โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะทางการแพทย์อย่างหนึ่ง โดยจะตรวจพบความดันโลหิต อยู่ในระดับที่สูงกว่าปรกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ในปี 1999 ว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140 /90 มม.ปรอทถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง และ การที่ความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานาน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหัวใจ โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อัมพาต ฯลฯโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เมื่อรู้ตัวว่าเป็นส่วนมากจะไม่ได้รับการดูแลรักษา ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากไม่มีอาการทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่อเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงจะเริ่มสนใจและรักษา ซึ่งบางครั้งก็อาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร การควบคุมความดันโลหิตให้ปกติอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดโอกาสเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เป็นข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังนี้ 1.อายุ ส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ขณะอายุ 18 ปี ความดันโลหิต เท่ากับ 120/70 มม.ปรอท แต่พออายุ 60 ปี ความดันโลหิต อาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 140/90 แต่ก็ไม่ได้เป็นกฏตายตัวว่าอายุมากขึ้นความดันโลหิตจะสูงขึ้นเสมอไป อาจวัดได้ 120/70 เท่าเดิมก็ได้ เวลา ความดันโลหิตจะขึ้นๆ ลงๆ ไม่เท่ากันตลอดวัน ตัวอย่างเช่น ในตอนเช้าความดันซิสโตลิกอาจจะวัดได้ 130 มม.ปรอท ขณะที่ ตอนช่วงบ่ายอาจวัดได้ถึง 140 มม.ปรอท ขณะนอนหลับอาจวัดได้ต่ำถึง 100 มม.ปรอท เป็นต้น 2.จิตใจและอารมณ์ พบว่ามีผลต่อความดันโลหิตได้มาก ขณะที่ได้รับความเครียด อาจทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าปกติได้ถึง 30 มม.ปรอท ขณะที่พักผ่อนความดันโลหิตก็จะสามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้ เมื่อรู้สึกเจ็บปวดก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้เช่นกัน 3.เพศ พบว่าเพศชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้บ่อยกว่าเพศหญิง 4.พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีบิดาและมารดา เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในครอบครัว สิ่งแวดล้อม ที่เคร่งเครียด ก็ทำให้มีแนวโน้มการเป็นโรคความดันสูงขึ้นด้วยเช่นกัน 5.สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อยู่ในสังคมเมืองจะพบภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าในสังคมชนบท 6.เชื้อชาติ พบว่าชาวนิโกรอเมริกันความดันโลหิตสูงมากกว่าชาวอเมริกันผิวขาว 7.ปริมาณเกลือที่รับประทาน ผู้ที่รับประทานเกลือมากจะมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่รับประทานเกลือน้อย ตัวอย่างเช่น ชาวญี่ปุนตอนเหนือรับประทานเกลือมากกว่า 27 กรัม/วัน มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงถึง 39% ส่วนชาวญี่ปุ่นตอนใต้รับประทานเกลือวันละ 17 กรัม/วัน เป็นมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพียง 21% ระดับความรุนแรง ระดับที่ 1 ความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรก ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 140-159/90-99 มม.ปรอท ระดับที่ 2 ความดันโลหิตสูงระยะปานกลาง ค่าความดันโลหิต ระหว่าง 160-179/100-109 มม.ปรอท ระดับที่ 3 ความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง ค่าความดันโลหิต มากกว่า 180/110 มม.ปรอท การวัดความดันโลหิตควรจะวัดขณะนอนพัก ควรวัดซ้ำ 2-3 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความดันโลหิตสูงจริงๆ อาการของผู้ป่วย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลย หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจมีอาการแน่นหน้าอกหรือนอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 2 กรณีด้วยกันคือ กรณีที่ 1 ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก กรณีที่ 2 ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หลอดเลือดสมองตีบ เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือหลอดเลือดแดงในไตตีบมากถึงขั้นไตวายเรื้อรังได้ จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุไว้ว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตจากหัวใจวายถึง 60-75 % , เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองอุดตัดหรือแตก 20-30 % และเสียชีวิตจากไตวายเรื้อรัง 5-10 % ภาวะแทรกซ้อน หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายได้ในที่สุด อาจเกิดภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันหรือแตก ทำใหเป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ ถ้าเป็นเรื้อรัง อาจกลายเป็นโรคความจำเสื่อม สมาธิลดลง เลือดอาจไปเลี้ยงไตไม่พอ เนื่องจากหลอดเลือดเสื่อม ทำให้ไตวายเรื้อรังและภาวะไตวายจะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอีก หลอดเลือดแดงในตาจะเสื่อมลงอย่างช้าๆ อาจมีเลือดที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อยๆ จนตาบอดได้ ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีความดันโลหิตสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น การเดินเร็วๆ วิ่งเหยาะ หรือว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ควรออกกำลังกายประมาณ 15-20 นาที อย่างน้อย 3-6 ครั้ง/สัปดาห์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด เพื่อลดปริมาณเกลือซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงได้ ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่ ลดความเครียดของงานและภาวะแวดล้อม ลดน้ำหนักตัว โดยเฉพาะในรายที่น้ำหนักเกินมาตรฐาน ความอ้วนถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคความดันโลหิตสูง รับประทานยาและพบแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อตรวจวัดความดันโลหิตและปรับยาให้เหมาะสม ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ขอขอบคุณมากมากเลย ที่นำมาแบ่งปันให้อ่านกัน
โดย: everything on วันที่: 20 มีนาคม 2551 เวลา:19:07:29 น.
