"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
27 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 
พันธุ์แท้พระเครื่อง

ราม วัชรประดิษฐ์


 

 

 

 

 

 

 

 

วันนี้มาพูดกันเรื่องเหรียญต่อนะครับ เหรียญ ยุคต้นก่อนปี พ.ศ.2470 นั้นยังมีลักษณะพิเศษอื่นๆ อีก เช่น เวลาปั๊มเหรียญเขาจะกระแทกให้ตัวเหรียญหลุดออกมาเป็นเหรียญจากโลหะเลย

โดยไม่ต้องนำมาเลื่อยฉลุอีกทีหนึ่ง ขอบเหรียญจึงไม่มีรอยฟันเลื่อย แต่จะเรียบเพราะเครื่องปั๊มจะมีบล็อกบังคับตัดในตัว และขอบเหรียญจะบางกว่าเหรียญรุ่นหลัง

ส่วนเหรียญตั้งแต่ พ.ศ.2470 จะเริ่มพบมีการเลื่อยฉลุ หมายถึงปั๊มเกินขอบแล้วมาเลื่อยทีหลัง แต่บางเหรียญก่อน พ.ศ.2470 ก็มีหลุดออกมาทั้งแผ่นหลังจากปั๊มกระแทกแล้วบ้าง เช่น เหรียญพระพุทธชินสีห์เคยพบเป็นวงกลมใหญ่กว่าใบโพธิ์แล้วนำมาเลื่อยฉลุทีหลัง ซึ่งจะมีบางเหรียญเท่านั้นไม่ใช่ส่วนใหญ่

หากว่ากันถึงเนื้อโลหะของเหรียญเก่าแล้ว จะมีความแห้งซีด ไม่มันวาว เนื่องจากโลหะผ่านอายุอานามมาเป็นเวลานาน หากจับๆ ต้องๆ ดูอาจจะมันวาวขึ้นมาบ้าง แต่ทิ้งไว้ซักพักก็จะกลับแห้งซีดอีก อันนี้เป็นข้อสังเกตสำคัญอีกอย่างหนึ่ง

นอกเหนือจากการดู 'ขี้กลาก' ที่เกิดจากอากาศทำปฏิกิริยากับเนื้อโลหะที่เป็นหลุมเป็นบ่อ เคยเห็นเซียนคนหนึ่งดูเหรียญ หากมีรอยขี้กลากจะไม่เล่นทันที ซึ่งความจริงแล้วอาจเกิดขี้กลากได้ หากนำแม่พิมพ์เดิมมาปั๊มซ้ำ หรือเกิดนิดๆ หน่อยๆ

แต่ถ้ามีเยอะแยะต้องสวัสดีท่านทีหนึ่งแล้วรีบๆ คืนไป แล้วบางทีถ้าเก็บรักษาไม่ดีอาจเกิดรอยพรุนคล้ายรูเข็มบนพื้นเหรียญได้ แต่ไม่ใช่เก๊นะครับ เป็นเพราะเก็บไม่ดีทำให้โดนอากาศ

ส่วนเหรียญสมัยหลังต้องนับประมาณ พ.ศ.2500 ลงมา ตอนนี้วิทยาการและเทคโนโลยีการผลิตเข้าขั้นเทพแล้ว ไม่ต้องเขียนลายลงบนกระดาษสาแล้วแกะแม่พิมพ์ทั้งๆ ยังร้อน หากแต่ใช้วิธีการถ่ายฟิล์มแล้วแกะหรือกัดบล็อกตามถนัด ทำให้ได้เส้นลวดลายที่คมชัดลึกกว่าเหรียญรุ่นเก่า

ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะทำเป็นหูในตัวเพราะสะดวกดีเวลาปั๊มไม่ต้องมาคอยเชื่อมห่วงอีก ที่สำคัญคือ เนื่องจากเครื่องมือทันสมัยจะส่งผลให้ผิวเหรียญเรียบตึงมาก สามารถปั๊มโลหะทั้งแข็งทั้งอ่อนได้เป็นอย่างดี

วิธีการสังเกตเวลาเขาทำปลอม ก็จะใช้ซิลิโคนถอดพิมพ์ทั้งด้านหน้าด้านหลัง แต่มีหลักง่ายๆ ไว้คอยป้องกันตัวทั้งเหรียญรุ่นเก่ารุ่นใหม่คือ ถ้าถอดแม่พิมพ์รับรองได้ว่าเหรียญจะเล็กลงกว่าเดิม ดังนั้น ต้องเห็นเหรียญแท้เหรียญจริงบ่อยๆ พอเห็นเหรียญขนาดเล็กจะได้รู้ว่าไม่ใช่

