"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2557
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
6 สิงหาคม 2557
 
All Blogs
 

คุยกับ ′ดร.ธนธร กิตติกานต์′ กับผลงาน ′มหาธาตุ′

 

 

มหาธาตุ หรือ ที่เรารู้จักและเข้าใจว่าคือ เจดีย์ใหญ่หรือวัดดังมีชื่อเสียง แต่จริงๆ แล้วจะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่ามหาธาตุนั้น คือ พระบรมสารีริกธาตุ ที่อยู่ด้านในเจดีย์ โดยได้มีการสร้างเจดีย์ครอบไว้อีกชั้นหนึ่ง

แต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศเดินทางไปเยี่ยมชม กราบไหว้ ขอพรวัดมหาธาตุ เป็นจำนวนมาก เป็นแหล่งรวมจิตใจ ความเชื่อ ความเป็นสิริมงคล  มาทุกยุคสมัย โดยที่ส่วนใหญ่ไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริงทางประวัติศาสตร์เลย ในปัจจุบันนี้มีคนจำนวนน้อยมาก ที่ทราบประวัติและมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับมหาธาตุ

ดร.ธนธร กิตติกานต์ อาจารย์สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ ทั้งจากคัมภีร์ ตำนาน และรูปแบบศิลปกรรมจนได้ผลสรุปถึงที่มา ความหมาย แนวคิด คติการสร้าง รวมทั้งวิวัฒนาการทางด้านรูปแบบในงานสถาปัตยกรรมของมหาธาตุจากอินเดีย ศรีลังกา มาสู่ดินแดนไทย

ตั้งแต่เมื่อแรกรับวัฒนธรรมทางศาสนาในสมัยทวารวดี ผ่านกาลเวลามายังสมัยสุโขทัย ล้านนา อยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ โดยให้ความสำคัญกับตำแหน่งที่ตั้งมหาธาตุในแต่ละเมือง การจัดวางองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม รวมถึงพิธีกรรมในการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยปรับปรุงมาจากดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะไทย ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผลงานหนังสือเล่มแรก “มหาธาตุ”

ดร.ธนธร กล่าวว่า สมัยเรียนมีโอกาสได้ไปวัดต่างๆ หลายจังหวัดทั่วประเทศ ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์  จึงได้เห็นหลายๆจังหวัดมีวัดใหญ่ประจำจังหวัดอยู่  จะมีโบราณวัตถุ โบราณสถานต่างๆ ที่น่าสนใจ  มีนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชม  แล้วมันก็จะเป็นประเด็นที่ว่าคนที่ไปท่องเที่ยวส่วนใหญ่เขาไม่ได้สนใจอะไรมากในเรื่องนี้

แต่จะสนใจในเรื่องของพุทธพานิชย์  เช่น พระเครื่อง ของต่างๆที่ขายภายในวัด ไม่ค่อยสนใจเรื่องของประวัติศาสตร์เท่าไร บางวัดก็ถูกทิ้งล้าง ทั้งที่มีจุดที่น่าสนใจ บางวัดก็มีชื่อที่สัมพันธ์กัน ชื่อมหาธาตุซ้ำๆกัน เลยเป็นจุดเริ่มต้นให้ศึกษาค้นคว้า และคิดว่าเราน่าจะทำให้คนรู้เรื่องประวัติศาสตร์เหล่านี้

ดร.ธนธร กิตติกานต์  ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักพิมพ์มติชนในประเด็นต่างๆ ไว้ดังนี้

“มหาธาตุ” ถือเป็นการเปิดประเด็นทางประวัติศาสตร์อย่างไร?

การศึกษาในเรื่องนี้ ก็มีคนศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก แต่จะเป็นการศึกษาในแต่ละวัด เช่น ศึกษาวัดมหาธาตุของจังหวัดนั้น จังหวัดนี้ แต่ไม่เคยมีใครเอามารวบรวม วิเคราะห์ถึงความเชื่อมโยงกันของทุกๆ วัด ถือว่าเป็นงานชิ้นแรกๆ ที่ทำในลักษณะนี้ มองในภาพกว้างแล้วนำมาวิเคราะห์ว่ามีความเชื่อมโยง สัมพันธ์กันอย่างไรในแต่ละจังหวัด

อย่างต่างประเทศจะมีโบสถ์ประจำเมืองต่างๆ ของเราก็มีแต่จะเป็นวัด เพราะเรานับถือพุทธศาสนา และแต่ละวัดจะเลือกใช้ พระบรมสารีริกธาตุหรือเถ้ากระดูกพระพุทธเจ้ามาเป็นสิ่งสำคัญ นำมาบูชา ทุกเมืองทุกจังหวัดต้องหามาเป็นของตัวเอง เป็นลักษณะของประเทศเราที่มีศาสนสถานประจำเมืองรูปแบบนี้ อย่างศรีลังกา อินเดีย อาจจะมีบ้างแต่ไม่เท่าของไทยที่มีแทบทุกจังหวัด ชูเป็นจุดเด่นว่าคนไทยน่าจะมีความรู้เรื่องนี้มาก


มุมมองต่อ มหาธาตุ ?