เมื่อวานนี้ วันพุทธที่ 1 9มีนาคน 2551 ได้ไปหาหมอที่ Great Western Medical Pratict Aberdeen เกี่ยวกับเลือดกำเดาที่ไหลบ้างซ้ายข้างเดียว และไหลแต่ละครั้งเหมือนเปิดก๊อกน้ำให้น้ำไหลหยดติงๆ อย่างนั้นเลย ครั้งแรกที่เลือดกำเดามาเยือนคือเดือนพฤศจิกา ปี 2533 ตอนอยู่ที่ฮ่องกง และใช้เวลาในการไหลประมาณครั้งละไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง ไม่มีอาการปวดหัวหรืออาการใดๆร่วมด้วย ต้องใช้วีธีนั่งก้มหน้าที่โถชักโครกให้เลือดมันไหลจนกว่าเลือดจะหยุดไหลไปเอง ไม่ไหลบ่อยนัก นานๆครั้ง จนระยะหลังๆนี้ชักจะเบื่อตัวเองถึงกับร้องไห้ว่าทำไมถึงเป็นยังงี้นะ ตอนที่อยู่เมืองไทยก็หาหมอกินยาที่หมอจัดให้ ก็ไม่หาย และล่าสุดหมอประเสริฐที่ตรังแนะนำว่าให้เลือกเอา 3 วีธี เราอยากเลือกวีธีจี้ด้วยไฟฟ้า แต่ก็ไม่มีเวลาทำที่เมืองไทย เลยรอมาหาหมอที่อเบอร์ดีนแทน
เมื่อวานไม่มีอาการเลือดกำเดาไหลหรอก หมอก็เลยหาจุดที่เลือดออกมาไม่ได้ ความดันสูงนิดหน่อย ไม่เคยเป็นมาก่อน นี่ก็เป็นสาเหตุอย่างนึงที่เลือดกำเดาไหลไงหมอบอก คงเป็นกรรมพันธ์ อาหมะเราเป็น เราถามหมอว่าเราต้องการรักษาด้วยวีธีจี้ด้วยไฟฟ้าได้หรือไม่ หมอแนะนำว่าให้มาหาวันที่เลือดไหล เราก็บอกว่าระหว่างเลือดไหลนั้นเราไม่สามารถมาได้หรอก และเลือดมันไม่ได้เจาะจงเวลาที่ที่หมอทำงานด้วย ฉันมาหาหมอหลังที่เลือดไหลได้หรือไม่ โดยนัดแบบฉุกเฉิน หมอบอกได้ หมอแนะนำว่าให้โทรฯให้หมอหรือพยาบาลมาที่บ้านในขณะที่เลือดไหลพยาบาลเขาจะให้ห้ามเลือกให้ เราบอกว่าไม่มีประโยชน์ค่ะ เพราะทำทุกวีธีแล้วไม่ได้ผล เอาเป็นว่าเรานัดฉุกเฉินดีกว่า เราประทับใจการบริการที่นี่นะ บริการดีและใส่ใจคนไข้ตั้งแต่เจ้าหนาที่ที่เคาร์เตอร์เลยหละ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่เราโทรฯนัด เราบอกเจ้าหน้าที่ที่รับสายก่อนเลยว่าภาษาฉันอ่อนแอนะค่ะ เขาบริการดีมากเลย ไม่มีหงุดหงิดใส่เลยค่ะ คุยถามข้อมูลกันและกันประมาณ 1/2 ชั่วโมงได้มั้ง ครั้งแรกเจ้าหน้าที่เงียบไป เราคิดว่าเขาคงวางสายแล้ว แต่ไม่ค่ะ เพราะเราต้องนัดตรวจ 2 อย่างไงและเราก็ถามอีกหลายอน่างค่ะ เราต้องตรวจเรื่องปัสสาวะบ่อยๆด้วย ตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วย เลยรู้ว่าที่นี่ตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 3 ปีในเดือนเมษายนค่ะ คนเราพอแก่ชราโรคต่างๆก็มาเยี่ยมเนอะ ขอให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียนนะค่ะ โดย: กวนฐานฮวา ณ อเบอร์ดีน วันที่: 20 มีนาคม 2551 เวลา:19:28:18 น.
ที่บล๊อคออกมาสวยได้ก็ด้วยความมีน้ำใจของท่านเหล่านี้ค่ะ
อักษรต้อนรับ.....คุณmonata สีของตัวอักษร.....ป้ามด นาฬิกากุ๊กกู้......คุณice coffee รูปไอคอนเล็กๆ......คุณsunshire mummy ภาพพิ้นหลังสวยๆ.......คุณไหม ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยนะค่ะ โดย: กวนฐานฮวา ณ อเบอร์ดีน วันที่: 2 พฤษภาคม 2551 เวลา:5:14:23 น.
|
กวนฐานฮวา ณ อเบอร์ดีน
บทความทั้งหมด
|