คู่มือสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับตรวจการส่องกล้องตรวจในกระเพาะปัสสาวะ ( Cystoscope )
<
การส่องกล้องตรวจในกระเพาะปัสสาวะทำในผู้ป่วยประเภทใด ?
ทำในผู้ป่วยที่มีอาการหรือ โรคดังต่อไปนี้
ถ่ายปัสสาวะลำบาก กระปิบกระปรอย
ปัสสาวะบ่อย
ปัสสาวะสะดุด
ปัสสาวะ ต้องเบ่ง
ปัสสาวะมีเลือดปน
มีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง
สงสัยมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะ
สงสัยมีเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมาก
สงสัยต่อมลูกหมากโต
กล้องส่องตรวจในกระเพาะปัสสาวะเป็นอย่างไร ?
เป็นท่อโลหะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 มม. ยาว 25 ซม. ประกอบด้วยกล้องส่องขยาย ใช้ไฟฟ้านำแสงสว่าง และใช้น้ำใส่ให้กระเพาะปัสสาวะโป่ง เพื่อให้เห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจน (ดังภาพด้านล่าง)
การเตรียมตัวก่อนตรวจทำอย่างไร ?
ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร
เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นผ้าถุงที่เตรียมไว้สำหรับใส่เข้าห้องตรวจ
ทำความสะอาดด้วยตนเองโดยชำระอวัยวะเพศภายนอกแล้วซับให้แห้ง
ถ่ายปัสสาวะก่อนเข้าห้องตรวจ เพื่อดูจำนวนปัสสาวะเหลือค้าง
ขั้นตอนการตรวจเป็นอย่างไร ?
เมื่อท่านมาถึงห้องตรวจยื่นใบนัดตรวจ ให้ท่านเข้าห้องน้ำถอดกางเกงนอกกางเกงใน นุ่งผ้าถุงสีเขียวที่เตรียมไว้ให้ เสื้อไม่ต้องเปลี่ยน ปัสสาวะ ทำความสะอาดอวัยวะเพศ แล้วมานั่งรอหน้าห้องตรวจ
ผู้ป่วยต้องนอนในท่าแยกขายกวางบนขาหยั่ง ให้ก้นชิดอยู่ปลายเตียง เพื่อสะดวกในการสอดใส่เครื่องมือ มือสองข้างประสานกันวางไว้บนอก
ผู้ป่วยได้รับการทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศใหม่ หลังจากนั้นคลุมด้วย ผ้าปลอดเชื้อมีช่องเปิด เฉพาะอวัยวะเพศ
ผู้ป่วยชายจะได้รับยาชาซึ่งเป็นเยลลี่ใส่เข้าไปในท่อปัสสาวะก่อนตรวจ 5-10 นาที ผู้ป่วยหญิงใส่ยาชาพร้อมกับเครื่องมือเลย
แพทย์จะใส่กล้องโดยใช้น้ำ และไฟฟ้าผ่านไปตามท่อของกล้อง เพื่อให้เห็นภาพในท่อปัสสาวะ คอกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก
ขณะตรวจรู้สึกปวด และอยากถ่ายปัสสาวะจะบรรเทาได้อย่างไร ?
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ
ปล่อยตัวตามสบาย ไม่เกร็ง ไม่เบ่งถ่ายปัสสาวะ
ถ้าปวดปัสสาวะมากทนไม่ได้ให้บอกแพทย์
อาการที่อาจพบได้หลังการตรวจมีอะไรบ้าง ?
ระคายเคืองบริเวณท่อปัสสาวะ
อยากถ่ายปัสสาวะ แต่ถ่ายไม่ออก หรือออกน้อย
ปวด แสบท่อปัสสาวะขณะปัสสาวะ หรือมีเลือดปนเล็กน้อย
ข้อปฏิบัติภายหลังการตรวจ
1. ถ้ารู้สึกปวดระคายเคืองท่อปัสสาวะ หรืออวัยวะ เพศบวม ให้แช่ด้วยน้ำอุ่นบ่อย ๆ จนทุเลา
2. ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อชะล้างสิ่งที่คั่งค้างอยู่ภายใน กระเพาะปัสสาวะ เช่น เลือดชิ้นเนื้อ ก้อนนิ่ว และช่วยป้องกันติดเชื้อ
3. ปวด แสบท่อปัสสาวะขณะปัสสาวะ หรือมีเลือดปนเล็กน้อย
4. รับประทานยาให้ถูกต้องตามแพทย์สั่ง สังเกตุอาการผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากการ แพ้ยา เช่นคลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นแดงบวม หรือคันตามผิวหนังเป็นต้น
5. ทำความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งหลังการขับถ่าย โดยเฉพาะผู้หญิงต้องระวังการปน เปื้อนเชื้อจากทวารหนักการทำความสะอาดอวัยวะเพศต้องเช็ดจากหน้าไปหลังเสมอ และควรทำความสะอาดทวารหนักเป็นลำดับสุดท้าย
6. กลับไปบ้านแล้วเลือดออกไม่หยุดให้กลับมาพบแพทย์โดยทันทีมาพบแพทย์ตามวัน และเวลาที่กำหนดพร้อมใบนัด
ติดต่อ
โทร 02-475-2610
คุณหมอสรุปว่าจะให้เราไปตรวจอีกครั้งที่โรงพยาบาล(ของรํฐ) ทีนี้ก็จะได้รู้เสียทีว่าเราเป็นโรคอะไรกันแน่
ก็ต้องรอประมาณ 3-4 สัปดาห์ตามระบบการนัดตรวจที่
โรงพยาบาสของสก๊อตแลนด์
ไม่รู้ว่าจะต้องตรวจด้วยวีธีไหน แต่จะเป็นวีธีไหนก็ตาม เราไม่หวั่นอยู่แล้ว จะได้รู้และทำการรักษาให้ถูกกับโรคเสียที
โดยส่วนตัวแล้ว เราชอบระบบการทำงานของทั้งแพทย์และพยาบาลของที่นี่มาก เพราะเราด้ไปหาหมอหลายครั้งแล้ว บริการดีมาก ประทับใจ โดยเฉพาะที่ Great Westurn Medical Aberdeen
ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ที่เคาเตอร์ รับโทรศัพย์ จองคิวนัดหมอ
เจ้าหย้าที่พยายามตอบคำของเรา โดยไม่ใส่อารมณ์ ถึงแม้เราจะถามซ้ำๆ เพราะภาษาของเราไม่ดี เราไม่เข้าใจ
มือเบามากเวลาเจาะเลือด (Great Westurn Medical)
เลยทำให้เราไม่กลัวที่จะไปหาหมอ และเราจะไปคนเดียว สามีไม่ต้องไปด้วยเลย นี่ก็เป็นการดีที่ทำให้เราได้เรียนรู้ที่จะกล้าพูด กล้าคุยกับหมอเอง
เราไม่คิดน้อยใจเลยกับการที่สามีให้เราทำอะไรด้วยตัวเราเอง เพราะตัวตนของเราเป็นอย่างนี้
ถึงแม้ครั้งแรกๆเราจะรู้สึกน้อยใจอยู่บ้าง
ว่าทำไมเหมือนสามีไม่สนใจที่จะพาเราไปหาหมอ
และอธิบายอาการที่เราเป็นให้หมอฟัง เพราะสามีก็รู้ว่าภาษาของเรายังอ่อนแอ
แต่พอครั้งแรกผ่านไปด้วยดี เราก็เกิดความมั่นใจขึ้นมากโขเลย
ทีนี้เวลาจะทำอะไรก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งคุณสามีอีก ฉานก็ทำด้ายค่ะ