|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมกุยต๊ะ มรดกจากการต่อสู้
ประชา แม่จัน pracha_meachun@yahoo.com
บ้านกุยต๊ะ หมู่ 6 ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เป็นบ้านชาวปกากะญอ แยกจากถนนลาดยางสายอุ้มผาง เปิ่งเคลิ่ง ที่บ้านกุยเลอตอไปตามถนนดินเป็นระยะทาง 6 กม. ชื่อ กุยต๊ะ แปลว่า วังห้าม หรือ วังน้ำเขตอภัยทาน ตำนานกล่าวว่า มีพระสงฆ์รูปหนึ่งได้มาบิณฑบาตห้ามจับปลาในวังแห่งนี้ จึงเรียกเป็นชื่อวังสืบต่อมา แต่มีข้อน่าสงสัยชาวปกากะญอในอุ้มผางนับถือศาสนาของพวกเขาที่เรียกว่า เพอเจะ ซึ่งคนไทยเรียกว่า ฤาษี ดังนั้นพระสงฆ์จึงไม่น่าจะมีอิทธิพลเหนือความเชื่อถือของชาวบ้าน เพอเจะ มีหลักศีลธรรมเหมือนกับศีล 5 ส่วนการเรียกว่า ฤาษี เข้าใจว่ามาจากการแต่งกายของชาวปกากะญอ ผู้ชายไว้ผมยาว มัดมวยผม นุ่งโสร่ง
ที่มาของพิพิธภัณฑ์ ประมาณปี 2547 ชาวบ้านกุยต๊ะจำนวน 16 ครัวเรือน 96 คนได้พร้อมใจกันอดข้าว เนื่องจากขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ (ชาวบ้านเรียกว่า อนุรักษ์) ที่จำกัดพื้นที่การทำไร่หมุนเวียน ในการอดข้าวประท้วงทางการได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจังหวัด วุฒิสมาชิก เช่น คุณเตือนใจ ดีเทศน์ ได้เดินทางมาเจรจากับผู้ประท้วงที่นำโดย จอวาโพ
ระหว่างการประท้วงพวกเขาได้รวบรวมเครื่องมือทำมาหากิน เครื่องจักสาน หัตถกรรม ต่างๆ และประกาศว่า พวกเราจะวางมือจากการทำมาหากิน และยอมอดตาย ถ้าพวกเราทำไร่ไม่ได้
โดยพื้นฐานการผลิต การทำไร่เป็นศูนย์กลางของธัญญาหาร นอกจากการปลูกข้าวแล้ว ในไร่จะมีการปลูกพริก ขิง ข่า ตะไคร้ ฟักทอง แตงต่างๆ มะเขือต่างๆ ยาสูบ งา และพืชอื่นๆ สำหรับการบริโภค แม้กระทั่งผู้ที่ทำนาต้องถางไร่ขนาดเล็กเพื่อปลูกพืชอื่นนอกเหนือจากข้าว ในขณะที่ การทำไร่ของเขา ดูเหมือนว่าเป็นการบุกรุกป่า แต่ความจริงการถางไร่จะวนรอบภายใต้พื้นที่ที่ชุมชนได้กำหนดให้เพาะปลูกได้ โดยรอบการทำไร่จะนาน 7 10 ปี ถึงวนกลับมาทำที่เดิม เราจะพบว่าป่าที่นี่ยังไม่เสื่อมโทรม ทั้งที่พวกเขาอยู่อาศัยมามากกว่า 200 ปี
การห้ามถางไร่ของเจ้าหน้าที่จึงเป็นการปะทะทางวัฒนธรรมและการดำรงชีพ นำมาสู่การแตกหักด้วยการประท้วง ดูเหมือนว่าเป็นต่อสู้อย่างสันติครั้งแรกของพวกเขา หลังจากที่พวกเขาได้เข้าร่วมต่อสู้ด้วยอาวุธกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2513 และวางอาวุธในปี 2525 เมื่อพวกเขายุติการอดข้าวประท้วง จึงได้รวบรวมเครื่องมือ เครื่องจักสาน และหัตถกรรมต่างและสร้างบ้านเป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับจัดแสดงและใช้ทำพิธีทางศาสนาทุกวันพระ
ชาวบ้านกับป่า จอวาโพ ผู้นำชาวบ้านกลุ่มนี้ได้เคยกล่าวกับเจ้าหน้าที่ว่า ป่าจะอยู่ได้เพราะทุกคนเป็นอนุรักษ์ พวกอนุรักษ์ไม่กี่คนรักษาป่าไม่ได้ ชาวบ้านทุกคนต้องเป็นอนุรักษ์ป่าถึงจะอยู่ได้ และมีความเห็นว่า อนุรักษ์ควรให้ชาวบ้านเก็บกะวาน มะอิ หรือตาว ออกมาขาย ชาวบ้านจะได้รักษาผืนป่าตรงนั้น ระวังไม่ให้ไฟไหม้
ในขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่อุทยานโดยเฉพาะผู้รับผิดชอบถูกสงสัยว่ามีความรู้เกี่ยวกับป่าแค่ไหนจากชาวบ้าน เช่น การแนะนำให้เขาปลูกไม้ผล คำถามของพวกเขาคือปลูกทำไม ถ้าปลูกไว้กิน พวกเขามีผลไม้อยู่แล้วหลายชนิด ถ้าปลูกไว้ขายจะนำไปขายใคร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ความไม่เข้าใจต่อวัฒนธรรมข้าวของพวกเขาและไม่เคยคิดนำชาวบ้านมาเป็นส่วนของการรักษาป่า แต่มองเขาเป็นผู้บุกรุก โอกาสเกิดความขัดแย้งกับชาวบ้านมีมากและสัมฤทธิผลในการรักษาป่าต่ำ
พิพิธภัณฑ์ชาวบ้าน
ภายในพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วย กลุ่มเครื่องจักสานที่เป็นเครื่องมือการผลิตและเครื่องใช้ เช่น ชุดกันฝนที่สานจากตอก กระด้ง กระบุงขนาดต่างๆ คบขี้ไต้ เครื่องมือจับปลาประเภทต่างๆ ปฏิทินจันทรคติ กลุ่มนี้แขวนอยู่หน้าบ้าน กลุ่มสิ่งทอ ประกอบด้วยย่าม ผ้าผูกผม ผ้าถุง โสร่ง เสื้อ ผ้าห่ม สิ่งทอเหล่านี้มีหลายลวดลาย และแขวนไว้ภายในบ้าน กลุ่มเครื่องมือ เช่น เครื่องปั่นด้าย กลุ่มนี้วางไว้ด้านขวามือ กลุ่มเครื่องดนตรี เช่น ตะนะ ระนาดเล็ก เป็นต้น กลุ่มนี้วางไว้ด้านซ้ายมือ
สิ่งของที่จัดเก็บสมควรที่สนับสนุนการจัดทำเป็นสารานุกรม เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาด้านสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา
เมื่อมาถึงบ้านนี้ พอดีเป็นวันพระ ชาวบ้านกลุ่มนี้กำลังชุมนุมในบ้านด้วยชุดแต่งกายชาติพันธุ์ เพื่อนร่วมคณะของเราขอซื้อโสร่งและย่าม จอวาโพ บอกว่า ถ้าต้องการให้เลือกเอาไป ไม่ต้องซื้อ เพราะเขาไม่ขาย จึงเกิดการต่อรองบอกกับเขาว่าให้คิดว่าเงินเป็นการบริจาคเพื่อซื้อด้ายมาทอใหม่ การต่อรองบรรลุผล จอวาโพยอมรับเงินจำนวนนั้น แต่เขาย้ำว่า เราไม่ได้ขาย
ที่มา ประชา แม่จัน. พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรม มรดกจากการต่อสู้กุยต๊ะ.สยามปริทัศน์ (1 มค.2550-1 กพ.2550):53-54 ฐานข้อมูลท้องถิ่นในประเทศไทย ภาพพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมกุยต๊ะ
ประชา แม่จัน ผู้เขียน "อุ้มผางเบื้องหลังธรรมชาติ", จุลภาค, 2551
Create Date : 10 กรกฎาคม 2552 |
|
1 comments |
Last Update : 26 กรกฎาคม 2552 23:24:55 น. |
Counter : 1502 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
|
|
เทศกาลปีใหม่โล้ชิงช้า ปีใหม่ของชนเผ่าอาข่า ทัวร์3วัน2คืน เริ่ม 2,3,4,กันยายน52
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=khundoi&group=3
//www.hilltribeguide.com/autopage/show_page.php?h=1&s_id=3&d_id=4