพูดได้

ผมเก็บเรื่องนี้ไว้เงียบ ๆ เป็นเดือน แต่ก็มีน้อง ๆ ที่รักกันถามว่า "พี่มีอะไรไม่สบายใจหรือเปล่า" ผมไม่เคยบอกใคร เพราะปกติจะเป็นคนชอบให้กำลังคนอื่น ๆ เสมอ ในยามที่เราเจอภาวะวิกฤตเราก็ต้องให้กำลังใจตัวเองให้มากที่สุด เราต้องเข้มแข็ง เราตัองอดทน ผมไม่เคยบ่นลงในหน้าเฟส เพราะมันไม่มีประโยชน์อันใด

วันนี้ผมไปเยี่ยมพ่อ พ่ออาการไม่ค่อยดีจากอาการตับอักเสบติดเชื้อตัวบวม หมอพยายามช่วยอย่างสุดความสามารถ และทำทุกวิถีทางให้พ่อดีขึ้น ผมถามเสมอว่าพ่อเป็นไงบ้าง พ่อตอบว่า "ไม่เป็นไร" "จิ๊บจ้อย" มื้อเย็นผมพยุงพ่อมานั่งที่โต๊ะ ให้พ่อทานข้าว วันนี้พ่อบอกทานได้มากที่สุดละ ผมจับมือพ่อและพูดว่า "อดทนนะพ่อ เราจะผ่านมันไปให้ได้"

ที่ผมออกมาพูดเพราะอยากจะชี้แจงข้อเท็จจริง เนื่องจากข่าวมีหลายกระแส บางแหล่งบอกว่าพ่อตายแล้ว บางแหล่งบอกว่าพ่อป่วยหนัก ผมอยากบอกว่า ขอขอบพระคุณทุกน้ำใจ ทุกความห่วงใย ตอนนี้พ่อกำลังรักษาตัว หมอสั่งงดเยี่ยม ให้คนไข้ได้พักเต็มที่นะครับ หวังว่าพ่อจะดีขึ้นจนกลับมาสร้างผลงานให้พวกเราทุกคนได้เห็นกันเร็ว ๆ นี้นะครับ


๑๑/๘/๑๔
ดอยธิเบศร์ ดัชนี


อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ม่องต้อย - ดอยธิเบศร์ ทายาทเพียงคนเดียวของถวัลย์ได้แจ้งว่า จะมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพในวันพฤหัสบดีที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.oo น. ณ ศาลา ๑ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร โดยท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ เป็นผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประธานในพิธี และกำหนดสวดพระอภิธรรมศพวันที่ ๔-๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เวลา ๑๙.oo น. และพระราชทานเพลิงศพในวันพุธที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ เวลา ๑๗.oo น. ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

ขณะที่ "สมาคมเขียนภาพคล้ายคน" โมงยามนี้อุทิศพื้นที่ให้กับการเขียนภาพ "ถวัลย์ ดัชนี"





ประวัติ ถวัลย์ ดัชนี



ถวัลย์ ดัชนี เกิดเมื่อ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ที่ จ.เชียงราย เป็นบุตรของนายศรี และนางบัวคำ (พรหมสา) ดัชนี ได้รับการศึกษาชั้นมูลและระดับประถมที่โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม ต่อมาบิดาย้ายมาปฏิบัติงานสรรพสามิตที่อำเภอเมืองพะเยา จึงเรียนต่อชั้นประถมที่โรงเรียนบุญนิธิซึ่งตั้งอยู่ริมชายกว๊านพะเยา และชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนพะเยาพิทยาคม เมื่อบิดาย้ายกลับเชียงรายจึงเข้าเรียนจนจบชั้นชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคมจนจบชั้นมัธยมปีที่ ๖ ของสมัยนั้น

ถวัลย์มีแววด้านการวาดรูปมาตั้งแต่ชั้นมูลและชั้นประถม สามารถวาดตัวละครรามเกียรติ์ได้เกือบทุกตัว นอกจากจะมีความจำเป็นเลิศสามารถจำชื่อเพื่อนร่วมชั้นได้ทุกชั้นปีทั้งที่เชียงรายและพะเยาแล้ว เมื่อถวัลย์มีอายุ ๘-๙ ขวบก็มีความคิดแผลง ๆ จำเรื่องนายมั่นนายคงจากละครวิทยุปลุกใจยุคปลายและหลังสงคราม เที่ยวชักชวนเพื่อนกรีดเลือดสาบานไปอยู่ดงพญาเย็นด้วยกันเมื่อโตขึ้นเป็นต้น

