Group Blog
 
 
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
7 มิถุนายน 2550
 
All Blogs
 
ภาพพระพุทธเจ้า

ภาพพุทธนิมิตนี้เป็นภาพวาดไม่ใช่ภาพถ่ายแสดงปาฏิหาริย์

ตามที่ทราบมา มีผู้สันนิษฐานไว้สองอย่าง คือ

๑. เป็นภาพฝีพระหัตถ์ของโอรสรัชกาลที่ ๕
หรือ
๒. ภาพวาดของจิตรกรฝรั่งเศส

มีหลายคนเกิดความสงสัยเรื่องพระพุทธรูป รูปเคารพ พระปฏิมา หรือสิ่งแทนพระพุทธเจ้านั้นไม่ได้มีระบุในพระไตรปิฎก ข้อเท็จจริงคือคำว่า พระพุทธรูป มีปรากฏในพระสูตรบางบท ที่แน่ๆ ผู้ศึกษาพระไตรปิฎกท่านหนึ่งยืนยันว่า ไม่มีข้อห้ามสร้างรูปแทนพระพุทธเจ้า นี่เป็นคำอธิบายเพื่อขจัดข้อสงสัยของบางท่านค่ะ

เมื่อมองดูภาพที่สวยงามน่าทึ่งแบบนี้ จึงน่าตีความกันไปในทางกุศลเท่านั้น หรือเห็นครั้งแรกก็รู้ทันทีว่านี่เป็นรูปพระพุทธเจ้าภายหลังตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (หลังการบำเพ็ญเพียรเป็นเวลานาน จึงยังมีพระเกศา) สามารถกราบด้วยใจแบบไม่ต้องปรุงแต่งความคิดออกจากใจไปไกล เป็นพุทธานุสติที่เหนี่ยวนำใจให้ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า

และหากมองให้ดี พอจะเข้าใจว่าศิลปินผู้สร้างพยายามวาดให้สวยงามอย่าง มหาบุรุษลักษณะ จะเข้าหมวดลักษณะใดก็แล้วแต่จะพิจารณากันไป


นอกจากนี้ ลองมองด้านล่างของภาพ รู้สึกเหมือนกันไหมคะว่าน่าจะมีส่วนที่ขาดหายไป เห็นรูปหัวช้างและรอบๆพระพุทธองค์ก็มีสาวงามมาร่ายรำ จึงขอยกคำอธิบาย คำว่า มาร มาแถมท้ายให้พิจารณาต่อดังนี้

มาร
1. สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ คือ
๑. กิเลสมาร มารคือกิเลส
๒. ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์
๓. อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม
๔. เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร
๕. มัจจุมาร มารคือความตาย
2. พระยามารที่มีเรื่องราวปรากฏบ่อยๆ ในคัมภีร์ คอยมาแทรกแซงเหตุการณ์ต่างๆ ในพุทธประวัติ เช่น ยกพลเสนามาผจญพระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์ชนะพระยามารได้ด้วยทรงนึกถึงบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา
มารในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านอธิบายออกชื่อว่าเป็นวสวัตดีมาร ซึ่งครองแดนหนึ่งในสวรรค์ชั้นสูงสุด แห่งระดับกามาวจรคือปรนิมิตวสวัตดี เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนกามซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน
อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเทียบจากมาร ๕ ในความหมายที่ 1. ด้วย

*จาก "มาร" ใน พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

คลิกอ่าน เรื่องพุทธนิมิต







Create Date : 07 มิถุนายน 2550
Last Update : 28 กรกฎาคม 2550 15:11:04 น. 8 comments
Counter : 1806 Pageviews.

 
ขออนุโมทนาสาธุครับ


โดย: KyBlueSky วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:15:29:43 น.  

 
สวยดี


โดย: sak (psak28 ) วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:16:26:52 น.  

 
สวยจังค่ะ


โดย: แอบมาดู (forefront ) วันที่: 7 มิถุนายน 2550 เวลา:19:49:54 น.  

