ไตวายและไตวายเรื้อรัง ไตวายเรื้อรังเป็นภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่อย่างเรื้อรัง ทำให้เกิดการคั่งของของเสียและน้ำ ไตคืออะไร ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายในการขับของเสียออกจากเลือดและขับออกพร้อมกับน้ำในรูปของปัสสาวะ และควบคุมปริมาณสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุล ไตของมนุษย์อยู่ที่ส่วนล่างของช่องท้อง มีสองข้างซ้ายขวา ไตขวาอยู่ด้านใต้ติดกับตับ ไตซ้ายอยู่ใต้กะบังลมและอยู่ติดกับม้าม ข้างบนไตทั้งสองข้างมีต่อมหมวกไต (Adrenal gland) อยู่ เนื่องจากในช่องท้องมีตับอยู่ทำให้ร่างกายสองข้างไม่สมมาตรกัน ตำแหน่งของไตขวาจึงอยู่ต่ำกว่าไตซ้ายเล็กน้อย และไตซ้ายยังอยู่ค่อนมาทางกลางลำตัวมากกว่าไตขวาเล็กน้อยเช่นกัน ขนาดโตของไตโดยประมาณคือ 16x6x2.5 เซนติเมตร ในผู้ใหญ่ชาย ไตแต่ละข้างจะหนักประมาณ 125-170 กรัม ผู้ใหญ่หญิงหนักประมาณ 115-155 กรัม ทั้งนี้ขนาดและน้ำหนักของไตแตกต่างกัน ตามขนาดร่างกาย ในแต่ละคน ในเด็กแรกเกิดไตจะค่อนข้างโต เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว โดยปกติจะมีเยื่อบางๆ หุ้มยึดให้ไตอยู่ตำแหน่งกับที่ โดยมีการเคลื่อนขึ้น-ลง ตามความเคลื่อนไหวของกระบังลม ไตเป็นอวัยวะที่อยู่หลังเยื่อบุช่องท้อง (Retroperitoneal organ) อยู่ในระดับประมาณกระดูกสันหลังท่อนที่ T12 ถึง L3 บางส่วนของส่วนบนของไตถูกปกป้องโดยกระดูกซี่โครงคู่ที่ 11 และ 12 นอกจากนั้นแล้วไตทั้งลูกยังถูกห่อหุ้มด้วยชั้นไขมันสองชั้น (perirenal fat และ pararenal fat) ในบางครั้งอาจมีความผิดปกติแต่กำเนิดทำให้มีไตเพียงหนึ่งข้าง หรือไม่มีเลยก็เป็นไปได้ ปกติมีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วเท่ากำปั้น มีอยู่ 2 อัน ถ้าไตข้างใดข้างหนึ่งเสียไตอีกข้างสามารถทำหน้าที่แทนได้ เมื่อไตเสียหน้าที่ทั้ง 2 ข้าง คือไม่สามารถกรองของเสียหรือที่เรียกว่าไตวาย ก็จะเกิดอาการซึ่งเกิดจากการคั่งของของเสีย และการคั่งของน้ำและเกลือแร่ และการเสียสมดุลของฮอร์โมนของร่างกาย ซึ่งก็รวมทั้งการทำงานของไตและขับถ่ายของเสียที่เกิดจาการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน หากของเสียพวกนี้คั่งมากๆ จะมีอาการมึนงง เบื่ออาหาร หมดสติ และอาเจียน ไต มีหน้าที่อะไร อาจกล่าวได้ว่า หน้าที่หลักของไตก็คือ การรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะปกติ ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ จะต้องเท่ากับปริมาณน้ำที่ออกจากร่างกาย ส่วนใหญ่ของน้ำที่สูญเสียออกจากร่างกายประกอบด้วยการสูญเสียทางปัสสาวะ อุจจาระ ทางเหงื่อและระบบทางเดินหายใจ ซึ่งการสูญเสียทางเหงื่อ มีความสำคัญในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เพราะความร้อน จะออกไปพร้อมกับการ ระเหยของเหงื่อ ส่วนปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับมาจาก 3 แหล่งหลักๆ คือ น้ำดื่ม น้ำที่อยู่ในอาหารที่รับประทานทุกประเภท