ภาวะเลือดกำเดาไหล (Nosebleeds) เลือดกำเดา (Epistaxis) หมายถึง เลือดที่ไหลออกจากในโพรงจมูก หรือบริเวณหลังจมูก ประมาณร้อยละ 95 มีตำแหน่งเลือดออกอยู่ที่เยื่อบุจมูกส่วนหน้าของผนังกั้นกลางจมูกทั้ง ๒ ข้าง (Nasal septum) ใกล้ปลายจมูก ส่วนมากเกิดจากการแตกของเส้นเลือดฝอยเล็กๆของเยื่อบุจมูก จึงมีเลือดไหลออกทางรูจมูก ถ้านอนหงายเลือดจะไหลไปหลังจมูกเข้าในคอแล้วขากออกทางปาก เลือดกำเดาออกแบบนี้เป็นแบบที่พบมากที่สุดในเด็กๆ ซึ่งมีเลือดออกบ่อยๆ ครั้งละน้อยๆ ไม่มีอันตราย สำหรับในผู้ใหญ่อาจเกิดจากเส้นเลือดใหญ่แตก เนื้องอก มะเร็งในจมูก ซึ่งมีเลือดออกมากเป็นอันตรายได้ เส้นเลือดฝอยเส้นเล็กๆของเยื่อบุจมูก สาเหตุหลัก ๆ ของเลือดกำเดาไหลนั้นมีอยู่หลายประการด้วยกัน ดังต่อไปนี้ การกระทบกระเทือน อาทิเช่น การสั่งน้ำมูกแรงๆ การแกะจมูกซึ่งมักพบในเด็ก อุบัติเหตุที่บริเวณศีรษะและใบหน้า การผ่าตัดบริเวณโพรงจมูกและไซนัส สิ่งเหล่านี้มีผลต่อเส้นเลือดโดยตรง ทำให้เส้นเลือดฉีกขาดได้ อุบัติเหตุที่ศีรษะและใบหน้านั้น ผู้ป่วยอาจมีกระดูกแตก มีแผลฉีกขาดร่วมด้วย ส่วนถ้าฐานของกระโหลกศีรษะแตก อาจพบมีเลือดออกจากหู และกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาตได้ เส้นเลือดฝอยแตกเองในระยะที่อากาศแห้ง ร้อนจัด หรือหนาวจัดมักมีเลือดออกในตอนกลางคืนหรือตอนเช้า นอกจากนี้ยังเกิดจากถูกกระแทกที่จมูก ขยี้จมูกแรงๆ นิ้วแยงในจมูก ถูกตีที่จมูกจนกระดูกจมูกหัก จมูกอักเสบ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ มีสิ่งแปลกปลอมในจมูก โรคของไซนัส รวมทั้งริดสีดวง และเนื้องอกหรือมะเร็ง โรคทั่วไป เช่น ความดันเลือดสูง โรคเลือดชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคตับ ไต เบาหวาน โรครูมาติก ไข้จับสั่น ไข้หวัดใหญ่ หัด คอตีบ โรคหวัดเรื้อรัง หรือโรคภูมิแพ้ทางจมูก โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) ที่ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม การอักเสบติดเชื้อ เช่น โพรงจมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)หรือโรคติดเชื้อในโพรงจมูก สำหรับไซนัสอักเสบนั้นผู้ป่วยอาจจะมีอาการคัดแน่นจมูก มีเสมหะไหลลงคอ อาจมีไข้ปวดศรีษะ และปวดบริเวณไซนัสที่อักเสบ เช่น บริเวณที่หน้าผาก หรือโหนกแก้ม เนื้องอกของโพรงจมูก ที่เรียกว่าริดสีดวงจมูก และเนื้องอกของตัวเส้นเลือดเอง มะเร็งที่โพรงจมูก มะเร็งที่ไซนัส มะเร็งที่ฐานของกระโหลกศีรษะ ผู้ป่วยที่มีมะเร็งที่ด้านหลังของโพรงจมูก อาจมีอาการหูอื้อ และต่อมน้ำเหลืองที่คอโตนำมาก่อนที่ผู้ป่วยจะมีเลือดกำเดาไหลก็ได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia) อาจพบมีจ้ำฟกช้ำ ดำเขียว ตามเเขนขาและลำตัว, โรคเบาหวาน ซึ่งจะพบมีน้ำตาลในเลือดสูง และโรคความดันโลหิตสูง จะมีผลทำให้เส้นเลือดเปราะและแตกง่าย, โรคตับและไต เช่นไตวายเรื้อรัง ก็จะทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติไป ผู้ป่วยที่รับประทานยาบางประเภท ยาแก้ปวดบางชนิด ยาแอสไพริน ยาละลายลิ่มเลือด