แนะแนวหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ (TEPE TU)
แนะแนวหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TEPE TU)

TEP-TEPE, Faculty of Engineering,

   ในบทความที่แล้วเราได้แนะนำโครงการวิศวกรรมสองสถาบัน  หรือโครงการTEP ไปแล้วเรามาแนะนำอีกโครงการเพราะเนื่องจากถ้าหากนึกถึงโครงการ TEP ก็มักจะนึกโครงการTEPEต่อท้ายอยู่เสมอเพราะว่าโครงการนี้ก็เป็นเหมือนโครงการคู่แฝดกัน จนทำให้คนหลายคนอาจจะเกิดความสับสนได้ค่ะ เนื่องจากในส่วนของการเรียนการสอนของทั้งโครงการ tep และ tepe นั้นนอกจากจะมีการสอนภาษาอังกฤษทั้งคู่แล้ว ทั้งสองโครงการเองยังมีการแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น5 เอก คือ
วิศวกรรมไฟฟ้า

,วิศวกรรมอุตสาหการ

วิศวกรรมโยธา,

วิศวกรรมเคมี,

วิศวกรรมเครื่องกล 

แต่ข้อแตกต่างกันระหว่างโครงการTEP และ TEPE  คือผู้ที่ศึกษาในโครงการTEPEนั้นจะไม่ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในต่างประเทศแบบหลักสูตรTEP โดยนักศึกษาจะต้องศึกษาตามภาควิชาที่ตนเลือกตลอดระยะเวลาสี่ปี ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต และนักศึกษาที่ศึกษาในโครงการTEPEนั้นจะได้รับปริญญาแค่เพียงใบเดียว  คือปริญญาทางวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    แต่ข้อดีของโครงการนี้ก็คือในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างจะต่ำกว่าหากเทียบกับโครงการTEP เพราะว่าไม่ต้องไปเรียนยังต่างประเทศ แต่ถึงอย่างไรก็ตามถ้าเทียบกันตามตรงแล้วสำหรับเนื้อหาวิชาพื้นฐานต่างๆนั้นสองวิชาค่อนข้างจะมีการเรียนที่เหมือนกัน แถมวิชาการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษทั้งสองโครงการ จึงไม่น่าจะเป็นการแตกต่างในเรื่องของการเรียนมากนัก

และดังที่บอกไว้ว่าการเรียนโครงการTEPE นั้นจะแบ่งการเรียนออกเป็น5ภาควิชา

อันได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าจะมีการเรียนการสอน 145หน่วยกิต
โดยเนื้อหาทางการเรียนจะเรียนในคณิตศาสตร์ประยุกต์ และการจำลอง องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องในด้านกลศาสตร์ องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับอุณหศาสตร์และกลศาสตร์ของไหล องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องทางเคมีและวัสดุ องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องทางพลังงาน องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการระบบ และองค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องทางชีววิทยา สุขภาพและสิ่งแวดล้อม  การวัดและระบบควบคุม การแปลงรูปพลังงาน ระบบไฟฟ้ากำลัง ทฤษฎีการสื่อสาร การประมวลผลสัญญาณ ระบบไฟฟ้าสื่อสารและเครือข่าย 

ภาควิชาต่อมาคือ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จะเรียนกันที่147หน่วยกิต เนื้อหาทางการเรียนจะเรียน ในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับความรู้ด้านวัสดุและกระบวนการผลิต ความรู้ด้านระบบงานและความปลอดภัย ความรู้ด้านระบบคุณภาพ ความรู้ด้านการจัดการการผลิตและดำเนินงาน รวมไปถึงกลุ่มความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน และกลุ่มความรู้ด้านการบูรณาการวิธีการทางวิศวกรรมอุตสาหการ   

ภาควิชาที่สามคือภาควิชาวิศวกรรมโยธา จะมีการเรียนการสอน 149หน่วยกิต  เนื้อหาทางการเรียนจะเรียนเรื่อง เกี่ยวกับงานด้านวิศวกรรมโยธา เช่น การออกแบบ กฎระเบียบ และการก่อสร้างสมัยใหม่ รวมถึงการลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบจราจรอันเนื่องมาจากพัฒนาที่ดิน

