"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
27 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
นครราชสีมา-โคราช


โคราช หรือนครราชสีมา เป็นเมืองเก่าแก่ที่เคยรุ่งเรือง มาแต่สมัยขอมโบราณ

จังหวัดนครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช นอกจากจะเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทยแล้วยังมีตำบล อำเภอและเทศบาลมากที่สุดในประเทศไทยเช่นกัน และมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดกับจังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว

ภูมิศาสตร์

ตัวเมืองตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช โดยมีลำตะคองและลำน้ำสาขาอื่นๆไหลหล่อเลี้ยงบริเวณด้านเหนือของเมือง และ เป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำสำคัญคือแม่น้ำมูลซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตัวเมืองประกอบด้วยประตูเมืองนครราชสีมาทั้ง 4 ทิศ คือ ประตูชุมพล (ทิศตะวันตก) ประตูพลแสน (ทิศเหนือ อีกชื่อคือประตูน้ำ) ประตูพลล้าน (ทิศตะวันออก) และประตูไชยณรงค์ (ทิศใต้ อีกชื่อคือประตูผี) ภายในตัวเมืองมีสระน้ำ 4 สระ คือ สระแก้ว สระแมว สระขวัญ และสระบัว

ประวัติศาสตร์

นครราชสีมาเป็นเมืองโบราณในราชอาณาจักรไทยเมืองหนึ่ง เป็นเมืองใหญ่ สมัยก่อนมีฐานะเป็นเมืองเจ้าพระยามหานคร เทียบเท่าเมืองนครศรีธรรมราชในภาคใต้ และเมืองพิษณุโลกทางภาคเหนือ

จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า มีชุมชนโบราณซึ่งเป็นร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคหินใหม่ต่อเนื่องมาถึงยุคโลหะกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา ครั้นถึงสมัยประวัติศาสตร์ ก็มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองเสมา (Sema) ตั้งอยู่บริเวณอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน

เป็นเมืองใหญ่เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของรัฐศรีจนาศะ ต่อมาในสมัยขอมพระนครมีการสร้างเมืองโคราช (Angkor Raj) หรือ นครราช อยู่ในบริเวณเดียวกัน และ มีเมืองพิมาย (อำเภอพิมายในปัจจุบัน) เป็นเมืองสำคัญของขอมในบริเวณนี้

มีผู้เสนอว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่ เมืองนครราช คือเมืองเดียวกันกับ เมืองราด ของ พ่อขุนผาเมือง เนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองพระนครหลายประการ นอกจากนี้รูปสลักกองทัพชาวสยามบนระเบียงด้านหนึ่งของ นครวัดอาจเป็น ชาวสยามจากลุ่มแม่น้ำมูลที่เกี่ยวข้องกับเมืองนครราช และยังมีการกล่าวถึงเมืองนครราชสีมาในพงศาวดารของกัมพูชาหลายครั้งด้วย

อย่างไรก็ตามมีผู้เสนอว่า นครราชสีมา นั้นเป็นคำไทยเป็นคำใหม่ แยกเป็นคำได้คือ นคร+ราช+สีมา แปลได้ตรงตัวว่า "เมืองใหญ่" (นคร) "อันเป็นขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักร" (ราช+สีมา)

ส่วนคำว่าโคราช (สำเนียงถิ่น: โค-หฺราด , ไทยกลาง: โค-ราด, เขมร: โก-เรียช ) นั้น น่าจะเพี้ยนมาจาก นครราช [Angor Riaj หรือ อังกอร์เรียจ ต่อมาลดรูปเป็น กอร์เรียจ และเพี้ยนเป็นโคราช ในที่สุด] (อ่านตามสำเนียงว่า คอน-หฺราด ซึ่งเป็นคำเรียกนครราชสีมาแบบย่อ ๆ ของชาวบ้าน) มากกว่าที่จะเพี้ยนมาจาก โคราฆปุระ (Gorakhpur) ที่เป็นชื่อเมืองสมัยใหม่ในแคว้นเดียวกับเมือง อโยธยา (Ayodhya)ในอินเดีย ตามข้อสันนิษฐานของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

เนื่องจากตั้งอยู่เป็นบริเวณที่เป็นชายขอบระหว่างรัฐที่มีอำนาจ หรือในความหมายของ รัฐกันชน ในปัจจุบัน นครราชสีมา จึงมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับความขัดแย้งระหว่างรัฐอยู่เสมอ เช่น ระหว่างสยามกับกัมพูชา หรือ ระหว่างสยามกับล้านช้าง หรือ ในบางครั้งได้มีความพยายามที่จะตั้งตัวเป็นรัฐอิสระไม่ขึ้นกับผู้ใด เฉกเช่นเดียวกับบรรดาเมืองใหญ่อื่นๆ

ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ปรากฏชื่อเมืองนครราชสีมา เป็นเมืองหนึ่งที่อยู่ในขอบขัณฑสีมา

ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเห็นว่าเป็นหัวเมืองใหญ่และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยาติดกับพรมแดนลาว (เข้าใจว่าเลยลำสะแทด ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูลเหนือเมืองพิมายเป็นเขตแดนลาว เพราะมีบันทึกไว้ในนิราศหนองคาย สอดคล้องกับวัฒนธรรมและภาษาที่เปลี่ยนไปด้วย)

จึงโปรดให้ย้ายเมืองเสมา มาสร้างเมืองใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน โดยมีนายช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบ ขนาดกว้าง 1,000 เมตร ความยาว 1,700 เมตร มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่ มีป้อมค่ายหอรบ และพระราชทานนามว่า เมืองนครราชสีมาทรงโปรดให้พระยายมราชเป็นเจ้าเมือง

เดอ ลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เขียนรายงานและบันทึกไว้ในจดหมายเหตุ ว่า เมืองโคราชสีมา (Corazema) เป็นหัวเมืองใหญ่ 1 ใน 7 มณฑล ตั้งอยู่ติดชายแดนของราชอาณาจักรสยามกับเมืองลาว มีเมืองบริวาร 5 เมือง

ในอดีตในช่วงเริ่มต้นสองปีแรกของแผ่นดิน สมเด็จพระเพทราชา พระยายมราชเจ้าเมืองนครราชสีมาได้แข็งเมือง เนื่องจากไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชา ที่ก่อการยึดอำนาจและเปลี่ยนราชวงศ์ จึงไม่ขอขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา

แต่ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาใช้เวลาปราบปรามโดยล้อมเมืองอยู่ประมาณ 2 ปี โดยใช้อุบายและกลยุทธปราบลงได้ เจ้าเมืองนครราชสีมา ได้หนีไปพึ่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ที่ไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชา เช่นกัน แต่ถูกกองทัพอยุธยา ตามไปปราบปรามลงได้

และในเวลาต่อมาเนื่องจากเมืองนครราชสีมา ถูกกองทัพอยุธยา ปราบปราบมิให้เข้มแข็งเหมือนแต่ก่อน ทำให้อ่อนแอลงมาก มีกรณีชาวลาวชื่ออ้ายบุญกว้าง อ้างตัวเป็นผู้วิเศษมีผู้คนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก เป็นที่เกรงกลัวต่อเจ้าเมืองและกรมการเมืองจึงได้หลอกล่อ อ้ายบุญกว้างเพื่อจะไปตีอยุธยา แล้วส่งข่าวไปยังอยุธยา เพื่อปราบปราบที่เมืองลพบุรี กบฎอ้ายบุญกว้างจึงสิ้นฤทธิ์

ในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยามีการเกณฑ์ทหารจากเมืองนครราชสีมา ร่วมกับหัวเมืองอื่น ๆ ไปช่วยป้องกันพระนคร

หลังจากกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย เจ้าเมืองพิมาย และ กรมหมื่นเทพพิพิธ ได้ตั้งตังเป็นชุมนุมอิสระที่สำคัญชุมนุมหนึ่งแต่ถูกปราบลงโดยพระเจ้าตาก หลังจากนั้นเมืองนครราชสีมาได้เป็นฐานกำลังทางทหารและการปกครองที่สำคัญของไทยมาโดยตลอด

โดยในสมัยกรุงธนบุรีได้ถูกใช้เป็นฐานรวบรวมกำลังของ พระยาอภัยรณฤทธิ์ และ พระยาอนุชิตราชา ในการสงครามกับล้านช้าง และ กัมพูชา

ในช่วงปลายสมัยกรุงธนบุรี พระสุริยอภัย ได้นำกองกำลังจากนครราชสีมาเข้าควบคุมสถานการณ์และปราบกบฏพระยาสรรค์ และนำไปสู่การเปลี่ยนแผ่นดินเข้าสู่ยุคสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์ในที่สุด

รัชกาลที่ 1 ทรงยกฐานะเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองชั้นเอก กำกับตรวจตราเมืองประเทศราช ๓ เมือง คือ เวียงจันทน์ นครพนม จำปาศักดิ์ ให้รวมทั้งปกครองหัวเมืองเขมร มีเจ้าพระยานครราชสีมาเป็นผู้สำเร็จราชการ

