"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
25 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
มหาวิหารวินเชสเตอร์ (Winchester Cathedral)





มหาวิหารวินเชสเตอร์




มหาวิหารวินเชสเตอร์ (Winchester Cathedral) เป็นมหาวิหารตั้งอยู่ที่เมืองวินเชสเตอร์ มณฑลแฮมพ์เชอร์ (Hampshire) ใน สหราชอาณาจักร ตัวมหาวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อ ค.ศ.1079 และเสร็จ เมื่อ ค.ศ.1093


สถาปัตยกรรมก่อนสมัยโรมาเนสก์

มหาวิหารแรกสุดก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.642 ตรงด้านเหนือของมหาวิหารปัจจุบัน มหาวิหารเดิมรู้จักกันในนามว่า “Old Minster” (สำนักสงฆ์เก่า) วัดมาเป็นสำนักสงฆ์เมื่อปี ค.ศ.971

นักบุญสวิทเธิร์น (Saint Swithun) ถูกฝังไว้ใกล้มหาวิหารเดิมก่อนที่จะถูกย้ายมาฝังที่มหาวิหารใหม่ที่สร้างแบบโรมาเนสก์ หรือที่เรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน”

ที่อังกฤษ “Mortuary chests” (หีบ หรือ กล่อง) ซึ่งเชื่อกันว่าข้างในบรรจุกระดูกของพระเจ้าแผ่นดินแซ็กซอนเช่นพระเจ้าเอ็ดวี (Edwy of England) และพระมเหสีพระราชินีเอลจิวา (Elgiva) ซึ่งเดิมฝังอยู่ที่มหาวิหารเก่าแต่ต่อมาก็ย้ายไปฝังที่มหาวิหารปัจจุบัน มหาวิหารเดิมถูกรื้อทิ้งเมื่อปี ค.ศ.1093

ประวัติ

ตัวมหาวิหารปัจจุบันเริ่มสร้างเมื่อปี ค.ศ.1079 ภายใต้การนำของบาทหลวงวอล์คลิน (Bishop Walkelin) เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ.1093 พระก็ย้ายจากมหาวิหารเดิมไปสู่มหาวิหารใหม่ ต่อหน้าผู้มาเข้าร่วมพิธีจากทั่วอังกฤษ

บริเวณที่เก่าที่สุดของมหาวิหารปัจจุบันคือที่ฝังศพภายใต้วัด (crypt) ซึ่งสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในสมัยพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 ที่รู้จักกันในนามวิลเลียม รูฟัส (William Rufus) ผู้เป็นราชโอรสของ พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ผู้ซึ่งต่อมาถูกฝังไว้ในมหาวิหารเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1100 หลังจากที่สิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุจากการล่าสัตว์ที่ New Forest

หอเตี้ยเหนือจุดตัดระหว่างทางเดินกลาง กับแขนกางเขนของวัดเริ่มสร้างเมื่อปี ค.ศ.1202 เพื่อแทนหอเดิมที่ทลายลงมาเพราะดินบริเวณที่สร้างมหาวิหารนั้นไม่แน่น ลักษณะของสถาปัตยกรรมของมหาวิหารเป็นแบบโรมาเนสก์แท้ ถึงแม้การก่อสร้างจะทำต่อมาจนถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14

เมื่อปี ค.ศ.1394 ก็เริ่มการบูรณะปรับรูปแบบทางเดินกลาง ที่สร้างแบบโรมาเนสก์โดยอาจารย์ช่างหินวิลเลียม วินฟอร์ด (William Wynford) และทำต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 รวมทั้งการเพิ่มจรมุข (Ambulatory) เพื่อให้มีเนื้อที่เพียงพอสำหรับนักแสวงบุญ ที่มาทำการสักการะนักบุญสวิทเธิร์นที่วัด

วัดเบ็นนาดิคตินเซ็นต์สวิทเธิร์นถูกยุบเลิก ตามพระราชกฤษฎีกายุบอารามเมื่อปี ค.ศ.1539 ระเบียงและหอประชุมสงฆ์ถูกรื้อทิ้งแต่มหาวิหารยังเป็นมหาวิหารต่อมา

ระหว่างปีค.ศ.1905 - ปี ค.ศ.1912 มีการปฏิสังขรณ์โดย ที จี แจ็คสัน (T.G. Jackson) ที่สำคัญคือการป้องกันไม่ให้มหาวิหารทรุดลงมาทั้งหลัง

พื้นที่สร้างมหาวิหารเป็นพื้นที่ที่มีน้ำขังทางกำแพงด้านใต้ และด้านตะวันออกซึ่งต้องให้นักประดาน้ำวิลเลียม วอลคเคอร์ (William Walker) เอาถุงคอนกรีตเข้าไปอัดไว้ใต้ฐาน 25,000 ถุงและ ก้อน คอนกรีตอีก 115,000 ก้อน และ อิฐอีก 900,000 ก้อน

วอลคเคอร์ใช้เวลาดำน้ำ 6 ชั่วโมงต่อวันเป็นเวลา 6 ปี (ค.ศ.1906 - ค.ศ.1912) ในสภาพที่มืดมิดและมีความลึกถึง 6 เมตร วิลเลียม วอลคเคอร์จึงเป็นคนที่มีบทบาทสำคัญมากในการอนุรักษ์มหาวิหารที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้

เพื่อเป็นการตอบแทนคุณความดีของวอลคเคอร์ สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียทรงพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Royal Victorian Order ชั้น MVO ให้แก่วิลเลียม วอลคเคอร์