ภาควิชาที่สี่คือ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี โดยภาควิชานี้จะมีการเรียนการส อน 147 หน่วยกิต และมีเนื้อหาทางการเรียนเกี่ยวกับพลศาสตร์ความร้อน (เธอร์โมไดนามิกส์) ปฏิกิริยาเคมี,วิชาสิ่งแวดล้อม, ความปลอดภัยทาง ชีวเคมี,วิชากลศาสตร์ของไหล ถ่ายโอนมวล กระบวนการแยกสาร,วิชาวัสดุศาสตร์,วิชาการถ่ายเทความร้อน การเผาไหม้ รวมทั้งวิชาคณิตศาสตร์ วิชาการจัดการ การออกแบบ

และภาควิชาสุดท้ายคือ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งมีหน่วยกิต 146 หน่วยกิต เนื้อหาทางการเรียนจะเรียนในเรื่องของด้านการออกแบบเชิงกล (Mechanical Design) ,ด้านอุณหศาสตร์และของไหล (Thermal Science and Fluid Mechanics) และ ด้านระบบพลศาสตร์และการควบคุม (Dynamic systems and Control)

โดยทั้ง5ภาควิชานั้นจะ ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค  โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ  1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์  และแบ่งเป็น วิชาบรรยาย (ภาคทฤษฎี) , วิชาฝึกหรือทดลอง (ภาคปฏิบัติ) 2 หรือ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  ,การฝึกงานหรือฝึกภาคสนาม (ภาคฝึกงานอาชีพ) ใช้เวลาฝึก 3-6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษาปกติรวม 45-90 ชั่วโมง  และSpecial Project นักศึกษาใช้เวลาฝึกปฏิบัติ (ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา) 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษาปกติรวม 45 ชั่วโมง  โดยแบ่งภาคทางการเรียนการสอนออกเป็น ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน –  กันยายนหรือตุลาคม              ภาคการศึกษาที่ 2เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์หรือ มีนาคม    ภาคฤดูร้อน เดือนมีนาคม – พฤษภาคม ซึ่งจะมีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ในการเรียนชั้นปีที่ 3    

   หลักสูตรฺ TEPE TU เป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง

สำหรับหลักสูตรของ TEPE TU นั้น จะแบ่งออกเป็นย่อยๆ  5ภาควิชา ซึ่งแต่ละภาคจะมีการเรียนเหมือนกันในส่วนของวิชาศึกษาทั่วไป30หน่วยกิต 

 วิชาบังคับเลือก 1 วิชา ไม่น้อยกว่า  2  หน่วยกิต 

รวมทั้งวิชาแกน  24 หน่วยกิต

ซึ่งแบ่งออกเป็น วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 17หน่วยกิต

และ วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม7หน่วยกิต

และจะเรียนแตกต่างกันเมื่อนักศึกษาแต่ละภาควิชาเริ่มลงเรียนในวิชาเฉพาะ ซึ่งแต่ละภาควิชาแบ่งออกดังนี้

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 145หน่วยกิต

1) วิชาศึกษาทั่วไป              30 หน่วยกิต

2) วิชาเฉพาะ             108 หน่วยกิต

2.1)  วิชาแกน               24 หน่วยกิต

2.1.1.) วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 17 หน่วยกิต

2.2.2.) วิชาพื้นฐานวิศวกรรม 7 หน่วยกิต

2.2)  วิชาบังคับ 63 หน่วยกิต

2.3)  วิชาบังคับเลือก              21 หน่วยกิต

3) วิชาเลือกเสรี               6 หน่วยกิต


ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ  147หน่วยกิต

1) วิชาศึกษาทั่วไป                  30 หน่วยกิต

2) วิชาเฉพาะ                111 หน่วยกิต

2.1)  วิชาแกน                24 หน่วยกิต

2.1.1  วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์     17 หน่วยกิต

2.1.2  วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม                  7  หน่วยกิต

2.2)  วิชาบังคับ   66 หน่วยกิต

2.3)  วิชาบังคับเลือก   21 หน่วยกิต

3) วิชาเลือกเสรี   6 หน่วยกิต

ภาควิชา วิศวกรรมโยธา  149 หน่วยกิต

1. วิชาศึกษาทั่วไป    30 หน่วยกิต

2. วิชาเฉพาะ          113 หน่วยกิต

2.1 วิชาแกน            24 หน่วยกิต

      2.1.1 วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์   17 หน่วยกิต

      2.1.2 วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม                                7 หน่วยกิต