ในสมัยรัชกาลที่ 3 ชาวเมืองนครราชสีมามีบทบาทในการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ และผู้นำในการสนับสนุนช่วยเหลือการรบ คือ คุณหญิงโม ภริยาปลัดเมืองนครราชสีมา ได้รับการแต่งตั้งเป็นท้าวสุรนารี

จากนั้นโคราชได้กลายเป็นชุมทาง การค้าที่สำคัญ ในการติดต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคกลาง มีกองเกวียน กองคาราวานการค้า ขนาดใหญ่ผ่าน และ หยุดพักอยู่เสมอ

ในสมัยรัชกาลที่ 4 บาทหลวงปาลเลกัวซ์ ได้เขียนว่า ตัวเมืองโคราชล้อมรอบด้วยกำแพงตั้งอยู่บนที่ราบสูง เดินทางจากบางกอกใช้เวลา 6 วันโดยไต่ระดับสูงขึ้นไปตามเส้นทาง ดงพญาไฟ

ประชากรโคราชมีประมาณ 60,000 คน ครึ่งหนึ่งเป็นคนสยาม อีกครึ่งหนึ่งเป็นคนเขมร ในตัวเมืองมีประชากร 7,000 คน มีคนจีนประมาณ 700 คน มีเหมืองแร่ทองแดง มีโรงหีบอ้อย สินค้า คือ ข้าว งาช้าง หนังสัตว์ เขาสัตว์ ไม้เต็ง อบเชย

ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งมณฑลนครราชสีมาเพื่อควบคุมดูแลหัวเมืองในบริเวณใกล้เคียง เป็นมณฑลแรกของประเทศ มีการจัดตั้งกองทหารประจำมณฑลตามหลักสากล

มีการตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่นครราชสีมา มีการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ผ่านอยุธยา สระบุรี ดงพญาไฟ ไปสู่นครราชสีมา จนเปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ - นครราชสีมา ได้สำเร็จ การคมนาคมติดต่อสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก

ในช่วงเดียวกันฝรั่งเศสได้เข้ามามีอำนาจเหนืออินโดจีน ทำให้สยามจำต้องเร่งการปรับปรุงพัฒนาราชอาณาจักรโดยเฉพาะในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการจัดตั้งการขนส่งปรษณียภัณฑ์ทางอากาศ และ สายการบินระหว่าง กรุงเทพ - นครราชสีมา มีการขยายเส้นทางรถไฟสายอีสาน จนสามารถขยายเส้นทางการเดินรถไฟจาก นครราชสีมา ถึง ขอนแก่น และ นครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี ในสมัยรัชกาลที่ 7

ในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระองค์เจ้าบวรเดช ได้รวบรวมกองกำลังทหารจากมณฑลนครราชสีมาเป็นหลัก ร่วมกับ พันเอกพระยาศรีสิทธิ์สงคราม เพื่อทำการต่อสู้กับคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะผู้ก่อการได้ยกกองกำลังเข้ามาล้อมกรุงเทพฯ

แต่เมื่อการต่อสู้ยืดเยื้อในที่สุดก็ต้องถอยทัพและประสบความพ่ายแพ้เนื่องจากมีกำลังที่น้อยกว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ พันโทหลวงพิบูลสงครามผู้บัญชาการกองกำลังผสมฝ่ายรัฐบาล มีอำนาจในการควบคุมกำลังทหารมากขึ้นส่งผลให้ได้อำนาจทางการเมืองและจัดตั้งรัฐบาลทหารได้ในเวลาต่อมา

ฝูงบิน F-16 กองบิน 1ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทหารในสังกัด มณฑลทหารบกที่ 3 นครราชสีมา ได้ทำการร่วมรบในกรณีพิพาทอินโดจีนกองทัพไทยสามารถยึดดินแดนกลับคืนมาบางส่วน เป็นการชั่วคราว

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือสร้างถนนมิตรภาพ จาก สระบุรี ถึง นครราชสีมา ซึ่งเป็นทางหลวงที่ได้มาตรฐานดีที่สุดของประเทศในขณะนั้น

ในช่วงสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกาได้ขอใช้ โคราช เป็นฐานบัญชาการการรบและเป็นต้นกำเนิดของกองบิน 1 ฐานทัพหลักของกองทัพอากาศในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2523 มีความพยายามรัฐประหารโดยกลุ่มทหารของ พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา แต่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ พระราชวงศ์ ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่นครราชสีมา

กองกำลังทหารจากกองทัพภาคที่ 2 นำโดยพลตรี อาทิตย์ กำลังเอกได้เป็นกองกำลังหลักในการปราบกบฏลงได้ในที่สุด หลังจากนั้น อดีตผู้บัญชาการกองทัพภาคที่ 2 หลายท่านได้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในเวลาต่อมา

