+++++ น้ำทุกหยาดมีประโยชน์ หากทุกคนใช้อย่างคุ้มค่าและประหยัด +++++
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
30 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

+++ หนาวมาแล้ว หอบเอาความแห้งแล้งมาเยือน ภารกิจหนักกรมชลฯ จัดสรรน้ำให้เพียงพอใช้ตลอดฤดูแล้งนี้ +++

หนาวมาแล้ว น้ำมาแล้ว บทความสำหรับเกษตรกรครับ ...

วิธีแก้ไขปัญหา ข้าวกระทบหนาว ใบเหลือง รวงสั้น หยุดโต

รายงานจากกรมอุตุนิยมวิทยา เช้าวันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 ฉบับที่ 18 (18/2552) แจ้งว่าบริเวณความกดอากาศสูงอย่างแรงจากประเทศจีนจะยังคงแผ่ปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของไทยมีอากาศที่หนาวเย็น ภาคเหนือ ภาคอีสานจะหนาวจัด บนดอยมีน้ำค้างแข็ง มีการแจ้งเตือนภัยแก่ผู้ประกอบอาชีพประมงตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปอาจจะเจอมรสุมจากคลื่นที่สูง 2 – 4 เมตร จนได้รับอันตรายจากการประกอบอาชีพได้

อากาศที่หนาวเย็นเช่นนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และมักจะส่งผลกระทบไปยังพี่น้องเกษตรกรจนได้รับความเดือดร้อนจากผลผลิตที่มักจะเสียหายจากอากาศที่หนาวเย็นอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะปีนี้ดูเหมือนว่าอิทธิพลของอากาศที่หนาวเย็นนั้นจะส่งผลยาวนานกว่าทุก ๆ ปี มีทั้งหนาวมาก หนาวปานกลาง หนาวน้อย หนาวนาน จนเกษตรกรบางคนตั้งตัวไม่ทัน ขาดความพร้อม ขาดการเตรียมตัว อาจจะรับมือไม่ทันจนพืชผัก ผลไม้ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากได้
“ข้าว” ก็เป็นพืชอีกชนิดหนึ่ง ที่มักได้รับความเสียหายจากอากาศที่หนาวเย็นและได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก เพราะเป็นอาชีพหลักของประชากรไทย จนได้รับการกล่าวขานกันว่า เป็นกระดูกสันหลังของชาติ มีการจำหน่ายออกนอกประเทศเป็นอันดับหนึ่งของโลกไล่เลี่ยกับประเทศเวียดนามซึ่งกำลังเร่งสปีดยอดส่งออกแข่งกับเราจนชนิดที่เรียกได้ว่าหายใจรดต้นคอกันเลยทีเดียว เพราะคนไทยเรามัวแต่ทะเลาะกันเองไม่มีเวลาไปบริหารจัดการเรื่องการค้าการขายหรือแม้แต่การบริหารบ้านเมือง
อากาศที่หนาวเย็นมีผลทำให้ข้าวได้รับปัญหาจากหลายๆ สาเหตุ เช่น โรคจากเชื้อรา ใบจุด ใบเหลือง หยุดการเจริญเติบโต ชะงักงัน ไม่กินอาหาร คอรวงสั้น ออกรวงโผล่ไม่พ้นกาบใบ (โรคจู๋) มีความเสี่ยงต่อการที่รวงไม่ผสมเกสรจนเป็นหมัน เมล็ดข้าวเล็ก แบน ลีบ ผลผลิตตกต่ำ ดังนั้นเกษตรกรควรวางแผนรับมือกับการปลูกข้าวในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นอย่างรอบคอบ โดยการคัดเลือกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่ออากาศที่หนาวเย็น หรือหลีกเลี่ยงการเพาะปลูกในระยะเวลาดังกล่าวถ้ายังไม่มีความชำนาญเพียงพอ ตรวจวัดความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้มีความเหมาะสม ดูแลให้สภาพต้นสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างความความต้านทานโดยการใช้ ภูไมท์ซัลเฟต หว่านตั้งแต่ตอนเตรียมเทือก ฉีดพ่นไวตาไลเซอร์ และ ไรซ์กรีนพลัส (ทั้งสองตัวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต่อสู้กับอากาศหนาว) ทุก ๆ 5 – 7 วัน ตั้งแต่ก่อนเข้าหนาวก็จะยิ่งช่วยให้ข้าว มีการปรับตัว สร้างกลไกในการผลิตฮอร์โมนออกมาต่อสู้กับอากาศที่หนาวเย็นได้ดี ช่วยทำให้สถานการณ์ที่หนักผ่อนคลายเป็นเบา ผลผลิตได้รับความเสียหายน้อยลง

มนตรี บุญจรัส ,วันที่ : 12 ม.ค. 2552, 9:24:00 น.
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com