 
มื่อมองดูภาพที่สวยงามน่าทึ่งแบบนี้ จึงน่าตีความกันไปในทางกุศลเท่านั้น หรือเห็นครั้งแรกก็รู้ทันทีว่านี่เป็นรูปพระพุทธเจ้าภายหลังตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (หลังการบำเพ็ญเพียรเป็นเวลานาน จึงยังมีพระเกศา)

............ ความรู้น้องน้อยนัก ก็เข้าใจมาตลอดนี่นาว่าท่านมีพระเกศา ใช่ไม๊เจ๊


โดย: เฉลียงหน้าบ้าน วันที่: 9 มิถุนายน 2550 เวลา:15:28:05 น.  

 
สงสัยผมจะมีมารเยอะเกิน

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ


โดย: ST.Exsodus วันที่: 9 มิถุนายน 2550 เวลา:16:25:42 น.  

 
ภาพพุทธนิมิตนี้เป็นภาพวาดไม่ใช่ภาพถ่ายแสดงปาฏิหาริย์

ตามที่ทราบมา มีผู้สันนิษฐานไว้สองอย่าง คือ

๑. เป็นภาพฝีพระหัตถ์ของโอรสรัชกาลที่ ๕
หรือ
๒. ภาพวาดของจิตรกรฝรั่งเศส


สมมติว่าเป็นจิตรกรชาวฝรั่งเศสวาดไว้จริง ๆ นะ

จิตรกรคนนี้ศรัทธาในพระศาสนาหรือไม่

ประเด็นที่ข้าพเจ้าคิด (มาก) อยู่ก็คือ คนเราจะทำงานออกมาดี ก็ต้องใส่ใจลงไปกับงาน แล้วความใส่ใจอันนั้นก็จะติดอยู่กับเนื้องานในระดับหนึ่งด้วย

อย่างเช่น เวลาเล่นดนตรี แม้วว่าจะเป็นบันทึกเสียงลงเทป หรือ CD แล้วเรามาฟังย้อนหลัง เราก็พอจะสัมผัสกับอารมรณ์ต่าง ๆ ที่นักดนตรีถ่ายทอดออกมาได้ และยิ่งจะเป็นเช่นนั้นถ้าหากว่านักดนตรีเข้าถึงแก่นของดนตรี จิตผสานเป็นหนึ่งเดียวกับจังหวะทำนอง

กลับกัน บางครั้งเราก็พอจะสัมผัสได้ว่า ดนตรีที่ฟังนั้น แม้ว่าจะเล่นได้ถูกต้องทั้งจังหวะ และ ทำนอง แต่ก็เล่นออกมาแบบไม่มีอารมณ์เอาเสียเลย

สรุปแล้วสำหรับดนตรี นอกจากฝีมือแล้ว อารมณ์ที่ถ่ายทอดสำคัญมาก

แล้วรูปแบบนี้เล่า นอกจากฝีมือแล้ว ศรัทธาล่ะ เราสัมผัสมันได้ไหม

พระพุทธรูปที่หล่อขายกันจากเบ้าพิมพ์แบบวางขายกันข้างถนนในกรุงเทพ กับ พระพุทธรูปที่ร่วมกันหล่อจากชาวบ้านที่มึความศรัทธา แล้ว ดำเนินงานโดยช่างที่ศรัทธาในพระศาสนา แบบไหนจะน่าเคารพ และศักดิ์สิทธิ์มากกว่ากัน

ข้าพเจ้าว่าความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูป หรืองานศิลปเชิงศาสนาต่าง ๆนั้น นอกจากจะเป็นเพราะพุทธคุณ กับ ฤทธิ์ของเทวดาที่มาช่วงคุ้มครองงานศิลปนั้นแล้ว ศรัทธาระหว่างการ "สร้าง" ก็มีส่วนสำคัญที่จะเชื่อมประสานสิ่งต่าง ๆ นั้นไว้ด้วยกัน

