+++++ น้ำทุกหยาดมีประโยชน์ หากทุกคนใช้อย่างคุ้มค่าและประหยัด +++++
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
17 มีนาคม 2554
 
All Blogs
 
อะไร อะไร ก็ชลประทาน

แปลกแต่จริง
เท่าที่เรียน กับทำงานมา
กระบวนการทำงานจะแบ่งเป็น

๑. เรียนรู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไร (เรียนตั้งแต่เด้กยัน ป.ตรี โท หรือเอก ก็ว่ากันไป)
๒. ทำงานโดยใช้ความรู้ความสามารถที่ได้เล่าเรียนมาผสมผสานกับการเรียนรู้จากภาคสนาม (ที่ชอบเรียกว่าวิชาการนั่นแหละ)
๓. ระหว่างทำงานก็ต้องใช้ข้อมูลจากที่ต่าง ๆ รวมทั้งที่เรียกว่า สารสนเทศ ต่าง ๆ มาประยุกต์ให้เหมาะสมกับพื้นที่
๔. ยำทุก ๆ อย่างจนได้วิธีการไปแก้ปัญหาให้ชาวบ้าน


๕. ทบทวนว่าแก้ถูกทางหรือเปล่า ถ้าไม่ถูกก็กลับไปข้อ ๒.ใหม่

แล้วที่ท่าน รอยล จิตรดอนกล่าวในบทความข้างล่าง
ท่านสามารถให้ข้อมูลแก่ชลประทานเอาไปประยุกต์ ปรับแก้ อะไรได้บ้าง ดีแต่นั่งในห้องแอร์ เป็นนักรบในห้องแอร์
ควรช่วยกันแก้ไขข้อบกพร่องน่าจะดีกว่า ทำแบบนี้นี่หรือ ดร.



อ้างอิงจากข้างล่าง //news.hatyaiok.com/?p=49107


ผอ.สถาบัน สารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร อัดระบบชลประทานไทย ยึดทฤษฎีตะวันตก ไม่คำนึงถึงลักษณะภูมิประเทศที่ต่างกัน ส่งผลเกิดน้ำท่วมใหญ่ ปี 53…

ดร.รอ ยล จิตรดอน ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ปาฐกถาเรื่องความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมด้านทรัพยากรน้ำ ว่าโครงสร้างระบบชลประทานของประเทศ ไทยยึดทฤษฎีตามหลักของประเทศตะวันตก โดยเชื่อว่าจะต้องมีโครงสร้างขนาดใหญ่ในการกักเก็บน้ำ โดยไม่คำนึงถึงลักษณะภูมิประเทศที่ต่างกัน เห็นได้จากการเกิดน้ำท่วมใหญ่ในปี 2553 สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมน้ำได้ เพราะไม่มีการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ไม่มีการดูแลแหล่งน้ำตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ใช้งบประมาณดูแลแหล่งน้ำน้อยมาก เมื่อเทียบกับงบประมาณทั้งหมดที่ได้รับ จำนวน 4 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแหล่งน้ำเพียงร้อยละ 2.17 และแก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง ร้อยละ 8 ขณะที่ภาครัฐก็มีการลงทุนด้านระบบชลประทานเหลื่อมล้ำกันมาก โดยเน้นลงทุน ในภาคกลางและภาคเหนือมากกว่าพื้นที่อื่นๆ

ดร.รอยลกล่าวด้วยว่า หากจะแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ภาครัฐต้องเข้าใจธรรมชาติของน้ำ และแก้ปัญหาให้ตรงจุด ต้องแก้ปัญหาแบบกระจายไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ทั้งนี้หากรัฐตัดงบประมาณของกรุงเทพฯบางส่วนมาแก้ปัญหาที่ต้นเหตุจะถือเป็น กำไรของประเทศ ไม่ใช่ รายจ่ายของประเทศอย่างที่เป็นอยู่ นอกจากนี้ การแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคกลางคงไม่ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล เพียงเปลี่ยนแปลงคลองที่มีอยู่ให้สามารถทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บน้ำและระบาย น้ำผันไปยังจุดต่างๆพร้อมกัน ไม่ใช่มีบทบาทเพียงเป็นคลองส่งน้ำต่อเท่านั้น.




Create Date : 17 มีนาคม 2554
Last Update : 17 มีนาคม 2554 15:28:01 น. 0 comments
Counter : 757 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kuk-42
Location :
พิจิตร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add kuk-42's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.