เมื่อจบชั้นมัธยม ๖ ที่เชียงราย ถวัลย์ก็ได้รับทุนมาเรียนต่อที่ โรงเรียนเพาะช่าง และได้เป็นนักเรียนดีเด่น ด้วยฝีมือการวาดรูปที่แม่นยำ เฉียบคม ฉับไว จึงเป็นหนึ่งในนักเรียนเพาะช่างดีเด่นด้านจิตรกรรม ที่ผลงานได้รับการคัดเลือกไปแสดงในหอศิลป์แห่งชาติ นครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้น ถวัลย์ ดัชนี จึงเข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้เป็น "ศิษย์รุ่นท้าย ๆ ของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี"




ตอนเรียนอยู่ที่ศิลปากรในชั้นปีที่ ๑ ถวัลย์ ดัชนี ทำคะแนนการวาดรูปได้ถึง ๑oo+ แต่เมื่อขึ้นปี ๒ เขากลับทำได้แค่ ๑๕ คะแนน เพราะเหตุผลที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ให้ไว้ว่า ปลาของนายไม่มีกลิ่นคาว นกของนายแหวกว่ายไปในอากาศไม่ได้ ม้าของนายไม่สามารถที่จะควบหรือวิ่งทะยานออกไปได้ นายเป็นเพียงแค่นักลอกรูป มันไม่ใช่งานศิลปะ

คำวิจารณ์ของศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีดังกล่าวนี้ทำให้ถวัลย์ ดัชนี เปลี่ยนแปลงการทำงานทุกอย่างใหม่หมด เมื่อคิดและดำรงอยู่ในวิถีทางแห่งศิลปะได้แล้ว เขาจึงได้รับการสนับสนุนจากศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ให้สอบชิงทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านสาขาจิตรกรรมฝาผนัง อนุสาวรีย์ ผังเมือง และในระดับปริญญาเอก สาขาอภิปรัชญา และสุนทรียศาสตร์ ที่ราชวิทยาลัยศิลปะอัมสเตอร์ดัม ที่แห่งนี้เองที่ถวัลย์ได้เรียนร่วมชั้นเดียวกันกับนักเรียนต่างชาติ ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีศิลปินแห่งชาติเกิดขึ้น ๓ คนจากสถาบันแห่งนี้ นั่นคือ ศิลปินแห่งชาติของอินโดนีเซีย ด้านการแกะสลัก, ศิลปินแห่งชาติของอเมริกา ชาวสวิตเซอร์แลนด์ นามว่า Giger (ไกเกอร์ หรือ กีเกอร์ ถ้าอ่านแบบเยอรมัน) ซึ่งเป็นศิลปินที่วาดรูปออกแนวอวกาศและเป็นผู้ออกแบบเอเลี่ยน และศิลปินแห่งชาติของไทย ถวัลย์ ดัชนี

เมื่อกลับมาถึงประเทศไทย เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น รูปเขียนขนาดใหญ่ของเขาหลายรูปถูกนักเรียนกรีดทำลาย ด้วยเหตุที่ว่างานของเขานั้นดูหมิ่นพระพุทธศาสนา ทำให้ถวัลย์ ดัชนี เลิกแสดงผลงานในประเทศไทยไปนานหลายปี กว่าคนไทยจะยอมรับได้ เขาก็ต้องเดินตากแดดตากฝนนานอยู่ถึง สามสิบกว่าปี ในปัจจุบันผลงานของเขาได้รับการยอมรับ และได้รับการยกย่องชื่นชมว่าเป็นงานศิลปะชั้นเลิศ อีกทั้งเป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมงานศิลปะทั่วไปอีกด้วย




ถวัลย์ ดัชนี ได้ฝากศิลปะไทยจิตวิญญาณตะวันออกของเขา ไว้ในหลาย ๆ ที่ในโลก "ผลงานบางส่วนถูกเขียนขึ้นในปราสาทที่มีถึง ๕oo ห้อง ในประเทศเยอรมนี ซึ่งมีชื่อว่าปราสาทกอททอฟ (Gottorf Castle) " ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่ปราสาทนี้ไม่เปิดให้ใครได้เข้าชมแล้ว เพราะอากาศที่หนาวเย็นจะทำให้มีหยดน้ำมาเกาะบนกำแพง ทำให้ภาพเสียหาย แต่รายการโทรทัศน์ที่ได้เข้าไปถ่ายทำเป็นรายการสุดท้ายนั่นคือ รายการชีพจรลงเท้า