น้ำที่ได้จากการย่อยอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ทั้งนี้น้ำที่ได้รับจากอาหารและการย่อยอาหารในผู้ใหญ่ ที่รับประทานอาหารปกติ มีค่าประมาณวันละ 1200 ซีซี ในขณะที่ร่างกาย ต้องสูญเสียน้ำไปวันละประมาณ 1600 ซีซี ดังนั้นเพื่อรักษาสมดุลของน้ำ ในร่างกาย ท่านควรดื่มน้ำชดเชยให้เพียงพอกันอย่างน้อย 400 ซีซี ขึ้นไปในแต่ละวัน ควบคุมปริมาณน้ำ และเกลือแร่ที่เกินความจำเป็น โดยขับออกทางปัสสาวะ ผลิต และควบคุมการทำงานของฮอร์โมน เช่นฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณแคลเซี่ยม และฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงฮอร์โมนที่ไตผลิตได้แก่ Erythropoietin ทำหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง Renin ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิต vitamin D ทำหน้าที่สร้างกระดูก "ไต" จึงทำหน้าที่ขับน้ำออกจากร่างกายในรูปของ "ปัสสาวะ" การทดสอบความผิดปกติอย่างง่ายๆ แบบคร่าวๆ สำหรับผู้ใหญ่ โดยให้ดื่มน้ำสะอาดจำนวน 1 ลิตร การดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกาย จะใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงต่อมาภายในเวลา 2 ชั่วโมง จะมีปริมาณน้ำปัสสาวะสูงสุดประมาณ 90% (ประมาณ 900 ซีซี) จะถูกขับออกมา ดังนั้นหากพบความผิดปกติควรไปพบแพทย์เสียแต่เนิ่น ๆ มิใช่เพียงแต่ผู้ใหญ่ที่พบความผิดปติของการทำงานของไต แม้แต่ทารกแรกเกิดก็พบความผิดปกติของไตมาตั้งแต่กำเนิด โดยพบได้บ่อยในอัตรา 10% ของประชากรทั้งหมด และเป็นอัตรา 40% ของผู้ที่เป็นโรคไตทั้งหมด พบทั้งชนิดที่เป็นโรคที่ได้รับถ่ายทอด มาทางพันธุกรรมและที่ไม่ใช่ เป็นที่น่าเสียดายที่ความผิดปกติของไตโดยกำเนิดนี้ ส่วนใหญ่จะรักษาไม่ได้ แต่เนื่องจากมักเกิดที่ไตข้างเดียว จึงไม่มีอาการแสดงออกที่ชัดเจนบางคนมาพบตอนอายุมากแล้ว ความผิดปกติที่ว่านี้ได้แก่ 1.การมีไตเพียงข้างเดียว - ซึ่งโอกาสพบได้หนึ่งรายใน 1,500 ราย พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และมักเหลือเพียงข้างขวา มากกว่าข้างซ้าย 2.การมีไตมากกว่า 2 - พบได้น้อยกว่ากรณีแรก ส่วนใหญ่ จะเป็นสามไต โดยไตชั้นที่เกินจะแยกออกจากไตปกติหรือเป็นภาวะ "ไตแฝด" ที่ไตสองส่วนอยู่ติดแน่นเป็นไตเดียว ไตส่วนที่เกิน จะมีขนาดเล็กและมักอยู่ต่ำกว่าไตปกติ กรวยไตมักจะมีอาการ โป่งโตถึงร้อยละ 50 3.การขาดไตทั้งสองข้าง - พบน้อยมากแต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ไม่พบปัจจัยเสี่ยงในการเกิดสภาวะนี้ แต่นักวิชาการเชื่อว่า เกิดจากทารกในครรภ์อยู่ในสภาวะขาดน้ำคร่ำ ทำให้ร่างกายถูกกด การแบ่งตัวของเซลล์ต่าง ๆ จึงผิดปกติไปและสิ่งที่สำคัญคือ กรณีนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตแต่กำเนิดของทารก 4.ความผิดปกติในการหมุนตัวของไต - เกิดขึ้นเมื่อทารกสร้างเซลล์ไต ขึ้นมาใหม่ๆ จะอยู่ในอุ้งเชิงกราน ต่อมามีการขยับตำแหน่ง เข้าไปในช่องท้อง ขณะเดียวกันมีการหมุนตัวของไต ให้อยู่ในตำแหน่งผิดปกติ แต่กรณีเช่นนี้ไม่ทำให้ทารก มีอาการผิดปกติ และทารกยังคงมีชีวิตอยู่ตามปกติได้ 5.