"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
25 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
พระสมเด็จบางขุนพรหม สุดยอดวัตถุมงคล'สมเด็จโต'






พระสมเด็จบางขุนพรหม
สุดยอดวัตถุมงคล 'สมเด็จโต'



คอลัมน์ มุมพระเก่า
อภิญญา



ถึงพุทธคุณของ "พระเครื่อง" จะสัมผัสไม่ได้ด้วยตา แต่แน่นอนมีอิทธิพลทางด้านจิตใจอย่างมาก เมื่อห้อยอยู่ที่คอแล้วทำให้อบอุ่นกายแบบบอกไม่ถูก หลายคนคงได้เจอกับตัวเองมาแล้ว

ยิ่งในห้วงที่การเมืองเข้าสู่โหมดการเลือกตั้ง เมื่อมีการแข่งขันสูง ความรุนแรงย่อมเกิดขึ้นได้ โดนเป็นรายแรก ส.ส.หลายสมัยของเมืองปากน้ำ "ประชา ประสพดี" มือปืนดักลอบสังหารด้วยอาวุธร้ายแรง แต่มัจจุราชยังไม่ต้อง การตัว ส่งผลให้รอดตายราวปาฏิหาริย์

หลังจากรอดตาย "ส.ส.ประชา" โชว์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยให้รอดตายในครั้งนี้ เจ้าตัวมั่นใจเป็นเพราะบารมีของ "พระสมเด็จบางขุนพรหม" ที่ห้อยคออยู่ประจำ งานนี้ส่งผลให้ "พระสมเด็จบางขุนพรหม" ถูกแสวงหาราคาพุ่งขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว

เพราะนักการเมืองหลายคนหันมาอาราธนาพกพาติดตัว ป้องกันอันตรายจากคมกระ สุน แทนการใช้เสื้อเกราะ

เรียกว่าพุทธคุณมั่นใจได้ไม่แพ้ "พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม"

ปัจจุบันสนนราคา "พระสมเด็จ วัดระฆังโฆ สิตาราม" ไต่อันดับขึ้นหลักล้านมายาวนาน แต่สิ่งสำคัญหาของแท้บูชาพกพาอาราธนาติดตัวยากมาก มีแต่เจอ "เก๊ใกล้แท้"

นักสะสมส่วนใหญ่จึงเบนเข็มมาหา "พระสมเด็จบางขุนพรหม" แทน เพราะมีจำนวนที่มากกว่า และมีพิมพ์ทรงให้เลือกบูชามากกว่า แถมราคายังเบากว่าด้วย

"วัดบางขุนพรหม" ในอดีตมีอาณาบริเวณกว้างขวาง โดยเฉพาะในช่วงที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ชราภาพ ท่านมาจำพรรษาหาความสงบ ขณะนั้นชาวบ้านได้นำที่ดินมาถวายเพิ่มเติมจากเดิม เพื่อให้ท่านสร้างพระหลวงพ่อโต ประดิษฐานเป็นที่พึ่งทางใจของพุทธศาสนิกชน

ทำให้วัดบางขุนพรหมมีอาณาเขตกว้างขวางมากขึ้น ทิศตะวันตกติดแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศเหนือติดคลองเทเวศร์ ทิศตะวันออกถึงบ้านพาน บ้านหล่อพระนคร

ในขณะนั้นทางราชการได้สร้างทางตัดถนนวิสุทธิกษัตริย์ ผ่านกลางวัดบางขุนพรหม ทำให้วัดบางขุนพรหมแยกออกเป็น 2 วัด คือวัดบางขุนพรหมใน และวัดบางขุนพรหมนอก

ปัจจุบันวัดบางขุนพรหมใน คือ "วัดใหม่อมตรส" สถานที่ประดิษฐานพระมหาเจดีย์ และวัดบางขุนพรหมนอก คือ "วัดอินทรวิหาร" สถานที่ประดิษฐานพระหลวงพ่อโตยืนองค์ใหญ่ "พระมหาเจดีย์" องค์นี้แหละเป็นที่มาของ "พระสมเด็จบางขุนพรหม"

ครั้งนั้นสมเด็จโต และเสมียนตราด้วง ศิษย์ใกล้ชิดท่าน หลังจากดำเนินการจัดสร้างพระมหาเจดีย์เสร็จ ได้จัดสร้างพระพิมพ์เป็นเนื้อผงสีขาว อย่างพระสมเด็จวัดระฆังฯ จำนวนมากถึง 84,000 องค์ เท่าพระธรรมขันธ์บรรจุไว้ เพื่อเป็นการบูชาและสืบทอดพระพุทธศาสนาตามโบราณนิยม

"พระสมเด็จบางขุนพรหม" ที่บรรจุไว้ในพระมหาเจดีย์ มีหลักๆ อยู่ทั้งหมด 9 พิมพ์ ดังนี้ พิมพ์ใหญ่, พิมพ์ทรงเจดีย์, พิมพ์เกศบัวตูม, พิมพ์ฐานแซม, พิมพ์เส้นด้าย, พิมพ์สังฆาฏิ, พิมพ์ฐานคู่, พิมพ์ปรกโพธิ์ และพิมพ์อกครุฑ เป็นต้น

ผมอยู่วงการพระมานาน โดนคำถามตลอด พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่าสภาพองค์พระที่เจอ ทำไมดูใหม่กว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่ คงอธิบายได้ไม่ยาก การนำพระขึ้นจากกรุที่ต่างกัน

พระบางขุนพรหมกรุเก่ามีสภาพองค์พระที่สะอาด หลายองค์ไร้ขี้กรุเกาะติด เพราะช่วงนั้นมีการแอบใช้ดินเหนียวปั้นเป็นลูกกลมๆ หย่อนลงไปตามช่องลมพระมหาเจดีย์ เพื่อให้พระสมเด็จติดก้อนดินขึ้นมา เรียกว่า "ตกพระ"

องค์พระที่ได้จะอยู่ส่วนด้านบน สภาพพระจึงสมบูรณ์ ไม่ปรากฏขี้กรุชัดเจน ผิวเรียบ มีอยู่บ้างประเภทองค์พระขาวนวลขึ้นมาคล้ายฟองเต้าหู้

ส่วนพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่ ได้มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2500 โดยมี จอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นประธานการเปิดกรุ ปรากฏว่าองค์พระสมบูรณ์มีน้อย ส่วนใหญ่แตกหัก ขี้กรุผสมจับตัวแน่น บางองค์เป็นก้อนสีน้ำตาลแก่

พระสมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่ ขณะนั้นทางวัดเปิดให้ประชาชนบูชาองค์สภาพสมบูรณ์องค์ละ 3-4 พันบาท ไล่ตามพิมพ์ที่นิยม ส่วนองค์ที่แตกหักให้บูชาองค์ละ 3-4 ร้อยบาท

ปัจจุบันพระสมเด็จบางขุนพรหม ทั้งกรุเก่าและกรุใหม่มีค่านิยมเล่นหามากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเพราะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นประธานการจัดสร้างพุทธคุณย่อมไม่แตกต่างกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จวัดไชโยแน่นอน

หน้า 31


ขอขอบคุณ ข่าวสดออนไลน์


จันทรวารสิริสวัสดิ์ค่ะ



Create Date : 25 กรกฎาคม 2554
Last Update : 25 กรกฎาคม 2554 12:48:38 น. 0 comments
Counter : 4259 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.