นกกาฝากก้นเหลือง
นกกาฝากก้นเหลือง Dicaeum chrysorrheum (Yellow-vented Flowerpecker) เป็นนกในวงศ์นกกินปลีซึ่งกินน้ำหวานจากดอกไม้ ผลไม้ และแมลงเล็กๆต่างๆเป็นอาหาร นกชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ย่อยนกกินปลีซึ่งแบ่งออกเป็น2เหล่า คือเหล่านกกาฝาก และเหล่านกกินปลี เหล่านกกาฝากเองก็แบ่งออกเป็นสกุลนกกาฝากปากยาว และนกกาฝากปากสั้น นกกาฝากก้นเหลืองอยู่ในสกุลนกกาฝากปากยาว เป็น 1 ใน 7 ชนิดที่พบในประเทศไทย และ 1 ใน 38 ชนิดทั่วโลก







นกกาฝากก้นเหลืองมีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 10 เซนติเมตร ลำตัวด้านล่างสีขาวมีลายขีดสีดำปนเทากระจายทั่วไป มีลำตัวด้านบนสีเขียวตัดกับลำตัวด้านล่าง ขนคลุมโคนหางด้านล่างสีเหลืองสด หรือเหลืองอมส้ม เป็นที่มาของชื่อสามัญ ตัวไม่เต็มวัยจะมีขนบริเวณนี้สีอ่อนกว่าตัวเต็มวัย ปากสีเทาเข้มถึงดำ ม่านตาสีแดง ขาและเท้าสีเทาเข้ม นกชนิดนี้แบ่งเป็น 2 ชนิดย่อยโดยจะมีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย และพบได้คนละถิ่นที่อยู่

ช่วงเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม เป็นช่วงที่นกกาฝากก้นเหลืองทำรังวางไข่ โดยลักษณะของรังคล้ายกับนกกาฝากอื่นๆคือทำรังเป็นรูปกระเปาะเล็กๆ แขวนอยู่ตามกิ่งไม้สูงจากพื้นดินไม่เกิน 8 เมตร สร้างจากเส้นใยของก้านใบไม้ หญ้ายาวๆแห้งๆสานเป็นรูปคล้ายถุงกลมๆเชื่อมติดกันด้วยใยแมงมุม มีทางเข้าออกด้านข้าง มีกันสาดเล็กๆเหนือทางเข้าออก บุภายในด้วยปุยจากฝักแก่ต้นนุ่น หรือปุยอย่างอื่นที่หาได้ได้พื้นที่ วางไข่ครอกละ 2 ฟอง เปลือกไข่สีขาวขนาดราว 11x15.3 มม.พ่อและแม่นกช่วยกันทำรัง ฟักไข่ เลี้ยงลูกอ่อน







เราสามารถพบนกชนิดนี้ได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา ชายป่า ป่าชั้นรอง จากพื้นราบถึงความสูง1100เมตรจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่เชิงเทือกเขาหิมาลัยในเนปาล อินเดีย จนถึงพม่า ไทย เหนือถึงทางใต้ของยูนนาน และใต้ถึงคาบสมุทรมลายู สิงคโปร์ สุมาตรา บอร์เนียว ชวา บาหลี แต่มีสถานะเป็นนกหายาก-หาง่ายต่างกันในแต่ละพื้นที่

สำหรับประเทศไทย เป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทั่วประเทศ ตั้งแต่ภาคเหนือ กลาง ตะวันตก ตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือในบางท้องที่และภาคใต้ โดยพบได้ทั้ง 2 ชนิดย่อยดังนี้

1.ชนิดย่อย D.c. chrysochlore พบได้ทุกภาค เหนือคอคอดกระขึ้นมา มีจุดสังเกตคือ ขนคลุมตัวด้านบนมีสีเขียวเข้มปนเขียวอ่านสดใส ขนคลุมหางด้านล่างสีเหลืองสดหรือเหลืองทอง และลายที่ท้องสีดำปนเทา
2.ชนิดย่อย D.c. chrysorrheum พบตั้งแต่คอคอดกระลงมา ขนคลุมลำตัวด้านบนสีเขียวเข้ม ขนคลุมหางด้านล่างสีเหลือง หรือเหลืองอมส้ม ลายที่ท้องมีสีดำเข้ม

นกกาฝากก้นเหลืองที่เห็นภาพอยู่นี้ ถ่ายมาจากน้ำตกกระทิง อช.คิชฌกูฎ นกกำลังร่วมวงศ์ไพบูลย์รับประทานลูกตะขบอยู่กับนกกาฝากอกเพลิง ในการกิน นกจะจิกเอาลูกตะขบออกจากต้น ใช้ปากบีบให้น้ำหวานๆจากลูกตะขบไหลเข้าปาก จนหมดแล้วทิ้งเปลือกลงพื้น แล้วจิกกินลูกใหม่ต่อไป


ข้อมูลจาก //www.bird-home.com



Create Date : 11 กันยายน 2549
Last Update : 11 กันยายน 2549 20:11:42 น.
Counter : 4409 Pageviews.

0 comments
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
พบเจอภาพอะไร? ส่วนหนึ่งของภาพน่าสนใจจึงตัดมาใช้ คุกกี้คามุอิ
(1 ม.ค. 2567 03:56:23 น.)
ทนายอ้วนจัดดอกไม้ - จัดดอกไม้ง่ายๆ – แจกันสวัสดีปีใหม่ 2567 - กุหลาบพวงสีชมพู - ขาว ทนายอ้วน
(2 ม.ค. 2567 15:16:32 น.)
BUDDY คู่หู คู่ฮา multiple
(3 ม.ค. 2567 04:49:04 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Channoi.BlogGang.com

จันทร์น้อย
Location :
ปทุมธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]

บทความทั้งหมด