ประเด็นคือ เสียงดนตรีนั้น สัมผัสอารมณ์ง่าย แต่เราผู้มาดูงานศิลปะพระพุทธรูป หรือ ภาพวาด ในทีหลังนั้น จะสัมผัสศรัทธา (ระหว่างการสร้าง)ได้โดยง่ายหรือเปล่า

ย้อนกลับมาที่รูปวาด สมมติว่ารูปนี้วาดได้สวยงามจับใจยิ่งนัก แล้วเราสัมผัสกับศรัทธานั้นได้หรือไม่

บางครั้งวัตถุบางอย่างซึ่งไม่ได้มีความดีอะไรเลย จิตเราก็ปรุงแต่งเป็นเรื่องราว ใส่ความศักดิ์สิทธิ์ลงไปให้ด้วยจิตเราเองทั้งนั้น ดังนั้นมีความเป็นไปได้ว่าทุกอย่างที่เราสัมผัสนั้น เราคิดไปเอง

ภาพที่งดงามมีคุณค่าในเชิงวิจิตรศิลป์แบบนี้ จะมีค่าในเชิงศาสนาหรือไม่นั้น ส่วนหนึ่งเราคิดไปเองทั้งนั้น

หรือว่า จิตรกรวฝรั่งเศสนั้น ศรัทธาพระศาสนาจริง แล้วข้าพเจ้าเองนั้นแหละที่คิดมากไป

(ไม่ก็เป็นภาพวาดฝีพระหัตถ์ของกษัตริย์ผู้เป็นพุทธมามกะจริง)


โดย: Plin, :-p วันที่: 10 มิถุนายน 2550 เวลา:7:34:51 น.  

 
ศรัทธาในพุทธศาสนาของเราเองเป็นตัววัดแรงยึดและตั้งอยู่แบบไม่สั่นไหวด้วยอาการสงสัย ให้ใจพิจารณารูปเบื้องหน้าที่ระดับสมถะได้ เหมือนการทำจิตให้ตั้งมั่นด้วยความสงบเย็น ให้จับจ้องในความงาม ความเย็นของพุทธลักษณะ ถ้าดูรูปใหญ่ๆ จึงจะทดลองความรู้สึกนั้นได้ชัดกว่านี้

ส่วนความสามารถที่จิตจะไปสัมผัสคลื่นใจ ซึ่งรวมถึงศรัทธาของใครๆได้นั้น ขึ้นอยู่กับขณะจิตของผู้รับและผู้ถูกสัมผัส ยิ่งต่างกาลเวลา และเราๆที่ไม่ได้มีภูมิพอจะสัมผัสได้ เราจะสัมผัสไม่ถึงหรอกค่ะ สรุปว่า ศรัทธาในใจเราเองเป็นหลักให้เกิดการน้อมใจเข้าไปพิจารณาสิ่งที่เห็น

คำถามว่า จิตรกรนี้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาหรือไม่ ก็คล้ายๆกับคนที่ไปตักบาตรแล้วคิดในใจว่า พระรูปนี้เป็นพระจริงหรือพระปลอมนะ มีการทำงานของความคิดเร็วมาก คือ เห็นปุ๊บแปลความหมายได้มากกว่าแผ่นภาพ หลุดไปคิดไกลตัว เสียนาทีที่จิตจะพิจารณาความสงบเฉพาะหน้า กุศลเฉพาะกิจ แต่ถ้าตักบาตรแล้วสายตาจับแค่ชายผ้าเหลือง กิจที่ทำคือตักบาตรอยู่ ทัพพี ขันข้าว และของใส่บาตร คุณก็ได้รับกระแสจริงที่ต่างไป ชัดมากกว่าการส่งจิตไปคิดถึงสภาวะที่ปรุงเอง


โดย: woodchippath วันที่: 12 มิถุนายน 2550 เวลา:14:51:38 น.  

 
สวยมาก


โดย: 123456789 IP: 125.26.238.125 วันที่: 19 กรกฎาคม 2550 เวลา:16:38:31 น.  

woodchippath
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add woodchippath's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.