+++++ น้ำทุกหยาดมีประโยชน์ หากทุกคนใช้อย่างคุ้มค่าและประหยัด +++++
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
12 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
เรื่องเล่าข่าวชลประทาน ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

สถานการณ์น้ำชลประทาน : เฝ้าระวังการใช้น้ำและพื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งอย่างใกล้ชิด

ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่(10 ก.พ. 53) มีปริมาตรน้ำรวมกันทั้งหมด 47,624 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างฯทั้งหมด(69,595 ล้านลูกบาศก์เมตร) โดยเขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 7,257 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯทั้งหมด เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 4,766 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯทั้งหมด เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 426 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุอ่างฯทั้งหมด สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ในส่วนของการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 52/53 ในเขตชลประทานทั่วประเทศนั้น ได้มีการกำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งไว้รวมกันทั้งหมด 11.92 ล้านไร่ ปัจจุบัน(ณ 5 ก.พ. 53) มีการเพาะปลูกไปแล้ว 11.04 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 93 ของแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งทั้งหมด เฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้มีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งไว้ทั้งสิ้น 5.54 ล้านไร่ ขณะนี้ได้มีการเพาะปลูกไปแล้ว 5.82 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 105 ของแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา

สำหรับแผนการจัดสรรน้ำในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งใช้น้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ รวมกันจำนวน 6,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ร่วมกับการใช้น้ำจากเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จำนวน 400 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อีกจำนวน 600 ล้านลูกบาศก์เมตร และผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองอีก 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมเป็นปริมาณน้ำทั้งสิ้น 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร นั้น ปัจจุบัน(10 ก.พ. 53) มีการนำน้ำไปใช้แล้วจำนวน 5,541 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 69 ของแผนจัดสรรน้ำทั้งหมดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา คงเหลือปริมาณน้ำที่สามารถจะนำมาใช้ได้ตามแผนการจัดสรรน้ำประมาณ 2,459 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งที่ฤดูแล้งยังเหลือเวลาอีกกว่า 3 เดือน หากการใช้น้ำไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้จะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำได้ในอนาคต
ทั้งนี้ กรมชลประทาน ยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์การเพาะปลูกพืชฤดูแล้งและการใช้น้ำให้เป็นไปตามแผนการใช้น้ำที่วางไว้อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งรณรงค์สร้างความเข้าใจกับเกษตรกรทั้งในเขตและนอกเขตชลประทานอย่างต่อเนื่อง ถึงปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดในช่วงฤดูแล้งนี้ แม้จะสามารถจัดสรรน้ำให้ได้ตามแผนการใช้น้ำที่มีอยู่ก็ตาม แต่หากยังไม่ช่วยกันประหยัดและมีการใช้น้ำเกินแผนที่ได้กำหนดไว้ ปัญหาการขาดแคลนน้ำในอนาคตจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้น จึงขอความร่วมมือจากเกษตรกรให้ช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัด และขอให้ทำนาปรังเพียงครั้งเดียว หรือหันไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรังครั้งที่ 2 เพื่อให้การจัดสรรน้ำเป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้

อนึ่ง กรมชลประทาน ยังได้เตรียมเครื่องสูบน้ำ เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งจำนวน 1,200 เครื่อง และรถยนต์บรรทุกน้ำอีกจำนวน 295 คัน ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศที่พร้อมจะเข้าไปช่วยเหลือ หากได้รับการร้องขอ ปัจจุบันได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าไปช่วยเหลือทั่วประเทศแล้ว จำนวน 536 เครื่อง ในพื้นที่ 34 จังหวัดทั่วประเทศ




Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2553 15:31:33 น. 4 comments
Counter : 686 Pageviews.

 
ขอบคุณนะค่ะที่แวะไปเยี่ยมที่บล๊อคแอร์อีกค่ะ
พี่ทำงานอยู่ สำนักงานชลประทานจังหวัดเหรอค่ะ
หรือประจำอยู่สำนักงานโครงการ


โดย: rasinee วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:16:29 น.  

 
วิธีที่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยใช้ผิดทั้งนั้นเลยค่ะ อนาคตรอดูระบบการบริหารจัดการน้ำที่ถูกต้องดีกว่า ไม่ช้าๆไม่นาน นโยบายจะถูกประกาศให้รู้กันค่ะ


โดย: Chulapinan วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:18:07:50 น.  

 


โดย: ooyporn วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:0:17:48 น.  

 

ไม่ได้แวะมานาน สบายดีนะคะ

สุขสันต์วันวาเลนไทน์ด้วยคนค่ะ..

มีรอยยิ้มมากๆ นะคะ



โดย: Kon1Kon วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:11:54:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kuk-42
Location :
พิจิตร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add kuk-42's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.