มีอดีตนายกรัฐมนตรีสามท่านที่มีถิ่นฐาน เติบโตในตำแหน่งหน้าที่การงานจากนครราชสีมา คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์

เนื่องจากความสำคัญทางยุทธศาสตร์ นครราชสีมา ได้กลายเป็นเมืองศูนย์ราชการที่สำคัญที่สุดรองจากกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การเงิน การศึกษา การสาธารณสุข การวิจัย การคมนาคม และ การอุตสาหกรรม ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รวมทั้งเป็นที่ตั้งของกองฐานกำลังรบหลักของกองทัพบก และ กองทัพอากาศ ในปัจจุบัน เปรียบได้ว่าเป็นเมืองหลวงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บริเวณรอบเมืองเป็นที่ราบ ทุ่งนา สวนผัก-ผลไม้ และ ที่เกษตรกรรม ปัจจุบันจากการขยายตัวของเมืองทำให้ค่อยๆ เปลี่ยนสภาพเป็นแหล่งการค้า อุตสาหกรรม และ ที่อยู่อาศัย ในบริเวณด้านใต้ของเมืองเป็นเขตทหาร คือ ค่ายสุรนารี ของกองทัพบก และ กองบิน 1 ของกองทัพอากาศ

โดยตำแหน่งที่ตั้งทำให้เมืองเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบกทั้งทางถนนและทางราง ของภาคอีสาน โดยมีทางหลวงสายหลัก คือ ถนนมิตรภาพผ่าน และ เป็นชุมทางรถไฟของเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือทั้งสองสายคือ สายนครราชสีมา-อุบลราชธานี และ สายนครราชสีมา-ท่านาแล้ง(ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)


กลุ่มประชากร

ปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมามีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมากเป็นอันดับสองของประเทศรองจากกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยประชากรหลากหลายเชื้อชาติหรือหลายชาติพันธุ์

แต่กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครราชสีมาที่มีจำนวนมากมีอยู่สองกลุ่มใหญ่คือ ไทย (หรือเรียกอีกอย่างว่า ไทยโคราช) และอีกกลุ่มคือ ลาว (หรือไทยอีสาน) และมีชนกลุ่มน้อยอีกได้แก่ มอญ กุย (หรือส่วย) ชาวบน จีน ไทยวน ญวน และแขก

ไทย

ชาวไทยสยามเก็บน้ำตาลกลุ่มชาติพันธุ์ไทยที่อยู่ในนครราชสีมาเรียกอีกอย่างว่า ไทยโคราช เป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา คนกลุ่มนี้ใช้ภาษาเหมือนไทยในส่วนกลาง เพียงแต่เสียงวรรณยุกต์เพี้ยนไปบ้าง และมีคำศัพท์สำนวนบางอย่างที่มีลักษณะเป็นของตนเอง

เดิมถิ่นนี้ชาวพื้นเมืองเป็นละว้า ชาวไทยได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองให้ขุนหลวงพะงั่วยกกองทัพมารวบรวมดินแดนแถบนี้เข้ากับกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองโปรดฯ ให้กองทหารอยุธยาตั้งด่านอยู่ประจำ

และส่งช่างชาวอยุธยามาก่อสร้างบ้านเรือนและวัดวาอารามเป็นอันมาก ชาวไทยอยุธยาได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้อพยพมาอยู่นครราชสีมาอีกระลอกหนึ่งคือ คราวเสียกรุงครั้งที่ 2

โดยมีชาวไทยชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกได้อพยพเข้ามาเพิ่มด้วย ชาวไทยกลุ่มนี้และชาวไทยพื้นเมืองเดิม (เข้าใจว่าเป็นชาวสยามลุ่มน้ำมูล (ไท-เสียม) อาจมีเขมรและมอญปนอยู่ด้วย) สืบเชื้อสายเป็นชาวไทยโคราชและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันมา

กลุ่มไทยโคราชเป็นกลุ่มที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองนครราชสีมา เพราะสำเนียงแตกต่างจากกลุ่มอื่น เป็นกลุ่มที่พูดภาษาไทยโคราชซึ่งคล้ายคลึงภาษาไทยกลางแต่สำเนียงเพี้ยน เหน่อ ห้วนสั่น เกิ่นเสียง มีคำไทยลาว (อีสาน) ปะปนบ้างเล็กน้อย

