การแบ่งงานและสถานะของผู้หญิงกะเหรี่ยงในอุ้มผาง
ประชา แม่จัน, ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๕
เมื่อห้าปีที่แล้วเคยถามครู กศน. ที่บ้านเกริงโบหรือกรูโบว่า ถ้าให้ผู้หญิงทอย่ามประมาณ 10 ใบจะใช้เวลาประมาณเท่าไร ครูผู้นั้นตอบว่าช่วงหน้าแล้งเป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงกะเหรี่ยงยุ่งมากที่สุด เพราะต้องไปเก็บใบตองตรึงซึ่งจะแก่และร่วงตั้งแต่เดือนปลายเดือนมกราคม และสานใบตองมุงหลังคา เพื่อนำมาซ่อมแซมหลังคาบ้านเรื่องนี้จึงมาสู่การทำความเข้าใจถึงการแบ่งงานระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงในอุ้มผาง ต่อมา ได้สนทนากับลุงเนเตอะ ปราชญ์ชาวบ้าน ของหมู่บ้านนี้ ท่านเล่าว่า เมื่อนายกรัฐมนตรี ชวนหลีกภัยได้แต่งคำขวัญวันเด็ก ว่า “ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย” ได้แรงจูงใจให้ ลุงเนเตอะ แต่งเพลงกะเหรี่ยง เกี่ยวกับคำขวัญตอนหนึ่งได้กล่าวว่า “...วินัยคือแม่...” ลุงเนเตอะ อธิบายว่า วินัยเป็นเรื่องจิตใจเหมือนกับภายในบ้าน ซึ่งแม่เป็นผู้ปกครองดูแลภายในบ้าน ถ้าแม่ดูแลภายในบ้านดีการกระทำสิ่งอื่นภายนอกจะดีไปด้วย ดูเหมือนว่ากำลังได้คำอธิบายว่าทำไมผู้หญิงกะเหรี่ยงจึงเป็นผู้รับผิดชอบการซ่อมแซมบ้านแน่นอนจะเรียกผู้ใช้ให้ขึ้นเปลี่ยนใบตอง หรือการซ่อมแซมที่ต้องใช้แรงงานมาก เช่นการสับฟาก เป็นต้น หลังจากได้ชวนชาวบ้านเล่าเรื่องหน้าที่การงาน หรือการทำนาทำไร่ พวกเขาเล่าว่า ผู้ชายเป็นผู้รับผิดชอบไร่นาส่วนผู้หญิงรับผิดชอบดูแลบ้าน พวกเขาเล่าถึงบทบาทของผู้หญิงว่า ผู้หญิงต้องเลี้ยงลูกต้องเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ออกไปช้อนปลา ทอผ้า พวกเขาแสดงความเห็นว่า ผู้หญิงทำงานมาก เมื่อถามเด็กครอบครัวหนึ่งว่าเขาใช้นามสกุลของใคร พ่อหรือแม่ พวกเขาตอบว่า ใช้ตามแม่ แน่นอนคงจะไม่ใช่ข้อสรุปเพราะถามเพียงครอบครัวเดียว แต่มีประเด็นว่า สังคมกะเหรี่ยงให้ลูกนับถือฝ่ายแม่เพราะแม่เป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดู ครั้งหนึ่งได้พบเหตุการณ์หย่าร้างระหว่าง สามีกับภรรยาคู่หนึ่ง ภรรยาเป็นฝ่ายกระทำผิดแต่ฝ่ายสามีเป็นออกจากบ้านไป บ้านและลูกๆ คงอยู่กับแม่ ในลักษณะ “มาอย่างไร ไปอย่างนั้น”เพราะการแต่งงานของคนกระเหรี่ยง ฝ่ายชายเป็นฝ่ายย้ายไปบ้านหญิง นอกจากนี้ผู้หญิงมีบทบาทในการตัดสินใจกิจการภายในบ้าน ไม่ได้ผูกขาดในอำนาจของผู้ชาย สิ่งที่พบเห็นในชุมชนกะเหรี่ยงแห่งนี้คือการแบ่งงานให้ผู้หญิงอยู่กับบ้าน ไม่ได้ทำให้สถานะของผู้หญิงลดลง สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงชุมชนกะเหรี่ยงที่นี่ ใช้ระบบกรรมสิทธิ์สาธารณะกับที่ทำกินทุกคนมีสิทธิใช้ที่ดินอย่างเท่าเทียม แต่ระบบกรรมสิทธิ์แบบนี้กำลังลดความสำคัญลงเริ่มการอ้างสิทธิ์เหนือที่ดิน เนื่องจากที่ทำกินถูกรัฐจำกัดการใช้สอยเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนกะเหรี่ยงอุ้มผางอยู่ในเขตมรดกโลกทุ่งใหญ่
Create Date : 25 มีนาคม 2555 |
Last Update : 25 มีนาคม 2555 17:09:48 น. |
|
1 comments
|
Counter : 955 Pageviews. |
|
|