นกกะรางแก้มแดง นกกะรางแก้มแดง Liocichla phoenicea (Red-faced Liocichla) มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ20.5-23.5เซ็นติเมตร มีจุดเด่นที่ขนคลุมหน้า แก้มและคอสีแดงสด ขนคลุมลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเทา ขนคลุมลำตัวด้านล่างสีออกเขียว ขนปีกบินสีดำแกมแดงและเหลือง หางดำปลายหางสีน้ำตาลแกมเหลือง นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน ![]() นกกะรางกลุ่ม Liocichlaนี้มีอยู่ทั้งหมด 4 ชนิด คือ Grey-faced Liocichla (เฉพาะถิ่นมณฑลเสฉวนตอนใต้), Steeres Liocichla(เฉพาะถิ่นไต้หวัน) , Red-faced Liocichla และ Bugun Liocichla(พบในประเทศอินเดีย) ในทั้ง 4 ชนิดนี้มีสองชนิดที่อยู่ในข่ายถูกคุกคามเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์(Vunerable) คือ ชนิดแรกและชนิดสุดท้าย ![]() อาหารของนกชนิดนี้และนกกะรางอื่นๆคือแมลงและลูกไม้ในป่า นกกะรางแก้มแดงมีการกระจายพันธุ์ในประเทศบังคลาเทศ ภูฏาน อินเดีย จีน พม่า ไทย ลาวและเวียตนาม โดยพบตามป่าเขตร้อนและใกล้เขตร้อนบนเขา สำหรับประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นที่พบไม่บ่อยตามป่าดิบ ชายป่าที่ความสูง 1800เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ![]() ภาพในบล็อกถ่ายจากจุดสกัดดอยฟ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่ เดือนมกราคม 2553 ข้อมูลจาก : //en.wikipedia.org หนังสือคู่มือนกหมอบุญส่ง เลขะกุล นกเมืองไทย โดยคณะบุคคลนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล พ.ศ.2550 ภาพสวยมากเลยค่ะ
![]() ไม่ทราบว่าถ้าอยากจะขอก๊อปปี้รูปไปทำสมุดประชาสัมพันธ์ที่สำนักงานได้หรือป่าวคะ เป็นสมุดสำหรับแจกจ่ายเพื่อการประชาสัมพันธ์ ไม่ได้จัดทำไว้จำหน่ายค่ะ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() โดย: nook (nookkea
![]() |
บทความทั้งหมด
|
แก้มแดง สวยมากเลยค่ะ