---------------------------------------------------------


เรื่องเล่าข่าวชลประทาน


ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์



โทร.สายด่วน 1460 / E-mail : wmsc.1460@gmail.com / //water.rid.go.th/wmsc



---------------------------------------------------------------------------



เริ่มต้นใกล้เข้าสู่เดือนแห่งราศีธนู ปีนี้อากาศที่หนาวเย็นมาเยือนคนเมืองหลวงเร็วกว่าที่คาดไว้ เป็นอีกสัญญาณหนึ่งแห่งการเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูหนาวหรือฤดูแล้งของไทยเรา คงมีเพียงในพื้นที่ภาคใต้ที่ยังคงมีฝนตก ตามฤดูกาลของประเทศ คนต่างจังหวัดหลายคนที่ทำมาหากินอยู่ในเมืองหลวง คงอดคิดถึงบรรยากาศที่แสนจะรื่นรมย์ในบ้านเกิดเมืองนอนของของตนเองมิได้ นึกแล้วก็อยากจะกลับไปสัมผัสบรรยากาศของธรรมชาติที่บ้านนอกกับเขาบ้าง แต่คราใดที่อากาศหนาวเริ่มมาเยือน ก็มักจะหอบเอาความแห้งแล้งมาด้วยเสมอ

ประเทศไทยเรา นับได้ว่าโชคดีที่การพัฒนาประเทศในอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากพอสมควร มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง และบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำหลาก จนมาถึงปัจจุบันนี้ การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนขนาดใหญ่ทำได้ยากขึ้น ด้วยพื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็นแหล่งชุมชนหนาแน่น และการอพยพผู้คนจำนวนมากทำได้ยาก ในขณะที่ความต้องการในการใช้น้ำยังคงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการเพิ่มของประชากรและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ในบางครั้งบางคราว การใช้น้ำของประชากรและปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ไม่สมดุลกัน โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม ในช่วงฤดูแล้งหลายพื้นที่ต้องประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในการทำการเพาะปลูก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทาน ส่วนที่อยู่ในเขตชลประทาน ก็ใช่ว่าจะปล่อยให้มีการใช้น้ำได้อย่างสะดวกสบายโดยไม่ช่วยกันประหยัด เนื่องจากการใช้น้ำจะต้องมีการจัดสรรให้มีใช้อย่างเพียงพอ โดยคิดจากปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ หากไม่ช่วยกันประหยัด ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำได้เช่นกัน

สำหรับในปีนี้ปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางรวมกันทั้งประเทศ ณ วันที่ 1 พ.ย. 52 มีอยู่จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 58,000 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะนับเอาวันที่ 1 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นการเริ่มต้นในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อสนับสนุนการปลูกพืชฤดูแล้งในพื้นที่ชลประทาน ซึ่งจะไปสิ้นสุดเอาในวันที่ 30 เม.ย.ของปีถัดไป สำหรับในปีนี้มีปริมาณน้ำรวมกันน้อยกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 900 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร(ปี 2551 มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งหมด 59,641 ล้านลูกบาศก์เมตร)

นับเป็นภารกิจที่หนักอึ้งเหมือนกัน สำหรับกรมชลประทาน ที่จะต้องบริหารจัดการน้ำก้อนนี้ให้เพียงพอใช้สำหรับในทุกกิจกรรมการใช้น้ำ โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม ซึ่งมีการทำนาปรังกันทุกปี อีกทั้งรัฐบาลได้มีนโยบายการรับจำนำข้าวเปลือก ทำให้คาดว่าจะมีการทำนาปรังเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่นั้น แม้จะสามารถจัดสรรให้เกษตรกรในพื้นที่ชลประทานได้ แต่การควบคุมให้มีการใช้น้ำเป็นไปตามแผนนั้น ค่อนข้างทำได้ยาก ก็คงต้องเป็นความร่วมมือกันระหว่างโครงการชลประทานกับกลุ่มผู้ใช้น้ำทั่วประเทศ ที่จะต้องเข้าไปสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ดีแก่เกษตรกร ให้หันไปปลูกพื้นที่ใช้น้ำน้อย แต่ได้ราคาดีทดแทน ครั้งต่อไป เราจะมาดูการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ของพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังขนาดใหญ่และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

*************************


27 พฤศจิกายน 2552

ที่มา : //irrigation.rid.go.th/news/news_52_405.htm

ยังไง ๆ กรมชลประทานก็ไม่ทิ้งเกษตรกรไทยแน่นอนครับ




 

Create Date : 30 พฤศจิกายน 2552
0 comments
Last Update : 4 ธันวาคม 2552 10:03:06 น.
Counter : 765 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


kuk-42
Location :
พิจิตร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add kuk-42's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.