"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
27 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
การสังคายนาในพระพุทธศาสนา ครั้งที่ 3

คุรุวารสิริสวัสดิ์-มานมนัสรมณีย์ที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ ค่ะ


การสังคายนาครั้งที่ 3


การแพร่กระจายของพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อกำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา มีพระโมคคัลลีบุรติสสะเป็นประธาน ใช้เวลา 9 เดือนจึงสำเร็จในการสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคัลลีบุรติสสะ ได้แต่งกถาวัตถุขึ้น เพื่ออธิบายธรรมให้แจ่มแจ้ง[10]

หลังจากการสังคายนาสิ้นสุดลง พระเจ้าอโศกฯได้ส่งสมณทูต 9 สายออกเผยแผ่พุทธศาสนา คือ

1.คณะพระมัชฌันติกเถระ ไปแคว้นแคชเมียร์และแคว้นคันธาระ
2.คณะพระมหาเทวะ ไป มหิสกมณฑล ซึ่งคือ แคว้นไมซอร์และดินแดนลุ่มแม่น้ำโคธาวารี ในอินเดียใต้ปัจจุบัน
3.คณะพระรักขิตะ ไปวนวาสีประเทศ ได้แก่ แคว้นบอมเบย์ในปัจจุบัน
4.คณะพระธรรมรักขิต ไป อปรันตกชนบท แถบทะเลอาหรับทางเหนือของบอมเบย์
5.คณะพระมหาธรรมรักขิต ไปแคว้นมหาราษฎร์
6.คณะพระมหารักขิต ไปโยนกประเทศ ได้แก่แคว้นกรีกในเอเชียกลาง อิหร่าน และเตอร์กิสถาน
7.คณะพระมัชฌิมเถระ ไปแถบเทือกเขาหิมาลัย คือ เนปาลปัจจุบัน
8.คณะพระโสณะ และพระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไทย พม่า มอญ
9.คณะพระมหินทระ ไปลังกา

กำเนิดมหายาน


พระพุทธศาสนามหายานเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 6-7 โดยเป็นคณะสงฆ์ที่มีความเห็นต่างจากนิกายเดิมที่มีอยู่ 18 - 20 นิกายในขณะนั้น แนวคิดของมหายานพัฒนามาจากแนวคิดของนิกายมหาสังฆิกะและนิกายที่แยกไปจากนิกายนี้

จุดต่างจากนิกายดั้งเดิมคือคณะสงฆ์กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการเป็นพระโพธิสัตว์และเน้นบทบาทของคฤหัสถ์มากกว่าเดิม[11] จึงแยกออกมาตั้งนิกายใหม่ เหตุที่มีการพัฒนาลัทธิมหายานขึ้นนั้นเนื่องจาก

1.แรงผลักดันจากการปรับปรุงศาสนาพราหมณ์ มีการแต่งมหากาพย์รามายณะและมหาภารตะเพื่อดึงดูดใจผู้อ่านให้ภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า กำหนดให้มีพระเจ้าสูงสุด 3 องค์ คือพระพรหม พระนารายณ์ พระอิศวร ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ ศาสนาพราหมณ์จึงฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ฝ่ายพุทธศาสนาจึงจำเป็นต้องปรับตัว

2.แรงบันดาลใจจากบุคลิกภาพของพระพุทธองค์ ฝ่ายมหายานเห็นว่าพระพุทธองค์เป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ ไม่ควรสิ้นสุดหลังจากปรินิพพาน ทำให้เหมือนกับว่าชาวพุทธขาดที่พึ่ง จึงเน้นคุณความดีของพระองค์ ในฐานะที่เป็นพระโพธิสัตว์ เน้นให้ชาวพุทธปรารถนาพุทธภูมิ บำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ช่วยเหลือผู้อื่น ภายหลังจึงเกิดแนวคิดตรีกายของพระพุทธเจ้า

3.เกิดจากบทบาทของพุทธบริษัทที่เป็นคฤหัสถ์ เพราะลัทธิมหายานเน้นที่การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ ซึ่งพระโพธิสัตว์เป็นคฤหัสถ์ได้ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้คฤหัสถ์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น