2.2 วิชาเฉพาะสาขา   89 หน่วยกิต

     2.2.1 วิชาบังคับ                                                  77 หน่วยกิต

     2.2.2 วิชาบังคับเลือก                                          12 หน่วยกิต

3. วิชาเลือกเสรี                                                         6 หน่วยกิต

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี    147 หน่วยกิต

1) วิชาศึกษาทั่วไป                    30 หน่วยกิต

2) วิชาเฉพาะ                           111 หน่วยกิต

       2.1)  วิชาแกน                           24       หน่วยกิต
 
               2.1.1) วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์   17 หน่วยกิต

              2.1.2) วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม       7 หน่วยกิต

     2.2)  วิชาบังคับ                          66      หน่วยกิต

     2.3)  วิชาบังคับเลือก                   9 หน่วยกิต

    2.4)  วิชาเลือก                           12 หน่วยกิต

3) วิชาเลือกเสรี                     6 หน่วยกิต

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล 146 หน่วยกิต

1) วิชาศึกษาทั่วไป                30 หน่วยกิต

2) วิชาเฉพาะ                       110 หน่วยกิต

     2.1)  วิชาแกน                24 หน่วยกิต

           2.1.1  วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์  17  หน่วยกิต

            2.1.2  วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม                              7  หน่วยกิต

    2.2)  วิชาบังคับ                          74 หน่วยกิต  

    2.3)  วิชาบังคับเลือก                  12 หน่วยกิต

3) วิชาเลือกเสรี                           6 หน่วยกิต

จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง

สำหรับการเรียนในโครงการTEPE ที่มีหลายเอกนั้นจะขอแบ่งออกเป็นเอกย่อยๆดังนี้สำหรับ 

วิชาชีพด้านวิศวกรรมเคมี นั้นสามารถประกอบอาชีพ อย่างเช่น วิศวกรกระบวนการผลิต (Production Engineer) วิศวกรออกแบบกระบวนการผลิต (Design Engineer) ,นักวิชาการในองค์กรราชการและเอกชน, นักวิเคราะห์โครงการ,ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและกระบวนการทางเคมี, วิศวกรความปลอดภัยกับงานสิ่งแวดล้อม, นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเคมีและเครื่องมือวิเคราะห์ต่าง ๆ , งานด้านบำบัดสิ่งแวดล้อม ทั้งในอากาศและในน้ำ, การปิโตรเลียมฯ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ฯลฯ

 ส่วนวิชาชีพด้านวิศวกรรมเครื่องกล นั้นสามารถประกอบอาชีพได้ อย่างเช่น วิศวกรเครื่องกล โดยสามารถออกแบบ ควบคุม และซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ควบคุมการผลิตและกระบวนการต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม ออกแบบและควบคุมงานระบบต่างๆ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบ การลำเลียงน้ำในอาคาร รวมทั้งการวิเคราะห์และปรับปรุงการใช้พลังงานในโรงงาน อาคาร และหน่วยงานต่างๆ ได้ , นักวิจัยในสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น พลังงาน อากาศยาน หุ่นยนต์ หรือ ครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

และวิชาชีพด้านวิศวกรรมโยธานั้นสามารถประกอบอาชีพได้ อย่างเช่น วิศวกร,นักวิชาการ, ที่ปรึกษาโครงการ,ผู้บริหารโครงการ, นักวิจัย

วิชาชีพทางด้านอุตสาหการนั้นสามารถประกอบอาชีพได้ อย่างเช่น วิศวกรในส่วนต่างๆ ภาคการผลิต, วิศวกรในส่วนต่างๆ ภาคการบริการ,ผู้วิจัย หรือผู้ช่วยวิจัย, นักวิเคราะห์และออกแบบระบบการทำงาน ,งานด้านการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ,งานทางด้านการเงิน, งานทางด้านการวางแผนการผลิต