สิ่งที่น่าสนใจ

ปัจจุบันมหาวิหารมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมจากที่ต่าง ๆ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับเจน ออสเตน ผู้มาเสียชีวิตที่เมืองวินเชสเตอร์และถูกฝังอยู่ทางด้านเหนือของทางเดินข้าง ป้ายที่สร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 แทบจะมิได้สรรเสริญความสามารถในงานประพันธ์ของออสเตน
เลย แต่ต่อมาก็มีการทำป้ายใหม่เพื่อให้สมฐานะติดอยู่ข้าง ๆ

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือมหาวิหารใช้เป็นฉากของนวนิยายเรื่อง “Chronicles of Barsetshire” (จดหมายเหตุของบาร์เซ็ทเชอร์) โดย แอนโทนี ทรอลล็อพ (Anthony Trollope) ที่เขียนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19

เมื่อปี ค.ศ.2005 มหาวิหารใช้เป็นฉากถ่ายภาพยนตร์เรื่องรหัสลับดาวินชี โดยใช้ด้านเหนือแขนกางเขนเป็นฉากวาติกัน หลังจากนั้นมหาวิหารจึงเป็นเจ้าภาพในการจัดการอภิปรายหนังสือเล่มนี้ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าความคิดหรือความเชื่อจากหนังสือนั้น เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง

มหาวิหารนี้คงเป็นมหาวิหารเดียวที่มีคนเขียนเพลงสมัยนิยมให้ เพลง “Winchester Cathedral” ของ The New Vaudeville Band ขึ้นอันดับหนึ่งในสิบที่อังกฤษ และอันดับหนึ่งที่สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1966

และอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี ค.ศ.1977 ในเพลง “Cathedral” เขียนโดย Crosby, Stills & Nash เป็นเพลงในแผ่นอัลบั้ม CSN

ทางด้านใต้ของกางเขนจะเป็น “ชาเปลคนหาปลา” (Fishermen's Chapel) ซึ่งเป็นที่ฝังไอแซ็ค วอลตัน (Izaak Walton)--เพื่อนของ จอห์น ดันน์ (John Donne)--ผู้ที่เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ.1683 ผู้เป็นนักประพันธ์เรื่อง “The Compleat Angler”

ภายในบริเวณร้องเพลงสวดมีระฆังจากเรือรบหลวง Iron Duke ซึ่งเป็นเรือนำทัพของแม่ทัพเรือจอห์น เจลลิโค (John Jellicoe) ที่ศึกจั๊ทแลนด์ (Izaak Walton) เมื่อปี ค.ศ.1916

ภายในชาเปล “Epiphany” มีหน้าต่างประดับกระจกสีแบบพรีราฟาเอลไลท์ ออกแบบโดยเซอร์เอ็ดเวิร์ด เบิร์น-โจนส์ (Sir Edward Coley Burne-Jones) ทำที่เวิร์คช็อบของวิลเลียม มอร์ริส (William Morris) ซึ่งเป็นเวิร์คช็อบที่มีชื่อเสียงทางการตกแต่งกระจกสี

กล่าวกันว่ามีรูปหนึ่งที่ละม้ายเจนภรรยาของวิลเลียม มอริส ผู้มักจะนั่งเป็นแบบให้ดานเต เกเบรียล รอสเซ็ตติ และสมาชิกกลุ่มศิลปินกลุ่มพรีราฟาเอลไลท์คนอื่นๆ

ที่ฝังศพภายใต้วัดมีรูปปั้นโดยแอนโทนี กอร์มลี (Antony Gormley) ชื่อ “Sound II” ซึ่งติดตั้งเมื่อปี ค.ศ.1986 นอกจากนั้นก็มีอนุสรณ์สมัยใหม่ของที่ฝังศพของนักบุญสวิทเธิร์น

ระหว่างปี ค.ศ.1992 - ค.ศ.1996 ทางมหาวิหารได้ติดตั้งรูปปั้น 5 รูปหลังฉากหลังบริเวณสงฆ์ที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันวัตถุมงคลของนักบุญสวิทเธิร์นที่ถูกทำลายโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เมื่อ ค.ศ.1538

รูปปั้นแบบออร์โธด็อกซ์รัสเซียสร้างโดยเซอร์เก เฟโดรอฟ (Sergei Fedorov) และทำพิธีอุทิศเมื่อปี ค.ศ.1997 เป็นรูปปั้นของผู้มีความสำคัญทางคริสต์ศาสนาในบริเวณเมืองวินเชสเตอร์ เช่นนักบุญสวิทเธิร์น และนักบุญบิรินัส (St Birinus)

ภายใต้รูปปั้นเป็นช่องศักดิ์สิทธิ์ (Holy Hole) ซึ่งเคยเป็นที่ที่นักบุญคลานเข้าไปข้างใต้เพื่อให้ได้อยู่ใกล้ชิดที่สุดกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญสวิทเธิร์น

นอกจากนั้นทางมหาวิหารยังเป็นแห่งเดียวในโลกที่เป็นเจ้าของระฆังแบบมีระดับเสียง 14 ระฆังซึ่งระฆัง tenor เป็นระฆังที่หนักที่สุดหนัก 1.83 เมตริกตัน


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สวัสดิ์สิริธีววาร สิริมานปรีดิ์เขษมค่ะ


Create Date : 25 มีนาคม 2553
Last Update : 8 เมษายน 2553 11:22:59 น. 0 comments
Counter : 2220 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.