ยาเหล่านี้จะทำให้เลือดไหลง่ายกว่าปกติ ภาวะการขาดสารอาหาร จำพวกวิตามิน เช่น วิตามินซี(C) วิตามินเค(K) สาเหตุต่างๆ ที่เลือดกำเดาไหล 1. จากการระคายเคืองหรือบาดเจ็บต่อเยื่อบุจมูก สาเหตุนี้ ได้แก่ การแคะจมูก การสั่งน้ำมูกแรงๆ หรืออยู่ในที่ที่อากาศแห้งเป็นเวลานาน บางคนนั่งเครื่องบินต่อเนื่องกันหลายชั่วโมง อากาศในเครื่องบินที่แห้งมาก มีความชื้นต่ำ ทำให้เยื่อจมูกแห้งและเปราะ เลยเกิดเลือดออกได้ 2. จากเนื้องอกในจมูก ริดสีดวงจมูก เยื่อจมูกอักเสบเรื้อรังจากโรคภูมิแพ้ พวกนี้เป็นโรคของจมูก เป็นแล้วเรื้อรัง เลือดกำเดาไหลเป็นอาการอย่างหนึ่งของโรคเหล่านี้ มักเป็นๆ หายๆ บางช่วงเป็นมาก บางช่วงเป็นน้อย ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ หรือสิ่งที่แพ้ที่แขวนลอยอยู่ในอากาศครับ 3. ความดันโลหิตสูง โรคนี้พบได้บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยกลางคนและสูงอายุ ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง อาจมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ เนื่องด้วยสาเหตุทางพันธุกรรมครับ บางคนเลือดกำเดาไหล เลยทำให้รู้ว่าเป็นความดันโลหิตสูง ก่อนหน้าที่สบายดี ไม่เคยวัดความดันเลย จึงไม่รู้ว่าเป็น กรณีนี้เรียกได้ว่า เลือดกำเดาเป็นสัญญาณแจ้งเหตุให้รู้โรคที่อยู่เบื้องหลัง 4. โรคเลือดออกง่าย โรคเลือดและอีกหลายโรคที่มีอาการของโรคคือ ภาวะเลือดออกง่าย ฉะนั้นการที่เลือดกำเดาไหล อาจเป็นอาการแสดงของภาวะเลือดออกง่าย ความผิดปกติของเกล็ดเลือด หรือกลไกการแข็งตัวของเลือด สามารถทำให้เลือดกำเดาไหลได้ 5. การบาดเจ็บที่ศีรษะ อาจเป็นการบาดเจ็บที่บริเวณจมูกโดยตรง เช่น จมูกกระแทกของแข็งหรือของมีคมทิ่มตำ หรือบาดเจ็บบริเวณข้างเคียง รวมถึงกะโหลกศีรษะ กรณีรุนแรง-กะโหลกศีรษะร้าว อาจมีเลือดปนน้ำใสๆ ไหลออกทางจมูกหรือทางหูด้วยก็ได้ครับ น้ำใสๆ ที่ไหลปนออกมานั้นคือ น้ำหล่อเลี้ยงสมองครับ เมื่อกะโหลกศีรษะแตกน้ำนี้จึงซึมไหลออกมาได้ การรักษา หลักการที่สำคัญของการรักษาก็คือ การค้นหาสาเหตุ แล้วรักษาตามสาเหตุนั้นๆ ครับ สาเหตุที่ 1 ต้องแนะนำเด็กๆ ให้หลีกเลี่ยงการแคะจมูกหรือสั่งน้ำมูกแรงๆ วิธีสั่งน้ำมูกที่ถูกต้องคือ กดจมูกข้างหนึ่งเบาๆ แล้วสั่งน้ำมูกออกทางรูจมูกอีกข้าง อย่าสั่งแรงมากหรือกดจมูกอีกข้างจนแน่น เพราะจะทำให้เกิดแรงดันสูงขึ้น หูส่วนกลาง แก้วหูอาจแตกได้ หรือเชื้อโรคในจมูกอาจถูกดันเข้าไปในช่องหูหรือโพรงไซนัสได้ครับ เด็กที่แพ้อากาศ เป็นหวัดบ่อยๆ รีบรักษาหวัดหรือแพ้อากาศให้ถูกต้อง อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรัง เลือดกำเดาจะหายไปได้เองครับ สาเหตุที่ 2 อาจต้องผ่าตัด เอาเนื้องอกหรือริดสีดวงจมูกออกครับ รักษาด้วยยาอย่างเดียวคงไม่พอ ยารักษาเยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้พัฒนาดีขึ้นมาก ในปัจจุบันมียารับประทานและยาพ่นจมูกด้วย ขอให้ติดตามการรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิดครับ สาเหตุที่ 3 ความดันโลหิตสูง