ชาวไทยโคราชแต่งกายแบบไทยภาคกลาง รับประทานข้าวเจ้า อาหารทั่วไปคล้ายคลึงภาคกลาง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมคล้ายไทยภาคกลาง ปัจจุบัน กลุ่มไทยโคราชอาศัยอยู่ในทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ยกเว้นบางอำเภอที่มีชาวไทยลาวมากกว่า (อำเภอบัวใหญ่ ปักธงชัย และสูงเนิน)

และยังพบชาวไทยโคราชในบางส่วนของจังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอบำเหน็จณรงค์และจัตุรัส) และจังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง และละหานทราย)

ลาว
ลาว (ลาวเวียง ไทยลาว หรือไทยอีสาน) เป็นกลุ่มหนึ่งที่มีจำนวนประชากรมากรองจากกลุ่มไทยโคราช แต่อพยพเข้ามาทีหลัง อาศัยอยู่มากในบางอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา เช่น อำเภอบัวใหญ่ ปักธงชัย สูงเนิน และบางส่วนของอำเภอประทาย ห้วยแถลง ชุมพวง และสีคิ้ว เป็นต้น

ไทยอีสานพูดภาษาอีสาน และมีขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนชาวอีสานทั่วไป กลุ่มไทยอีสานอพยพเข้ามาอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาหลายรุ่น ส่วนใหญ่อพยพเข้ามาอยู่สมัยสงครามปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ สมัยธนบุรี มีการกวาดต้อนครอบครัวลาวเข้ามาอยู่ในหัวเมืองชั้นใน และอพยพเข้ามาโดยสมัครใจเพิ่มขึ้นในระยะหลัง

มอญ
จากการสำรวจสำมะโนประชากรของจังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2446 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พบว่า มีชาวมอญอยู่จำนวน 2,249 คน จากจำนวนประชากรของนครราชสีมา 402,668 คน

ชาวมอญอพยพเข้ามาอยู่บริเวณเมืองนครราชสีมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2318 ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชทานครัวมอญที่อพยพเข้ามาสวามิภักดิ์ มีพระมหาโยธา (เจ่ง) เป็นหัวหน้า แบ่งให้พระยานครราชสีมานำขึ้นมาอยู่ที่เมืองนครราชสีมา

ตั้งครัวมอญที่ลำพระเพลิง เขตอำเภอปักธงชัยที่บ้านพลับพลา อำเภอโชคชัย พระยาศรีราชรามัญผู้เป็นหัวหน้าพาญาติพี่น้องมาอยู่ในเมืองเป็นสายกองส่วยทอง ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าบ้านมอญ

เมื่อเกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2336 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย) คุมกองมอญมาสมทบมาร่วมรบกับกำลังฝ่ายไทย เมื่อเสร็จศึกแล้วพวกมอญเห็นเมืองปักธงชัยอุดมสมบูรณ์จึงมาตั้งถิ่นฐาน

ปัจจุบันชาวมอญในนครราชสีมายังรักษาวัฒนธรรมประเพณีมอญไว้ เช่น ภาษา การไหว้ผี การเล่นสะบ้าในเขตบ้านท่าโพธิ บ้านสำราญเพลิง ตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำเครื่องปั้นดินเผา ภาษามอญจะใช้พูดในชาวไทยมอญที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป คนรุ่นหลังจากนี้จะพูดภาษาไทยโคราชทั้งสิ้น

ข่าหรือละว้าหรือส่วย
เป็นชนพื้นเมืองของหัวเมืองเขมรป่าดงและเมืองนครราชสีมา พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร ได้อยู่ในพื้นที่นี้ก่อนที่คนไทยจะเข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน

เมื่อปี พ.ศ. 2362 เจ้าเมืองนครราชสีมา (ทองอินทร์) ตีข่าได้ แล้วนำมายังเมืองนครราชสีมา ภาษาส่วย เป็นภาษาของชาวส่วยที่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ มาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ ตำบลห้วยแถลง อำเภอห้วยแถลง ปัจจุบันมีเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ที่ยังคงใช้ภาษาส่วยในกลุ่มของตนเอง นอกจากนั้นจะใช้ภาษาไทยโคราชเป็นพื้น

ชาวบนญัฮกุร หรือเนียะกุล และภาษาชาวบน
เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามไหล่เขาหรือเนินเขาเตี้ย ๆ บริเวณด้านในของที่ราบสูงโคราช ชาวบนอาจสืบเชื้อสายมาจากคนในสมัยทวารวดี อยู่ในบางหมู่บ้านของอำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี และอำเภอหนองบุนนาก ภาษาชาวบน เป็นภาษาตระกูลมอญ-เขมร ปัจจุบันชาวบนพูดภาษาชาวบนเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป นอกจากนั้นใช้ภาษาไทยโคราช