คณาจารย์ที่สำคัญของนิกายมหายานคือ พระอัศวโฆษ พระนาคารชุน พระอสังคะ พระวสุพันธุ เป็นต้น หลังจากการก่อตัว พุทธศาสนามหายานซึ่งมีจุดเด่นคือสามารถปรับตัวให้เข้ากับความเชื่อดั้งเดิมที่แตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่นได้ง่ายกว่าพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมได้แพร่กระจายออกจากอินเดียไปในทวีปเอเชียหลายประเทศ[12]


การแพร่กระจายของมหายาน

การแพร่กระจายของมหายานระหว่างพุทธศตวรรษที่ 6 -15

อินเดียและความเสื่อมของพุทธศาสนา

พุทธศาสนามหายานในอินเดียได้รับการสนับสนุนโดยราชวงศ์กุษาณ เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์กุษาณ พุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์โดยราชวงศ์คุปตะ มีการสร้างศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนา คือ มหาวิทยาลัยนาลันทาและมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา

ในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เช่น พระนาคารชุน พุทธศาสนาในสมัยนี้ได้แพร่หลายไปยังจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนกระทั่ง การสิ้นสุดอำนาจของราชวงศ์คุปตะจากการรุกรานของชาวฮั่นในพุทธศตวรรษที่ 11[13]

บันทึกของหลวงจีนอี้จิงที่มาถึงอินเดียในพุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวว่า พุทธศาสนารุ่งเรืองในอันธระ ธันยกตกะ และ ฑราวิฑ ปัจจุบัน คือรัฐอันธรประเทศและทมิฬนาดู[14]

ยังมีชาวพุทธในเนปาล และสสันภะ ในอาณาจักรคังทา (รัฐเบงกอลตะวันตกในปัจจุบัน) และ หรรษวรรธนะ เมื่อสิ้นสุดยุคอาณาจักรหรรษวรรธนะ เกิดอาณาจักรเล็กๆขึ้นมากมาย โดยมีแคว้นราชปุตให้การอุปถัมภ์พุทธศาสนา

จนกระทั่ง ยุคจักรวรรดิปาละในเบงกอล พุทธศาสนามหายานรุ่งเรืองอีกครั้ง และได้แพร่หลายไปยังสิกขิมและภูฏาน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-17 เมื่อจักรวรรดิปาละปกรองด้วยกษัตริย์ราชวงศ์เสนะที่นับถือศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธจึงเสื่อมลง

ศาสนาพุทธในอินเดียเริ่มเสื่อมลงอย่างช้า ๆ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ความเสื่อมในอินเดียตะวันออกเริ่มตั้งแต่จักรวรรดิปาละหันไปส่งเสริมศาสนาฮินดูไวษณพนิกาย

ส่วนในอินเดียเหนือเริ่มเสื่อมตั้งแต่ พ.ศ. 1736 เมื่อชาวเติร์กที่นับถือศาสนาอิสลาม นำโดยมูฮัมหมัด คิลญี บุกอินเดียและเผามหาวิทยาลัยนาลันทา ตั้งแต่ พ.ศ. 1742 เป็นต้นไป ศาสนาอิสลามแพร่เข้าสู่พิหาร ทำให้ชาวพุทธโยกย้ายไปทางเหนือเข้าสู่เทือกเขาหิมาลัยหรือลงใต้ไปที่ศรีลังกา

นอกจากนั้น ความเสื่อมของศาสนาพุทธยังเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของศาสนาฮินดู ภายใต้การนำของขบวนการต่าง ๆ เช่น อัธไวตะ ภักติ และการเผยแพร่ศาสนาของนักบวชลัทธิซูฟี[15]


พุทธศาสนาในเอเชียกลาง

ดินแดนเอเชียกลางได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีกล่าวในเอกสารของฝ่ายเถรวาทว่าพ่อค้าสองคนจากแบกเทรีย คือ ตปุสสะและภัลลิกะ ได้พบพระพุทธเจ้าและปฏิญาณตนเป็นอุบาสก เมื่อกลับไปบ้านเมืองของตนได้สร้างวัดในพุทธศาสนาขึ้น[16]

