สีชาในน้ำ
ดองบล็อกไว้ซะนาน เพราะมันมีเหตุค่ะ งานตัวเองก็ยุ่งพอแล้วยังต้องมีงานคนอื่นให้มาเพิ่มอีก 
เรื่องมันมีอยู่ว่า ... น้ำประปา เกิดมีสีขึ้นมา ถึงจะผ่านมาตรฐาน แต่ลูกค้าก็ร้องเรียน เพราะเคยใช้ที่มันใสและไม่มีสี

เราฟันธงตั้งแต่แรกแล้วว่า ต้องเป็นที่น้ำดิบ เพราะแหล่งน้ำที่ใช้ค่อนข้างแย่ มีชุมชนและโรงงานทิ้งน้ำเสียปนเปื้อนมาเพียบ

แล้วมาวันที่ 1 - 2 ท่อที่ส่งน้ำดิบที่คุณภาพดี เกิดแตกขึ้นมากระทันหัน เลยไม่มีน้ำดี ๆ (ซึ่งต่อไปนี้จะขอเรียกว่า "EW") มาเจือจางน้ำในอ่างเก็บน้ำเลย
ทางเดียวที่ทำได้ตอนนี้คือ รีบเปิดใช้น้ำ EW ให้มากที่สุดทันทีที่ซ่อมท่อเสร็จ เพื่อเจือจางความสกปรกของน้ำอีกแหล่ง ที่เข้ามาเก็บในอ่างเก็บน้ำ
แต่บอกกันลอย ๆ ใครจะเชื่อ และยอมเสียเงินซื้อน้ำดี ๆ มาให้ผลิต ต้องพิสูจน์ค่ะ

หลังจากทดลอง ตกตะกอนน้ำดิบเดียวกัน ด้วยสารส้มและ PACl ได้ค่าสีใกล้เคียงกัน = สีเหลืองในน้ำไม่ได้มาจากสารเคมีที่ใช้ในการตกตะกอน


ข้อนี้ เอาน้ำต่าง ๆ กัน มาทดลองเติมคลอรีน 2 ชนิด ในปริมาณเท่ากัน ได้ผลตรงกัน คลอรีนทั้งสองชนิด ทำให้น้ำที่จ่ายออกจากระบบเท่านั้นมีสีเหลือง = คลอรีนที่ใช้ไม่มีปัญหา = ปัญหาอยู่ที่น้ำในระบบเราเอง

ข้อนี้ เอาน้ำดิบมา ทั้ง 3 แหล่ง มาตกตะกอนด้วยเงื่อนไขเดียวกัน

ดูลักษณะภายนอก น้ำ EW ดูเหมือนจะสกปรกที่สุด แต่อย่าตัดสินอะไรจากภายนอกค่ะ

เทเฉพาะน้ำใสมา เริ่มเติมคลอรีนลงไปเท่า ๆ กัน

น้ำมีสีเหลือง สีชา เหมือนที่ร้องเรียนมา เติมเพิ่มไปอีก

สรุปได้ว่า สีเหลืองชานี้ เกิดจากสารบางอย่างในน้ำดิบในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีที่มาจากแม่น้ำ(ห้วยที่มีน้ำเสีย ปนเปื้อนลงมา) ทำปฏิกิริยา กับคลอรีนที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำ นั่นเอง
ตำรวจจับผู้ร้ายต้องมีหลักฐาน ฉันใด เราก็ต้องมีหลักฐาน ฉันนั้น

ทฤษฎี เค้าว่าไว้แบบนี้ แต่ที่เราหาเจอ มันจะตรงกันหรือป่าว ทางเดียวต้องส่งตรวจค่ะซึ่งค่าใช้จ่ายสูงเอาการอยู่ แล้วบ้านเรายังไม่มีมาตรฐานตัวนี้ค่ะ แต่ที่ต้องผลักดันให้ตรวจก็เพื่อ เป็นการเอาใจใส่ต่อผู้ใช้น้ำค่ะ ถ้าตรวจแล้วเจอ ว่าไม่เกินมาตรฐานก็จะได้เอาไว้ใช้อ้างอิง และการันตีคุณภาพน้ำได้ว่า ปลอดภัยจริง

ตรวจแล้วเจอ จะได้รีบแก้ไข และเตรียมหาน้ำดิบแหล่งใหม่ หรือวิธีกำจัดสารนี้ออกไปจากน้ำที่จะส่งให้ผู้ใช้น้ำ

สิ่งที่ได้แนะนำให้เค้าแก้ไขไปแล้ว นอกจากจะเปิดน้ำ EW มาช่วยเจือจางน้ำห้วยแล้ว ก็คือ ขอให้เปลี่ยนสารกรองเป็น Activated Carbon (A/C)
เพราะถ้าย้อนกลับไปดูรูปที่ 4 และ 5 จะพบว่า น้ำจ่ายออกจากระบบที่นำไปกรองผ่าน A/C อีกครั้ง ปรากฎว่า เมื่อเติมคลอรีนลงไปไม่เกิดสีเหลืองเช่นกัน = A/C สามารถดูดซับสารประกอบนี้ได้
แน่นอนค่ะ แต่ละข้อ เสียทรัพย์ทั้งนั้น แต่มันได้ผลนะเพราะหลังจากนั้น ค่าสีมันก็ลดลงมาจริงค่ะ

เรื่องบางเรื่อง บทเรียนบางอย่างก็ต้องซื้อมาด้วยราคาแพง เนอะ ไม่รู้จะผลักดันได้มากน้อยแค่ไหนนะ แต่จะพยายาม
- - - - - -
อันนี้เป็นงานเรา ส่วนงานเขา ที่ เขาขอให้ไปช่วยทำก็คือ จากนี้คงต้องไปลำพูน ทุกเดือนค่ะ ( อันนี้เต็มใจ เพราะจะมีโอกาสได้เจอพ่อแม่ บ่อยขึ้น)
พี่ที่เค้าทำอยู่ เค้ามีน้อง แล้วน้องกลับหัวแล้ว หมอห้ามเดินทางน่ะค่ะ งานนี้ไปเป็นคู่โปรเจ็ค ที่ปรึกษา ISO 9001-14001 กับน้องบุ๋ม เลยได้พาพ่อ แม่ กะเนสเปร ไปกินข้าวด้วยกัน มื้อนึง เพิ่งจากลับมาค่ะ
อากาศเมืองเหนือ ดี๊ดี มะอยากกลับเลย
แล้วช่วงนี้ก็คงจะดองต่อไปอีกสักระยะค่ะ เพื่อนบล็อกรักษาสุขภาพกันหน่อยนะคะ แล้วจาไปเยี่ยมจ้า
- - - - - -
Update ครั้งแรก : 26 พฤศจิกายน 2549 7:53:46 น.
- - - - - -
Create Date : 26 พฤศจิกายน 2549 |
Last Update : 29 พฤษภาคม 2550 21:46:14 น. |
|
60 comments
|
Counter : 10209 Pageviews. |
 |
|
ผ่านมาเจอค่ะ เลยอดทักทายไม่ได้ค่ะ
สวัสดีนะคะ