เป็นถุงน้ำ Cyst ในไต - ซึ่งมีหลายขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ปะปนกันอยู่ในไต ซึ่งสันนิษฐานว่า เกิดจากความผิดปกติ ขณะอยู่ในครรภ์มารดา ถ้าทารกยังไม่มีอาการ หรือไม่มีอาการ ของระบบทางเดินอาหารแทรกซ้อนก็ยังไม่จำเป็นต้องผ่าตัดออก ควรรอจนทารกโตและแข็งแรงเสียก่อนจึงจะผ่า Cyst ออกได้ 6.ความผิดปกติที่ท่อเชื่อมกับกระเพาะปัสสาวะ - คือ ท่อที่เชื่อมนำปัสสาวะจากไต ไปยังยังกระเพาะปัสสาวะ มีการโป่งโตออกมาทำให้การไหล ของน้ำปัสสาวะไม่สะดวก และอาจเกิดภาวะติดเชื้อ ของทางเดินปัสสาวะแทรกซ้อนได้ ความผิดปกติทั้ง 6 แบบ ดังกล่าวข้างต้น ถือเป็นความผิดปกติ มาแต่กำเนิดซึ่งแก้ไขไม่ได้ แต่บางชนิดสามารถบรรเทาอาการให้มีชีวิตอยู่ได้ แต่บางชนิดก่อให้เกิดการเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ยังมีโรคเกี่ยวกับไตและระบบทางเดินปัสสาวะที่ "ผู้หญิง" ทั่วไป ประมาณร้อยละ 20 ต้องเคยเป็นโรคนี้มาก่อนอย่างน้อยครั้งหนึ่ง แม้จะไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่ถือเป็นโรคแทรกซ้อนที่สำคัญ ของหญิงมีครรภ์ ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือบางราย ทำให้เสียชีวิตได้ และเป็นโรคที่ป้องกันได้ โรคนั้นก็คือ "โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ" ซึ่งหมายรวมถึง ภาวะติดเชื้อบริเวณเนื้อไต กรวยไต ไปจนถึงบริเวณกระเพาะปัสสาวะ พบได้บ่อยในผู้หญิงอายุ 18-40 ปี และพบเด็กแรกเกิดร้อยละ 0.7 ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด พบได้ถึงร้อยละ 2.9 ทั้งนี้ ไตวายเรื้อรัง เกิดจากอะไร -เกิดจากกรวยไตอักเสบเรื้อรัง -เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบตัน -จางทางเดินปัสสาวะอุดตัน เช่น นิ่ว -โรคเบาหวาน -จากโรค SLE -จากยาบางชนิด อาการของไตวาย เมื่อไตเริ่มวายผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการ แต่เมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้นผู้ป่วยจะปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยขึ้นเนื่องจากไตไม่สามารถดูดซึมน้ำกลับ นอกจากปัสสาวะตอนกลางคืนแล้วผู้ป่วยยังมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ความจำไม่ดี นอกจากนี้ยังมีอาการตามระบบต่างๆดังนี้ 1.ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ [ neuromuscular] จะมีการกระตุกของกล้ามเนื้อ ปลายเท้าปลายมือชาเนื่องจากปลายประสาทอักเสบ [peripheral neuropathy ] เป็นตะคริว และชัก 2.ระบบทางเดินอาหาร [gastrointestinal] เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปากอักเสบ เป็นอาการที่พบที่พบทุกราย ถ้าไตวายมากขึ้นบางรายมีเลือดออกทางเดินอาหาร 3.