"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
19 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 

อุปัชฌาย์ .. ผู้คอยดูแลเอาใจใส่ คอยแนะนำพร่ำเตือนลูกศิษย์








อุปัชฌาย์ (/อุ-ปัด-ชา/ หรือ /อุบ-ปัด-ชา/) ความหมายโดยพยัญชนะว่าผู้เข้าไปเพ่ง กล่าวคือ ได้แก่ผู้คอยดูแลเอาใจใส่ คอยแนะนำพรำเตือนสัทธิวิหาริก (ลูกศิษย์) ของตน

ซึ่งก็คือพระเถระผู้ทำหน้าที่เป็นประธาน ในการบวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา เรียกทั่วไปว่า พระอุปัชฌาย์ ในภาษาอังกฤษมีความหมายเดียวกันเรียกว่า "Buddhist Preceptor"

พระอุปัชฌาย์มีหน้าที่หลัก ๒ อย่างคือ

เป็นผู้รับผิดชอบและรับรองผู้บวชในพิธีบรรพชาอุปสมบท

และเป็นผู้รับปกครองดูแล แนะนำ ตักเตือนและติดตามความ เป็นอยู่ของผู้ที่ตนบวชให้ เหมือนบิดาปกครองดูแลบุตร ตามกฎมหาเถรสมาคมนั้น ได้กำหนดให้เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลหนึ่ง ให้มีพระอุปัชฌาย์เพียงหนึ่งรูป เว้นแต่ มีกรณีพิเศษ


หลักฐานการใช้คำว่าอุปัชฌาย์ในอดีต

ปรากฏในช่วงเริ่มตติยสังคยานา หลังพุทธปรินิพพานประมาณ ๓๐๐ ปีหลังจากที่พระเจ้าอโศกทรงเลิกทำสงคราม ก็คิดจะหาความสงบพระทัย เดิมทีพระองค์ทรงนับถือลัทธินอกพุทธศาสนาอยู่ ๓ ปี ได้ถวายภัตตาหารให้แก่นักบวชในลัทธิต่างๆ วันละหลายแสนคน

พอเข้าปีที่ ๔ ก็ได้หันมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เพราะอานุภาพของสามเณรนิโครธ

นิโครธสามเณรได้กล่าวหัวข้อธรรม เรื่องความไม่ประมาท ให้พระราชาหรือพระเจ้าอโศกได้สดับว่า

อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย
ปมาโท มจฺจุโน ปทํ ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย

จากนั้นก็เทศน์ด้วยสำเนียงที่ไพเราะเพราะพริ้ง นี่ขนาดถ่อมตนว่ารู้น้อยแล้ว แต่เทศน์ได้ยอดเยี่ยมมาก ไพเราะทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย พระราชาพอได้สดับแล้ว ก็ปลื้มปีติในธรรม ที่สามเณรน้อยได้แสดง

ทรงรับสั่งว่า พ่อเณร โยมจะขอบูชากัณฑ์เทศน์ ด้วยการถวายภัตรประจำแก่พ่อเณรวันละ ๘ สำรับ

สามเณรถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมภาพ จะถวายธุวภัตรเหล่านั้นแก่พระอุปัชฌาย์”

พระราชาตรัสถามว่า “พ่อเณร ผู้ที่ชื่อว่าอุปัชฌาย์ของท่านคือใคร”

สามเณรถวายพระพรว่า “ มหาบพิตร ผู้ที่เห็นโทษน้อยใหญ่ แล้วคอยตักเตือน และให้ระลึกไม่ให้ทำบาปอกุศล ชื่อว่าพระอุปัชฌาย์”

พระราชาทรงรับสั่งว่า “พ่อเณร งั้นโยมจะถวายภัตรเพิ่มอีก ๘ สำหรับ แก่พ่อเณร”

สามเณรก็ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมภาพจะถวายภัตรเหล่านั้นแก่พระอาจารย์”

พระราชาตรัสถามว่า “ พ่อเณร ผู้ที่ชื่อว่าพระอาจารย์นี้คือใคร”

สามเณรถวายพระพรว่า “มหาบพิตร ผู้ที่ให้อันเตวาสิก และสัทธิวิหาริก ตั้งอยู่ในธรรมที่ควรศึกษาในพระศาสนานี้ ชื่อว่าพระอาจารย์”


การแต่งตั้ง

ปัจจุบันอุปัชฌาย์ในประเทศไทย จะต้องได้รับการแต่งตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการคณะสงฆ์ เป็นเองไม่ได้ กล่าวคือ ต้องเป็นพระอุปัชฌาย์ ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๗ ( พ.ศ. ๒๕๓๖ ) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์


ประเภท

ปัจจุบันพระอุปัชฌาย์มี 3 ประเภท อันได้แก่

1.พระอุปัชฌาย์สามัญ ซึ่งหมายถึง พระอุปัชฌาย์ที่ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าคณะใหญ่