ส่วนเหรียญ 'บล็อกนอก' นี่ดูง่ายเพราะจะสวยงามได้มาตรฐานคมกริบ บ้านเราทำคุณภาพยังไม่ถึง แล้วถ้าเจอเหรียญที่นำมาฉลุปิดพื้นเข้าไปให้ระวังให้จงหนัก เพราะเล็กกว่าปกตินี่แหละ เลยต้องเอามาฉลุยกหน้ายกหลัง แต่เหรียญฉลุแท้ก็มีนะครับต้องสังเกตให้เป็น

มีคนสงสัยว่าแล้วเส้นตำหนิในแม่พิมพ์ประเภทเส้นแตก เส้นเกินใต้ตัวอักษร เส้นขนแมวอะไรพวกนี้ทำปลอมได้ไหม ขอเรียนว่าทำได้ เพราะยุคไฮเทคเขาเอาเหรียญจริงเข้าสแกนคอมพิวเตอร์ก่อนไปทำบล็อก

เลยเรียกกันว่า 'บล็อกคอมพิวเตอร์' เหมือนเราสแกนภาพนั่นแหละครับมีเท่าไหร่ออกมาหมด แต่จะติดเต็มหรือไม่เต็มต้องดูฝีมือช่างด้วย ซึ่งเหรียญพวกนี้มักจะใช้ทำปลอมเหรียญหลัง พ.ศ.2500 เพราะถ้านำวิธีนี้ไปปลอมเหรียญก่อนหน้าจะสังเกตได้ง่าย

 เนื่องจากกระบวนการผลิตใช้หลักต่างกัน ส่วนการปลอมเหรียญรุ่นเก่านิยมใช้การถอดด้วย ซิลิโคน ซึ่งนอกจากจะเล็กแล้วบางส่วน เช่น เส้นขนแมว หรือร่องเล็กๆ จะไม่ติด ซึ่งวิธีการศึกษาต้องค่อยๆ ทำความเข้าใจสภาพเหรียญแต่ละยุคและจดจำตำหนิหรือเอกลักษณ์ของแต่ละเหรียญแต่ละหลวงพ่อให้ชัดเจน

ทีนี้มาถึงคำถามประเภท 'แฟนพันธุ์แท้' ที่ถามเข้ามามากมายเหลือเกิน เช่น เหรียญหลักๆ ทำไมเนื้อทองแดงถึงแพงมากกว่าเนื้ออื่น ก็ต้องถึงบางอ้อแล้วละครับ เพราะผมบอกแล้วว่า

เหรียญรุ่นก่อนนิยมใช้ทองแดงเป็นหลัก ส่วนเนื้อทอง เนื้อเงินอะไรนั่นต้องมีหลักฐานนะครับถึงจะเล่นได้ เหตุเพราะโลหะทอง เงิน ทำปลอมง่ายกว่าทองแดงเยอะ ยิ่งแต่งเรื่องเป็นถวายเจ้าถวายนาย แจกกรรมการยิ่งไปกันใหญ่

บางคนเห็นเหรียญมีคราบมีไคลมีสนิมก็มือไม้สั่นต้องล้างให้ได้ ถ้าเป็นเหรียญเก๊ก็ไม่เป็นไรหรอก ก่อนล้างก็ดูกันแท้ดี แต่พอล้างเสร็จเท่านั้นแหละตัวใครตัวมัน แล้วล้างนะครับเขาใช้แช่ลงในเครื่องดื่มชูกำลัง รับรองที่ดูเก่าเก็บกลายเป็นใหม่เอี่ยมอ่อง จากเหรียญรุ่นเก่ากลายเป็นเหรียญใหม่ทันสมัยกว่าเดิมเลยทีเดียวเชียวครับผม

หน้า 31

ขอบคุณ
ข่าวสดออนไลน์
ราม วัชรประดิษฐ์

สิริสวัสดิ์ภุมวารค่ะ




Create Date : 27 มีนาคม 2555
Last Update : 27 มีนาคม 2555 13:24:52 น. 0 comments
Counter : 2073 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.