ต้องให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุและรักษาตามความเหมาะสมอย่างต่อเนื่องครับ ส่วนใหญ่แล้วต้องรักษาตลอดไป หยุดไม่ได้ ความดันจะกลับมาสูงอีก สาเหตุที่ 4 มีหลายภาวะมากเลยที่นำไปสู่ภาวะเลือดออกง่าย แพทย์จะตรวจค้นหาสาเหตุอย่างละเอียด แล้วให้การรักษาครับ เพราะบางโรคก็ร้ายแรงเอาการทีเดียว ระดับมะเร็งเลยก็มีครับ สาเหตุที่ 5 คงต้องตรวจเอกซเรย์ หรือตรวจพิเศษอื่นๆ หลายอย่างครับ เพื่อดูว่าบาดเจ็บต่ออวัยวะส่วนใดบ้าง จะได้ซ่อมแซมหรือผ่าตัดตามความเหมาะสม การปฐมพยาบาลเลือดกำเดาไหล ผมขอแนะนำวิธีห้ามเลือดกำเดาไหลที่เกิดขึ้นในบ้าน ไม่ใช่อุบัติเหตุหรือบาดเจ็บร้ายแรง ดังนี้ครับ 1. ให้เด็กหรือผู้ที่มีเลือดกำเดาไหลน้อยนั่งโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย 2. บีบจมูกด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ตรงบริเวณที่สูงเลยปลายจมูกขึ้นไปเล็กน้อย หรือใช้นิ้วกดจมูกข้างที่เลือดออก หรือใช้นิ้วบีบจมูกทั้ง ๒ ข้าง อ้าปากหายใจ บีบไว้นานๆ ประมาณ ๕-๑๐ นาที เลือดจะหยุดเอง การบีบจมูกนี้จะเป็นการบีบผนังจมูกส่วนที่นุ่มไปกดตรงตำแหน่งที่เลือดออกที่ผนังกั้นช่องจมูก ไม่ควรให้นอนหงาย เพราะเลือดจะไหลย้อนเข้าส่วนลึกของจมูก เข้า คอ และขากออกทางปาก ทำให้มีเลือดเลอะเทอะทั่วไปจนตรวจไม่รู้ว่าออกจากไหนแน่ ถ้าผู้ป่วยกลัวจะเป็นลม ให้นอนตะแคง ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือห่อน้ำแข็งวางที่หน้าผากจะช่วยให้สบายขึ้น ไม่ตกใจกลัว ในเวลาเดียวกันต้องบีบจมูกด้วย 3. ให้อ้าปากเพื่อหายใจทางปากแทนจมูก 4. บีบจมูกให้แน่นไว้ตลอดเวลา สัก 6-10 นาที ต้องบีบตลอดเวลานะครับ อย่าบีบๆ ปล่อยๆ เพราะจะทำให้เลือดหยุดไหลช้า 5. อาจวางผ้าเย็นหรือถุงน้ำแข็งบริเวณดั้งจมูกด้วยก็ได้ขณะที่บีบจมูกอยู่ การวางผ้าเย็นหรือถุงน้ำแข็งอย่างเดียวได้ผลน้อยกว่าการบีบจมูกครับ ๒. ใช้สำลีหรือเศษผ้าสะอาด ชุบน้ำสะอาดพอหมาดๆ หรือชุบยาหยอดจมูกซึ่งมียาช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ใส่ในโพรงจมูกให้แน่น บีบจมูกด้วยยิ่งดีประมาณ ๑๐ นาทีจึงค่อยๆ ดึงออก ถ้าไม่หยุดต้องไปพบแพทย์ ข้อมูลจาก นายแพทย์ประสิทธิ์ ศรีสมบูรณ์ คลังปัญญาไทย //www.panyathai.or.th โรงพยาบาลบางกอกพัทยา นพ.ผดุงชัย หาญผคุงธรรมะ สวัสดีค่ะ พี่ไอริน ที่นี่หิมะลงหนาค่ะ และก็ละลายไม่หมดเลย สงสารนก ปูก็เลยต้องให้อาหารมันกว่าปกติ พี่เปลี่ยนสีตัวอักษรที่เข้มกว่านี้ใด้ใหมคะ มันอ่านยากเพราะสีค่อนข้างอ่อน ปูคงมีปัญหาเรื่องสายตา ไม่รู้คนอื่นเป็นเหมือนกันหรือเปล่า
โดย: ลูกแมง วันที่: 27 มีนาคม 2551 เวลา:17:41:54 น.
ที่บล๊อคออกมาสวยได้ก็ด้วยความมีน้ำใจของท่านเหล่านี้ค่ะ
อักษรต้อนรับ.....คุณmonata สีของตัวอักษร.....ป้ามด นาฬิกากุ๊กกู้......คุณice coffee รูปไอคอนเล็กๆ......คุณsunshire mummy ภาพพิ้นหลังสวยๆ.......คุณไหม ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยนะค่ะ โดย: กวนฐานฮวา ณ อเบอร์ดีน วันที่: 2 พฤษภาคม 2551 เวลา:5:12:12 น.
|
กวนฐานฮวา ณ อเบอร์ดีน
บทความทั้งหมด
|