เอเชียกลางเป็นดินแดนสำคัญในการติดต่อระหว่างจีน อินเดีย และเปอร์เซีย การุกรานของชาวฮั่นโบราณใน พ.ศ. 343 ไปทางตะวันตกเข้าสู่ดินแดนที่ได้รับอารยธรรมจากกรีกโดยเฉพาะอาณาจักรแบกเทรียทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมขึ้น[17]

การขยายตัวของพุทธศาสนาขึ้นสู่ทางเหนือทำให้เกิดอาณาจักรพุทธในเอเชียกลาง เมืองบนเส้นทางสายไหมหลายเมืองเป็นเมืองพุทธที่ต้อนรับนักเดินทางทั้งจากตะวันตกและตะวันออก

พุทธศาสนาเถรวาทแพร่หลายเข้าสู่ดินแดนของชาวเติร์กก่อนที่จะผสมผสานกับนิกายมหายานที่แพร่หลายเข้ามาภายหลัง ดินแดนดังกล่าว คือ บริเวณที่เป็นประเทศปากีสถาน รัฐแคชเมียร์ อัฟกานิสถาน อิหร่านตะวันออกและแนวชายฝั่ง อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และทาจิกิสถาน

อาณาจักรโบราณในสมัยนั้น คือ แคว้นคันธาระ แบกเทรีย พาร์เทีย และซอกเดีย ศาสนาพุทธในบริเวณนี้ได้แพร่ต่อไปยังจีน อิทธิพลของความเชื่อท้องถิ่นทำให้ศาสนาพุทธในบริเวณนี้แตกเป็นหลายนิกาย นิกายที่โดดเด่น คือ นิกายธรรมคุปตวาทและนิกายสรวาสติวาทิน[18]

ศาสนาพุทธในเอเชียกลางเสื่อมลงเมื่อศาสนาอิสลามแพร่หลายเข้ามาในบริเวณนี้ มีการทำลายสถูปจำนวนมากในสงครามในพุทธศตวรรษที่ 12 ศาสนาพุทธมีท่าทีว่าจะฟื้นตัวขึ้นอีกเมื่อเจงกีสข่านรุกรานเข้ามาในบริเวณนี้

มีการจัดตั้งดินแดนของอิลข่านและชะกะไตข่าน เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 แต่อีก 100 ปีต่อมา ชาวมองโกลส่วนใหญ่หันไปนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้ศาสนาอิสลามแพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง


พุทธศาสนาในพาร์เทีย

ศาสนาพุทธแพร่ไปทางตะวันตกถึงพาร์เทียอย่างน้อยถึงบริเวณเมิร์บในมาร์เกียนาโบราณ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเติร์กเมนิสถาน ชาวพาร์เทียจำนวนมากมีบทบาทในการแพร่กระจายของพุทธศาสนาโดยนักแปลคัมภีร์ชาวพาร์เทียจำนวนมากแปลคัมภีร์พุทธศาสนาเป็นภาษาจีน


พุทธศาสนาในที่ราบตาริม

บริเวณตะวันออกของเอเชียกลาง (เตอร์เกสถานของจีน ที่ราบตาริม และเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์) พบศิลปะทางพุทธศาสนาจำนวนมาก ซึ่งแสดงอิทธิพลของอินเดียและกรีก ศิลปะเป็นแบบคันธาระ และจารึกเขียนด้วยอักษรขโรษฐี[19]

ดินแดนเอเชียกลาง เป็นตัวเชื่อมสำคัญในการเผยแพร่ศาสนาพุทธไปทางตะวันออก ผู้แปลคัมภีร์เป็นภาษาจีนรุ่นแรกๆ เป็นชาวพาร์เทีย ชาวกุษาณ หรือชาวซอกเดีย การติดต่อแลกเปลี่ยนพุทธศาสนาระหว่างเอเชียกลางกับเอเชียตะวันออกพบมากในพุทธศตวรรษที่ 15 ทำให้ศาสนาพุทธเข้าไปตั้งมั่นในจีนจนปัจจุบัน


พุทธศาสนาในจีน

คาดว่าพุทธศาสนาเข้าสู่จีนเมื่อพุทธศตวรรษที่ 6 โดยผ่านเอเชียกลาง (แม้จะมีเรื่องเล่าว่ามีพระภิกษุเข้าไปถึงประเทศจีนตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช) จนในพุทธศตวรรษที่ 13 จีนจึงกลายเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของพุทธศาสนา

ใน พ.ศ. 610 มีการก่อตั้งศูนย์กลางการเผยแพร่พุทธศาสนาในจีนโดยพระภิกษุสององค์ คือพระกาศยปะมาตังคะ และ และพระธรรมรักษ์[20] ใน พ.ศ. 611 พระเจ้าหมิงตี้แห่งราชวงศ์ตงฮั่นได้สร้างวัดม้าขาวซึ่งยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน อยู่ใกล้กับเมืองหลวง คือ เมืองลั่วหยาง

คัมภีร์ทางพุทธศาสนามหายานแปลเป็นภาษาจีนครั้งแรกโดยพระภิกษุจากกุษาณ โลก๊กเสมา ในเมืองลั่วหยาง ระหว่าง พ.ศ. 721- 732[21]ศิลปะทางพุทธศาสนายุคแรก ๆ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบคันธาระ

พุทธศาสนาในจีนรุ่งเรืองมากในยุคราชวงศ์ถัง[22] ราชวงศ์นี้ได้เปิดกว้างต่อการรับอิทธิพลจากต่างชาติ และมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับอินเดีย มีพระภิกษุจีนเดินทางไปอินเดียมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-16

เมืองหลวงในสมัยราชวงศ์ถัง คือ ฉางอาน กลายเป็นศูนย์กลางสำคัญของพุทธศาสนาและเป็นแหล่งเผยแพร่ศาสนาต่อไปยังเกาหลีและญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม อิทธิพลจากต่างชาติกลายเป็นผลลบในตอนปลายของราชวงศ์ถัง ใน พ.ศ. 1388 จักรพรรดิหวู่ซุง ประกาศให้ศาสนาจากต่างชาติ ได้แก่ ศาสนาคริสต์ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ และศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่ผิดกฎหมาย หันไปสับสนุนลัทธิเต๋าแทน

ในสมัยของพระองค์มีการทำลายวัด คัมภีร์และบังคับให้พระภิกษุสึก ความรุ่งโรจน์ของพุทธศาสนาจึงสิ้นสุดลง พุทธศาสนานิกายสุขาวดีและนิกายฌานยังคงรุ่งเรืองต่อมา และกลายเป็นนิกายเซนในญี่ปุ่น นิกายฌานในจีนมีอิทธิพลในสมัยราชวงศ์ซ้อง


พุทธศาสนาในเกาหลี

พุทธศาสนาเข้าสู่เกาหลีเมื่อราว พ.ศ. 915 เมื่อราชทูตจากจีนนำคัมภีร์และภาพวาดไปยังอาณาจักรโคกูรยอ[23] ศาสนาพุทธรุ่งเรืองในเกาหลีโดยเฉพาะนิกายเซนในพุทธศตวรรษที่ 12 จนกระทั่ง ถึงยุคของการฟื้นฟูลัทธิขงจื๊อในสมัยราชวงศ์โชซอนตั้งแต่ พ.ศ. 1935 ศาสนาพุทธจึงเสื่อมลง


พุทธศาสนาในญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นได้รับพุทธศาสนาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 11 โดยพระภิกษุชาวเกาหลีนำคัมภีร์และศิลปะทางพุทธศาสนาเข้าสู่ญี่ปุ่น เมื่อสิ้นสุดยุคของเส้นทางสายไหม พร้อมๆ กับการเสื่อมของพุทธศาสนาในอินเดีย

เอเชียกลางและจีน ญี่ปุ่นยังคงรักษาความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาไว้ได้ ตั้งแต่ พ.ศ. 1253 เป็นต้นมา มีการสร้างวัดและรูปเคารพจำนวนมากในเมืองหลวงคือเมืองนารา

พุทธศิลป์แบบญี่ปุ่นรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 – 18 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 พุทธศาสนานิกายเซนรุ่งเรือง รวมทั้งศิลปะที่สืบเนื่องจากนิกายเซนด้วย พุทธศาสนายังคงรุ่งเรืองในญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขอขอบคุณ


Create Date : 27 สิงหาคม 2552
Last Update : 27 สิงหาคม 2552 14:17:03 น. 0 comments
Counter : 8344 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.