มหาธาตุ คือ ศาสนสถานประจำเมือง แต่ศาสนสถานของประเทศอื่นกับของประเทศไทยมีความแตกต่างกัน คือ ไทยเลือกที่จะเอาพระธาตุเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของชาวเมือง อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ จากศรีลังกา อินเดีย หรือที่ต่างๆ มาประดิษฐานไว้ในเจดีย์ที่เราเรียกกันว่าพระธาตุ เพราะฉะนั้นแต่ละเมืองก็จะมีวัดมหาธาตุ ที่จะมีพระธาตุเจดีย์อยู่ในนั้น และเจ้าเมืองก็จะรวบรวมเอาของสำคัญต่างๆ มาไว้ในวัดนี้หมด จนผ่านกาลเวลามาเป็นวัตถุโบราณ

ความเหมือนและแตกต่างของสถาปัตยกรรมของมหาธาตุ ?

รูปแบบสถาปัตยกรรมหลักๆ จะได้มาจากศรีลังกา แต่ด้วยความที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออินโดจีน แถบบ้านเราจะมีการติดต่อสัมพันธ์กันกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เขมร พม่า ลาว ที่มีศาสนสถานเฉพาะแตกต่างกันไป พอเราไปรับเอาต้นแบบจากศรีลังกามา 

ก็แล้วแต่ภูมิภาคว่าสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านประเทศไหน อย่างภาคเหนือสัมพันธ์กับพม่า  ก็จะยืมเอารูปแบบบางอย่างของพม่ามาปรับใช้  แถบอีสานหรือภาคกลางก็จะได้รับอิทธิพลจากเขมรเยอะ เพราะว่ามีช่วงเวลาหนึ่งที่เขมรเข้ามามีอิทธิพล ทำให้รูปแบบของมหาธาตุแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน

จุดเด่นและความสำคัญของ มหาธาตุ ในแต่ละยุค?

มีความแตกต่างไปตามบริบทในสมัยนั้น เช่น ในยุคแรกไทยยังไม่มีความสัมพันธ์กับศรีลังกามากนัก  แต่เราก็จะได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียใต้ ในสมัยทวารวดี  พอเรามีความสัมพันธ์กับศรีลังกา ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 จะเห็นได้ว่าเจดีย์ทรงระฆังแบบศรีลังกาได้เข้ามา เช่น พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชที่มีรูปทรงคล้ายกับเจดีย์ที่ศรีลังกามาก

 แล้วรูปแบบมหาธาตุจากนครศรีธรรมราชก็ได้แพร่ไปสู่สุโขทัยโดยความสัมพันธ์ระหว่างพ่อขุนรามคำแหงกับเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยนั้น แต่สุโขทัยจะคิดรูปทรงของมหาธาตุใหม่ขึ้นมา เช่น เจดีย์ทรงดอกบัวตูม ซึ่งมีเอกสารว่าจริงๆ แล้วรูปทรงนี้เป็นการดัดแปลงมาจากภาชนะประเภทหนึ่งของคนสุโขทัย ต่อมาล้านนาก็เอาลักษณะเจดีย์ของสุโขทัยไปผสมกับเจดีย์ทรงปราสาทแบบพม่าอย่างเจดีย์หลวง

ลักษณะของมหาธาตุ มีรูปแบบตายตัวหรือไม่ ?

ไม่มีรูปแบบตายตัว แต่จะปรับเปลี่ยนไปตามภูมิภาคและความสัมพันธ์ที่มีกับประเทศเพื่อนบ้าน

ความเชื่อ ความศรัทธาของคนไทย?

คนไทยยังมีความเชื่อ ความศรัทธาต่อมหาธาตุอยู่มาก ยังมีการไปไหว้ขอพรอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวัดที่มีชื่อเสียง แต่ว่าความรู้เรื่องประวัติศาสตร์นั้นน้อยมาก

"หนังสือนี้ไม่ใช่แค่การศึกษาสถาปัตยกรรมไทยอย่างเดียว แต่ยังเป็นการเรียงร้อยเรื่องราวของพุทธศาสนาด้วย ไม่จำเป็นต้องเป็นสถาปนิกหรือนักโบราณคดีก็สามารถอ่านได้ นอกจากจะได้ความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมไทยแล้วยังจะได้ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของศาสนาอีกด้วย"  ดร.ธนธรกล่าว 

ขอบคุณ มติชนออนไลน์

สิริสวัสดิ์วุธวารค่ะ




 

Create Date : 06 สิงหาคม 2557
0 comments
Last Update : 6 สิงหาคม 2557 9:57:01 น.
Counter : 2210 Pageviews.


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.