และสุดท้ายงานทางด้านวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้านั้นสามารถประกอบอาชีพได้ อย่างเช่น ทำงานกับบริษัททางด้านระบบไฟฟ้า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์ วิทยุ ดาวเทียม  หรือทำงานใน บริษัทผู้ผลิตแผงวงจรไฟฟ้า วงจรหรือชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์  รวมไปถึงบริษัทผู้ผลิตกระแสไฟฟ้า ผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ การไฟฟ้าฯ ทั้งส่วนนครหลวงและภูมิภาค

เรียนโครงการ TEPE TU ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

โครงการนี้เป็นโครงการภาคพิเศษค่าใช้จ่ายจะแบ่งออกเป็น ค่าเทอมสำหรับการเรียนช่วงชั้นปีที่1-4 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตกประมาณเทอมละ80,000บาทต่อเทอม ตกแปดเทอมจะประมาณ640,000บาท โดยค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่นับรวมค่าใช้พวกการกินอยู่อื่นๆเช่นค่าหอพัก หรือว่าค่าใช้จ่ายปลีกย่อย อย่างอาหาร ข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ  

ถ้าอยากเข้าโครงการ TEPE TU ต้องทำอย่างไร

   1.   ต้องสำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ เน้นวิทย์ - คณิต

2 เกณฑ์การใช้เกรดเฉลี่ยรวม 5 ภาคเรียนในรายวิชา Mathematic และ Science ได้ไม่ต่ำกว่า 3.00 หรือตั้งแต่ 70% ขึ้นไป

เกณฑ์การใช้คะแนนมาตรฐานในการยื่นสมัครสอบ ซึ่งผู้ที่สมัครด้วยเกณฑ์นี้จะต้องมีผลคะแนนผ่านเกณฑ์ 3 กลุ่มคือ

1  กลุ่ม Mathematics ผู้สมัครต้องเลือกยื่นคะแนน 1 ข้อจากแบบทดสอบที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้

คะแนนสอบ PAT 1 ไม่ต่ำ 35%
คะแนนสอบ SAT II: Math (Level 1 or 2) ไม่ต่ำกว่า 600
คะแนนสอบ GCSE หรือ IGCSE ในวิชา Math ไม่ต่ำกว่า B
คะแนนสอบ GCE A Level หรือ GCE AS Level  ในวิชา Math ไม่ต่ำกว่า C
คะแนนสอบ IB Diploma: Math ไม่ต่ำกว่า 5
คะแนนสอบ GED: Math ไม่ต่ำกว่า 650
คะแนนสอบ AP: Calculus AB ไม่ต่ำกว่า เกรด 3

2  กลุ่ม Science ผู้สมัครต้องเลือกยื่นคะแนน 1 ข้อ จากแบบทดสอบที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้

คะแนนสอบ PAT 2 ไม่ต่ำกว่า 35%
คะแนนสอบ SAT II: Physic หรือ Chemistry ไม่ต่ำกว่า 600
คะแนนสอบ GCSE หรือ IGCSE ในวิชา Physic, Chemistry หรือ Coordinated Science ไม่ต่ำกว่า B
คะแนนสอบ GCE A Level หรือ GCE AS Level ในวิชา Physics หรือ Chemistry ไม่ต่ำกว่า B
คะแนนสอบ IB Diploma: Physic หรือ Chemistry ไม่ต่ำกว่า 5
คะแนนสอบ GED: Science ไม่ต่ำกว่า 650
คะแนนสอบ AP: Physic หรือ Chemistry ไม่ต่ำกว่า เกรด 3

3 กลุ่ม English ผู้สมัครต้องเลือกยื่นคะแนน 1 ข้อ จากแบบทดสอบที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้

คะแนนสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 โดยในแต่ละทักษะไม่ต่ำกว่า 4.0
คะแนนสอบ TOEFL iBT ไม่ต่ำกว่า 61
คะแนนสอบ TU-GET ไม่ต่ำกว่า 450
คะแนนสอบ CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 60
คะแนนสอบ SAT Critical Reading ไม่ต่ำกว่า 400

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2



Create Date : 30 มกราคม 2564
Last Update : 30 มกราคม 2564 22:16:13 น.
Counter : 472 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทากิ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



มกราคม 2564

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
30 มกราคม 2564
All Blog