ระบบหัวใจและหลอดเลือด [ cardiovascular ] ถ้าไตวายมากมีการคั่งของเกลือและน้ำจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง มีอาการบวมเนื่องจากหัวใจวาย บางรายมีอาการมีอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ [ pericarditis ] ผิวหนัง มีอาการคัน ผิวจะมีสีเหลือง-น้ำตาล การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจ CBC พบว่ามีซีดเนื่องจากไตสร้างฮอร์โมนน้อยลง การตรวจปัสสาวะพบว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะ ตรวจการทำงานของไตโดยตรวจค่า creatinin ค่าปกติอยู่ระหว่าง 0.6-1.2 mg% การตรวจ creatinin clearance โดยการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงหาสาร creatinin ในปัสสาวะและเจาะเลือดหาสาร creatinin นำมาคำนวณค่าปกติ 97-137 มิลิลิตรต่อนาที 88-128 มิลิลิตรต่อนาทีสำหรับชายและหญิงตามลำดับ การตรวจหา BUN [blood urea nitrogen]ค่าปกติไมเกิน 20 mg% การตรวจเกลือแร่ พบว่าเลือดจะเป็นกรดมีค่า CO2อยู่ระหว่าง 15-20 mmol/L Calciumในเลือดจะต่ำ Phosphate ในเลือดสูง การตรวจเพื่อประเมินขนาดไตโดยอาจจะใช้ ultrasound หรือ CT ชนิดของการติดเชื้อแบคทีเรีย ของระบบทางเดินปัสสาวะ แบ่งได้เป็น ชนิดที่ไม่ซับซ้อน - รักษาง่ายและไม่ทำให้หน้าที่ของไต เสียไป เช่น โรคกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ ชนิดที่ซับซ้อน - พบความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือระบบประสาท ทำให้ถ่ายปัสสาวะไม่ออก หากรักษาไม่ถูกต้อง จะทำให้ไตหย่อนสมรรถภาพไปด้วย พบแบคทีเรียแต่ไม่มีอาการ - มักตรวจพบโดยบังเอิญ เช่นตอนฝากครรภ์ ซึ่งหากไม่รักษาให้ถูกต้อง จะทำให้ไตเสื่อมได้โดยเฉพาะ เด็ก ๆ อายุต่ำกว่า 3 ขวบ ถ้าไม่รักษาโรคให้หายจะทำให้เกิดแผล ซึ่งขัดต่อการเจริญเติบโตในเด็กเล็ก สำหรับหญิงตั้งครรภ์ การรักษาจะช่วยลดการอักเสบของไต และลดอัตราเสี่ยง ของการคลอดก่อนกำหนด ไตอักเสบเรื้อรัง - เกิดจากระบบภูมิต้านทานของร่างกาย กับเชื้อแบคทีเรียบางตัว ส่วนใหญ่ทำให้อาการลุกลามไปถึงขั้นไตวายได้ สำหรับเชื้อที่ก่อโรค ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 เป็นเชื้อแบคทีเรีย E.Coli กลไกในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น การขับปัสสาวะ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะได้แก่ การสวนปัสสาวะ ยิ่งสวนมากยิ่งมีโอกาสทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น อายุและเพศ พบว่าเป็นกันมากในหญิงสูงอายุ การตั้งครรภ์ จะเสี่ยงต่อการเกิดไตอักเสบเฉียบพลัน มดลูกมีขนาดโตขึ้น จนปัสสาวะไม่ออกน้ำหนักตัวลด โรคไต เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้ไตมีความต้านทาน ต่อเชื้อโรคน้อยลง นิ่ว ทำให้เกิดการอุดตันทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะคั่ง ทำให้ติดเชื้อง่าย อาการแสดง ขึ้นกับตำแหน่งที่เกิดการอักเสบ เช่น กรณีกรวยไตอักเสบ จะทำให้มีไข้สูง หนาวสั่น อาเจียน ปัสสาวะขุ่น เป็นต้น ไตวายเรื้อรัง เกิดจากอะไร เกิดจากกรวยไตอักเสบเรื้อรัง เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบตัน จางทางเดินปัสสาวะอุดตัน เช่น นิ่ว โรคเบาหวาน จากโรค SLE จากยาบางชนิด อาการของไตวาย เมื่อไตเริ่มวายผู้ป่วยอาจจะไม่มีอาการ แต่เมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้นผู้ป่วยจะปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยขึ้นเนื่องจากไตไม่สามารถดูดซึมน้ำกลับ นอกจากปัสสาวะตอนกลางคืนแล้วผู้ป่วยยังมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ความจำไม่ดี นอกจากนี้ยังมีอาการตามระบบต่างๆดังนี้ ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ [ neuromuscular] จะมีการกระตุกของกล้ามเนื้อ ปลายเท้าปลายมือชาเนื่องจากปลายประสาทอักเสบ [peripheral neuropathy ] เป็นตะคริว และชัก ระบบทางเดินอาหาร [gastrointestinal] เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปากอักเสบ เป็นอาการที่พบที่พบทุกราย ถ้าไตวายมากขึ้นบางรายมีเลือดออกทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด [ cardiovascular ] ถ้าไตวายมากมีการคั่งของเกลือและน้ำจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง มีอาการบวมเนื่องจากหัวใจวาย บางรายมีอาการมีอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ [ pericarditis ] ผิวหนัง มีอาการคัน ผิวจะมีสีเหลือง-น้ำตาล การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจ CBC พบว่ามีซีดเนื่องจากไตสร้างฮอร์โมนน้อยลง การตรวจปัสสาวะพบว่ามีไข่ขาวในปัสสาวะ ตรวจการทำงานของไตโดยตรวจค่า creatinin ค่าปกติอยู่ระหว่าง 0.6-1.2 mg% การตรวจ creatinin clearance โดยการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงหาสาร creatinin ในปัสสาวะและเจาะเลือดหาสาร creatinin นำมาคำนวณค่าปกติ 97-137 มิลิลิตรต่อนาที 88-128 มิลิลิตรต่อนาทีสำหรับชายและหญิงตามลำดับ การตรวจหา BUN [blood urea nitrogen]ค่าปกติไมเกิน 20 mg% การตรวจเกลือแร่ พบว่าเลือดจะเป็นกรดมีค่า CO2อยู่ระหว่าง 15-20 mmol/L Calciumในเลือดจะต่ำ Phosphate ในเลือดสูง การตรวจเพื่อประเมินขนาดไตโดยอาจจะใช้ ultrasound หรือ CT การรักษา โดยทั่วไปรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ และยาอื่นๆ ตามอาการที่เป็น สิ่งสำคัญที่ผู้เขียนต้องการให้ท่านผู้อ่านตระหนัก ก็คือ การดูแลสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจยุค IMF สร้างความเครียดให้หลายๆ ท่าน ความเครียดนี้มีผลต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงก็คือ สุขภาพจิต ทำให้รับประทานไม่ได้ นอนไม่หลับ เหตุเพราะ ความวิตกกังวล ส่งผลทางอ้อมมายังระบบการย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย ซึ่งก็รวมทั้งการทำงานของไตและระบบขับปัสสาวะด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ความเครียดยังส่งผลต่อระดับของฮอร์โมน ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของไตและระบบขับถ่ายปัสสาวะ ให้ทำงานผิดปกติไป การรักษาต้องรักษาปัจจัยที่ทำให้ไตเสื่อมมากขึ้น เช่น ภาวะขาดน้ำ ยาที่มีพิษต่อไต หัวใจวาย การติดเชื้อ หลักการรักษาไตวายประกอบด้วย การควบคุมอาหารสำหรับโรคไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตผ่านทางท้อง การเปลี่ยนไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม Hemodialysis การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นการนำเลือดผ่านเข้าเครื่องไตเทียมผ่านไปยังเยื่อ Hemodialyzer ซึ่งเป็น semipermeable membrane ซึ่งจะกรองเอาของเสียออก เลือดที่ผ่านการกรองก็จะกลับเข้าสู่เครื่องไตเทียม และเข้าสู่ร่างกาย ทำให้กำจัดของเสีย คุมความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ และรักษาระดับความดันให้ปกติ การเตรียมการก่อนฟอกเลือด ก่อนฟอกเลือดจะต้องมีการนำเลือดจากหลอดเลือดมาฟอกโดยทำได้ 2 วิธี ใช้เข็มเจาะเข้าหลอดเลือดที่หลอดเลือดบริเวณคด และหลอดเลือดขาหนีบ วิธีนี้ใช้ฟอกเลือดได้ 2-6 สัปดาห์ วิธีที่สองเป็นการต่อหลอดเลือดแดง และดำ [arteriovenous [ A-V] fistular ]หลังต่อหลอดเลือดดำจะพองและขยายทำให้สามารถใช้เข็มเจาะเอาเลือดไปฟอกได้ วิธีนี้เป็นวิธีการถาวรแต่ต้องใช้เวลาให้หลอดเลือดดำพองตัว ขณะฟอกท่านสามารถอ่านหนังสือหรือรับประทานอาหารได้ ใช้เวลาฟอก 2-4 ชั่วโมง อาทิตย์ละ2-3 ครั้ง โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ พบได้บ่อยคือ ความดันโลหิตต่ำ อาจเกิดจากผู้ป่วยกินยาลดความดันโลหิตก่อนฟอกและตะคริว เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่เร็วเกินไป ใช้เวลาในการปรับตัวหลายเดือน โรคแทรกซ้อนที่พบได้น้อยได้แก่ ไข้ เลือดออกทางเดินอาหาร คัน นอนไม่หลับเป็นต้น ข้อห้ามการฟอกเลือดคือ ความดันโลหิตต่ำ และเลือดออก ข้อปฏิบัติก่อนการฟอกเลือด ควรงดรับประทานยาลดความดันโลหิตก่อนฟอก 4-6 ชั่วโมง ถ้ามีการเสียเลือดมาก เช่นมีประจำเดือน อุจาระดำ อาเจียนเป็นเลือด ให้แจ้งแพทย์ก่อนฟอกเลือดทุกครั้ง การปฏิบัติตนขณะฟอกเลือด แขนข้างที่กำลังฟอกให้อยู่นิ่งๆ เตรียมอาหารมารับประทานขณะฟอกเลือด ถ้ามีอาการเวียนศีรษะ ใจสั่น ขณะฟอกให้แจ้งพยาบาลผู้ดูแลทันที ข้อควรปฏิบัติหลังฟอกเลือด หลังการฟอกเลือดใหม่จะมีการห้ามเลือดโดยใช้พลาสเตอร์หรือผ้ากอซปิด เมื่อเลือดหยุดจึงเอาผ้าก๊อซออกและติดพลาสเตอร์ รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารตามคำแนะนำดังกล่าวมาแล้ว ชั่งน้ำหนักทุกวัน โดยควบคุมมิให้น้ำหนักเพิ่มเกินวันละ 0.5 กก. หลังการฟอกเลือดให้ระวังการถูกกระแทกแรงๆเพราะจะทำให้เกิดช้ำได้ การรับประทานอาหาร ให้รับประทานโปรตีนจากเนื้อปลา แทนจากถั่วและผัก เลือกอาหารที่มีโพแทสเซียมไม่สูงไม่ต่ำเนื่องจากสูงหรือต่ำไปจะทำให้เกิดผลเสียต่อหัวใจ จำกัดน้ำดื่มมิให้น้ำหนักเพิ่มเกินวันละ 0.5 กิโลกรัม งดอาหารเค็ม งดอาหารที่มี phosphate สูงดังกล่าวข้างต้น การล้างไตผ่านทางท้อง หลักการฟอกไตวิธีนี้คือการใส่สายเข้าไปในช่องท้อง แล้วใส่น้ำยาเข้าในช่องท้องเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงปล่อยออก การฟอกมีด้วยกันหลายวิธี เช่น Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis (CAPD) Continuous Cyclic Peritoneal Dialysis (CCPD) Intermittent Peritoneal Dialysis (IPD) ระยะเวลาในการฟอกขึ้นกับวิธีการฟอก เช่น (CAPD) ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง ,(CCPD)ใช้เวลา 12 ชั่วโมง โรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ช่องท้องอักเสบ ป้องกันโดยทำการล้างท้องแบบปราศจากเชื้อ การดูแลหลังสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายที่ล้างไตผ่านทางหน้าท้อง เนื่องจากผู้ที่ล้างไตผ่านทางหน้าท้องจะมีน้ำในท้อง และกล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรง การยกของหนักจะทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ง่ายจึงมีคำแนะนำดังนี้ คำนึงถึงน้ำหนักที่จะยกว่าหนักไปหรือไม่ ให้ยกของใกล้ตัวมากที่สุด เวลาจะยกของให้กางขาออก เก้าเท้าไปข้างหน้าหนึ่งเท้า ให้ย่อเข่าแทนการก้ม อย่ายกของจากที่ชั้นที่สูง อย่ายกของและบิดเอว การเปลี่ยนไต คือการนำไตที่ไม่เป็นโรคมาผ่าตัดให้กับคนที่เป็นโรคไตวาย วิธีการได้มา อาจจะนำจากผู้ป่วยที่สมองตายแล้ว หรือจากการบริจาคของญาติ และเพื่อน ก่อนการเปลี่ยนไตแพทย์จะต้องตรวจเลือดและเนื้อเยื่อว่าเข้ากับผู้ป่วยหรือไม่เพื่อป้องกันการปฏิเสธเนื้อเยื่อ หลังการเปลี่ยนไตแพทย์จะให้ยากดภูมิรับประทาน การออกกำลังกายในผู้ป่วยไตวาย การตรวจการทำงานของไต ข้อมูลจาก //www.siamhealth.net/public_html/Disease/renal/crf.htm วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี //www.geocities.com/witit_mink/ti.htm ขอขอบคุณ พี่ ป้า น้า อ่า และน้องๆ หลานๆ ที่ได้แวะเข้ามาเยี่ยมบล็อค
ยังไงหากไม่เป็นการรบกวนเกินไป ขอคอมเม้นท์ไว้หน่อยนะค่ะ เราจะแวะไปเยี่ยมท่านบ้าง โดย: กวนฐานฮวา ณ อเบอร์ดีน วันที่: 1 สิงหาคม 2551 เวลา:19:05:33 น.
โดย: mearnss วันที่: 5 สิงหาคม 2551 เวลา:17:37:02 น.
สวัสดีค่ะพี่ไอริน งง อันแรกพิมพ์แล้วไหงมันไม่ขึ้นง่ะ
ขอโทษนะคะที่ยังไม่ได้ตอบเมลล์ ตอนนี้กำลังเดินทางไปหนองคายค่ะ มาแวะบ้าน้องสาว เอารูปมาโพส แล้วน้องสาวก็กลับมาจากทำงานพอดี เธอเลยจะใช้คอมต่อค่ะ อย่ากังวลให้เยอะนะคะ ทำใจสบายๆ มีปัญหาก็ค่อยๆแก้ไป เป็นห่วงเสมอ น้องมุ้ม โดย: mearnss วันที่: 5 สิงหาคม 2551 เวลา:17:40:00 น.
ถ้าไปหาหมอมาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นคงต้องไปหาอีกที
หมอจะได้สั่งยาประเภทอื่นให้ ไม่ใช่ยาทุกตัวจะออกผลกับคนทั่วไปเหมือนกันค่ะ การฟอกเลือดจะมีความจำเป็นก็ต่อเมื่อมีอากรไตวายเรื้อรังเช่น ความจำไม่ปรกติ ไม่มีสมาธิ ง่วง ชัก เลือดจาง หายใจมีเสียงเหมือนนักหวีด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กระดูกผุ ประจำเดือนไม่มา เส้นเลือดฝอยแตกตามผิวหนัง ผิวสีเปลี่ยนเป็นสีกาแฟ คัน ชาตามนิ้วเมือนิ้วเท้า 9ล9 แต่เท่าที่คุณเล่ามามันคงเป็นแต่การทำงานของไตไม่ปรกติเนื่องจาก กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง ไปหาหมออีกทีค่ะ แล้วเล่าอาการที่เป็นจริงๆไม่ใช่ที่คิดว่าเป็น ตรวจเลือดดูผลอีกทีให้แน่ใจ อย่าคิดมาก หลักจิตวิทยาง่ายๆ ถ้าเราคิดว่าป่วย เราก็จะป่วยจริงๆ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ ดื่มน้ำและพักผ่อนเยอะๆ เอาใจช่วงค่ะ โดย: schornstein วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:0:06:43 น.