ไทยยวน หรือไทยโยนก และภาษาไทยยวน
เป็นเผ่าไทยในภาคเหนือของไทย ได้อพยพเข้ามาอยู่ที่อำเภอสีคิ้วสองทางด้วยกันคือ พวกแรกอพยพจากทางเหนือมาอยู่ที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

ต่อมาเจ้าเมืองสระบุรีต้องการตั้งกองเลี้ยงโคนมที่เมืองนครจันทึก จึงได้แบ่งครอบครัวชาวไทยยวนจากอำเภอเสาไห้ไปอยู่ที่อำเภอสีคิ้ว

อีกพวกหนึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์ ชาวไทยยวนยังรักษาประเพณีและวัฒนธรรมแบบโยนกไว้ได้ดีมาก ภาษาไทยยวน ใช้พูดในหมู่ไทยยวนด้วยกันเองซึ่งมีอยู่ประมาณ 5,000 คน ในเขตอำเภอสีคิ้ว ในท้องที่ตำบลลาดบัวขาว ตำบลสีคิ้ว และตำบลบ้านหัน

นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม ชาวจีน ชาวเวียดนาม และชาวแขก

บุคคลในประวัติศาสตร์
พระยายมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมาคนแรก ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เจ้าพระยานครราชสีมา (บรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองนครราชสีมา ในฐานะหัวเมืองชั้นเอก เริ่มเมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 ต้นตระกูล "ณ ราชสีมา")
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข
ท้าวสุรนารี วีรสตรีไทย ช่วยกอบกู้อิสรภาพให้เมืองนครราชสีมา
เจ้าพระยามหิศราธิบดี (ทองคำ) ที่ปรึกษาราชการเมืองนครราชสีมา
นางสาวบุญเหลือ ผู้ร่วมกอบกู้เมืองนครราชสีมาร่วมกับท้าวสุรนารี จากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์
พระเทวาภินิมมิต ( ฉาย เทียมศิลป์ชัย - ศิลปินเอกในสมัย รัชกาลที่ 5 ถึง รัชกาลที่ 7 )
เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่5)

พระสงฆ์
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ

นายกรัฐมนตรี
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 16
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีคนที่ 17
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 24

บุคคลสำคัญ
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี
พลโทหญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
นาย เทวัญ ลิปตพัลลภ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายวิรัช รัตนเศรษฐ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวีอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงพาณิชย์
นายอัสนี เชิดชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
นาย ประทีป กรีฑาเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา
นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา
ร.ต.อ.คมกริช อินทรักษา นายกเทศมนตรีตำบลปรุใหญ่
นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

นักมวยไทย/นักมวยสากลอาชีพ
หมื่นชงัดเชิงชก นักมวยไทยคาดเชือก
ทับ จำเกาะ นักมวยไทยคาดเชือก
บัว วัดอิ่ม นักมวยไทยคาดเชือก
วิหค เทียมกำแหง
สุข ปราสาทหินพิมาย ตำนานนักมวยไทยอาชีพ
สามารถ ศรแดง ยอดมวยไทยในอดีต
เนตรน้อย ศ.วรสิงห์ นักมวยสากลอาชีพ แชมป์โลกคนที่ 6 ของไทย
พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์ นักมวยสากลอาชีพ ผู้ถูกจารึกชื่อใน WBC Hall of fame
รัตนพล ส.วรพิน นักมวยสากลอาชีพ แชมป์โลก IBF
รัตนชัย ส.วรพิน นักมวยสากลอาชีพ แชมป์โลก WBO
วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น นักมวยสากลอาชีพ แชมป์โลก WBC และ WBA
ฉัตรชัย สาสกุล นักมวยสากล ทีมชาติโอลิมปิก และ แชมป์โลก WBC
นภา เกียรติวันชัย นักมวยสากลอาชีพ แชมป์โลก WBC
สกัด พรทวี นักมวยสากลอาชีพ
ไก่ชน ส.วรพิน