ยามว่างจากการเขียนรูป ถวัลย์ ดัชนีจะเดินไปในป่าเพื่อหาเขากวางที่ผลัดแล้วมาเก็บไว้ เพื่อเป็นเครื่องลับจินตนาการให้เฉียบคมอยู่ตลอดเวลา

ปัจจุบัน ก่อนจะล้มป่วยลงและเสียชีวิตในที่สุด ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ให้กับศิลปินรุ่นใหม่ ด้วยการใช้บ้านดำ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย เป็นสถานที่จัดกิจกรรม ร่วมทั้ง เดินทางไปบรรยายและให้ความรู้ร่วมกับศิลปินแห่งชาติท่านอื่นๆ ทั่วประเทศไทย

และระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เพิ่งจัดงานฉลองครบรอบ ๗๔ ปี ของตนเอง ณ สยามพารากอน

ซึ่งภายในงานมีการแสดงพร้อมประมูล ผลงานศิลปะของ ๗ ศิลปิน ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก ถวัลย์ ดัชนี,เปิดตัวหนังสือภาพถ่ายบ้านดำ และเปิดตัวเหรียญ "สุริยภูมิจักรวาล" ที่ตนเป็นผู้ออกแบบ ( หลังจากที่เมื่อมีอายุ ๗๓ ปี เคยออกแบบและเปิดตัวเหรียญ "ปฐมภูมิจักรวาล" ) ตลอดจน ศิลปะการแสดง,ดนตรี,แฟชั่นโชว์ และการจำหน่ายของที่ระลึกอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการครบรอบ ๗๔ ปี

ถวัลย์ ดัชนี ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ. ๒๕๔๔

“คนตะวันตกมีวิถีทางในการคิดและทำงานศิลปะอย่างไร แล้วให้พวกเราได้ย้อนกลับมาดูว่า เราซึ่งเป็นคนตะวันออกคิดอย่างไร เพื่อที่ในที่สุดจะได้นำความคิดของคนตะวันตก มาผสมผสานกับตะวันออก แล้วสร้างเป็นงานศิลปะร่วมสมัยที่สามารถหายใจได้ใน พ.ศ.นี้ ของเรา

ไม่ใช่ว่า กลับมาทำเหมือนในสมัยอยุธยาตอนต้นหรือตอนปลาย สุโขทัย หรือรัตนโกสินทร์ แต่กลับมาทำงานศิลปะอย่างคนที่รู้จักตน รู้จักคนอื่นรู้จักเขา รู้จักเรา และอยู่ในโลกนี้ได้อย่างสมบูรณ์"

ถวัลย์ ดัชนี กล่าวให้สัมภาษณ์กับ ART EYE VIEW ไว้คราหนึ่ง ใน "ค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย (สาขาทัศนศิลป์)" ณ บ้านดำ ต.นางแล อ.เมือง จ.เชียงราย ก่อนจะมีการคัดเลือกเยาวชนที่มีผลงานโดดเด่นไปศึกษาดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา





ข้อมูลจาก
manager.co.th


ภาพจาก จาก เพจ Thawan Duchanee


บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะ


บีจีจากคุณเนยสีฟ้า

Free TextEditor





Create Date : 09 กันยายน 2557
Last Update : 4 กันยายน 2566 9:17:50 น.
Counter : 9457 Pageviews.

0 comments
Aankhon Mein Teri Ajab Si (आँखों में तेरी अजबसी) from Om Shanti Om (ओम शांति ओम) ปรศุราม
(29 มี.ค. 2567 09:47:16 น.)
เว็บระบายสีออนไลน์ ฟรี! ไม่ต้องโหลดแอป ฝึกสมาธิ ผ่อนคลาย สมาชิกหมายเลข 8002347
(25 มี.ค. 2567 03:00:46 น.)
ภ า พ จิ ต ร ก ร ร ม ฝ า ฝ นั ง สมาชิกหมายเลข 7582876
(23 มี.ค. 2567 11:46:41 น.)
La dernière valse from Une Revue by Reynaldo Hahn ปรศุราม
(21 มี.ค. 2567 10:13:15 น.)

Haiku.BlogGang.com

haiku
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]

บทความทั้งหมด