ขอบคุณนะคะที่ไปร่วมดีใจ....อือ ก้อยสัมภาษณ์วันเริ่มงานเลยค่ะ...และในฟอร์มที่กรอกไปก้อยก็มีคนรับรองสองคนแล้ว แต่ตอนนี้ความรู้ใหม่ค่ะ ผู้จัดการบอกว่ากฎเปลี่ยนแล้วจากเช็ค 5 ปีและคนรับรอง 2 คน ตอนนี้เช็ค 5 ปีและคนรับรอง 7 คนค่ะ....หุหุ ก้อยใส่ได้แต่กางเกงค่ะของเด็ก 12 ขวบอ่ะ ส่วนรองเท้านี่ถ้าเป็นแบบสวมเต็มที่คือเบอร์ 2 ครึ่งค่ะ
โดย: Just a life วันที่: 6 สิงหาคม 2551 เวลา:0:42:51 น.
ขอบคุณค่ะที่ไปเม้นท์และส่งกำลังใจให้
สำหรับคำถามว่า Defibrillator คืออะไร ไปsearch ดูใน Google ได้ค่ะ ในประเทศกลุ่มEUเค้าได้กำหนดมาตรฐานให้จัดDefi อย่างน้อยในสถานีรถไฟใหญ่ๆ เวลาคนหัวใจวายกระทันหันจะได้ช่วยปั้มหัวใจและช่วยชีวิตได้ ทันท่วงที หลับฝันดีนะคะ Gute Nacht!! โดย: schornstein วันที่: 7 สิงหาคม 2551 เวลา:4:13:09 น.
|
กวนฐานฮวา ณ อเบอร์ดีน
บทความทั้งหมด
|
เลยทำการค้นหาข้อมูลของโรคต่างๆที่เราคิดว่าเราจะมีโอกาสเป็น เพราะอาการที่เป็นอยู่ในขณะนี้ มันเข้าข่ายโรคหลายๆโรค
1.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
2.ไตวาย
3.โรคเบาจืด
จากที่เคยไปหาหมอที่นี่ Great Western Medical Practice เราก็ได้ยาสำหรับโรคเบาจืดที่น้องมุ้มที่เรารู้จักเธอจากบล๊อคของเธอบอกเรามา เธอเป็นเภสัชกรค่ะ ต้องขอขอบคุณน้องเขามา ณ ที่นี่ด้วยค่ะ
เรากินยาไปหมดแล้วอาการก็ยังไม่ดีขึ้น ยังมีอาการเหมือนเดิม กลางคืนนอนไม่หลับเลย คิดไปต่างๆ นาๆ ไม่ได้กลัวตายหรอกค่ะ เพียงแต่ไม่อยากเป็นโรคนั้นๆแล้วต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล เสียค่าใช้จ่ายมากมาย
ยิ่งหากเป็นโรคไตวายเรื้อรังด้วยแล้ว ไหนจะต้องล้างไต ค่าใช้จ่ายมันสูงมาก เปลี่ยนไต อะไรทำนองนั้น
อันนี้เองเป็นสาเหตุให้เราอัพบล๊อคเกี่ยวกับโรคต่างๆที่เราคิดว่าเราอาจจะมีเป็น แต่ก็ขออย่าให้มันเป็นไปตามที่เรากังวลเลยสาธุ
วันศุกร์ที่จะถึงนี้ก็จะได้รู้ หรือยังไม่รู้ ว่าเราเป็นโรคอะไร เราจะไปหาหมออีกครั้งเกี่ยวกับการปัสสาวะบ่อย แต่ไม่รู้ว่ากี่ลิตรต่อวัน แต่มีปริมาณเยอะมาก ทุก 10-12-20 นาทีหลังจากที่เราดื่มน้ำลงไป ไตมันไม่ทำหน้าที่เก็บน้ำเอาไว้ว้เลย
เม่อปี 2549 เราก็ตรวจร่างกายประจำปีทีสถาบันมะเร็งปห่งชาติ ไตก็ปกติดี แต่ทำไมพอมาอยู่ที่นี่ อาการมันหนักขึ้นก็ไม่รู้ เรามีอาการปัสสาวะบ่อยมาตั้งแต่ปี 2005 แล้ว แต่ไม่เคยไปหาหมอ แย่จัง