2.พระอุปัชฌาย์วิสามัญ ซึ่งหมายถึง พระอุปัชฌาย์ที่ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระสังฆราช

3.พระอุปัชฌาย์ผู้ได้รับตราตั้งพระอุปัชฌาย์อยู่ก่อนใช้กฎมหาเถรสมาคม


คุณสมบัติ

1.มีตำแหน่งในทางการปกครองชั้นเจ้าอาวาสขึ้นไป เว้นแต่พระอารามหลวง

2.มีพรรษาพ้น ๑๐

3.ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรืออาพาธเป็นโรคติดต่อ เช่น โรคเรื้อน หรือวัณโรคในระยะอันตราย

4.มีประวัติความประพฤติดี

5.เป็นที่นับถือของประชาชน ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์

6.เป็นเปรียญหรือนักธรรมเอก เว้นแต่ในบางท้องถิ่นซึ่งเจ้าคณะพิจารณาเห็นสมควรผ่อนผัน

7.มีความสามารถฝึกสอนผู้อยู่ในปกครอง ให้เป็นพระภิกษุสามเณรที่ดี ตามพระธรรมวินัย และสามารถบำเพ็ญกรณียกิจ อันอยู่ในหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ได้

8.มีความรู้ความสามารถ ทำอุปสมบทกรรมให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และระเบียบแบบแผนของคณะสงฆ์


เขตความรับผิดชอบในการบรรพชาอุปสมบท

พระอุปัชฌาย์จะให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตร ได้ภายในเขตที่ระบุไว้ในตราตั้ง หรือเขตอำนาจที่ตนปกครองอยู่ในปัจจุบัน คือ ถ้าเป็น

1.เจ้าอาวาส ภายในวัดของตน
2.เจ้าคณะตำบล ภายในเขตตำบลของตน
3.เจ้าคณะอำเภอ ภายในเขตอำเภอของตน
4.เจ้าคณะจังหวัด ภายในเขตจังหวัดของตน

5.เจ้าคณะภาค ภาคในเขตภาคของตน
6.เจ้าคณะใหญ่ ภายในเขตหนของตน
7.พระอุปัชฌาย์ที่ดำรงตำแหน่งประธาน และกรรมการมหาเถรสมาคม ไม่จำกัดเขต


จริยาพระอุปัชฌาย์

1.พระอุปัชฌาย์ ต้องเอื้อเฟื้อ สังวร ประพฤติ ตามพระธรรมวินัย และกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีของสัทธิวิหาริก

2.พระอุปัชฌาย์ ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎมหาเถรสมาคมนี้

3.พระอุปัชฌาย์ ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งหรือคำแนะนำชี้แจงของพระสังฆาธิการ ผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัยและกฎมหาเถรสมาคมนี้

4.พระอุปัชฌาย์ ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง มิให้บรรพชาอุปสมบทกรรมวิบัติบกพร่องไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ


การระงับหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์

หน้าที่พระอุปัชฌาย์ต้องระงับในเมื่อ

1.พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในทางปกครอง และมิได้เป็นกิตติมศักดิ์ในตำแหน่งนั้น ๆ หรือถูกให้พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในทางปกครอง

2.ขาดคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามความในข้อ ๘

3.ถูกเป็นจำเลยในอธิกรณ์ที่มีโทษถึงให้สึก และอยู่ในระหว่างไต่สวนพิจารณาวินิจฉัย

4.ถูกถอดถอนจากตำแหน่งหน้าที่พระอุปัชฌาย์


ปัญหาการบวชกับอุปัชฌาย์ที่ปาราชิก

ความเห็นที่หนึ่ง เห็นว่าการบวชนั้นสมบูรณ์ เพราะการบวชมิได้เป็นไปแต่โดยลำพังของอุปัชฌาย์เท่านั้น หากพระคู่สวด พระอันดับมิได้อาบัติปาราชิกด้วย การบวชย่อมสมบูรณ์

ความเห็นที่สอง ในการทำสังฆกรรมนั้น แค่มีฆราวาสมาอยู่ใกล้หัตถบาสก์พระสงฆ์ ก็ถือว่าสังฆกรรมนั้นไม่บริสุทธิ์แล้ว ให้ขับออกห่างเกินหัตถบาสก์ก่อน แล้วเริ่มทำสังฆกรรมใหม่

หรือหากมีคนที่ขาดจากภิกษุภาวะที่มีบริสุทธิ์ สังฆกรรมนั้นก็โมฆะตั้งแต่ต้น จะนับเป็นพระได้ก็คือให้ชำระสงฆ์ก่อนแล้วเริ่มบวชใหม่เท่านั้น


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สวัสดิ์สิริศนิวาร สิริมานรมณีย์นะคะ




 

Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2554
1 comments
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2554 14:35:06 น.
Counter : 1338 Pageviews.

 

หวัดดีค่ะพี่

 

โดย: anthurium 19 กุมภาพันธ์ 2554 20:50:02 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.