นักกีฬา
อุดมพร พลศักดิ์ นักกีฬาหญิงคนแรกของประเทศไทย ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก 2004
สุริยา ปราสาทหินพิมาย นักมวยสากล เหรียญทองแดงโอลิมปิก 2004
สมจิตร จงจอหอ นักมวยสากล เหรียญทองโอลิมปิก 2008
พัชรี แสนเมือง อดีตกัปตันทีมวอลเลย์บอลหญิง ทีมชาติไทย
ปิยมาศ ค่อยจะโป๊ะ อดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง ทีมชาติไทย
อานนท์ สังข์สระน้อย นักฟุตบอลทีมชาติไทย ซีเกมส์ 2007
หนึ่งนัดดา วรรณสุข นักกีฬาเทนนิส
เรวดี วัฒนสิน ( นามสกุลเดิม : ศรีท้าว ) อดีตนักกรีฑาทีมชาติไทย
เกียรติพงษ์ รัชตเกรียงไกร อดีตนักวอลเลย์บอลทีมชาติไทย ปัจจุบันเป็นโค้ชวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
กัมปนาท อั้งสูงเนิน อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
วิลาวัลย์ อภิญญาพงศ์ กัปตันทีมวอลเลย์บอลหญิง ทีมชาติไทย

นักวิชาการ
สิทธิชัย โภไคยอุดม ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหานคร
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ
นพดล ปัทมะ
ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ
วิสา คัญทัพ
กำจัด มงคลกุล (อดีต นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย)

ผู้กำกับการแสดง
ปรัชญา ปิ่นแก้ว ผู้กำกับ "องค์บาก" และ "ต้มยำกุ้ง"
ทรนง ศรีเชื้อ

ผู้ประกาศข่าว
วิเชียร ก่อกิจกุศล ผู้ประกาศข่าว "ช่อง 7 สี" (ศูนย์ข่าว 7 สี นครราชสีมา)
ศุภกิจ กลางการ ผู้ประกาศข่าว "ช่อง 7 สี " (ศูนย์ข่าว 7 สี นครราชสีมา)

นักเขียน
สยุมภู ทศพล (ประจิม วงศ์สุวรรณ)
คำสิงห์ ศรีนอก (ลาว คำหอม)
ชัยวัฒน์ คุประตกุล (ชัยคุปต์)

นักแสดง / นางงาม
นันทวัน เมฆใหญ่
ปิยะมาศ โมนยะกุล (ปุ๊)
ธงชัย ประสงค์สันติ (ธง)
เพ็ญพิสุทธิ์ เลิศรัตนชัย (ส้มโอ)
เวนย์ ฟอคคอร์เนอร์
วรัทยา นิลคูหา (จุ๋ย)
วงศกร ปรมัตถากร (นิว)
กฤษณกันท์ มณีผกาพันธ์ (เต็งหนึ่ง)
พิมพ์อักษิพร วินโกมินทร์ (เมจิ)
เจเน็ท เขียว ( ชื่อจริง : นงนุช สมบูรณ์ )
ธงธง มกจ๊ก ( ชื่อจริง : คัชฑาเทพ เอี่ยมศิริ )
ดวงเดือน จิไธสงค์ (รองอันดับ 1 มิสไทยแลนด์เวิลด์ พ.ศ. 2529, รองอันดับ 1 นางสาวไทย พ.ศ. 2530)
จริญญา หาญณรงค์ (รองอันดับ 3 นางสาวไทย พ.ศ. 2532)
ยลรตี โคมกลอง ( ส้มโอ ) ( ชื่อ - นามสกุล เดิม : ประณต นฤมิตสุวิมล )
ปิยะภรณ์ ดีจริง (เดียร์) (รองอันดับ 1 มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส พ.ศ. 2551, Top 16 Miss Earth 2008)
พรรณนภา ปราบภัย (น้ำตาล) (รองอันดับ 2 นางสาวไทย พ.ศ. 2549, Miss Model of Asia 2009)

นักร้อง/นักดนตรี

เพลงไทยสากล
ศิริศักดิ์ นันทเสน ( ติ๊ก ชิโร่ ) ( ชื่อใหม่ : มนัสวิน )
เสกสรร สุขพิมาย ( เสก โลโซ )
แช่ม แช่มรัมย์ ( ชื่อ - นามสกุลจริง : วิวัฒน์ แช่มรัมย์ )
สุรัตน์ติกานต์ พรรคเจริญ (เอิร์น เดอะสตาร์ 2)
ณัฏฐพัชร วิพัธครตระกูล (ปุยฝ้าย AF 4)
กฤษณกัณท์ มณีผกาพันธ์ ( เต็งหนึ่ง วง บี.โอ.วาย ; Blood-of-youth)
รวิวรรณ จินดา (อุ้ย)
อรวรรณ เย็นพูนสุข (ปุ้ม)
นิตยา บุญสูงเนิน
เทวัญ ทรัพย์แสนยากร นักดนตรีแจ๊ส

เพลงลูกกรุง, ลูกทุ่ง และ เพื่อชีวิต
สุเทพ วงศ์กำแหง
แสนรัก เมืองโคราช( ชื่อจริง : วิษณุ ศรีลอง )
ศรชัย เมฆวิเชียร
กำปั่น บ้านแท่น
สัญญา พรนารายณ์
คำมอด พรขุนเดช
พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
สุนารี ราชสีมา ( ชื่อเดิม : ทิม สอนนา )
จักรพรรณ์ อาบครบุรี ( ก็อต ) ( นามสกุลใหม่ : ครบุรีธีรโชติ )
พรพรรณ วนา
สมมาส ราชสีมา ( ชื่อจริง : บำรุง บุญสูงเนิน )
ตั๊กแตน ชลดา ( ชื่อจริง : ชลดา ทองจุลกลาง )
แอร์ สุชาวดี ( ชื่อจริง : ศิริพร พลรนา )
เอิร์น เดอะสตาร์ ( ชื่อจริง : สุรัตน์ติกานต์ พรรคเจริญ )
พรประเชิญ บุญสูงเนิน (เจิน เจิน)
พาเมล่า เบาว์เด้นท์ ( ลูกน้ำ ) ( ชื่อ - นามสกุลไทย : ศศิกาญจน์ชญา เจริญในเมือง )
มนต์ชัย รักษาชาติ (ไหมไทย ใจตะวัน, ไหมไทย อุไรพร)
โจ สูงเนิน
ดาวเรือง เมืองย่าโม

สถานที่ท่องเที่ยว

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
น้ำตกเหวสุวัติ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ปราสาทหินพิมาย

ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒธรรม
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
อนุสรณ์สถานนางสาวบุญเหลือ
ประตูชุมพล
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อ.พิมาย
อนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ อ.พิมาย
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย
ปราสาทหินพนมวัน
เมืองโบราณที่ตำบลโคราช และเมืองเสมา อ.สูงเนิน
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อ.โนนสูง
ปรางค์กู่ อ.บัวใหญ่
ปรางค์สีดา อ.สีดา
ปราสาทพะโค อ.โชคชัย
ปราสาทนางรำ อ.ประทาย
วัดศาลาลอย
วัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลาง)
วัดโนนกุ่ม (วัดหลวงพ่อโต) อ.สีคิ้ว
วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด
วัดป่าสาลวัน
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
ศาลเจ้าพ่อช้างเผือก
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สมเด็จมหาวีรวงศ์
หมู่บ้านด่านเกวียน อ.โชคชัย
แหล่งทอผ้าไหมปักธงชัย
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพักผ่อน
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (มรดกโลก World Heritage) อ.ปากช่อง
อุทยานแห่งชาติทับลาน (มรดกโลก World Heritage) อ.วังน้ำเขียว
อุทยานไม้กลายเป็นหิน 8 แสนปี
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อ.วังน้ำเขียว
สวนสัตว์นครราชสีมา
เขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว
เขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย
หาดชมตะวัน อ.เสิงสาง
หาดจอมทอง อ.ครบุรี
ไทรงาม อ.พิมาย
ฟาร์มโชคชัย อ.ปากช่อง
ไร่องุ่นปากช่อง อ.ปากช่อง
ไร่องุ่นสุพัตรา อ.ปากช่อง
สวนองุ่นบ้านไร่แม่กระต่ายน้อย อ.ปากช่อง
สวนกุหลาบรักมิตร อ.ปากช่อง
ตลาดผลไม้กลางดง อ.ปากช่อง
สวนมะนาวด่านเกวียน อ.โชคชัย
สวนดอกไม้เมืองพร อ.สีคิ้ว
สวนน้าชาติ สถานีพักริมทางลำตะคอง ศูนย์สารสนเทศลิปตพัลลภ อ.ปากช่อง
จิม ทอมป์สันฟาร์ม อ.ปักธงชัย
สวนไม้ดอกไม้ประดับ ซุ้มไม้งาม อ.วังน้ำเขียว
สวนผลไม้ปลอดสารพิษบ้านศาลเจ้าพ่อ อ.วังน้ำเขียว
โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ เขาแผงม้า อ.วังน้ำเขียว
น้ำตกปักธงชัย
น้ำตกมวกเหล็ก อ.ปากช่อง
น้ำตกวะภูแก้ว อ.สูงเนิน
แหล่งหินตัดสีคิ้ว อ.สีคิ้ว
โรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ อ.สีคิ้ว
ศูนย์วิจัยข้าวโพด และข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ) อ.ปากช่อง
สวนน้ำบุ่งตาหลัว เฉลิมพระเกียรติ ร.9

ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


Create Date : 27 สิงหาคม 2552
Last Update : 18 ตุลาคม 2552 14:49:21 น. 0 comments
Counter : 1247 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.